ช่วงอาทิตย์ที่ผ่านมาได้มีโอกาสเดินทางเข้ามายังกรุงเทพเมืองมหานคร หลังจากที่ไม่ได้ใช้ชีวิตในกรุงเทพมหานครมากว่า10 ปี ตลอดสองข้างทางพบว่ามีการเปลี่ยนแปลงไปจากเดิมที่เมื่อก่อนเป็นเพียงอาคารพาณิชย์ห้องแถวแต่ปัจจุบันได้กลายสภาพเป็นตึกสูงแออัดเบียดเสียดกันตามสองข้างทางบนถนนสายสำคัญ พร้อมกับการฝ่าการจราจรที่ติดขัดนานเป็นชั่วโมงเพื่อเข้าสู่ที่พัก ไม่แปลกใจกับสภาพการจราจรในกรุงเทพมหานครเนื่องจากล่าสุด รั้งตำแหน่ง 1 ใน 10 ของเมืองใหญ่ที่มีการจราจรติดขัดมากที่สุด จากข้อมูลการจดทะเบียนรถในกรุงเทพมหานครพบว่า ในเดือนกันยายน 2555 มีจำนวนรถจดทะเบียนรวมทุกประเภทรถกรุงเทพมหานคร7,313,268 คัน (กรมการขนส่งทางบก กระทรวงคมนาคม) ในขนาดที่มีการประเมินว่าถนนในกรุงเทพมหานครสามารถรองรับปริมาณรถได้ไม่ถึง 2 ล้านคัน จึงเป็นสาเหตุที่ทำให้เกิดการจราจรติดขัด
ที่ผ่านมามีหลายคนตั้งคำถามว่าทำไมไม่เพิ่มจำนวนถนนให้สามารถรองรับปริมาณรถได้อย่างเพียงพอ ในทางกลับกันเรามาลองคิดนอกกรอบดูไหมว่าทำไม่เราไม่ควบคุมจำนวนรถให้เพียงพอกับถนนที่เรามีอยู่ ในเมื่อต้นเหตุของปัญหามันอยู่ที่ปริมาณรถที่มีแนวโน้มเพิ่มขึ้นอย่างไม่หยุดยั้ง จนถึงขั้นกรมการขนส่งทางบกไม่สามารถผลิตป้ายทะเบียนรถได้ทันความต้องการ ถึงกับต้องออกแบบป้ายทะเบียนรถแบบใหม่เพื่อรองรับความต้องการได้เป็น 100 ปีด้วยความภาคภูมิใจ อีกเหตุผลหนึ่งที่ปฏิเสธไม่ได้ว่าเป็นสาเหตุในการเพิ่มขึ้นของจำนวนรถคือนโยบายรถคันแรก ซึ่งหลายคนคงได้มีโอกาสได้ใช้บริการของนโยบายดังกล่าวบ้างแล้ว นโยบายและแนวคิดต่างๆ เหล่านี้ล้วนเป็นการส่งเสริมให้มีการใช้รถส่วนบุคคลเพิ่มมากขึ้น สวนทางกับการพยายามพัฒนาระบบขนส่งสาธารณะในเขตกรุงเทพมหานคร
จากปัญหาการจราจรติดขัดทำให้มีการพยายามในการแก้ไขปัญหาดังกล่าว โดยมีทั้งแนวทางในการเอาเกาะกลางถนนออกเพื่อเพิ่มผิวทางจราจร การนำระบบเทคโนโลยีมาประยุกต์ในการจัดการสภาพจราจร รวมถึงการประชาสัมพันธ์และรณรงค์ให้ใช้ระบบขนส่งสาธารณะ การใช้จักรยานในการเดินทาง แต่มันเป็นเพียงการแก้ปัญหาที่ปลายเหตุ หลายๆเมืองที่ประสบปัญหาเช่นเดียวกับเราเริ่มหันมาทำการควบคุมปริมาณรถที่จะเข้าสู่ท้องถนน เนื่องจากเขาไม่ต้องการให้เกิดปัญหารถติด ที่จะส่งผลเสียต่อภาพลักษณ์ และระบบเศรษฐกิจ รวมถึงการเข้ามาลงทุนภายในประเทศ โดยใช้มาตรการในการเพิ่มค่าใช้จ่ายให้กับผู้ที่ใช้รถ เช่นการคิดค่าจอดรถ การเพิ่มภาษีน้ำมัน การขึ้นภาษีรถ ฯลฯ ซึ่งจะส่งผลในการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมในการเดินทางและเริ่มหันกับมาใช้ระบบขนส่งสาธารณะที่มีการสนับสนุนจากภาครัฐทำให้ค่าใช้จ่ายในการเดินทางที่ถูกว่าการใช้รถส่วนบุคคล
ในประเทศสิงคโปร์ประเทศเพื่อนบ้านของเราในกลุ่มอาเซียน มีนโยบายในการควบคุมปริมาณรถที่น่าสนใจ ในสิงคโปร์ทุกคนมีสิทธิ์ที่จะชื้อรถมาใช้แต่ทางรัฐกำหนดอายุของทะเบียนรถไว้ที่ 10 ปี ขอย้ำว่าอายุทะเบียนรถไม่ใช่อายุรถ ทำไมถึงกำหนดอายุทะเบียนรถเรามาดูความชาญฉลาดของนโยบายกันครับโดยระบบนี้เรียกว่า Certificate of Entitlement (COE) เป็นระบบจำกัดจำนวนยานยนต์ของรัฐบาลสิงคโปร์ เริ่มใช้เมื่อเดือนพฤษภาคม ค.ศ. 1990 ผู้ซื้อยานยนต์จะต้องประมูลซื้อ COE โดยที่ COE มีจำนวนจำกัดภายใต้การควบคุมของรัฐ ผู้ถือ COE มีสิทธิ์ครอบครองยานยนต์ได้เป็นเวลา 10 ปี เมื่อครบเวลาดังกล่าวจะต้องทำลายยานยนต์หรือ ส่งออกยานยนต์ หรือต่ออายุ COE ไปอีกหนึ่งครั้งมีกำหนด 5 หรือ 10 ปี (ต่ออายุได้เพียงครั้งเดียว) เจ้า COE ถูกแบ่งออกเป็น 5 ประเภทดังนี้
ประเภทถ่ายโอนมิได้:
•ประเภท A: รถยนต์ (1,600 ซีซีหรือต่ำกว่า) และแท๊กซี่
•ประเภท B: รถยนต์ (ตั้งแต่ 1,601 ซีซี ขึ้นไป)
•ประเภท D: จักรยานยนต์
ประเภทถ่ายโอนได้:
•ประเภท C: รถขนส่งสินค้าและรถโดยสารขนาดใหญ่
•ประเภท E: Open Category (ใช้กับยานยนต์ประเภทใดก็ได้ แต่โดยส่วนใหญ่มักนำไปใช้กับรถยนต์)
การประมูล COE เริ่มต้นในวันจันทร์แรกและวันจันทร์ที่สามของเดือน และมักจะดำเนินต่อไปถึงวันพุธ (อาจเลื่อนออกไปถ้าเป็นวันหยุดทำการ) ตั้งแต่ ค.ศ. 2009 ถึง ค.ศ. 2011 การเติบโตของยานยนต์ถูกกำหนดไว้ที่ 1.5% ต่อปี สำหรับในครึ่งแรกของ ค.ศ. 2012 (ก.พ.-ก.ค.) จะคงอัตรานี้ต่อไปชั่วคราว และจากนี้ต่อไปถึง ค.ศ. 2014 จะลดอัตราการเติบโตเหลือเพียง 0.5%
