"โอบามา" ชื่นชมบารมีในหลวง ทรงเป็นศูนย์รวมจิตใจคนไทย อวย "ปู" นายกฯมาจากเลือกตั้ง อ้อนไทยเป็นหุ้นส่วนต้านก่อการร้าย ด้าน"ยิ่งลักษณ์" เสนอตัวเป็นศูนย์กลางอาเซียน “เครือมติชน” ชงคำถามหาคนผิดสลายชุมนุมปี 53 ปธน.สหรัฐฯเลี่ยงตอบ บอกทุกคนมีเสรีภาพในการแสดงออก ด้านนายกฯไทยยังกั๊กร่วมวง "TPP" อ้างต้องผ่านสภาฯก่อน
เมื่อเวลา 15.00 น. วานนี้ (18 พ.ย.) ที่ท่าอากาศยานทหารกองบิน 6 กองทัพอากาศ นายบารัก โอบามา ประธานาธิบดีสหรัฐอเมริกา ได้เดินทางมาถึงประเทศไทย ตามกำหนดการเยือนประเทศไทยอย่างเป็นทางการ ระหว่างวันที่ 18-19 พ.ย. เนื่องในโอกาสครบรอบ 180 ปีของมิตรภาพระหว่างสหรัฐอเมริกา และราชอาณาจักรไทย เมื่อนายโอบามา เดินลงจากเครื่องบินแอร์ฟอร์ซวัน ได้โบกมือทักทายสื่อมวลชน ก่อนขึ้นรถยนต์ออกจากสนามบิน เดินทางไปยังวัดพระเชตุพนวิมลมังคลารามราชวรมหาวิหาร (วัดโพธิ์) โดยนายโอบามา เดินชมความงามของวัดโพธิ์ 4 จุด ได้แก่ บริเวณพระอุโบสถ วิหารพระนอน พระมหาเจดีย์สี่รัชกาล และ ฤาษีดัดตน โดยมีพระสุธีธรรมานุวัฒน์ หรือเจ้าคุณเทียบ สิริญาโณ คณบดีบัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย(มจร.) และผู้ช่วยเจ้าอาวาส เป็นผู้นำเยี่ยมแต่ละจุด และบรรยายให้ทราบ
จากนั้น นายบารัก โอบามา พร้อมด้วย นางฮิลลารี คลินตัน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงต่างประเทศ นางคริสตี แอนน์ เคนนีย์ เอกอัครราชทูตสหรัฐอเมริกาประจำประเทศไทย และคณะ ได้เข้าเฝ้าทูลละอองธุลีพระบาท พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ที่ อาคารเฉลิมพระเกียรติ โรงพยาบาลศิริราช
ทั้งนี้ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงสัมผัสพระหัตถ์ กับนายบารัก โอบามา นางฮิลลารี คลินตัน และ นางคริสตี แอนน์ เคนนี พร้อมกันนี้ ได้มีพระราชปฏิสันถารกับประธานาธิบดีสหรัฐอเมริกา ด้วย
ต่อมาเวลา 18.00 น. นายบารัก โอบามา ทำเนียบรัฐบาล เพื่อร่วมพิธีต้อนรับที่รัฐบาลไทยจัดขึ้นเพื่อเป็นเกียรติในโอกาสเดินทางเยือนประเทศไทยอย่างเป็นทางการ โดยมีน.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี พร้อมด้วย นายกิตติรัตน์ ณ ระนอง รองนายกรัฐมนตรี และรมว.คลัง นายพงศ์เทพ เทพกาญจนา รองนายกรัฐมนตรี และรมว.ศึกษาธิการ นายประดิษฐ สินธวณรงค์ รมว.สาธารณสุข พร้อมด้วยนายทหาร ตำรวจ ทั้ง 4 เหล่าทัพ ให้การต้อนรับ โดยนายกรัฐมนตรีไทย นำประธานาธิบดีสหรัฐอเมริกา เดินตรวจแถวกองทหารเกียรติยศ ที่บริเวณสนามหน้าตึกไทยคู่ฟ้า
จากนั้นนายบารัก โอบามา ได้ลงนามในสมุดเยี่ยม พร้อมทั้งหารือระดับทวิภาคี ซึ่งมีประเด็นหลักที่หลายฝ่ายให้ความสนใจ คือ เรื่องของการประกาศเจตนารมณ์เข้าร่วมเจรจาความต้องการเป็นหุ้นส่วนยุทธศาสตร์ทางเศรษฐกิจภาคพื้นแปซิฟิก หรือ TPP ซึ่งไทย จะได้ประโยชน์ทั้งภาคการเกษตร และอิเลกทรอนิกส์ ที่ไทยสามารถส่งสินค้าไปยังสหรัฐฯ โดยไม่เสียภาษี แต่จำเป็นต้องมีความพร้อมในเรื่องของมาตรฐานที่สูงกว่ากรอบการค้าเสรีทั่วไป
**โอบามาอ้อนไทยหุ้นส่วนต้านก่อการร้าย
เมื่อเวลา 20.00 น. นายบารัก โอบามา แถลงภายหลังหารือทวิภาคีกับ น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี ว่า ไม่ใช่เรื่องบังเอิญในการเยือนอาเซียนแปซิฟิก ถือเป็นภูมิภาคที่ขยายตัวรวดเร็วที่สุด จะเป็นตัวกำหนดความมั่นคงและความมั่นคั่งในศตวรรษต่อไป มีส่วนสำคัญในการสร้างงานให้คนอเมริกัน นี่คือเหตุผลในการฟื้นฟูสัมพันธ์ในภูมิภาค เป็นภารกิจเร่งด่วน และกระชับความเข้มแข็งของประชาธิปไตย และรู้สึกเป็นเกียรติ ที่ได้เข้าเฝ้าพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงเป็นผู้นำทางด้านสติปัญญา ความมีศักดิ์ศรี ถือเป็นเอกลักษณ์ และศูนย์รวมจิตใจของประเทศนี้ และภูมิใจที่ได้ยืนเคียงข้างกับผู้นำ ที่ได้รับการเลือกตั้งอย่างเป็นประชาธิปไตย ซึ่งประชาธิปไตยในไทย ให้ความสำคัญโดยเฉพาะสิทธิแสรีภาพ ไม่ว่าจะเป็นเรื่องศาสนา หรือสื่อมวลชน ยืนยันในการค้ำจุนหลักธรรมาภิบาล ความเป็นประชาธิปไตย หลักนิติธรรม โดยเฉพาะเรื่องสิทธิมนุษยชน รวมถึงความร่วมมือด้านกองทัพ และการเป็นหุ้นส่วนการป้องกันการก่อการร้าย ยาเสพติด และบรรเทาภัยพิบัติ ตนชื่นชมไทยที่เข้าร่วมการป้องกันการแพร่ขยายอาวุธทำลายล้างสูง เพื่อส่งเสริมความมั่นคงในแปซิฟิก การขยายการค้า หลังจากที่ไทยวางพื้นฐานในการเข้าร่วมการตกลงการค้าเสรีที่มีมาตรฐานสูง ขอขอบคุณไทยที่ให้ความร่วมมืออย่างดีในการแก้ปัญหาการค้ามนุษย์และเรื่องผู้ลี้ภัย
ด้าน น.ส.ยิ่งลักษณ์ กล่าวว่า ไทยยินดีที่นายโอบามา เดินทางมาเยือนไทย และเป็นการเฉลิมฉลองความสัมพันธ์ทางการทูต180 ปี ไทย-สหรัฐฯ และถือเป็นเกียรติได้ร่วมเข้าเฝ้าพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ย้ำความสัมพันธ์ใกล้ชิดของ 2 ประเทศ รวมถึงการหารือทวิภาคี ที่เกิดประโยชน์อย่างกว้างขวาง เพราะเชื่อมั่นในสิ่งเดียวกันคือ ประชาธิปไตย สิทธิมนุษยชนและตลาดเสรีนี่คือความมุ่งมั่นของรัฐบาลนี้ในการปกป้องประชาธิปไตยในประเทศ และขอบคุณนายโอบามา ที่ส่งเสริมประชาธิปไตยในไทย รวมถึงการมองอนาคตในการเป็นหุ้นส่วนทางยุทธศาสตร์ ทั้งในอาเซียนแปซิฟิกในการสร้างงาน และตกลงในการเพิ่มความพยายามสัมพันธ์ทางการค้า การลงทุน ความมั่นคงทางพลังงาน และอาหาร เราตกลงร่วมกันว่าไทยเป็นยุทธศาสตร์ ในการเชื่อมโยงเศรษฐกิจประชาคมอาเซียน เพื่อทำให้ภูมิภาคนี้เป็นเครื่องโยงในการเจริญเติบโตของเศรษฐกิจโลก
**ปชต.ทุกคนมีเสรีภาพในการแสดงออก
จากนั้นได้เปิดโอกาสให้สื่อมวลชนได้ตั้งคำถามโดยจากไทย 2 คำถาม และสื่อต่างประเทศ 2 คำถาม โดยสื่อมวลชนฝ่ายไทยจากเครือมติชน ข่าวสด ถามว่า ในการหารือของสองประเทศ ได้มีการพูดถึงเรื่องประชาธิปไตยแล้วพอใจหรือไม่ กับสถานการณ์ประชาธิปไตยในประเทศไทยในปัจจุบัน โดยเฉพาะยังไม่มีการจับกุมตัวผู้กระทำผิดจากเหตุการณ์สลายการชุมนุม ที่ทำให้มีผู้ล้มตายมากมาย น.ส.ยิ่งลักษณ์ กล่าวว่า เรื่องประชาธิปไตยตอนนี้ความตั้งใจของเราคือ เสถียรภาพ เพราะในประชาธิปไตยเราเชื่อว่าเป็นเรื่องที่สำคัญสำหรับการเจริญเติบโตของเศรษฐกิจ ดังนั้นการที่เราจะต้องเป็นไปตามวิสัยทัศน์ของการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจ คือจะต้องมีความปรองดองในชาติ และในประเทศไทยนั้นเราจะต้องยึดมั่นเกี่ยวกับประชาธิปไตยอย่างแท้จริง โดยยึดหลักกฎหมาย และต้องมีการปฏิบัติอย่างทั่วถึง ซึ่งในประเทศไทยเราต้องการที่จะเห็นความปรองดองในชาติ เราจะต้องมีวิธีการที่สงบ โดยใช้สันติวิธี
ด้านนายบารัค กล่าวว่า ประการแรกประชาธิปไตย มันไม่ใช่อะไรที่อยู่นิ่งๆ แต่เป็นอะไรที่เราต้องทำงานเพื่อให้ได้มา สหรัฐฯในฐานะที่เป็นประเทศที่มีประชาธิปไตยที่เก่าแก่ที่สุดในโลก เราคงต้องทำงานในฐานะที่เป็นพลเมือง เพื่อทำให้แน่ใจว่าประชาธิปไตยเป็นไปได้ และให้ทุกคนเข้ามามีส่วนร่วมได้ เพื่อให้แน่นใจว่าเสรีภาพในรัฐธรรมนูญ เสรีภาพในการแสดงออก เสรีภาพการนับถือศาสนาได้รับการปกป้อง ซึ่งก็สามารถทำได้และได้รับการยอมรับ ฉะนั้นคำว่าการทำงานเพื่อให้เกิดประชาธิปไตยจะไม่หยุดยั้ง
" ฉะนั้นสถานการณ์ในเมืองไทย คือมีนายกรัฐมนตรี ที่ได้รับการเลือกตั้งอย่างเป็นประชาธิปไตย และมีความผูกพันในเรื่องหลักนิติธรรม ในหลักประชาธิปไตย ไม่ว่าจะเป็นเรื่องเสรีภาพในการแสดงออก สื่อมวลชน และของการรวมตัว ซึ่งแน่นอนว่าสิ่งที่เป็นจริงในประเทศไทย และสหรัฐฯ เหมือนกัน ประชาชนทุกคนจะต้องมีความระแวดระวังและช่วยกัน เพราะสามารถที่จะปรับปรุงได้ตลอดเวลา ทั้งนี้ขอแสดงความยินดีกับนายกฯ ในเรื่องของความผูกพันที่นายกฯ มีเรื่องของประชาธิปไตย และตนเองรู้ว่าเรื่องการปฏิรูปต่างๆ ที่นายกฯให้ความสนใจ เป็นเรื่องที่จะช่วยให้ประชาธิปไตยเข้มแข็งมากขึ้นในประเทศไทย และจะเป็นตัวอย่างที่ดีสำหรับภูมิภาคนี้ด้วย”นายบารัก กล่าว
