เสียววูบ! ฟุตบอลโลกเสี่ยงจอดำทั้งประเทศ หลัง กสทช. ไม่สนแม้ใครจะเป็นเจ้าของสิทธิ์ ออกประกาศบังคับ 7 รายการกีฬาต้องถ่ายทอดผ่านฟรีทีวี ตั้งแต่ซีเกมส์ เอเซียนเกมส์ โอลิมปิก ยันบอลโลก ทำให้เสี่ยงถูกคู่สัญญาระงับสัญญาณ และเกิดจอดำหมด อาร์เอส งานเข้า ส่อเจ๊งยับ หลังถูกบีบให้ฉายฟรีทีวี “พาณิชย์” ชี้เป็นการลิดรอนสิทธิ์ของผู้มีสิทธิ์ถูกต้อง แนะหาทางออกให้ได้ก่อนฟุตบอลโลกมา
ผู้สื่อข่าวรายงานจากกระทรวงพาณิชย์ว่า ขณะนี้คณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) ได้เห็นชอบในการกำหนดรายการที่เกี่ยวกับการแข่งขันกีฬาประเภทต่างๆ เช่น ซีเกมส์ เอเซียนเกมส์ โอลิมปิก รวมไปถึงฟุตบอลโลกรอบสุดท้าย รวม 7 รายการ เป็นกีฬาที่จะต้องถ่ายทอดสดผ่านฟรีทีวีเท่านั้น โดยให้เหตุผลว่าเป็นกีฬาที่มีคนไทยเข้าไปมีส่วนร่วมมาก และเป็นกีฬาที่คนไทยให้ความสนใจ และอยู่ระหว่างการรอลงประกาศในราชกิจจานุเบกษาเพื่อให้มีผลบังคับใช้ ซึ่งกระทรวงพาณิชย์มีความเป็นห่วงว่าจะเป็นการละเมิดลิขสิทธิ์ โดยเฉพาะการถ่ายทอดสดฟุตบอลโลกที่มีการซื้อขายลิขสิทธิ์ในการถ่ายทอดอย่างถูกต้อง
ทั้งนี้ การถ่ายทอดการแข่งขันกีฬาประเภทต่างๆ ล้วนแต่มีลิขสิทธิ์ก็จริง แต่ความสนใจรับชมกีฬาส่วนใหญ่จะมุ่งรายการใหญ่ๆ เช่น โอลิมปิก ฟุตบอลโลก ซึ่งในส่วนของโอลิมปิกได้ผ่านพ้นไปแล้ว และมีปัญหาจอดำเกิดขึ้นบ้าง แต่ที่กำลังจะเกิดขึ้นในเร็วๆ นี้ ก็คือ การถ่ายทอดโปรแกรมการแข่งขันฟุตบอลโลก 2014 ที่ถูก กสทช. บังคับให้ถ่ายทอดสดทางฟรีทีวี แต่ในความเป็นจริง การถ่ายทอดการแข่งขันฟุตบอลโลก ได้ถูกบริษัท อาร์เอส จำกัด (มหาชน) ซื้อลิขสิทธิ์จากฟีฟ่ามาอย่างถูกต้อง และมีสิทธิ์ที่จะดำเนินการถ่ายทอดผ่านช่องทางที่ตนเองมีอยู่ ซึ่งก็คือ การถ่ายทอดผ่านกล่องรับสัญญาณดาวเทียม
“การไปบังคับให้ต้องถ่ายทอดผ่านฟรีทีวีเท่านั้น ถือเป็นการละเมิดสิทธิ์ของผู้ที่ได้รับสิทธิ์ถูกต้อง ในกรณีประกาศ กสทช. บังคับให้ฟุตบอลโลกต้องถ่ายทอดผ่านฟรีทีวี ก็อาจจะมีปัญหาได้ เพราะคู่สัญญาของฟีฟ่าในที่นี้ก็คืออาร์เอส จะทำนอกเหนือสัญญาที่ได้ตกลงไว้กับฟีฟ่าไม่ได้ หากเอาสัญญาณไปปล่อยให้ดูทางฟรีทีวี ก็อาจจะถูกฟีฟ่าตัดสัญญาณได้ และจะเกิดปัญหาจอดำกันทั้งประเทศ อีกแง่หนึ่ง อาร์เอส ก็คงทำแบบนั้นไม่ได้ เพราะได้ลงทุนซื้อลิขสิทธิ์มาอย่างถูกต้อง หากต้องทำตามที่ กสทช. กำหนด ก็คงต้องขาดทุนเป็นอย่างมาก”รายงานข่าวระบุ
