หลังจากคณะรัฐมนตรี เห็นชอบที่จะรื้อฟื้นความสัมพันธ์ไทย-สหรัฐให้เน้นแฟ้นมากขึ้น โดยเฉพาะเห็นชอบให้มีการลงนาม(เอ็มโอยู)การประกาศการเข้าร่วมเจรจาความตกลงหุ้นส่วนยุทธศาสตร์ทางเศรษฐกิจภาคพื้นแปซิฟิก(ทีพีพี)ในระหว่างที่นายบารัค โอบามา ประธานาธิบดีสหรัฐอเมริกา จะเดินทางมาเยือนประเทศไทยเป็นระยะเวลาสั้น ๆในวันที่ 18 พ.ย.นี้ นั้นทำให้หลายฝ่ายแสดงความกังวลต่อท่าทีดังกล่าว
วานนี้(13 พ.ย.55) นายสมภพ มานะรังสรรค์ อธิการบดีสถาบันเทคโนโลยีปัญญาภิวัฒน์ ให้ความเห็นว่า โดยแสดงความเป็นห่วง หากรัฐบาลไทยจะเจรจาความตกลงกับกลุ่มทีพีพี จะทำให้บทบาทของไทยเจอจางลง โดยเสนอแนะว่ารัฐบาลไทยจะต้องชั่งใจให้ดี เพราะอาจทำให้กลุ่มอาเซียน ถูกลดความหมายลงหากประเทศสมาชิกแต่ละประเทศไปร่วมในทีพีพีทีละประเทศ
“การเข้าไปร่วมในทีพีพี 1.จะทำให้อาเซียนถูกมองว่ามีความหมายหรือไม่ ซึ่งหากจะเข้าไปร่วมทีละประเทศ 2.ในส่วนของของเวทีเอเปค (กลุ่มความร่วมมือทางเศรษฐกิจเอเชีย-แปซิฟิค) ที่ยังไม่สามารถผลักดันตัวเองให้เข้าสู่เขตการค้าเสรีได้ เพราะมีความขัดแย้งของกลุ่มประเทศ ที่มหาสมุทรแปซิฟิดกั้นอยู่ ซึ่งสิ่งเหล่านี้สร้างความอึดอัดใจให้กับยักษ์ใหญ่อย่างสหรัฐอเมริกา และสหรัฐฯก็เคยใช้เวทีทวิภาคีอย่างเอฟทีเอ เช่น ทำการเจรจากับไทยมา 7 รอบ ก็ล้มเหลว สหรัฐจึงยกทีพีพีขึ้นมา ซึ่งจะถือว่าซ้ำซ้อนกับเอเปค หรืออาจะจทำให้อาเซียน บวก 1 บวก 3 หรือบวก 6 ที่กำลังเจรจากับอียู อินเดีย หรืออสเตรเลีย ก็จะแผ่วเบาลงไป เพราะอาเซียนถือเป็นแกนนำในการเจรจากับส่วนต่าง ๆ”
เมื่อถามว่า ถ้ารัฐบาลไทยไม่สามารถเข้าร่วมทีพีพีได้ ประเทศอย่างสิงคโปร์ มาเลเซีย เวียดนามอาจเข้าร่วมจะทำให้ไทยตกขบวนหรือไม่นั้น นายสมภพ มองว่า ก็ต้องไปมองว่า ญี่ปุ่น หรือินโดนีเซีย ที่เป็นประเทศยักษ์ใหญ่ในกลุ่มอาเซียนทำไมถึงไม่เข้าร่วม เพราะรัฐบาลจะต้องชั่งดูว่าจะเกิดผลได้ผลเสีย มันมีอะไรบ้าง
รายงานข่าวจากกระทรวงการคลัง แจ้งถึงกรณีที่คณะรัฐมนตรีให้ความเห็นชอบร่างแถลงข่าวร่วมว่าด้วยการประกาศการเข้าร่วมเจรจาความตกลงหุ้นส่วนยุทธศาสตร์ทางเศรษฐกิจภาคพื้นแปซิฟิก(ทีพีพี) ว่า เรื่องดังกล่าวถูกเสนอโดยกระทรวงพาณิชย์ ซึ่งต้องการผลักดันให้เกิดความร่วมมือดังกล่าว แต่ความร่วมมือดังกล่าวจะเกิดขึ้นได้ จะต้องผ่านความเห็นชอบอย่างเป็นขั้นตอน ทั้งจากส่วนราชการที่เกี่ยวข้อง และ การประชาพิจารณ์ความเห็นจากภาคเอกชน เพราะความร่วมมือดังกล่าว มีผลกระทบต่อการค้า การลงทุน และ ความมั่นคงของประเทศ
