ศูนย์ข่าวเชียงใหม่ - ชาวสวนยางพาราผวาการเข้าร่วมประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (AEC) กว่า 91% วิตกการแข่งขันกับต่างประเทศหลังไทยเข้า AEC แต่เกษตรกรเกือบครึ่งไม่รู้ไทยจะเข้าร่วมประชาคมฯ ในปี 58 จี้รัฐประกันราคาผลผลิตก่อนวิกฤต
ไม่เพียงปัญหาราคายางพาราที่ตกต่ำอย่างต่อเนื่องในขณะนี้ แม้นายณัฐวุฒิ ใสยเกื้อ รมช.เกษตรฯ ที่ดูแลรับผิดชอบอยู่จะเสนอของบจากรัฐบาล 1.5 หมื่นล้านบาทมาพยุงราคาไปแล้ว และกำลังผลักดันของบเพิ่มอีก 1.5 หมื่นล้านบาทแล้วก็ตาม ประเด็นปัญหาใหญ่ที่กำลังจะเกิดขึ้นในอนาคตก็คือ ศักยภาพการแข่งขันของยางพาราไทย หลังเข้าสู่ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (AEC) ในปี 2558 เนื่องจากเกษตรกรผู้ปลูกยางพาราไทยยังขาดความรู้ในการผลิตที่ถูกต้อง ซึ่งอาจกระทบต่อการแข่งขันด้านคุณภาพกับต่างประเทศ
ศูนย์วิจัยเศรษฐกิจและพยากรณ์ทางการเกษตร “แม่โจ้โพลล์” มหาวิทยาลัยแม่โจ้ ได้สำรวจความคิดเห็นผู้ปลูกยางพาราทั่วประเทศ 1,577 รายเกี่ยวกับ “ทิศทางยางพาราไทยกับการเข้าสู่ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน” ตั้งแต่กลางเดือนกรกฎาคม-กลางเดือนสิงหาคม 2555 พบว่ามีเกษตรกรชาวสวนยางเพียง 55.8% เท่านั้นที่ทราบว่าไทยจะเข้าสู่ AEC แต่อีก 44.2% ยังไม่ทราบเรื่องนี้
เมื่อสอบถามถึงราคายางพาราเพื่อเข้าสู่ AEC พบว่า 47.2% เห็นว่ายางพาราน่าจะมีราคาสูงขึ้น, 28.5% เห็นว่ายางพาราน่าจะมีราคาคงที่ อีก 24.3% เห็นว่าราคายางพาราน่าจะมีแนวโน้มลดต่ำลง
ส่วนประเด็นการแข่งขันกับต่างประเทศเมื่อไทยเข้าสู่ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน พบว่ามีเกษตรกรชาวสวนถึง 91.5% วิตกกังวลเกี่ยวกับการแข่งขันกับต่างประเทศ เรียงตามลำดับ ดังนี้
อันดับ 1 วิตกเรื่องความไม่แน่นอนของนโยบายภาครัฐในการสนับสนุนการปลูกและผลิตยางพาราในประเทศในสัดส่วนสูงถึง 68.1% อันดับ 2 วิตกเรื่องผลผลิตยางพาราจากต่างประเทศที่จะเข้ามาตีตลาดในประเทศ สัดส่วน 50.2% อันดับ 3 สัดส่วน 37.3% วิตกเรื่องแรงงานที่มีทักษะการกรีดยางมีค่าแรงสูงขึ้น อันดับ 4 สัดส่วน 28.6 % วิตกเรื่องโรงงานแปรรูปยางที่มีมาตรฐานในพื้นที่น้อย อันดับ 5 สัดส่วน 23.1% วิตกเรื่องระบบลอจิสติกส์ที่ไม่มีประสิทธิภาพ และอันดับ 6 สัดส่วน 21.0% วิตกกังวลเรื่องการซื้อขายยางในตลาดล่วงหน้า
ส่วนเกษตรกรที่ไม่มีความวิตกกังวลที่มีอยู่ 8.5% เพราะมองว่าเป็นโอกาสดีในการขยายตลาดรับซื้อยางพารา เป็นโอกาสดีในการแลกเปลี่ยนถ่ายทอดความรู้ระหว่างกันทำให้การผลิตยางมีคุณภาพมากขึ้น และเห็นว่ายางพาราเป็นพืชเศรษฐกิจที่ภาครัฐให้ความสำคัญช่วยเหลือสนับสนุนต่อเนื่อง อีกทั้งยางพารายังเป็นสินค้าที่มีความต้องการสูง
