เกษตรกรภาคใต้ บุก ทำเนียบฯบี้ "ปู" แก้ปัญหาราคายางพาราตกต่ำ พร้อมโวยมาตรการแทรกแซงราคาที่เอื้อแค่เกษตรบางกลุ่ม ขณะที่ "เต้น" ไม่ออกไปรับหนังสือ แต่เผ่นไปมาเลย์ อ้างหาทางช่วยอยู่ตลอดเวลา แต่ภาวะการณ์ตอนนี้โดนทุกประเทศ คุยผนึกกำลังอินโดฯ - มาเลย์ ลดปริมาณการส่งออก เผยสัปดาห์นี้รอประเมินมาตรการที่ทำไป ได้ผลหรือไม่
เมื่อเวลา 08.00 น. วานนี้ (4 ก.ย.) ที่บริเวณประตู 5 ทำเนียบรัฐบาล เครือข่ายเกษตรกรสวนยางพารา มะพร้าว ปาล์มน้ำมัน ใน จ.ชุมพร ระนอง นครศรีธรรมราช สุราษฎร์ธานี และประจวบคีรีขันธ์ ประมาณ 500 คน นำโดย นายนันทปรีชา คำทอง ผู้ประสานงานเครือข่าย เดินทางมายื่นหนังสือต่อนายกรัฐมนตรี เพื่อเรียกร้องให้เร่งดำเนินการแก้ไขปัญหาราคายางพารา มะพร้าว และปาล์มน้ำมัน ที่ตกต่ำ เนื่องจากเกษตรกรได้รับความเดือดร้อน และการแก้ไขปัญหาของรัฐบาลที่ใช้มาตรการแทรกแซงราคาที่ล้มเหลว ทำให้เกษตรกรได้รับประโยชน์ไม่ทั่วถึง โดยเฉพาะยางพาราที่รัฐบาลใช้งบประมาณจำนวนถึง 15,000 ล้านบาท แต่เป็นการเอื้อประโยชน์แก่เกษตรกรบางกลุ่ม
นายนันทปรีชา กล่าวว่า ขอเรียกร้องให้รัฐบาลเร่งดำเนินการผลักดันให้ราคาสินค้าทางการเกษตรสูงขึ้น โดยให้ยางพาราจาก กก.ละ 73 บาท เป็น กก.ละ 120 บาท โดยไม่คัดเกรด, ยกเลิกการนำเข้ามะพร้าว และให้ประกันราคามะพร้าว ลูกละ 12 บาท ราคามะพร้าวแห้ง กก.ละ 21 บาท, ขอให้ผลักดันราคาปาล์มน้ำมันให้ถึงกก.ละ 6 บาท โดยทางกลุ่มจะรอความชัดเจนจากการประชุม ครม. และหากไม่มีผลใดๆ ออกมา จะชุมนุมต่อเนื่องและจะมีผู้ร่วมชมนุมเข้ามาสมทบเพิ่มเติม
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า กลุ่มผู้ชุมนุมดังกล่าวไม่มีตัวแทนจากครม.ไปรับหนังสือแต่อย่างใด แต่รัฐบาลได้มอบหมายให้ตัวแทนจากกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เป็นผู้ประสานงานกับผู้ชุมนุมแทน
**"เต้น"หลบหน้า เผ่นไปมาเลย์
ด้านนายณัฐวุฒิ ใสยเกื้อ รมช.เกษตรฯ กล่าวถึงถึงสถานการณ์ราคายางพาราตกต่ำ ว่า ได้เดินหน้าแก้ปัญหามาตลอด ขณะนี้ก็ใช้มาตรการทั้งในประเทศ และกลไกระหว่างประเทศ โดยตนก็เพิ่งเดินทางกลับจากประเทศอินโดนีเซีย เมื่อวัน 1 ก.ย. ที่ผ่านมา ซึ่งเป็นการไปหารือกับรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการค้าของอินโดนีเซีย ก็เห็นตรงกันว่าสถานการณ์ขณะนี้เป็นภาวะการณ์ที่โลกของยางพารา ที่ได้รับผลกระทบจากสถานการณ์ราคา และเป็นอย่างนี้เหมือนกันทุกประเทศ โดยประเทศไทย อินโดนีเซีย และมาเลเซีย เห็นตรงกันว่า จะต้องจับมือกันอย่างเข้มแข็ง และเคลื่อนไหวกันอย่างเป็นเอกภาพ ขณะเดียวกัน เราก็จะไปหารือกับประเทศเวียดนาม ที่เป็นประเทศผลิตยางพาราเป็นอันดับ 4 ของโลก เพื่อเชิญเข้ามาร่วมกลไกความร่วมมือเพื่อรักษาเสถียรภาพของราคายาวพารา และกำหนดยุทธศาสตร์กันในอนาคต และหากเวียดนามเห็นตรงกัน จะมีการประสานกับทางการจีนเรื่องยุทธศาสตร์ยางพาราเพื่อทำให้มีการสอดรับกันด้วย
