ASTVผู้จัดการรายวัน - แบงก์ชาติมอง "โอบามา" ชนะเลือกตั้งส่งผลดีต่อความเชื่อมั่น เพราะนโยบายสหรัฐมีความต่อเนื่อง พร้อมติดตามเงินไหลเข้าใกล้ชิด คาดต้องอยู่กับเงินไหลเข้าจาก QE 3 ไปอีกนาน ยันไม่มีปัจจัยกระตุ้นการขึ้นดอกเบี้ยนโยบายที่สูงกว่าโลกตะวันตก ชี้ฮ่องกงดอกเบี้ยแค่ 0.5% เงินไหลเข้าไม่หยุด ขณะที่คลังพอใจสานต่อนโยบายเดิม
กรณีที่ที่นายบารัค โอบามา ชนะการเลือกตั้ง ได้เป็นประธานาธิบดีสหรัฐสมัยที่ 2 นายทรงธรรม ปิ่นโต ผู้อำนวยการ สำนักเศรษฐกิจมหภาค ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) มองว่า เป็นไปตามที่ตลาดคาดการณ์ไว้ จึงไม่มีเรื่องเซอร์ไพร์สเกิดขึ้น ถือเป็นข้อดีในแง่ของความต่อเนื่องในการดำเนินนโยบายของสหรัฐ และอย่างน้อยก็ส่งผลดีต่อความเชื่อมั่น แต่ข้อจำกัดในการดำเนินนโยบายจากปัญหา Fiscal Cliff ก็ยังจะคงอยู่เหมือนเดิม อย่างไรก็ตาม ในช่วง 1-2 เดือนที่ผ่านมาเศรษฐกิจสหรัฐก็มีเสถียรภาพมากขึ้น และมีทิศทางที่ปรับตัวดีขึ้น ซึ่งก็ต้องติดตามกันต่อไปว่าสหรัฐจะดำเนินนโยบายตามที่ประกาศไว้ได้แค่ไหน
ส่วนประมาณการเศรษฐกิจของไทยยังไม่มีการเปลี่ยนแปลงอย่างมีนัยสำคัญ โดยเฉพาะด้านการค้าการลงทุน และเงินทุนเคลื่อนย้าย โดยจะเห็นได้ว่าตลาดเงินไม่มีความเคลื่อนไหวที่ผิดปกติ คงต้องรอดูภาพรวมของเศรษฐกิจโลกว่าจะปรับตัวดีขึ้นแค่ไหน ซึ่งจะต้องติดตามต่อไปอย่างใกล้ชิด ต้องมีการประเมินเป็นระยะ แต่จะอาศัยแรงกระตุ้นหรือแรงส่งจากเศรษฐกิจสหรัฐที่มีต่อเศรษฐกิจโลก ก็คงไม่ได้ทำให้เศรษฐกิจโลกฟู่ฟ่าเหมือนเดิม เพียงแต่โอกาสที่จะแย่ลงกว่านี้คงมีไม่มาก
"เศรษฐกิจโลกในช่วง 1-2 เดือนที่ผ่านมาก็ยังไม่มีเหตุการณ์ที่น่ากลัว มาถึง ณ จุดนี้จึงยังไม่มีปัจจัย ที่จะเปลี่ยนแปลงอย่างมีนัยสำคัญต่อสิ่งที่ธปท.คาดการณ์ไว้ แต่ก็ต้องติดตามเรื่องความเสี่ยงจากยุโรปและญี่ปุ่นอย่างใกล้ชิด โดยเฉพาะยุโรปการอัดฉีดเม็ดเงินเป็นเรื่องละเอียดอ่อน" นายทรงธรรมกล่าว
ด้านนางรุ่ง มัลลิกะมาส ผู้อำนวยการสำนักเศรษฐกิจมหภาค สายนโยบายการเงิน ธปท. กล่าวถึงความเป็นห่วงของภาคการเงินที่กังวลถึงการไหลเข้าของเงินทุนจากต่างประเทศ และจากมาตรการผ่อนคลายเชิงปริมาณ ครั้งที่ 3 หรือ QE 3 ของสหรัฐ มายังภูมิภาคเอเชีย หลังจากเชื่อมั่นว่านโยบายการเงินของสหรัฐ ฯ จะเป็นไปในทิศทางผ่อนคลายต่อเนื่องหลังประธานาธิบดีบารัก โอบามา ได้รับเลือกตั้งเป็นสมัยที่ 