ASTVผู้จัดการราย - ด.ญ. 8 ขวบ เลียนแบบละครฮิต "แรงเงา" และรายการ “คนอวดผี” ที่แพร่ฉากผูกคอตาย แต่เกิดพลาดจนตัวเองถูกแขวนคอบนต้นไม้นานกว่า 10 นาที แพทย์เผยสมองขาดออกซิเจนนาน ยังไม่รู้สึกตัว แนะผู้ปกครองควบคุมเด็กใช้สื่อทีวี อินเทอร์เน็ตไม่ควรเกิน 2 ชั่วโมง/วัน
วานนี้ (1 พ.ย.) นพ.อดิศักดิ์ ผลิตผลการพิมพ์ หัวหน้าศูนย์วิจัยเพื่อสร้างเสริมความปลอดภัยและป้องกันการบาดเจ็บในเด็ก ภาควิชากุมารเวชศาสตร์ รพ.รามาธิบดี กล่าวระหว่างแถลงข่าวเรื่อง "ภัยร้ายต่อเด็กจากสื่อทีวี สื่อไอที : ดูทีวีแล้วผูกคอตาย เล่นเกมแล้วแทงแม่ตาย" ว่า สื่อทีวีและอินเทอร์เน็ตมีผลต่อความรุนแรงในเด็ก จนปรากฏเป็นข่าวตามสื่อต่างๆ อย่างกรณีเด็กหญิงอายุ 8 ปี ที่ถูกส่งเข้ามารับการรักษาตัวที่ รพ.รามาธิบดี เมื่อวันที่ 25 ต.ค. ด้วยอาการหมดสติ สมองขาดออกซิเจน ซึ่งจากการสอบถามพ่อเด็กพบว่า เด็กไปเล่นแขวนคอกับเพื่อน โดยนำเศษผ้าและเชือกมาผูกเป็นห่วงกับต้นหูกวางที่สูงจากพื้น 120 ซม. พร้อมกับปีนปากโอ่งสูงประมาณ 60 ซม. จากนั้นเอาศีรษะไปแขวนกับห่วงทำท่าแขวนคอ แต่เกิดพลัดตกลงไปในโอ่งโดยเท้าแตะไม่ถึงพื้น ทำให้เด็กถูกแขวนคอนานกว่า 10 นาที เพื่อนที่เล่นอยู่ใกล้ๆ คิดว่าเด็กเล่นอยู่จึงไม่ได้สนใจอะไร จนเด็กหมดสติจึงวิ่งไปตามพ่อของเด็กมาช่วยนำส่งโรงพยาบาล
"พ่อของเด็กบอกว่าก่อนเกิดเหตุการณ์ เด็กได้ดูรายการทีวีที่มีภาพการแขวนคอตายถึง 2 รายการในช่วงสัปดาห์เดียว ได้แก่ ละครเรื่องแรงเงา ที่ออกอากาศเมื่อวันที่ 22 ต.ค. และรายการคนอวดผี ซึ่งออกอากาศเมื่อวันที่ 17 และ 24 ต.ค. ซึ่งออกอากาศก่อนเกิดเหตุหนึ่งวัน โดยทางศูนย์วิจัยเพื่อสร้างเสริมความปลอดภัยและป้องกันการบาดเจ็บในเด็กได้ทำการดูทั้งสองรายการย้อนหลังแล้ว พบว่า มีฉากการแขวนคอจริง และได้บันทึกทั้งสองรายการดังกล่าวไว้แล้ว" นพ.อดิศักดิ์ กล่าว
