วานนี้(3 ธ.ค.55) เวลา 15.00 น.ที่พรรคเพื่อไทย นายโภคิน พลกุล ประธานคณะทำงานพรรคร่วมรัฐบาลศึกษาแก้ไขรัฐธรรมนูญ แถลงหลังการประชุมว่า คณะทำงานมีข้อสรุปใน 4ประเด็น คือ
1.การลงมติร่างรัฐธรรมนูญวาระ 3นั้นเห็นพ้องต้องกันว่าเป็นหน้าที่ของสมาชิกรัฐสภาที่ต้องทำหน้าที่ลงมติในวาระ 3 ต่อไป เพราะมีญัตติค้างอยู่ในรัฐสภา ประกอบกับตามบทบัญญัติตามรัฐธรรมนูญกำหนดให้ลงมติวาระ3 ใน 15 วันหลังจากลงมติวาระ 2 ไม่เช่นนั้นจะถือเป็นการละเว้นการปฏิบัติหน้าที่
2.วันที่ 10ธ.ค.จะเป็นวันครบรอบ 80 ปีของรัฐธรรมนูญไทย จึงให้วันที่ 10 ธ.ค.เป็นการเริ่มต้นรณรงค์ให้ประชาชนเข้าใจถึงการแก้รัฐธรรมนูญในระบอบประชาธิปไตย โดยแนวทางการรณรงค์นั้นจะมีคณะกรรมการประสานและติดตามผลการดำเนินงานตามข้อเสนอแนะของคณะกรรมการอิสระตรวจสอบและค้นหาความจริงเพื่อการปรองดองแห่งชาติ (ปคอป.) โดยนายธงทอง จันทรางศุ ปลัดสำนักนายกรัฐมนตรีเป็นผู้รับผิดชอบ
3.แนวทางการจัดทำประชามติก่อนร่างรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ที่ตุลาการรัฐธรรมนูญเคยให้ความเห็นนั้น ทางคณะทำงานพรรคร่วมเห็นพ้องกันว่าหลังจากลงมติร่างรัฐธรรมนูญในวาระ 3 และเลือกตั้งสมาชิกสภาร่างรัฐธรรมนูญ (สสร.) เพื่อร่างรัฐธรรมนูญฉบับใหม่แล้ว ก่อนจะมีการประกาศใช้รัฐธรรมนูญย่อมต้องจัดทำประชามติถามความเห็นของประชาชนอยู่แล้วว่าต้องการรับหรือไม่รับร่างรัฐธรรมนูญ ดังนั้นแนวทางนี้ถือเป็นการจัดทำประชามติก่อนมีรัฐธรรมนูญฉบับใหม่สอดคล้องกับความเห็นของตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ
4.สำหรับแนวทางการแก้ไขรายมาตราถือเป็นอำนาจของรัฐสภาในการดำเนินการ แต่ทั้งนี้ทั้งนั้นต้องให้มีการลงมติในวาระ 3 เกิดขึ้นก่อนจึงจะพิจารณาแก้ไขรัฐธรรมนูญในรายมาตราต่อไป
นายโภคิน ยังกล่าวอีกว่า คณะทำงานพรรคร่วมฯ ได้รับเอกสารร่างรายงานความยาว 41 หน้าสรุปแนวทางแก้ไขรัฐธรรมนูญเมื่อ 2 อาทิตย์ที่ผ่านมา แต่ทางคณะทำงานต้องใช้เวลาในการปรับปรุงแก้ไขรายงานฉบับนี้ในระหว่างวันที่ 10-17 ธ.ค. เนื่องจากยังมีบางถ้อยคำผิดพลาดและตกหล่น โดยคาดว่าจะสามารถส่งรายงานฉบับสมบูรณ์ให้พรรคร่วมรัฐบาลได้ภายในวันที่ 17 ธ.ค. ส่วนพรรคร่วมรัฐบาลจะลงมติวาระ 3 ในการเปิดสมัยประชุมหน้าหรือไม่เป็นหน้าที่ของพรรคร่วมรัฐบาลที่ต้องพิจารณาจังหวะที่เหมาะสม อย่างไรก็ตามคณะทำงานเห็นว่าน่าจะใช้เวลา 1-2 เดือนในการรณรงค์ก่อนที่จะเดินหน้าลงมติ
**ไม่กลัวโดนร้องศาลอีก
นายชูศักดิ์ ศิรินิล คณะทำงานพรรคร่วมรัฐบาลเพื่อศึกษาแนวทางแก้ไขรัฐธรรมนูญ กล่าวว่า ตนคิดว่าเมื่อมีการรณรงค์เรื่องการแก้ไขรัฐธรรมนูญเสร็จแล้ว ก็ต้องเข้าสู่กระบวนการเดินหน้าโหวตวาระ3 ซึ่งเมื่อถึงขั้นนี้การโหวตก็เป็นไปได้ ทั้งร่างนี้อาจตกไปหรือไม่ตก ตนคิดว่าเมื่อมาถึงขั้นนี้แล้วการโหวตวาระ3 น่าจะผ่านไปได้ และหลังจากนั้นจึงเข้าสู่กระบวนการตั้งสสร.ดำเนินการยกร่างรัฐธรรมนูญ และสุดท้ายคือการลงประชามติก่อนที่จะมีการประกาศใช้
เมื่อถามว่าหากเป็นเช่นนี้อาจจะมีการร้องศาลตามมาตรา 68 อีกครั้ง ซึ่งศาลก็เคยได้มีคำไว้แล้ว นายชูศักดิ์ กล่าวว่า เรามั่นใจหลังจากที่ได้หารือกันและฟังความเห็นของนักวิชาการ การดำเนินการของเราเป็นไปตามคำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญทั้งสิ้น และหากมีการ้องอีกจริง เราก็พร้อมเข้าชี้แจง และมั่นใจว่าจะสามารถชี้แจงได้ทุกอย่าง
**เตรียมทำความเข้าใจ-ดูจังหวะเวลา
นายวราเทพ รัตนากร รัฐมนตรีประจําสํานักนายกรัฐมนตรี กล่าวว่า จะได้พิจารณาถึงการรณรงค์ทำความเข้าใจกับประชาชน รวมถึงต้องดูเรื่องของจังหวะเวลา ทั้งนี้คาดว่าจะได้ข้อสรุปและทำเป็นรายงานที่จะถูกนำเสนอต่อพรรคร่วมรัฐบาล โดยจะมีเชิญแกนนำพรรคร่วมรัฐบาลให้มาประชุมกันเพื่อพิจารณา ประเมินท่าที และตัดสินใจการดำเนินการจากนี้ไป
เมื่อถามว่าสภาผู้แทนราษฎรจะลงมติร่างรัฐธรรมนูญฉบับแก้ไขเพิ่มเติม วาระ 3 ได้เมื่อใด นายวราเทพ กล่าวว่า ขึ้นอยู่ที่การตัดสินใจของพรรคร่วมรัฐบาล แต่ตนคิดว่าก่อนที่จะนำเรื่องนี้เข้าสู่สภาฯนั้น จะต้องทำความเข้าใจกับประชาชน ด้วย ส่วนจะใช้เวลาทำเรื่องนี้นานแค่ไหนนั้นขึ้นอยู่กับสถานการณ์
