xs
xsm
sm
md
lg

“เต้น”โอน2พันล้าน รับ 5 ข้อเสนอม็อบสวนยาง

เผยแพร่:   โดย: MGR Online

วานนี้(9 ต.ค.55)ผู้สื่อข่าวรายงานเวลา 9.00 น. ที่ประตู 5 ทำเนียบรัฐบาล เครือข่ายสถาบันเกษตรกรทั่วประเทศซึ่งเป็นชาวสวนยางพาราจากหลายจังหวัดอาทิ สุราษฎร์ธานี สงขลา จันทร์บุรี เป็นต้นนำโดยนายจรูญ อุปลา รองประธานสถาบันเกษตรกรชาวสวนยางสุราษฎรธานีและนายเพิก เลิศวังพง ประธานชุมนุมสหกรณ์ชาวสวนยางและพวกจำนวนกว่า 300 คน โดยกลุ่มเกษตรกรได้ยื่นข้อเรียกร้องต่อรัฐบาล 5 ข้อคือ 1. ให้จ่ายเงินตามโครงการรักษาเสถียรภาพรักษาที่ค้างชำระสถาบันเกษตรกรต่าง ๆ รวมทั้งสิ้นเป็นเงินกว่า 2,000 ล้านบาท 2. ให้รัฐบาลยกเลิกการแทรกแซงราคายางทันที 3.ให้ยกเลิกการพิจารณาร่างพ.ร.บ.การยาง 4.ห้ามจำหน่ายยางพาราที่รัฐบาลรับซื้อไปแล้วจนกว่าจะมีการตรวจสอบ และ 5.ให้เปิดเผยสัญญาและรายชื่อกลุ่มที่ขายยางให้รัฐ
จากนั้นเวลา 11.00 น. นายณัฐวุฒิ ใสยเกื้อ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ได้มารับหนังสือและเจรจากับตัวแทนผู้ชุมนุม โดยเป็นการเจรจาที่ทั้งสองฝ่ายยืนโดยมีรั้วประตูกั้นเป็นเวลากว่า 30 นาที ผู้ชุมนุมไม่พอใจและตะโกนด่าทอด้วยถ้อยคำที่รุนแรง แต่นายณัฐวุฒิพยายามที่จะเจรจาต่อไปและรับข้อเสนอบางข้อของกลุ่มผู้ชุมนุม เช่นการจ่ายเงินที่ค้างชำระให้เสร็จภายในสัปดาห์หน้าและยืนยันว่าขณะนี้วงเงิน 5,000 ล้านบาทที่คณะรัฐมนตรีอนุมัติในรอบแรกที่ใช้ในโครงการรักษาเสถียรภาพราคายาง ทางธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตรจะโอนให้กับองค์การสวนยาง (อสย.) ในวันที่ 10 ต.ค. และจะแจกจ่ายไปยังสถาบันเกษตรกรต่าง ๆ และผู้ที่มีเอกสารครบถ้วนภายในสัปดาห์หน้า โดยทวงผู้ชุมนุมทวงถามว่าหากไม่เป็นไปตามนั้นจะทำอย่างไร
ซึ่งนายณัฐวุฒิรับปากว่า “ผมมาเจรจาตรงนี้ต่อหน้าเกษตรกรและสื่อมวลชนในฐานะรัฐมนตรีที่รับผิดชอบเรื่องยางพารา และตัวแทนรัฐบาลที่พึ่งออกมาจากการประชุมคณะรัฐมนตรี จึงเป็นการยืนยันคำพูดที่ชัดเจน และหากไม่เป็นไปตามคำพูดที่พูดไว้ และที่กำหนดว่า 1 สัปดาห์จะโอนเงินที่ค้างชำระคืนทั้งหมดนั้น ถ้าหากหน่วยงานหรือสถาบันเกษตรกรที่มีหลักเกณฑ์ถูกต้อง ต้องโอนเงินให้หมด ถ้าโอนไม่หมดก็เท่ากับรัฐมนตรีโกหกประชาชนทั้งประเทศ ก็ทำหน้าที่ไม่ได้ ” แต่ทางผู้ชุมนุมยังคงไม่พอใจ ต้องการเอกสารที่เป็นลายลักษณ์อักษรและเรียกร้องให้ตัวแทนผู้ชุมนุมได้เข้าไปหารือกับนายณัฐวุฒิในทำเนียบรัฐบาล
ผู้สื่อข่าวรายงานต่อว่า ก่อนที่จะเข้าไปหารือ ทางกลุ่มตัวแทนเกษตรกรได้หารือกันภายในกว่า 10 นาทีซึ่งในการหารือดังกล่าวทางกลุ่มไม่มั่นใจนายณัฐวุฒิ เพราะเห็นว่านายณัฐวุฒิตัดสินใจในการอนุมัติการจ่ายเงินที่ค้างชำระ จึงต้องการที่เจรจากับนายกิตติรัตน์ ณ ระนอง รองนายกรัฐมนตีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง ที่มองว่ามีอำนาจในการตัดสินใจในเรื่องจ่ายเงินเข้าร่วมหารือด้วย
จากนั้นตัวแทนกลุ่มแต่ละจังหวัดจำนวน 10 คนได้เข้าหารือกับนายณัฐวุฒิที่ศูนย์บริการประชาชนสำนักงานปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี โดยทั้งสองฝ่ายได้ลงนามบันทึกความเข้าใจตามข้อเรียกร้องของผู้ชุมนุมดังนี้ 1. ยอดค้างชำระที่รัฐค้างสถาบันเกษตรกรจะจ่ายให้ครบวันที่ 19 ต.ค. 2. ที่ให้รัฐประกาศยกเลิกการแทรกแซงราคายางจะรับฟังและนำข้อดังกล่าวให้คณะกรรมการบริหารโครงการ และคณะกรรมการนโยบายยางธรรมชาติพิจารณา 3.การยกเลิกการพิจารณาพ.ร.บ.การยางนายณัฐวุฒิเสนอให้ตัวแทนเกษตรทำข้อสรุปเสนอไปยังคณะกรรมาธิการของรัฐที่พิจารณาเรื่องนี้และให้ตัวแทนเข้าชี้ในการประชุมของคณะกรรมาธิการ 4. กรณีทีห้ามไม่ให้ขายยางพาราที่รัฐบาลรับซื้อไปนั้น นายณัฐวุฒิได้แสดงความชัดเจนแล้วว่าขณะนี้ไม่มีนโยบายที่จะนำยางไปจำหน่ายแต่อย่างใด และ5. การเปิดเผยรายละเอียดของผู้ที่ทำสัญญาซื้อขายยางกับรัฐจะรับไปดำเนินการโดยเร็ว ทั้งนี้ระหว่างการพิจารณายังยืนว่าจะขอเจรจากับนายกิตติรัตน์ และปฏิเสธที่ลงชื่อให้ข้อตกลงนี้ แต่ตัวแทนจากจังหวัดอื่นยินยอมที่จะลงชื่อและจะนำบันทึกข้อตกลงดังกล่าวไปชี้ต่อกลุ่มเกษตรกรในพื้นที่เพื่อแสดงให้เห็นว่า
นายณัฐวุฒิได้ยืนยันว่าเกษตรกรได้รับเงินภายในวันที่ 19 ต.ค.นี้
กำลังโหลดความคิดเห็น