ASTVผู้จัดการรายวัน- สภาร่วมถกรัฐบาลยิ่งลักษณ์ ให้นาซาบินสำรวจเมฆ "เหลิม" กะมั่วนิ่ม ยืมมือสมาชิกชี้ว่าเข้าข่าย ม. 190 หรือไม่ "มาร์ค"เบรกรัฐบาลเสนอตาม ม.179 จะมาขอมติในสภาไม่ได้ ขณะที่สมาชิกรุมจวกรัฐบาลโชว์เอกสารแผ่นเดียว หวังย้อมแมวโครงการเก่า หวั่นทำให้จีนไม่พอใจไทย
การประชุมร่วมรัฐสภาเมื่อวานนี้ (2 ต.ค.) ได้มีการพิจารณาวาระเรื่องด่วน ขอเปิดอภิปรายทั่วไปในที่ประชุมร่วมกันของรัฐสภา เพื่อพิจารณาเรื่องการอนุญาตให้องค์การบริหารการบินและอวกาศแห่งชาติสหรัฐอเมริกา (นาซา) เข้ามาดำเนินโครงการศึกษาการก่อตัวของเมฆที่มีผลกระทบต่อสภาพภูมิอากาศในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ในประเทศไทย ตามมาตรา 179 ของรัฐธรรมนูญ
** "เหลิม"มั่วนิ่มกะยืมมือสมาชิกโหวต
ร.ต.อ.เฉลิม อยู่บำรุง รองนายกรัฐมนตรี ในฐานะตัวแทนคณะรัฐมนตรี กล่าวว่า ที่ผ่านมามีการวิเคราะห์โครงการดังกล่าวเป็นหนังสือสัญญาตามรัฐธรรมนูญ มาตรา 190 หรือไม่ ซึ่งรัฐบาลไทยได้พิจารณา โดยยึดแนวบรรทัดฐานของศาลรัฐธรรมนูญแล้วคิดว่า หนังสือแลกเปลี่ยนโครงการระหว่างไทยกับสหรัฐอเมริกา เป็นเพียงความร่วมมือทางวิทยาศาสตร์เพื่อศึกษาทำความเข้าใจเกี่ยวภูมิอากาศ ไม่ได้มีผลเปลี่ยนอาณาเขตประเทศไทย โดยนาซาต้องเสนอแผนการบินให้กับไทย พร้อมกับปฎิบัติตามกฎหมายของไทยอย่างเคร่งครัด และใช้พื้นที่ในระยะเวลาจำกัดระหว่างเดือนส.ค. และก.ย.55 ที่สำคัญไม่ได้ใช้งบประมาณของไทย จึงไม่เป็นหนังสือสัญญาที่ต้องขอความเห็นชอบจากรัฐสภา ตามมาตรา 190 แต่อย่างใด
"ผมยืนยันว่า รัฐบาลภายใต้การนำของน.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี ไม่ได้ดื้อดึง เมื่อมีข้อท้วงติงจึงได้อาศัยรัฐสภาว่ามีความเห็นอย่างไร โดยอาศัยมาตรา 179 อยากกราบขอความกรุณา ถ้าเพื่อนสมาชิกรัฐสภาได้ศึกษาสาระสำคัญเรื่องนี้ ว่าไม่เข้าเกณฑ์ตามรัฐธรรมนูญมา ตรา190 ท่านกรุณายืนยันเถอะครับว่า ไม่เข้า และจะเสนอแนะเพิ่มเติมอย่างไรก็ช่าง แต่ถ้าท่านมั่นใจว่าใช่ ก็ยืนยันมาด้วยเสียงข้างมากว่าเข้าตามบทบัญญัติรัฐธรรมนูญ มาตรา 190 รัฐบาลจะได้ดำเนินการเอามาเข้ารัฐสภา ตามมาตรา 190 ต่อไป" ร.ต.อ.เฉลิม กล่าว