“กระทรวงการคลังเองไม่ได้เป็นเจ้าภาพและไม่ทราบเรื่องที่กระทรวงพาณิชย์เสนอเข้าคณะรัฐมนตรี แต่เราทราบมานานแล้วว่า ทางกระทรวงพาณิชย์ต้องการผลักดันให้เกิดความร่วมมือดังกล่าว ซึ่งส่วนหนึ่งอาจกังวลว่า ไทยอาจจะตกขบวนในแง่ความร่วมมือ ซึ่งจะมีผลต่อการค้าและการลงทุน แต่ในทางปฎิบัติแล้ว ความร่วมมือจะเกิดขึ้นก็ต่อเมื่อได้รับความเห็นชอบจากทุกภาคส่วนในประเทศ รวมถึง สภาผู้แทนราษฎรที่ต้องอนุมัติ เพราะเกี่ยวข้องกับความมั่นคงของประเทศ”
นอกจากนี้ ความร่วมมือหรือการเข้าเป็นสมาชิกทีพีพีของไทยนั้น จะต้องได้รับความเห็นชอบจากกลุ่มประเทศสมาชิกทีพีพีเดิมก่อน ซึ่งขณะนี้ ภายในกลุ่มทีพีพีเองก็ยังไม่สามารถบรรลุข้อตกลงในแนวปฎิบัติร่วมกันได้ และ ยังไม่สามารถนำประเทศอื่นเข้าร่วมเป็นสมาชิกในขณะนี้ได้ด้วย ดังนั้น การที่ไทยเสนอตัวเข้าเป็นสมาชิกโดยที่สมาชิกเดิมยังไม่สามารถรับสมาชิกใหม่ได้ ก็ยังเป็นเรื่องที่ยังห่างไกลในแง่ความร่วมมือที่ไทยจะเข้าเป็นสมาชิกทีพีพีดังกล่าว
“การประกาศที่จะเข้าร่วมเป็นสมาชิกทีพีพีนั้น ยังเป็นเพียงกรอบความคิด ความร่วมมือจริงจะเกิดขึ้นได้ ต้องผ่านหลายกระบวนการ อาจจะเกิดขึ้นได้หรือไม่ ก็ได้ แต่การประกาศออกมาในลักษณะนี้ อาจเรียกความเชื่อมั่นของนักลงทุนในจังหวะที่ผู้นำสหรัฐจะมาเยือนไทยก็ได้”
ทั้งนี้ กลุ่มทีพีพี มีสมาชิกจำนวน 11 ประเทศ ประกอบด้วย สหรัฐอเมริกา ชิลี เปรู ออสเตรเลีย นิวซีแลนด์ สิงคโปร์ บรูไน มาเลเซีย เวียดนาม แคนาดา และเม็กซิโก ในจำนวนนี้ ไทยได้ทำข้อตกลงเขตการค้าเสรีแล้ว 8 ประเทศ ยกเว้น สหรัฐอเมริกา แคนาดาและเม็กซิโก
รายงานข่าวจากทำเนียบรัฐบาล แจ้งว่า ที่ผ่านมามีความพยายามเดินสายล็อบบี้ของนางสาวคริสตี แอนน์ เคนนี เอกอัครราชทูตสหรัฐประจำประเทศไทย ต่อรัฐมนตรีด้านการค้าของไทย ทั้งกระทรวงการคลัง กระทรวงพาณิชย์ และกระทรวงอุตสาหรรม เช่นการเข้าพบกับ ม.ร.ว.พงษ์สวัสดิ์ สวัสดิวัตน์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม ชี้แจงความก้าวหน้าการเจรจาความตกลงให้กระทรวงอุตสาหกรรมรับทราบ
