การทุจริตใด ๆ ก็ตามเป็นความชั่วโดยตัวของมันเองอยู่แล้ว
แต่สำหรับโครงการรับจำนำข้าวเปลือกทุกเมล็ดในราคาสูงกว่าราคาตลาดร้อยละ 40 ที่เป็นไฮไลท์ของการอภิปรายไม่ไว้วางใจรัฐบาลในสภาผู้แทนราษฎรและอภิปรายทั่วไปโดยไม่มีการลงมติในวุฒิสภาเมื่อสัปดาห์ที่ผ่านมานั้น ถ้าหากมีการทุจริตจริง ย้ำนะว่าถ้า ถ้าหาก มันก็จะเป็นการทุจริตที่เป็นความชั่วพิเศษอย่างที่จั่วหัวไว้ข้างต้นนั่นแหละ
ชั่วยกกำลังสาม...
มาดูกันนะว่าแต่ละกำลังที่กำกับให้การทุจริตมันหนักหนาสาหัสจนเกินจะรับ มีอะไรบ้าง...
ชั่วที่ 1 – ก็คือการทุจริตที่เกิดขึ้นในแทบทุกขั้นตอนของโครงการ
ชั่วที่ 2 – ก็คือการทุจริตที่ทำลายสินค้าข้าวไทยทั้งด้านคุณภาพและกลไกการตลาด
ชั่วที่ 3 – ก็คือการทุจริตที่อ้างทฤษฎีปฏิวัติสังคมมาอ้างอิงอย่างหน้าด้าน ๆ
ในการอภิปรายของสภาผู้แทนราษฎร ผู้อภิปรายที่เข้าเป้าที่สุดคือประเสริฐ พงษ์สุวรรณศิริ ส.ส.ยะลา และนพ.วรงค์ เดชกิจวิกรม ส.ส.พิษณุโลก ในช่วงเย็นวันที่ 26 พฤศจิกายน 2555 โดยเฉพาะนพ.วรงค์ เดชกิจวิกรมที่อาจจะกล่าวได้ว่าเป็นการอภิปรายที่ดีที่สุดครั้งหนึ่งในชีวิต เพราะเน้นไปที่ประเด็น G2G จำนวน 7.3 ล้านตัน โดยโฟกัสไปที่บริษัทสยามอินดิก้า ที่แปลงร่างมาจากเพรสซิเดนท์อกรีเทรดดิ้งเทรดดิ้งที่พัวพันกับการทุจริตจนถูกชี้มูลโดยป.ป.ช.มาแล้ว ทั้งในโครงการรับจำนำข้าวแบบนี้ และโครงการบ้านเอื้ออาทร แถมบริษัทและตัวเจ้าของบริษัทก็เป็นหนี้สินธนาคารของรัฐอย่างธนาคารกรุงไทยและธนาคารพาณิชย์อื่นมากมายจนล้มละลายไปแล้ว น่าจะเป็นแบล็คลิสต์ในการทำมาค้าขายกับภาครัฐรวมทั้งกระทรวงพาณิชย์ด้วยซ้ำ ไม่ต้องให้สังคมมาจับตาอย่างทุกวันนี้อีก
จำได้ว่าเคยมีคนแดกดันแปลอักษรย่อ PAT ของบริษัทนี้ว่า "พจมานแอนด์ทักษิณ" มาแล้ว !
