วานนี้ ( 31 ต.ค.) คณะกรรมการกิจการโทรคมนาคม หรือกทค. นำโดย พ.อ.เศรษฐพงค์ มะลิสุวรรณ ประธาน นายสุทธิพล ทวีชัยการ นายประเสริฐ์ ศีลพิพัฒน์ พล.อ.สุกิจ ขมะสุนทร ได้เข้าพบนางผานิต นิติทัณฑ์ประภาศ ประธานผู้ตรวจการแผ่นดิน นายศรีราชา เจริญพานิช นายประวิช รัตนเพียร ผู้ตรวจการแผ่นดิน กรณีมีการร้องเรียนขอให้ตรวจสอบการประมูลคลื่นความถี่ 3 จี ของคณะกรรมการกิจการกระจายเสียงกิจการโทรทัศน์และกิจการโทรคมนาคม (กสทช.) โดยนายสุทธิพล กล่าวตอนหนึ่งในการเข้าพบว่า หลังจากมีการร้องเรียนว่าการประมูลคลื่นความถี่ 3 จี มีการฮั้วประมูลทางกทค. ก็ร้อนใจ และไม่สบายใจ จึงได้มีการจัดเตรียมเอกสาร และเข้าชี้แจงหน่วยงานต่างๆ ที่ได้รับเรื่องร้องเรียนรวมถึงผู้ตรวจการแผ่นดินด้วย แต่ล่าสุดทราบว่าทางสมาชิกวุฒิสภาได้มีการยื่นคำร้องขอให้ผู้ตรวจการแผ่นดินตรวจสอบว่า กทค.มีอำนาจที่จะรับรองการประมูลคลื่นความถี่ 3 จีหรือไม่ จึงต้องการที่จะมาชี้แจงในเรื่องนี้
ทั้งนี้นายสุทธิพล ยืนยันว่า การดำเนินการของกทค.มีกฎหมายรองรับชัดเจน ซึ่งเป็นการดำเนินการโดยมีรัฐธรรมนูญ มาตรา 47 ประกอบ มาตรา 305 ที่กำหนดให้มีหน่วยงานย่อยคือ กทค. และคณะกรรมการกิจการกระจายเสียงและกิจการโทรทัศน์ โดยการปฏิบัติงานของกทค. ก็จะเป็นไปตามพ.ร.บ.องค์กรจัดสรรคลื่นความถี่และกำกับการประกอบกิจการวิทยุกระจายเสียง วิทยุโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคม พ.ศ.2553 ซึ่งมาตราที่เป็นปัญหาในขณะนี้คือ มาตรา 27 ( 4 ) และ (6) ซึ่งทั้งสองวงเล็บนี้ มีมาตรา 40 ของพ.ร.บ.เดียวกันนี้กำหนดให้กทค.ปฏิบัติหน้าที่ในเรื่องที่เกี่ยวกับกิจการโทรคมนาคม
“ตอนที่กรรมการเข้าปฏิบัติหน้าที่ใหม่ ๆ ก็ได้มีการศึกษาและเห็นว่า หากให้หน่วยงานย่อยคือกทค. ดำเนินการและมีมติอะไรเด็ดขาดไปได้เลยโดยไม่ต้องให้คณะกรรมการกสทช.ชุดใหญ่เห็นชอบ อาจเป็นปัญหา ก็ได้เชิญผู้รู้ อย่าง นายสมเกียรติ ตั้งกิจวานิช จากทีดีอาร์ไอ นายฤทัย หงสสิริ จากศาลปกครองมาหารือ ต่างก็เห็นว่า กทค.สามารถดำเนินการได้เลย แต่ตอนนี้ก็กลับมีผู้เห็นว่า กทค.ไม่มีอำนาจ”
ด้านนางผานิต กล่าวภายหลังการหารือว่า คาดว่าในสัปดาห์หน้าทางผู้ตรวจการแผ่นดิน คงจะมีข้อยุติว่าจะมีการดำเนินการอย่างไร จะต้องมีการยื่นคำร้องต่อศาลปกครองหรือไม่ เพราะเรื่องนี้มีข้อจำกัดในเรื่องของเวลาอยู่ ซึ่งขณะนี้ทางสำนักงานก็ได้เร่งแยกประเด็นในคำร้องที่มีการร้องเข้ามาทั้งหมดว่ามีความเหมือนและแตกต่างกันอย่างไร โดยการมาพบของกทค.ครั้งนี้ก็เป็นการมาชี้แจงในประเด็นเรื่อง กทค.มีอำนาจในการจัดและรับรองการประมูลหรือไม่ อย่างไรก็ตาม ผู้ตรวจการแผ่นดินไม่ได้รู้สึกกดดันอะไร เพราะเป็นการทำตามอำนาจหน้าที่มาตรา 14 ของพ.ร.บ.ผู้ตรวจการแผ่นดิน
