เสียววูบ! ฟุตบอลโลกเสี่ยงจอดำทั้งประเทศ หลัง กสทช.ไม่สนแม้ใครจะเป็นเจ้าของสิทธิ์ ออกประกาศบังคับ 7 รายการกีฬาต้องถ่ายทอดผ่านฟรีทีวี ตั้งแต่ซีเกมส์ เอเชียนเกมส์ โอลิมปิก ยันบอลโลก ทำให้เสี่ยงถูกคู่สัญญาระงับสัญญาณ และเกิดจอดำหมด อาร์เอสงานเข้า ส่อเจ๊งยับหลังถูกบีบให้ฉายฟรีทีวี “พาณิชย์” ชี้เป็นการลิดรอนสิทธิของผู้มีสิทธิถูกต้อง แนะหาทางออกให้ได้ก่อนฟุตบอลโลกมา
ผู้สื่อข่าวรายงานจากกระทรวงพาณิชย์ว่า ขณะนี้คณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) ได้เห็นชอบในการกำหนดรายการที่เกี่ยวกับการแข่งขันกีฬาประเภทต่างๆ เช่น ซีเกมส์ เอเชียนเกมส์ โอลิมปิก รวมไปถึงฟุตบอลโลกรอบสุดท้าย รวม 7 รายการ เป็นกีฬาที่จะต้องถ่ายทอดสดผ่านฟรีทีวีเท่านั้น โดยให้เหตุผลว่าเป็นกีฬาที่มีคนไทยเข้าไปมีส่วนร่วมมาก และเป็นกีฬาที่คนไทยให้ความสนใจ และอยู่ระหว่างการรอลงประกาศในราชกิจจานุเบกษาเพื่อให้มีผลบังคับใช้ ซึ่งกระทรวงพาณิชย์มีความเป็นห่วงว่าจะเป็นการละเมิดลิขสิทธิ์ โดยเฉพาะการถ่ายทอดสดฟุตบอลโลกที่มีการซื้อขายลิขสิทธิ์ในการถ่ายทอดอย่างถูกต้อง
ทั้งนี้ การถ่ายทอดการแข่งขันกีฬาประเภทต่างๆ ล้วนแต่มีลิขสิทธิ์ก็จริง แต่ความสนใจรับชมกีฬาส่วนใหญ่จะมุ่งรายการใหญ่ๆ เช่น โอลิมปิก ฟุตบอลโลก ซึ่งในส่วนของโอลิมปิกได้ผ่านพ้นไปแล้ว และมีปัญหาจอดำเกิดขึ้นบ้าง แต่ที่กำลังจะเกิดขึ้นในเร็วๆ นี้ก็คือ การถ่ายทอดโปรแกรมการแข่งขันฟุตบอลโลก 2014 ที่ถูก กสทช.บังคับให้ถ่ายทอดสดทางฟรีทีวี แต่ในความเป็นจริงการถ่ายทอดการแข่งขันฟุตบอลโลกได้ถูกบริษัท อาร์เอส จำกัด (มหาชน) ซื้อลิขสิทธิ์จากฟีฟ่ามาอย่างถูกต้อง และมีสิทธิที่จะดำเนินการถ่ายทอดผ่านช่องทางที่ตนเองมีอยู่ ซึ่งก็คือการถ่ายทอดผ่านกล่องรับสัญญาณดาวเทียม
“การไปบังคับให้ต้องถ่ายทอดผ่านฟรีทีวีเท่านั้น ถือเป็นการละเมิดสิทธิของผู้ที่ได้รับสิทธิถูกต้อง ในกรณีประกาศ กสทช.บังคับให้ฟุตบอลโลกต้องถ่ายทอดผ่านฟรีทีวี ก็อาจจะมีปัญหาได้ เพราะคู่สัญญาของฟีฟ่าในที่นี้ก็คืออาร์เอส จะทำนอกเหนือสัญญาที่ได้ตกลงไว้กับฟีฟ่าไม่ได้ หากเอาสัญญาณไปปล่อยให้ดูทางฟรีทีวีก็อาจจะถูกฟีฟ่าตัดสัญญาณได้ และจะเกิดปัญหาจอดำกันทั้งประเทศ อีกแง่หนึ่ง อาร์เอสก็คงทำแบบนั้นไม่ได้ เพราะได้ลงทุนซื้อลิขสิทธิ์มาอย่างถูกต้อง” รายงานข่าวระบุ
นางปัจฉิมา ธนสันติ อธิบดีกรมทรัพย์สินทางปัญญา กล่าวว่า กรมฯ ได้ทำหนังสือท้วงติงไปยัง กสทช.ตั้งแต่ช่วงเดือน ต.ค.ที่ผ่านมา หลังจากที่ได้ข่าวว่า กสทช.จะออกกฎกำหนดให้การถ่ายทอดสดกีฬา 7 ประเภทต้องถ่ายทอดทางฟรีทีวี ซึ่งกรมฯ ไม่ขัดข้องที่ กสทช.จะกำหนดรูปแบบออกมาอย่างนั้นเพื่อดูแลผู้บริโภค แต่กรมฯ เป็นห่วงคำบางคำในประกาศที่ระบุว่าต้องถ่ายทอดผ่านฟรีทีวีเท่านั้น จะเป็นการจำกัดการถ่ายทอดผ่านทีวีระบบอื่นๆ และที่สำคัญจะเป็นการลิดรอนสิทธิของผู้ที่มีลิขสิทธิ์ถูกต้อง ซึ่งกรมฯ ไม่อยากเห็นสิ่งเหล่านี้เกิดขึ้น