ส่วนผมที่ทำหน้าที่อภิปรายสรุปญัตติในวุฒิสภาเมื่อหกโมงเย็นวันที่ 28 พฤศจิกายน 2555 ตัดสินใจใช้หนังสือกระทรวงการคลัง 3 (+ 1) ฉบับเป็นฐาน คือ ฉบับที่ กค 0904/16437 ลงวันที่ 18 กันยายน 2555, ฉบับที่ กค 0904/16437 ลงวันที่ 3 ตุลาคม 2555, ฉบับลงวันที่ 22 มิถุนายน 2555 และฉบับพิเศษลงวันที่ 9 ตุลาคมที่ประทับตราลับ ซึ่งล้วนแสดงความเป็นห่วงในตัวโครงการที่เป็นภาระต่อหนี้สาธารณะและงบประมาณรายจ่ายประจำปี จึงวางมาตรการป้องกันตัวเองและธ.ก.ส. จี้กระทรวงพาณิชย์ให้เร่งขายข้าว-ส่งเงิน พร้อมเสนอให้ประเมินโครงการเพื่อปรับปรุง คำถามแหย่ของผมคือจะทำโครงการนี้ต่อไปอีกนานเท่าไร และจะไม่เป็นการขัดกับยุทธศาสตร์ลงทุนสาธารณูปโภคพื้นฐาน 2.27 ล้านล้านบาทของรัฐบาลเองงั้นหรือ โดยได้ยกหลักคิดของดร.วีรพงษ์ รามางกูรมือยุทธศาสตร์ของรัฐบาลมาเป็นข้อสังเกตในตอนท้าย
สาระลึก ๆ ในการตอบข้ออภิปรายญัตติจำนำข้าวของรัฐบาลในสภาผู้แทนราษฎรไม่มีสาระอะไรมากนัก
โดยเฉพาะในประเด็น G2G ท่านตอบกำปั้นทุบดินสั้น ๆ ง่าย ๆ ว่าเมื่อทำสัญญาขายหน้าคลังให้วิสาหกิจต่างชาติไปแล้ว เขาจะมอบให้ใครไปทำอะไรอย่างไร เรื่องของเขา เราได้เงินแล้วก็จบ
และตราบใดก็ตามยังไม่มีคำพิพากษาถึงที่สุด บริษัทใด ๆ ก็สามารถทำธุรกิจได้ตามปกติ
ส่วนการตอบของรัฐบาลในวุฒิสภาเมื่อค่ำวันที่ 28 พฤศจิกายน 2555 สำหรับผมถือว่าคุ้ม คุ้มที่ได้เห็น "ความต่าง" ของ 3 รัฐมนตรีร่วมรัฐบาล กิตติรัตน์ ณ ระนอง, บุญทรง เตริยาภิรมย์ และณัฐวุฒิ ใสเกื้อ
กิตติรัตน์ ณ ระนองตอบว่าในระยะสั้นจะยังทำโครงการนี้ต่อไป
บุญทรง เตรียาภิรมย์ที่เมื่อวันที่ 26 พฤศจิกายน 2555 ในสภาผู้แทนผู้แทนราษฎรพูดทำนองว่าอาจไม่ทำต่อไป แต่ในวุฒิสภาไม่ตอบ มีแต่สาธยายความยอดเยี่ยมของโครงการ แล้วก็เหน็บหนังสือกระทรวงการคลังที่ผมยกมาเป็นฐานในการอภิปรายว่าเป็นแค่ตัวเลขเบื้องต้น ไม่ใช่ตัวเลขสุดท้าย ยังสรุปตามนั้นไม่ได้ด้วยซ้ำ พอสรุปได้ว่าจะทำโครงการนี้ไปเรื่อย ๆ แน่
แต่ณัฐวุฒิ ใสเกื้อนี่สิ – เจ๋งมาก !
ณัฐวุฒิ ใสเกื้อสวมวิญญาณแกนนำนปช.ตอบเลยว่านี่ไม่ใช่แค่โครงการธรรมดา แต่เป็น "การปฏิวัติการค้าข้าวของประเทศทั้งระบบ..." เป็นการพลิกกลับนาฬิกาทราย จากที่พ่อค้าข้าวส่งออกได้ประโยชน์ เป็นชาวนาได้ประโยชน์ พูดง่าย ๆ ว่าเอาหลักคิดที่นิธิ เอี่ยวศรีวงศ์เคยเขียนไว้เมื่อสองสามอาทิตย์มานี้มาพูด เอาทฤษฎีซ้ายมาพูด
เสียแชมป์ส่งออกไม่เป็นไร เพราะที่เป็นแชมป์มา 30 ปีชาวนาก็จนเหมือนเดิม ความเป็นแชมป์ส่งออกจึงเหมือนชาวนาถูกสวมมงกุฎหนาม การไม่เป็นแชมป์คือการถอดมงกุฎหนามออกให้พี่น้อง
รู้อยู่แล้วว่าทำแล้วต้องมีคนต่อต้าน เพราะเสียประโยชน์...
บลาบลาบลา...ฯลฯ...
สรุปคำตอบของณัฐวุฒิ ใสเกื้อคือต้องเดินหน้าต่อไป เพราะนี่คือก้าวยาวก้าวหนึ่งของการปฏิวัติสังคม
ญัฐวุฒิ ใสเกื้อพูดเก่งมาก จนถ้าผมได้ยินอย่างนี้เมื่อสัก 40 ปีก่อนในยุคเหตุการณ์ 14 ตุลาคม 2516 โน่นผมคงตัวสั่นด้วยความปลาบปลื้มที่ได้เห็นการปฏิวัติสังคมเกิดขึ้น เผอิญวันเวลาผ่านไป ผมโตขึ้น รู้เช่นเห็นชาติผู้คนมากขึ้น อยากจะพูดอยากจะตอบ แต่ยกมือเท่าไรประธานวุฒิสภาก็ไม่เรียกสักที
ผมอยากจะตอบทำนองนี้ครับ...