นพ.อดิศักดิ์ กล่าวอีกว่า สำหรับอาการของเด็กหญิง ขณะนี้แพทย์ถอดเครื่องช่วยหายใจแล้ว สามารถออกจากห้องไอซียูได้เลย แต่ยังคงไม่รู้สึกตัว ซึ่งต้องรอดูอาการอีกระยะหนึ่ง เนื่องจากสมองของเด็กขาดออกซิเจนเป็นเวลานาน ทั้งนี้ หากเด็กหายดีมีสิทธิ์เกิดผลกระทบต่อสติปัญญาและสภาพร่างกายของเด็กแน่นอน อยู่ที่ว่ามากหรือน้อย ซึ่งต้องรออีกประมาณ 5-6 เดือนจึงจะสามารถประเมินสภาพสมองของเด็กได้ โดยเด็กจะรักษาอาการอยู่ที่โรงพยาบาลอีกประมาณ 1 เดือน ทั้งนี้ อยากให้ผู้ปกครองเคร่งครัดการตรวจสอบการเข้าถึงสื่อทีวี เกม และอินเทอร์เน็ตของเด็ก คัดกรองเลือกสื่อที่มีเนื้อหาเหมาะสม และจำกัดเวลาการใช้ โดยเด็กอายุน้อยกว่า 2 ปีไม่ควรเข้าถึงสื่ออิเลกทรอนิกส์เลย เด็กอายุมากกว่า 2 ปีถึงวัยเรียนควรใช้เวลาไม่เกินวันละ 2 ชั่วโมง นอกจากนี้ ไม่ควรตั้งโทรทัศน์ไว้ในห้องนอน และผู้ปกครองควรส่งเสริมกิจกรรมอื่นๆ เช่น กิจกรรมกลางแจ้ง การใช้สื่อกระดาษ การเล่นรูปแบบอื่นที่สร้างจินตนาการให้กับเด็ก
ด้าน นพ.สมศักดิ์ โล่ห์เลขา ประธานราชวิทยาลัยกุมารแพทย์ กล่าวว่า ปัญหาเรื่องสื่อต่างๆ รัฐบาลยังไม่มีการควบคุมการอย่างจริงจัง จึงเกิดเหตุการณ์ในลักษณะที่เด็กเลียนแบบพฤติกรรมความรุนแรงที่พบจากสื่อต่างๆอยู่เสมอ โดยเฉพาะพวกละครที่มีแต่เรื่องตบกันไม่ควรสนับสนุนให้มีการผลิตออกมา เพราะเมื่อเด็กเห็นจะเกิดการเลียนแบบ และผู้ปกครองควรอธิบายให้เด็กเข้าใจด้วยว่าสิ่งที่เห็นในละครเป็นการแสดงไม่ควรที่จะทำเลียนแบบเพราะอาจจะเกิดอันตรายได้
วานนี้ (1 พ.ย.) นพ.อดิศักดิ์ ผลิตผลการพิมพ์ หัวหน้าศูนย์วิจัยเพื่อสร้างเสริมความปลอดภัยและป้องกันการบาดเจ็บในเด็ก ภาควิชากุมารเวชศาสตร์ รพ.รามาธิบดี กล่าวระหว่างแถลงข่าวเรื่อง "ภัยร้ายต่อเด็กจากสื่อทีวี สื่อไอที : ดูทีวีแล้วผูกคอตาย เล่นเกมแล้วแทงแม่ตาย" ว่า สื่อทีวีและอินเทอร์เน็ตมีผลต่อความรุนแรงในเด็ก จนปรากฏเป็นข่าวตามสื่อต่างๆ อย่างกรณีเด็กหญิงอายุ 8 ปี ที่ถูกส่งเข้ามารับการรักษาตัวที่ รพ.รามาธิบดี เมื่อวันที่ 25 ต.ค. ด้วยอาการหมดสติ สมองขาดออกซิเจน ซึ่งจากการสอบถามพ่อเด็กพบว่า เด็กไปเล่นแขวนคอกับเพื่อน โดยนำเศษผ้าและเชือกมาผูกเป็นห่วงกับต้นหูกวางที่สูงจากพื้น 120 ซม. พร้อมกับปีนปากโอ่งสูงประมาณ 60 ซม. จากนั้นเอาศีรษะไปแขวนกับห่วงทำท่าแขวนคอ แต่เกิดพลัดตกลงไปในโอ่งโดยเท้าแตะไม่ถึงพื้น ทำให้เด็กถูกแขวนคอนานกว่า 10 นาที เพื่อนที่เล่นอยู่ใกล้ๆ คิดว่าเด็กเล่นอยู่จึงไม่ได้สนใจอะไร จนเด็กหมดสติจึงวิ่งไปตามพ่อของเด็กมาช่วยนำส่งโรงพยาบาล