**"ปู"กั๊กร่วมวงTPP อ้างต้องผ่านสภาฯก่อน
คำถามที่สามเป็นคำถามจากสถานีโทรทัศน์ไทยบีพีเอส ถามว่า นโยบายต่างประเทศของสหรัฐฯ ที่มีต่อเอเชียเป็นอย่างไร นายบารัก โอบามา กล่าวว่า วันที่ประกาศเบนเข็มมาที่เอเชียแปซิฟิก เพราะต้องการตอบสนองเรื่องทศวรรษต่างๆ โดยประการแรกคือ ขยายด้านการลงทุนในเอเชีย ซึ่งเชื่อว่าการทำงานกับประเทศในภูมิภาคนี้ จะสามารถสร้างงานและโอกาสต่างๆมากขึ้นสำหรับคนในอเมริกาและสำหรับคนในภูมิภาคนี้ โดยเรามีความสัมพันธ์ด้านการค้าการลงทุนที่ดีๆ กับประเทศไทยอยู่แล้ว และเราจะทำมากขึ้นได้ พร้อมกันนี้จะขยายและมองหาช่องทางต่างๆที่เราจะสามารถประสานเศรษฐกิจของเราให้เข้าร่วมกันเพื่อให้นักธุรกิจหรือผู้ประกอบการที่สามารถทำการค้าผลิตสินค้าต่างๆเข้ามาใช้ประโยชน์ได้
ประการที่สองคือ รักษาเสถียรภาพที่จะทำให้เกิดความมั่งคั่ง การดูแลเรื่องอุทกภัย ซึ่งไทยถือเป็นพันธมิตรตามสนธิสัญญาที่สำคัญของสหรัฐฯในเอเชีย ซึ่งประเทศไทยที่ไม่เพียงแต่จะทำงานกับเราในภูมิภาคนี้เท่านั้น แต่ยังทำงานอย่างเยี่ยมยอดในการรักษาสันติภาพทั่วโลกด้วย และอยากให้แน่ใจว่าเราสามารถกระชับความสัมพันธ์กันต่อไป ไม่เฉพาะเพื่อวัตถุประสงค์เรื่องการรับมือกับด้านความมั่นคงเท่านั้น แต่ต้องตอบสนองด้านมนุษยธรรมด้วย ซึ่งเราเห็นในภูมิภาคแถบนี้แล้วว่า ได้มีเหตุการณ์สร้างภัยพิบัติมากมายที่เป็นภัยพิบัติจากธรรมชาติ เมื่อเรามีความร่วมมืออย่างแข็งแกร่งและฝึกอบรมระหว่างประเทศของเราทั้งสอง เราก็อยู่ในฐานะที่ดีที่จะตอบสนอง และไทยมีประสบการณ์เรื่องน้ำท่วมเข้าใจเรื่องนี้ดี
และประการที่สามคือ เรื่องการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ เรามีการหารือกันในเรื่องการค้ามนุษย์และการบังคับใช้แรงงาน เชื่อว่าถ้าเด็กได้รับการศึกษาที่ดี ระบบสาธารณสุขได้รับการจัดตั้ง เหล่านี้คือประเด็นปัญหาต่างๆที่ประเทศของเราสามารถทำงานร่วมกันได้มากกว่าที่จะทำเองประเทศเดียว ดังนั้น การแลกเปลี่ยนวิทยาศาสตร์ทางการแพทย์จะเป็นเรื่องสำคัญ และประเทศไทยประสบความสำเร็จเรื่องเศรษฐกิจมากกว่าประเทศเพื่อนบ้าน ถือว่าอยู่ในฐานะที่ดีที่จะเป็นประเทศผู้ให้บริการ โดยเราจะร่วมมือกับประเทศไทยได้ในการรับมือด้านสาธารณสุข
ในช่วงสุดท้าย น.ส.ยิ่งลักษณ์ ได้กล่าวเสริมว่า ในการหารือซึ่งได้มีการพูดถึงเสถียรภาพเศรษฐกิจโลก ตนได้อธิบายให้นายบารัก ฟังว่าไทยจะพยายามเข้าถึงในการเจรจาเข้าร่วมความตกลงหุ้นส่วนยุทธศาสตร์ทางเศรษฐกิจภาคพื้นแปซิฟิก (ทีพีพี) เพราะในการเจรจานั้น จะต้องมีความมีส่วนร่วมของทุกคนในประเทศ รวมไปถึงผ่านกระบวนการทางรัฐสภาในประเทศเพื่อทำให้ทีพีพีเกิดขึ้นจริง เพราะไทยเห็นว่าทีพีพี เป็นความพยายามเพื่อให้ความเติบโตทางเศรษฐกิจร่วมกัน และเป็นเรื่องสำคัญที่ทำให้เกิดเสถียรภาพทางเศรษฐกิจ อย่างไรก็ตามต้องคำนึงความพร้อมของประเทศที่เข้าร่วมด้วย
ส่วนกำหนดการในวันที่ 19 พ.ย. ช่วงเช้า ประธานาธิบดีสหรัฐฯ จะเดินทางไปที่สนามบิน บน. 6 ขึ้น เครื่องบินแอร์ฟอร์ซวันไปยังท่าอากาศยานกรุงพนมเปญ ราชอาณาจักรกัมพูชา เพื่อเข้าร่วมการประชุมสุดยอดอาเซียน ครั้งที่ 21 และการประชุมสุดยอดที่เกี่ยวข้อง
ทั้งนี้ก่อนที่ประธานาธิบดีสหรัฐฯ จะเดินทางเข้าทำเนียบรัฐบาล ประมาณ 3 ชั่วโมง เจ้าหน้าที่รักษาความปลอดภัยของสหรัฐอเมริกา ได้ตรวจเข้มพื้นที่ทั้งในและนอกทำเนียบรัฐบาล พร้อมนำอุปกรณ์ตรวจวัตถุระเบิด และสุนัขดมกลิ่น สแกนทุกพื้นที่ รวมถึงห้องทำงานของสื่อมวลชน กระเป๋าสัมภาระและอุปกรณ์ทำข่าวทุกชนิด โดยมีการเชิญให้สื่อมวลชน ทั้งไทย และต่างประเทศ รวมทั้งเจ้าหน้าที่กองงานโฆษกทำเนียบรัฐบาล ที่ทำหน้าที่ตรวจสแกนบัตร และกล้องถ่ายภาพ ออกจากรั้วทำเนียบรัฐบาลทั้งหมด ในระหว่างการตรวจสอบ ซึ่งใช้เวลานานกว่า 1 ชั่วโมง ก่อนจะอนุญาตให้สื่อมวลชนเข้าพื้นที่เพื่อปฏิบัติหน้าที่ต่อ