ด้านนายศรีราชา กล่าวว่า การพิจารณาของผู้ตรวจนั้น ไม่จำเป็นว่า ต้องเป็นว่า เรื่องนั้นๆผิดกฎหมายแล้วจึงส่งให้ศาลปกครองพิจารณา แต่แค่เพียงเห็นว่ามีปัญหาเรื่องความชอบด้วยกฎหมายก็สามารถที่ยื่นคำร้องต่อศาลปกครองได้แล้ว อีกทั้งตามหน้าที่กฎหมายกำหนดให้ผู้ตรวจเป็นเหมือนช่องทางที่ให้ประชาชนสามารถยื่นคำร้องผ่านไปยังศาลได้ ซึ่งการประมูล 3 จี มีประเด็นมาก ทางผู้ตรวจฯก็กำลังพิจารณาอยู่ว่า นอกจากประเด็น การจัดประมูลเป็นไปตามกฎหมาย มีการฮั้วประมูลที่ต้องส่งศาลปกครองพิจารณาหรือไม่ แล้ว ยังมีการพิจารณาว่า ที่ร้องว่ากทค. มีอำนาจที่จะจัด หรือรับรองการประมูลหรือไม่ ผู้ตรวจจะต้องยื่นให้ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยด้วยหรือไม่
** ชี้กทค.ร้อนตัว ทำสังคมสับสน
นายสุริยะใส กตะศิลา ผู้ประสานงานกลุ่มกรีน (Green Politics) กล่าวว่า คณะกรรมการกำกับกิจการโทรคมนาคม หรือ กทค.ทั้ง 4 ท่าน กำลังทำให้สังคมสับสนในกระบวนการตรวจสอบข้อเท็จจริงกรณีการประมูล 3G ว่ามีความดปร่งใสเป็นไปตามกฎหมายและมีการฮั้วกันหรือไม่ เพราะในขณะนี้กระบวนการตรวจสอบกำลังเดินหน้าไปทั้งในส่วนของคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ และผู้ตรวจการแผ่นดิน ที่อาจจะดำเนินการยื่นเรื่องให้ศาลปกครองไต่สวนเพื่อหาข้อยุติ
การตรวจสอบเลยขั้นของการตรวจสอบกันภายในมาไกลมากแล้ว และ กทค.ก็ตกเป็นผู้ถูกฟ้องไปแล้ว แต่กลับเดินสายแจกแจงความบริสุทธิ์ใจต่อองค์กรต่างๆ ทั้งที่องค์กรเหล่านั้นยังไม่ได้สั่งให้มาชี้แจงใดๆ หรือยังไม่มีการวินิจฉัยอะไรออกมา ทำให้สังคมอาจมองได้ว่า กทค.ร้อนตัวมากเกินไปหรือไม่ ถ้ามั่นใจในความบริสุทธิ์ โปร่งใสในการประมูลครั้งนี้ก็ไม่ควรออกอาการมากมายขนาดนี้
เพราะด้านหนึ่งแม้เป็นสิทธิของ กทค.ที่จะเดินสายแจกแจงความบริสุทธิ์ของตัวเองได้ แต่หากมากไปก็จะเป็นการกดดันองค์กรต่างๆ ที่กำลังทำหน้าที่ตรวจสอบ กทค.ทางอ้อม และโน้มนำให้สังคมคล้อยตามจนละเลยที่จะรับฟังข้อเท็จจริง คล้ายๆกับการโหมโฆษณาประชาสัมพันธ์ 3G ของ กสทช.ในสื่อทุกแขนงขณะนี้เข้มข้นมากกว่าตอนก่อนการประมูลด้วยซ้ำ ซึ่ง กสทช.ต้องชี้แจงกับประชาชน ว่าใช้งบหมดไปเท่าไร