"พ่อของเด็กบอกว่าก่อนเกิดเหตุการณ์ เด็กได้ดูรายการทีวีที่มีภาพการแขวนคอตายถึง 2 รายการในช่วงสัปดาห์เดียว ได้แก่ ละครเรื่องแรงเงา ที่ออกอากาศเมื่อวันที่ 22 ต.ค. และรายการคนอวดผี ซึ่งออกอากาศเมื่อวันที่ 17 และ 24 ต.ค. ซึ่งออกอากาศก่อนเกิดเหตุหนึ่งวัน โดยทางศูนย์วิจัยเพื่อสร้างเสริมความปลอดภัยและป้องกันการบาดเจ็บในเด็กได้ทำการดูทั้งสองรายการย้อนหลังแล้ว พบว่า มีฉากการแขวนคอจริง และได้บันทึกทั้งสองรายการดังกล่าวไว้แล้ว" นพ.อดิศักดิ์ กล่าว
นพ.อดิศักดิ์ กล่าวอีกว่า สำหรับอาการของเด็กหญิง ขณะนี้แพทย์ถอดเครื่องช่วยหายใจแล้ว สามารถออกจากห้องไอซียูได้เลย แต่ยังคงไม่รู้สึกตัว ซึ่งต้องรอดูอาการอีกระยะหนึ่ง เนื่องจากสมองของเด็กขาดออกซิเจนเป็นเวลานาน ทั้งนี้ หากเด็กหายดีมีสิทธิ์เกิดผลกระทบต่อสติปัญญาและสภาพร่างกายของเด็กแน่นอน อยู่ที่ว่ามากหรือน้อย ซึ่งต้องรออีกประมาณ 5-6 เดือนจึงจะสามารถประเมินสภาพสมองของเด็กได้ โดยเด็กจะรักษาอาการอยู่ที่โรงพยาบาลอีกประมาณ 1 เดือน ทั้งนี้ อยากให้ผู้ปกครองเคร่งครัดการตรวจสอบการเข้าถึงสื่อทีวี เกม และอินเทอร์เน็ตของเด็ก คัดกรองเลือกสื่อที่มีเนื้อหาเหมาะสม และจำกัดเวลาการใช้ โดยเด็กอายุน้อยกว่า 2 ปีไม่ควรเข้าถึงสื่ออิเลกทรอนิกส์เลย เด็กอายุมากกว่า 2 ปีถึงวัยเรียนควรใช้เวลาไม่เกินวันละ 2 ชั่วโมง นอกจากนี้ ไม่ควรตั้งโทรทัศน์ไว้ในห้องนอน และผู้ปกครองควรส่งเสริมกิจกรรมอื่นๆ เช่น กิจกรรมกลางแจ้ง การใช้สื่อกระดาษ การเล่นรูปแบบอื่นที่สร้างจินตนาการให้กับเด็ก
ด้าน นพ.สมศักดิ์ โล่ห์เลขา ประธานราชวิทยาลัยกุมารแพทย์ กล่าวว่า ปัญหาเรื่องสื่อต่างๆ รัฐบาลยังไม่มีการควบคุมการอย่างจริงจัง จึงเกิดเหตุการณ์ในลักษณะที่เด็กเลียนแบบพฤติกรรมความรุนแรงที่พบจากสื่อต่างๆอยู่เสมอ โดยเฉพาะพวกละครที่มีแต่เรื่องตบกันไม่ควรสนับสนุนให้มีการผลิตออกมา เพราะเมื่อเด็กเห็นจะเกิดการเลียนแบบ และผู้ปกครองควรอธิบายให้เด็กเข้าใจด้วยว่าสิ่งที่เห็นในละครเป็นการแสดงไม่ควรที่จะทำเลียนแบบเพราะอาจจะเกิดอันตรายได้