นอกจากนี้มีการจัดชุดปฏิบัติการพิเศษ ตำรวจนอกเครื่องแบบ หน่วยดูแลพื้นที่สูงข่ม ระวังอาวุธวิถีตรงและโค้ง ชุดต่อต้านการซุ่มยิงและการซุ่มโจมตี อยู่ประจำตึกสูงโดยรอบทำเนียบรัฐบาล รวมทั้งปิดการจราจร ถนนพิษณุโลก ในระหว่างที่ประธานาธิบดีสหรัฐฯ ปฏิบัตภารกิจที่ทำเนียบรัฐบาล
***"บุญทรง"ย้ำไทยแค่สนใจไม่ใช่เจรจา
นายบุญทรง เตริยาภิรมย์ รมว.พาณิชย์ กล่าวถึงกรณีที่รัฐบาลหารือกับประธานาธิบดีสหรัฐฯ ในเรื่อง TPP ว่า เป็นการยืนยันเจตนารมณ์ว่า สนใจที่จะเข้าร่วมเจรจา TPP เท่านั้น ไม่ใช่เป็นการยืนยันว่าจะเจรจา TPP ในทันที เพราะยังมีขั้นตอนอีกมาก ที่จะต้องผ่านกระบวนการตามมาตรา 190 ของกฎหมายรัฐธรรมนูญก่อน โดยต้องใช้ระยะเวลานาน ตั้งแต่แสดงความสนใจ กลับไปศึกษาผลดีผลเสีย การเปิดรับฟังความคิดเห็นจากทุกภาคส่วน ทั้งภาครัฐ และเอกชน เมื่อได้ข้อสรุป ก็จะจัดทำเป็นกรอบการเจรจานำเสนอให้ครม. พิจารณา และ เสนอให้รัฐสภาให้ความเห็นชอบ จากนั้นถึงจะไปแสดงความประสงค์ที่จะเข้าร่วมการเจรจา ซึ่งเมื่อจะเข้าร่วมเจรจาแล้ว ก็ต้องให้สมาชิกเดิมของ TPP ให้ความเห็นชอบก่อนอีก ซึ่งทุกอย่างล้วนแต่ ใช้ระยะเวลาและมีขั้นมีตอนกำหนดไว้ ทั้งนี้ หากผลศึกษาสุดท้ายออกมาว่าไทยไม่ได้ประโยชน์ที่จะเข้าร่วม ก็ไม่มีความจำเป็นที่จะต้องไปเจรจา TPP แต่อย่างใด
**จี้ "นายกฯปู" ชั่งข้อดีข้อเสียเจรจา TPP
เมื่อเวลา 12.00 น. วานนี้ ที่ด้านหน้าสนามบินดอนเมือง ตัวแทนภาคประชาสังคม ประกอบไปด้วย กลุ่มศึกษาเขตการค้าเสรีภาคประชาชน (FTA Watch), เครือข่ายผู้ติดเชื้อเอชไอวี/เอดส์ ประเทศไทย, คณะกรรมการองค์กรพัฒนาเอกชนด้านเอดส์, มูลนิธิเข้าถึงเอดส์, มูลนิธิศูนย์คุ้มครองสิทธิด้านเอดส์, เครือข่ายเกษตรกรรมทางเลือก, ชมรมเพื่อนโรคไต, เครือข่ายเพื่อนมะเร็ง, มูลนิธิเพื่อผู้บริโภค, มูลนิธิเภสัชชนบท, กลุ่มศึกษาปัญหายา, มูลนิธิชีววิถี, มูลนิธิบูรณะนิเวศ และมูลนิธิสุขภาพไทย เปิดการแถลงข่าว คัดค้านการประกาศเจตนารมณ์เข้าร่วมเจรจาความตกลงหุ้นส่วนยุทธศาสตร์ภาคพื้นแปซิฟิก (TPP) และจัดกิจกรรมต้อนรับประธานาธิบดีบารัก โอบามาในการมาเยือนประเทศไทย
นายนิมิตร์ เทียนอุดม ผู้อำนวยการมูลนิธิเข้าถึงเอดส์ เปิดเผยว่า รู้สึกยินดีที่นายกรัฐมนตรี รับทราบถึงความห่วงใยของภาคส่วนต่างๆ ต่อความตกลง TPP จึงได้ให้สัมภาษณ์ว่า จะยังไม่หยิบยกเรื่องนี้ มาพูดคุยกับประธานาธิบดีสหรัฐฯ และจะจัดให้มีการศึกษาและรับฟังความคิดเห็นอย่างรอบด้าน
" เชื่อว่านายกฯ จะเป็นนักการเมืองรุ่นใหม่ ไม่พลิกลิ้น ไม่พูดอย่างทำอย่าง เพราะที่ผ่านมาคนไทยมีประสบการณ์กับการที่นักการเมืองไม่ว่าพรรคใดต่างก็มีพฤติกรรมที่เชื่อไม่ได้ การรับปากของนายกฯครั้งนี้ ที่จะจัดให้มีการศึกษาและรับฟังความคิดเห็นต่อการเจรจาความตกลง TPP อย่างรอบด้าน ซึ่งนี้จะเป็นมติใหม่ของกระบวนการมีส่วนร่วมอย่างแท้จริง หวังว่า นายกฯ จะมีวิจารณญานในการชั่งน้ำหนัก ข้อดี ข้อเสีย ของ TPP และการเจรจาการค้าเสรีในกรอบอื่นๆ ให้อยู่บนฐานประโยชน์สาธารณะ ไม่ใช่แค่การส่งออกหรือการยื่นหมูยื่นแมวเพื่อคงสิทธิพิเศษ GSP ให้แก่ธุรกิจเท่านั้น" นายนิมิตร์ กล่าว
อย่างไรก็ตาม ภาคประชาชน จะเดินหน้าตรวจสอบติดตามเรื่องนี้อย่างใกล้ชิด เนื่องจากมีความเป็นห่วง และเข้าใจว่า นายกฯเผชิญแรงกดดันจากกลุ่มธุรกิจส่งออก ซึ่งพยายามทำให้การเจรจาไม่โปร่งใส ไม่มีส่วนร่วม จึงต้องติดตามให้ภาควิชาการ หน่วยงานที่กำกับดูแลต่างๆ สื่อมวลชน เข้ามาร่วมตรวจสอบ และศึกษาอย่างเต็มที่ให้เป็นจุดยืนของประเทศเพื่อใช้ในความตกลงต่างๆ ที่มีลักษณะเดียวกัน.
