**ปรามาสว่าเป็นแค่ม็อบสะเปะสะปะ มาๆหายๆ ไร้เชื้อเพลิงที่จะจุดไฟติด แต่นาทีนี้ก็เล่นเอา “รัฐบาลยิ่งลักษณ์” ออกลูกระส่ำระส่าย ลุกลี้ลุกลน ทำอะไรไม่ถูกเหมือนกัน สำหรับการเคลื่อนไหวขององค์การพิทักษ์สยาม (อพส.) ที่มีผู้นำถือธงนาม “พล.อ.บุญเลิศ แก้วประสิทธิ์” หรือ “เสธ.อ้าย”
กับปฏิกิริยาล่าสุดของฝ่ายอำนาจที่เริ่มมึนๆ จับทาง “ม็อบสนามม้า” ไม่ถูก ว่าจะมามุกไหนในการชุมนุมใหญ่ที่ลานพระบรมรูปทรงม้า วันที่ 24 พฤศจิกายนนี้ ไม่ว่าจะเป็นเรื่องปริมาณจำนวนผู้ชุมนุมที่ยังคาดการณ์ไม่ถูก ว่าจะทะลุหลักแสนหลักล้าน อย่างที่ผู้นำการชุมนุมประเมินเอาไว้จริงหรือไม่
เพราะสถานการณ์แต่ละวันขึ้นๆ ลงๆ ผนวกกับปัจจัยเรียกแขก อย่างตัวละครสำคัญที่เริ่มโผล่มาให้เห็นทีละคนสองคน ของฝั่งตรงข้าม อย่างคิวล่าสุดที่ "บิ๊กตุ้ม"- พล.ร.อ.พะจุณณ์ ตามประทีป อดีตหัวหน้าสำนักงานประธานองคมนตรีและรัฐบุรุษ พล.อ.เปรม ติณสูลานนท์ ที่ถูก “พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร” อดีตนายกรัฐมนตรี ตั้งใจแขวะกระทบชิ่งว่า อยู่เบื้องหลังทีมงาน “อาชาภิวัฒน์” ในการโฟนอิน มายังเวทีปราศรัยของคนเสื้อแดงที่ จ.สมุทรปราการ เมื่อวันที่ 18 พฤศจิกายน ที่ผ่านมา
**งานนี้ “ทหารแก่ไม่มีวันตาย” ก็เลยสนองศรัทธาประกาศกร้าว ตบเท้าเข้าร่วมกับ “ม็อบสนามม้า” ให้สมตามความต้องการ
และผลตอบรับครั้งนี้ก็เรียกแขกมาได้มากโขเสียด้วย เพราะต้องไม่ลืมว่า แม้วันนี้ “บิ๊กตุ้ม” จะเกษียณอายุราชการและสลัดคราบหัวหน้าสำนักงานบ้านสี่เสาเทเวศน์ออกไปแล้ว แต่ภาพของ “ป๋าเปรม” ที่เป็นโลโก้ติดหลัง ก็ทำให้มวลชนที่เกลียด “นายห้างดูไบ” ไม่ลังเลใจที่จะกระโดดเข้ามาเป็นแนวร่วม
นอกจากเรื่องปริมาณผู้ชุมนุมที่ยังไม่นิ่งแล้ว อีกหนึ่งปัจจัยที่ทำให้รัฐบาลยังแทงกั๊กในการกดรีโหมดเลือกแผนสยบม็อบไม่ได้ก็คือ “ท่าไม้ตาย” ของ “ม็อบสนามม้า” ที่ “เสธ.อ้าย” ยังรูดซิบปาก เก็บเงียบไม่ยอมเผยไต๋ออกมาให้เห็นว่า หากจำนวนผู้ชุมนุมพุ่งปรี๊ดถึงตัวเลขหกหลักขึ้นมาจริงๆ จะเผด็จศึก “ทักษิณส่วนหน้า” อย่างไร