“ได้หารือกับนักกฎหมายหลายๆ คน เห็นว่าประกาศ กสทช.ดังกล่าวถ้ามีผลบังคับใช้จะมีผลกระทบเกิดขึ้นมากมาย ทั้งคำจำกัดที่ให้ฉายแต่ฟรีทีวีเท่านั้น หรือจะเป็นการลิดรอนสิทธิของผู้มีสิทธิถูกต้องหรือไม่ ซึ่งในกรณีของฟุตบอลโลกที่เข้าข่ายอยู่ในประกาศฉบับนี้ด้วยจะทำอย่างไร โดยเฉพาะคนที่ได้สิทธิมาแล้ว ถ้าถูกบังคับให้ไปฉายฟรีทีวีแล้วผิดกับข้อตกลงในสัญญาที่ทำกันมาจะทำอย่างไร จะแก้อย่างไร แล้วถ้าผู้ให้สิทธิบอกว่าคู่สัญญาผิดสัญญา และระงับสัญญาณ ถ้าจอดำกันทั้งประเทศจะทำอย่างไร ใครจะรับผิดชอบ จะต้องหาทางออกให้ได้ก่อนที่ฟุตบอลโลกจะมา” นางปัจฉิมากล่าว
ก่อนหน้านี้ กสทช.ได้เคยออกประกาศหลักเกณฑ์การเผยแพร่กิจการโทรทัศน์ที่ให้บริการเป็นการทั่วไป (Must Carry) เพื่อแก้ไขปัญหาจอดำ โดยกำหนดให้สื่อทีวีดาวเทียม เคเบิลทีวี หรือเพย์ทีวี ต้องทำหน้าที่เป็นเสาสัญญาณนำช่องฟรีทีวีไปให้ผู้ชมได้ชมเช่นเดียวกันกับการดูแบบเสาสัญญาณหนวดกุ้งหรือก้างปลา โดยไม่มีการดัดแปลงหรือทำซ้ำลิขสิทธิ์ที่แพร่ภาพทางฟรีทีวี ซึ่งถือเป็นกฎที่ออกมาเพื่อคุ้มครองผู้บริโภคให้ได้รับชมรายการที่ถ่ายทอดผ่านฟรีทีวีได้ทุกช่องทาง แต่ก็ไม่สามารถแก้ปัญหาได้ โดยเฉพาะการแข่งขันโอลิมปิกที่ผ่านมา เพราะติดปัญหาในเรื่องการละเมิดลิขสิทธิ์
ผู้สื่อข่าวรายงานจากกระทรวงพาณิชย์ว่า ขณะนี้คณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) ได้เห็นชอบในการกำหนดรายการที่เกี่ยวกับการแข่งขันกีฬาประเภทต่างๆ เช่น ซีเกมส์ เอเชียนเกมส์ โอลิมปิก รวมไปถึงฟุตบอลโลกรอบสุดท้าย รวม 7 รายการ เป็นกีฬาที่จะต้องถ่ายทอดสดผ่านฟรีทีวีเท่านั้น โดยให้เหตุผลว่าเป็นกีฬาที่มีคนไทยเข้าไปมีส่วนร่วมมาก และเป็นกีฬาที่คนไทยให้ความสนใจ และอยู่ระหว่างการรอลงประกาศในราชกิจจานุเบกษาเพื่อให้มีผลบังคับใช้ ซึ่งกระทรวงพาณิชย์มีความเป็นห่วงว่าจะเป็นการละเมิดลิขสิทธิ์ โดยเฉพาะการถ่ายทอดสดฟุตบอลโลกที่มีการซื้อขายลิขสิทธิ์ในการถ่ายทอดอย่างถูกต้อง
ทั้งนี้ การถ่ายทอดการแข่งขันกีฬาประเภทต่างๆ ล้วนแต่มีลิขสิทธิ์ก็จริง แต่ความสนใจรับชมกีฬาส่วนใหญ่จะมุ่งรายการใหญ่ๆ เช่น โอลิมปิก ฟุตบอลโลก ซึ่งในส่วนของโอลิมปิกได้ผ่านพ้นไปแล้ว และมีปัญหาจอดำเกิดขึ้นบ้าง แต่ที่กำลังจะเกิดขึ้นในเร็วๆ นี้ก็คือ การถ่ายทอดโปรแกรมการแข่งขันฟุตบอลโลก 2014 ที่ถูก กสทช.บังคับให้ถ่ายทอดสดทางฟรีทีวี แต่ในความเป็นจริงการถ่ายทอดการแข่งขันฟุตบอลโลกได้ถูกบริษัท อาร์เอส จำกัด (มหาชน) ซื้อลิขสิทธิ์จากฟีฟ่ามาอย่างถูกต้อง และมีสิทธิที่จะดำเนินการถ่ายทอดผ่านช่องทางที่ตนเองมีอยู่ ซึ่งก็คือการถ่ายทอดผ่านกล่องรับสัญญาณดาวเทียม