เมื่อเวลา 15.00 น. วานนี้ (18 พ.ย.) ที่ท่าอากาศยานทหารกองบิน 6 กองทัพอากาศ นายบารัก โอบามา ประธานาธิบดีสหรัฐอเมริกา ได้เดินทางมาถึงประเทศไทย ตามกำหนดการเยือนประเทศไทยอย่างเป็นทางการ ระหว่างวันที่ 18-19 พ.ย. เนื่องในโอกาสครบรอบ 180 ปีของมิตรภาพระหว่างสหรัฐอเมริกา และราชอาณาจักรไทย เมื่อนายโอบามา เดินลงจากเครื่องบินแอร์ฟอร์ซวัน ได้โบกมือทักทายสื่อมวลชน ก่อนขึ้นรถยนต์ออกจากสนามบิน เดินทางไปยังวัดพระเชตุพนวิมลมังคลารามราชวรมหาวิหาร (วัดโพธิ์) โดยนายโอบามา เดินชมความงามของวัดโพธิ์ 4 จุด ได้แก่ บริเวณพระอุโบสถ วิหารพระนอน พระมหาเจดีย์สี่รัชกาล และ ฤาษีดัดตน โดยมีพระสุธีธรรมานุวัฒน์ หรือเจ้าคุณเทียบ สิริญาโณ คณบดีบัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย(มจร.) และผู้ช่วยเจ้าอาวาส เป็นผู้นำเยี่ยมแต่ละจุด และบรรยายให้ทราบ
จากนั้น นายบารัก โอบามา พร้อมด้วย นางฮิลลารี คลินตัน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงต่างประเทศ นางคริสตี แอนน์ เคนนีย์ เอกอัครราชทูตสหรัฐอเมริกาประจำประเทศไทย และคณะ ได้เข้าเฝ้าทูลละอองธุลีพระบาท พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ที่ อาคารเฉลิมพระเกียรติ โรงพยาบาลศิริราช
ทั้งนี้ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงสัมผัสพระหัตถ์ กับนายบารัก โอบามา นางฮิลลารี คลินตัน และ นางคริสตี แอนน์ เคนนี พร้อมกันนี้ ได้มีพระราชปฏิสันถารกับประธานาธิบดีสหรัฐอเมริกา ด้วย
ต่อมาเวลา 18.00 น. นายบารัก โอบามา ทำเนียบรัฐบาล เพื่อร่วมพิธีต้อนรับที่รัฐบาลไทยจัดขึ้นเพื่อเป็นเกียรติในโอกาสเดินทางเยือนประเทศไทยอย่างเป็นทางการ โดยมีน.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี พร้อมด้วย นายกิตติรัตน์ ณ ระนอง รองนายกรัฐมนตรี และรมว.คลัง นายพงศ์เทพ เทพกาญจนา รองนายกรัฐมนตรี และรมว.ศึกษาธิการ นายประดิษฐ สินธวณรงค์ รมว.สาธารณสุข พร้อมด้วยนายทหาร ตำรวจ ทั้ง 4 เหล่าทัพ ให้การต้อนรับ โดยนายกรัฐมนตรีไทย นำประธานาธิบดีสหรัฐอเมริกา เดินตรวจแถวกองทหารเกียรติยศ ที่บริเวณสนามหน้าตึกไทยคู่ฟ้า
จากนั้นนายบารัก โอบามา ได้ลงนามในสมุดเยี่ยม พร้อมทั้งหารือระดับทวิภาคี ซึ่งมีประเด็นหลักที่หลายฝ่ายให้ความสนใจ คือ เรื่องของการประกาศเจตนารมณ์เข้าร่วมเจรจาความต้องการเป็นหุ้นส่วนยุทธศาสตร์ทางเศรษฐกิจภาคพื้นแปซิฟิก หรือ TPP ซึ่งไทย จะได้ประโยชน์ทั้งภาคการเกษตร และอิเลกทรอนิกส์ ที่ไทยสามารถส่งสินค้าไปยังสหรัฐฯ โดยไม่เสียภาษี แต่จำเป็นต้องมีความพร้อมในเรื่องของมาตรฐานที่สูงกว่ากรอบการค้าเสรีทั่วไป
**โอบามาอ้อนไทยหุ้นส่วนต้านก่อการร้าย
เมื่อเวลา 20.00 น. นายบารัก โอบามา แถลงภายหลังหารือทวิภาคีกับ น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี ว่า ไม่ใช่เรื่องบังเอิญในการเยือนอาเซียนแปซิฟิก ถือเป็นภูมิภาคที่ขยายตัวรวดเร็วที่สุด จะเป็นตัวกำหนดความมั่นคงและความมั่นคั่งในศตวรรษต่อไป มีส่วนสำคัญในการสร้างงานให้คนอเมริกัน นี่คือเหตุผลในการฟื้นฟูสัมพันธ์ในภูมิภาค เป็นภารกิจเร่งด่วน และกระชับความเข้มแข็งของประชาธิปไตย และรู้สึกเป็นเกียรติ ที่ได้เข้าเฝ้าพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงเป็นผู้นำทางด้านสติปัญญา ความมีศักดิ์ศรี ถือเป็นเอกลักษณ์ และศูนย์รวมจิตใจของประเทศนี้ และภูมิใจที่ได้ยืนเคียงข้างกับผู้นำ ที่ได้รับการเลือกตั้งอย่างเป็นประชาธิปไตย ซึ่งประชาธิปไตยในไทย ให้ความสำคัญโดยเฉพาะสิทธิแสรีภาพ ไม่ว่าจะเป็นเรื่องศาสนา หรือสื่อมวลชน ยืนยันในการค้ำจุนหลักธรรมาภิบาล ความเป็นประชาธิปไตย หลักนิติธรรม โดยเฉพาะเรื่องสิทธิมนุษยชน รวมถึงความร่วมมือด้านกองทัพ และการเป็นหุ้นส่วนการป้องกันการก่อการร้าย ยาเสพติด และบรรเทาภัยพิบัติ ตนชื่นชมไทยที่เข้าร่วมการป้องกันการแพร่ขยายอาวุธทำลายล้างสูง เพื่อส่งเสริมความมั่นคงในแปซิฟิก การขยายการค้า หลังจากที่ไทยวางพื้นฐานในการเข้าร่วมการตกลงการค้าเสรีที่มีมาตรฐานสูง ขอขอบคุณไทยที่ให้ความร่วมมืออย่างดีในการแก้ปัญหาการค้ามนุษย์และเรื่องผู้ลี้ภัย