นางปัจฉิมา ธนสันติ อธิบดีกรมทรัพย์สินทางปัญญา กล่าวว่า กรมฯ ได้ทำหนังสือท้วงติงไปยัง กสทช. ตั้งแต่ช่วงเดือนต.ค.ที่ผ่านมา หลังจากที่ได้ข่าวว่ากสทช.จะออกกฎกำหนดให้การถ่ายทอดสดกีฬา 7 ประเภทต้องถ่ายทอดทางฟรีทีวี ซึ่งกรมฯ ไม่ขัดข้องที่ กสทช. จะกำหนดรูปแบบออกมาอย่างนั้น เพื่อดูแลผู้บริโภค แต่กรมฯ เป็นห่วงคำบางคำในประกาศที่ระบุว่าต้องถ่ายทอดผ่านฟรีทีวีเท่านั้น จะเป็นการจำกัดการถ่ายทอดผ่านทีวีระบบอื่นๆ และที่สำคัญ จะเป็นการลิดรอนสิทธิ์ของผู้ที่มีลิขสิทธิ์ถูกต้อง ซึ่งกรมฯ ไม่อยากเห็นสิ่งเหล่านี้เกิดขึ้น
“ได้หารือกับนักกฎหมายหลายๆ คนเห็นว่า ประกาศ กสทช. ดังกล่าว ถ้ามีผลบังคับใช้ จะมีผลกระทบเกิดขึ้นมากมาย ทั้งคำจำกัดที่ให้ฉายแต่ฟรีทีวีเท่านั้น หรือจะเป็นการลิดรอนสิทธิ์ของผู้มีสิทธิ์ถูกต้องหรือไม่ ซึ่งในกรณีของฟุตบอลโลกที่เข้าข่ายอยู่ในประกาศฉบับนี้ด้วย จะทำอย่างไร โดยเฉพาะคนที่ได้สิทธิ์มาแล้ว ถ้าถูกบังคับให้ไปฉายฟรีทีวี แล้วผิดกับข้อตกลงในสัญญาที่ทำกันมา จะทำอย่างไร จะแก้อย่างไร แล้วถ้าผู้ให้สิทธิ์บอกว่าคู่สัญญาผิดสัญญา และระงับสัญญาณ ถ้าจอดำกันทั้งประเทศ จะทำอย่างไร ใครจะรับผิดชอบ จะต้องหาทางออกให้ได้ก่อนที่ฟุตบอลโลกจะมา”นางปัจฉิมากล่าว
ก่อนหน้านี้ กสทช. ได้เคยออกประกาศหลักเกณฑ์การเผยแพร่กิจการโทรทัศน์ที่ให้บริการเป็นการทั่วไป (Must Carry) เพื่อแก้ไขปัญหาจอดำ โดยกำหนดให้สื่อทีวีดาวเทียม เคเบิลทีวี หรือเพย์ ทีวี ต้องทำหน้าที่เป็นเสาสัญญาณนำช่องฟรีทีวีไปให้ผู้ชมได้ชมเช่นเดียวกันกับการดูแบบเสาสัญญาณหนวดกุ้งหรือก้างปลา โดยไม่มีการดัดแปลงหรือทำซ้ำลิขสิทธิ์ที่แพร่ภาพทางฟรีทีวี ซึ่งถือเป็นกฎที่ออกมาเพื่อคุ้มครองผู้บริโภคให้ได้รับชมรายการที่ถ่ายทอดผ่านฟรีทีวีได้ทุกช่องทาง แต่ก็ไม่สามารถแก้ปัญหาได้ โดยเฉพาะการแข่งขันโอลิมปิกที่ผ่านมา เพราะติดปัญหาในเรื่องการละเมิดลิขสิทธิ์.
