วานนี้(9 ต.ค.55) นายสุรจิตร ยนต์ตระกูล ส.ส.มหาสารคาม พรรคเพื่อไทย ในฐานะโฆษกคณะกรรมาธิการ (กมธ.) วิสามัญแก้ไข พ.ร.บ.การปกครองท้องที่ ฉบับที่ … พ.ศ… ซึ่งสภาผู้แทนราษฎรมีมติรับหลักการกฎหมายดังกล่าว ที่เสนอโดย ส.ส.ฝ่ายค้านและรัฐบาลจำนวนรวม 5 ฉบับ ด้วยคะแนน 370 เสียง แถลงว่า กมธ.ได้พิจารณากฎหมายประเด็นการดำรงวาระตำแหน่งของผู้ใหญ่บ้านและการเลือกกำนัน ที่ออกในสมัยสมาชิกสภานิติบัญญัติ (สนช.) ปี 2551 โดยได้แก้ไขใน 4 ประเด็น คือ
1.จากเดิมที่ไม่กำหนดวาระและเกษียณอายุใน 60 ปี เป็นกำหนดวาระให้เหลือ 5 ปี ทั้งนี้ในชั้น กมธ.มีมติเสียงส่วนใหญ่เห็นชอบแล้ว
2.การเปลี่ยนแปลงกำหนดวิธีเลือกกำนัน จากเดิมที่ให้แต่ผู้ใหญ่บ้านเลือกตัวแทนกันเอง แต่จะเปลี่ยนเป็นให้ประชาชนเลือกกำนันจากผู้ใหญ่ที่มีอยู่
3.โดยไม่กำหนดเกณฑ์อายุ 60 ปี ซึ่งผู้ที่อายุ 60 ปีไปแล้ว ก็สามารถลงสมัครรับเลือกตั้งใหม่ได้
4.เสนอบทเฉพาะกาล ภายหลังการประกาศใช้กฎหมายดังกล่าวจะไม่มีผลย้อนหลัง ซึ่งผู้ที่เป็นกำนันผู้ใหญ่บ้านในปัจจุบัน จะสามารถดำรงตำแหน่งจนครบวาระ 60 ปีได้
นายสุรจิตร กล่าวต่อว่า ขณะนี้มีกำนัน-ผู้ใหญ่บ้าน ที่จะอยู่จนครบวาระ 60 ปี โดยเหลืออีก 5 ปี พ้นจากตำแหน่งจำนวน 1.2 หมื่นคน เหลือ 10 ปี จำนวน 1.6 หมื่นคน เหลือ 15 ปี จำนวน 1.5 หมื่นคน และเหลือ 20 ปี จำนวน 1 หมื่นคน ซึ่งกฎหมายดังกล่าวเป็นการวางโครงสร้างระยะยาว เพื่อให้ประชาชนไม่ผูกขาดอำนาจจากกำนัน ผู้ใหญ่บ้าน
ด้านนายอรรถพร พลบุตร ส.ส.เพชรบุรี พรรคประชาธิปัตย์ ในฐานะกรรมาธิการฯ กล่าวว่า ในระบอบประชาธิปไตย เมื่อมีการเลือกตั้งไปแล้วก็ไม่ควรจะให้ผู้ที่ได้รับตำแหน่งผูกขาด และสามารถให้ประชาชนตรวจสอบการทำหน้าที่ได้ โดยอาศัยการเลือกตั้งเป็นเครื่องชี้วัด ส่วนกรณีที่กลุ่มผู้ออกมาคัดค้านน่าจะเป็นกลุ่มที่มีวาระน้อยกว่า 5 ปี จะไม่ได้รับสิทธิ์ตามกฎหมายสนช. 2551 ซึ่งมีจำนวนประมาณ 6900 คน โดยจะหมดวาระวันที่ 6 เม.ย. 56 โดยนายประสาท ตันประเสริฐ ส.ส.นครสวรรค์ พรรคชาติพัฒนา ในฐานะกมธ. ชี้แจงว่า กฎหมายดังกล่าวไม่น่าจะออกทัน และยังสามารถใช้กฎหมายสมัยสนช. 2551 รับสมัครเลือกตั้งได้อยู่จนอายุ 60 ปี โดยไม่กำหนดวาระ จึงเชื่อว่าผู้คัดค้านน่าจะเข้าใจผิด เพราะยิ่งออกฏหมายให้เร็วขึ้นก็จะยิ่งเป็นประโยชน์กับผู้ที่เสียงได้รับผลกระทบมากเท่านั้น