ส่วนการที่ กทค.ตั้งคณะกรรมการสอบฮั้วประมูล 3G โดยมีเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร นายสุวิจักขณ์ นาควัชระชัย เป็นประธานนั้น กลุ่มกรีนจะจับตาดูถ้าเป็นการตรวจสอบแบบแค่หวังฟอกๆ กันไป หรือผลสอบออกมาสวนทางกับ ป.ป.ช.หรือผู้ตรวจการแผ่นดิน หรือศาลปกครอง จะดำเนินคดีกับกรรมการสอบที่มาจากภาครัฐรวมทั้งตัวแทนจากทางอัยการสูงสุดด้วยเช่นกัน เพราะอาจเข้าข่ายปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบ ทั้งที่คนเหล่านี้รู้ดีว่าขั้นตอนการตรวจสอบเลยมาไกลแล้ว
ทั้งนี้นายสุทธิพล ยืนยันว่า การดำเนินการของกทค.มีกฎหมายรองรับชัดเจน ซึ่งเป็นการดำเนินการโดยมีรัฐธรรมนูญ มาตรา 47 ประกอบ มาตรา 305 ที่กำหนดให้มีหน่วยงานย่อยคือ กทค. และคณะกรรมการกิจการกระจายเสียงและกิจการโทรทัศน์ โดยการปฏิบัติงานของกทค. ก็จะเป็นไปตามพ.ร.บ.องค์กรจัดสรรคลื่นความถี่และกำกับการประกอบกิจการวิทยุกระจายเสียง วิทยุโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคม พ.ศ.2553 ซึ่งมาตราที่เป็นปัญหาในขณะนี้คือ มาตรา 27 ( 4 ) และ (6) ซึ่งทั้งสองวงเล็บนี้ มีมาตรา 40 ของพ.ร.บ.เดียวกันนี้กำหนดให้กทค.ปฏิบัติหน้าที่ในเรื่องที่เกี่ยวกับกิจการโทรคมนาคม
“ตอนที่กรรมการเข้าปฏิบัติหน้าที่ใหม่ ๆ ก็ได้มีการศึกษาและเห็นว่า หากให้หน่วยงานย่อยคือกทค. ดำเนินการและมีมติอะไรเด็ดขาดไปได้เลยโดยไม่ต้องให้คณะกรรมการกสทช.ชุดใหญ่เห็นชอบ อาจเป็นปัญหา ก็ได้เชิญผู้รู้ อย่าง นายสมเกียรติ ตั้งกิจวานิช จากทีดีอาร์ไอ นายฤทัย หงสสิริ จากศาลปกครองมาหารือ ต่างก็เห็นว่า กทค.สามารถดำเนินการได้เลย แต่ตอนนี้ก็กลับมีผู้เห็นว่า กทค.ไม่มีอำนาจ”
ด้านนางผานิต กล่าวภายหลังการหารือว่า คาดว่าในสัปดาห์หน้าทางผู้ตรวจการแผ่นดิน คงจะมีข้อยุติว่าจะมีการดำเนินการอย่างไร จะต้องมีการยื่นคำร้องต่อศาลปกครองหรือไม่ เพราะเรื่องนี้มีข้อจำกัดในเรื่องของเวลาอยู่ ซึ่งขณะนี้ทางสำนักงานก็ได้เร่งแยกประเด็นในคำร้องที่มีการร้องเข้ามาทั้งหมดว่ามีความเหมือนและแตกต่างกันอย่างไร โดยการมาพบของกทค.ครั้งนี้ก็เป็นการมาชี้แจงในประเด็นเรื่อง กทค.มีอำนาจในการจัดและรับรองการประมูลหรือไม่ อย่างไรก็ตาม ผู้ตรวจการแผ่นดินไม่ได้รู้สึกกดดันอะไร เพราะเป็นการทำตามอำนาจหน้าที่มาตรา 14 ของพ.ร.บ.ผู้ตรวจการแผ่นดิน