2 ว่า การไหลเข้าของเงินทุนต่างชาติมาสู่ภูมิภาคเอเชีย และประเทศไทยในขณะนี้นั้น ไม่ได้มีเหตุผลส่วนใหญ่จากอัตราดอกเบี้ยของประเทศในเอเชียสูงกว่าประเทศตะวันตกเป็นเหตุผลหลัก แต่เป็นเหตุผลของผลตอบแทนจากราคาสินทรัพย์ ผลตอบแทนจากอัตราแลกเปลี่ยน และความเสี่ยงของประเทศในภูมิภาคนี้ที่มีน้อยกว่าเศรษฐกิจตะวันตกเพราะพื้นฐานเศรษฐกิจยังโตอย่างเข็มแข็ง
“ในขณะนี้ถ้าดูจากการเงินที่ไหลเข้ามากมายในฮ่องกง จะเห็นได้ว่า ไม่ได้มีผลมาจากดอกเบี้ย เพราะอัตราดอกเบี้ยของฮ่องกงในขณะนี้อยู่ที่ 0.5% เท่านั้นถือว่าต่ำมาก แต่ก็มีเงินทุนไหลเข้าฮ่องกง เพราะเห็นถึงผลตอบแทนที่จะได้จากอัตราแลกเปลี่ยนฯ”
นางรุ่ง กล่าวว่า ในการปรับลดอัตราดอกเบี้ยนโยบายลง 0.25% ในการประชุม กนง. ครั้งที่ผ่านมานั้น มี กนง.บางคนที่เป็นห่วงในเรื่องการไหลเข้ามาของเงินทุนจากตลาดโลก ซึ่งจะส่งผลต่อตลาดการเงินไทย
*คลังชี้ 'โอบามา' สานนโยบายเดิม
นายสมชัย สัจจพงษ์ ผู้อำนวยการสำนักงานเศรษฐกิจการคลัง กล่าวว่า ผลการเลือกตั้งประธานาธิบดี ในสหรัฐฯ ในครั้งนี้ จะนำให้การทำงานมีความต่อเนื่องและมีผลทำให้ความสัมพันธ์ทางเศรษฐกิจการค้าและการลงทุนกับประเทศเพื่อนบ้านยังคงเหมือนเดิม ไม่รุนแรงและเป็นปฎิปักษ์กับประเทศมหาอำนาจเหมือนกับนโยบายของนายมิต รอมนีย์ ซึ่งจะเป็นปฏิบักษ์มากกว่านายโอบามา ที่เน้นใช้นโยบายทางการฑูตเป็นหลัก เป็นผลดีต่อการค้าการลงทุนและเศรษฐกิจอเมริกาและทั่วโลกรวมทั้งของไทย ที่ต้องอยู่ท่ามกลางในช่วงที่สหภาพยุโรปยังมีปัญหา
ประเทศในเอเชียจะได้รับผลดีจากการปลดล็อคนโยบายหน้าผาการคลังได้อย่างราบรื่น เพราะเป็นสิ่งที่นักลงทุนคาดหวังว่าจะเกิดการปลดล็อคหน้าผาทางการคลัง และยังมีแนวโน้มสูงว่าจะมีการขยายเวลาการปรับเพิ่มภาษีและการลดรายจ่ายลง ที่จะนำเสนอต่อรัฐสภา เชื่อว่าจะได้รับการยอมรับจะเป็นผลดีต่อเศรษฐกิจสหรัฐที่จะฟื้นตัวและส่งผลดีต่อไทยด้วย เพราะสหรัฐฯ เป็นตลาดส่งออกหนึ่งของไทยที่ช่วยให้ไทยสามารถขยายการส่งออกได้เพิ่มขึ้น และหากเศรษฐกิจสหรัฐฟื้นตัวขึ้นจะยิ่งส่งผลต่อตลาดส่งออกของไทยอาจสามารถทดแทนตลาดส่งออกที่ลดลงจากสหภาพยุโรป
******หุ้นไทยปรับลงกังวลทิศทางUS
น.ส.ธีรดา ชาญยิ่งยงค์ ผู้ช่วยผู้อำนวยการฝ่ายวิเคราะห์หลักทรัพย์ บล.ฟิลลิป(ประเทศไทย) กล่าวว่า ตลาดหุ้นไทยผันผวนค่อนข้างมากในช่วงรอผลการเลือกตั้งประธานาธิบดีของสหรัฐฯ และแม้ภาพออกมาในทางบวกที่ได้ผู้ชนะการเลือกตั้งแล้ว แต่ก็คงจะเป็นเพียงการตอบรับแค่ระยะสั้น เนื่องจากภาพรวมตลาดฯยังมีหลายปัจจัยให้กังวล โดยนักลงทุนหันไปมองนโยบายของสหรัฐฯ และปัญหา fiscal cliff ต่อ ว่าจะเป็นเช่นไร โดยทำให้ดัชนีวันนี้ปรับตัวลงมา
