สืบเนื่องจากกรณีที่สำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.) ได้มีการประชุมคณะกรรมการ ป.ป.ช. เมื่อวันที่ 7 กันยายน 2552 เพื่อพิจารณาสำนวนการไต่สวนข้อเท็จจริงเรื่อง กล่าวหานายสมชาย วงศ์สวัสดิ์ เมื่อครั้งดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีกับพวก สั่งการให้เจ้าหน้าที่ตำรวจใช้อาวุธปราบปรามประชาชนที่กำลังชุมนุมโดยปราศจากอาวุธ บริเวณหน้ารัฐสภา เมื่อวันที่ 7 ตุลาคม 2551 เป็นเหตุให้ประชาชนผู้บริสุทธิ์ได้รับอันตรายแก่กายและจิตใจ ซึ่ง ป.ป.ช.มีมติชี้มูลความผิดทางอาญาแก่ นายสมชาย วงศ์สวัสดิ์ นายกรัฐมนตรี, พลเอกชวลิต ยงใจยุทธ รองนายกรัฐมนตรี ฝ่ายรักษาความมั่นคง
พล.ต.อ.พัชรวาท วงษ์สุวรรณ ผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ และ พล.ต.ท.สุชาติ เหมือนแก้ว ผู้บัญชาการตำรวจนครบาล ฐานเป็นเจ้าพนักงานปฏิบัติหรือละเว้นการปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบ เพื่อให้เกิดความเสียหายแก่ผู้หนึ่งผู้ใด ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 157 และได้ส่งเรื่องให้อัยการสูงสุดฟ้องคดีต่อศาลฎีกาแผนกคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง ตามพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริต พ.ศ. 2542 มาตรา 70 ต่อไปนั้น
อัยการสูงสุดได้พิจารณาสำนวนการไต่สวนข้อเท็จจริงของคณะกรรมการ ป.ป.ช. แล้วเห็นว่ามีข้อไม่สมบูรณ์พอที่จะฟ้องคดีได้ จึงได้มีหนังสือแจ้งข้อไม่สมบูรณ์พอที่จะดำเนินคดีอาญาในเรื่องดังกล่าว ให้คณะกรรมการ ป.ป.ช.ทราบ ในการนี้อัยการสูงสุดและคณะกรรมการ ป.ป.ช.จึงได้แต่งตั้งคณะทำงานผู้แทนร่วมกันเพื่อพิจารณาข้อไม่สมบูรณ์และรวบรวมพยานหลักฐาน ซึ่งหลังจากที่คณะทำงานรวบรวมข้อมูลแล้ว คณะทำงานผู้แทนอัยการสูงสุดจึงมีความเห็นว่า การปฏิบัติหน้าที่ของผู้ถูกกล่าวหาทั้ง 4 เป็นไปตามขั้นตอนและเป็นการใช้ดุลพินิจในการควบคุมสถานการณ์ที่ชอบด้วยเหตุผลและกฎหมายแล้วไม่ถือว่าเป็นการปฏิบัติหรือละเว้นการปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบเพื่อให้เกิดความเสียหายแก่ผู้หนึ่งผู้ใด หรือโดยทุจริตจึงเห็นว่าพยานหลักฐานยังไม่พอฟังว่าผู้ถูกกล่าวหาทั้ง 4 กระทำผิดตามข้อกล่าวหา จึงเห็นควรไม่ดำเนินคดีฟ้องผู้ถูกกล่าวหาทั้ง 4 ตามที่ถูกกล่าวหา
