“ปาร์คกิ้ง” หอบหลักฐานแจงศาล แฉ ทอท.ส่อทุจริตจ้างเอกชนเก็บค่าจอดรถแทน พร้อมร้องเรียน ก.ล.ต., กมธ.คมนาคมสภาผู้แทน, ป.ป.ช. และ สตง.ตรวจสอบพฤติกรรม “สมชัย” ยอมรับตอนนี้รายได้เพิ่มทั้งๆ ที่ผู้โดยสารลดลงเหตุแอร์เอเชียย้ายไปดอนเมือง จ่อตรวจสอบหาข้อเท็จจริง เผยข้อพิพาทไม่ยุติเงินวางที่ศาลกว่า 300 ล้านบาทแล้ว
รายงานข่าวแจ้งว่า เมื่อวันที่ 6 พ.ย.ที่ผ่านมา ศาลแพ่งรัชดาฯ ได้นัดไต่สวนคดีที่บริษัท ปาร์คกิ้ง แมนเนจเม้นท์ จำกัด ยื่นร้องขอเป็นผู้จัดเก็บค่าบริการอาคารจอดรถหน้าอาคารผู้โดยสารท่าอากาศยานสุวรรณภูมิขาออก โดยระบุว่า บริษัท ท่าอากาศยานไทย จำกัด (มหาชน) หรือ ทอท.ไม่พร้อมในการจัดเก็บและมีการจ้างบริษัทเอกชนเข้ามาดำเนินการส่อทุจริต ซึ่งศาลยังไม่ได้ตัดสินโดยได้นัดไต่สวนเพิ่มเติมในวันที่ 14 พ.ย. 55 อีกครั้ง
ทั้งนี้ เมื่อวันที่ 29 ต.ค. 55 ปาร์คกิ้งฯ ได้ทำหนังสือถึงประธานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์, ประธานคณะกรรมาธิการคมนาคม สภาผู้แทนราษฎร, เลขาธิการคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ, ปลัดกระทรวงคมนาคม ร้องเรียนกรณีที่ ทอท.เปิดประมูลจ้างบริษัท แฮปปี้มีเดีย จำกัด และบริษัท พีพี โฮม แอนด์ คอนสตรัคชั่น จำกัด ดำเนินการควบคุมจัดเก็บและรวบรวมรายได้ค่าบริการจอดรถหน้าอาคารโดยสารท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ ส่อทุจริต เนื่องจากเจ้าของทั้ง 2 บริษัทเป็นสามีภรรยากันและเป็นบริษัทที่ไม่เคยประกอบกิจการตั้งแต่ปี 47 มีการจดทะเบียนวัตถุประสงค์เพิ่มก่อนประมูล 3 วัน ไม่มีที่ตั้งสำนักงาน/พนักงานทำการในสำนักงาน และมีการนำรายชื่อบุคคลที่ไม่ได้ทำงานมาเบิกเงินค่าจ้างจาก ทอท.
นายธนกฤต เจตกิตติโชค กรรมการผู้จัดการ บริษัทปาร์คกิ้ง กล่าวว่า เมื่อเดือน ม.ค. 55 ศาลมีคำสั่งไกล่เกลี่ยปัญหาการจัดเก็บค่าจอดรถท่าอากาศยานสุวรรณภูมิระหว่างทอท.กับปาร์คกิ้ง โดยให้ปาร์คกิ้งทำหน้าที่เก็บค่าจอดรถและ ทอท.รวบรวมรายได้นำไปวางไว้ที่ศาล แต่เมื่อเดือน ก.ค. 55 ศาลได้เปลี่ยนแปลงคำสั่งโดยให้ปาร์คกิ้งดูแลขาเข้าส่วน ทอท.ดูแลขาออก ซึ่ง ทอท.ได้จ้างบริษัทแฮปปี้ฯ และบริษัทพี พี โฮมฯ เข้ามาดำเนินการแทน โดยข้อสังเกตุการทุจริต เช่น เดิมปาร์คกิ้งดูแลทั้งขาเข้าและขาออกใช้พนักงาน 82 คน เบิกค่าใช้จ่ายจาก ทอท.1 ล้านบาทต่อเดือน แต่ 2 บริษัทดังกล่าวดูแลเฉพาะขาออกใช้พนักงานมากกว่า 110 คน เบิกค่าใช้จ่ายจาก ทอท.ถึง 2.2 ล้านบาทต่อเดือน