โดย สหรัฐเห็นว่ารัฐบาลไทยควรตัดสินใจเกี่ยวกับข้อตกลงดังกล่าว โดยสหรัฐได้เดินหน้าเจรจาข้อตกลงนี้ไปมากแล้ว ซึ่งไม่ยอมน้อยหน้าในการมีบทบาทนำในเวทีการค้าโลก และช่วงชิงบทบาทนำในภูมิภาคนี้กับจีนอย่างเข้มข้น ไม่ว่าจะเป็นเวทีไหนๆ สหรัฐไม่พลาดโอกาสในการชักชวนให้ประเทศต่างๆ เข้าร่วมเพื่อคานกับจีนที่กำลังรุกเปิดเสรีผ่านอาเซียน+3 และอาเซียน+6 ขณะที่ไทยไม่สามารถเซ็นเอฟทีเอกับสหรัฐที่หยุดการเจรจาตั้งแต่ 2549ได้ ในช่วงรัฐบาลพรรคไทยรักไทย
มีการมองว่า หากไทยเข้าร่วมอาจจะรักษาสถานะการแข่งขันในตลาดสหรัฐเอาไว้ได้ ที่สำคัญในอนาคตสหรัฐจะตัดสิทธิพิเศษทางภาษีศุลกากรหรือจีเอสพี ต่อสินค้าไทยหลายรายการ
**เด็กโอบามาสำรวจทำเนียบซ้ำ
วันเดียวกัน นผู้สื่อข่าวรายงานว่าเมื่อเวลา 10.00-12.00น. ที่ผ่านมา มีเจ้าหน้าที่ชุดล่วงหน้าของนายบารัค โอบามา ประธานาธิบดีสหรัฐ และเจ้าหน้าที่สถานทูตสหรัฐประจำประเทศไทย เกือบ20คน เดินทางด้วยรถตู้ของสถานทูตฯ เดินทางมายังทำเนียบรัฐบาล เพื่อตรวจสอบสถานที่อีกครั้งเป็นวันที่2ติดต่อกัน ก่อนที่ประธานาธิบดีสหรัฐจะเดินทางมาเยือนในวันอาทิตย์ที่ 18พ.ย.นี้ ซึ่งการเดินทางมาครั้งนี้ของคณะจากอเมริกาพบว่ามีเจ้าหน้าที่เดินทางมาน้อยกว่าเมื่อวานนี้กว่าครึ่งหนึ่ง อย่างไรก็ตามการเดินทางมาตรวจสถานที่มีการเชิญเจ้าหน้าที่ฝ่ายไทย อาทิ กองพิธีการ สำนักโฆษก ฝ่ายสถานที่ของทำเนียบรัฐบาลเข้าหารือด้วย
ผู้สื่อข่าวรายงานว่าจากการสังเกตการณ์การตรวจพื้นที่ทำเนียบรัฐบาลของคณะจากสหรัฐในวันนี้พบว่าจะใช้เวลาอยู่ในตึกไทยคู่ฟ้าและตึกสันติไมตรีเป็นเวลานานเพราะถือเป็น 2 ตึกที่จะใช้เป็นสถานที่ต้อนรับประธานาธิบดีสหรัฐ และพบด้วยว่าช่วงหนึ่งของการตรวจสถานที่มีเจ้าหน้าที่สหรัฐ ซึ่งเป็นผู้ชายรูปร่างใหญ่ ผิวเข้ม 1 คนพร้อมด้วยเจ้าหน้าที่ชายฝ่ายไทย 1 คนเดินขึ้นไปสำรวจบนชั้นดาดฟ้าของตึกไทยคู่ฟ้า ตั้งแต่บริเวณฐานของธงชาติไทยซึ่งอยู่ฝั่งซ้ายของตึก(หันหน้าเข้าตึก)และเดินผ่านองค์ท้าวมหาพรหมณ์สิ่งศักดิ์สิทธิ์ประจำทำเนียบรัฐบาล ซึ่งเจ้าหน้าที่ได้ก้มน้อมตัวลงในขณะเดินผ่าน และเดินมายังดาดฟ้าเหนือห้องโดมทอง โดยใช้เวลาสำรวจไม่ถึง5นาที ก็ลงไป
ที่กองบัญชาการตำรวจนครบาล (บช.น.) พล.ต.ท.คำรณวิทย์ ธูปกระจ่าง ผบช.น. ประชุมวิดีโอคอนเฟอเรนซ์ร่วมกับ พล.ต.อ.อดุลย์ แสงสิงแก้ว ผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ (ผบ.ตร.) หลังจากมอบหมายให้ พล.ต.อ.วรพงษ์ ชิวปรีชา รอง ผบ.ตร. ร่วมประชุมกับทีม รปภ.ของนายบารัค โอบามา โดยในส่วนของ บช.น.มอบหมายให้ พล.ต.ต.ปริญญา จันทร์สุริยา รอง ผบช.น. ไปร่วมประชุม และมีการวางแผนร่วมกันทุกจุดที่ไป ไม่ว่าจะเป็นโรงพยาบาลศิริราช หรือทำเนียบรัฐบาล และจุดอื่นๆ ซึ่งยืนยันว่าทาง บช.น. พร้อมดูแลความปลอดภัยคณะ