ขณะที่ เหตุการณ์ในยุโรปต้องจับตากรีซว่ามาตรการการรัดเข็มขัดจะทำได้สำเร็จหรือไม่ ท่ามกลางการประท้วงของประชาชน และก็ยังต้องดูสเปนด้วย ทำให้แนวโน้มการลงทุนวันพรุ่งนี้(8 พ.ย.) ดัชนีมีโอกาสปรับตัวขึ้นได้แต่คงจะไม่มากนัก เนื่องจากจะต้องติดตามนโยบายของสหรัฐฯและปัญหา fiscal cliff ต่อไป พร้อมให้แนวรับ 1,294-1,295 จุด แนวต้านที่ 1,310-1,305 จุด
นายสมชาย เอนกทวีผล ผู้อำนวยการฝ่ายวิเคราะห์หลักทรัพย์ บล.ฟินันเซีย ไซรัส กล่าวว่า การที่นายบารัค โอบามา ชนะการเลือกตั้งอีกสมัย ประเด็นดังกล่าว ไม่มีผลต่อการการเคลื่นไหวของตลาดหุ้นอย่างมีนัยสำคัญโดยปัจัยหลักที่ต้องติดตามต่อไปคือมาตรด้านภาษีที่มีการลดหย่อนไปก่อนหน้านี้ที่กำลังจะครบอายุในปีนี้ว่าจะมีความคืบหน้าอย่างไร อีกทั้งประเด็นยุโรปที่กรีซจะมีการประชุมสภาเพื่อโหวตขออนุมัติแผนลดเข็มขัด โดยหากไม่ผ่านก็มีความเสี่ยงที่กรีซจะไม่ได้รับเงินช่วงเหลือก้อนใหม่และประเด็นการเปลี่ยนผู้นำของจีนที่จะมีการประชุมใหญ่ของพรรคคอมมิสต์ซึ่งเชื่อว่านโยบายในการบริหารประเทศว่าจะดำเนินต่อไปอย่างซึ่งเชื่อจะยังคล้ายนโยบายเดิม
กรณีที่ที่นายบารัค โอบามา ชนะการเลือกตั้ง ได้เป็นประธานาธิบดีสหรัฐสมัยที่ 2 นายทรงธรรม ปิ่นโต ผู้อำนวยการ สำนักเศรษฐกิจมหภาค ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) มองว่า เป็นไปตามที่ตลาดคาดการณ์ไว้ จึงไม่มีเรื่องเซอร์ไพร์สเกิดขึ้น ถือเป็นข้อดีในแง่ของความต่อเนื่องในการดำเนินนโยบายของสหรัฐ และอย่างน้อยก็ส่งผลดีต่อความเชื่อมั่น แต่ข้อจำกัดในการดำเนินนโยบายจากปัญหา Fiscal Cliff ก็ยังจะคงอยู่เหมือนเดิม อย่างไรก็ตาม ในช่วง 1-2 เดือนที่ผ่านมาเศรษฐกิจสหรัฐก็มีเสถียรภาพมากขึ้น และมีทิศทางที่ปรับตัวดีขึ้น ซึ่งก็ต้องติดตามกันต่อไปว่าสหรัฐจะดำเนินนโยบายตามที่ประกาศไว้ได้แค่ไหน
ส่วนประมาณการเศรษฐกิจของไทยยังไม่มีการเปลี่ยนแปลงอย่างมีนัยสำคัญ โดยเฉพาะด้านการค้าการลงทุน และเงินทุนเคลื่อนย้าย โดยจะเห็นได้ว่าตลาดเงินไม่มีความเคลื่อนไหวที่ผิดปกติ คงต้องรอดูภาพรวมของเศรษฐกิจโลกว่าจะปรับตัวดีขึ้นแค่ไหน ซึ่งจะต้องติดตามต่อไปอย่างใกล้ชิด ต้องมีการประเมินเป็นระยะ แต่จะอาศัยแรงกระตุ้นหรือแรงส่งจากเศรษฐกิจสหรัฐที่มีต่อเศรษฐกิจโลก ก็คงไม่ได้ทำให้เศรษฐกิจโลกฟู่ฟ่าเหมือนเดิม เพียงแต่โอกาสที่จะแย่ลงกว่านี้คงมีไม่มาก