ด้าน น.ส.ยิ่งลักษณ์ กล่าวว่า ไทยยินดีที่นายโอบามา เดินทางมาเยือนไทย และเป็นการเฉลิมฉลองความสัมพันธ์ทางการทูต180 ปี ไทย-สหรัฐฯ และถือเป็นเกียรติได้ร่วมเข้าเฝ้าพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ย้ำความสัมพันธ์ใกล้ชิดของ 2 ประเทศ รวมถึงการหารือทวิภาคี ที่เกิดประโยชน์อย่างกว้างขวาง เพราะเชื่อมั่นในสิ่งเดียวกันคือ ประชาธิปไตย สิทธิมนุษยชนและตลาดเสรีนี่คือความมุ่งมั่นของรัฐบาลนี้ในการปกป้องประชาธิปไตยในประเทศ และขอบคุณนายโอบามา ที่ส่งเสริมประชาธิปไตยในไทย รวมถึงการมองอนาคตในการเป็นหุ้นส่วนทางยุทธศาสตร์ ทั้งในอาเซียนแปซิฟิกในการสร้างงาน และตกลงในการเพิ่มความพยายามสัมพันธ์ทางการค้า การลงทุน ความมั่นคงทางพลังงาน และอาหาร เราตกลงร่วมกันว่าไทยเป็นยุทธศาสตร์ ในการเชื่อมโยงเศรษฐกิจประชาคมอาเซียน เพื่อทำให้ภูมิภาคนี้เป็นเครื่องโยงในการเจริญเติบโตของเศรษฐกิจโลก
**ปชต.ทุกคนมีเสรีภาพในการแสดงออก
จากนั้นได้เปิดโอกาสให้สื่อมวลชนได้ตั้งคำถามโดยจากไทย 2 คำถาม และสื่อต่างประเทศ 2 คำถาม โดยสื่อมวลชนฝ่ายไทยจากเครือมติชน ข่าวสด ถามว่า ในการหารือของสองประเทศ ได้มีการพูดถึงเรื่องประชาธิปไตยแล้วพอใจหรือไม่ กับสถานการณ์ประชาธิปไตยในประเทศไทยในปัจจุบัน โดยเฉพาะยังไม่มีการจับกุมตัวผู้กระทำผิดจากเหตุการณ์สลายการชุมนุม ที่ทำให้มีผู้ล้มตายมากมาย น.ส.ยิ่งลักษณ์ กล่าวว่า เรื่องประชาธิปไตยตอนนี้ความตั้งใจของเราคือ เสถียรภาพ เพราะในประชาธิปไตยเราเชื่อว่าเป็นเรื่องที่สำคัญสำหรับการเจริญเติบโตของเศรษฐกิจ ดังนั้นการที่เราจะต้องเป็นไปตามวิสัยทัศน์ของการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจ คือจะต้องมีความปรองดองในชาติ และในประเทศไทยนั้นเราจะต้องยึดมั่นเกี่ยวกับประชาธิปไตยอย่างแท้จริง โดยยึดหลักกฎหมาย และต้องมีการปฏิบัติอย่างทั่วถึง ซึ่งในประเทศไทยเราต้องการที่จะเห็นความปรองดองในชาติ เราจะต้องมีวิธีการที่สงบ โดยใช้สันติวิธี
ด้านนายบารัค กล่าวว่า ประการแรกประชาธิปไตย มันไม่ใช่อะไรที่อยู่นิ่งๆ แต่เป็นอะไรที่เราต้องทำงานเพื่อให้ได้มา สหรัฐฯในฐานะที่เป็นประเทศที่มีประชาธิปไตยที่เก่าแก่ที่สุดในโลก เราคงต้องทำงานในฐานะที่เป็นพลเมือง เพื่อทำให้แน่ใจว่าประชาธิปไตยเป็นไปได้ และให้ทุกคนเข้ามามีส่วนร่วมได้ เพื่อให้แน่นใจว่าเสรีภาพในรัฐธรรมนูญ เสรีภาพในการแสดงออก เสรีภาพการนับถือศาสนาได้รับการปกป้อง ซึ่งก็สามารถทำได้และได้รับการยอมรับ ฉะนั้นคำว่าการทำงานเพื่อให้เกิดประชาธิปไตยจะไม่หยุดยั้ง
" ฉะนั้นสถานการณ์ในเมืองไทย คือมีนายกรัฐมนตรี ที่ได้รับการเลือกตั้งอย่างเป็นประชาธิปไตย และมีความผูกพันในเรื่องหลักนิติธรรม ในหลักประชาธิปไตย ไม่ว่าจะเป็นเรื่องเสรีภาพในการแสดงออก สื่อมวลชน และของการรวมตัว ซึ่งแน่นอนว่าสิ่งที่เป็นจริงในประเทศไทย และสหรัฐฯ เหมือนกัน ประชาชนทุกคนจะต้องมีความระแวดระวังและช่วยกัน เพราะสามารถที่จะปรับปรุงได้ตลอดเวลา ทั้งนี้ขอแสดงความยินดีกับนายกฯ ในเรื่องของความผูกพันที่นายกฯ มีเรื่องของประชาธิปไตย และตนเองรู้ว่าเรื่องการปฏิรูปต่างๆ ที่นายกฯให้ความสนใจ เป็นเรื่องที่จะช่วยให้ประชาธิปไตยเข้มแข็งมากขึ้นในประเทศไทย และจะเป็นตัวอย่างที่ดีสำหรับภูมิภาคนี้ด้วย”นายบารัก กล่าว