ด้านนายศรีราชา กล่าวว่า การพิจารณาของผู้ตรวจนั้น ไม่จำเป็นว่า ต้องเป็นว่า เรื่องนั้นๆผิดกฎหมายแล้วจึงส่งให้ศาลปกครองพิจารณา แต่แค่เพียงเห็นว่ามีปัญหาเรื่องความชอบด้วยกฎหมายก็สามารถที่ยื่นคำร้องต่อศาลปกครองได้แล้ว อีกทั้งตามหน้าที่กฎหมายกำหนดให้ผู้ตรวจเป็นเหมือนช่องทางที่ให้ประชาชนสามารถยื่นคำร้องผ่านไปยังศาลได้ ซึ่งการประมูล 3 จี มีประเด็นมาก ทางผู้ตรวจฯก็กำลังพิจารณาอยู่ว่า นอกจากประเด็น การจัดประมูลเป็นไปตามกฎหมาย มีการฮั้วประมูลที่ต้องส่งศาลปกครองพิจารณาหรือไม่ แล้ว ยังมีการพิจารณาว่า ที่ร้องว่ากทค. มีอำนาจที่จะจัด หรือรับรองการประมูลหรือไม่ ผู้ตรวจจะต้องยื่นให้ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยด้วยหรือไม่
** ชี้กทค.ร้อนตัว ทำสังคมสับสน
นายสุริยะใส กตะศิลา ผู้ประสานงานกลุ่มกรีน (Green Politics) กล่าวว่า คณะกรรมการกำกับกิจการโทรคมนาคม หรือ กทค.ทั้ง 4 ท่าน กำลังทำให้สังคมสับสนในกระบวนการตรวจสอบข้อเท็จจริงกรณีการประมูล 3G ว่ามีความดปร่งใสเป็นไปตามกฎหมายและมีการฮั้วกันหรือไม่ เพราะในขณะนี้กระบวนการตรวจสอบกำลังเดินหน้าไปทั้งในส่วนของคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ และผู้ตรวจการแผ่นดิน ที่อาจจะดำเนินการยื่นเรื่องให้ศาลปกครองไต่สวนเพื่อหาข้อยุติ
การตรวจสอบเลยขั้นของการตรวจสอบกันภายในมาไกลมากแล้ว และ กทค.ก็ตกเป็นผู้ถูกฟ้องไปแล้ว แต่กลับเดินสายแจกแจงความบริสุทธิ์ใจต่อองค์กรต่างๆ ทั้งที่องค์กรเหล่านั้นยังไม่ได้สั่งให้มาชี้แจงใดๆ หรือยังไม่มีการวินิจฉัยอะไรออกมา ทำให้สังคมอาจมองได้ว่า กทค.ร้อนตัวมากเกินไปหรือไม่ ถ้ามั่นใจในความบริสุทธิ์ โปร่งใสในการประมูลครั้งนี้ก็ไม่ควรออกอาการมากมายขนาดนี้
เพราะด้านหนึ่งแม้เป็นสิทธิของ กทค.ที่จะเดินสายแจกแจงความบริสุทธิ์ของตัวเองได้ แต่หากมากไปก็จะเป็นการกดดันองค์กรต่างๆ ที่กำลังทำหน้าที่ตรวจสอบ กทค.ทางอ้อม และโน้มนำให้สังคมคล้อยตามจนละเลยที่จะรับฟังข้อเท็จจริง คล้ายๆกับการโหมโฆษณาประชาสัมพันธ์ 3G ของ กสทช.ในสื่อทุกแขนงขณะนี้เข้มข้นมากกว่าตอนก่อนการประมูลด้วยซ้ำ ซึ่ง กสทช.ต้องชี้แจงกับประชาชน ว่าใช้งบหมดไปเท่าไร
ส่วนการที่ กทค.ตั้งคณะกรรมการสอบฮั้วประมูล 3G โดยมีเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร นายสุวิจักขณ์ นาควัชระชัย เป็นประธานนั้น กลุ่มกรีนจะจับตาดูถ้าเป็นการตรวจสอบแบบแค่หวังฟอกๆ กันไป หรือผลสอบออกมาสวนทางกับ ป.ป.ช.หรือผู้ตรวจการแผ่นดิน หรือศาลปกครอง จะดำเนินคดีกับกรรมการสอบที่มาจากภาครัฐรวมทั้งตัวแทนจากทางอัยการสูงสุดด้วยเช่นกัน เพราะอาจเข้าข่ายปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบ ทั้งที่คนเหล่านี้รู้ดีว่าขั้นตอนการตรวจสอบเลยมาไกลแล้ว