ASTVผู้จัดการรายวัน-คอบอลเซ็ง! แกรมมี่โมเดล "พาณิชย์"แย้ม 2 ปีข้างหน้าหมดสิทธิ์ดูบอลโลกผ่านฟรีทีวี เหตุเจ้าของลิขสิทธิ์เน้นดูผ่านกล่องอย่างเดียว แนะ กสทช.เร่งเคลียร์เอกชนและฟีฟ่าก่อนบานปลาย
นางปัจฉิมา ธนสันติ อธิบดีกรมทรัพย์สินทางปัญญา เปิดเผยถึงปัญหาลิขสิทธิ์การถ่ายทอดสดกีฬาในประเทศไทยว่า มีความเป็นไปได้ว่าการถ่ายทอดสดฟุตบอลโลกในอีก 2 ปีข้างหน้า ช่องฟรีทีวีและเคเบิ้ลทีวี จะไม่สามารถรับชมการถ่ายทอดสดได้ เนื่องจากผู้ได้รับสิทธิ์การถ่ายทอดสดในประเทศไทย คือ บริษัท อาร์เอส จำกัด (มหาชน) จะดำเนินการด้วยวิธีขายกล่องบอกรับสัญญาณสมาชิก และถ่ายทอดสดผ่านช่องรายการของตนเอง ซึ่งถือเป็นสิทธิ์ที่อาร์เอสจะทำได้ และถูกต้องตามกฎหมาย เพราะเป็นเจ้าของลิขสิทธิ์
ส่วนระเบียบของคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) ที่ประกาศมาก่อนหน้านี้ โดยกำหนดให้การถ่ายทอดผ่านฟรีทีวีจะต้องไม่มีการจอดำนั้น ถือว่าไม่ครอบคลุมการถ่ายทอดที่อาร์เอสได้รับลิขสิทธิ์มา เพราะไม่ได้เป็นการถ่ายทอดผ่านฟรีทีวี
"ในช่วงเวลา 2 ปีที่เหลือ แนะนำให้คณะกรรมการ กสทช. เป็นแกนนำในการหารือกับผู้ประกอบการที่ได้รับอนุญาตในการเผยแพร่กับฟรีทีวีและผู้ประกอบการรายอื่นที่ต้องการเผยแพร่ภาพไปหารือกับทางฟีฟ่าเพื่อหาช่องทางในการได้รับประโยชน์ร่วมกัน โดยไม่กระทบต่อการแข่งขันทางการค้าและประโยชน์ของผู้บริโภค"นางปัจฉิมากล่าว
นางปัจฉิมากล่าวว่า สำหรับการร่วมมือทางด้านทรัพย์สินทางปัญญาระหว่างประเทศสมาชิกอาเซียนเพื่อรองรับการเป็นประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (AEC) ในปี 2558 กรมน จะร่วมมือกับสำนักงานทรัพย์สินทางปัญญาของอาเซียน เริ่มจากเวียดนามเป็นประเทศแรก และจะขยายความร่วมมือไปยังลาว กัมพูชา พม่า สิงคโปร์ มาเลเซีย อินโดนีเซีย ฟิลิปปินส์ และบรูไน เพื่อแลกเปลี่ยนความรู้ทางด้านทรัพย์สินทางปัญญา เพื่อให้แต่ละประเทศบูรณาการข้อมูล ระเบียบ ข้อกฎหมายซึ่งกันและกัน ป้องกันไม่ให้เกิดปัญหาการละเมิดระหว่างกัน
“จำเป็นต้องเร่งส่งเสริมความรู้ซึ่งกันและกัน ในการป้องกันปัญหาการละเมิดทรัพย์สินทางปัญญา และต้องหาทางส่งเสริมให้มีการใช้ประโยชน์จากทรัพย์สินทางปัญญาร่วมกัน"
นอกจากนี้ กรมฯ จะดำเนินโครงการให้ความรู้กับผู้ประกอบการไทย เพื่อให้เห็นถึงความสำคัญของการจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าของไทยในต่างประเทศ ซึ่งจะมีส่วนในการส่งเสริมการค้าในภาพรวมได้ โดยจะเริ่มต้นในกลุ่มประเทศกัมพูชา ลาว พม่า และเวียดนาม ซึ่งถือเป็นประเทศเพื่อนบ้านใกล้ชิด เพราะเมื่อมีการเปิด AEC จะเกิดการเคลื่อนย้ายสินค้า บริการ และการลงทุนอย่างเสรี จนไม่สามารถควบคุมมาตรฐานสินค้าได้ จึงต้องมีการเตรียมความพร้อมให้กับผู้ประกอบการในการแข่งขันในอนาคต