ด้วยเหตุนี้ก็เลยได้เห็นฉากกล้าๆ กลัวๆ ออกมาอย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะการพลิกลิ้นของ “บิ๊กอู๋ - พล.ต.อ.อดุลย์ แสงสิงแก้ว” ผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ (ผบ.ตร.) ที่เดิมเคยแพลมเอาไว้ว่า จะประกาศใช้พระราชบัญญัติการรักษาความมั่นคงภายในราชอาณาจักร พ.ศ. 2551 หรือ “พ.ร.บ.มั่นคงฯ” ในการดูแลการชุมนุมของ อพส. เพื่อให้ง่ายต่อการควบคุม
ให้หลังไม่นานก็เป็นคิวของ “ร.ต.อ.เฉลิม อยู่บำรุง” รองนายกรัฐมนตรี ในฐานะกำกับดูแลสำนักงานตำรวจแห่งชาติ (สตช.) ที่ออกโรงมาเบรกจนล้อปัด สั่งให้ ผบ.ตร.กลับลำ แล้วสอนให้ใช้สีข้างแถไปว่า ในฐานะผู้รับผิดชอบก็แค่มีการหารือเรื่องกฎหมายกันคร่าวๆ เฉยๆ ไม่ได้ประกาศจะใช้เลยในทันทีทันใด
**จับจังหวะบทกลืนน้ำลายเปลี่ยนแผนกับเกมแถครั้งนี้ ก็เลยหนีไม่พ้นต้นเหตุการยังไม่ประกาศใช้ “พ.ร.บ.มั่นคง” กับ “ม็อบสนามม้า”
ตามอาการของเจ้าภาพงานนี้อย่าง “เฉลิม” ที่ย้ำเช้า ย้ำเย็น ไม่ประกาศใช้กฎหมายพิเศษแบบต่อเนื่องรายวัน ทำให้เริ่มจับทางถึงความไม่แน่ใจในหลายสิ่งหลายอย่าง กับการชุมนุมเที่ยวนี้ โดยเฉพาะกับตัวเลขผู้ชุมนุมที่หน่วยงานด้านการข่าวประเมินว่า ม็อบจะมาไม่เยอะเหมือนกับการโหมโรมประโคมข่าวของฝั่งตรงข้าม
การจะเทกแอ็กชั่นประกาศใช้ พ.ร.บ.ความมั่นคง ดักหน้าตั้งแต่หัววัน มันก็อาจได้ไม่คุ้มเสีย เพราะหากถึงวันจริงผู้ชุมนุมมาไม่มาก และอยู่ในวงจำกัดที่เจ้าหน้าที่ตำรวจพอจะควบคุมได้ งานนี้ก็เท่ากับว่ารัฐบาลเปลืองตัวไปฟรีๆ
ไม่ว่าจะเป็นในแง่ของภาพลักษณ์ และความเชื่อมั่นของประเทศที่กำลังได้รับการจับตาจากชาวโลก หลังการมาเยือนของผู้นำประเทศมหาอำนาจอย่าง “พญาอินทรี” สหรัฐอเมริกา หรือ “พญามังกร” สาธารณรัฐประชาชนจีน ที่มีสิทธิ์ส่อแววจะถอยกรูดอีกครั้ง หลังการประกาศใช้กฎหมายพิเศษ
ขณะที่ผลกระทบทางการเมือง “พรรคเพื่อไทย” จะมีแผลเพิ่มขึ้นอีกจุด โดยเฉพาะศึกอภิปรายไม่ไว้วางใจที่ตรงพอดิบพอดีกับการชุมนุม ที่ฝ่ายค้านอย่าง “พรรคประชาธิปัตย์” อาจหยิบเอามาถลกหนัง ถึงความโอเวอร์แอ็กติ้ง ของรัฐบาลที่รีบประกาศใช้กฎหมาย ทั้งๆที่การชุมนุมก็ไม่มีทีท่าจะเกิดความวุ่นวาย