ทั้งนี้ อาจมีการปิดถนนบางช่วงที่นายบารัค ต้องสัญจรผ่าน โดยได้ประสานใช้ทั้งเฮลิคอปเตอร์ที่สหรัฐนำมาเอง และทีมงานของไทย
**ปูถึงลอนดอนเริ่มหารือนักธุรกิจ
ส่วนภารกิจของ น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี และคณะ ออกเดินทางจากท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ ถึงท่าอากาศยานนานาชาติ Heathrow กรุงลอนดอน ประเทศอังกฤษโดยเข้าพักที่โรงแรม เดอะ โกรสเวเนอร์ ภารกิจแรก น.ส.ยิ่งลักษณ์ ได้พบและหารือกับธุรกิจไทยและสมาคมธุรกิจไทยในสหราชอาณาจักร ต่อจากนั้นหารือกับทีมประเทศไทย ทีมไทยแลนด์ หารือกับผู้แทนท่องเที่ยวสหราชอาณาจักร
นายโอฬาร ไชยประวัติ ประธานผู้แทนการค้าไทย เปิดเผยว่า จากการสำรวจร้านอาหารในกรุงลอนดอนของอังกฤษ พบว่า ที่นี่นิยมใช้ข้าวหอมมะลิของไทยเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง รัฐบาลจึงหาช่องทางส่งออกข้าวหอมมะลิคุณภาพสูง รวมถึงข้าวหอมมะลิออร์แกนิกส์มาจำหน่ายให้กลุ่มลูกค้าในกลุ่มประเทศยุโรป พร้อมกับเจรจาการค้ากับผู้นำเข้าข้าวของอังกฤษ เพื่อหาแนวทางเพิ่มปริมาณการส่งออกข้าวหอมมะลิออร์แกนิกส์ที่มีราคาสูงกว่าข้าวหอมมะลิทั่วไป 20% ที่ตลาดมีความต้องการมาก
ด้านนางจุฬาพร กรธนทรัพย์ กรรมการผู้จัดการ บริษัท ไทยสมาร์ทไลฟ์ ผู้ประกอบการข้าวออร์แกนิกส์ คาดว่า ต้นปีหน้าจะส่งออกข้าวหอมมะลิออร์แกนิกส์มายังตลาดยุโรปได้ แต่ต้องการให้ภาครัฐเข้ามาช่วยสนับสนุน เพราะปัจจุบันมีพื้นที่ปลูกข้าวออร์แกนิกส์อยู่เพียง 1.8 หมื่นไร่เท่านั้น
**พบประธานพรีเมียร์ลีก
ทั้งนี้ น.ส.ยิ่งลักษณ์ มีกำหนดการพบและหารือกับเซอร์ ริชาร์ด สคูเดอมอร์ ประธานฟุตบอลพรีเมียร์ลีกอังกฤษ และจะไปเข้าเฝ้าฯ สมเด็จพระราชินีนาถ อลิซาเบธที่ 2 จากนั้นจะไปกล่าว คีย์โน๊ต แอดเดรส และร่วมรับประทานอาหารกลางวันกับนักธุรกิจไทย และนักธุรกิจสหราชอาณาจักร และไปเยี่ยมชมระบบรถไฟความเร็วสูงที่ สถานีเซนต์แพนคราส