**“ค้อนปลอม”ปัด รบ.เดินหน้า 2 กม.
ที่รัฐสภา นายสมศักดิ์ เกียรติสุรนนท์ กล่าวภายหลังให้การต้อนรับประธานสภาแห่งชาติสาธารณรัฐสังคมนิยมเวียดนาม ถึงกรณีการแถลงผลงานรัฐบาล 1 ปี ต่อสภาผู้แทนราษฎร ในสมัยนิติบัญญัติ ว่าเป็นเรื่องที่ต้องรอรัฐบาลส่งเรื่องมายังสภาฯ จากนั้นก็จะบรรจุเข้าระเบียบวาระ ซึ่งยังไม่มีการกำหนดวัน เพราะยังไม่ได้รับเรื่องดังกล่าว ซึ่งจะบรรจุวาระ ช่วงใดนั้น เป็นเรื่องของที่ประชุมสภาฯจะมีความเห็น
เมื่อถามว่าในสมัยนิติบัญญัติจะมีความคืบหน้าเรื่องการแก้ไขรัฐธรรมนูญและร่างพ.ร.บ.ว่าด้วยความปรองดองแห่งชาติ พ.ศ. … หรือไม่ นายสมศักดิ์ กล่าวว่า ยังไม่ทราบความคืบหน้าจากรัฐบาลว่าจะมีการเดินหน้าหรือไม่อย่างไร เชื่อว่าถ้ามีการเดินหน้า คงจะแจ้งมายังรัฐสภาฯอีกที แต่ขณะนี้ยังไม่ได้รับการประสานใดๆ ส่วนที่มองว่าจะมีความวุ่นวายหากมีการนำร่างพ.ร.บ.ปรองดองฯ เข้ามาพิจารณาพร้อมกับการแก้ไขรัฐธรรมนูญ เรื่องนี้ยังไม่เกิด จึงยังไม่ทราบว่าจะเกิดอะไร
**“เหลิม” มึนข่าวดันแก้ รธน.วาระ 3
ที่ทำเนียบรัฐบาล ร.ต.อ.เฉลิม อยู่บำรุง รองนายกรัฐมนตรี กล่าวถึงกรณีที่ น.ต.ประสงค์ สุ่นศิริ อดีตสมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.) ออกมาระบุว่าจะมีการชุมนุมทางการเมืองเกิดขึ้นเร็วๆนี้ว่า ทางรัฐบาลจะติดตามดูสถานการณ์ และยืนยันว่าตราบใดที่ตนยังอยู่ตรงนี้จะไม่มีการใช้ความรุนแรงกับผู้ชุมนุมโดยเด็จขาด และจะเปลี่ยนแนวทางเพิ่มแนว แบริเออร์ รั้วลวดหนาม จนกว่าจะถึงชั้นสุดท้ายค่อยมีมาตรการ เพื่อป้องกันการเผชิญหน้า
ผู้สื่อข่าวถามว่ามีกระแสข่าวว่ารัฐบาลเตรียมที่จะโหวดแก้ไขรัฐธรรมนูญในวาระ 3 จะเป็นตัวเร่งให้ม็อบออกมาหรือไม่ ร.ต.อ.เฉลิม กล่าวว่า ส่วนตัวยังไม่ทราบในเรื่องนี้ เพราะในพรรคยังไม่ได้คุยกัน ตนก็เพิ่งเห็นในข่าวว่า นายวราเทพ รัตนากร รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี ได้ให้สัมภาษณ์ และในเรื่องนี้ตนจะนำไปวิเคราะห์ในที่ประชุมพรรคว่าควรหรือไม่เห็นพ้องต้องกันแค่ไหนต้องค่อยๆไป
**มาร์คจวกรบ.เติมไฟแก้รธน. ชี้
นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ หัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ กล่าวว่า ตนอยากถามอีกครั้งว่ารัฐบาลต้องการให้ความขัดแย้งในสังคมปะทุขึ้นมาอีกทำไม เพราะอุณหภูมิทางการเมืองหลังจากที่รัฐบาลละเรื่องดังกล่าวไปก็ลดลงไป จึงไม่มีเหตุผลที่จะสร้างความขัดแย้งขึ้นมาใหม่ วันนี้รัฐบาลควรเอาเวลาไปแจกแจงเรื่องนโยบายที่สร้างความเสียหายอยู่ การจัดการกับเรื่องทุจริต และที่สำคัญเรื่องดังกล่าวศาลรัฐธรรมนูญก็ได้ให้ความเห็นมาแล้ว ซึ่งรัฐบาลจะต้องนำไปประกอบการพิจารณาด้วย
**ป้องธาริตเปลี่ยนมาคุมคดี 91 ศพเอง
อีกด้าน ร.ต.อ.เฉลิม อยู่บำรุง รองนายกรัฐมนตรี กล่าวถึงเปลี่ยนตัวหัวหน้าพนักงานสอบสวนในคดีผู้เสียชีวิต 91 ศพจากเหตุการณ์ชุมนุมทางการเมืองเมื่อปี 53 มาเป็นนายธาริต เพ็งดิษฐ์ อธิบดีกรมสอบสวนคดีพิเศษ (ดีเอสไอ) ว่า ตามหลักการเมื่อพนักงานสอบสวนที่รับผิดชอบคดีพ้นหน้าที่ ผู้บังคับบัญชาก็ต้องทำหน้าที่ต่อ ซึ่งในที่นี้ก็คือ นายธาริต แต่หากเห็นว่าใครเหมาะสมที่จะรับผิดชอบ นายธาริตก็สามารถมอบหมายได้ โดยเรื่องนี้ไม่มีนัยยะอะไร เพราะคดีอาญาต้องอยู่ที่พยานหลักฐาน“ศาลมีคำสั่งไว้อย่างชัดเจน พนักงานสอบสวนไม่สามารถเปลี่ยนแปลงแนวทางคดีได้ พยานหลักฐานเป็นอย่างไรก็เป็นอย่างนั้น ส่วนจะสามารถส่งฟ้องได้หรือไม่และเมื่อใดนั้น ผมไม่ทราบในรายละเอียดต้องเป็นไปตามขั้นตอน และมองว่าเรื่องนี้การเมืองไม่ได้กดดัน ทุกอย่างเป็นไปตามกระบวนการ” ร.ต.อ.เฉลิม กล่าว
ผู้สื่อข่าวถามว่า มีรายงานข่าวว่าพนักงานสอบสวนทุกระดับจะประชุมเรื่องนี้ในวันที่ 6 ธ.ค.นี้ ร.ต.อ.เฉลิม กล่าวว่า ในเรื่องนี้เขาไม่ได้มารายงานกับตน และตนก็ไม่อยากทราบ เพราะหากไปยุ่งมากจะถูกกล่าวหาว่าการเมืองกดดัน และคดีอาญาทุกอย่างต้องอยู่ที่พยานหลักฐาน และการที่ศาลไต่สวนเรื่องชันสูตรพลิกศพออกมาได้อย่างละเอียดไม่มีข้อเท็จจริงให้เห็นเป็นอย่างอื่นส่วนจะออกหมายเรียกได้หรือไม่นั้นตนไม่มั่นใจในเนื้อหาสำนวน
**มาร์คไม่หนักใจ”ธาริต”คุมคดี91 ศพ
นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ หัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ กล่าวว่า ทุกอย่างต้องเป็นไปตามกฎหมายซึ่งตนก็ไม่ได้หนักใจแต่อย่างใด ส่วนที่บอกว่าจะดำเนินคดีกับตนและนายสุเทพ เทือกสุบรรณ โดยอ้างการตายของนายพัน คำกองว่าเสียชีวิตจากเจ้าหน้าที่รัฐ จากคำสั่งศูนย์อำนวยการแก้ไขสถานการฉุกเฉิน (ศอฉ.) นั้น ตนก็อยากถามว่าหากเป็นคำสั่งศอฉ.ทำไมไม่ดำเนินคดีกับนายธาริต เพราะก็เป็นกรรมการใน ศอฉ.ด้วย ซึ่งในขณะนี้ตนไม่ทราบว่าเอาข้อเท็จจริงอะไรมา เพราะเท่าที่ตนติดตามศอฉ.ก็มีการออกคำสั่งให้ทุกคนปฏิบัติอยู่ในกรอบของกฎหมาย ส่วนการกระทำต้องดูตามข้อเท็จจริง หากมีการกระทำนอกเหนือกฎหมายก็ต้องดูที่สาเหตุ จะมาระบุว่าคนนั้นคนนี้ผิดเลยไม่ได้ เพราะต้องว่าไปตามข้อเท็จจริง ส่วนการเสียชีวิตที่ศาลระบุว่าเป็นการกระทำของเจ้าหน้าที่รัฐนั้นก็ต้องว่าเป็นกรณีไป ไม่ได้แปลว่าทุกกรณีเหมือนกันหมด
ผู้สื่อข่าวถามว่า ในวันที่ 6 ธ.ค.นี้ ดีเอสไอจะมีการแจ้งข้อกล่าวหาต่อนายอภิสิทธิ์ และนายสุเทพ จะมีการเตรียมรับมืออย่างไร นายอภิสิทธิ์ กล่าวว่า ตนมีหน้าที่และมีสิทธิ์ตามกฎหมาย หากมีการกระทำที่ไม่ถูกต้องก็จะมีการฟ้องร้อง เพราะขณะนี้ดีเอสไอไม่ได้ทำแค่คดีนี้คดีเดียว แต่เวลาเชิญตัวไปกลับไม่ปฏิบัติเหมือนกรณีอื่น ในจดหมายเชิญก็มีการพยายามขู่ว่าไม่ให้ความร่วมมือ เมื่อถามว่าเป็นการเร่งทำคดีในส่วนของพรรคประชาธิปัตย์ นายอภิสิทธิ์ กล่าวว่า เห็นรองนายกฯประกาศไว้ว่าปิดสมัยประชุมจะดำเนินการอะไร ก็น่าจะเป็นสิ่งที่บ่งบอกไปในตัว
**ยื่นกกต.ดูคุณสมบัติ“ก่อแก้ว-มาร์ค”
นายเรืองไกร ลีกิจวัฒนะ อดีตส.ว.สรรหา ได้เข้ายื่นคำร้องต่อกกต.ขอให้ตรวจสอบคุณสมบัติการเป็นส.ส.ของนายก่อแก้ว พิกุลทอง ส.ส.บัญชีรายชื่อ พรรคเพื่อไทย ที่ถูกคุมขังเนื่องจากศาลอาญาถอนประกันโดยนายเรืองไกร กล่าวว่า การที่นายก่อแก้วถูกคุมขังโดยหมายของศาล อาจมีผลให้สมาชิกภาพการเป็นส.ส.สิ้นสุดลงตามรัฐธรรมนูญมาตรา 106(4) ประกอบมาตรา 101(3)และมาตรา 100(3) ประกอบพ.ร.บ.พรรคเมืองมาตรา 8 ,19, 20 เช่นเดียวกับนายจตุพร พรหมพันธุ์ อดีตส.ส.บัญชีรายชื่อ พรรคเพื่อไทย ที่ศาลรัฐธรรมนูญได้มีคำวินิจฉัยไว้ จึงขอให้กกต.ดำเนินการตรวจสอบและยื่นเรื่องต่อประธานสภาผู้แทนราษฎร เพื่อส่งให้ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยตามรัฐธรรมนูญมาตรา 91วรรคสาม
นายเรืองไกร ยังกล่าวด้วยว่า กรณีเหตุแห่งการสิ้นสมาชิกภาพส.ส.ของนายก่อแก้ว คล้ายกับกรณีการสิ้นสมาชิกภาพส.ส.ของนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ หัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ ที่กระทรวงกลาโหมมีคำสั่งปลดออกจากราชการฐานทุจริตต่อหน้าที่ ที่ตนเองได้ยื่นให้กกต.พิจารณาไปก่อนหน้านี้ เพียงแต่ผลที่ตามมาหากศาลรัฐธรรมนูญมีคำวินิจฉัยให้สิ้นสุดสมาชิกภาพจะต่างกัน โดยนายก่อแก้วจะพ้นจากการเป็นสมาชิกพรรคเพื่อไทย และพ้นจากความเป็นส.ส. ส่วนนายอภิสิทธิ์ จะพ้นจากการเป็นส.ส.บัญชีรายชื่อและพ้นจากผู้นำฝ่ายค้านในสภาผู้แทนราษฎร และอาจต้องลาออกจากหัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ โดยตนก็ได้ทำตารางเปรียบเทียบเหตุที่ทำให้สมาชิกภาพสิ้นสุดลงของคนทั้ง 2 เสนอให้กับกกต.ในการยื่นคำร้องครั้งนี้ด้วย ซึ่งไม่ได้เป็นเพราะกลัวกกต. 2 มาตรฐาน แต่เห็นว่า กรณีของนายก่อแก้วมีความซับซ้อนในประเด็นข้อกฎหมาย มากกว่า ขนาดนักกฎหมาย หรือแม้แต่นางสดศรี สัตยธรรม หรือนายสมชัย จึงประเสริฐ กกต. ต่างก็แสดงความเห็นเกี่ยวกับเหตุแห่งการพ้นจากการเป็นส.ส.ไปคนละทาง ขณะที่ของนายอภิสิทธิ์ข้อเท็จจริง ข้อกฎหมายชัด กกต.จึงน่าจะมีคำวินิจฉัยในเรื่องนี้ได้เร็วกว่า
นายเรืองไกร ยังเห็นว่า หากต่อไปนายก่อแก้วได้รับการประกันตัวแต่กกต.ยังไม่มีคำวินิจฉัย ก็ไม่มีผลให้คำร้องนี้ตกไป เพราะความเป็นส.ส.ขาดนับตั้งแต่วันที่ถูกคุมขังอยู่แล้ว แต่เมื่อรัฐธรรมนูญมาตรา 91 วรรคสองบัญญัติว่าสมาชิกภาพส.ส.จะสิ้นสุดลงเมื่อศาลรัฐธรรมนูญมีคำวินิจฉัย และไม่มีบทบัญญัติใดในรัฐธรรมนูญให้ต้องหยุดปฏิบัติหน้าที่ไว้ก่อนร ฉะนั้นถ้านายก่อแก้วได้รับการประกันตัวออกมาก็สามารถปฏิบัติหน้าที่ส.ส.ต่อไปได้จนกว่าศาลรัฐธรรมนูญจะมีคำวินิจฉัย อย่างไรก็ตามตนยังหวังว่าพรรคประชาธิปัตย์ และพรรคเพื่อไทยจะมีการยื่นตรงเรื่องต่อศาลรัฐธรรมนูญเพื่อให้มีการวินิจฉัยโดยเร็ว