“การไปบังคับให้ต้องถ่ายทอดผ่านฟรีทีวีเท่านั้น ถือเป็นการละเมิดสิทธิของผู้ที่ได้รับสิทธิถูกต้อง ในกรณีประกาศ กสทช.บังคับให้ฟุตบอลโลกต้องถ่ายทอดผ่านฟรีทีวี ก็อาจจะมีปัญหาได้ เพราะคู่สัญญาของฟีฟ่าในที่นี้ก็คืออาร์เอส จะทำนอกเหนือสัญญาที่ได้ตกลงไว้กับฟีฟ่าไม่ได้ หากเอาสัญญาณไปปล่อยให้ดูทางฟรีทีวีก็อาจจะถูกฟีฟ่าตัดสัญญาณได้ และจะเกิดปัญหาจอดำกันทั้งประเทศ อีกแง่หนึ่ง อาร์เอสก็คงทำแบบนั้นไม่ได้ เพราะได้ลงทุนซื้อลิขสิทธิ์มาอย่างถูกต้อง” รายงานข่าวระบุ
นางปัจฉิมา ธนสันติ อธิบดีกรมทรัพย์สินทางปัญญา กล่าวว่า กรมฯ ได้ทำหนังสือท้วงติงไปยัง กสทช.ตั้งแต่ช่วงเดือน ต.ค.ที่ผ่านมา หลังจากที่ได้ข่าวว่า กสทช.จะออกกฎกำหนดให้การถ่ายทอดสดกีฬา 7 ประเภทต้องถ่ายทอดทางฟรีทีวี ซึ่งกรมฯ ไม่ขัดข้องที่ กสทช.จะกำหนดรูปแบบออกมาอย่างนั้นเพื่อดูแลผู้บริโภค แต่กรมฯ เป็นห่วงคำบางคำในประกาศที่ระบุว่าต้องถ่ายทอดผ่านฟรีทีวีเท่านั้น จะเป็นการจำกัดการถ่ายทอดผ่านทีวีระบบอื่นๆ และที่สำคัญจะเป็นการลิดรอนสิทธิของผู้ที่มีลิขสิทธิ์ถูกต้อง ซึ่งกรมฯ ไม่อยากเห็นสิ่งเหล่านี้เกิดขึ้น
“ได้หารือกับนักกฎหมายหลายๆ คน เห็นว่าประกาศ กสทช.ดังกล่าวถ้ามีผลบังคับใช้จะมีผลกระทบเกิดขึ้นมากมาย ทั้งคำจำกัดที่ให้ฉายแต่ฟรีทีวีเท่านั้น หรือจะเป็นการลิดรอนสิทธิของผู้มีสิทธิถูกต้องหรือไม่ ซึ่งในกรณีของฟุตบอลโลกที่เข้าข่ายอยู่ในประกาศฉบับนี้ด้วยจะทำอย่างไร โดยเฉพาะคนที่ได้สิทธิมาแล้ว ถ้าถูกบังคับให้ไปฉายฟรีทีวีแล้วผิดกับข้อตกลงในสัญญาที่ทำกันมาจะทำอย่างไร จะแก้อย่างไร แล้วถ้าผู้ให้สิทธิบอกว่าคู่สัญญาผิดสัญญา และระงับสัญญาณ ถ้าจอดำกันทั้งประเทศจะทำอย่างไร ใครจะรับผิดชอบ จะต้องหาทางออกให้ได้ก่อนที่ฟุตบอลโลกจะมา” นางปัจฉิมากล่าว
ก่อนหน้านี้ กสทช.ได้เคยออกประกาศหลักเกณฑ์การเผยแพร่กิจการโทรทัศน์ที่ให้บริการเป็นการทั่วไป (Must Carry) เพื่อแก้ไขปัญหาจอดำ โดยกำหนดให้สื่อทีวีดาวเทียม เคเบิลทีวี หรือเพย์ทีวี ต้องทำหน้าที่เป็นเสาสัญญาณนำช่องฟรีทีวีไปให้ผู้ชมได้ชมเช่นเดียวกันกับการดูแบบเสาสัญญาณหนวดกุ้งหรือก้างปลา โดยไม่มีการดัดแปลงหรือทำซ้ำลิขสิทธิ์ที่แพร่ภาพทางฟรีทีวี ซึ่งถือเป็นกฎที่ออกมาเพื่อคุ้มครองผู้บริโภคให้ได้รับชมรายการที่ถ่ายทอดผ่านฟรีทีวีได้ทุกช่องทาง แต่ก็ไม่สามารถแก้ปัญหาได้ โดยเฉพาะการแข่งขันโอลิมปิกที่ผ่านมา เพราะติดปัญหาในเรื่องการละเมิดลิขสิทธิ์