** ยกเลิกนาซาเป็นรัฐบาลตัดสินใจเอง
นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ ผู้นำฝ่ายค้านในสภาผู้แทนราษฎร กล่าวว่า ตามมาตรา 179 เป็นช่องทางที่รัฐบาลจะมาหารือกับรัฐสภา เกี่ยวกับเรื่องที่จะมีผลกระทบกับประเทศ แต่แปลกใจที่ ร.ต.อ.เฉลิม กล่าวติติงว่าน่าเสียดายที่ไทยพลาดโครงการนี้ เพราะมีการบิดเบือน และมีการนำเรื่องนี้มาพูดในรัฐสภา ทั้งที่จบไปแล้ว เลยไม่ทราบว่า ต้องการรับฟังเรื่องอะไร
นายอภิสิทธิ์ กล่าวว่าโครงการที่ปรากฏออกมาต่อสาธารณชน ที่จะมีการวิจัย ศึกษาเรื่องการก่อตัวของเมฆ ภูมิอากาศในภูมิภาคนี้ ไม่มีใครปฏิเสธว่าไม่มีประโยชน์ แต่การดำเนินการมีผลข้างเคียง หรือมีข้อเท็จจริงบางอย่างที่มีผลกระทบหรือไม่ เป็นเรื่องที่ต้องพิจารณาอย่างรอบคอบ การที่รองนายกฯ ลุกขึ้นมากล่าวหาว่า ใครก็ตามวิจารณ์เรื่องนี้เป็นคนบิดเบือน แต่หน่วยงานของรัฐเองก็มีความเป็นห่วงต่อผลกระทบต่อความมั่นคง และความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ หากเรื่องนี้เป็นเรื่องน่าเสียดาย เสียประโยชน์ ถามว่าใครเป็นคนตัดสินใจไม่อนุมัติให้มาดำเนินการ เพราะครม.เป็นผู้ตัดสินใจเรื่องนี้ ก็ต้องไปตำหนิครม.เอง โดยเพราะอย่างยิ่งการแสดงความมั่นใจว่า ไม่เกี่ยวกับมาตรา 190 และตัดสินใจไม่อนุญาต ก็ต้องรับผิดชอบต่อการตัดสินใจนั้น
**"มาร์ค"สอนกฎหมาย"ดร.เหลิม"
แต่ปัญหาที่เกิดขึ้นคือ โครงการนี้เสนอมา และมีเงื่อนเวลาเฉพาะ และรัฐบาลทราบมาตั้งแต่ปีที่แล้ว แต่ทำไมไม่ชี้แจงต่อสาธารณะจนมีปัญหาการเตรียมอุปกรณ์ต่างๆ มาแล้ว และเขาต้องการคำยืนยันก่อน แต่เมื่อรัฐบาลไม่สามารถบริหารจัดการได้ และตัดสินใจไม่อนุญาต เขาก็ยกเลิกโครงการนี้ไป ขณะที่รมว.วิทยาศาตร์ฯ ได้เสนออีกเรื่องเข้าสู่ครม. ซึ่งมีลักษณะคล้ายคลึงกัน โดยใช้นักวิทยาศาสตร์ของไทย และขอกรอบวงเงินงบประมาณจากครม.นั้น มีความคืบหน้าอย่างไร เพราะมีกระแสข่าวว่า จะมีการนำโครงนี้ไปเจรจากับนาซ่าอีกครั้ง ว่าอาจจะลองสำรวจในปีหน้า
