ASTVผู้จัดการรายวัน – กรมสรรพสามิตเล็งปรับเพดานภาษีเบียร์หลังจัดเก็บเต็มเพดานมานาน หวังสกัดนักดื่มหน้าใหม่ พบตัวเลขจัดเก็บรายได้ปี 55 เก็บภาษีเบียร์ได้สูงถึง 6.4 หมื่นล้านบาท ขณะที่ภาษีเครื่องดื่มประเภทชาเขียวรับเก็บภาษียาก หวั่นกระทบผู้ปลูกชา
นายสมชาย พูลสวัสดิ์ อธิบดีกรมสรรพสามิต เปิดเผยว่า กรมสรรพสามิตมีแนวคิดจะทบทวนกฎหมายการจัดเก็บภาษีเบียร์ เพราะขณะนี้การจัดเก็บภาษีถือว่าเต็มเพดานแล้ว ซึ่งถือเป็นสินค้าที่กรมสรรพสามิตไม่ได้สนับสนุนให้มีการบริโภคและนับวันตลาดยิ่งโตขึ้น โดยดูจากการจัดเก็บภาษีสิ้นปีงบประมาณ 2555 ที่ผ่านมา จึงมีความเป็นไปได้ที่จะขยับเพดานภาษีขึ้นไปอีกในอนาคต อีกทั้งยังถือเป็นการขยายฐานภาษีควบคู่กันไปด้วย แต่น่าจะต้องใช้เวลาเพราะการแก้กฎหมายต้องเป็นเรื่องนโยบายผลักดันเข้าสู่การพิจารณาอนุมัติของคณะรัฐมนตรี(ครม.) และรัฐสภา แต่ขณะนี้ยังไม่ได้มีการหารือกับทางผู้ประกอบการหรือมีการกำหนดอัตราภาษีใหม่แต่อย่างใด
ส่วนการปรับขึ้นภาษีสุราก่อหน้านี้เท่าที่ดูตัวเลขการจัดเก็บภาษียังไม่ได้มีสัญญาณชี้ชัดว่าผู้บริโภคมีการเปลี่ยนพฤติกรรมจากดื่มสุราหันไปดื่มเบียร์ที่มีราคาถูกกว่าแทน เพราะน่าจะเป็นคนละตลาดและกลุ่มเป้าหมายกัน แต่จากกการจัดเก็บภาษีเดือนตุลาคมที่ผ่านมาพบว่าภาษีเบียร์เพิ่มสูงขึ้นจากเป้าหมายถึงพันกว่าล้านบาทส่วนสุราจัดเก็บได้ลดลงเล็กน้อย
อย่างไรก็ตามยอมรับว่าภาษีสุราที่ปรับขึ้นไปเต็มเพดานและเกือบเต็มเพดานบางตัวนั้นอาจทำให้การบริโภคลดลงชั่วคราวแต่หลังจากนี้น่าจะกลับมาเพิ่มขึ้นและเข้าสู่ภาวะปกติ ยิ่งเข้าสู่ช่วงปลายปีถึงต้นปีหน้า ซึ่งเป็นช่วงเทศกาลเฉลิมฉลองนั้นยิ่งมียอดขายเบียร์ สุรามากกว่าปกติเป็นประจำทุกปี การจัดเก็บภาษีก็น่าจะเพิ่มสูงขึ้นตามไปด้วย
นายสมชายกล่าวว่า สำหรับการจัดเก็บภาษีเครื่องดื่มชนิดอื่นๆ เช่น น้ำอัดลม โซดา เครื่องดื่มบำรุงกำลังว่าถือมียอดการจัดเก็บต่อปีไม่มากนักประมาณ 1 หมื่นล้านบาทแม้ตลาดน้ำอัดลมจะใหญ่ขึ้นเรื่อย เนื่องจากอัตราการจัดเก็บต่ำและคงไปเพิ่มไม่ได้เพราะเป็นสินค้าบริโภคกันทั่วไป จึงทำได้แค่ดูแลไม่ให้รั่วไหลโดยเก็บจากทั้งมิเตอร์หัวจ่ายจากโรงงานและฝาจีบควบคู่กันไป พร้อมทั้งประกาศราคาหน้าโรงงานให้เป็นมาตรฐานเดียวกันหลังจากที่มียี่ห้อใหม่ๆ เข้ามาแข่งขันในตลาด รวมไปถึงเครื่องดื่มชาเขียวที่กรมสรรพสามิตเคยมีแนวคิดจะจัดเก็บนั้นก็น่าจะทำได้ยากเพาะจะกระทบเกษตรกรผู้ปลูกใบชาอีก จึงต้องพิจารณาให้รอบครอบ
สำหรับการจัดเก็บภาษีเบียร์ในปีงบประมาณ 2555 ที่ผ่านมายอมรับว่าเป็นภาษีหลักของกรมสรรพสามิต โดยมีรายได้เป็นอันดับ 2 อยู่ที่ 6.4 หมื่นล้านบาท หรือคิดเป็น 17% ภาษีสุราอยู่อันดับ 4 อยู่ที่ 5.3 หมื่นล้านบาท หรือมีสัดส่วนที่ 14% และมีแนวโน้มจะจัดเก็บได้สูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง ขณะที่รายได้อันดับ1มาจากภาษีรถยนต์ที่อยู่ระดับ1.2 แสนล้านบาทหรือมีสัดส่วน 30% จากที่เคยอยู่ในอันดับ 2 ที่ 8-9 หมื่นล้านบาทแต่ปีที่ผ่านมาจากผลของมาตรการรถคันแรกทำให้ภาษีรถยนต์ขึ้นมาเป็นอันดับหนึ่งแทนที่ภาษีน้ำมันที่หล่นไปอันดับ 2 แทน