“เป็นไปได้อย่างไรดูแลแค่ขาออกใช้คนและเบิกค่าจ้างมากกว่าดูแลทั้งระบบ ที่สำคัญมีการตรวจสอบพบว่ามีการใช้คนทำงานจริงเพียงครึ่งเดียวและมีการนำรายชื่อคนที่ไม่ได้ทำงานแล้วไปเบิกค่าจ้างด้วย ซึ่งอดีตพนักงานของบริษัทแฮปปี้ได้ร้องขอความเป็นธรรมไปถึงผู้อำนวยการท่าอากาศยานสุวรรณภูมิแล้วและได้ร้องไปยังผู้ว่าการตรวจเงินแผ่นดิน, ประธาน ป.ป.ช.เพื่อขอให้เข้ามาตรวจสอบความผิดปกติดังกล่าว ส่วนปาร์คกิ้งได้แสดงหลักฐานทั้งหมดต่อศาลไว้แล้วด้วย”
นายธนกฤตกล่าวว่า ข้อพิพาทระหว่าง ทอท.กับปาร์คกิ้งทำให้ต้องนำรายได้ค่าจอดรถไปวางไว้ที่ศาลเป็นเงินกว่า 300 ล้านบาทแล้วโดยไม่สามารถนำมาใช้ประโยชน์ได้ ทำให้ผู้ถือหุ้นและพนักงานเสียหาย และ ทอท.ควรเร่งแก้ปัญหาและติดตั้งระบบควบคุมเพื่อไม่ให้เกิดการรั่วไหลซ้ำซากและเป็นช่องทางให้กลุ่มคนเข้าไปแสวงหาประโยชน์ได้ง่ายเหมือนปัจจุบัน
นายสมชัย สวัสดีผล รักษาการผู้อำนวยการใหญ่ ทอท.กล่าวว่า ขณะนี้รายได้ค่าจอดรถรวมเกือบ 30 ล้านบาทต่อเดือน แบ่งเป็นรถทั่วไปประมาณ 24-25 ล้านบาทและส่วนสมาชิกอีก 4-5 ล้านบาท ขณะที่ก่อนหน้านี้รายได้จากรถทั่วไปมีเพียง 20 ล้านบาท ทั้งที่มีผู้โดยสาร 50 ล้านคนต่อปี ส่วนช่วงนี้กลุ่มแอร์เอเชียย้ายมาท่าอากาศยานดอนเมืองแล้ว ผู้โดยสารในภาพรวมลดลงกว่า 20,000 คนต่อวันแต่รายได้กลับเพิ่มขึ้น ซึ่งจะมีการตรวจสอบหาข้อเท็จจริงต่อไป
รายงานข่าวแจ้งว่า เมื่อวันที่ 6 พ.ย.ที่ผ่านมา ศาลแพ่งรัชดาฯ ได้นัดไต่สวนคดีที่บริษัท ปาร์คกิ้ง แมนเนจเม้นท์ จำกัด ยื่นร้องขอเป็นผู้จัดเก็บค่าบริการอาคารจอดรถหน้าอาคารผู้โดยสารท่าอากาศยานสุวรรณภูมิขาออก โดยระบุว่า บริษัท ท่าอากาศยานไทย จำกัด (มหาชน) หรือ ทอท.ไม่พร้อมในการจัดเก็บและมีการจ้างบริษัทเอกชนเข้ามาดำเนินการส่อทุจริต ซึ่งศาลยังไม่ได้ตัดสินโดยได้นัดไต่สวนเพิ่มเติมในวันที่ 14 พ.ย. 55 อีกครั้ง
ทั้งนี้ เมื่อวันที่ 29 ต.ค. 55 ปาร์คกิ้งฯ ได้ทำหนังสือถึงประธานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์, ประธานคณะกรรมาธิการคมนาคม สภาผู้แทนราษฎร, เลขาธิการคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ, ปลัดกระทรวงคมนาคม ร้องเรียนกรณีที่ ทอท.เปิดประมูลจ้างบริษัท แฮปปี้มีเดีย จำกัด และบริษัท พีพี โฮม แอนด์ คอนสตรัคชั่น จำกัด ดำเนินการควบคุมจัดเก็บและรวบรวมรายได้ค่าบริการจอดรถหน้าอาคารโดยสารท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ ส่อทุจริต เนื่องจากเจ้าของทั้ง 2 บริษัทเป็นสามีภรรยากันและเป็นบริษัทที่ไม่เคยประกอบกิจการตั้งแต่ปี 47 มีการจดทะเบียนวัตถุประสงค์เพิ่มก่อนประมูล 3 วัน ไม่มีที่ตั้งสำนักงาน/พนักงานทำการในสำนักงาน และมีการนำรายชื่อบุคคลที่ไม่ได้ทำงานมาเบิกเงินค่าจ้างจาก ทอท.
