ที่สุด “ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร” นายกรัฐมนตรี ฝ่าดงคมมีดของ “พรรคประชาธิปัตย์” (ปชป.) ในศึกอภิปรายไม่ไว้วางใจไปอย่างสบายๆโดยอาศัย “บุญเก่า” ที่มีมากโข ผสมกับ “บุญใหม่” ที่บรรดาฝ่ายค้าน “ปากแห้ง” ยี่ห้อ “ภูมิใจไทย” ประเคนคะแนนเสียงให้ เพราะหวังใจลึกๆ ว่าจะได้รับเทียบเชิญเข้าร่วมรัฐบาลกับเขาด้วย ทำให้ “ยิ่งลักษณ์” ได้รับคะแนนไว้วางใจท่วมท้น 308 เสียงต่อ 159 เสียง
หายใจโล่งไปหนึ่งเปลาะ ปิดเกมในสภาไปได้ชั่วครู่หนึ่ง ส่วนประชาธิปัตย์ จะยื่นให้องค์กรอิสระ หรือหน่วยงานใดดำเนินการ “เช็กบิล” รัฐบาลต่อ ค่อยว่ากันอีกที
แต่ที่แน่ๆ เริ่มมีความเคลื่อนไหวเกี่ยวกับการแก้ไข “รัฐธรรมนูญ” ออกมาให้เห็นกันบ้างแล้ว เพราะมีข่าวออกมาว่า “คณะทำงานของพรรคร่วมรัฐบาลศึกษาแนวทางแก้ไขรัฐธรรมนูญ” ที่มี “โภคิน พลกุล” นั่งเป็นประธาน ได้สรุปแนวทางในการแก้ไขรัฐธรรมนูญส่งไปยังพรรคร่วมรัฐบาลแล้ว
จากเดินสาย “ฟอก” ให้การแก้ไขมาตรา 190 มีความชอบธรรมเพิ่มมากขึ้น ภายหลังที่ “ศาลรัฐธรรมนูญ” ตีความออกมาสองแง่สองง่าม ดังนี้ ประเด็นที่ 1 ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยว่า ศาลรัฐธรรมนูญมีอำนาจรับคำร้องโดยตรงจากบุคคลได้ตาม มาตรา 68 ตามสิทธิพิทักษ์รัฐธรรมนูญ โดยเห็นว่าการที่อัยการสูงสุดไม่ส่งคำร้อง ไม่เป็นการตัดสิทธิ
ประเด็นที่ 2 ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยว่า ตาม มาตรา 291 ไม่สามารถแก้ไขรัฐธรรมนูญทั้งฉบับได้ ควรให้ประชาชนทำประชามติก่อน ว่าต้องการให้จัดทำรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ หรือไม่ หรือแก้รายมาตราโดยสภา
ประเด็นที่ 3 ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยว่า การแก้รัฐธรรมนูญไม่ขัดต่อ มาตรา 68 ว่าด้วยการล้มล้างการปกครองระบอบประชาธิปไตย เพราะร่างที่ผ่านวาระ 2 ไป ในมาตรา 291/11 มีเขียนป้องกันไว้แล้ว
ประเด็นที่ 4 ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยว่า การแก้รัฐธรรมนูญไม่ขัดต่อ มาตรา 68 ไม่ต้องตัดสินยุบพรรค - ตัดสิทธิกรรมการบริหารพรรค
คำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญดังกล่าวทำให้ “เพื่อไทย” ติดชนัก ก้าวขาไม่ออก และไม่กล้าขยับตัวเดินหน้าต่อ เพราะเกรงกลัวว่า อาจจะมีผลต่อพรรคเพื่อไทยให้โดนยุบพรรคในภายหลังได้