อย่างไรก็ดี การประมูล COE จะนำยอดยานยนต์ที่ถูกทำลายหรือส่งออกไปแล้วกลับมาให้ประมูลใหม่ด้วยในแต่ละเดือนทางรัฐบาลจะทำการกำหนดโควตาว่าเดือนนี้จะออกป้ายทะเบียนรถออกมาเท่าไหร่เช่นช่วงเดือนตุลาคมนี้ได้กำหนดทะเบียนไว้ ราว 3,200 คัน รวมทั้ง 5 ประเภท โดยผู้ที่จะได้โควตาจะต้องทำการประมูลป้ายทะเบียนรถเพื่อนำมาสวมกับรถที่ซื้อไว้ ซึ่งต่างกับประเทศเราที่ประมูลป้ายทะเบียนเลขสวยซึ่งถ้ารถออกมามากก็จะได้มีการประมูลมากขึ้นตามไปด้วยจึงไม่แปลกใจที่กรมการขนส่งออกแบบป้ายทะเบียนแบบใหม่ซึ่งไม่ได้ช่วยในการควบคุมจำนวนรถและไม่มีการวางแผนในการกำหนดการเพิ่มขึ้นของจำนวนรถบนถนน กลับมาดูที่การประมูล COE ต่อครับ ราคาประมูล COE จะแปรผันตามอุปสงค์ ซึ่งขอบอกว่าแพงมากครับ เช่นรถประเภท A ราคาประมูลป้ายทะเบียนอยู่ที่ 71,000 SGD คิดเป็นเงินไทยราว 1,800,000 บาทต่อ 10 ปี เพราะอย่างนี้ครับทำให้พอครบ 10 ปีจะไม่คุ้มที่จะมาประมูล COE ถ้าไม่มี COE ก็ต้องจอดไว้เฉยๆซึ่งก็อาจต้องเสียค่าที่จอดรถอีกต่างหาก ทำให้ส่วนใหญ่มักจะส่งทำลายหรือไม่ก็ส่งไปขายมือสอง ดังนั้นด้วยระบบ COE ทำให้สิงคโปร์เป็นประเทศที่ส่งออกยานยนต์ใช้แล้วอันดับสองของโลกรองจากญี่ปุ่น นอกจากประเทศเพื่อนบ้านใกล้เคียงแล้ว ยานยนต์มือสองจากสิงคโปร์ส่งไปไกลถึงนิวซีแลนด์ ลิเบีย และ ทรินิแดดโดย
นโยบายดังกล่าวเป็นเพียงนโยบายเริ่มต้นในการคุมกำเนิดรถยนต์ในประเทศสิงคโปร์ ซึ่งยังมีมาตรการต่างที่จะตามเก็บเงินจากผู้ใช้รถอีกมากมายที่ผู้ใช้รถในสิงคโปร์ต้องจำยอมจ่ายเพื่อแลกกับความสะดวกสบายและเครื่องหมายบ่งบอกสถานะทางสังคม ในขณะที่เงินที่ได้จากผู้ใช้รถรัฐก็นำไปส่งเสริมระบบโครงสร้างพื้นฐานและอื่นๆ เช่นระบบขนส่งสาธารณะให้ครอบคลุมทุกพื้นที่ และจะสังเกตได้ว่าระบบขนส่งสาธารณะในสิงคโปร์เป็นระบบที่สะดวก รวดเร็ว และราคาประหยัด รวมถึงมีความปลอดภัยสูง ดังนั้นจะไม่ค่อยเห็นสภาพการจราจรที่ติดขัดมากในประเทศสิงคโปร์ แต่คงมีคำถามว่านโยบายดังกล่าวจะสามารถนำมาใช้ในเมืองใหญ่อย่างกรุงเทพมหานครหรือในประเทศไทยได้ไหมเนื่องจากสิงคโปร์เป็นประเทศเล็ก ผมอยากให้เรามองว่านโยบายในประเทศสิงคโปร์ที่เน้นการควบคุมจำนวนรถให้เพียงพอกับจำนวนถนนที่มีอยู่และพัฒนาระบบขนส่งสาธารณะที่มีประสิทธิภาพ กับตอบโจทย์และแก้ปัญหาจราจรได้อย่างเหมาะสมลงตัว ในขณะที่เมืองหลวงใหญ่ของเรากำลังมองการแก้ไขปัญหาที่ปลายเหตุพร้อมกับสนับสนุนนโยบายที่ส่งเสริมให้มีการใช้รถส่วนตัว ต่อให้แก้อย่างไรก็คงไม่เกิดผลก็คงต้องให้คนกรุงเทพจำทนยอมรับสภาพการจราจรที่ติดขัดจนถึงจุดที่ทนไม่ไหวแล้วจึงหันมาพึ่งระบบขนส่งสาธารณะ จึงอยากฝากให้ทางหน่วยงานที่รับผิดชอบในเรื่องนี้ลองพิจารณาและหาแนวทางเริ่มต้นในการดำเนินนโยบายที่เน้นการควบคุมจำนวนรถให้เพียงพอต่อถนนที่มีอยู่ มากกว่าเน้นการแก้ไขโดยการพัฒนาระบบโครงสร้างรองรับ อย่ามัวแต่กลัวกับการต่อต้านจนไม่คิดที่จะกล้าที่จะแก้ไขปัญหา ไม่เช่นนั้นในอนาคตเราคงได้เห็นประเทศไทยเป็นประเทศแรกในโลกที่มีทางด่วน 2 ชั้น และความภูมิใจในตำแหน่งเมืองหลวงที่มีการจราจรติดขัดที่สุดในโลก
ที่ผ่านมามีหลายคนตั้งคำถามว่าทำไมไม่เพิ่มจำนวนถนนให้สามารถรองรับปริมาณรถได้อย่างเพียงพอ ในทางกลับกันเรามาลองคิดนอกกรอบดูไหมว่าทำไม่เราไม่ควบคุมจำนวนรถให้เพียงพอกับถนนที่เรามีอยู่ ในเมื่อต้นเหตุของปัญหามันอยู่ที่ปริมาณรถที่มีแนวโน้มเพิ่มขึ้นอย่างไม่หยุดยั้ง จนถึงขั้นกรมการขนส่งทางบกไม่สามารถผลิตป้ายทะเบียนรถได้ทันความต้องการ ถึงกับต้องออกแบบป้ายทะเบียนรถแบบใหม่เพื่อรองรับความต้องการได้เป็น 100 ปีด้วยความภาคภูมิใจ อีกเหตุผลหนึ่งที่ปฏิเสธไม่ได้ว่าเป็นสาเหตุในการเพิ่มขึ้นของจำนวนรถคือนโยบายรถคันแรก ซึ่งหลายคนคงได้มีโอกาสได้ใช้บริการของนโยบายดังกล่าวบ้างแล้ว นโยบายและแนวคิดต่างๆ เหล่านี้ล้วนเป็นการส่งเสริมให้มีการใช้รถส่วนบุคคลเพิ่มมากขึ้น สวนทางกับการพยายามพัฒนาระบบขนส่งสาธารณะในเขตกรุงเทพมหานคร
จากปัญหาการจราจรติดขัดทำให้มีการพยายามในการแก้ไขปัญหาดังกล่าว โดยมีทั้งแนวทางในการเอาเกาะกลางถนนออกเพื่อเพิ่มผิวทางจราจร การนำระบบเทคโนโลยีมาประยุกต์ในการจัดการสภาพจราจร รวมถึงการประชาสัมพันธ์และรณรงค์ให้ใช้ระบบขนส่งสาธารณะ การใช้จักรยานในการเดินทาง แต่มันเป็นเพียงการแก้ปัญหาที่ปลายเหตุ หลายๆเมืองที่ประสบปัญหาเช่นเดียวกับเราเริ่มหันมาทำการควบคุมปริมาณรถที่จะเข้าสู่ท้องถนน เนื่องจากเขาไม่ต้องการให้เกิดปัญหารถติด ที่จะส่งผลเสียต่อภาพลักษณ์ และระบบเศรษฐกิจ รวมถึงการเข้ามาลงทุนภายในประเทศ โดยใช้มาตรการในการเพิ่มค่าใช้จ่ายให้กับผู้ที่ใช้รถ เช่นการคิดค่าจอดรถ การเพิ่มภาษีน้ำมัน การขึ้นภาษีรถ ฯลฯ ซึ่งจะส่งผลในการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมในการเดินทางและเริ่มหันกับมาใช้ระบบขนส่งสาธารณะที่มีการสนับสนุนจากภาครัฐทำให้ค่าใช้จ่ายในการเดินทางที่ถูกว่าการใช้รถส่วนบุคคล