" เราต้องการความชัดเจนก่อนว่า รัฐบาลจะขออะไรในสภา เพราะสิ่งที่กล่าวมาตามเอกสารอ้างอิงมันหมดอายุไปแล้ว แต่ถ้าจะมาขอรับฟังความเห็นเรื่องโครงการในปีหน้า ข้อเท็จจริงของโครงการอยู่ที่ไหน เพราะวาระการประชุมให้กระดาษมาแผ่นเดียว จะเหมือนเดิมหรือไม่ ไม่มีใครทราบ ดังนั้นอยากให้รัฐบาลชี้แจงให้ชัดเจน ว่า เรื่องอะไร ครอบคลุมไปถึงการใช้สนามบินอู่ตะเภา หรือไม่ เพราะปัจจุบันรัฐบาลก็มีแนวทางเจรจากับสหรัฐฯ ที่จะใช้สนามบินอู่ตะเภาเพื่อเป็นศูนย์ในการบริหารจัดการช่วยเหลือในกรณีเกิดภัยพิบัติในภูมิภาค ต้องย้ำให้ชัด คงไม่มีประโยชน์ที่จะมาฟังเรื่องในอดีตที่ยกเลิกไปแล้ว และถ้าจะมาถามความเห็นว่า กรณีนี้เข้า มาตรา 190 หรือไม่ ไม่ใช่อำนาจหน้าที่รัฐสภา แต่เป็นอำนาจขององค์กรอื่นที่จะวินิจฉัย และการเปิดอภิปรายตาม มาตรา 179 รัฐธรรมนูญ ระบุชัดว่า ไม่มีการลงมติ ร.ต.อ.เฉลิม เป็นนักกฎหมาย น่าจะเข้าใจอยู่แล้ว" นายอภิสิทธิ์ กล่าว
ขณะที่นายสมศักดิ์ เกียรติสุรนนท์ ประธานรัฐสภา ซึ่งทำหน้าที่ประธานการประชุม กล่าวว่า เรื่องนี้เป็นการเสนอเข้ามาเพื่อหารือสมาชิกรัฐสภา ตามมาตรา 179 กรณีประเด็นที่ขอให้มีการลงมติว่า เกี่ยวข้องกับมาตรา 190 หรือไม่ จะมีการลงมติไม่ได้ เพราะอยู่นอกเหนืออำนาจของรัฐสภาจะทำได้ แค่หารือกรอบความเห็นสมาชิกเท่านั้น
" เรื่องจะให้สมาชิกพิจารณาว่า เข้าข่ายมาตรา 190 หรือไม่นั้น คงไม่ได้ เพราะเป็นหน้าที่ของรัฐบาล ถ้าเห็นว่าเข้าข่ายก็เสนอเข้ามาสภาเอง วันนี้คงเป็นเรื่องการขอฟังความเห็นของสมาชิก ว่าเห็นควรให้ดำเนินโครงการนี้ต่อไปหรือไม่ เท่านั้น"
** จวกรบ.มักง่ายใช้กระดาษแผ่นเดียว
นายตวง อันทะไชย ส.ว.กล่าวว่า รัฐบาลทำมักง่าย ทำโครงการใหม่ แต่ไม่ยอมทำรายละเอียด เอาเอกสารเก่าแผ่นเดียวมาให้สมาชิก รัฐบาลต้องกล้าให้สภาดูเอกสารรายละเอียด บทความคิดเห็น รวมถึงข้อกังวลต่างๆของสังคม เช่น ความมั่นคงภายในและภายนอกประเทศ หรือความสัมพันธ์ระหว่างจีน ว่าจะทำอย่างไรกับมหาอำนาจสองประเทศ ระหว่าง จีนกับสหรัฐฯ และต้องแสดงให้เห็นว่าหากทำโครงการนี้แล้ว จะมีอะไรมากกว่านี้ เช่น น้ำจะท่วมกทม.หรือไม่ และเมื่อเสร็จสิ้นกระบวนการตาม มาตรา179 ประชาชนจะมีส่วนร่วมโดยตรงอย่างไรกับการตัดสินใจของรัฐบาล จะโมเมว่าสภาเห็นชอบไม่ได้ ขอดูสาระสำคัญของหนังสือเอกอัครราชทูตสหรัฐฯ ว่ามันคืออะไรที่ทำให้รัฐบาลต้องเอาโครงการเก่า มาทำใหม่