การใช้ดุลพินิจสั่งคดีนี้ของอัยการสูงสุดที่เห็นควรไม่ดำเนินคดีผู้ถูกกล่าวหาทั้งสี่ดังกล่าว จึงขัดแย้งความเห็นกับคณะกรรมการ ป.ป.ช.ซึ่งเห็นว่ามีพยานหลักฐานเพียงพอที่จะฟ้องผู้ถูกกล่าวทั้งสี่คน ตามฐานความผิดและบทมาตราที่คณะกรรมการ ป.ป.ช.มีมติ เมื่อคณะทำงานของทั้งสองฝ่ายไม่อาจหาข้อยุติฟ้องคดีได้ตามพระราชบัญญัติว่าด้วยวิธีพิจารณาคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง พ.ศ. 2542 มาตรา 11 คณะกรรมการ ป.ป.ช.จึงมีอำนาจยื่นฟ้องคดีเองหรือแต่งตั้งทนายความให้ฟ้องคดีแทนตามพระราชบัญญัติว่าด้วยวิธีพิจารณาคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง พ.ศ. 2542 มาตรา 11 วรรคสอง
กรณีนี้ มีปัญหาที่น่าสนใจและควรพิจารณาอย่างยิ่งว่า การใช้ดุลพินิจสั่งคดีของอัยการสูงสุด ที่เห็นควรไม่ดำเนินคดีกับผู้ถูกกล่าวทั้งสี่ เป็นไปโดยชอบด้วยกฎหมายหรือไม่ ทั้งๆ ที่ปรากฏข้อเท็จจริงและพยานหลักฐานอย่างสมบูรณ์และครบถ้วนที่สุด จากการไต่สวนของคณะกรรมการ ป.ป.ช.จนวินิจฉัยชี้มูลความผิดดังกล่าวและสอดคล้องกับรายงานการสอบสวนของคณะกรรมการสิทธิมนุษยชน อันเป็นองค์กรอิสระตามรัฐธรรมนูญที่ได้ทำการสอบสวนข้อเท็จจริงในกรณีดังกล่าวภายหลังเกิดเหตุไม่นาน โดยตามรายงานผลการตรวจสอบการละเมิดสิทธิมนุษยชนของคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ ตามรายงานตรวจสอบที่ 519/2551 วันที่ 15 ธันวาคม 2551 ต่างยืนยันสอดคล้องต้องกันว่าเจ้าหน้าที่ตำรวจผู้ปฏิบัติหน้าที่ ในวันที่ 7 ตุลาคม 2551 นับแต่เวลา 05.00 นาฬิกา ถึงเวลา 24.00 นาฬิกา ได้นำเอาอาวุธปืน วัตถุระเบิดชนิดต่างๆ อันมีอันตรายโดยสภาพมาใช้ในการสลายการชุมนุม โดยมิได้ปฏิบัติตามหลักการมาตรฐานของสากล และเห็นว่าการสลายการชุมนุมของตำรวจเป็นการกระทำโดยจงใจต่อผู้อื่นโดยผิดกฎหมายเป็นเหตุให้เกิดความเสียหายถึงแก่ชีวิตและร่างกาย อันเป็นการกระทำละเมิดต่อผู้ชุมนุม
นอกจากนี้ เมื่อผู้เสียหายนำคดีดังกล่าวไปฟ้องศาลปกครองกลาง ศาลปกครองกลางก็ได้มีคำพิพากษาในคดีหมายเลขดำที่ 1569/2552 คดีหมายเลขแดงที่ 1862/2555 ระหว่าง นายชิงชัย อุดมเจริญกิจ ที่ 1 กับพวกรวม 250 คน กับสำนักงานตำรวจแห่งชาติ ผู้ถูกฟ้องที่ 1 และสำนักนายกรัฐมนตรี ผู้ถูกฟ้องที่ 2 ว่า บุคคลทั้งสาม คือ นายสมชาย วงศ์สวัสดิ์, พลเอกชวลิต ยงใจยุทธ กระทำความผิดฐานทำร้ายร่างกายผู้อื่น เป็นเหตุให้ได้รับอันตรายสาหัส ฆ่า และพยายามฆ่าผู้อื่นโดยไตร่ตรองไว้ก่อน ตามประมวลกฎหมายอาญา