ขณะเดียวกันก็ต้องไม่ลืมว่า ครั้งหนึ่งพรรคเพื่อไทย ในสมัยเป็นฝ่ายค้านเคยตราหน้ารัฐบาล “อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ” เอาไว้เกี่ยวกับการใช้กฎหมายพิเศษ โดยเฉพาะกับการชุมนุมของคนเสื้อแดง ที่แยกราชประสงค์ เมื่อเดือนเมษายน - พฤษภาคม 2553 จนนำมาสู่ประเด็นโขกสับ และไล่เช็กบิล “อภิสิทธิ์” ในฐานะนายกรัฐมนตรีขณะนั้น และ “สุเทพ เทือกสุบรรณ” รองนายกรัฐมนตรี ในฐานะผู้อำนวยการศูนย์อำนวยการแก้ไขสถานการณ์ฉุกเฉิน (ศอฉ.) จนทุกวันนี้
และอีกจุดที่เป็นปัจจัยคอยค้ำคอให้ฝ่ายกุมอำนาจยังไม่สามารถประกาศใช้กฎหมายพิเศษได้อย่างผลีผลามนั่นก็คือ การใช้กฎหมายพิเศษอย่าง “กฎอัยการศึก” พระราชกำหนดบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ.2548 หรือ “พ.ร.ก.ฉุกเฉินฯ” ตลอดจน “พ.ร.บ.มั่นคงฯ” ที่มีการพูดถึงกันอย่างมากในครั้งนี้นั้น ซึ่งส่วนใหญ่ที่ผ่านมารัฐบาลมักจะเลือกใช้ในเฉพาะกรณีที่สถานการณ์ส่อเค้าจะเกิดความรุนแรง
โดยการประกาศใช้นั้นก็เพื่อจะช่วยให้การทำงานของเจ้าหน้าที่สะดวกขึ้น ทั้งในด้านการปฏิบัติงาน และการจำกัดสถานที่ ตลอดจนการคุ้มครองเจ้าหน้าที่ไม่ให้ถูกฟ้องร้องทางแพ่ง และทางอาญาในบางกรณี โดยเฉพาะอำนาจทั้งหมดจากเดิมที่เจ้าหน้าที่จะมีอำนาจเบ็ดเสร็จในการสั่งการ ก็จะถูกโอนขึ้นไปยังนายกรัฐมนตรี และคณะรัฐมนตรี (ครม.) ทันที
**เรียกว่า ขาของนายกรัฐมนตรี และครม.จะแหย่เข้าไปในตะรางข้างหนึ่งทีเดียว
เพราะหากเกิดมีผู้บาดเจ็บ ล้มตายขึ้นมา เจ้าหน้าที่ผู้ปฏิบัติงานในฐานะผู้ใต้บังคับบัญชาการก็จะถือว่าถูกคุ้มครองตามกฎหมาย ขณะที่ความรับผิดชอบทั้งหมด ก็จะไปตกอยู่ที่นายกรัฐมนตรี และ ครม.ในฐานะผู้สั่งการ อย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้
ข้อหา “ฆาตรกร” ที่เคยด่าปาวๆใส่ “รัฐบาลอภิสิทธิ์” ก็จะบูมเมอแรง ย้อนกลับมาให้ตัวเองต้องเผชิญดูบ้าง
ด้วยเหตุด้วยผลต่างๆนานา เหล่านี้ แม้รัฐบาลจะพยายามดันทุรังจนวินาทีสุดท้าย ว่าจะไม่รื้อลิ้นชักหยิบ “กฎหมายพิเศษ” มาประกาศใช้ แต่ในเมื่อ “ผบ.ตร.” ในฐานะผู้ปฏิบัติ ได้วิงวอนร้องขออย่างถึงที่สุด เพราะเกรงว่าอาจจะซ้ำรอยเหตุการณ์ 7 ตุลาคม 2551 ที่ตำรวจที่ไม่มีกฎหมายคุ้มครอง จนต้องโดนคดีไปหลายราย
สุดท้ายผู้บังคับบัญชาอย่าง “รัฐบาลยิ่งลักษณ์” ก็เลยต้องกัดฟัน ยอมประกาศ “พ.ร.บ.ความมั่นคงฯ” เพื่อให้เจ้าหน้าที่สบายใจได้ในระดับหนึ่ง เพราะหากยังฝืนต่อไปถึงที่สุดแล้วสถานการณ์บานปลาย เจ้าหน้าที่เองก็อาจใส่เกียร์ว่าง เพราะขยาดแขยง กับข้อหาที่จะตามมาภายหลังก็เป็นได้