เมื่อสอบถามถึงความมั่นใจต่ออาชีพปลูกยางพาราจะเป็นอาชีพที่สร้างรายได้หลักของครอบครัวเมื่อเข้าสู่ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน พบว่าเกษตรกรส่วนใหญ่ 65.1% มั่นใจว่าการปลูกยางพาราจะยังเป็นอาชีพที่สร้างรายได้หลักของครอบครัว เพราะเป็นพืชเศรษฐกิจที่มีอายุการเก็บเกี่ยวผลผลิตได้นาน 31.0% เห็นว่าการรวมกลุ่มสามารถเพิ่มอำนาจต่อรองกับประเทศคู่ค้าได้ 21.0% มองว่าเป็นโอกาสดีในการขยายตลาดรับซื้อยางพารา 20.0%
แต่ผู้ตอบแบบสอบถามอีก 34.9% ก็ยังไม่มั่นใจ เพราะต่างประเทศมีการส่งเสริมการปลูกยางฯ เพิ่มขึ้น ทำให้ไทยอาจเสียส่วนแบ่งทางการตลาดได้, 34.8% เห็นว่าการส่งเสริมยางพาราของไทยไม่มีความต่อเนื่อง และการจัดการนโยบายของรัฐขาดประสิทธิภาพ 33.0%
ส่วนการเรียกร้องให้ภาครัฐเข้ามาช่วยเหลือเพิ่มขึ้นเมื่อเข้าสู่ AEC แล้วนั้น อันดับ 1 สัดส่วน 71.1% ต้องการให้มีการประกันราคาผลผลิตยางพารา อันดับที่ 2 สัดส่วน 55.0% ต้องการให้มีการพัฒนาด้านการตลาดเพื่อรองรับผลผลิตยางที่เพิ่มขึ้น อันดับ 3 สัดส่วน 54.6% ควรพัฒนาสายพันธุ์ยางพาราที่ให้ผลผลิตที่มีคุณภาพ และเป็นที่ยอมรับของตลาด อันดับ 4 สัดส่วน 50.7% เห็นควรมีการควบคุมราคาปัจจัยการผลิตต่างๆ ไม่ให้สูงขึ้น อันดับ 5 สัดส่วน 49.0% เห็นควรมีการสนับสนุนแหล่งเงินทุนดอกเบี้ยต่ำแก่เกษตรกรผู้ปลูก
ไม่เพียงปัญหาราคายางพาราที่ตกต่ำอย่างต่อเนื่องในขณะนี้ แม้นายณัฐวุฒิ ใสยเกื้อ รมช.เกษตรฯ ที่ดูแลรับผิดชอบอยู่จะเสนอของบจากรัฐบาล 1.5 หมื่นล้านบาทมาพยุงราคาไปแล้ว และกำลังผลักดันของบเพิ่มอีก 1.5 หมื่นล้านบาทแล้วก็ตาม ประเด็นปัญหาใหญ่ที่กำลังจะเกิดขึ้นในอนาคตก็คือ ศักยภาพการแข่งขันของยางพาราไทย หลังเข้าสู่ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (AEC) ในปี 2558 เนื่องจากเกษตรกรผู้ปลูกยางพาราไทยยังขาดความรู้ในการผลิตที่ถูกต้อง ซึ่งอาจกระทบต่อการแข่งขันด้านคุณภาพกับต่างประเทศ
ศูนย์วิจัยเศรษฐกิจและพยากรณ์ทางการเกษตร “แม่โจ้โพลล์” มหาวิทยาลัยแม่โจ้ ได้สำรวจความคิดเห็นผู้ปลูกยางพาราทั่วประเทศ 1,577 รายเกี่ยวกับ “ทิศทางยางพาราไทยกับการเข้าสู่ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน” ตั้งแต่กลางเดือนกรกฎาคม-กลางเดือนสิงหาคม 2555 พบว่ามีเกษตรกรชาวสวนยางเพียง 55.8% เท่านั้นที่ทราบว่าไทยจะเข้าสู่ AEC แต่อีก 44.2% ยังไม่ทราบเรื่องนี้
เมื่อสอบถามถึงราคายางพาราเพื่อเข้าสู่ AEC พบว่า 47.2% เห็นว่ายางพาราน่าจะมีราคาสูงขึ้น, 28.5% เห็นว่ายางพาราน่าจะมีราคาคงที่ อีก 24.3% เห็นว่าราคายางพาราน่าจะมีแนวโน้มลดต่ำลง