ขณะที่ช่วงเช้า กลุ่มกำนัน-ผู้ใหญ่บ้าน 25 จังหวัดภาคกลาง กว่า 500 คน นำโดย นายยงยศ แก้วเขียว ประธานสมาคมกำนันผู้ใหญ่บ้านแห่งประเทศไทย ได้เดินทางมาชุมนุมที่บริเวณหน้ารัฐสภา เพื่อเรียกร้องให้มีการถอนร่าง พ.ร.บ.ลักษณะปกครองท้องที่ (ฉบับที่...) พ.ศ.... ออกมาจากคณะกรรมาธิการวิสามัญของสภาผู้แทนราษฎรเพื่อปรับปรุงในบางประเด็น เพราะไม่เห็นด้วยกับกำหนดวาระดำรงตำแหน่ง 5 ปี และคัดค้านให้เลือกกำนันโดยตรงจากประชาชน
นายยงยศ กล่าวว่า การแก้ไขกฎหมายถึงวาระการดำรงตำแหน่งกำนันผู้ใหญ้บ้านให้เหลือ 5 ปี ไม่ส่งผลดีต่อการปฏิบัติหน้าที่ เพราะกำนันผู้ใหญ่บ้านไม่ใช่นักการเมืองที่ต้องเลือกตั้งบ่อยๆ ซึ่งจะทำให้เกิดความแตกแยกในชุมชน ทำให้จากนี้ไปจะขึ้นป้ายคัดค้านทั่วประเทศ จำนวน 7,255 ตำบล และเตรียมระดมกำนันผู้ใหญ่บ้านทั่วประเทศมาชุมนุมที่หน้ารัฐสภาต่อไป
จากนั้น ตัวแทนกำนัน-ผู้ใหญ่บ้าน จำนวน 100 คน เข้ายื่นหนังสือต่อ นายสุรชัย เลี้ยงบุญเลิศชัย รองประธานวุฒิสภาคนที่ 1 เพื่อเรียกร้องให้ทางวุฒิสภาคัดค้านกฎหมายฉบับนี้ โดยย้ำว่า หากคุยไม่รู้เรื่องสิ้นต.ค.จะระดมพลปิดสภา ก่อนที่จะสลายการชุมนุม.
1.จากเดิมที่ไม่กำหนดวาระและเกษียณอายุใน 60 ปี เป็นกำหนดวาระให้เหลือ 5 ปี ทั้งนี้ในชั้น กมธ.มีมติเสียงส่วนใหญ่เห็นชอบแล้ว
2.การเปลี่ยนแปลงกำหนดวิธีเลือกกำนัน จากเดิมที่ให้แต่ผู้ใหญ่บ้านเลือกตัวแทนกันเอง แต่จะเปลี่ยนเป็นให้ประชาชนเลือกกำนันจากผู้ใหญ่ที่มีอยู่
3.โดยไม่กำหนดเกณฑ์อายุ 60 ปี ซึ่งผู้ที่อายุ 60 ปีไปแล้ว ก็สามารถลงสมัครรับเลือกตั้งใหม่ได้
4.เสนอบทเฉพาะกาล ภายหลังการประกาศใช้กฎหมายดังกล่าวจะไม่มีผลย้อนหลัง ซึ่งผู้ที่เป็นกำนันผู้ใหญ่บ้านในปัจจุบัน จะสามารถดำรงตำแหน่งจนครบวาระ 60 ปีได้
นายสุรจิตร กล่าวต่อว่า ขณะนี้มีกำนัน-ผู้ใหญ่บ้าน ที่จะอยู่จนครบวาระ 60 ปี โดยเหลืออีก 5 ปี พ้นจากตำแหน่งจำนวน 1.2 หมื่นคน เหลือ 10 ปี จำนวน 1.6 หมื่นคน เหลือ 15 ปี จำนวน 1.5 หมื่นคน และเหลือ 20 ปี จำนวน 1 หมื่นคน ซึ่งกฎหมายดังกล่าวเป็นการวางโครงสร้างระยะยาว เพื่อให้ประชาชนไม่ผูกขาดอำนาจจากกำนัน ผู้ใหญ่บ้าน