**สุดท้ายก็จะเป็นรัฐบาลที่ “เอาไม่อยู่”
กับปฏิกิริยาล่าสุดของฝ่ายอำนาจที่เริ่มมึนๆ จับทาง “ม็อบสนามม้า” ไม่ถูก ว่าจะมามุกไหนในการชุมนุมใหญ่ที่ลานพระบรมรูปทรงม้า วันที่ 24 พฤศจิกายนนี้ ไม่ว่าจะเป็นเรื่องปริมาณจำนวนผู้ชุมนุมที่ยังคาดการณ์ไม่ถูก ว่าจะทะลุหลักแสนหลักล้าน อย่างที่ผู้นำการชุมนุมประเมินเอาไว้จริงหรือไม่
เพราะสถานการณ์แต่ละวันขึ้นๆ ลงๆ ผนวกกับปัจจัยเรียกแขก อย่างตัวละครสำคัญที่เริ่มโผล่มาให้เห็นทีละคนสองคน ของฝั่งตรงข้าม อย่างคิวล่าสุดที่ "บิ๊กตุ้ม"- พล.ร.อ.พะจุณณ์ ตามประทีป อดีตหัวหน้าสำนักงานประธานองคมนตรีและรัฐบุรุษ พล.อ.เปรม ติณสูลานนท์ ที่ถูก “พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร” อดีตนายกรัฐมนตรี ตั้งใจแขวะกระทบชิ่งว่า อยู่เบื้องหลังทีมงาน “อาชาภิวัฒน์” ในการโฟนอิน มายังเวทีปราศรัยของคนเสื้อแดงที่ จ.สมุทรปราการ เมื่อวันที่ 18 พฤศจิกายน ที่ผ่านมา
**งานนี้ “ทหารแก่ไม่มีวันตาย” ก็เลยสนองศรัทธาประกาศกร้าว ตบเท้าเข้าร่วมกับ “ม็อบสนามม้า” ให้สมตามความต้องการ
และผลตอบรับครั้งนี้ก็เรียกแขกมาได้มากโขเสียด้วย เพราะต้องไม่ลืมว่า แม้วันนี้ “บิ๊กตุ้ม” จะเกษียณอายุราชการและสลัดคราบหัวหน้าสำนักงานบ้านสี่เสาเทเวศน์ออกไปแล้ว แต่ภาพของ “ป๋าเปรม” ที่เป็นโลโก้ติดหลัง ก็ทำให้มวลชนที่เกลียด “นายห้างดูไบ” ไม่ลังเลใจที่จะกระโดดเข้ามาเป็นแนวร่วม
นอกจากเรื่องปริมาณผู้ชุมนุมที่ยังไม่นิ่งแล้ว อีกหนึ่งปัจจัยที่ทำให้รัฐบาลยังแทงกั๊กในการกดรีโหมดเลือกแผนสยบม็อบไม่ได้ก็คือ “ท่าไม้ตาย” ของ “ม็อบสนามม้า” ที่ “เสธ.อ้าย” ยังรูดซิบปาก เก็บเงียบไม่ยอมเผยไต๋ออกมาให้เห็นว่า หากจำนวนผู้ชุมนุมพุ่งปรี๊ดถึงตัวเลขหกหลักขึ้นมาจริงๆ จะเผด็จศึก “ทักษิณส่วนหน้า” อย่างไร
ด้วยเหตุนี้ก็เลยได้เห็นฉากกล้าๆ กลัวๆ ออกมาอย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะการพลิกลิ้นของ “บิ๊กอู๋ - พล.ต.อ.อดุลย์ แสงสิงแก้ว” ผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ (ผบ.ตร.) ที่เดิมเคยแพลมเอาไว้ว่า จะประกาศใช้พระราชบัญญัติการรักษาความมั่นคงภายในราชอาณาจักร พ.ศ. 2551 หรือ “พ.ร.บ.มั่นคงฯ” ในการดูแลการชุมนุมของ อพส. เพื่อให้ง่ายต่อการควบคุม
ให้หลังไม่นานก็เป็นคิวของ “ร.ต.อ.เฉลิม อยู่บำรุง” รองนายกรัฐมนตรี ในฐานะกำกับดูแลสำนักงานตำรวจแห่งชาติ (สตช.) ที่ออกโรงมาเบรกจนล้อปัด สั่งให้ ผบ.ตร.กลับลำ แล้วสอนให้ใช้สีข้างแถไปว่า ในฐานะผู้รับผิดชอบก็แค่มีการหารือเรื่องกฎหมายกันคร่าวๆ เฉยๆ ไม่ได้ประกาศจะใช้เลยในทันทีทันใด
**จับจังหวะบทกลืนน้ำลายเปลี่ยนแผนกับเกมแถครั้งนี้ ก็เลยหนีไม่พ้นต้นเหตุการยังไม่ประกาศใช้ “พ.ร.บ.มั่นคง” กับ “ม็อบสนามม้า”
ตามอาการของเจ้าภาพงานนี้อย่าง “เฉลิม” ที่ย้ำเช้า ย้ำเย็น ไม่ประกาศใช้กฎหมายพิเศษแบบต่อเนื่องรายวัน ทำให้เริ่มจับทางถึงความไม่แน่ใจในหลายสิ่งหลายอย่าง กับการชุมนุมเที่ยวนี้ โดยเฉพาะกับตัวเลขผู้ชุมนุมที่หน่วยงานด้านการข่าวประเมินว่า ม็อบจะมาไม่เยอะเหมือนกับการโหมโรมประโคมข่าวของฝั่งตรงข้าม
การจะเทกแอ็กชั่นประกาศใช้ พ.ร.บ.ความมั่นคง ดักหน้าตั้งแต่หัววัน มันก็อาจได้ไม่คุ้มเสีย เพราะหากถึงวันจริงผู้ชุมนุมมาไม่มาก และอยู่ในวงจำกัดที่เจ้าหน้าที่ตำรวจพอจะควบคุมได้ งานนี้ก็เท่ากับว่ารัฐบาลเปลืองตัวไปฟรีๆ
ไม่ว่าจะเป็นในแง่ของภาพลักษณ์ และความเชื่อมั่นของประเทศที่กำลังได้รับการจับตาจากชาวโลก หลังการมาเยือนของผู้นำประเทศมหาอำนาจอย่าง “พญาอินทรี” สหรัฐอเมริกา หรือ “พญามังกร” สาธารณรัฐประชาชนจีน ที่มีสิทธิ์ส่อแววจะถอยกรูดอีกครั้ง หลังการประกาศใช้กฎหมายพิเศษ
ขณะที่ผลกระทบทางการเมือง “พรรคเพื่อไทย” จะมีแผลเพิ่มขึ้นอีกจุด โดยเฉพาะศึกอภิปรายไม่ไว้วางใจที่ตรงพอดิบพอดีกับการชุมนุม ที่ฝ่ายค้านอย่าง “พรรคประชาธิปัตย์” อาจหยิบเอามาถลกหนัง ถึงความโอเวอร์แอ็กติ้ง ของรัฐบาลที่รีบประกาศใช้กฎหมาย ทั้งๆที่การชุมนุมก็ไม่มีทีท่าจะเกิดความวุ่นวาย
ขณะเดียวกันก็ต้องไม่ลืมว่า ครั้งหนึ่งพรรคเพื่อไทย ในสมัยเป็นฝ่ายค้านเคยตราหน้ารัฐบาล “อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ” เอาไว้เกี่ยวกับการใช้กฎหมายพิเศษ โดยเฉพาะกับการชุมนุมของคนเสื้อแดง ที่แยกราชประสงค์ เมื่อเดือนเมษายน - พฤษภาคม 2553 จนนำมาสู่ประเด็นโขกสับ และไล่เช็กบิล “อภิสิทธิ์” ในฐานะนายกรัฐมนตรีขณะนั้น และ “สุเทพ เทือกสุบรรณ” รองนายกรัฐมนตรี ในฐานะผู้อำนวยการศูนย์อำนวยการแก้ไขสถานการณ์ฉุกเฉิน (ศอฉ.) จนทุกวันนี้