**กกต.มั่นใจ.ฟัน “ก่อแก้ว” หลุดเก้าอี้ส.ส. แน่
แหล่งข่าวจากกกต. เปิดเผยว่า กกต.เห็นว่าแม้รัฐธรรมนูญมาตรา 106 (5) จะบัญญัติเรื่องการสิ้นสุดสมาชิกสภาพส.ส.ไว้ว่าต้องไม่มีลักษณะต้องห้ามตามมาตรา 102 ( 4) คือต้องคำพิพากษาให้จำคุกและถูกคุมขังอยู่โดยหมายของศาล แต่บทบัญญัตินี้จะใช้ได้ก็ต่อเมื่อศาลมีคำพิพากษาแล้ว แต่กรณีของนายก่อแก้ว ศาลอาญายังไม่มีคำพิพากษาคดี การถูกคุมขังเป็นเพียงคำสั่งเพิกถอนคำสั่งปล่อยตัวชั่วคราว เท่านั้น แต่การถูกคุมขังของนายก่อแก้วจะเป็นผลให้สมาชิกภาพการเป็นสมาชิกพรรคเพื่อไทยสิ้นสุดลงตามรัฐธรรมนูญมาตรา 106(4) ประกอบมาตรา 101(3)และมาตรา 100(3) ประกอบพ.ร.บ.พรรคเมืองมาตรา 8 ,19, 20 ซึ่งกกต.จะต้องส่งเรื่องให้ประธานสภาผู้แทนราษฎรตามรัฐธรรมนูญมาตรา 91 เพื่อยื่นให้ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัย และเชื่อว่าศาลรัฐธรรมนูญจะวินิจฉัยว่าสมาชิกภาพส.ส.ของนายก่อแก้วสิ้นสุดลงจากเหตุดังกล่าว
เพราะศาลรัฐธรรมนูญได้เคยมีคำวินิจฉัยที่ 13 /2555 เกี่ยวกับการสิ้นสุดสมาชิกภาพส.ส.เนื่องจากบทบัญญัติมาตราดังกล่าวไว้ในกรณีของนายจตุพร พรหมพันธุ์ อดีตส.ส.บัญชีรายชื่อ พรรคเพื่อไทย ซึ่งสามารถนำมาปรับใช้กับกรณีของนายก่อแก้วได้ โดยมีสาระสำคัญระบุว่า เมื่อผู้เป็นสมาชิกพรรคการเมืองมิได้ปฏิบัติตนอยู่ภายในกรอบของกฎหมายจนต้องถูกดำเนินคดีและถูกคุมขังอยู่โดยหมายของศาล หรือโดยคำสั่งที่ชอบด้วยกฎหมายโดยมิได้รับการปล่อยตัวชั่วคราวในวันเลือกตั้ง ทำให้เป็นบุคคลต้องห้ามมิให้ใช้สิทธิเลือกตั้งตามรัฐธรรมนูญมาตรา 100 (3) ย่อมถือว่าเป็นลักษณะต้องห้ามของบุคคลผู้ซึ่งจะเป็นสมาชิกพรรคการเมืองด้วย จึงเห็นว่าการเป็นบุคคลต้องห้ามมิให้ใช้สิทธิเลือกตั้งตามรัฐธรรมนูญมาตรา 100 ( 3) เป็นลักษณะต้องห้ามของบุคคลซึ่งจะเป็นสมาชิกพรรคการเมืองตามพ.ร.ป.ว่าด้วยพรรคการเมือง 50 มาตรา 19 วรรคหนึ่ง ประกอบมาตรา 8 วรรคหนึ่ง
และเมื่อพิจารณาพ.ร.บ.พรรคการเมืองมาตรา 20 วรรคหนึ่ง ที่บัญญัติว่า “สมาชิกภาพของสมาชิกสิ้นสุดลงเมื่อ..(3) ขาดคุณสมบัติหรือมีลักษณะต้องห้ามตามมาตรา 19” แล้ว เห็นว่า บุคคลที่จะสมัครเป็นสมาชิกพรรคการเมือง นอกจากจะต้องไม่มีลักษณะต้องห้ามในขณะสมัครเป็นสมาชิกพรรคการเมืองแล้ว จะต้องไม่มีลักษณะต้องห้ามตลอดเวลาที่เป็นสมาชิกพรรคการเมืองด้วย หากสมาชิกพรรคการเมืองผู้ใดมีลักษณะต้องห้ามเกิดขึ้นภายหลังย่อมมีผลให้สมาชิกภาพการเป็นสมาชิกพรรคการเมืองของผู้นั้นสิ้นสุดลง
ส่วนการสิ้นสุดสมาชิกภาพสมาชิกพรรคการเมืองจะทำให้ขาดคุณสมบัติตามรัฐธรรมนูญมาตรา 101(3) และเป็นเหตุให้สมาชิกภาพการแป็นส.ส.สิ้นสุดลงตามรัฐธรรมนูญมาตรา 106(4)หรือไม่ เห็นว่า คุณสมบัติของบุคคลที่จะเป็นผู้สมัครรับเลือกตั้งเป็นส.ส. ซึ่งต้องเป็นสมาชิกพรรคการเมืองใดพรรคการเมืองหนึ่งแต่เพียงพรรคเดียว มิใช่ต้องมีอยู่ในขณะสมัครรับเลือกตั้งเท่านั้น แต่ต้องคงมีอยู่ตลอดระยะเวลาของการเป็นส.ส. หากส.ส.ผู้ใดมิได้เป็นสมาชิกพรรคการเมืองเมื่อใดย่อมทำให้สมาชิกภาพของส.ส.ผู้นั้นสิ้นสุดลง และเมื่อพิจารณาบทบัญญัติเกี่ยวกับความเป็นสมาชิกพรรคการเมืองตามพ.ร.บ.พรรคการเมือง ในเรื่องที่เกี่ยวกับคุณสมบัติ ลักษณะต้องห้ามและการสิ้นสุดสมาชิกภาพของสมาชิกพรรคการเมืองที่บัญญัติไว้ในมาตรา 8 มาตรา 19 มาตรา 20 แล้ว เห็นว่า บทบัญญัติของรัฐธรรมนูญมาตรา 106 เป็นการวางหลักเกณฑ์กว้างๆ ในการที่สมาชิกภาพส.ส.จะสิ้นสุดลง แต่การวินิจฉัยว่าสมาชิกภาพส.ส.คนใดขาดคุณสมบัติหรือมีลักษณะต้องห้าม อันนำไปสู่การสิ้นสุดสมาชิกภาพของส.ส.หรือไม่ ต้องเป็นไปตามกฎหมายว่าด้วยการนั้น ในกรณีนี้คือพ.ร.บ.พรรคการเมือง ซึ่งความเป็นสมาชิกพรรคการเมืองนั้นจะต้องมีอยู่ตลอดเวลาของการเป็นส.ส. หากส.ส.มิได้เป็นสมาชิกพรรคการเมืองย่อมทำให้สมาชิกภาพของส.ส.ผู้นั้นสิ้นสุดลงตามรัฐธรรมนูญมาตรา 106(4) ประกอบมาตรา 101(3)
** 1.2 ล้านขอประกันตัวก่อแก้ว
ที่เรือนจำพิเศษชั่วคราวหลักสี่ นายเจษฎา จันทร์ดี ทนายความกลุ่ม นปช. เดินทางมาเรือนจำพิเศษชั่วคราวหลักสี่ เพื่อเข้าพูดคุยกับนายก่อแก้ว พิกุลทอง ส.ส.พรรคเพื่อไทย - แกนนำกลุ่ม นปช. หลังศาลอาญามีคำสั่งถอนประกันตัวชั่วคราวเมื่อวันศุกร์ 30 พ.ย. ที่ผ่านมา
โดยนายเจษฎากล่าวว่านายก่อแก้วมีความเป็นอยู่ปกติดีแต่มีความต้องการจะไปร่วมงานเฉลิมฉลองช่วงวันพ่อและต้องการปฏิบัติหน้าที่สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรที่ดี โดยอาจจะยื่นขอประกันตัวโดยใช้หลักทรัพย์เพิ่มเติม 500,000-600,000 บาทจากเดิมกรณีที่นายยศวริศ ชูกล่อม หรือเจ๋ง ดอกจิก เคยยื่นวงเงินประกันจำนวน 600,000บาท แต่นายก่อแก้วอาจเพิ่มไปอีก 500,000-600,000 แสนรวมเป็น 1,200,000 บาท ซึ่งทนายยืนยันว่านายก่อแก้วไม่มีพฤติกรรมไปเกี่ยวข้องกับหลักฐานหรือพยานอยู่แล้ว และไม่มีเจตนาหลบหนี