เมื่อพิจารณาจากข้อเท็จจริงและพยานหลักฐานทั้งหลายดังที่ผู้เขียนกล่าวมานั้น เห็นได้ว่าการใช้ดุลพินิจสั่งคดีของอัยการสูงสุดเกี่ยวกับกรณีนี้ เป็นการใช้ดุลพินิจสั่งคดีโดยมิได้อยู่บนรากฐานของความสมเหตุสมผล โดยมิได้พิจารณาพยานหลักฐานตามข้อเท็จจริง ทั้งๆ ที่พยานหลักฐานและข้อเท็จจริงจากการไต่สวนโดย ป.ป.ช., กรรมการสิทธิมนุษยชน และคำวินิจฉัยศาลปกครองนั้น ล้วนมีข้อเท็จจริงและพยานหลักฐานครบถ้วนสมบูรณ์ แต่อัยการสูงสุดก็ยังตะแบงและหลับหูหลับตาสั่งคดี อ้างว่าไม่มีพยานหลักฐานเพียงพอที่จะดำเนินคดีกับผู้ถูกกล่าวหา สวนทางกับความรู้สึกของวิญญูชนโดยทั่วไปอย่างยากที่จะยอมรับได้ เพราะกรณีสลายการชุมนุม เมื่อวันที่ 7 ตุลาคม 2551 เกิดขึ้นในเวลากลางวัน ตลอดทั้งวันตั้งแต่เช้าถึงค่ำ ท่ามกลางสายตาชาวโลกและการบันทึกภาพถ่ายทอดสดทางสถานีโทรทัศน์ต่างๆ อัยการสูงสุดยุคนายชัยเกษม นิติสิริ (ดำรงตำแหน่ง 1 ต.ค. 2550 - 2552) และนายจุลสิงห์ วสันตสิงห์ (ดำรงตำแหน่ง 1 ต.ค. 2552 -ปัจจุบัน) ยังกล้าสร้างความอัปยศในการสั่งคดี โดยไม่ดำเนินคดีกับผู้ถูกกล่าวหา อันถือได้ว่าเป็นการใช้ดุลพินิจตามอำเภอใจ นอกขอบเขตความชอบด้วยกฎหมาย
ทั้งๆ ที่ในฐานะอัยการสูงสุดย่อมทราบดีถึงเกณฑ์การวินิจฉัยมูลความผิดซึ่งเห็นได้อยู่ในตัวแล้วว่าเป็นการมิชอบโดยมีเจตนาทำให้เกิดความเสียหายแก่ประชาชนและเพื่อที่จะช่วยผู้ถูกกล่าวหาทั้งสี่ มิให้ต้องรับโทษจากการกระทำความผิด เทียบเคียงได้กับคำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3509/2549 คดีระหว่างนายประทีป ปิติสันต์ กับนายสุกรี สุจิตตกุล จำเลย การใช้ดุลพินิจและการสั่งคดีของอัยการสูงสุดในกรณีนี้ นับว่าเป็นการสร้างความอัปยศอดสูอย่างที่สุดให้แก่ให้แก่สำนักงานอัยการสูงสุด ทำลายเกียรติภูมิและศักดิ์ศรีของสำนักงานอัยการสูงสุดลงอย่างย่อยยับ อย่างที่ไม่เคยมีมาก่อน ในอดีตความเป็นอัยการไม่ว่าในตำแหน่งใดล้วนมีเกียรติและมีความน่าภาคภูมิใจในฐานะของการเป็นทนายความของแผ่นดิน ทำหน้าที่ปกป้องผลประโยชน์ชาติคุ้มครองสิทธิของประชาชน