**ขอความสะดวกออกวีซ่าคนไทย
น.ส.ยิ่งลักษณ์ ยังขอให้พิจารณาอำนวยความสะดวกแก่คนไทยในกระบวนการขอตรวจลงตรา หรือวีซ่า เพื่อเดินทางไปประกอบธุรกิจ ท่องเที่ยว และศึกษาต่อในสหราชอาณาจักร ทั้งนี้ ส่วนของประเทศไทยได้ดำเนินการอำนวยความสะดวกในการขอวีซ่าไทย และใบอนุญาตประกอบกิจการ เพื่อสร้างบรรยากาศที่เอื้อต่อการลงทุนของนักธุรกิจจากสหราชอาณาจักรที่มาลงทุนในไทย
วานนี้(13 พ.ย.55) นายสมภพ มานะรังสรรค์ อธิการบดีสถาบันเทคโนโลยีปัญญาภิวัฒน์ ให้ความเห็นว่า โดยแสดงความเป็นห่วง หากรัฐบาลไทยจะเจรจาความตกลงกับกลุ่มทีพีพี จะทำให้บทบาทของไทยเจอจางลง โดยเสนอแนะว่ารัฐบาลไทยจะต้องชั่งใจให้ดี เพราะอาจทำให้กลุ่มอาเซียน ถูกลดความหมายลงหากประเทศสมาชิกแต่ละประเทศไปร่วมในทีพีพีทีละประเทศ
“การเข้าไปร่วมในทีพีพี 1.จะทำให้อาเซียนถูกมองว่ามีความหมายหรือไม่ ซึ่งหากจะเข้าไปร่วมทีละประเทศ 2.ในส่วนของของเวทีเอเปค (กลุ่มความร่วมมือทางเศรษฐกิจเอเชีย-แปซิฟิค) ที่ยังไม่สามารถผลักดันตัวเองให้เข้าสู่เขตการค้าเสรีได้ เพราะมีความขัดแย้งของกลุ่มประเทศ ที่มหาสมุทรแปซิฟิดกั้นอยู่ ซึ่งสิ่งเหล่านี้สร้างความอึดอัดใจให้กับยักษ์ใหญ่อย่างสหรัฐอเมริกา และสหรัฐฯก็เคยใช้เวทีทวิภาคีอย่างเอฟทีเอ เช่น ทำการเจรจากับไทยมา 7 รอบ ก็ล้มเหลว สหรัฐจึงยกทีพีพีขึ้นมา ซึ่งจะถือว่าซ้ำซ้อนกับเอเปค หรืออาจะจทำให้อาเซียน บวก 1 บวก 3 หรือบวก 6 ที่กำลังเจรจากับอียู อินเดีย หรืออสเตรเลีย ก็จะแผ่วเบาลงไป เพราะอาเซียนถือเป็นแกนนำในการเจรจากับส่วนต่าง ๆ”
เมื่อถามว่า ถ้ารัฐบาลไทยไม่สามารถเข้าร่วมทีพีพีได้ ประเทศอย่างสิงคโปร์ มาเลเซีย เวียดนามอาจเข้าร่วมจะทำให้ไทยตกขบวนหรือไม่นั้น นายสมภพ มองว่า ก็ต้องไปมองว่า ญี่ปุ่น หรือินโดนีเซีย ที่เป็นประเทศยักษ์ใหญ่ในกลุ่มอาเซียนทำไมถึงไม่เข้าร่วม เพราะรัฐบาลจะต้องชั่งดูว่าจะเกิดผลได้ผลเสีย มันมีอะไรบ้าง
รายงานข่าวจากกระทรวงการคลัง แจ้งถึงกรณีที่คณะรัฐมนตรีให้ความเห็นชอบร่างแถลงข่าวร่วมว่าด้วยการประกาศการเข้าร่วมเจรจาความตกลงหุ้นส่วนยุทธศาสตร์ทางเศรษฐกิจภาคพื้นแปซิฟิก(ทีพีพี) ว่า เรื่องดังกล่าวถูกเสนอโดยกระทรวงพาณิชย์ ซึ่งต้องการผลักดันให้เกิดความร่วมมือดังกล่าว แต่ความร่วมมือดังกล่าวจะเกิดขึ้นได้ จะต้องผ่านความเห็นชอบอย่างเป็นขั้นตอน ทั้งจากส่วนราชการที่เกี่ยวข้อง และ การประชาพิจารณ์ความเห็นจากภาคเอกชน เพราะความร่วมมือดังกล่าว มีผลกระทบต่อการค้า การลงทุน และ ความมั่นคงของประเทศ