ภายหลังจากทนายให้สัมภาษณ์นายก่อแก้ว ได้โบกมือทักทายสื่อมวลชนที่ระเบียง พร้อมตะโกนบอกว่าสบายดี และฝากขอบคุณคนเสื้อแดงที่มาให้กำลังใจและเอากับข้าวมาฝาก ก่อนทิ้งท้ายว่าพูดอะไรมากกว่านี้ไม่ได้ผิดกฎของเรือนจำ
1.การลงมติร่างรัฐธรรมนูญวาระ 3นั้นเห็นพ้องต้องกันว่าเป็นหน้าที่ของสมาชิกรัฐสภาที่ต้องทำหน้าที่ลงมติในวาระ 3 ต่อไป เพราะมีญัตติค้างอยู่ในรัฐสภา ประกอบกับตามบทบัญญัติตามรัฐธรรมนูญกำหนดให้ลงมติวาระ3 ใน 15 วันหลังจากลงมติวาระ 2 ไม่เช่นนั้นจะถือเป็นการละเว้นการปฏิบัติหน้าที่
2.วันที่ 10ธ.ค.จะเป็นวันครบรอบ 80 ปีของรัฐธรรมนูญไทย จึงให้วันที่ 10 ธ.ค.เป็นการเริ่มต้นรณรงค์ให้ประชาชนเข้าใจถึงการแก้รัฐธรรมนูญในระบอบประชาธิปไตย โดยแนวทางการรณรงค์นั้นจะมีคณะกรรมการประสานและติดตามผลการดำเนินงานตามข้อเสนอแนะของคณะกรรมการอิสระตรวจสอบและค้นหาความจริงเพื่อการปรองดองแห่งชาติ (ปคอป.) โดยนายธงทอง จันทรางศุ ปลัดสำนักนายกรัฐมนตรีเป็นผู้รับผิดชอบ
3.แนวทางการจัดทำประชามติก่อนร่างรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ที่ตุลาการรัฐธรรมนูญเคยให้ความเห็นนั้น ทางคณะทำงานพรรคร่วมเห็นพ้องกันว่าหลังจากลงมติร่างรัฐธรรมนูญในวาระ 3 และเลือกตั้งสมาชิกสภาร่างรัฐธรรมนูญ (สสร.) เพื่อร่างรัฐธรรมนูญฉบับใหม่แล้ว ก่อนจะมีการประกาศใช้รัฐธรรมนูญย่อมต้องจัดทำประชามติถามความเห็นของประชาชนอยู่แล้วว่าต้องการรับหรือไม่รับร่างรัฐธรรมนูญ ดังนั้นแนวทางนี้ถือเป็นการจัดทำประชามติก่อนมีรัฐธรรมนูญฉบับใหม่สอดคล้องกับความเห็นของตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ
4.สำหรับแนวทางการแก้ไขรายมาตราถือเป็นอำนาจของรัฐสภาในการดำเนินการ แต่ทั้งนี้ทั้งนั้นต้องให้มีการลงมติในวาระ 3 เกิดขึ้นก่อนจึงจะพิจารณาแก้ไขรัฐธรรมนูญในรายมาตราต่อไป
นายโภคิน ยังกล่าวอีกว่า คณะทำงานพรรคร่วมฯ ได้รับเอกสารร่างรายงานความยาว 41 หน้าสรุปแนวทางแก้ไขรัฐธรรมนูญเมื่อ 2 อาทิตย์ที่ผ่านมา แต่ทางคณะทำงานต้องใช้เวลาในการปรับปรุงแก้ไขรายงานฉบับนี้ในระหว่างวันที่ 10-17 ธ.ค. เนื่องจากยังมีบางถ้อยคำผิดพลาดและตกหล่น โดยคาดว่าจะสามารถส่งรายงานฉบับสมบูรณ์ให้พรรคร่วมรัฐบาลได้ภายในวันที่ 17 ธ.ค. ส่วนพรรคร่วมรัฐบาลจะลงมติวาระ 3 ในการเปิดสมัยประชุมหน้าหรือไม่เป็นหน้าที่ของพรรคร่วมรัฐบาลที่ต้องพิจารณาจังหวะที่เหมาะสม อย่างไรก็ตามคณะทำงานเห็นว่าน่าจะใช้เวลา 1-2 เดือนในการรณรงค์ก่อนที่จะเดินหน้าลงมติ
**ไม่กลัวโดนร้องศาลอีก
นายชูศักดิ์ ศิรินิล คณะทำงานพรรคร่วมรัฐบาลเพื่อศึกษาแนวทางแก้ไขรัฐธรรมนูญ กล่าวว่า ตนคิดว่าเมื่อมีการรณรงค์เรื่องการแก้ไขรัฐธรรมนูญเสร็จแล้ว ก็ต้องเข้าสู่กระบวนการเดินหน้าโหวตวาระ3 ซึ่งเมื่อถึงขั้นนี้การโหวตก็เป็นไปได้ ทั้งร่างนี้อาจตกไปหรือไม่ตก ตนคิดว่าเมื่อมาถึงขั้นนี้แล้วการโหวตวาระ3 น่าจะผ่านไปได้ และหลังจากนั้นจึงเข้าสู่กระบวนการตั้งสสร.ดำเนินการยกร่างรัฐธรรมนูญ และสุดท้ายคือการลงประชามติก่อนที่จะมีการประกาศใช้
เมื่อถามว่าหากเป็นเช่นนี้อาจจะมีการร้องศาลตามมาตรา 68 อีกครั้ง ซึ่งศาลก็เคยได้มีคำไว้แล้ว นายชูศักดิ์ กล่าวว่า เรามั่นใจหลังจากที่ได้หารือกันและฟังความเห็นของนักวิชาการ การดำเนินการของเราเป็นไปตามคำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญทั้งสิ้น และหากมีการ้องอีกจริง เราก็พร้อมเข้าชี้แจง และมั่นใจว่าจะสามารถชี้แจงได้ทุกอย่าง
**เตรียมทำความเข้าใจ-ดูจังหวะเวลา
นายวราเทพ รัตนากร รัฐมนตรีประจําสํานักนายกรัฐมนตรี กล่าวว่า จะได้พิจารณาถึงการรณรงค์ทำความเข้าใจกับประชาชน รวมถึงต้องดูเรื่องของจังหวะเวลา ทั้งนี้คาดว่าจะได้ข้อสรุปและทำเป็นรายงานที่จะถูกนำเสนอต่อพรรคร่วมรัฐบาล โดยจะมีเชิญแกนนำพรรคร่วมรัฐบาลให้มาประชุมกันเพื่อพิจารณา ประเมินท่าที และตัดสินใจการดำเนินการจากนี้ไป
เมื่อถามว่าสภาผู้แทนราษฎรจะลงมติร่างรัฐธรรมนูญฉบับแก้ไขเพิ่มเติม วาระ 3 ได้เมื่อใด นายวราเทพ กล่าวว่า ขึ้นอยู่ที่การตัดสินใจของพรรคร่วมรัฐบาล แต่ตนคิดว่าก่อนที่จะนำเรื่องนี้เข้าสู่สภาฯนั้น จะต้องทำความเข้าใจกับประชาชน ด้วย ส่วนจะใช้เวลาทำเรื่องนี้นานแค่ไหนนั้นขึ้นอยู่กับสถานการณ์