ทั้งนี้ หลังการประชุมครม. (4 ก.ย.) ตนจะเดินทางไปประเทศมาเลเซีย เพื่อจะหารือกับรัฐมนตรีที่รับผิดชอบเรื่องยางพาราในการกระชับความร่วมมือ และเดินหน้าลดปริมาณการส่งออก
ผู้สื่อข่าวถามว่า จะแก้ไขปัญหาเฉพาะหน้าอย่างไร เนื่องจากสถานการณ์ราคายางพาราตกต่ำมีความยืดเยื้อ นายณัฐวุฒิ กล่าวว่า ต้องใช้เวลา และเชื่อว่าพี่น้องเกษตรกรเข้าใจสถานการณ์นี้ เพียงแต่ต้องการจะส่งเสียงความเดือดร้อน และเร่งรัดให้รัฐบาลแก้ไขปัญหา ซึ่งเราก็เดินหน้าตลอดเวลาอยู่แล้ว
เมื่อถามว่า อีกนานเท่าใดกว่าจะได้ผล เพราะมีการเรียกร้องอย่างต่อเนื่อง นายณัฐวุฒิ กล่าวว่า สถานการณ์ในภาพรวมยังไม่ปรากฎปัจจัยบวกที่ชัดเจน แต่จากการที่พูดคุยสภายางพาราไตรภาคี เราคาดหวังว่า ภายใต้การจับมือกันของ 3 ประเทศ น่าจะขยับราคายางพาราให้สูงขึ้น และรักษาเสถียรภาพให้ได้ โดยจะมีการประเมินราคายางพาราในสัปดาห์นี้ว่า หากเป็นบวกก็แสดงว่ามาตรการนี้ส่งผลในตลาดโลก แต่หากมาตรการนี้ไม่สามารถกำหนดราคาได้ ก็คงจะต้องกำหนดมาตรการอื่นๆ เช่น เพิ่มปริมาณที่จะลดการส่งออก เป็นต้น
เมื่อถามว่า จะไปพบปะกับผู้ชุมนุมที่ออกมาเรียกร้องราคายางพาราตกต่ำ ที่อยู่ด้านนอกทำเนียบรัฐบาลหรือไม่ รมช.เกษตรฯ กล่าวว่า มีเจ้าหน้าที่ประสานงานอยู่แล้ว อย่างไรก็ตาม ตนคิดว่าเกษตรกรส่วนใหญ่เข้าใจสถานการณ์ และการที่รัฐบาลรับภาระเพื่อลดผลกระทบโดยการยืนราคารับซื้ออยู่ 100 บาท/กก. ก็มีส่วนต่างจากราคาในตลาดอยู่พอสมควร
เมื่อถามย้ำว่า จะไปเจรจาด้วยตัวเองหรือไม่ เพื่อให้เกษตรกรสบายใจ รมช.เกษตรฯ กล่าวว่า ตนคิดว่าหน่วยงานหรือเจ้าหน้าที่ที่ดูแลเรื่องนี้ ได้ไปหารือแล้ว
เมื่อเวลา 08.00 น. วานนี้ (4 ก.ย.) ที่บริเวณประตู 5 ทำเนียบรัฐบาล เครือข่ายเกษตรกรสวนยางพารา มะพร้าว ปาล์มน้ำมัน ใน จ.ชุมพร ระนอง นครศรีธรรมราช สุราษฎร์ธานี และประจวบคีรีขันธ์ ประมาณ 500 คน นำโดย นายนันทปรีชา คำทอง ผู้ประสานงานเครือข่าย เดินทางมายื่นหนังสือต่อนายกรัฐมนตรี เพื่อเรียกร้องให้เร่งดำเนินการแก้ไขปัญหาราคายางพารา มะพร้าว และปาล์มน้ำมัน ที่ตกต่ำ เนื่องจากเกษตรกรได้รับความเดือดร้อน และการแก้ไขปัญหาของรัฐบาลที่ใช้มาตรการแทรกแซงราคาที่ล้มเหลว ทำให้เกษตรกรได้รับประโยชน์ไม่ทั่วถึง โดยเฉพาะยางพาราที่รัฐบาลใช้งบประมาณจำนวนถึง 15,000 ล้านบาท แต่เป็นการเอื้อประโยชน์แก่เกษตรกรบางกลุ่ม
นายนันทปรีชา กล่าวว่า ขอเรียกร้องให้รัฐบาลเร่งดำเนินการผลักดันให้ราคาสินค้าทางการเกษตรสูงขึ้น โดยให้ยางพาราจาก กก.ละ 73 บาท เป็น กก.ละ 120 บาท โดยไม่คัดเกรด, ยกเลิกการนำเข้ามะพร้าว และให้ประกันราคามะพร้าว ลูกละ 12 บาท ราคามะพร้าวแห้ง กก.ละ 21 บาท, ขอให้ผลักดันราคาปาล์มน้ำมันให้ถึงกก.ละ 6 บาท โดยทางกลุ่มจะรอความชัดเจนจากการประชุม ครม. และหากไม่มีผลใดๆ ออกมา จะชุมนุมต่อเนื่องและจะมีผู้ร่วมชมนุมเข้ามาสมทบเพิ่มเติม