นายสมชาย พูลสวัสดิ์ อธิบดีกรมสรรพสามิต เปิดเผยว่า กรมสรรพสามิตมีแนวคิดจะทบทวนกฎหมายการจัดเก็บภาษีเบียร์ เพราะขณะนี้การจัดเก็บภาษีถือว่าเต็มเพดานแล้ว ซึ่งถือเป็นสินค้าที่กรมสรรพสามิตไม่ได้สนับสนุนให้มีการบริโภคและนับวันตลาดยิ่งโตขึ้น โดยดูจากการจัดเก็บภาษีสิ้นปีงบประมาณ 2555 ที่ผ่านมา จึงมีความเป็นไปได้ที่จะขยับเพดานภาษีขึ้นไปอีกในอนาคต อีกทั้งยังถือเป็นการขยายฐานภาษีควบคู่กันไปด้วย แต่น่าจะต้องใช้เวลาเพราะการแก้กฎหมายต้องเป็นเรื่องนโยบายผลักดันเข้าสู่การพิจารณาอนุมัติของคณะรัฐมนตรี(ครม.) และรัฐสภา แต่ขณะนี้ยังไม่ได้มีการหารือกับทางผู้ประกอบการหรือมีการกำหนดอัตราภาษีใหม่แต่อย่างใด
ส่วนการปรับขึ้นภาษีสุราก่อหน้านี้เท่าที่ดูตัวเลขการจัดเก็บภาษียังไม่ได้มีสัญญาณชี้ชัดว่าผู้บริโภคมีการเปลี่ยนพฤติกรรมจากดื่มสุราหันไปดื่มเบียร์ที่มีราคาถูกกว่าแทน เพราะน่าจะเป็นคนละตลาดและกลุ่มเป้าหมายกัน แต่จากกการจัดเก็บภาษีเดือนตุลาคมที่ผ่านมาพบว่าภาษีเบียร์เพิ่มสูงขึ้นจากเป้าหมายถึงพันกว่าล้านบาทส่วนสุราจัดเก็บได้ลดลงเล็กน้อย
อย่างไรก็ตามยอมรับว่าภาษีสุราที่ปรับขึ้นไปเต็มเพดานและเกือบเต็มเพดานบางตัวนั้นอาจทำให้การบริโภคลดลงชั่วคราวแต่หลังจากนี้น่าจะกลับมาเพิ่มขึ้นและเข้าสู่ภาวะปกติ ยิ่งเข้าสู่ช่วงปลายปีถึงต้นปีหน้า ซึ่งเป็นช่วงเทศกาลเฉลิมฉลองนั้นยิ่งมียอดขายเบียร์ สุรามากกว่าปกติเป็นประจำทุกปี การจัดเก็บภาษีก็น่าจะเพิ่มสูงขึ้นตามไปด้วย
นายสมชายกล่าวว่า สำหรับการจัดเก็บภาษีเครื่องดื่มชนิดอื่นๆ เช่น น้ำอัดลม โซดา เครื่องดื่มบำรุงกำลังว่าถือมียอดการจัดเก็บต่อปีไม่มากนักประมาณ 1 หมื่นล้านบาทแม้ตลาดน้ำอัดลมจะใหญ่ขึ้นเรื่อย เนื่องจากอัตราการจัดเก็บต่ำและคงไปเพิ่มไม่ได้เพราะเป็นสินค้าบริโภคกันทั่วไป จึงทำได้แค่ดูแลไม่ให้รั่วไหลโดยเก็บจากทั้งมิเตอร์หัวจ่ายจากโรงงานและฝาจีบควบคู่กันไป พร้อมทั้งประกาศราคาหน้าโรงงานให้เป็นมาตรฐานเดียวกันหลังจากที่มียี่ห้อใหม่ๆ เข้ามาแข่งขันในตลาด รวมไปถึงเครื่องดื่มชาเขียวที่กรมสรรพสามิตเคยมีแนวคิดจะจัดเก็บนั้นก็น่าจะทำได้ยากเพาะจะกระทบเกษตรกรผู้ปลูกใบชาอีก จึงต้องพิจารณาให้รอบครอบ
สำหรับการจัดเก็บภาษีเบียร์ในปีงบประมาณ 2555 ที่ผ่านมายอมรับว่าเป็นภาษีหลักของกรมสรรพสามิต โดยมีรายได้เป็นอันดับ 2 อยู่ที่ 6.4 หมื่นล้านบาท หรือคิดเป็น 17% ภาษีสุราอยู่อันดับ 4 อยู่ที่ 5.3 หมื่นล้านบาท หรือมีสัดส่วนที่ 14% และมีแนวโน้มจะจัดเก็บได้สูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง ขณะที่รายได้อันดับ1มาจากภาษีรถยนต์ที่อยู่ระดับ1.2 แสนล้านบาทหรือมีสัดส่วน 30% จากที่เคยอยู่ในอันดับ 2 ที่ 8-9 หมื่นล้านบาทแต่ปีที่ผ่านมาจากผลของมาตรการรถคันแรกทำให้ภาษีรถยนต์ขึ้นมาเป็นอันดับหนึ่งแทนที่ภาษีน้ำมันที่หล่นไปอันดับ 2 แทน