**“ค้อนปลอม”ปัด รบ.เดินหน้า 2 กม.
ที่รัฐสภา นายสมศักดิ์ เกียรติสุรนนท์ กล่าวภายหลังให้การต้อนรับประธานสภาแห่งชาติสาธารณรัฐสังคมนิยมเวียดนาม ถึงกรณีการแถลงผลงานรัฐบาล 1 ปี ต่อสภาผู้แทนราษฎร ในสมัยนิติบัญญัติ ว่าเป็นเรื่องที่ต้องรอรัฐบาลส่งเรื่องมายังสภาฯ จากนั้นก็จะบรรจุเข้าระเบียบวาระ ซึ่งยังไม่มีการกำหนดวัน เพราะยังไม่ได้รับเรื่องดังกล่าว ซึ่งจะบรรจุวาระ ช่วงใดนั้น เป็นเรื่องของที่ประชุมสภาฯจะมีความเห็น
เมื่อถามว่าในสมัยนิติบัญญัติจะมีความคืบหน้าเรื่องการแก้ไขรัฐธรรมนูญและร่างพ.ร.บ.ว่าด้วยความปรองดองแห่งชาติ พ.ศ. … หรือไม่ นายสมศักดิ์ กล่าวว่า ยังไม่ทราบความคืบหน้าจากรัฐบาลว่าจะมีการเดินหน้าหรือไม่อย่างไร เชื่อว่าถ้ามีการเดินหน้า คงจะแจ้งมายังรัฐสภาฯอีกที แต่ขณะนี้ยังไม่ได้รับการประสานใดๆ ส่วนที่มองว่าจะมีความวุ่นวายหากมีการนำร่างพ.ร.บ.ปรองดองฯ เข้ามาพิจารณาพร้อมกับการแก้ไขรัฐธรรมนูญ เรื่องนี้ยังไม่เกิด จึงยังไม่ทราบว่าจะเกิดอะไร
**“เหลิม” มึนข่าวดันแก้ รธน.วาระ 3
ที่ทำเนียบรัฐบาล ร.ต.อ.เฉลิม อยู่บำรุง รองนายกรัฐมนตรี กล่าวถึงกรณีที่ น.ต.ประสงค์ สุ่นศิริ อดีตสมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.) ออกมาระบุว่าจะมีการชุมนุมทางการเมืองเกิดขึ้นเร็วๆนี้ว่า ทางรัฐบาลจะติดตามดูสถานการณ์ และยืนยันว่าตราบใดที่ตนยังอยู่ตรงนี้จะไม่มีการใช้ความรุนแรงกับผู้ชุมนุมโดยเด็จขาด และจะเปลี่ยนแนวทางเพิ่มแนว แบริเออร์ รั้วลวดหนาม จนกว่าจะถึงชั้นสุดท้ายค่อยมีมาตรการ เพื่อป้องกันการเผชิญหน้า
ผู้สื่อข่าวถามว่ามีกระแสข่าวว่ารัฐบาลเตรียมที่จะโหวดแก้ไขรัฐธรรมนูญในวาระ 3 จะเป็นตัวเร่งให้ม็อบออกมาหรือไม่ ร.ต.อ.เฉลิม กล่าวว่า ส่วนตัวยังไม่ทราบในเรื่องนี้ เพราะในพรรคยังไม่ได้คุยกัน ตนก็เพิ่งเห็นในข่าวว่า นายวราเทพ รัตนากร รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี ได้ให้สัมภาษณ์ และในเรื่องนี้ตนจะนำไปวิเคราะห์ในที่ประชุมพรรคว่าควรหรือไม่เห็นพ้องต้องกันแค่ไหนต้องค่อยๆไป
**มาร์คจวกรบ.เติมไฟแก้รธน. ชี้
นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ หัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ กล่าวว่า ตนอยากถามอีกครั้งว่ารัฐบาลต้องการให้ความขัดแย้งในสังคมปะทุขึ้นมาอีกทำไม เพราะอุณหภูมิทางการเมืองหลังจากที่รัฐบาลละเรื่องดังกล่าวไปก็ลดลงไป จึงไม่มีเหตุผลที่จะสร้างความขัดแย้งขึ้นมาใหม่ วันนี้รัฐบาลควรเอาเวลาไปแจกแจงเรื่องนโยบายที่สร้างความเสียหายอยู่ การจัดการกับเรื่องทุจริต และที่สำคัญเรื่องดังกล่าวศาลรัฐธรรมนูญก็ได้ให้ความเห็นมาแล้ว ซึ่งรัฐบาลจะต้องนำไปประกอบการพิจารณาด้วย
**ป้องธาริตเปลี่ยนมาคุมคดี 91 ศพเอง
อีกด้าน ร.ต.อ.เฉลิม อยู่บำรุง รองนายกรัฐมนตรี กล่าวถึงเปลี่ยนตัวหัวหน้าพนักงานสอบสวนในคดีผู้เสียชีวิต 91 ศพจากเหตุการณ์ชุมนุมทางการเมืองเมื่อปี 53 มาเป็นนายธาริต เพ็งดิษฐ์ อธิบดีกรมสอบสวนคดีพิเศษ (ดีเอสไอ) ว่า ตามหลักการเมื่อพนักงานสอบสวนที่รับผิดชอบคดีพ้นหน้าที่ ผู้บังคับบัญชาก็ต้องทำหน้าที่ต่อ ซึ่งในที่นี้ก็คือ นายธาริต แต่หากเห็นว่าใครเหมาะสมที่จะรับผิดชอบ นายธาริตก็สามารถมอบหมายได้ โดยเรื่องนี้ไม่มีนัยยะอะไร เพราะคดีอาญาต้องอยู่ที่พยานหลักฐาน“ศาลมีคำสั่งไว้อย่างชัดเจน พนักงานสอบสวนไม่สามารถเปลี่ยนแปลงแนวทางคดีได้ พยานหลักฐานเป็นอย่างไรก็เป็นอย่างนั้น ส่วนจะสามารถส่งฟ้องได้หรือไม่และเมื่อใดนั้น ผมไม่ทราบในรายละเอียดต้องเป็นไปตามขั้นตอน และมองว่าเรื่องนี้การเมืองไม่ได้กดดัน ทุกอย่างเป็นไปตามกระบวนการ” ร.ต.อ.เฉลิม กล่าว
ผู้สื่อข่าวถามว่า มีรายงานข่าวว่าพนักงานสอบสวนทุกระดับจะประชุมเรื่องนี้ในวันที่ 6 ธ.ค.นี้ ร.ต.อ.เฉลิม กล่าวว่า ในเรื่องนี้เขาไม่ได้มารายงานกับตน และตนก็ไม่อยากทราบ เพราะหากไปยุ่งมากจะถูกกล่าวหาว่าการเมืองกดดัน และคดีอาญาทุกอย่างต้องอยู่ที่พยานหลักฐาน และการที่ศาลไต่สวนเรื่องชันสูตรพลิกศพออกมาได้อย่างละเอียดไม่มีข้อเท็จจริงให้เห็นเป็นอย่างอื่นส่วนจะออกหมายเรียกได้หรือไม่นั้นตนไม่มั่นใจในเนื้อหาสำนวน