“กระทรวงการคลังเองไม่ได้เป็นเจ้าภาพและไม่ทราบเรื่องที่กระทรวงพาณิชย์เสนอเข้าคณะรัฐมนตรี แต่เราทราบมานานแล้วว่า ทางกระทรวงพาณิชย์ต้องการผลักดันให้เกิดความร่วมมือดังกล่าว ซึ่งส่วนหนึ่งอาจกังวลว่า ไทยอาจจะตกขบวนในแง่ความร่วมมือ ซึ่งจะมีผลต่อการค้าและการลงทุน แต่ในทางปฎิบัติแล้ว ความร่วมมือจะเกิดขึ้นก็ต่อเมื่อได้รับความเห็นชอบจากทุกภาคส่วนในประเทศ รวมถึง สภาผู้แทนราษฎรที่ต้องอนุมัติ เพราะเกี่ยวข้องกับความมั่นคงของประเทศ”
นอกจากนี้ ความร่วมมือหรือการเข้าเป็นสมาชิกทีพีพีของไทยนั้น จะต้องได้รับความเห็นชอบจากกลุ่มประเทศสมาชิกทีพีพีเดิมก่อน ซึ่งขณะนี้ ภายในกลุ่มทีพีพีเองก็ยังไม่สามารถบรรลุข้อตกลงในแนวปฎิบัติร่วมกันได้ และ ยังไม่สามารถนำประเทศอื่นเข้าร่วมเป็นสมาชิกในขณะนี้ได้ด้วย ดังนั้น การที่ไทยเสนอตัวเข้าเป็นสมาชิกโดยที่สมาชิกเดิมยังไม่สามารถรับสมาชิกใหม่ได้ ก็ยังเป็นเรื่องที่ยังห่างไกลในแง่ความร่วมมือที่ไทยจะเข้าเป็นสมาชิกทีพีพีดังกล่าว
“การประกาศที่จะเข้าร่วมเป็นสมาชิกทีพีพีนั้น ยังเป็นเพียงกรอบความคิด ความร่วมมือจริงจะเกิดขึ้นได้ ต้องผ่านหลายกระบวนการ อาจจะเกิดขึ้นได้หรือไม่ ก็ได้ แต่การประกาศออกมาในลักษณะนี้ อาจเรียกความเชื่อมั่นของนักลงทุนในจังหวะที่ผู้นำสหรัฐจะมาเยือนไทยก็ได้”
ทั้งนี้ กลุ่มทีพีพี มีสมาชิกจำนวน 11 ประเทศ ประกอบด้วย สหรัฐอเมริกา ชิลี เปรู ออสเตรเลีย นิวซีแลนด์ สิงคโปร์ บรูไน มาเลเซีย เวียดนาม แคนาดา และเม็กซิโก ในจำนวนนี้ ไทยได้ทำข้อตกลงเขตการค้าเสรีแล้ว 8 ประเทศ ยกเว้น สหรัฐอเมริกา แคนาดาและเม็กซิโก
รายงานข่าวจากทำเนียบรัฐบาล แจ้งว่า ที่ผ่านมามีความพยายามเดินสายล็อบบี้ของนางสาวคริสตี แอนน์ เคนนี เอกอัครราชทูตสหรัฐประจำประเทศไทย ต่อรัฐมนตรีด้านการค้าของไทย ทั้งกระทรวงการคลัง กระทรวงพาณิชย์ และกระทรวงอุตสาหรรม เช่นการเข้าพบกับ ม.ร.ว.พงษ์สวัสดิ์ สวัสดิวัตน์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม ชี้แจงความก้าวหน้าการเจรจาความตกลงให้กระทรวงอุตสาหกรรมรับทราบ
โดย สหรัฐเห็นว่ารัฐบาลไทยควรตัดสินใจเกี่ยวกับข้อตกลงดังกล่าว โดยสหรัฐได้เดินหน้าเจรจาข้อตกลงนี้ไปมากแล้ว ซึ่งไม่ยอมน้อยหน้าในการมีบทบาทนำในเวทีการค้าโลก และช่วงชิงบทบาทนำในภูมิภาคนี้กับจีนอย่างเข้มข้น ไม่ว่าจะเป็นเวทีไหนๆ สหรัฐไม่พลาดโอกาสในการชักชวนให้ประเทศต่างๆ เข้าร่วมเพื่อคานกับจีนที่กำลังรุกเปิดเสรีผ่านอาเซียน+3 และอาเซียน+6 ขณะที่ไทยไม่สามารถเซ็นเอฟทีเอกับสหรัฐที่หยุดการเจรจาตั้งแต่ 2549ได้ ในช่วงรัฐบาลพรรคไทยรักไทย
