วานนี้( 12 พ.ย.)นายศุภชัย ตันติคมน์ ที่ปรึกษาม.ร.ว.สุขุมพันธุ์ บริพัตร ผู้ว่าฯกทม. ในฐานะผู้ดูแลสนามบางกอก ฟุตซอล อารีน่า เขตหนองจอก รวมทั้งประสานงานกับสหพันธุ์ฟุตบอลนานาชาติ(ฟีฟ่า) ในการเตรียมความพร้อมสนามจนกว่าจะจบการแข่งขัน กล่าวว่า ในวันนี้ตนได้รับหนังสือชี้แจงการใช้สนามฟุตซอล ของฟีฟ่า ที่ได้ทำหนังสือถึงนายสุวัจน์ ลิปตพัลลภ ประธานคณะกรรมการโอลิมปิกสากล ประเทศไทย 2555 ซึ่งนายสุวัจน์ ได้ส่งหนังสือดังกล่าวมามายังกทม. โดยหนังสือดังกล่าวมีเนื้อหาดังกล่าวนี้ ตามที่ได้มีการประกาศและแจ้งให้ผู้ที่เกี่ยวข้องทราบไป เมื่อวันที่ 6 พ.ย. ที่ผ่านมา ว่า คณะกรรมาธิการฟุตซอลแห่งฟีฟ่า ได้มีการประชุมในช่วงเช้าของวันเดียวกัน เพื่อประเมินผลในหลายประเด็น ซึ่งเกี่ยวข้องกับการเข้าตรวจสอบสนาม เมื่อวันที่ 3 และ 5 พ.ย. คณะกรรมาธิการ ได้ตระหนักถึงความกังวลที่ปรากฏอยู่ในรายงานการตรวจสอบสนามในประเด็นความปลอดภัยของผู้ชมการแข่งขัน คณะกีฬา และผู้ที่จะเข้าเยี่ยมชมสนาม โดยได้สรุปว่าประเด็นสำคัญบางประการ ที่ได้มีการแจ้งเมื่อวันที่ 31 ต.ค. ยังไม่ได้ดำเนินการให้เรียบร้อย และเป็นที่ชัดเจนว่าอุปกรณ์อำนวยความสะดวกที่จำเป็นต่างๆนั้น ยังไม่มีการยืนยันได้ว่าจะสามารถใช้งานได้อย่างมีประสิทธิภาพ
อย่างไรก็ตามคณะกรรมาธิการฟุตซอล ได้เห็นพ้องว่าสนามฯยังไม่มีความพร้อมที่จะใช้เป็นสถานที่จัดการแข่งขันฟุตซอลชิงแชมป์โลก 2555 ในรอบชิงชนะเลิศ ด้วยเหตุนี้ จึงตัดสินใจจัดการแข่งขันคู่ที่ 47 และ 48 ที่สนามนิมิบุตร โดยการแข่งขันคู่ที่ 49 - 52 จะถูกจัดขึ้นที่สนามอินดอร์สเตเดี้ยมหัวหมาก พร้อมกันนี้ได้แนบตารางการแข่งขันมาเพื่อเป็นข้อมูลด้วย กรุณาแจ้งผลการตัดสินใจครั้งท้ายสุดนี้ให้แก่ผู่ที่เกี่ยวข้องทราบด้วย และขอขอบคุณในความเข้าใจของท่านและขอขอบคุณสำหรับความร่วมมืออันดีเสมอมา ขอแสดงความนับถือ ลงชื่อ ฟีฟ่า นายมุสตาฟา ฟาห์มี ประธานการจัดการแข่งขัน