**"ปู"กั๊กร่วมวงTPP อ้างต้องผ่านสภาฯก่อน
คำถามที่สามเป็นคำถามจากสถานีโทรทัศน์ไทยบีพีเอส ถามว่า นโยบายต่างประเทศของสหรัฐฯ ที่มีต่อเอเชียเป็นอย่างไร นายบารัก โอบามา กล่าวว่า วันที่ประกาศเบนเข็มมาที่เอเชียแปซิฟิก เพราะต้องการตอบสนองเรื่องทศวรรษต่างๆ โดยประการแรกคือ ขยายด้านการลงทุนในเอเชีย ซึ่งเชื่อว่าการทำงานกับประเทศในภูมิภาคนี้ จะสามารถสร้างงานและโอกาสต่างๆมากขึ้นสำหรับคนในอเมริกาและสำหรับคนในภูมิภาคนี้ โดยเรามีความสัมพันธ์ด้านการค้าการลงทุนที่ดีๆ กับประเทศไทยอยู่แล้ว และเราจะทำมากขึ้นได้ พร้อมกันนี้จะขยายและมองหาช่องทางต่างๆที่เราจะสามารถประสานเศรษฐกิจของเราให้เข้าร่วมกันเพื่อให้นักธุรกิจหรือผู้ประกอบการที่สามารถทำการค้าผลิตสินค้าต่างๆเข้ามาใช้ประโยชน์ได้
ประการที่สองคือ รักษาเสถียรภาพที่จะทำให้เกิดความมั่งคั่ง การดูแลเรื่องอุทกภัย ซึ่งไทยถือเป็นพันธมิตรตามสนธิสัญญาที่สำคัญของสหรัฐฯในเอเชีย ซึ่งประเทศไทยที่ไม่เพียงแต่จะทำงานกับเราในภูมิภาคนี้เท่านั้น แต่ยังทำงานอย่างเยี่ยมยอดในการรักษาสันติภาพทั่วโลกด้วย และอยากให้แน่ใจว่าเราสามารถกระชับความสัมพันธ์กันต่อไป ไม่เฉพาะเพื่อวัตถุประสงค์เรื่องการรับมือกับด้านความมั่นคงเท่านั้น แต่ต้องตอบสนองด้านมนุษยธรรมด้วย ซึ่งเราเห็นในภูมิภาคแถบนี้แล้วว่า ได้มีเหตุการณ์สร้างภัยพิบัติมากมายที่เป็นภัยพิบัติจากธรรมชาติ เมื่อเรามีความร่วมมืออย่างแข็งแกร่งและฝึกอบรมระหว่างประเทศของเราทั้งสอง เราก็อยู่ในฐานะที่ดีที่จะตอบสนอง และไทยมีประสบการณ์เรื่องน้ำท่วมเข้าใจเรื่องนี้ดี
และประการที่สามคือ เรื่องการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ เรามีการหารือกันในเรื่องการค้ามนุษย์และการบังคับใช้แรงงาน เชื่อว่าถ้าเด็กได้รับการศึกษาที่ดี ระบบสาธารณสุขได้รับการจัดตั้ง เหล่านี้คือประเด็นปัญหาต่างๆที่ประเทศของเราสามารถทำงานร่วมกันได้มากกว่าที่จะทำเองประเทศเดียว ดังนั้น การแลกเปลี่ยนวิทยาศาสตร์ทางการแพทย์จะเป็นเรื่องสำคัญ และประเทศไทยประสบความสำเร็จเรื่องเศรษฐกิจมากกว่าประเทศเพื่อนบ้าน ถือว่าอยู่ในฐานะที่ดีที่จะเป็นประเทศผู้ให้บริการ โดยเราจะร่วมมือกับประเทศไทยได้ในการรับมือด้านสาธารณสุข
ในช่วงสุดท้าย น.ส.ยิ่งลักษณ์ ได้กล่าวเสริมว่า ในการหารือซึ่งได้มีการพูดถึงเสถียรภาพเศรษฐกิจโลก ตนได้อธิบายให้นายบารัก ฟังว่าไทยจะพยายามเข้าถึงในการเจรจาเข้าร่วมความตกลงหุ้นส่วนยุทธศาสตร์ทางเศรษฐกิจภาคพื้นแปซิฟิก (ทีพีพี) เพราะในการเจรจานั้น จะต้องมีความมีส่วนร่วมของทุกคนในประเทศ รวมไปถึงผ่านกระบวนการทางรัฐสภาในประเทศเพื่อทำให้ทีพีพีเกิดขึ้นจริง เพราะไทยเห็นว่าทีพีพี เป็นความพยายามเพื่อให้ความเติบโตทางเศรษฐกิจร่วมกัน และเป็นเรื่องสำคัญที่ทำให้เกิดเสถียรภาพทางเศรษฐกิจ อย่างไรก็ตามต้องคำนึงความพร้อมของประเทศที่เข้าร่วมด้วย
ส่วนกำหนดการในวันที่ 19 พ.ย. ช่วงเช้า ประธานาธิบดีสหรัฐฯ จะเดินทางไปที่สนามบิน บน. 6 ขึ้น เครื่องบินแอร์ฟอร์ซวันไปยังท่าอากาศยานกรุงพนมเปญ ราชอาณาจักรกัมพูชา เพื่อเข้าร่วมการประชุมสุดยอดอาเซียน ครั้งที่ 21 และการประชุมสุดยอดที่เกี่ยวข้อง
ทั้งนี้ก่อนที่ประธานาธิบดีสหรัฐฯ จะเดินทางเข้าทำเนียบรัฐบาล ประมาณ 3 ชั่วโมง เจ้าหน้าที่รักษาความปลอดภัยของสหรัฐอเมริกา ได้ตรวจเข้มพื้นที่ทั้งในและนอกทำเนียบรัฐบาล พร้อมนำอุปกรณ์ตรวจวัตถุระเบิด และสุนัขดมกลิ่น สแกนทุกพื้นที่ รวมถึงห้องทำงานของสื่อมวลชน กระเป๋าสัมภาระและอุปกรณ์ทำข่าวทุกชนิด โดยมีการเชิญให้สื่อมวลชน ทั้งไทย และต่างประเทศ รวมทั้งเจ้าหน้าที่กองงานโฆษกทำเนียบรัฐบาล ที่ทำหน้าที่ตรวจสแกนบัตร และกล้องถ่ายภาพ ออกจากรั้วทำเนียบรัฐบาลทั้งหมด ในระหว่างการตรวจสอบ ซึ่งใช้เวลานานกว่า 1 ชั่วโมง ก่อนจะอนุญาตให้สื่อมวลชนเข้าพื้นที่เพื่อปฏิบัติหน้าที่ต่อ