ส่วนประเด็นการแข่งขันกับต่างประเทศเมื่อไทยเข้าสู่ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน พบว่ามีเกษตรกรชาวสวนถึง 91.5% วิตกกังวลเกี่ยวกับการแข่งขันกับต่างประเทศ เรียงตามลำดับ ดังนี้
อันดับ 1 วิตกเรื่องความไม่แน่นอนของนโยบายภาครัฐในการสนับสนุนการปลูกและผลิตยางพาราในประเทศในสัดส่วนสูงถึง 68.1% อันดับ 2 วิตกเรื่องผลผลิตยางพาราจากต่างประเทศที่จะเข้ามาตีตลาดในประเทศ สัดส่วน 50.2% อันดับ 3 สัดส่วน 37.3% วิตกเรื่องแรงงานที่มีทักษะการกรีดยางมีค่าแรงสูงขึ้น อันดับ 4 สัดส่วน 28.6 % วิตกเรื่องโรงงานแปรรูปยางที่มีมาตรฐานในพื้นที่น้อย อันดับ 5 สัดส่วน 23.1% วิตกเรื่องระบบลอจิสติกส์ที่ไม่มีประสิทธิภาพ และอันดับ 6 สัดส่วน 21.0% วิตกกังวลเรื่องการซื้อขายยางในตลาดล่วงหน้า
ส่วนเกษตรกรที่ไม่มีความวิตกกังวลที่มีอยู่ 8.5% เพราะมองว่าเป็นโอกาสดีในการขยายตลาดรับซื้อยางพารา เป็นโอกาสดีในการแลกเปลี่ยนถ่ายทอดความรู้ระหว่างกันทำให้การผลิตยางมีคุณภาพมากขึ้น และเห็นว่ายางพาราเป็นพืชเศรษฐกิจที่ภาครัฐให้ความสำคัญช่วยเหลือสนับสนุนต่อเนื่อง อีกทั้งยางพารายังเป็นสินค้าที่มีความต้องการสูง
เมื่อสอบถามถึงความมั่นใจต่ออาชีพปลูกยางพาราจะเป็นอาชีพที่สร้างรายได้หลักของครอบครัวเมื่อเข้าสู่ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน พบว่าเกษตรกรส่วนใหญ่ 65.1% มั่นใจว่าการปลูกยางพาราจะยังเป็นอาชีพที่สร้างรายได้หลักของครอบครัว เพราะเป็นพืชเศรษฐกิจที่มีอายุการเก็บเกี่ยวผลผลิตได้นาน 31.0% เห็นว่าการรวมกลุ่มสามารถเพิ่มอำนาจต่อรองกับประเทศคู่ค้าได้ 21.0% มองว่าเป็นโอกาสดีในการขยายตลาดรับซื้อยางพารา 20.0%
แต่ผู้ตอบแบบสอบถามอีก 34.9% ก็ยังไม่มั่นใจ เพราะต่างประเทศมีการส่งเสริมการปลูกยางฯ เพิ่มขึ้น ทำให้ไทยอาจเสียส่วนแบ่งทางการตลาดได้, 34.8% เห็นว่าการส่งเสริมยางพาราของไทยไม่มีความต่อเนื่อง และการจัดการนโยบายของรัฐขาดประสิทธิภาพ 33.0%
ส่วนการเรียกร้องให้ภาครัฐเข้ามาช่วยเหลือเพิ่มขึ้นเมื่อเข้าสู่ AEC แล้วนั้น อันดับ 1 สัดส่วน 71.1% ต้องการให้มีการประกันราคาผลผลิตยางพารา อันดับที่ 2 สัดส่วน 55.0% ต้องการให้มีการพัฒนาด้านการตลาดเพื่อรองรับผลผลิตยางที่เพิ่มขึ้น อันดับ 3 สัดส่วน 54.6% ควรพัฒนาสายพันธุ์ยางพาราที่ให้ผลผลิตที่มีคุณภาพ และเป็นที่ยอมรับของตลาด อันดับ 4 สัดส่วน 50.7% เห็นควรมีการควบคุมราคาปัจจัยการผลิตต่างๆ ไม่ให้สูงขึ้น อันดับ 5 สัดส่วน 49.0% เห็นควรมีการสนับสนุนแหล่งเงินทุนดอกเบี้ยต่ำแก่เกษตรกรผู้ปลูก