แต่วันนี้สำนักงานอัยการยุคปัจจุบัน ไม่สมควรอ้างตนเป็นทนายของแผ่นดินอีกต่อไป เพราะวันนี้ผู้นำองค์กรของท่านทั้งหลายได้นำสำนักงานอัยการสูงสุดไปเป็นทนายของระบอบทักษิณไปเรียบร้อยแล้ว หากอัยการที่ยังมีจิตวิญญาณของความเป็นทนายแผ่นดิน รักและเทิดทูนความยุติธรรม ยังมีอยู่ในสำนักงานอัยการสูงสุดท่านต้องออกมาปกป้ององค์กรของท่าน หากยังปล่อยให้สถานะของสำนักงานอัยการสูงสุด ดำเนินการไปในลักษณะเช่นนี้ ย่อมเป็นความชอบธรรมของประชาชนที่จะประณามว่า “อัยการสูงสุด คือ ทนายของทักษิณ” มิใช่ทนายของแผ่นดินอีกต่อไป
พล.ต.อ.พัชรวาท วงษ์สุวรรณ ผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ และ พล.ต.ท.สุชาติ เหมือนแก้ว ผู้บัญชาการตำรวจนครบาล ฐานเป็นเจ้าพนักงานปฏิบัติหรือละเว้นการปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบ เพื่อให้เกิดความเสียหายแก่ผู้หนึ่งผู้ใด ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 157 และได้ส่งเรื่องให้อัยการสูงสุดฟ้องคดีต่อศาลฎีกาแผนกคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง ตามพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริต พ.ศ. 2542 มาตรา 70 ต่อไปนั้น
อัยการสูงสุดได้พิจารณาสำนวนการไต่สวนข้อเท็จจริงของคณะกรรมการ ป.ป.ช. แล้วเห็นว่ามีข้อไม่สมบูรณ์พอที่จะฟ้องคดีได้ จึงได้มีหนังสือแจ้งข้อไม่สมบูรณ์พอที่จะดำเนินคดีอาญาในเรื่องดังกล่าว ให้คณะกรรมการ ป.ป.ช.ทราบ ในการนี้อัยการสูงสุดและคณะกรรมการ ป.ป.ช.จึงได้แต่งตั้งคณะทำงานผู้แทนร่วมกันเพื่อพิจารณาข้อไม่สมบูรณ์และรวบรวมพยานหลักฐาน ซึ่งหลังจากที่คณะทำงานรวบรวมข้อมูลแล้ว คณะทำงานผู้แทนอัยการสูงสุดจึงมีความเห็นว่า การปฏิบัติหน้าที่ของผู้ถูกกล่าวหาทั้ง 4 เป็นไปตามขั้นตอนและเป็นการใช้ดุลพินิจในการควบคุมสถานการณ์ที่ชอบด้วยเหตุผลและกฎหมายแล้วไม่ถือว่าเป็นการปฏิบัติหรือละเว้นการปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบเพื่อให้เกิดความเสียหายแก่ผู้หนึ่งผู้ใด หรือโดยทุจริตจึงเห็นว่าพยานหลักฐานยังไม่พอฟังว่าผู้ถูกกล่าวหาทั้ง 4 กระทำผิดตามข้อกล่าวหา จึงเห็นควรไม่ดำเนินคดีฟ้องผู้ถูกกล่าวหาทั้ง 4 ตามที่ถูกกล่าวหา
การใช้ดุลพินิจสั่งคดีนี้ของอัยการสูงสุดที่เห็นควรไม่ดำเนินคดีผู้ถูกกล่าวหาทั้งสี่ดังกล่าว จึงขัดแย้งความเห็นกับคณะกรรมการ ป.ป.ช.ซึ่งเห็นว่ามีพยานหลักฐานเพียงพอที่จะฟ้องผู้ถูกกล่าวทั้งสี่คน ตามฐานความผิดและบทมาตราที่คณะกรรมการ ป.ป.ช.มีมติ เมื่อคณะทำงานของทั้งสองฝ่ายไม่อาจหาข้อยุติฟ้องคดีได้ตามพระราชบัญญัติว่าด้วยวิธีพิจารณาคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง พ.ศ. 2542 มาตรา 11 คณะกรรมการ ป.ป.ช.จึงมีอำนาจยื่นฟ้องคดีเองหรือแต่งตั้งทนายความให้ฟ้องคดีแทนตามพระราชบัญญัติว่าด้วยวิธีพิจารณาคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง พ.ศ. 2542 มาตรา 11 วรรคสอง