นายธนกฤต เจตกิตติโชค กรรมการผู้จัดการ บริษัทปาร์คกิ้ง กล่าวว่า เมื่อเดือน ม.ค. 55 ศาลมีคำสั่งไกล่เกลี่ยปัญหาการจัดเก็บค่าจอดรถท่าอากาศยานสุวรรณภูมิระหว่างทอท.กับปาร์คกิ้ง โดยให้ปาร์คกิ้งทำหน้าที่เก็บค่าจอดรถและ ทอท.รวบรวมรายได้นำไปวางไว้ที่ศาล แต่เมื่อเดือน ก.ค. 55 ศาลได้เปลี่ยนแปลงคำสั่งโดยให้ปาร์คกิ้งดูแลขาเข้าส่วน ทอท.ดูแลขาออก ซึ่ง ทอท.ได้จ้างบริษัทแฮปปี้ฯ และบริษัทพี พี โฮมฯ เข้ามาดำเนินการแทน โดยข้อสังเกตุการทุจริต เช่น เดิมปาร์คกิ้งดูแลทั้งขาเข้าและขาออกใช้พนักงาน 82 คน เบิกค่าใช้จ่ายจาก ทอท.1 ล้านบาทต่อเดือน แต่ 2 บริษัทดังกล่าวดูแลเฉพาะขาออกใช้พนักงานมากกว่า 110 คน เบิกค่าใช้จ่ายจาก ทอท.ถึง 2.2 ล้านบาทต่อเดือน
“เป็นไปได้อย่างไรดูแลแค่ขาออกใช้คนและเบิกค่าจ้างมากกว่าดูแลทั้งระบบ ที่สำคัญมีการตรวจสอบพบว่ามีการใช้คนทำงานจริงเพียงครึ่งเดียวและมีการนำรายชื่อคนที่ไม่ได้ทำงานแล้วไปเบิกค่าจ้างด้วย ซึ่งอดีตพนักงานของบริษัทแฮปปี้ได้ร้องขอความเป็นธรรมไปถึงผู้อำนวยการท่าอากาศยานสุวรรณภูมิแล้วและได้ร้องไปยังผู้ว่าการตรวจเงินแผ่นดิน, ประธาน ป.ป.ช.เพื่อขอให้เข้ามาตรวจสอบความผิดปกติดังกล่าว ส่วนปาร์คกิ้งได้แสดงหลักฐานทั้งหมดต่อศาลไว้แล้วด้วย”
นายธนกฤตกล่าวว่า ข้อพิพาทระหว่าง ทอท.กับปาร์คกิ้งทำให้ต้องนำรายได้ค่าจอดรถไปวางไว้ที่ศาลเป็นเงินกว่า 300 ล้านบาทแล้วโดยไม่สามารถนำมาใช้ประโยชน์ได้ ทำให้ผู้ถือหุ้นและพนักงานเสียหาย และ ทอท.ควรเร่งแก้ปัญหาและติดตั้งระบบควบคุมเพื่อไม่ให้เกิดการรั่วไหลซ้ำซากและเป็นช่องทางให้กลุ่มคนเข้าไปแสวงหาประโยชน์ได้ง่ายเหมือนปัจจุบัน
นายสมชัย สวัสดีผล รักษาการผู้อำนวยการใหญ่ ทอท.กล่าวว่า ขณะนี้รายได้ค่าจอดรถรวมเกือบ 30 ล้านบาทต่อเดือน แบ่งเป็นรถทั่วไปประมาณ 24-25 ล้านบาทและส่วนสมาชิกอีก 4-5 ล้านบาท ขณะที่ก่อนหน้านี้รายได้จากรถทั่วไปมีเพียง 20 ล้านบาท ทั้งที่มีผู้โดยสาร 50 ล้านคนต่อปี ส่วนช่วงนี้กลุ่มแอร์เอเชียย้ายมาท่าอากาศยานดอนเมืองแล้ว ผู้โดยสารในภาพรวมลดลงกว่า 20,000 คนต่อวันแต่รายได้กลับเพิ่มขึ้น ซึ่งจะมีการตรวจสอบหาข้อเท็จจริงต่อไป