นายเรืองไกร ลีกิจวัฒนะ อดีต ส.ว.สรรหา กล่าวว่า ตนได้ยื่นเรื่องให้อธิบดีกรมสอบสวนคดีพิเศษ (ดีเอสไอ) เพื่อขอให้ตรวจสอบ พล.อ.เสถียร เพิ่มทองอินทร์ สมัยเป็นปลัดกระทรวงกลาโหม กรณีนำความลับทางราชการไปเปิดเผย ซึ่งมีข้อเท็จจริงว่า พล.อ.เสถียร เดินทางไปพบพล.อ.สุรยุทธ์ จุลานนท์ องคมนตรี พร้อมนำสำเนาบัญชีรายชื่อแต่งตั้งนายทหารชั้นนายพล ไปมอบให้ พล.อ.เปรม ติณสูลานนท์ ประธานองคมนตรี ซึ่งศาลปกครองกลาง มีคำสั่งยกคำขอทุเลาการบังคับตามคำสั่งทางปกครอง ในคดีหมายเลขดำ ที่1747/2555 ลงวันที่ 11 กันยายน 2555 ของ พล.อ.เสถียร ในฐานะผู้ฟ้อง กับ พล.อ.สุกำพล สุวรรณทัต รมว.กลาโหม ผู้ถูกฟ้อง พร้อมกับชี้ว่า การกระทำดังกล่าว ไม่ใช่ขั้นตอนการปฏิบัติตามปกติของทางราชการ ดังนั้นพฤติการณ์ หรือการกระทำของ พล.อ.เสถียร จึงอาจเข้าข่ายความผิดฐานเปิดเผยความลับทางราชการ ตามประมวลอาญามาตรา 164 ซึ่งมีโทษจำคุกไม่เกินห้าปี หรือปรับไม่เกินหนึ่งหมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
นายเรืองไกรกล่าวด้วยว่า เรื่องนี้ อาจทำให้ พล.อ.สุรยุทธ์ และ พล.อ.เปรม อยู่ในข่ายความผิด ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 86 ซึ่งทั้ง 2 ท่านเคยเป็นนายกรัฐมนตรี และเป็นผู้ดำรงตำแหน่งระดับสูงของกองทัพมาก่อน ย่อมควรรู้ว่าขั้นตอนการปฏิบัติตามปกติของทางราชการกระทรวงกลาโหม เป็นเช่นไร โดยมีคำพิพากษาศาลฎีกา ที่ 3194/2536 อาจนำมาเทียบเคียงได้ ซึ่งกรณีดังกล่าว อาจมีผลให้เกิดการแตกความสามัคคีในคณะทหารขยายออกไป จึงเข้าลักษณะคดีความผิดทางอาญา ตาม พ.ร.บ.การสอบสวนคดีพิเศษ มาตรา 21 (1) (ข) จึงเห็นว่าอยู่ในอำนาจของดีเอสไอ ที่จะรับเรื่องนี้ไว้พิจารณาได้ และหากตรวจสอบไต่สวนแล้วพบว่ามีมูล สามารถส่งเรื่องให้กรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.) ดำเนินการต่อไปได้
นายเรืองไกรกล่าวด้วยว่า เรื่องนี้ อาจทำให้ พล.อ.สุรยุทธ์ และ พล.อ.เปรม อยู่ในข่ายความผิด ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 86 ซึ่งทั้ง 2 ท่านเคยเป็นนายกรัฐมนตรี และเป็นผู้ดำรงตำแหน่งระดับสูงของกองทัพมาก่อน ย่อมควรรู้ว่าขั้นตอนการปฏิบัติตามปกติของทางราชการกระทรวงกลาโหม เป็นเช่นไร โดยมีคำพิพากษาศาลฎีกา ที่ 3194/2536 อาจนำมาเทียบเคียงได้ ซึ่งกรณีดังกล่าว อาจมีผลให้เกิดการแตกความสามัคคีในคณะทหารขยายออกไป จึงเข้าลักษณะคดีความผิดทางอาญา ตาม พ.ร.บ.การสอบสวนคดีพิเศษ มาตรา 21 (1) (ข) จึงเห็นว่าอยู่ในอำนาจของดีเอสไอ ที่จะรับเรื่องนี้ไว้พิจารณาได้ และหากตรวจสอบไต่สวนแล้วพบว่ามีมูล สามารถส่งเรื่องให้กรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.) ดำเนินการต่อไปได้