จึงต้องเรียกใช้ “โภคิน” มารับหน้าเสื่อ ตั้งวงประชุม โดยคัดเลือกตัวแทนจากกลุ่มต่างๆ 5 กลุ่ม ดังนี้ 1. นักวิชาการจากสถาบันพระปกเกล้า ที่เคยศึกษาวิจัยเรื่องแนวทางการสร้างความปรองดอง 2. ศูนย์ศึกษาและพัฒนาสันติวิธี มหาวิทยาลัยมหิดล ที่มี นายโคทม อารียา เป็นผู้อำนวยการ
3. นายดิเรก ถึงฝั่ง ส.ว.นนทบุรี อดีตประธานคณะกรรมการสมานฉันท์เพื่อปฏิรูปการเมืองและศึกษาการแก้ไขรัฐธรรมนูญ ในสมัยรัฐบาล นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ อดีตนายกรัฐมนตรี 4. นายสมบัติ ธำรงธัญวงศ์ อธิการบดีสถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ (นิด้า) ในฐานะอดีตประธานพิจารณาแนวทางการแก้ไขรัฐธรรมนูญในสมัยรัฐบาลนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ 5. นักวิชาการจากมหาวิทยาลัยเที่ยงคืน
ส่วนจะ“ฟอก” ให้ร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญ มาตรา 190 มีความชอบธรรมมากน้อยแค่ไหน ต้องรอติดตามตัวร่างเต็มที่ "โภคิน" ได้จัดส่งไปแล้ว
โดยไทม์ไลน์เดิม “โภคิน” เตรียมส่งวาระแก้ไขรัฐธรรมนูญ มาตรา 190 เข้าสู่ที่ประชุมสภาให้ทันก่อนปิดประชุมสภาสมัยสามัญทั่วไป ในวันที่ 29พฤศจิกายน แต่ติดเงื่อนไขตรงที่ฝ่ายค้านได้ยื่นอภิปรายไม่ไว้วางใจรัฐบาลเสียก่อน กำหนดการจึงต้องถอยร่นออกไป
**โดยคร่าวๆ ทางพรรคเพื่อไทยระบุว่าจะมีการเปิดแคมเปญแก้ไขรัฐธรรมนูญ จึงอาศัยช่วงเวลาที่เหมาะสมที่สุดที่จะกลับมาพูดถึงเรื่องรัฐธรรมนูญจึงปักธงเอาวันที่ 10 ธันวาคม ซึ่งตรงกับ “วันรัฐธรรมนูญ” พอดิบพอดี เป็นวันประกาศแนวทางแก้ไขรัฐธรรมนูญของรัฐบาล
เมื่อรัฐบาลประกาศแนวทางแก้ไขรัฐธรรมนูญเสร็จสิ้น จะอาศัย “วันรัฐธรรมนูญ” รณรงค์แก้ไขรัฐธรรมนูญไปในตัว โดยจะชี้แจงต่อประชาชนถึง ผลดี-ผลเสีย หากไม่แก้ไขรัฐธรรมนูญ ซึ่งแน่นอนรัฐบาลจะพูดถึง “ผลดี” ให้มากกว่า “ผลเสีย” ที่รัฐบาลมองว่ามีเพียงแค่นิดเดียว
ส่วนที่มีการกล่าวหาว่า “พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร” ได้ประโยชน์จากการแก้ไขรัฐธรรมนูญ รัฐบาลจะไม่มีการพูดถึงอย่างแน่นอน เพียงแต่จะระบุว่า ประชาชนคนไทยได้ประโยชน์จากการแก้ไขรัฐธรรมนูญครั้งนี้ จากนั้นเพื่อไทยจะรอให้เปิดประชุมสภาสมัยนิติบัญญัติ ในวันที่ 21 ธ.ค. เพื่อนำวาระการแก้ไขรัฐธรรมนูญ เข้าสู่ที่ประชุมสภาทันที