อย่างไรก็ตามสมาชิกได้มีการอภิปรายกันอย่างกว้างขวาง โดยสมาชิกบางคนได้พูดถึงผลประโยชน์มหาศาลแอบแฝงที่บางกลุ่มบางคนจะได้รับจากโครงการดังกล่าว ขณะที่สมาชิกหลายคนได้แสดงความเป็นห่วงต่อปัญหาที่อาจจะกระทบต่อความสัมพันธ์ระหว่างไทย กับ จีน ซึ่งเป็นประเทศมหาอำนาจ และมีการถ่วงดุลอำนาจกับสหรัฐฯ หากไทยยอมให้นาซ่า เข้ามาดำเนินการก็จะทำให้ประเทศจีน เกิดความหวาดระแวงกับสหรัฐฯ และไม่พึงพอใจกับท่าทีของไทยได้ แม้นายปลอดประสพ จะยืนยันว่า องค์การนาซ่า ไม่เกี่ยวข้องกับกลาโหมสหรัฐฯ แต่ในข้อเท็จจริงที่ปรากฏหลายครั้งเห็นได้ชัดว่า ไม่เป็นความจริง จึงเป็นการพูดความจริงไม่หมด
ขณะที่ส.ส.พรรคเพื่อไทย ต่างอภิปรายสนับสนุนให้ดำเนินโครงการดังกล่าว เพราะเป็นประโยชน์ต่อประเทศชาติ แต่มีความพยายามเบี่ยงเบนให้เป็นประเด็นการเมือง ทำให้ไทยสูญเสียศักยภาพการพัฒนาทางวิทยาศาสตร์
***ปูดเอกสารเผยทหารระแวงนาซ่า
นายถาวร เสนเนียม สส.สงขลา พรรคประชาธิปัตย์ อภิปรายว่า มีเอกสารประชุมของหน่วยงานที่เกี่ยวข้องของไทยร่วมกับตัวแทนของนาซ่า คือ ดร.ฮาว มาร์ริง (Dr.Hal Maring) เมื่อวันที่ 27 ม.ค.2555 ที่กระทรวงการต่างประเทศ พบว่ามีความข้อห่วงใยจากสำนักสภาความมั่นคงแห่งชาติ (สมช.)ว่าสหรัฐฯควรทำความเข้าใจประเทศในภูมิภาคนี้โดยเฉพาะจีนกับอินเดียที่คงจะไม่ละเลยเรื่องนี้ เพราะมีขอบเขตการบินไปถึงบังคลาเทศ เนปาล และ ทะเลจีนใต้ รวมทั้งสงสัยเรื่องแหล่งพลังงานในภูมิภาคนี้เพราะการสำรวจอากาศต้องใช้สหวิทยาการแต่พบว่ามีชื่อของบริษัท เชฟรอนร่วมอยู่ด้วย ซึ่งเป็นบริษัทสัญชาติอเมริกันที่มีสัมปทานขุดเจาะพลังงานในไทย ปรากฏว่า ดร.ฮาว ไม่ได้ตอบคำถามเหล่านี้เลย
นายถาวร กล่าวว่า เช่นเดียวกับ สำนักนโยบายและแผนกระทรวงกลาโหมให้ข้อสังเกตว่าเห็นด้วยกับความเห็นของสมช.แต่นาซายังไม่ให้ความมั่นใจว่าการสำรวจดังกล่าวจะไม่เกี่ยวกับภารกิจทางทหาร อาจส่งผลทางทหารและต่อภูมิภาคได้ จึงต้องขอให้สหรัฐฯให้ความมั่นใจว่าจะไม่สร้างความหวาดระแวง
