ASTVผู้จัดการรายวัน-ประธานอุตสาหกรรม70จังวัดทั่วประเทศนัดบุกทำเนียบวันนี้ (30 ต.ค.) หวั่นรัฐบาล"ยิ่งลักษณ์"ขึ้นค่าแรง300บาทต้นปีหน้า โวย"พยุงศักดิ์"ไม่ฟังเสียงภาคเอกชน
นายทวีกิจ จตุรเจริญคุณ รองประธานสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย(ส.อ.ท.) เปิดเผยภายหลังการประชุมคณะกรรมการสายงานอุตสาหกรรมจังหวัด ว่า ในวันที่ 30 ตุลาคม 2555ประธานอุตสาหกรรมจังวัดทั้ง 70 จังหวัด ได้นัดรวมตัวเพื่อเตรีมยื่นหนังสือและขอเข้าพบนางสาวยิ่งลักษ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี ที่ทำเนียบรัฐบาล เกี่ยวกับนโยบายการรับขึ้นค่าแรงขั้นตำ 300 บาทในวันที่ 1 มกรคม 2555 เพื่อยืนยันว่าผู้ประกอบการได้รับผลกระทบอย่างรุนแรงจากนโยบายดังกล่าว และไม่ได้เห็นด้วยกับนายพยุงศักดิ์ ชาติสุทธิผล ประธานสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย(ส.อ.ท.) ระบุว่าเอกชนไม่ได้รับผลกระทบจากการขึ้นค่าแรง และได้ขอถอนเรื่องดังกล่าว โดยอ้างว่าสำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) ให้นำวาระดังกล่าวออกไปหารือนอกรอบ ทำให้วาระไม่เข้าสู่การพิจารณาของคณะกรรมการร่วมภาครัฐและเอกชน (กรอ.)ที่ผ่านมาซึ่งจัดขึ้นที่เกาะสมุย จ.สุราษฏ์ธานี
"คาดว่ากระทรวงแรงงานจะเสนอวาระการพิจารณาการปรับขึ้นค่าจ้างขั้นต่ำ 300 บาทเข้าสู่ที่ประชุมคณะรัฐมนตรีวัที่ 30 ตุลาคม เพื่อเห็นชอบ ดังนั้นภาคเอกชนต้องขอชี้แจงกับนายกรัฐมนตรีเพื่อทบทวนเรื่องนี้ ทั้งนี้หากนายพยุงศักดิ์ไม่เห็นด้วยอีกต้องถามนายพยุงศักดิ์ว่า จะยังป็นผู้นำของภาคเอกชนต่อไปได้หรือไม่" นายทวีกิจกล่าว
นายทวีกิจกล่าวว่า ทั้งนี้ประธานอุตสาหกรรมจังหวัดทั้ง 70 จังหวัดต้องการให้นายกรัฐมนตรีรับทราบความเดือดร้อนด้วยตนเอง และหามาตรการช่วยเหลือ ชดเชย เยียวยา เช่นเดียวกับ นโยบายอุดหนุนราคาสินค้าเกษตร อาทิ นโยบายรับจำนำข้าว มันสำปะหลัง ยางพารา เพราะภาคอุตสาหกรรมมีความสำคัญไม่ต่างกับภาคเกษตร ดังนั้นอาจออกมาตรการช่วยในระยะแรกเช่น จ่ายค่าแรงส่วนต่างให้กับภาคเอกชน เพื่อลดผลกระทบโดยเฉพาะผู้ประกอบการขนาดกลางและขนาดย่อม (เอสเอ็มอี) ที่มีสัดส่วนถึง 90% ของผู้ประกอบการทั้งประเทศ เพราะยังไม่มีความพร้อมที่จะปรับขึ้นค่าแรง ซึ่งปัจจุบันแม้เปิดกิจการอยู่เพราะพยายามประคอง กิจการ ในลักษณะหลังชนฝา