ซึ่งคาดการณ์กันว่า “เพื่อไทย” และ “พรรคร่วมรัฐบาล” จะเสนอให้มีการโหวตรับร่าง วาระ 3 เพื่อเปิดทางให้ตั้ง “สมาชิกสภาร่างรัฐธรรมนูญ 3” (ส.ส.ร.) ในทันทีเช่นกัน
เพราะประเมินกันแล้วว่า สามารถนำความเห็นของ “นักวิชาการ” กลุ่มต่างๆ ที่ “โภคิน” เดินสายจัดประชุมพูดคุยนำมาอ้างความชอบธรรมได้ อีกทั้งประเมินแล้วว่า “แรงต้าน” ทั้งในสภาและนอกสภาจะมีน้อย
เนื่องจากเสียงในสภาเท่าที่สะท้อนให้เห็นจากคะแนนอภิปรายไม่ไว้วางใจแล้วว่า “เพื่อไทย” ได้คะแนนสนับสนุนเยอะแน่นอน เพราะนอกจากเสียงสนับสนุนจาก “พรรคร่วมรัฐบาล” แล้ว ยังมีเสียงสนับสนุนจาก “ฝ่ายค้านบางส่วน” ทั้งจากพรรคภูมิใจไทย มาตุภูมิ รักประเทศไทย เข้ามาเพิ่มเติมอีกต่างหาก
เนื่องจากการชุมนุมของ “องค์การพิทักษ์สยาม” ภายใต้การนำของ พล.อ.บุญเลิศ แก้วประสิทธิ์ หรือ เสธ.อ้าย ไม่สามารถทำอะไรรัฐบาลได้ ที่สำคัญมีความเชื่อมั่นว่ากลไกของรัฐบาล ขณะนี้มีความเข้มแข็งมากพอในการรับมือกับการชุมนุมทางการเมือง
ดังนั้นการเมืองฉากต่อไปเราจะได้เห็นการใส่เกียร์เดินหน้าของ “รัฐบาล-พรรคเพื่อไทย-พรรคร่วมรัฐบาล-คนเสื้อแดง” อย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ แต่จะสำเร็จตามแผนการหรือไม่ต้องพิสูจน์กัน
**แต่เมื่อองคาพยพ "สมุนแม้ว" พร้อมที่จะเดินหน้าถวายหัวทำงานเพื่อ “นายใหญ่” อีกคำรบหนึ่ง บรรดา “คนเกลียดแม้ว” ก็พร้อมที่จะออกมาปกป้อง “แผ่นดิน” อีกคำรบหนึ่งเช่นกัน
หายใจโล่งไปหนึ่งเปลาะ ปิดเกมในสภาไปได้ชั่วครู่หนึ่ง ส่วนประชาธิปัตย์ จะยื่นให้องค์กรอิสระ หรือหน่วยงานใดดำเนินการ “เช็กบิล” รัฐบาลต่อ ค่อยว่ากันอีกที
แต่ที่แน่ๆ เริ่มมีความเคลื่อนไหวเกี่ยวกับการแก้ไข “รัฐธรรมนูญ” ออกมาให้เห็นกันบ้างแล้ว เพราะมีข่าวออกมาว่า “คณะทำงานของพรรคร่วมรัฐบาลศึกษาแนวทางแก้ไขรัฐธรรมนูญ” ที่มี “โภคิน พลกุล” นั่งเป็นประธาน ได้สรุปแนวทางในการแก้ไขรัฐธรรมนูญส่งไปยังพรรคร่วมรัฐบาลแล้ว
จากเดินสาย “ฟอก” ให้การแก้ไขมาตรา 190 มีความชอบธรรมเพิ่มมากขึ้น ภายหลังที่ “ศาลรัฐธรรมนูญ” ตีความออกมาสองแง่สองง่าม ดังนี้ ประเด็นที่ 1 ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยว่า ศาลรัฐธรรมนูญมีอำนาจรับคำร้องโดยตรงจากบุคคลได้ตาม มาตรา 68 ตามสิทธิพิทักษ์รัฐธรรมนูญ โดยเห็นว่าการที่อัยการสูงสุดไม่ส่งคำร้อง ไม่เป็นการตัดสิทธิ