"เศรษฐกิจโลกในช่วง 1-2 เดือนที่ผ่านมาก็ยังไม่มีเหตุการณ์ที่น่ากลัว มาถึง ณ จุดนี้จึงยังไม่มีปัจจัย ที่จะเปลี่ยนแปลงอย่างมีนัยสำคัญต่อสิ่งที่ธปท.คาดการณ์ไว้ แต่ก็ต้องติดตามเรื่องความเสี่ยงจากยุโรปและญี่ปุ่นอย่างใกล้ชิด โดยเฉพาะยุโรปการอัดฉีดเม็ดเงินเป็นเรื่องละเอียดอ่อน" นายทรงธรรมกล่าว
ด้านนางรุ่ง มัลลิกะมาส ผู้อำนวยการสำนักเศรษฐกิจมหภาค สายนโยบายการเงิน ธปท. กล่าวถึงความเป็นห่วงของภาคการเงินที่กังวลถึงการไหลเข้าของเงินทุนจากต่างประเทศ และจากมาตรการผ่อนคลายเชิงปริมาณ ครั้งที่ 3 หรือ QE 3 ของสหรัฐ มายังภูมิภาคเอเชีย หลังจากเชื่อมั่นว่านโยบายการเงินของสหรัฐ ฯ จะเป็นไปในทิศทางผ่อนคลายต่อเนื่องหลังประธานาธิบดีบารัก โอบามา ได้รับเลือกตั้งเป็นสมัยที่ 2 ว่า การไหลเข้าของเงินทุนต่างชาติมาสู่ภูมิภาคเอเชีย และประเทศไทยในขณะนี้นั้น ไม่ได้มีเหตุผลส่วนใหญ่จากอัตราดอกเบี้ยของประเทศในเอเชียสูงกว่าประเทศตะวันตกเป็นเหตุผลหลัก แต่เป็นเหตุผลของผลตอบแทนจากราคาสินทรัพย์ ผลตอบแทนจากอัตราแลกเปลี่ยน และความเสี่ยงของประเทศในภูมิภาคนี้ที่มีน้อยกว่าเศรษฐกิจตะวันตกเพราะพื้นฐานเศรษฐกิจยังโตอย่างเข็มแข็ง
“ในขณะนี้ถ้าดูจากการเงินที่ไหลเข้ามากมายในฮ่องกง จะเห็นได้ว่า ไม่ได้มีผลมาจากดอกเบี้ย เพราะอัตราดอกเบี้ยของฮ่องกงในขณะนี้อยู่ที่ 0.5% เท่านั้นถือว่าต่ำมาก แต่ก็มีเงินทุนไหลเข้าฮ่องกง เพราะเห็นถึงผลตอบแทนที่จะได้จากอัตราแลกเปลี่ยนฯ”
นางรุ่ง กล่าวว่า ในการปรับลดอัตราดอกเบี้ยนโยบายลง 0.25% ในการประชุม กนง. ครั้งที่ผ่านมานั้น มี กนง.บางคนที่เป็นห่วงในเรื่องการไหลเข้ามาของเงินทุนจากตลาดโลก ซึ่งจะส่งผลต่อตลาดการเงินไทย
*คลังชี้ 'โอบามา' สานนโยบายเดิม
นายสมชัย สัจจพงษ์ ผู้อำนวยการสำนักงานเศรษฐกิจการคลัง กล่าวว่า ผลการเลือกตั้งประธานาธิบดี ในสหรัฐฯ ในครั้งนี้ จะนำให้การทำงานมีความต่อเนื่องและมีผลทำให้ความสัมพันธ์ทางเศรษฐกิจการค้าและการลงทุนกับประเทศเพื่อนบ้านยังคงเหมือนเดิม ไม่รุนแรงและเป็นปฎิปักษ์กับประเทศมหาอำนาจเหมือนกับนโยบายของนายมิต รอมนีย์ ซึ่งจะเป็นปฏิบักษ์มากกว่านายโอบามา ที่เน้นใช้นโยบายทางการฑูตเป็นหลัก เป็นผลดีต่อการค้าการลงทุนและเศรษฐกิจอเมริกาและทั่วโลกรวมทั้งของไทย ที่ต้องอยู่ท่ามกลางในช่วงที่สหภาพยุโรปยังมีปัญหา