กรณีนี้ มีปัญหาที่น่าสนใจและควรพิจารณาอย่างยิ่งว่า การใช้ดุลพินิจสั่งคดีของอัยการสูงสุด ที่เห็นควรไม่ดำเนินคดีกับผู้ถูกกล่าวทั้งสี่ เป็นไปโดยชอบด้วยกฎหมายหรือไม่ ทั้งๆ ที่ปรากฏข้อเท็จจริงและพยานหลักฐานอย่างสมบูรณ์และครบถ้วนที่สุด จากการไต่สวนของคณะกรรมการ ป.ป.ช.จนวินิจฉัยชี้มูลความผิดดังกล่าวและสอดคล้องกับรายงานการสอบสวนของคณะกรรมการสิทธิมนุษยชน อันเป็นองค์กรอิสระตามรัฐธรรมนูญที่ได้ทำการสอบสวนข้อเท็จจริงในกรณีดังกล่าวภายหลังเกิดเหตุไม่นาน โดยตามรายงานผลการตรวจสอบการละเมิดสิทธิมนุษยชนของคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ ตามรายงานตรวจสอบที่ 519/2551 วันที่ 15 ธันวาคม 2551 ต่างยืนยันสอดคล้องต้องกันว่าเจ้าหน้าที่ตำรวจผู้ปฏิบัติหน้าที่ ในวันที่ 7 ตุลาคม 2551 นับแต่เวลา 05.00 นาฬิกา ถึงเวลา 24.00 นาฬิกา ได้นำเอาอาวุธปืน วัตถุระเบิดชนิดต่างๆ อันมีอันตรายโดยสภาพมาใช้ในการสลายการชุมนุม โดยมิได้ปฏิบัติตามหลักการมาตรฐานของสากล และเห็นว่าการสลายการชุมนุมของตำรวจเป็นการกระทำโดยจงใจต่อผู้อื่นโดยผิดกฎหมายเป็นเหตุให้เกิดความเสียหายถึงแก่ชีวิตและร่างกาย อันเป็นการกระทำละเมิดต่อผู้ชุมนุม
นอกจากนี้ เมื่อผู้เสียหายนำคดีดังกล่าวไปฟ้องศาลปกครองกลาง ศาลปกครองกลางก็ได้มีคำพิพากษาในคดีหมายเลขดำที่ 1569/2552 คดีหมายเลขแดงที่ 1862/2555 ระหว่าง นายชิงชัย อุดมเจริญกิจ ที่ 1 กับพวกรวม 250 คน กับสำนักงานตำรวจแห่งชาติ ผู้ถูกฟ้องที่ 1 และสำนักนายกรัฐมนตรี ผู้ถูกฟ้องที่ 2 ว่า บุคคลทั้งสาม คือ นายสมชาย วงศ์สวัสดิ์, พลเอกชวลิต ยงใจยุทธ กระทำความผิดฐานทำร้ายร่างกายผู้อื่น เป็นเหตุให้ได้รับอันตรายสาหัส ฆ่า และพยายามฆ่าผู้อื่นโดยไตร่ตรองไว้ก่อน ตามประมวลกฎหมายอาญา