มีการมองว่า หากไทยเข้าร่วมอาจจะรักษาสถานะการแข่งขันในตลาดสหรัฐเอาไว้ได้ ที่สำคัญในอนาคตสหรัฐจะตัดสิทธิพิเศษทางภาษีศุลกากรหรือจีเอสพี ต่อสินค้าไทยหลายรายการ
**เด็กโอบามาสำรวจทำเนียบซ้ำ
วันเดียวกัน นผู้สื่อข่าวรายงานว่าเมื่อเวลา 10.00-12.00น. ที่ผ่านมา มีเจ้าหน้าที่ชุดล่วงหน้าของนายบารัค โอบามา ประธานาธิบดีสหรัฐ และเจ้าหน้าที่สถานทูตสหรัฐประจำประเทศไทย เกือบ20คน เดินทางด้วยรถตู้ของสถานทูตฯ เดินทางมายังทำเนียบรัฐบาล เพื่อตรวจสอบสถานที่อีกครั้งเป็นวันที่2ติดต่อกัน ก่อนที่ประธานาธิบดีสหรัฐจะเดินทางมาเยือนในวันอาทิตย์ที่ 18พ.ย.นี้ ซึ่งการเดินทางมาครั้งนี้ของคณะจากอเมริกาพบว่ามีเจ้าหน้าที่เดินทางมาน้อยกว่าเมื่อวานนี้กว่าครึ่งหนึ่ง อย่างไรก็ตามการเดินทางมาตรวจสถานที่มีการเชิญเจ้าหน้าที่ฝ่ายไทย อาทิ กองพิธีการ สำนักโฆษก ฝ่ายสถานที่ของทำเนียบรัฐบาลเข้าหารือด้วย
ผู้สื่อข่าวรายงานว่าจากการสังเกตการณ์การตรวจพื้นที่ทำเนียบรัฐบาลของคณะจากสหรัฐในวันนี้พบว่าจะใช้เวลาอยู่ในตึกไทยคู่ฟ้าและตึกสันติไมตรีเป็นเวลานานเพราะถือเป็น 2 ตึกที่จะใช้เป็นสถานที่ต้อนรับประธานาธิบดีสหรัฐ และพบด้วยว่าช่วงหนึ่งของการตรวจสถานที่มีเจ้าหน้าที่สหรัฐ ซึ่งเป็นผู้ชายรูปร่างใหญ่ ผิวเข้ม 1 คนพร้อมด้วยเจ้าหน้าที่ชายฝ่ายไทย 1 คนเดินขึ้นไปสำรวจบนชั้นดาดฟ้าของตึกไทยคู่ฟ้า ตั้งแต่บริเวณฐานของธงชาติไทยซึ่งอยู่ฝั่งซ้ายของตึก(หันหน้าเข้าตึก)และเดินผ่านองค์ท้าวมหาพรหมณ์สิ่งศักดิ์สิทธิ์ประจำทำเนียบรัฐบาล ซึ่งเจ้าหน้าที่ได้ก้มน้อมตัวลงในขณะเดินผ่าน และเดินมายังดาดฟ้าเหนือห้องโดมทอง โดยใช้เวลาสำรวจไม่ถึง5นาที ก็ลงไป
ที่กองบัญชาการตำรวจนครบาล (บช.น.) พล.ต.ท.คำรณวิทย์ ธูปกระจ่าง ผบช.น. ประชุมวิดีโอคอนเฟอเรนซ์ร่วมกับ พล.ต.อ.อดุลย์ แสงสิงแก้ว ผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ (ผบ.ตร.) หลังจากมอบหมายให้ พล.ต.อ.วรพงษ์ ชิวปรีชา รอง ผบ.ตร. ร่วมประชุมกับทีม รปภ.ของนายบารัค โอบามา โดยในส่วนของ บช.น.มอบหมายให้ พล.ต.ต.ปริญญา จันทร์สุริยา รอง ผบช.น. ไปร่วมประชุม และมีการวางแผนร่วมกันทุกจุดที่ไป ไม่ว่าจะเป็นโรงพยาบาลศิริราช หรือทำเนียบรัฐบาล และจุดอื่นๆ ซึ่งยืนยันว่าทาง บช.น. พร้อมดูแลความปลอดภัยคณะ