ประเทศในเอเชียจะได้รับผลดีจากการปลดล็อคนโยบายหน้าผาการคลังได้อย่างราบรื่น เพราะเป็นสิ่งที่นักลงทุนคาดหวังว่าจะเกิดการปลดล็อคหน้าผาทางการคลัง และยังมีแนวโน้มสูงว่าจะมีการขยายเวลาการปรับเพิ่มภาษีและการลดรายจ่ายลง ที่จะนำเสนอต่อรัฐสภา เชื่อว่าจะได้รับการยอมรับจะเป็นผลดีต่อเศรษฐกิจสหรัฐที่จะฟื้นตัวและส่งผลดีต่อไทยด้วย เพราะสหรัฐฯ เป็นตลาดส่งออกหนึ่งของไทยที่ช่วยให้ไทยสามารถขยายการส่งออกได้เพิ่มขึ้น และหากเศรษฐกิจสหรัฐฟื้นตัวขึ้นจะยิ่งส่งผลต่อตลาดส่งออกของไทยอาจสามารถทดแทนตลาดส่งออกที่ลดลงจากสหภาพยุโรป
******หุ้นไทยปรับลงกังวลทิศทางUS
น.ส.ธีรดา ชาญยิ่งยงค์ ผู้ช่วยผู้อำนวยการฝ่ายวิเคราะห์หลักทรัพย์ บล.ฟิลลิป(ประเทศไทย) กล่าวว่า ตลาดหุ้นไทยผันผวนค่อนข้างมากในช่วงรอผลการเลือกตั้งประธานาธิบดีของสหรัฐฯ และแม้ภาพออกมาในทางบวกที่ได้ผู้ชนะการเลือกตั้งแล้ว แต่ก็คงจะเป็นเพียงการตอบรับแค่ระยะสั้น เนื่องจากภาพรวมตลาดฯยังมีหลายปัจจัยให้กังวล โดยนักลงทุนหันไปมองนโยบายของสหรัฐฯ และปัญหา fiscal cliff ต่อ ว่าจะเป็นเช่นไร โดยทำให้ดัชนีวันนี้ปรับตัวลงมา
ขณะที่ เหตุการณ์ในยุโรปต้องจับตากรีซว่ามาตรการการรัดเข็มขัดจะทำได้สำเร็จหรือไม่ ท่ามกลางการประท้วงของประชาชน และก็ยังต้องดูสเปนด้วย ทำให้แนวโน้มการลงทุนวันพรุ่งนี้(8 พ.ย.) ดัชนีมีโอกาสปรับตัวขึ้นได้แต่คงจะไม่มากนัก เนื่องจากจะต้องติดตามนโยบายของสหรัฐฯและปัญหา fiscal cliff ต่อไป พร้อมให้แนวรับ 1,294-1,295 จุด แนวต้านที่ 1,310-1,305 จุด
นายสมชาย เอนกทวีผล ผู้อำนวยการฝ่ายวิเคราะห์หลักทรัพย์ บล.ฟินันเซีย ไซรัส กล่าวว่า การที่นายบารัค โอบามา ชนะการเลือกตั้งอีกสมัย ประเด็นดังกล่าว ไม่มีผลต่อการการเคลื่นไหวของตลาดหุ้นอย่างมีนัยสำคัญโดยปัจัยหลักที่ต้องติดตามต่อไปคือมาตรด้านภาษีที่มีการลดหย่อนไปก่อนหน้านี้ที่กำลังจะครบอายุในปีนี้ว่าจะมีความคืบหน้าอย่างไร อีกทั้งประเด็นยุโรปที่กรีซจะมีการประชุมสภาเพื่อโหวตขออนุมัติแผนลดเข็มขัด โดยหากไม่ผ่านก็มีความเสี่ยงที่กรีซจะไม่ได้รับเงินช่วงเหลือก้อนใหม่และประเด็นการเปลี่ยนผู้นำของจีนที่จะมีการประชุมใหญ่ของพรรคคอมมิสต์ซึ่งเชื่อว่านโยบายในการบริหารประเทศว่าจะดำเนินต่อไปอย่างซึ่งเชื่อจะยังคล้ายนโยบายเดิม