นางปัจฉิมา ธนสันติ อธิบดีกรมทรัพย์สินทางปัญญา เปิดเผยถึงปัญหาลิขสิทธิ์การถ่ายทอดสดกีฬาในประเทศไทยว่า มีความเป็นไปได้ว่าการถ่ายทอดสดฟุตบอลโลกในอีก 2 ปีข้างหน้า ช่องฟรีทีวีและเคเบิ้ลทีวี จะไม่สามารถรับชมการถ่ายทอดสดได้ เนื่องจากผู้ได้รับสิทธิ์การถ่ายทอดสดในประเทศไทย คือ บริษัท อาร์เอส จำกัด (มหาชน) จะดำเนินการด้วยวิธีขายกล่องบอกรับสัญญาณสมาชิก และถ่ายทอดสดผ่านช่องรายการของตนเอง ซึ่งถือเป็นสิทธิ์ที่อาร์เอสจะทำได้ และถูกต้องตามกฎหมาย เพราะเป็นเจ้าของลิขสิทธิ์
ส่วนระเบียบของคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) ที่ประกาศมาก่อนหน้านี้ โดยกำหนดให้การถ่ายทอดผ่านฟรีทีวีจะต้องไม่มีการจอดำนั้น ถือว่าไม่ครอบคลุมการถ่ายทอดที่อาร์เอสได้รับลิขสิทธิ์มา เพราะไม่ได้เป็นการถ่ายทอดผ่านฟรีทีวี
"ในช่วงเวลา 2 ปีที่เหลือ แนะนำให้คณะกรรมการ กสทช. เป็นแกนนำในการหารือกับผู้ประกอบการที่ได้รับอนุญาตในการเผยแพร่กับฟรีทีวีและผู้ประกอบการรายอื่นที่ต้องการเผยแพร่ภาพไปหารือกับทางฟีฟ่าเพื่อหาช่องทางในการได้รับประโยชน์ร่วมกัน โดยไม่กระทบต่อการแข่งขันทางการค้าและประโยชน์ของผู้บริโภค"นางปัจฉิมากล่าว
นางปัจฉิมากล่าวว่า สำหรับการร่วมมือทางด้านทรัพย์สินทางปัญญาระหว่างประเทศสมาชิกอาเซียนเพื่อรองรับการเป็นประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (AEC) ในปี 2558 กรมน จะร่วมมือกับสำนักงานทรัพย์สินทางปัญญาของอาเซียน เริ่มจากเวียดนามเป็นประเทศแรก และจะขยายความร่วมมือไปยังลาว กัมพูชา พม่า สิงคโปร์ มาเลเซีย อินโดนีเซีย ฟิลิปปินส์ และบรูไน เพื่อแลกเปลี่ยนความรู้ทางด้านทรัพย์สินทางปัญญา เพื่อให้แต่ละประเทศบูรณาการข้อมูล ระเบียบ ข้อกฎหมายซึ่งกันและกัน ป้องกันไม่ให้เกิดปัญหาการละเมิดระหว่างกัน
“จำเป็นต้องเร่งส่งเสริมความรู้ซึ่งกันและกัน ในการป้องกันปัญหาการละเมิดทรัพย์สินทางปัญญา และต้องหาทางส่งเสริมให้มีการใช้ประโยชน์จากทรัพย์สินทางปัญญาร่วมกัน"
นอกจากนี้ กรมฯ จะดำเนินโครงการให้ความรู้กับผู้ประกอบการไทย เพื่อให้เห็นถึงความสำคัญของการจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าของไทยในต่างประเทศ ซึ่งจะมีส่วนในการส่งเสริมการค้าในภาพรวมได้ โดยจะเริ่มต้นในกลุ่มประเทศกัมพูชา ลาว พม่า และเวียดนาม ซึ่งถือเป็นประเทศเพื่อนบ้านใกล้ชิด เพราะเมื่อมีการเปิด AEC จะเกิดการเคลื่อนย้ายสินค้า บริการ และการลงทุนอย่างเสรี จนไม่สามารถควบคุมมาตรฐานสินค้าได้ จึงต้องมีการเตรียมความพร้อมให้กับผู้ประกอบการในการแข่งขันในอนาคต