ไม่มีใครปลื้มกับการเป็นแชมป์ส่งออกข้าวของประเทศโดยที่พ่อค้าข้าวรวยเอา ๆ โดยชาวนาจนเหมือนเดิมหรอก แต่การอ้างอิงชาวนา อ้างอิงการปฏิวัติสังคม ให้ชาวนาได้เงินเพิ่มขึ้นนิดหน่อยเพื่อเอามาจับจ่ายใช่สอยให้ได้ภาษี VAT เพิ่มขึ้น สินค้าของนายทุนขายดีขึ้น แล้วให้รัฐบาลและพ่อค้าในเครือข่ายไปยึดครองผูกขาดการค้าข้าวเสียเอง เพื่อ "สวมตอ" ความรวยเอา ๆ ของพ่อค้าข้าวส่งออก โดยไม่ยี่หระต่อการพังทลายทั้งระบบของข้าวไทย...
มันคืออาชญากรรมโดยแท้ !
ถ้าได้พูด ฐานานุรูปของสมาชิกวุฒิสภาคงจะได้แค่นี้ แต่ ณ ที่นี้ในฐานะคนไทยคนหนึ่ง ผมอยากจะพูดต่อด้วยความจริงใจ
ขอให้ท่านยืนหยัดประกอบอาชญากรรมกันต่อไปเถิด หลอกคนไทยต่อไปเถิด
อย่าถอย !
ท่านเดิมพันกับราคาข้าวในตลาดโลก ผมเดิมพันกับความตื่นรู้ของทุกองค์กรที่มีหน้าที่ของสังคมไทย และความตื่นรู้ของคนไทยทั้งมวล
แพ้ชนะไม่เป็นไร ประเทศไทยไม่ใช่ของใครคนเดียว
ผมทำหน้าที่ของตนเองด้วยความบริสุทธิ์ใจและปรารถนาดีต่อทุกฝ่ายเต็มที่แล้ว
แต่สำหรับโครงการรับจำนำข้าวเปลือกทุกเมล็ดในราคาสูงกว่าราคาตลาดร้อยละ 40 ที่เป็นไฮไลท์ของการอภิปรายไม่ไว้วางใจรัฐบาลในสภาผู้แทนราษฎรและอภิปรายทั่วไปโดยไม่มีการลงมติในวุฒิสภาเมื่อสัปดาห์ที่ผ่านมานั้น ถ้าหากมีการทุจริตจริง ย้ำนะว่าถ้า ถ้าหาก มันก็จะเป็นการทุจริตที่เป็นความชั่วพิเศษอย่างที่จั่วหัวไว้ข้างต้นนั่นแหละ
ชั่วยกกำลังสาม...
มาดูกันนะว่าแต่ละกำลังที่กำกับให้การทุจริตมันหนักหนาสาหัสจนเกินจะรับ มีอะไรบ้าง...
ชั่วที่ 1 – ก็คือการทุจริตที่เกิดขึ้นในแทบทุกขั้นตอนของโครงการ
ชั่วที่ 2 – ก็คือการทุจริตที่ทำลายสินค้าข้าวไทยทั้งด้านคุณภาพและกลไกการตลาด
ชั่วที่ 3 – ก็คือการทุจริตที่อ้างทฤษฎีปฏิวัติสังคมมาอ้างอิงอย่างหน้าด้าน ๆ
ในการอภิปรายของสภาผู้แทนราษฎร ผู้อภิปรายที่เข้าเป้าที่สุดคือประเสริฐ พงษ์สุวรรณศิริ ส.ส.ยะลา และนพ.วรงค์ เดชกิจวิกรม ส.ส.พิษณุโลก ในช่วงเย็นวันที่ 26 พฤศจิกายน 2555 โดยเฉพาะนพ.วรงค์ เดชกิจวิกรมที่อาจจะกล่าวได้ว่าเป็นการอภิปรายที่ดีที่สุดครั้งหนึ่งในชีวิต เพราะเน้นไปที่ประเด็น G2G จำนวน 7.3 ล้านตัน โดยโฟกัสไปที่บริษัทสยามอินดิก้า ที่แปลงร่างมาจากเพรสซิเดนท์อกรีเทรดดิ้งเทรดดิ้งที่พัวพันกับการทุจริตจนถูกชี้มูลโดยป.ป.ช.มาแล้ว ทั้งในโครงการรับจำนำข้าวแบบนี้ และโครงการบ้านเอื้ออาทร แถมบริษัทและตัวเจ้าของบริษัทก็เป็นหนี้สินธนาคารของรัฐอย่างธนาคารกรุงไทยและธนาคารพาณิชย์อื่นมากมายจนล้มละลายไปแล้ว น่าจะเป็นแบล็คลิสต์ในการทำมาค้าขายกับภาครัฐรวมทั้งกระทรวงพาณิชย์ด้วยซ้ำ ไม่ต้องให้สังคมมาจับตาอย่างทุกวันนี้อีก
จำได้ว่าเคยมีคนแดกดันแปลอักษรย่อ PAT ของบริษัทนี้ว่า "พจมานแอนด์ทักษิณ" มาแล้ว !