ผู้สื่อข่าวรายงานจากกระทรวงพาณิชย์ว่า ขณะนี้คณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) ได้เห็นชอบในการกำหนดรายการที่เกี่ยวกับการแข่งขันกีฬาประเภทต่างๆ เช่น ซีเกมส์ เอเซียนเกมส์ โอลิมปิก รวมไปถึงฟุตบอลโลกรอบสุดท้าย รวม 7 รายการ เป็นกีฬาที่จะต้องถ่ายทอดสดผ่านฟรีทีวีเท่านั้น โดยให้เหตุผลว่าเป็นกีฬาที่มีคนไทยเข้าไปมีส่วนร่วมมาก และเป็นกีฬาที่คนไทยให้ความสนใจ และอยู่ระหว่างการรอลงประกาศในราชกิจจานุเบกษาเพื่อให้มีผลบังคับใช้ ซึ่งกระทรวงพาณิชย์มีความเป็นห่วงว่าจะเป็นการละเมิดลิขสิทธิ์ โดยเฉพาะการถ่ายทอดสดฟุตบอลโลกที่มีการซื้อขายลิขสิทธิ์ในการถ่ายทอดอย่างถูกต้อง
ทั้งนี้ การถ่ายทอดการแข่งขันกีฬาประเภทต่างๆ ล้วนแต่มีลิขสิทธิ์ก็จริง แต่ความสนใจรับชมกีฬาส่วนใหญ่จะมุ่งรายการใหญ่ๆ เช่น โอลิมปิก ฟุตบอลโลก ซึ่งในส่วนของโอลิมปิกได้ผ่านพ้นไปแล้ว และมีปัญหาจอดำเกิดขึ้นบ้าง แต่ที่กำลังจะเกิดขึ้นในเร็วๆ นี้ ก็คือ การถ่ายทอดโปรแกรมการแข่งขันฟุตบอลโลก 2014 ที่ถูก กสทช. บังคับให้ถ่ายทอดสดทางฟรีทีวี แต่ในความเป็นจริง การถ่ายทอดการแข่งขันฟุตบอลโลก ได้ถูกบริษัท อาร์เอส จำกัด (มหาชน) ซื้อลิขสิทธิ์จากฟีฟ่ามาอย่างถูกต้อง และมีสิทธิ์ที่จะดำเนินการถ่ายทอดผ่านช่องทางที่ตนเองมีอยู่ ซึ่งก็คือ การถ่ายทอดผ่านกล่องรับสัญญาณดาวเทียม
“การไปบังคับให้ต้องถ่ายทอดผ่านฟรีทีวีเท่านั้น ถือเป็นการละเมิดสิทธิ์ของผู้ที่ได้รับสิทธิ์ถูกต้อง ในกรณีประกาศ กสทช. บังคับให้ฟุตบอลโลกต้องถ่ายทอดผ่านฟรีทีวี ก็อาจจะมีปัญหาได้ เพราะคู่สัญญาของฟีฟ่าในที่นี้ก็คืออาร์เอส จะทำนอกเหนือสัญญาที่ได้ตกลงไว้กับฟีฟ่าไม่ได้ หากเอาสัญญาณไปปล่อยให้ดูทางฟรีทีวี ก็อาจจะถูกฟีฟ่าตัดสัญญาณได้ และจะเกิดปัญหาจอดำกันทั้งประเทศ อีกแง่หนึ่ง อาร์เอส ก็คงทำแบบนั้นไม่ได้ เพราะได้ลงทุนซื้อลิขสิทธิ์มาอย่างถูกต้อง หากต้องทำตามที่ กสทช. กำหนด ก็คงต้องขาดทุนเป็นอย่างมาก”รายงานข่าวระบุ