ประเด็นที่ 2 ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยว่า ตาม มาตรา 291 ไม่สามารถแก้ไขรัฐธรรมนูญทั้งฉบับได้ ควรให้ประชาชนทำประชามติก่อน ว่าต้องการให้จัดทำรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ หรือไม่ หรือแก้รายมาตราโดยสภา
ประเด็นที่ 3 ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยว่า การแก้รัฐธรรมนูญไม่ขัดต่อ มาตรา 68 ว่าด้วยการล้มล้างการปกครองระบอบประชาธิปไตย เพราะร่างที่ผ่านวาระ 2 ไป ในมาตรา 291/11 มีเขียนป้องกันไว้แล้ว
ประเด็นที่ 4 ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยว่า การแก้รัฐธรรมนูญไม่ขัดต่อ มาตรา 68 ไม่ต้องตัดสินยุบพรรค - ตัดสิทธิกรรมการบริหารพรรค
คำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญดังกล่าวทำให้ “เพื่อไทย” ติดชนัก ก้าวขาไม่ออก และไม่กล้าขยับตัวเดินหน้าต่อ เพราะเกรงกลัวว่า อาจจะมีผลต่อพรรคเพื่อไทยให้โดนยุบพรรคในภายหลังได้
จึงต้องเรียกใช้ “โภคิน” มารับหน้าเสื่อ ตั้งวงประชุม โดยคัดเลือกตัวแทนจากกลุ่มต่างๆ 5 กลุ่ม ดังนี้ 1. นักวิชาการจากสถาบันพระปกเกล้า ที่เคยศึกษาวิจัยเรื่องแนวทางการสร้างความปรองดอง 2. ศูนย์ศึกษาและพัฒนาสันติวิธี มหาวิทยาลัยมหิดล ที่มี นายโคทม อารียา เป็นผู้อำนวยการ
3. นายดิเรก ถึงฝั่ง ส.ว.นนทบุรี อดีตประธานคณะกรรมการสมานฉันท์เพื่อปฏิรูปการเมืองและศึกษาการแก้ไขรัฐธรรมนูญ ในสมัยรัฐบาล นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ อดีตนายกรัฐมนตรี 4. นายสมบัติ ธำรงธัญวงศ์ อธิการบดีสถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ (นิด้า) ในฐานะอดีตประธานพิจารณาแนวทางการแก้ไขรัฐธรรมนูญในสมัยรัฐบาลนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ 5. นักวิชาการจากมหาวิทยาลัยเที่ยงคืน
ส่วนจะ“ฟอก” ให้ร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญ มาตรา 190 มีความชอบธรรมมากน้อยแค่ไหน ต้องรอติดตามตัวร่างเต็มที่ "โภคิน" ได้จัดส่งไปแล้ว
โดยไทม์ไลน์เดิม “โภคิน” เตรียมส่งวาระแก้ไขรัฐธรรมนูญ มาตรา 190 เข้าสู่ที่ประชุมสภาให้ทันก่อนปิดประชุมสภาสมัยสามัญทั่วไป ในวันที่ 29พฤศจิกายน แต่ติดเงื่อนไขตรงที่ฝ่ายค้านได้ยื่นอภิปรายไม่ไว้วางใจรัฐบาลเสียก่อน กำหนดการจึงต้องถอยร่นออกไป