ส่วนผมที่ทำหน้าที่อภิปรายสรุปญัตติในวุฒิสภาเมื่อหกโมงเย็นวันที่ 28 พฤศจิกายน 2555 ตัดสินใจใช้หนังสือกระทรวงการคลัง 3 (+ 1) ฉบับเป็นฐาน คือ ฉบับที่ กค 0904/16437 ลงวันที่ 18 กันยายน 2555, ฉบับที่ กค 0904/16437 ลงวันที่ 3 ตุลาคม 2555, ฉบับลงวันที่ 22 มิถุนายน 2555 และฉบับพิเศษลงวันที่ 9 ตุลาคมที่ประทับตราลับ ซึ่งล้วนแสดงความเป็นห่วงในตัวโครงการที่เป็นภาระต่อหนี้สาธารณะและงบประมาณรายจ่ายประจำปี จึงวางมาตรการป้องกันตัวเองและธ.ก.ส. จี้กระทรวงพาณิชย์ให้เร่งขายข้าว-ส่งเงิน พร้อมเสนอให้ประเมินโครงการเพื่อปรับปรุง คำถามแหย่ของผมคือจะทำโครงการนี้ต่อไปอีกนานเท่าไร และจะไม่เป็นการขัดกับยุทธศาสตร์ลงทุนสาธารณูปโภคพื้นฐาน 2.27 ล้านล้านบาทของรัฐบาลเองงั้นหรือ โดยได้ยกหลักคิดของดร.วีรพงษ์ รามางกูรมือยุทธศาสตร์ของรัฐบาลมาเป็นข้อสังเกตในตอนท้าย
สาระลึก ๆ ในการตอบข้ออภิปรายญัตติจำนำข้าวของรัฐบาลในสภาผู้แทนราษฎรไม่มีสาระอะไรมากนัก
โดยเฉพาะในประเด็น G2G ท่านตอบกำปั้นทุบดินสั้น ๆ ง่าย ๆ ว่าเมื่อทำสัญญาขายหน้าคลังให้วิสาหกิจต่างชาติไปแล้ว เขาจะมอบให้ใครไปทำอะไรอย่างไร เรื่องของเขา เราได้เงินแล้วก็จบ
และตราบใดก็ตามยังไม่มีคำพิพากษาถึงที่สุด บริษัทใด ๆ ก็สามารถทำธุรกิจได้ตามปกติ
ส่วนการตอบของรัฐบาลในวุฒิสภาเมื่อค่ำวันที่ 28 พฤศจิกายน 2555 สำหรับผมถือว่าคุ้ม คุ้มที่ได้เห็น "ความต่าง" ของ 3 รัฐมนตรีร่วมรัฐบาล กิตติรัตน์ ณ ระนอง, บุญทรง เตริยาภิรมย์ และณัฐวุฒิ ใสเกื้อ
กิตติรัตน์ ณ ระนองตอบว่าในระยะสั้นจะยังทำโครงการนี้ต่อไป
บุญทรง เตรียาภิรมย์ที่เมื่อวันที่ 26 พฤศจิกายน 2555 ในสภาผู้แทนผู้แทนราษฎรพูดทำนองว่าอาจไม่ทำต่อไป แต่ในวุฒิสภาไม่ตอบ มีแต่สาธยายความยอดเยี่ยมของโครงการ แล้วก็เหน็บหนังสือกระทรวงการคลังที่ผมยกมาเป็นฐานในการอภิปรายว่าเป็นแค่ตัวเลขเบื้องต้น ไม่ใช่ตัวเลขสุดท้าย ยังสรุปตามนั้นไม่ได้ด้วยซ้ำ พอสรุปได้ว่าจะทำโครงการนี้ไปเรื่อย ๆ แน่
แต่ณัฐวุฒิ ใสเกื้อนี่สิ – เจ๋งมาก !