**มาร์คไม่หนักใจ”ธาริต”คุมคดี91 ศพ
นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ หัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ กล่าวว่า ทุกอย่างต้องเป็นไปตามกฎหมายซึ่งตนก็ไม่ได้หนักใจแต่อย่างใด ส่วนที่บอกว่าจะดำเนินคดีกับตนและนายสุเทพ เทือกสุบรรณ โดยอ้างการตายของนายพัน คำกองว่าเสียชีวิตจากเจ้าหน้าที่รัฐ จากคำสั่งศูนย์อำนวยการแก้ไขสถานการฉุกเฉิน (ศอฉ.) นั้น ตนก็อยากถามว่าหากเป็นคำสั่งศอฉ.ทำไมไม่ดำเนินคดีกับนายธาริต เพราะก็เป็นกรรมการใน ศอฉ.ด้วย ซึ่งในขณะนี้ตนไม่ทราบว่าเอาข้อเท็จจริงอะไรมา เพราะเท่าที่ตนติดตามศอฉ.ก็มีการออกคำสั่งให้ทุกคนปฏิบัติอยู่ในกรอบของกฎหมาย ส่วนการกระทำต้องดูตามข้อเท็จจริง หากมีการกระทำนอกเหนือกฎหมายก็ต้องดูที่สาเหตุ จะมาระบุว่าคนนั้นคนนี้ผิดเลยไม่ได้ เพราะต้องว่าไปตามข้อเท็จจริง ส่วนการเสียชีวิตที่ศาลระบุว่าเป็นการกระทำของเจ้าหน้าที่รัฐนั้นก็ต้องว่าเป็นกรณีไป ไม่ได้แปลว่าทุกกรณีเหมือนกันหมด
ผู้สื่อข่าวถามว่า ในวันที่ 6 ธ.ค.นี้ ดีเอสไอจะมีการแจ้งข้อกล่าวหาต่อนายอภิสิทธิ์ และนายสุเทพ จะมีการเตรียมรับมืออย่างไร นายอภิสิทธิ์ กล่าวว่า ตนมีหน้าที่และมีสิทธิ์ตามกฎหมาย หากมีการกระทำที่ไม่ถูกต้องก็จะมีการฟ้องร้อง เพราะขณะนี้ดีเอสไอไม่ได้ทำแค่คดีนี้คดีเดียว แต่เวลาเชิญตัวไปกลับไม่ปฏิบัติเหมือนกรณีอื่น ในจดหมายเชิญก็มีการพยายามขู่ว่าไม่ให้ความร่วมมือ เมื่อถามว่าเป็นการเร่งทำคดีในส่วนของพรรคประชาธิปัตย์ นายอภิสิทธิ์ กล่าวว่า เห็นรองนายกฯประกาศไว้ว่าปิดสมัยประชุมจะดำเนินการอะไร ก็น่าจะเป็นสิ่งที่บ่งบอกไปในตัว
**ยื่นกกต.ดูคุณสมบัติ“ก่อแก้ว-มาร์ค”
นายเรืองไกร ลีกิจวัฒนะ อดีตส.ว.สรรหา ได้เข้ายื่นคำร้องต่อกกต.ขอให้ตรวจสอบคุณสมบัติการเป็นส.ส.ของนายก่อแก้ว พิกุลทอง ส.ส.บัญชีรายชื่อ พรรคเพื่อไทย ที่ถูกคุมขังเนื่องจากศาลอาญาถอนประกันโดยนายเรืองไกร กล่าวว่า การที่นายก่อแก้วถูกคุมขังโดยหมายของศาล อาจมีผลให้สมาชิกภาพการเป็นส.ส.สิ้นสุดลงตามรัฐธรรมนูญมาตรา 106(4) ประกอบมาตรา 101(3)และมาตรา 100(3) ประกอบพ.ร.บ.พรรคเมืองมาตรา 8 ,19, 20 เช่นเดียวกับนายจตุพร พรหมพันธุ์ อดีตส.ส.บัญชีรายชื่อ พรรคเพื่อไทย ที่ศาลรัฐธรรมนูญได้มีคำวินิจฉัยไว้ จึงขอให้กกต.ดำเนินการตรวจสอบและยื่นเรื่องต่อประธานสภาผู้แทนราษฎร เพื่อส่งให้ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยตามรัฐธรรมนูญมาตรา 91วรรคสาม
นายเรืองไกร ยังกล่าวด้วยว่า กรณีเหตุแห่งการสิ้นสมาชิกภาพส.ส.ของนายก่อแก้ว คล้ายกับกรณีการสิ้นสมาชิกภาพส.ส.ของนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ หัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ ที่กระทรวงกลาโหมมีคำสั่งปลดออกจากราชการฐานทุจริตต่อหน้าที่ ที่ตนเองได้ยื่นให้กกต.พิจารณาไปก่อนหน้านี้ เพียงแต่ผลที่ตามมาหากศาลรัฐธรรมนูญมีคำวินิจฉัยให้สิ้นสุดสมาชิกภาพจะต่างกัน โดยนายก่อแก้วจะพ้นจากการเป็นสมาชิกพรรคเพื่อไทย และพ้นจากความเป็นส.ส. ส่วนนายอภิสิทธิ์ จะพ้นจากการเป็นส.ส.บัญชีรายชื่อและพ้นจากผู้นำฝ่ายค้านในสภาผู้แทนราษฎร และอาจต้องลาออกจากหัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ โดยตนก็ได้ทำตารางเปรียบเทียบเหตุที่ทำให้สมาชิกภาพสิ้นสุดลงของคนทั้ง 2 เสนอให้กับกกต.ในการยื่นคำร้องครั้งนี้ด้วย ซึ่งไม่ได้เป็นเพราะกลัวกกต. 2 มาตรฐาน แต่เห็นว่า กรณีของนายก่อแก้วมีความซับซ้อนในประเด็นข้อกฎหมาย มากกว่า ขนาดนักกฎหมาย หรือแม้แต่นางสดศรี สัตยธรรม หรือนายสมชัย จึงประเสริฐ กกต. ต่างก็แสดงความเห็นเกี่ยวกับเหตุแห่งการพ้นจากการเป็นส.ส.ไปคนละทาง ขณะที่ของนายอภิสิทธิ์ข้อเท็จจริง ข้อกฎหมายชัด กกต.จึงน่าจะมีคำวินิจฉัยในเรื่องนี้ได้เร็วกว่า
นายเรืองไกร ยังเห็นว่า หากต่อไปนายก่อแก้วได้รับการประกันตัวแต่กกต.ยังไม่มีคำวินิจฉัย ก็ไม่มีผลให้คำร้องนี้ตกไป เพราะความเป็นส.ส.ขาดนับตั้งแต่วันที่ถูกคุมขังอยู่แล้ว แต่เมื่อรัฐธรรมนูญมาตรา 91 วรรคสองบัญญัติว่าสมาชิกภาพส.ส.จะสิ้นสุดลงเมื่อศาลรัฐธรรมนูญมีคำวินิจฉัย และไม่มีบทบัญญัติใดในรัฐธรรมนูญให้ต้องหยุดปฏิบัติหน้าที่ไว้ก่อนร ฉะนั้นถ้านายก่อแก้วได้รับการประกันตัวออกมาก็สามารถปฏิบัติหน้าที่ส.ส.ต่อไปได้จนกว่าศาลรัฐธรรมนูญจะมีคำวินิจฉัย อย่างไรก็ตามตนยังหวังว่าพรรคประชาธิปัตย์ และพรรคเพื่อไทยจะมีการยื่นตรงเรื่องต่อศาลรัฐธรรมนูญเพื่อให้มีการวินิจฉัยโดยเร็ว
**กกต.มั่นใจ.ฟัน “ก่อแก้ว” หลุดเก้าอี้ส.ส. แน่
แหล่งข่าวจากกกต. เปิดเผยว่า กกต.เห็นว่าแม้รัฐธรรมนูญมาตรา 106 (5) จะบัญญัติเรื่องการสิ้นสุดสมาชิกสภาพส.ส.ไว้ว่าต้องไม่มีลักษณะต้องห้ามตามมาตรา 102 ( 4) คือต้องคำพิพากษาให้จำคุกและถูกคุมขังอยู่โดยหมายของศาล แต่บทบัญญัตินี้จะใช้ได้ก็ต่อเมื่อศาลมีคำพิพากษาแล้ว แต่กรณีของนายก่อแก้ว ศาลอาญายังไม่มีคำพิพากษาคดี การถูกคุมขังเป็นเพียงคำสั่งเพิกถอนคำสั่งปล่อยตัวชั่วคราว เท่านั้น แต่การถูกคุมขังของนายก่อแก้วจะเป็นผลให้สมาชิกภาพการเป็นสมาชิกพรรคเพื่อไทยสิ้นสุดลงตามรัฐธรรมนูญมาตรา 106(4) ประกอบมาตรา 101(3)และมาตรา 100(3) ประกอบพ.ร.บ.พรรคเมืองมาตรา 8 ,19, 20 ซึ่งกกต.จะต้องส่งเรื่องให้ประธานสภาผู้แทนราษฎรตามรัฐธรรมนูญมาตรา 91 เพื่อยื่นให้ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัย และเชื่อว่าศาลรัฐธรรมนูญจะวินิจฉัยว่าสมาชิกภาพส.ส.ของนายก่อแก้วสิ้นสุดลงจากเหตุดังกล่าว