แหล่งข่าวจาก ส.อ.ท. ล่าวว่า ประธานอุตสาหกรรมจังหวัดต่างไม่พอใจอย่างมากที่นายพยุงศักดิ์ไม่เสนอให้ที่ประชุมกรอ.ทบทวนการขึ้นค่าแรง 300 บาท เพาะผ่านความเห็นชอบจากคณะกรรมการร่วมภาคเอกชน 3 สถาบัน (กกร.) ทราบว่ามีการดึงวาระนี้ออกก่อนการประชุมเพียง 2 ชั่วโมง เพื่อไม่ให้นายกรัฐมนตรีรับทราบ อ้างว่าเรื่องนี้มีความละเอียดอ่อน และเป็นนโยบายสำคัญจำเป็นต้องมีการหารือรายละเอียดนอกรอบ โดย สศช.ได้สอบถามความเห็นมาที่นายพยุงศักด์ ซึ่งนายพยุงศักดิ์ ก็เห็นด้วย แต่ความห็นดังกล่าวไม่ได้เป็นความเห็นของสมาชิกส่วนใหญ่ จึงไม่เข้าใจว่านายพยุงศักดิ์ตัวแทนของภาคเอกชน หรือตัวแทนของรัฐบาล
สำหรับข้อเสนอที่เตรียมจะเสนอต่อนายกรัฐมนนตรี ประกอบด้วย 1.ต้องการให้รัฐบาลคงอัตรค่าจ้างขั้นต่ำไว้จถึงวันที่ 31 ธันวาคม2558 เพราะกระทบต่อความสมารถของผู้ประกอบการในภูมิภาคโดยเฉพาะเอสเอ็มอี และหากเศรษฐกิจมีความผันผวนรุนแรงจนกระทบต่อค่าครองชีพของลูกจ้าง คณะกรรมการค่าจ้างสามารถพิจารณาทบทวนได้ตามความเหมาะสม 2.ต้องการให้มติการขึ้นค่าจ้างปราศจาคการแทรกแซงทางการเมือง 3.ลูกจ้างต้องจบการศึกษาขั้นต่ำ ประถมศึกษาปีที่ 4 มีใบประกาศหรือเอกสารยืนยันรับรองจากกระทวงศึกษาธิการ 4.หลังวันที่ 31 ธันวาคม2555 ให้ยกเลิกค่าจ้างขั้นต่ำและปล่อยลอยตัวตามกลไกตลาด 5.รัฐบาลต้องมีโครงการช่วยเหลือเยียวยาผู้ประกอบการอยางเป็นรูปธรรม
นายทวีกิจ จตุรเจริญคุณ รองประธานสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย(ส.อ.ท.) เปิดเผยภายหลังการประชุมคณะกรรมการสายงานอุตสาหกรรมจังหวัด ว่า ในวันที่ 30 ตุลาคม 2555ประธานอุตสาหกรรมจังวัดทั้ง 70 จังหวัด ได้นัดรวมตัวเพื่อเตรีมยื่นหนังสือและขอเข้าพบนางสาวยิ่งลักษ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี ที่ทำเนียบรัฐบาล เกี่ยวกับนโยบายการรับขึ้นค่าแรงขั้นตำ 300 บาทในวันที่ 1 มกรคม 2555 เพื่อยืนยันว่าผู้ประกอบการได้รับผลกระทบอย่างรุนแรงจากนโยบายดังกล่าว และไม่ได้เห็นด้วยกับนายพยุงศักดิ์ ชาติสุทธิผล ประธานสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย(ส.อ.ท.) ระบุว่าเอกชนไม่ได้รับผลกระทบจากการขึ้นค่าแรง และได้ขอถอนเรื่องดังกล่าว โดยอ้างว่าสำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) ให้นำวาระดังกล่าวออกไปหารือนอกรอบ ทำให้วาระไม่เข้าสู่การพิจารณาของคณะกรรมการร่วมภาครัฐและเอกชน (กรอ.)ที่ผ่านมาซึ่งจัดขึ้นที่เกาะสมุย จ.สุราษฏ์ธานี