ด้านนายอรรถพร พลบุตร ส.ส.เพชรบุรี พรรคประชาธิปัตย์ ในฐานะกรรมาธิการฯ กล่าวว่า ในระบอบประชาธิปไตย เมื่อมีการเลือกตั้งไปแล้วก็ไม่ควรจะให้ผู้ที่ได้รับตำแหน่งผูกขาด และสามารถให้ประชาชนตรวจสอบการทำหน้าที่ได้ โดยอาศัยการเลือกตั้งเป็นเครื่องชี้วัด ส่วนกรณีที่กลุ่มผู้ออกมาคัดค้านน่าจะเป็นกลุ่มที่มีวาระน้อยกว่า 5 ปี จะไม่ได้รับสิทธิ์ตามกฎหมายสนช. 2551 ซึ่งมีจำนวนประมาณ 6900 คน โดยจะหมดวาระวันที่ 6 เม.ย. 56 โดยนายประสาท ตันประเสริฐ ส.ส.นครสวรรค์ พรรคชาติพัฒนา ในฐานะกมธ. ชี้แจงว่า กฎหมายดังกล่าวไม่น่าจะออกทัน และยังสามารถใช้กฎหมายสมัยสนช. 2551 รับสมัครเลือกตั้งได้อยู่จนอายุ 60 ปี โดยไม่กำหนดวาระ จึงเชื่อว่าผู้คัดค้านน่าจะเข้าใจผิด เพราะยิ่งออกฏหมายให้เร็วขึ้นก็จะยิ่งเป็นประโยชน์กับผู้ที่เสียงได้รับผลกระทบมากเท่านั้น
ขณะที่ช่วงเช้า กลุ่มกำนัน-ผู้ใหญ่บ้าน 25 จังหวัดภาคกลาง กว่า 500 คน นำโดย นายยงยศ แก้วเขียว ประธานสมาคมกำนันผู้ใหญ่บ้านแห่งประเทศไทย ได้เดินทางมาชุมนุมที่บริเวณหน้ารัฐสภา เพื่อเรียกร้องให้มีการถอนร่าง พ.ร.บ.ลักษณะปกครองท้องที่ (ฉบับที่...) พ.ศ.... ออกมาจากคณะกรรมาธิการวิสามัญของสภาผู้แทนราษฎรเพื่อปรับปรุงในบางประเด็น เพราะไม่เห็นด้วยกับกำหนดวาระดำรงตำแหน่ง 5 ปี และคัดค้านให้เลือกกำนันโดยตรงจากประชาชน
นายยงยศ กล่าวว่า การแก้ไขกฎหมายถึงวาระการดำรงตำแหน่งกำนันผู้ใหญ้บ้านให้เหลือ 5 ปี ไม่ส่งผลดีต่อการปฏิบัติหน้าที่ เพราะกำนันผู้ใหญ่บ้านไม่ใช่นักการเมืองที่ต้องเลือกตั้งบ่อยๆ ซึ่งจะทำให้เกิดความแตกแยกในชุมชน ทำให้จากนี้ไปจะขึ้นป้ายคัดค้านทั่วประเทศ จำนวน 7,255 ตำบล และเตรียมระดมกำนันผู้ใหญ่บ้านทั่วประเทศมาชุมนุมที่หน้ารัฐสภาต่อไป
จากนั้น ตัวแทนกำนัน-ผู้ใหญ่บ้าน จำนวน 100 คน เข้ายื่นหนังสือต่อ นายสุรชัย เลี้ยงบุญเลิศชัย รองประธานวุฒิสภาคนที่ 1 เพื่อเรียกร้องให้ทางวุฒิสภาคัดค้านกฎหมายฉบับนี้ โดยย้ำว่า หากคุยไม่รู้เรื่องสิ้นต.ค.จะระดมพลปิดสภา ก่อนที่จะสลายการชุมนุม.