ที่รัฐสภา ในการประชุมวุฒิสภา ที่มีนายนิคม ไวยรัชพานิช ประธานวุฒิสภา เป็นประธานการประชุม โดยก่อนเข้าสู่วาระการประชุม นพ.เจตน์ ศิระธรานนท์ ส.ว.สรรหา ได้หารือ ว่า ขณะนี้ประเทศไทยอยู่ระหว่างการแข่งขันฟุตซอลชิงแชมป์โลกครั้งที่ 7 เป็นที่น่าภาคภูมิใจที่สหพันธุ์ฟุตบอลนานาชาติ (ฟีฟ่า) ได้เลือกประเทศไทยเป็นสนามแข่งขันแต่กรณีที่ฟีฟ่าไม่อนุญาตให้ใช้สนามบางกอกฟุตซอลอารีน่า หนองจอกเป็นสนามแข่งทั้งๆที่เพิ่งสร้างเสร็จเพื่องานนี้โดยเฉพาะได้สร้างความอับอายขายหน้าให้กับประเทศไทยเป็นอย่างยิ่ง โดยการเผยแพร่ข่าวในขณะที่มีการแข่งขันยิ่งทำให้ชื่อเสียงของประเทศไทยย่อยยับลงไปกว่าเดิม แล้วจะแบกหน้าไปขอจัดการแข่งขันในระดับโลกในกีฬาอย่างอื่นๆได้อย่างไร มีเวลาเตรียมตัวแต่สนามกลับสร้างไม่เสร็จ ผู้ที่รับผิดชอบ สมาคมฟุตบอล กกท. กทม. กระทรวงมหาดไทย รัฐบาลอภิสิทธิ์ และรัฐบาลยิ่งลักษณ์ต้องรับผิดชอบมากน้อยแล้วแต่ความเกี่ยวข้อง
ทั้งนี้ฟีฟ่ามีมติเลือกไทยเป็นเจ้าภาพตั้งแต่ 18 มี.ค.2553 และรัฐบาลอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ ได้อนุมัติงบกว่า 1,200 ล้านบาท เมื่อ พ.ค.2554 โดยมอบให้กทม.ดำเนินการโดยเลือกพื้นที่หนองจอกแทนที่จะเลือกที่ดินของการรถไฟฯซึ่งอยู่ใกล้สถานีรถไฟฟ้า
“อย่างไรก็ตามจากปัญหาน้ำท่วมใหญ่ จึงได้ลดเวลาการก่อสร้างลงเหลือ 250 วันจาก 500 วัน ซึ่งระยะเวลานั้นไม่สามารถก่อสร้างสิ่งก่อสร้างใหญ่ๆได้ ฟีฟ่าก็มาตรวจเป็นระยะๆ จนยกเลิกในที่สุดเพราะมีการดัดแปลงวัสดุก่อสร้างทำให้มีความเสี่ยงต่อความปลอดภัย คำถามคือการก่อสร้างมีเวลาตั้งแต่ต้นปี 2553 มีเวลาจำกัดเหตุใดจึงไม่เร่งดำเนิน และการการแข่งขันระดับโลกควรจะมีนายกรัฐมนตรีเป็นประธานหรือไม่ ทำไมจึงสร้างที่หนองจอกเพราะสนามจุคนดู 12,000 คน มีปัญหาในการระบายคนย่อมลำบากในการขนย้ายผู้ชม เพราะมีปัญหาการจราจร และรอขนส่งมวลชนมาภายหลัง และสร้างเสร็จแล้วจะใช้สนามทำอะไรจึงเกิดความคุ้มค่า”นพ.เจตน์ กล่าว
อีกด้านนายจิรายุ ห่วงทรัพย์ รองโฆษกพรรคเพื่อไทย เดินทางเข้ายื่นหนังสือต่อสำนักงานตรวจเงินแผนดิน เพื่อขอให้ทำการตรวจสอบผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร และผู้บริหารกรุงเทพมหานคร กรณีการใช้งบประมาณกว่า 1,200 ล้านบาท ในการก่อสร้างสนามฟุตซอลอารีน่า หนองจอก ที่ไม่เป็นไปตามวัตถุประสงค์