ณัฐวุฒิ ใสเกื้อสวมวิญญาณแกนนำนปช.ตอบเลยว่านี่ไม่ใช่แค่โครงการธรรมดา แต่เป็น "การปฏิวัติการค้าข้าวของประเทศทั้งระบบ..." เป็นการพลิกกลับนาฬิกาทราย จากที่พ่อค้าข้าวส่งออกได้ประโยชน์ เป็นชาวนาได้ประโยชน์ พูดง่าย ๆ ว่าเอาหลักคิดที่นิธิ เอี่ยวศรีวงศ์เคยเขียนไว้เมื่อสองสามอาทิตย์มานี้มาพูด เอาทฤษฎีซ้ายมาพูด
เสียแชมป์ส่งออกไม่เป็นไร เพราะที่เป็นแชมป์มา 30 ปีชาวนาก็จนเหมือนเดิม ความเป็นแชมป์ส่งออกจึงเหมือนชาวนาถูกสวมมงกุฎหนาม การไม่เป็นแชมป์คือการถอดมงกุฎหนามออกให้พี่น้อง
รู้อยู่แล้วว่าทำแล้วต้องมีคนต่อต้าน เพราะเสียประโยชน์...
บลาบลาบลา...ฯลฯ...
สรุปคำตอบของณัฐวุฒิ ใสเกื้อคือต้องเดินหน้าต่อไป เพราะนี่คือก้าวยาวก้าวหนึ่งของการปฏิวัติสังคม
ญัฐวุฒิ ใสเกื้อพูดเก่งมาก จนถ้าผมได้ยินอย่างนี้เมื่อสัก 40 ปีก่อนในยุคเหตุการณ์ 14 ตุลาคม 2516 โน่นผมคงตัวสั่นด้วยความปลาบปลื้มที่ได้เห็นการปฏิวัติสังคมเกิดขึ้น เผอิญวันเวลาผ่านไป ผมโตขึ้น รู้เช่นเห็นชาติผู้คนมากขึ้น อยากจะพูดอยากจะตอบ แต่ยกมือเท่าไรประธานวุฒิสภาก็ไม่เรียกสักที
ผมอยากจะตอบทำนองนี้ครับ...
ไม่มีใครปลื้มกับการเป็นแชมป์ส่งออกข้าวของประเทศโดยที่พ่อค้าข้าวรวยเอา ๆ โดยชาวนาจนเหมือนเดิมหรอก แต่การอ้างอิงชาวนา อ้างอิงการปฏิวัติสังคม ให้ชาวนาได้เงินเพิ่มขึ้นนิดหน่อยเพื่อเอามาจับจ่ายใช่สอยให้ได้ภาษี VAT เพิ่มขึ้น สินค้าของนายทุนขายดีขึ้น แล้วให้รัฐบาลและพ่อค้าในเครือข่ายไปยึดครองผูกขาดการค้าข้าวเสียเอง เพื่อ "สวมตอ" ความรวยเอา ๆ ของพ่อค้าข้าวส่งออก โดยไม่ยี่หระต่อการพังทลายทั้งระบบของข้าวไทย...
มันคืออาชญากรรมโดยแท้ !
ถ้าได้พูด ฐานานุรูปของสมาชิกวุฒิสภาคงจะได้แค่นี้ แต่ ณ ที่นี้ในฐานะคนไทยคนหนึ่ง ผมอยากจะพูดต่อด้วยความจริงใจ
ขอให้ท่านยืนหยัดประกอบอาชญากรรมกันต่อไปเถิด หลอกคนไทยต่อไปเถิด
อย่าถอย !
ท่านเดิมพันกับราคาข้าวในตลาดโลก ผมเดิมพันกับความตื่นรู้ของทุกองค์กรที่มีหน้าที่ของสังคมไทย และความตื่นรู้ของคนไทยทั้งมวล
แพ้ชนะไม่เป็นไร ประเทศไทยไม่ใช่ของใครคนเดียว
ผมทำหน้าที่ของตนเองด้วยความบริสุทธิ์ใจและปรารถนาดีต่อทุกฝ่ายเต็มที่แล้ว