"คาดว่ากระทรวงแรงงานจะเสนอวาระการพิจารณาการปรับขึ้นค่าจ้างขั้นต่ำ 300 บาทเข้าสู่ที่ประชุมคณะรัฐมนตรีวัที่ 30 ตุลาคม เพื่อเห็นชอบ ดังนั้นภาคเอกชนต้องขอชี้แจงกับนายกรัฐมนตรีเพื่อทบทวนเรื่องนี้ ทั้งนี้หากนายพยุงศักดิ์ไม่เห็นด้วยอีกต้องถามนายพยุงศักดิ์ว่า จะยังป็นผู้นำของภาคเอกชนต่อไปได้หรือไม่" นายทวีกิจกล่าว
นายทวีกิจกล่าวว่า ทั้งนี้ประธานอุตสาหกรรมจังหวัดทั้ง 70 จังหวัดต้องการให้นายกรัฐมนตรีรับทราบความเดือดร้อนด้วยตนเอง และหามาตรการช่วยเหลือ ชดเชย เยียวยา เช่นเดียวกับ นโยบายอุดหนุนราคาสินค้าเกษตร อาทิ นโยบายรับจำนำข้าว มันสำปะหลัง ยางพารา เพราะภาคอุตสาหกรรมมีความสำคัญไม่ต่างกับภาคเกษตร ดังนั้นอาจออกมาตรการช่วยในระยะแรกเช่น จ่ายค่าแรงส่วนต่างให้กับภาคเอกชน เพื่อลดผลกระทบโดยเฉพาะผู้ประกอบการขนาดกลางและขนาดย่อม (เอสเอ็มอี) ที่มีสัดส่วนถึง 90% ของผู้ประกอบการทั้งประเทศ เพราะยังไม่มีความพร้อมที่จะปรับขึ้นค่าแรง ซึ่งปัจจุบันแม้เปิดกิจการอยู่เพราะพยายามประคอง กิจการ ในลักษณะหลังชนฝา
แหล่งข่าวจาก ส.อ.ท. ล่าวว่า ประธานอุตสาหกรรมจังหวัดต่างไม่พอใจอย่างมากที่นายพยุงศักดิ์ไม่เสนอให้ที่ประชุมกรอ.ทบทวนการขึ้นค่าแรง 300 บาท เพาะผ่านความเห็นชอบจากคณะกรรมการร่วมภาคเอกชน 3 สถาบัน (กกร.) ทราบว่ามีการดึงวาระนี้ออกก่อนการประชุมเพียง 2 ชั่วโมง เพื่อไม่ให้นายกรัฐมนตรีรับทราบ อ้างว่าเรื่องนี้มีความละเอียดอ่อน และเป็นนโยบายสำคัญจำเป็นต้องมีการหารือรายละเอียดนอกรอบ โดย สศช.ได้สอบถามความเห็นมาที่นายพยุงศักด์ ซึ่งนายพยุงศักดิ์ ก็เห็นด้วย แต่ความห็นดังกล่าวไม่ได้เป็นความเห็นของสมาชิกส่วนใหญ่ จึงไม่เข้าใจว่านายพยุงศักดิ์ตัวแทนของภาคเอกชน หรือตัวแทนของรัฐบาล
สำหรับข้อเสนอที่เตรียมจะเสนอต่อนายกรัฐมนนตรี ประกอบด้วย 1.ต้องการให้รัฐบาลคงอัตรค่าจ้างขั้นต่ำไว้จถึงวันที่ 31 ธันวาคม2558 เพราะกระทบต่อความสมารถของผู้ประกอบการในภูมิภาคโดยเฉพาะเอสเอ็มอี และหากเศรษฐกิจมีความผันผวนรุนแรงจนกระทบต่อค่าครองชีพของลูกจ้าง คณะกรรมการค่าจ้างสามารถพิจารณาทบทวนได้ตามความเหมาะสม 2.ต้องการให้มติการขึ้นค่าจ้างปราศจาคการแทรกแซงทางการเมือง 3.ลูกจ้างต้องจบการศึกษาขั้นต่ำ ประถมศึกษาปีที่ 4 มีใบประกาศหรือเอกสารยืนยันรับรองจากกระทวงศึกษาธิการ 4.หลังวันที่ 31 ธันวาคม2555 ให้ยกเลิกค่าจ้างขั้นต่ำและปล่อยลอยตัวตามกลไกตลาด 5.รัฐบาลต้องมีโครงการช่วยเหลือเยียวยาผู้ประกอบการอยางเป็นรูปธรรม