“วันนี้ได้ยื่นเรื่องให้ สตง.ทำการตรวจสอบใน 4 ประเด็น คือ การเร่งรัดการก่อสร้างให้แล้วเสร็จภายในวันที่ 1 พฤศจิกายน ที่ผ่านมา ทั้งที่ในสัญญาระบุว่าจะสร้างแล้วเสร็จในเดือนเมษายน 2556 และมีการก่อสร้างผิดรูปแบบ”
นอกจากนี้ ได้มีการสั่งการให้ข้าราชการในหน่วยงานของกรุงเทพมหานครจำนวนมาก รวมทั้งมีการใช้อุปกรณ์ต่างๆ ที่เป็นทรัพย์สินของทางราชการ ไปช่วยในการก่อสร้างสนามฟุตซอลดังกล่าวด้วย ซึ่งเป็นการเอื้อประโยชน์ให้เอกชนคู่สัญญา
พร้อมกันนี้ เรียกร้องให้นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ ในฐานะผู้อนุมัติโครงการดังกล่าว ทำการตรวจสอบงบประมาณของกรุงเทพมหานครด้วย ไม่ใช่ตรวจสอบเฉพาะรัฐบาลเพียงอย่างเดียว
อย่างไรก็ตามคณะกรรมาธิการฟุตซอล ได้เห็นพ้องว่าสนามฯยังไม่มีความพร้อมที่จะใช้เป็นสถานที่จัดการแข่งขันฟุตซอลชิงแชมป์โลก 2555 ในรอบชิงชนะเลิศ ด้วยเหตุนี้ จึงตัดสินใจจัดการแข่งขันคู่ที่ 47 และ 48 ที่สนามนิมิบุตร โดยการแข่งขันคู่ที่ 49 - 52 จะถูกจัดขึ้นที่สนามอินดอร์สเตเดี้ยมหัวหมาก พร้อมกันนี้ได้แนบตารางการแข่งขันมาเพื่อเป็นข้อมูลด้วย กรุณาแจ้งผลการตัดสินใจครั้งท้ายสุดนี้ให้แก่ผู่ที่เกี่ยวข้องทราบด้วย และขอขอบคุณในความเข้าใจของท่านและขอขอบคุณสำหรับความร่วมมืออันดีเสมอมา ขอแสดงความนับถือ ลงชื่อ ฟีฟ่า นายมุสตาฟา ฟาห์มี ประธานการจัดการแข่งขัน
ที่รัฐสภา ในการประชุมวุฒิสภา ที่มีนายนิคม ไวยรัชพานิช ประธานวุฒิสภา เป็นประธานการประชุม โดยก่อนเข้าสู่วาระการประชุม นพ.เจตน์ ศิระธรานนท์ ส.ว.สรรหา ได้หารือ ว่า ขณะนี้ประเทศไทยอยู่ระหว่างการแข่งขันฟุตซอลชิงแชมป์โลกครั้งที่ 7 เป็นที่น่าภาคภูมิใจที่สหพันธุ์ฟุตบอลนานาชาติ (ฟีฟ่า) ได้เลือกประเทศไทยเป็นสนามแข่งขันแต่กรณีที่ฟีฟ่าไม่อนุญาตให้ใช้สนามบางกอกฟุตซอลอารีน่า หนองจอกเป็นสนามแข่งทั้งๆที่เพิ่งสร้างเสร็จเพื่องานนี้โดยเฉพาะได้สร้างความอับอายขายหน้าให้กับประเทศไทยเป็นอย่างยิ่ง โดยการเผยแพร่ข่าวในขณะที่มีการแข่งขันยิ่งทำให้ชื่อเสียงของประเทศไทยย่อยยับลงไปกว่าเดิม แล้วจะแบกหน้าไปขอจัดการแข่งขันในระดับโลกในกีฬาอย่างอื่นๆได้อย่างไร มีเวลาเตรียมตัวแต่สนามกลับสร้างไม่เสร็จ ผู้ที่รับผิดชอบ สมาคมฟุตบอล กกท. กทม. กระทรวงมหาดไทย รัฐบาลอภิสิทธิ์ และรัฐบาลยิ่งลักษณ์ต้องรับผิดชอบมากน้อยแล้วแต่ความเกี่ยวข้อง