ทั้งนี้ อาจมีการปิดถนนบางช่วงที่นายบารัค ต้องสัญจรผ่าน โดยได้ประสานใช้ทั้งเฮลิคอปเตอร์ที่สหรัฐนำมาเอง และทีมงานของไทย
**ปูถึงลอนดอนเริ่มหารือนักธุรกิจ
ส่วนภารกิจของ น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี และคณะ ออกเดินทางจากท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ ถึงท่าอากาศยานนานาชาติ Heathrow กรุงลอนดอน ประเทศอังกฤษโดยเข้าพักที่โรงแรม เดอะ โกรสเวเนอร์ ภารกิจแรก น.ส.ยิ่งลักษณ์ ได้พบและหารือกับธุรกิจไทยและสมาคมธุรกิจไทยในสหราชอาณาจักร ต่อจากนั้นหารือกับทีมประเทศไทย ทีมไทยแลนด์ หารือกับผู้แทนท่องเที่ยวสหราชอาณาจักร
นายโอฬาร ไชยประวัติ ประธานผู้แทนการค้าไทย เปิดเผยว่า จากการสำรวจร้านอาหารในกรุงลอนดอนของอังกฤษ พบว่า ที่นี่นิยมใช้ข้าวหอมมะลิของไทยเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง รัฐบาลจึงหาช่องทางส่งออกข้าวหอมมะลิคุณภาพสูง รวมถึงข้าวหอมมะลิออร์แกนิกส์มาจำหน่ายให้กลุ่มลูกค้าในกลุ่มประเทศยุโรป พร้อมกับเจรจาการค้ากับผู้นำเข้าข้าวของอังกฤษ เพื่อหาแนวทางเพิ่มปริมาณการส่งออกข้าวหอมมะลิออร์แกนิกส์ที่มีราคาสูงกว่าข้าวหอมมะลิทั่วไป 20% ที่ตลาดมีความต้องการมาก
ด้านนางจุฬาพร กรธนทรัพย์ กรรมการผู้จัดการ บริษัท ไทยสมาร์ทไลฟ์ ผู้ประกอบการข้าวออร์แกนิกส์ คาดว่า ต้นปีหน้าจะส่งออกข้าวหอมมะลิออร์แกนิกส์มายังตลาดยุโรปได้ แต่ต้องการให้ภาครัฐเข้ามาช่วยสนับสนุน เพราะปัจจุบันมีพื้นที่ปลูกข้าวออร์แกนิกส์อยู่เพียง 1.8 หมื่นไร่เท่านั้น
**พบประธานพรีเมียร์ลีก
ทั้งนี้ น.ส.ยิ่งลักษณ์ มีกำหนดการพบและหารือกับเซอร์ ริชาร์ด สคูเดอมอร์ ประธานฟุตบอลพรีเมียร์ลีกอังกฤษ และจะไปเข้าเฝ้าฯ สมเด็จพระราชินีนาถ อลิซาเบธที่ 2 จากนั้นจะไปกล่าว คีย์โน๊ต แอดเดรส และร่วมรับประทานอาหารกลางวันกับนักธุรกิจไทย และนักธุรกิจสหราชอาณาจักร และไปเยี่ยมชมระบบรถไฟความเร็วสูงที่ สถานีเซนต์แพนคราส
**ขอความสะดวกออกวีซ่าคนไทย
น.ส.ยิ่งลักษณ์ ยังขอให้พิจารณาอำนวยความสะดวกแก่คนไทยในกระบวนการขอตรวจลงตรา หรือวีซ่า เพื่อเดินทางไปประกอบธุรกิจ ท่องเที่ยว และศึกษาต่อในสหราชอาณาจักร ทั้งนี้ ส่วนของประเทศไทยได้ดำเนินการอำนวยความสะดวกในการขอวีซ่าไทย และใบอนุญาตประกอบกิจการ เพื่อสร้างบรรยากาศที่เอื้อต่อการลงทุนของนักธุรกิจจากสหราชอาณาจักรที่มาลงทุนในไทย