เพราะศาลรัฐธรรมนูญได้เคยมีคำวินิจฉัยที่ 13 /2555 เกี่ยวกับการสิ้นสุดสมาชิกภาพส.ส.เนื่องจากบทบัญญัติมาตราดังกล่าวไว้ในกรณีของนายจตุพร พรหมพันธุ์ อดีตส.ส.บัญชีรายชื่อ พรรคเพื่อไทย ซึ่งสามารถนำมาปรับใช้กับกรณีของนายก่อแก้วได้ โดยมีสาระสำคัญระบุว่า เมื่อผู้เป็นสมาชิกพรรคการเมืองมิได้ปฏิบัติตนอยู่ภายในกรอบของกฎหมายจนต้องถูกดำเนินคดีและถูกคุมขังอยู่โดยหมายของศาล หรือโดยคำสั่งที่ชอบด้วยกฎหมายโดยมิได้รับการปล่อยตัวชั่วคราวในวันเลือกตั้ง ทำให้เป็นบุคคลต้องห้ามมิให้ใช้สิทธิเลือกตั้งตามรัฐธรรมนูญมาตรา 100 (3) ย่อมถือว่าเป็นลักษณะต้องห้ามของบุคคลผู้ซึ่งจะเป็นสมาชิกพรรคการเมืองด้วย จึงเห็นว่าการเป็นบุคคลต้องห้ามมิให้ใช้สิทธิเลือกตั้งตามรัฐธรรมนูญมาตรา 100 ( 3) เป็นลักษณะต้องห้ามของบุคคลซึ่งจะเป็นสมาชิกพรรคการเมืองตามพ.ร.ป.ว่าด้วยพรรคการเมือง 50 มาตรา 19 วรรคหนึ่ง ประกอบมาตรา 8 วรรคหนึ่ง
และเมื่อพิจารณาพ.ร.บ.พรรคการเมืองมาตรา 20 วรรคหนึ่ง ที่บัญญัติว่า “สมาชิกภาพของสมาชิกสิ้นสุดลงเมื่อ..(3) ขาดคุณสมบัติหรือมีลักษณะต้องห้ามตามมาตรา 19” แล้ว เห็นว่า บุคคลที่จะสมัครเป็นสมาชิกพรรคการเมือง นอกจากจะต้องไม่มีลักษณะต้องห้ามในขณะสมัครเป็นสมาชิกพรรคการเมืองแล้ว จะต้องไม่มีลักษณะต้องห้ามตลอดเวลาที่เป็นสมาชิกพรรคการเมืองด้วย หากสมาชิกพรรคการเมืองผู้ใดมีลักษณะต้องห้ามเกิดขึ้นภายหลังย่อมมีผลให้สมาชิกภาพการเป็นสมาชิกพรรคการเมืองของผู้นั้นสิ้นสุดลง
ส่วนการสิ้นสุดสมาชิกภาพสมาชิกพรรคการเมืองจะทำให้ขาดคุณสมบัติตามรัฐธรรมนูญมาตรา 101(3) และเป็นเหตุให้สมาชิกภาพการแป็นส.ส.สิ้นสุดลงตามรัฐธรรมนูญมาตรา 106(4)หรือไม่ เห็นว่า คุณสมบัติของบุคคลที่จะเป็นผู้สมัครรับเลือกตั้งเป็นส.ส. ซึ่งต้องเป็นสมาชิกพรรคการเมืองใดพรรคการเมืองหนึ่งแต่เพียงพรรคเดียว มิใช่ต้องมีอยู่ในขณะสมัครรับเลือกตั้งเท่านั้น แต่ต้องคงมีอยู่ตลอดระยะเวลาของการเป็นส.ส. หากส.ส.ผู้ใดมิได้เป็นสมาชิกพรรคการเมืองเมื่อใดย่อมทำให้สมาชิกภาพของส.ส.ผู้นั้นสิ้นสุดลง และเมื่อพิจารณาบทบัญญัติเกี่ยวกับความเป็นสมาชิกพรรคการเมืองตามพ.ร.บ.พรรคการเมือง ในเรื่องที่เกี่ยวกับคุณสมบัติ ลักษณะต้องห้ามและการสิ้นสุดสมาชิกภาพของสมาชิกพรรคการเมืองที่บัญญัติไว้ในมาตรา 8 มาตรา 19 มาตรา 20 แล้ว เห็นว่า บทบัญญัติของรัฐธรรมนูญมาตรา 106 เป็นการวางหลักเกณฑ์กว้างๆ ในการที่สมาชิกภาพส.ส.จะสิ้นสุดลง แต่การวินิจฉัยว่าสมาชิกภาพส.ส.คนใดขาดคุณสมบัติหรือมีลักษณะต้องห้าม อันนำไปสู่การสิ้นสุดสมาชิกภาพของส.ส.หรือไม่ ต้องเป็นไปตามกฎหมายว่าด้วยการนั้น ในกรณีนี้คือพ.ร.บ.พรรคการเมือง ซึ่งความเป็นสมาชิกพรรคการเมืองนั้นจะต้องมีอยู่ตลอดเวลาของการเป็นส.ส. หากส.ส.มิได้เป็นสมาชิกพรรคการเมืองย่อมทำให้สมาชิกภาพของส.ส.ผู้นั้นสิ้นสุดลงตามรัฐธรรมนูญมาตรา 106(4) ประกอบมาตรา 101(3)
** 1.2 ล้านขอประกันตัวก่อแก้ว
ที่เรือนจำพิเศษชั่วคราวหลักสี่ นายเจษฎา จันทร์ดี ทนายความกลุ่ม นปช. เดินทางมาเรือนจำพิเศษชั่วคราวหลักสี่ เพื่อเข้าพูดคุยกับนายก่อแก้ว พิกุลทอง ส.ส.พรรคเพื่อไทย - แกนนำกลุ่ม นปช. หลังศาลอาญามีคำสั่งถอนประกันตัวชั่วคราวเมื่อวันศุกร์ 30 พ.ย. ที่ผ่านมา
โดยนายเจษฎากล่าวว่านายก่อแก้วมีความเป็นอยู่ปกติดีแต่มีความต้องการจะไปร่วมงานเฉลิมฉลองช่วงวันพ่อและต้องการปฏิบัติหน้าที่สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรที่ดี โดยอาจจะยื่นขอประกันตัวโดยใช้หลักทรัพย์เพิ่มเติม 500,000-600,000 บาทจากเดิมกรณีที่นายยศวริศ ชูกล่อม หรือเจ๋ง ดอกจิก เคยยื่นวงเงินประกันจำนวน 600,000บาท แต่นายก่อแก้วอาจเพิ่มไปอีก 500,000-600,000 แสนรวมเป็น 1,200,000 บาท ซึ่งทนายยืนยันว่านายก่อแก้วไม่มีพฤติกรรมไปเกี่ยวข้องกับหลักฐานหรือพยานอยู่แล้ว และไม่มีเจตนาหลบหนี
ภายหลังจากทนายให้สัมภาษณ์นายก่อแก้ว ได้โบกมือทักทายสื่อมวลชนที่ระเบียง พร้อมตะโกนบอกว่าสบายดี และฝากขอบคุณคนเสื้อแดงที่มาให้กำลังใจและเอากับข้าวมาฝาก ก่อนทิ้งท้ายว่าพูดอะไรมากกว่านี้ไม่ได้ผิดกฎของเรือนจำ