และอีกจุดที่เป็นปัจจัยคอยค้ำคอให้ฝ่ายกุมอำนาจยังไม่สามารถประกาศใช้กฎหมายพิเศษได้อย่างผลีผลามนั่นก็คือ การใช้กฎหมายพิเศษอย่าง “กฎอัยการศึก” พระราชกำหนดบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ.2548 หรือ “พ.ร.ก.ฉุกเฉินฯ” ตลอดจน “พ.ร.บ.มั่นคงฯ” ที่มีการพูดถึงกันอย่างมากในครั้งนี้นั้น ซึ่งส่วนใหญ่ที่ผ่านมารัฐบาลมักจะเลือกใช้ในเฉพาะกรณีที่สถานการณ์ส่อเค้าจะเกิดความรุนแรง
โดยการประกาศใช้นั้นก็เพื่อจะช่วยให้การทำงานของเจ้าหน้าที่สะดวกขึ้น ทั้งในด้านการปฏิบัติงาน และการจำกัดสถานที่ ตลอดจนการคุ้มครองเจ้าหน้าที่ไม่ให้ถูกฟ้องร้องทางแพ่ง และทางอาญาในบางกรณี โดยเฉพาะอำนาจทั้งหมดจากเดิมที่เจ้าหน้าที่จะมีอำนาจเบ็ดเสร็จในการสั่งการ ก็จะถูกโอนขึ้นไปยังนายกรัฐมนตรี และคณะรัฐมนตรี (ครม.) ทันที
**เรียกว่า ขาของนายกรัฐมนตรี และครม.จะแหย่เข้าไปในตะรางข้างหนึ่งทีเดียว
เพราะหากเกิดมีผู้บาดเจ็บ ล้มตายขึ้นมา เจ้าหน้าที่ผู้ปฏิบัติงานในฐานะผู้ใต้บังคับบัญชาการก็จะถือว่าถูกคุ้มครองตามกฎหมาย ขณะที่ความรับผิดชอบทั้งหมด ก็จะไปตกอยู่ที่นายกรัฐมนตรี และ ครม.ในฐานะผู้สั่งการ อย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้
ข้อหา “ฆาตรกร” ที่เคยด่าปาวๆใส่ “รัฐบาลอภิสิทธิ์” ก็จะบูมเมอแรง ย้อนกลับมาให้ตัวเองต้องเผชิญดูบ้าง
ด้วยเหตุด้วยผลต่างๆนานา เหล่านี้ แม้รัฐบาลจะพยายามดันทุรังจนวินาทีสุดท้าย ว่าจะไม่รื้อลิ้นชักหยิบ “กฎหมายพิเศษ” มาประกาศใช้ แต่ในเมื่อ “ผบ.ตร.” ในฐานะผู้ปฏิบัติ ได้วิงวอนร้องขออย่างถึงที่สุด เพราะเกรงว่าอาจจะซ้ำรอยเหตุการณ์ 7 ตุลาคม 2551 ที่ตำรวจที่ไม่มีกฎหมายคุ้มครอง จนต้องโดนคดีไปหลายราย
สุดท้ายผู้บังคับบัญชาอย่าง “รัฐบาลยิ่งลักษณ์” ก็เลยต้องกัดฟัน ยอมประกาศ “พ.ร.บ.ความมั่นคงฯ” เพื่อให้เจ้าหน้าที่สบายใจได้ในระดับหนึ่ง เพราะหากยังฝืนต่อไปถึงที่สุดแล้วสถานการณ์บานปลาย เจ้าหน้าที่เองก็อาจใส่เกียร์ว่าง เพราะขยาดแขยง กับข้อหาที่จะตามมาภายหลังก็เป็นได้
**สุดท้ายก็จะเป็นรัฐบาลที่ “เอาไม่อยู่”