"นอกจากนี้ยังมีเอกสารลงวันที่ 28 ก.ค.2554 ลงนามโดยพล.อ.บัณฑูร ติปยานนท์ ผู้อำนวยการสำนักนโยบายและแผน กระทรวงกลาโหม ซึ่งส่งไปยังปลัดกระทรวงกลาโหมระบุว่า ความขัดแย้งในทะเลจีนใต้และทรัพยากรธรรมชาติในอ่าวไทย ซึ่งเป็นประเด็นข้อพิพาทกับประเทศเพื่อนบ้าน อีกทั้งบริษัทน้ำมันรายใหญ่ได้เข้ามามีผลประโยชน์แทบทั้งสิ้นแม้ว่านาซ่าจะทำงานในด้านวิทยาศาสตร์แต่ในบางกรณีก็ทำงานได้ด้านรักษาความมั่นคงและความปลอดภัยของสหรัฐฯ และ ข้อมูลที่สำรวจได้อาจถูกนำไปใช้ในทางที่ไม่ตรงกับวัตถุประสงค์เนื่องจากเป็นโครงการวิทยาศาสตร์ที่ข้อมูลส่วนใหญ่จะได้รับการเปิดเผยและนาซ่าเองก็ไม่สามารถรับรองความปลอดภัยของข้อมูลได้ว่าจะไม่มีการนำไปใช้ในทางที่ผิดจากผู้ไม่หวังดี"นายถาวร กล่าว
การประชุมร่วมรัฐสภาเมื่อวานนี้ (2 ต.ค.) ได้มีการพิจารณาวาระเรื่องด่วน ขอเปิดอภิปรายทั่วไปในที่ประชุมร่วมกันของรัฐสภา เพื่อพิจารณาเรื่องการอนุญาตให้องค์การบริหารการบินและอวกาศแห่งชาติสหรัฐอเมริกา (นาซา) เข้ามาดำเนินโครงการศึกษาการก่อตัวของเมฆที่มีผลกระทบต่อสภาพภูมิอากาศในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ในประเทศไทย ตามมาตรา 179 ของรัฐธรรมนูญ
** "เหลิม"มั่วนิ่มกะยืมมือสมาชิกโหวต
ร.ต.อ.เฉลิม อยู่บำรุง รองนายกรัฐมนตรี ในฐานะตัวแทนคณะรัฐมนตรี กล่าวว่า ที่ผ่านมามีการวิเคราะห์โครงการดังกล่าวเป็นหนังสือสัญญาตามรัฐธรรมนูญ มาตรา 190 หรือไม่ ซึ่งรัฐบาลไทยได้พิจารณา โดยยึดแนวบรรทัดฐานของศาลรัฐธรรมนูญแล้วคิดว่า หนังสือแลกเปลี่ยนโครงการระหว่างไทยกับสหรัฐอเมริกา เป็นเพียงความร่วมมือทางวิทยาศาสตร์เพื่อศึกษาทำความเข้าใจเกี่ยวภูมิอากาศ ไม่ได้มีผลเปลี่ยนอาณาเขตประเทศไทย โดยนาซาต้องเสนอแผนการบินให้กับไทย พร้อมกับปฎิบัติตามกฎหมายของไทยอย่างเคร่งครัด และใช้พื้นที่ในระยะเวลาจำกัดระหว่างเดือนส.ค. และก.ย.55 ที่สำคัญไม่ได้ใช้งบประมาณของไทย จึงไม่เป็นหนังสือสัญญาที่ต้องขอความเห็นชอบจากรัฐสภา ตามมาตรา 190 แต่อย่างใด