นางปัจฉิมา ธนสันติ อธิบดีกรมทรัพย์สินทางปัญญา กล่าวว่า กรมฯ ได้ทำหนังสือท้วงติงไปยัง กสทช. ตั้งแต่ช่วงเดือนต.ค.ที่ผ่านมา หลังจากที่ได้ข่าวว่ากสทช.จะออกกฎกำหนดให้การถ่ายทอดสดกีฬา 7 ประเภทต้องถ่ายทอดทางฟรีทีวี ซึ่งกรมฯ ไม่ขัดข้องที่ กสทช. จะกำหนดรูปแบบออกมาอย่างนั้น เพื่อดูแลผู้บริโภค แต่กรมฯ เป็นห่วงคำบางคำในประกาศที่ระบุว่าต้องถ่ายทอดผ่านฟรีทีวีเท่านั้น จะเป็นการจำกัดการถ่ายทอดผ่านทีวีระบบอื่นๆ และที่สำคัญ จะเป็นการลิดรอนสิทธิ์ของผู้ที่มีลิขสิทธิ์ถูกต้อง ซึ่งกรมฯ ไม่อยากเห็นสิ่งเหล่านี้เกิดขึ้น
“ได้หารือกับนักกฎหมายหลายๆ คนเห็นว่า ประกาศ กสทช. ดังกล่าว ถ้ามีผลบังคับใช้ จะมีผลกระทบเกิดขึ้นมากมาย ทั้งคำจำกัดที่ให้ฉายแต่ฟรีทีวีเท่านั้น หรือจะเป็นการลิดรอนสิทธิ์ของผู้มีสิทธิ์ถูกต้องหรือไม่ ซึ่งในกรณีของฟุตบอลโลกที่เข้าข่ายอยู่ในประกาศฉบับนี้ด้วย จะทำอย่างไร โดยเฉพาะคนที่ได้สิทธิ์มาแล้ว ถ้าถูกบังคับให้ไปฉายฟรีทีวี แล้วผิดกับข้อตกลงในสัญญาที่ทำกันมา จะทำอย่างไร จะแก้อย่างไร แล้วถ้าผู้ให้สิทธิ์บอกว่าคู่สัญญาผิดสัญญา และระงับสัญญาณ ถ้าจอดำกันทั้งประเทศ จะทำอย่างไร ใครจะรับผิดชอบ จะต้องหาทางออกให้ได้ก่อนที่ฟุตบอลโลกจะมา”นางปัจฉิมากล่าว
ก่อนหน้านี้ กสทช. ได้เคยออกประกาศหลักเกณฑ์การเผยแพร่กิจการโทรทัศน์ที่ให้บริการเป็นการทั่วไป (Must Carry) เพื่อแก้ไขปัญหาจอดำ โดยกำหนดให้สื่อทีวีดาวเทียม เคเบิลทีวี หรือเพย์ ทีวี ต้องทำหน้าที่เป็นเสาสัญญาณนำช่องฟรีทีวีไปให้ผู้ชมได้ชมเช่นเดียวกันกับการดูแบบเสาสัญญาณหนวดกุ้งหรือก้างปลา โดยไม่มีการดัดแปลงหรือทำซ้ำลิขสิทธิ์ที่แพร่ภาพทางฟรีทีวี ซึ่งถือเป็นกฎที่ออกมาเพื่อคุ้มครองผู้บริโภคให้ได้รับชมรายการที่ถ่ายทอดผ่านฟรีทีวีได้ทุกช่องทาง แต่ก็ไม่สามารถแก้ปัญหาได้ โดยเฉพาะการแข่งขันโอลิมปิกที่ผ่านมา เพราะติดปัญหาในเรื่องการละเมิดลิขสิทธิ์.