ในประเทศสิงคโปร์ประเทศเพื่อนบ้านของเราในกลุ่มอาเซียน มีนโยบายในการควบคุมปริมาณรถที่น่าสนใจ ในสิงคโปร์ทุกคนมีสิทธิ์ที่จะชื้อรถมาใช้แต่ทางรัฐกำหนดอายุของทะเบียนรถไว้ที่ 10 ปี ขอย้ำว่าอายุทะเบียนรถไม่ใช่อายุรถ ทำไมถึงกำหนดอายุทะเบียนรถเรามาดูความชาญฉลาดของนโยบายกันครับโดยระบบนี้เรียกว่า Certificate of Entitlement (COE) เป็นระบบจำกัดจำนวนยานยนต์ของรัฐบาลสิงคโปร์ เริ่มใช้เมื่อเดือนพฤษภาคม ค.ศ. 1990 ผู้ซื้อยานยนต์จะต้องประมูลซื้อ COE โดยที่ COE มีจำนวนจำกัดภายใต้การควบคุมของรัฐ ผู้ถือ COE มีสิทธิ์ครอบครองยานยนต์ได้เป็นเวลา 10 ปี เมื่อครบเวลาดังกล่าวจะต้องทำลายยานยนต์หรือ ส่งออกยานยนต์ หรือต่ออายุ COE ไปอีกหนึ่งครั้งมีกำหนด 5 หรือ 10 ปี (ต่ออายุได้เพียงครั้งเดียว) เจ้า COE ถูกแบ่งออกเป็น 5 ประเภทดังนี้
ประเภทถ่ายโอนมิได้:
•ประเภท A: รถยนต์ (1,600 ซีซีหรือต่ำกว่า) และแท๊กซี่
•ประเภท B: รถยนต์ (ตั้งแต่ 1,601 ซีซี ขึ้นไป)
•ประเภท D: จักรยานยนต์
ประเภทถ่ายโอนได้:
•ประเภท C: รถขนส่งสินค้าและรถโดยสารขนาดใหญ่
•ประเภท E: Open Category (ใช้กับยานยนต์ประเภทใดก็ได้ แต่โดยส่วนใหญ่มักนำไปใช้กับรถยนต์)
การประมูล COE เริ่มต้นในวันจันทร์แรกและวันจันทร์ที่สามของเดือน และมักจะดำเนินต่อไปถึงวันพุธ (อาจเลื่อนออกไปถ้าเป็นวันหยุดทำการ) ตั้งแต่ ค.ศ. 2009 ถึง ค.ศ. 2011 การเติบโตของยานยนต์ถูกกำหนดไว้ที่ 1.5% ต่อปี สำหรับในครึ่งแรกของ ค.ศ. 2012 (ก.พ.-ก.ค.) จะคงอัตรานี้ต่อไปชั่วคราว และจากนี้ต่อไปถึง ค.ศ. 2014 จะลดอัตราการเติบโตเหลือเพียง 0.5%
อย่างไรก็ดี การประมูล COE จะนำยอดยานยนต์ที่ถูกทำลายหรือส่งออกไปแล้วกลับมาให้ประมูลใหม่ด้วยในแต่ละเดือนทางรัฐบาลจะทำการกำหนดโควตาว่าเดือนนี้จะออกป้ายทะเบียนรถออกมาเท่าไหร่เช่นช่วงเดือนตุลาคมนี้ได้กำหนดทะเบียนไว้ ราว 3,200 คัน รวมทั้ง 5 ประเภท โดยผู้ที่จะได้โควตาจะต้องทำการประมูลป้ายทะเบียนรถเพื่อนำมาสวมกับรถที่ซื้อไว้ ซึ่งต่างกับประเทศเราที่ประมูลป้ายทะเบียนเลขสวยซึ่งถ้ารถออกมามากก็จะได้มีการประมูลมากขึ้นตามไปด้วยจึงไม่แปลกใจที่กรมการขนส่งออกแบบป้ายทะเบียนแบบใหม่ซึ่งไม่ได้ช่วยในการควบคุมจำนวนรถและไม่มีการวางแผนในการกำหนดการเพิ่มขึ้นของจำนวนรถบนถนน กลับมาดูที่การประมูล COE ต่อครับ ราคาประมูล COE จะแปรผันตามอุปสงค์ ซึ่งขอบอกว่าแพงมากครับ เช่นรถประเภท A ราคาประมูลป้ายทะเบียนอยู่ที่ 71,000 SGD คิดเป็นเงินไทยราว 1,800,000 บาทต่อ 10 ปี เพราะอย่างนี้ครับทำให้พอครบ 10 ปีจะไม่คุ้มที่จะมาประมูล COE ถ้าไม่มี COE ก็ต้องจอดไว้เฉยๆซึ่งก็อาจต้องเสียค่าที่จอดรถอีกต่างหาก ทำให้ส่วนใหญ่มักจะส่งทำลายหรือไม่ก็ส่งไปขายมือสอง ดังนั้นด้วยระบบ COE ทำให้สิงคโปร์เป็นประเทศที่ส่งออกยานยนต์ใช้แล้วอันดับสองของโลกรองจากญี่ปุ่น นอกจากประเทศเพื่อนบ้านใกล้เคียงแล้ว ยานยนต์มือสองจากสิงคโปร์ส่งไปไกลถึงนิวซีแลนด์ ลิเบีย และ ทรินิแดดโดย
นโยบายดังกล่าวเป็นเพียงนโยบายเริ่มต้นในการคุมกำเนิดรถยนต์ในประเทศสิงคโปร์ ซึ่งยังมีมาตรการต่างที่จะตามเก็บเงินจากผู้ใช้รถอีกมากมายที่ผู้ใช้รถในสิงคโปร์ต้องจำยอมจ่ายเพื่อแลกกับความสะดวกสบายและเครื่องหมายบ่งบอกสถานะทางสังคม ในขณะที่เงินที่ได้จากผู้ใช้รถรัฐก็นำไปส่งเสริมระบบโครงสร้างพื้นฐานและอื่นๆ เช่นระบบขนส่งสาธารณะให้ครอบคลุมทุกพื้นที่ และจะสังเกตได้ว่าระบบขนส่งสาธารณะในสิงคโปร์เป็นระบบที่สะดวก รวดเร็ว และราคาประหยัด รวมถึงมีความปลอดภัยสูง ดังนั้นจะไม่ค่อยเห็นสภาพการจราจรที่ติดขัดมากในประเทศสิงคโปร์ แต่คงมีคำถามว่านโยบายดังกล่าวจะสามารถนำมาใช้ในเมืองใหญ่อย่างกรุงเทพมหานครหรือในประเทศไทยได้ไหมเนื่องจากสิงคโปร์เป็นประเทศเล็ก ผมอยากให้เรามองว่านโยบายในประเทศสิงคโปร์ที่เน้นการควบคุมจำนวนรถให้เพียงพอกับจำนวนถนนที่มีอยู่และพัฒนาระบบขนส่งสาธารณะที่มีประสิทธิภาพ กับตอบโจทย์และแก้ปัญหาจราจรได้อย่างเหมาะสมลงตัว ในขณะที่เมืองหลวงใหญ่ของเรากำลังมองการแก้ไขปัญหาที่ปลายเหตุพร้อมกับสนับสนุนนโยบายที่ส่งเสริมให้มีการใช้รถส่วนตัว ต่อให้แก้อย่างไรก็คงไม่เกิดผลก็คงต้องให้คนกรุงเทพจำทนยอมรับสภาพการจราจรที่ติดขัดจนถึงจุดที่ทนไม่ไหวแล้วจึงหันมาพึ่งระบบขนส่งสาธารณะ จึงอยากฝากให้ทางหน่วยงานที่รับผิดชอบในเรื่องนี้ลองพิจารณาและหาแนวทางเริ่มต้นในการดำเนินนโยบายที่เน้นการควบคุมจำนวนรถให้เพียงพอต่อถนนที่มีอยู่ มากกว่าเน้นการแก้ไขโดยการพัฒนาระบบโครงสร้างรองรับ อย่ามัวแต่กลัวกับการต่อต้านจนไม่คิดที่จะกล้าที่จะแก้ไขปัญหา ไม่เช่นนั้นในอนาคตเราคงได้เห็นประเทศไทยเป็นประเทศแรกในโลกที่มีทางด่วน 2 ชั้น และความภูมิใจในตำแหน่งเมืองหลวงที่มีการจราจรติดขัดที่สุดในโลก