เมื่อพิจารณาจากข้อเท็จจริงและพยานหลักฐานทั้งหลายดังที่ผู้เขียนกล่าวมานั้น เห็นได้ว่าการใช้ดุลพินิจสั่งคดีของอัยการสูงสุดเกี่ยวกับกรณีนี้ เป็นการใช้ดุลพินิจสั่งคดีโดยมิได้อยู่บนรากฐานของความสมเหตุสมผล โดยมิได้พิจารณาพยานหลักฐานตามข้อเท็จจริง ทั้งๆ ที่พยานหลักฐานและข้อเท็จจริงจากการไต่สวนโดย ป.ป.ช., กรรมการสิทธิมนุษยชน และคำวินิจฉัยศาลปกครองนั้น ล้วนมีข้อเท็จจริงและพยานหลักฐานครบถ้วนสมบูรณ์ แต่อัยการสูงสุดก็ยังตะแบงและหลับหูหลับตาสั่งคดี อ้างว่าไม่มีพยานหลักฐานเพียงพอที่จะดำเนินคดีกับผู้ถูกกล่าวหา สวนทางกับความรู้สึกของวิญญูชนโดยทั่วไปอย่างยากที่จะยอมรับได้ เพราะกรณีสลายการชุมนุม เมื่อวันที่ 7 ตุลาคม 2551 เกิดขึ้นในเวลากลางวัน ตลอดทั้งวันตั้งแต่เช้าถึงค่ำ ท่ามกลางสายตาชาวโลกและการบันทึกภาพถ่ายทอดสดทางสถานีโทรทัศน์ต่างๆ อัยการสูงสุดยุคนายชัยเกษม นิติสิริ (ดำรงตำแหน่ง 1 ต.ค. 2550 - 2552) และนายจุลสิงห์ วสันตสิงห์ (ดำรงตำแหน่ง 1 ต.ค. 2552 -ปัจจุบัน) ยังกล้าสร้างความอัปยศในการสั่งคดี โดยไม่ดำเนินคดีกับผู้ถูกกล่าวหา อันถือได้ว่าเป็นการใช้ดุลพินิจตามอำเภอใจ นอกขอบเขตความชอบด้วยกฎหมาย
ทั้งๆ ที่ในฐานะอัยการสูงสุดย่อมทราบดีถึงเกณฑ์การวินิจฉัยมูลความผิดซึ่งเห็นได้อยู่ในตัวแล้วว่าเป็นการมิชอบโดยมีเจตนาทำให้เกิดความเสียหายแก่ประชาชนและเพื่อที่จะช่วยผู้ถูกกล่าวหาทั้งสี่ มิให้ต้องรับโทษจากการกระทำความผิด เทียบเคียงได้กับคำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3509/2549 คดีระหว่างนายประทีป ปิติสันต์ กับนายสุกรี สุจิตตกุล จำเลย การใช้ดุลพินิจและการสั่งคดีของอัยการสูงสุดในกรณีนี้ นับว่าเป็นการสร้างความอัปยศอดสูอย่างที่สุดให้แก่ให้แก่สำนักงานอัยการสูงสุด ทำลายเกียรติภูมิและศักดิ์ศรีของสำนักงานอัยการสูงสุดลงอย่างย่อยยับ อย่างที่ไม่เคยมีมาก่อน ในอดีตความเป็นอัยการไม่ว่าในตำแหน่งใดล้วนมีเกียรติและมีความน่าภาคภูมิใจในฐานะของการเป็นทนายความของแผ่นดิน ทำหน้าที่ปกป้องผลประโยชน์ชาติคุ้มครองสิทธิของประชาชน
แต่วันนี้สำนักงานอัยการยุคปัจจุบัน ไม่สมควรอ้างตนเป็นทนายของแผ่นดินอีกต่อไป เพราะวันนี้ผู้นำองค์กรของท่านทั้งหลายได้นำสำนักงานอัยการสูงสุดไปเป็นทนายของระบอบทักษิณไปเรียบร้อยแล้ว หากอัยการที่ยังมีจิตวิญญาณของความเป็นทนายแผ่นดิน รักและเทิดทูนความยุติธรรม ยังมีอยู่ในสำนักงานอัยการสูงสุดท่านต้องออกมาปกป้ององค์กรของท่าน หากยังปล่อยให้สถานะของสำนักงานอัยการสูงสุด ดำเนินการไปในลักษณะเช่นนี้ ย่อมเป็นความชอบธรรมของประชาชนที่จะประณามว่า “อัยการสูงสุด คือ ทนายของทักษิณ” มิใช่ทนายของแผ่นดินอีกต่อไป