ทั้งนี้ฟีฟ่ามีมติเลือกไทยเป็นเจ้าภาพตั้งแต่ 18 มี.ค.2553 และรัฐบาลอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ ได้อนุมัติงบกว่า 1,200 ล้านบาท เมื่อ พ.ค.2554 โดยมอบให้กทม.ดำเนินการโดยเลือกพื้นที่หนองจอกแทนที่จะเลือกที่ดินของการรถไฟฯซึ่งอยู่ใกล้สถานีรถไฟฟ้า
“อย่างไรก็ตามจากปัญหาน้ำท่วมใหญ่ จึงได้ลดเวลาการก่อสร้างลงเหลือ 250 วันจาก 500 วัน ซึ่งระยะเวลานั้นไม่สามารถก่อสร้างสิ่งก่อสร้างใหญ่ๆได้ ฟีฟ่าก็มาตรวจเป็นระยะๆ จนยกเลิกในที่สุดเพราะมีการดัดแปลงวัสดุก่อสร้างทำให้มีความเสี่ยงต่อความปลอดภัย คำถามคือการก่อสร้างมีเวลาตั้งแต่ต้นปี 2553 มีเวลาจำกัดเหตุใดจึงไม่เร่งดำเนิน และการการแข่งขันระดับโลกควรจะมีนายกรัฐมนตรีเป็นประธานหรือไม่ ทำไมจึงสร้างที่หนองจอกเพราะสนามจุคนดู 12,000 คน มีปัญหาในการระบายคนย่อมลำบากในการขนย้ายผู้ชม เพราะมีปัญหาการจราจร และรอขนส่งมวลชนมาภายหลัง และสร้างเสร็จแล้วจะใช้สนามทำอะไรจึงเกิดความคุ้มค่า”นพ.เจตน์ กล่าว
อีกด้านนายจิรายุ ห่วงทรัพย์ รองโฆษกพรรคเพื่อไทย เดินทางเข้ายื่นหนังสือต่อสำนักงานตรวจเงินแผนดิน เพื่อขอให้ทำการตรวจสอบผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร และผู้บริหารกรุงเทพมหานคร กรณีการใช้งบประมาณกว่า 1,200 ล้านบาท ในการก่อสร้างสนามฟุตซอลอารีน่า หนองจอก ที่ไม่เป็นไปตามวัตถุประสงค์
“วันนี้ได้ยื่นเรื่องให้ สตง.ทำการตรวจสอบใน 4 ประเด็น คือ การเร่งรัดการก่อสร้างให้แล้วเสร็จภายในวันที่ 1 พฤศจิกายน ที่ผ่านมา ทั้งที่ในสัญญาระบุว่าจะสร้างแล้วเสร็จในเดือนเมษายน 2556 และมีการก่อสร้างผิดรูปแบบ”
นอกจากนี้ ได้มีการสั่งการให้ข้าราชการในหน่วยงานของกรุงเทพมหานครจำนวนมาก รวมทั้งมีการใช้อุปกรณ์ต่างๆ ที่เป็นทรัพย์สินของทางราชการ ไปช่วยในการก่อสร้างสนามฟุตซอลดังกล่าวด้วย ซึ่งเป็นการเอื้อประโยชน์ให้เอกชนคู่สัญญา
พร้อมกันนี้ เรียกร้องให้นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ ในฐานะผู้อนุมัติโครงการดังกล่าว ทำการตรวจสอบงบประมาณของกรุงเทพมหานครด้วย ไม่ใช่ตรวจสอบเฉพาะรัฐบาลเพียงอย่างเดียว