**โดยคร่าวๆ ทางพรรคเพื่อไทยระบุว่าจะมีการเปิดแคมเปญแก้ไขรัฐธรรมนูญ จึงอาศัยช่วงเวลาที่เหมาะสมที่สุดที่จะกลับมาพูดถึงเรื่องรัฐธรรมนูญจึงปักธงเอาวันที่ 10 ธันวาคม ซึ่งตรงกับ “วันรัฐธรรมนูญ” พอดิบพอดี เป็นวันประกาศแนวทางแก้ไขรัฐธรรมนูญของรัฐบาล
เมื่อรัฐบาลประกาศแนวทางแก้ไขรัฐธรรมนูญเสร็จสิ้น จะอาศัย “วันรัฐธรรมนูญ” รณรงค์แก้ไขรัฐธรรมนูญไปในตัว โดยจะชี้แจงต่อประชาชนถึง ผลดี-ผลเสีย หากไม่แก้ไขรัฐธรรมนูญ ซึ่งแน่นอนรัฐบาลจะพูดถึง “ผลดี” ให้มากกว่า “ผลเสีย” ที่รัฐบาลมองว่ามีเพียงแค่นิดเดียว
ส่วนที่มีการกล่าวหาว่า “พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร” ได้ประโยชน์จากการแก้ไขรัฐธรรมนูญ รัฐบาลจะไม่มีการพูดถึงอย่างแน่นอน เพียงแต่จะระบุว่า ประชาชนคนไทยได้ประโยชน์จากการแก้ไขรัฐธรรมนูญครั้งนี้ จากนั้นเพื่อไทยจะรอให้เปิดประชุมสภาสมัยนิติบัญญัติ ในวันที่ 21 ธ.ค. เพื่อนำวาระการแก้ไขรัฐธรรมนูญ เข้าสู่ที่ประชุมสภาทันที
ซึ่งคาดการณ์กันว่า “เพื่อไทย” และ “พรรคร่วมรัฐบาล” จะเสนอให้มีการโหวตรับร่าง วาระ 3 เพื่อเปิดทางให้ตั้ง “สมาชิกสภาร่างรัฐธรรมนูญ 3” (ส.ส.ร.) ในทันทีเช่นกัน
เพราะประเมินกันแล้วว่า สามารถนำความเห็นของ “นักวิชาการ” กลุ่มต่างๆ ที่ “โภคิน” เดินสายจัดประชุมพูดคุยนำมาอ้างความชอบธรรมได้ อีกทั้งประเมินแล้วว่า “แรงต้าน” ทั้งในสภาและนอกสภาจะมีน้อย
เนื่องจากเสียงในสภาเท่าที่สะท้อนให้เห็นจากคะแนนอภิปรายไม่ไว้วางใจแล้วว่า “เพื่อไทย” ได้คะแนนสนับสนุนเยอะแน่นอน เพราะนอกจากเสียงสนับสนุนจาก “พรรคร่วมรัฐบาล” แล้ว ยังมีเสียงสนับสนุนจาก “ฝ่ายค้านบางส่วน” ทั้งจากพรรคภูมิใจไทย มาตุภูมิ รักประเทศไทย เข้ามาเพิ่มเติมอีกต่างหาก
เนื่องจากการชุมนุมของ “องค์การพิทักษ์สยาม” ภายใต้การนำของ พล.อ.บุญเลิศ แก้วประสิทธิ์ หรือ เสธ.อ้าย ไม่สามารถทำอะไรรัฐบาลได้ ที่สำคัญมีความเชื่อมั่นว่ากลไกของรัฐบาล ขณะนี้มีความเข้มแข็งมากพอในการรับมือกับการชุมนุมทางการเมือง
ดังนั้นการเมืองฉากต่อไปเราจะได้เห็นการใส่เกียร์เดินหน้าของ “รัฐบาล-พรรคเพื่อไทย-พรรคร่วมรัฐบาล-คนเสื้อแดง” อย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ แต่จะสำเร็จตามแผนการหรือไม่ต้องพิสูจน์กัน
**แต่เมื่อองคาพยพ "สมุนแม้ว" พร้อมที่จะเดินหน้าถวายหัวทำงานเพื่อ “นายใหญ่” อีกคำรบหนึ่ง บรรดา “คนเกลียดแม้ว” ก็พร้อมที่จะออกมาปกป้อง “แผ่นดิน” อีกคำรบหนึ่งเช่นกัน