นอกจากนี้มีการจัดชุดปฏิบัติการพิเศษ ตำรวจนอกเครื่องแบบ หน่วยดูแลพื้นที่สูงข่ม ระวังอาวุธวิถีตรงและโค้ง ชุดต่อต้านการซุ่มยิงและการซุ่มโจมตี อยู่ประจำตึกสูงโดยรอบทำเนียบรัฐบาล รวมทั้งปิดการจราจร ถนนพิษณุโลก ในระหว่างที่ประธานาธิบดีสหรัฐฯ ปฏิบัตภารกิจที่ทำเนียบรัฐบาล
***"บุญทรง"ย้ำไทยแค่สนใจไม่ใช่เจรจา
นายบุญทรง เตริยาภิรมย์ รมว.พาณิชย์ กล่าวถึงกรณีที่รัฐบาลหารือกับประธานาธิบดีสหรัฐฯ ในเรื่อง TPP ว่า เป็นการยืนยันเจตนารมณ์ว่า สนใจที่จะเข้าร่วมเจรจา TPP เท่านั้น ไม่ใช่เป็นการยืนยันว่าจะเจรจา TPP ในทันที เพราะยังมีขั้นตอนอีกมาก ที่จะต้องผ่านกระบวนการตามมาตรา 190 ของกฎหมายรัฐธรรมนูญก่อน โดยต้องใช้ระยะเวลานาน ตั้งแต่แสดงความสนใจ กลับไปศึกษาผลดีผลเสีย การเปิดรับฟังความคิดเห็นจากทุกภาคส่วน ทั้งภาครัฐ และเอกชน เมื่อได้ข้อสรุป ก็จะจัดทำเป็นกรอบการเจรจานำเสนอให้ครม. พิจารณา และ เสนอให้รัฐสภาให้ความเห็นชอบ จากนั้นถึงจะไปแสดงความประสงค์ที่จะเข้าร่วมการเจรจา ซึ่งเมื่อจะเข้าร่วมเจรจาแล้ว ก็ต้องให้สมาชิกเดิมของ TPP ให้ความเห็นชอบก่อนอีก ซึ่งทุกอย่างล้วนแต่ ใช้ระยะเวลาและมีขั้นมีตอนกำหนดไว้ ทั้งนี้ หากผลศึกษาสุดท้ายออกมาว่าไทยไม่ได้ประโยชน์ที่จะเข้าร่วม ก็ไม่มีความจำเป็นที่จะต้องไปเจรจา TPP แต่อย่างใด
**จี้ "นายกฯปู" ชั่งข้อดีข้อเสียเจรจา TPP
เมื่อเวลา 12.00 น. วานนี้ ที่ด้านหน้าสนามบินดอนเมือง ตัวแทนภาคประชาสังคม ประกอบไปด้วย กลุ่มศึกษาเขตการค้าเสรีภาคประชาชน (FTA Watch), เครือข่ายผู้ติดเชื้อเอชไอวี/เอดส์ ประเทศไทย, คณะกรรมการองค์กรพัฒนาเอกชนด้านเอดส์, มูลนิธิเข้าถึงเอดส์, มูลนิธิศูนย์คุ้มครองสิทธิด้านเอดส์, เครือข่ายเกษตรกรรมทางเลือก, ชมรมเพื่อนโรคไต, เครือข่ายเพื่อนมะเร็ง, มูลนิธิเพื่อผู้บริโภค, มูลนิธิเภสัชชนบท, กลุ่มศึกษาปัญหายา, มูลนิธิชีววิถี, มูลนิธิบูรณะนิเวศ และมูลนิธิสุขภาพไทย เปิดการแถลงข่าว คัดค้านการประกาศเจตนารมณ์เข้าร่วมเจรจาความตกลงหุ้นส่วนยุทธศาสตร์ภาคพื้นแปซิฟิก (TPP) และจัดกิจกรรมต้อนรับประธานาธิบดีบารัก โอบามาในการมาเยือนประเทศไทย
นายนิมิตร์ เทียนอุดม ผู้อำนวยการมูลนิธิเข้าถึงเอดส์ เปิดเผยว่า รู้สึกยินดีที่นายกรัฐมนตรี รับทราบถึงความห่วงใยของภาคส่วนต่างๆ ต่อความตกลง TPP จึงได้ให้สัมภาษณ์ว่า จะยังไม่หยิบยกเรื่องนี้ มาพูดคุยกับประธานาธิบดีสหรัฐฯ และจะจัดให้มีการศึกษาและรับฟังความคิดเห็นอย่างรอบด้าน
" เชื่อว่านายกฯ จะเป็นนักการเมืองรุ่นใหม่ ไม่พลิกลิ้น ไม่พูดอย่างทำอย่าง เพราะที่ผ่านมาคนไทยมีประสบการณ์กับการที่นักการเมืองไม่ว่าพรรคใดต่างก็มีพฤติกรรมที่เชื่อไม่ได้ การรับปากของนายกฯครั้งนี้ ที่จะจัดให้มีการศึกษาและรับฟังความคิดเห็นต่อการเจรจาความตกลง TPP อย่างรอบด้าน ซึ่งนี้จะเป็นมติใหม่ของกระบวนการมีส่วนร่วมอย่างแท้จริง หวังว่า นายกฯ จะมีวิจารณญานในการชั่งน้ำหนัก ข้อดี ข้อเสีย ของ TPP และการเจรจาการค้าเสรีในกรอบอื่นๆ ให้อยู่บนฐานประโยชน์สาธารณะ ไม่ใช่แค่การส่งออกหรือการยื่นหมูยื่นแมวเพื่อคงสิทธิพิเศษ GSP ให้แก่ธุรกิจเท่านั้น" นายนิมิตร์ กล่าว
อย่างไรก็ตาม ภาคประชาชน จะเดินหน้าตรวจสอบติดตามเรื่องนี้อย่างใกล้ชิด เนื่องจากมีความเป็นห่วง และเข้าใจว่า นายกฯเผชิญแรงกดดันจากกลุ่มธุรกิจส่งออก ซึ่งพยายามทำให้การเจรจาไม่โปร่งใส ไม่มีส่วนร่วม จึงต้องติดตามให้ภาควิชาการ หน่วยงานที่กำกับดูแลต่างๆ สื่อมวลชน เข้ามาร่วมตรวจสอบ และศึกษาอย่างเต็มที่ให้เป็นจุดยืนของประเทศเพื่อใช้ในความตกลงต่างๆ ที่มีลักษณะเดียวกัน.