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า กลุ่มผู้ชุมนุมดังกล่าวไม่มีตัวแทนจากครม.ไปรับหนังสือแต่อย่างใด แต่รัฐบาลได้มอบหมายให้ตัวแทนจากกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เป็นผู้ประสานงานกับผู้ชุมนุมแทน
**"เต้น"หลบหน้า เผ่นไปมาเลย์
ด้านนายณัฐวุฒิ ใสยเกื้อ รมช.เกษตรฯ กล่าวถึงถึงสถานการณ์ราคายางพาราตกต่ำ ว่า ได้เดินหน้าแก้ปัญหามาตลอด ขณะนี้ก็ใช้มาตรการทั้งในประเทศ และกลไกระหว่างประเทศ โดยตนก็เพิ่งเดินทางกลับจากประเทศอินโดนีเซีย เมื่อวัน 1 ก.ย. ที่ผ่านมา ซึ่งเป็นการไปหารือกับรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการค้าของอินโดนีเซีย ก็เห็นตรงกันว่าสถานการณ์ขณะนี้เป็นภาวะการณ์ที่โลกของยางพารา ที่ได้รับผลกระทบจากสถานการณ์ราคา และเป็นอย่างนี้เหมือนกันทุกประเทศ โดยประเทศไทย อินโดนีเซีย และมาเลเซีย เห็นตรงกันว่า จะต้องจับมือกันอย่างเข้มแข็ง และเคลื่อนไหวกันอย่างเป็นเอกภาพ ขณะเดียวกัน เราก็จะไปหารือกับประเทศเวียดนาม ที่เป็นประเทศผลิตยางพาราเป็นอันดับ 4 ของโลก เพื่อเชิญเข้ามาร่วมกลไกความร่วมมือเพื่อรักษาเสถียรภาพของราคายาวพารา และกำหนดยุทธศาสตร์กันในอนาคต และหากเวียดนามเห็นตรงกัน จะมีการประสานกับทางการจีนเรื่องยุทธศาสตร์ยางพาราเพื่อทำให้มีการสอดรับกันด้วย
ทั้งนี้ หลังการประชุมครม. (4 ก.ย.) ตนจะเดินทางไปประเทศมาเลเซีย เพื่อจะหารือกับรัฐมนตรีที่รับผิดชอบเรื่องยางพาราในการกระชับความร่วมมือ และเดินหน้าลดปริมาณการส่งออก
ผู้สื่อข่าวถามว่า จะแก้ไขปัญหาเฉพาะหน้าอย่างไร เนื่องจากสถานการณ์ราคายางพาราตกต่ำมีความยืดเยื้อ นายณัฐวุฒิ กล่าวว่า ต้องใช้เวลา และเชื่อว่าพี่น้องเกษตรกรเข้าใจสถานการณ์นี้ เพียงแต่ต้องการจะส่งเสียงความเดือดร้อน และเร่งรัดให้รัฐบาลแก้ไขปัญหา ซึ่งเราก็เดินหน้าตลอดเวลาอยู่แล้ว
เมื่อถามว่า อีกนานเท่าใดกว่าจะได้ผล เพราะมีการเรียกร้องอย่างต่อเนื่อง นายณัฐวุฒิ กล่าวว่า สถานการณ์ในภาพรวมยังไม่ปรากฎปัจจัยบวกที่ชัดเจน แต่จากการที่พูดคุยสภายางพาราไตรภาคี เราคาดหวังว่า ภายใต้การจับมือกันของ 3 ประเทศ น่าจะขยับราคายางพาราให้สูงขึ้น และรักษาเสถียรภาพให้ได้ โดยจะมีการประเมินราคายางพาราในสัปดาห์นี้ว่า หากเป็นบวกก็แสดงว่ามาตรการนี้ส่งผลในตลาดโลก แต่หากมาตรการนี้ไม่สามารถกำหนดราคาได้ ก็คงจะต้องกำหนดมาตรการอื่นๆ เช่น เพิ่มปริมาณที่จะลดการส่งออก เป็นต้น
เมื่อถามว่า จะไปพบปะกับผู้ชุมนุมที่ออกมาเรียกร้องราคายางพาราตกต่ำ ที่อยู่ด้านนอกทำเนียบรัฐบาลหรือไม่ รมช.เกษตรฯ กล่าวว่า มีเจ้าหน้าที่ประสานงานอยู่แล้ว อย่างไรก็ตาม ตนคิดว่าเกษตรกรส่วนใหญ่เข้าใจสถานการณ์ และการที่รัฐบาลรับภาระเพื่อลดผลกระทบโดยการยืนราคารับซื้ออยู่ 100 บาท/กก. ก็มีส่วนต่างจากราคาในตลาดอยู่พอสมควร
เมื่อถามย้ำว่า จะไปเจรจาด้วยตัวเองหรือไม่ เพื่อให้เกษตรกรสบายใจ รมช.เกษตรฯ กล่าวว่า ตนคิดว่าหน่วยงานหรือเจ้าหน้าที่ที่ดูแลเรื่องนี้ ได้ไปหารือแล้ว