"ผมยืนยันว่า รัฐบาลภายใต้การนำของน.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี ไม่ได้ดื้อดึง เมื่อมีข้อท้วงติงจึงได้อาศัยรัฐสภาว่ามีความเห็นอย่างไร โดยอาศัยมาตรา 179 อยากกราบขอความกรุณา ถ้าเพื่อนสมาชิกรัฐสภาได้ศึกษาสาระสำคัญเรื่องนี้ ว่าไม่เข้าเกณฑ์ตามรัฐธรรมนูญมา ตรา190 ท่านกรุณายืนยันเถอะครับว่า ไม่เข้า และจะเสนอแนะเพิ่มเติมอย่างไรก็ช่าง แต่ถ้าท่านมั่นใจว่าใช่ ก็ยืนยันมาด้วยเสียงข้างมากว่าเข้าตามบทบัญญัติรัฐธรรมนูญ มาตรา 190 รัฐบาลจะได้ดำเนินการเอามาเข้ารัฐสภา ตามมาตรา 190 ต่อไป" ร.ต.อ.เฉลิม กล่าว
** ยกเลิกนาซาเป็นรัฐบาลตัดสินใจเอง
นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ ผู้นำฝ่ายค้านในสภาผู้แทนราษฎร กล่าวว่า ตามมาตรา 179 เป็นช่องทางที่รัฐบาลจะมาหารือกับรัฐสภา เกี่ยวกับเรื่องที่จะมีผลกระทบกับประเทศ แต่แปลกใจที่ ร.ต.อ.เฉลิม กล่าวติติงว่าน่าเสียดายที่ไทยพลาดโครงการนี้ เพราะมีการบิดเบือน และมีการนำเรื่องนี้มาพูดในรัฐสภา ทั้งที่จบไปแล้ว เลยไม่ทราบว่า ต้องการรับฟังเรื่องอะไร
นายอภิสิทธิ์ กล่าวว่าโครงการที่ปรากฏออกมาต่อสาธารณชน ที่จะมีการวิจัย ศึกษาเรื่องการก่อตัวของเมฆ ภูมิอากาศในภูมิภาคนี้ ไม่มีใครปฏิเสธว่าไม่มีประโยชน์ แต่การดำเนินการมีผลข้างเคียง หรือมีข้อเท็จจริงบางอย่างที่มีผลกระทบหรือไม่ เป็นเรื่องที่ต้องพิจารณาอย่างรอบคอบ การที่รองนายกฯ ลุกขึ้นมากล่าวหาว่า ใครก็ตามวิจารณ์เรื่องนี้เป็นคนบิดเบือน แต่หน่วยงานของรัฐเองก็มีความเป็นห่วงต่อผลกระทบต่อความมั่นคง และความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ หากเรื่องนี้เป็นเรื่องน่าเสียดาย เสียประโยชน์ ถามว่าใครเป็นคนตัดสินใจไม่อนุมัติให้มาดำเนินการ เพราะครม.เป็นผู้ตัดสินใจเรื่องนี้ ก็ต้องไปตำหนิครม.เอง โดยเพราะอย่างยิ่งการแสดงความมั่นใจว่า ไม่เกี่ยวกับมาตรา 190 และตัดสินใจไม่อนุญาต ก็ต้องรับผิดชอบต่อการตัดสินใจนั้น
**"มาร์ค"สอนกฎหมาย"ดร.เหลิม"
แต่ปัญหาที่เกิดขึ้นคือ โครงการนี้เสนอมา และมีเงื่อนเวลาเฉพาะ และรัฐบาลทราบมาตั้งแต่ปีที่แล้ว แต่ทำไมไม่ชี้แจงต่อสาธารณะจนมีปัญหาการเตรียมอุปกรณ์ต่างๆ มาแล้ว และเขาต้องการคำยืนยันก่อน แต่เมื่อรัฐบาลไม่สามารถบริหารจัดการได้ และตัดสินใจไม่อนุญาต เขาก็ยกเลิกโครงการนี้ไป ขณะที่รมว.วิทยาศาตร์ฯ ได้เสนออีกเรื่องเข้าสู่ครม. ซึ่งมีลักษณะคล้ายคลึงกัน โดยใช้นักวิทยาศาสตร์ของไทย และขอกรอบวงเงินงบประมาณจากครม.นั้น มีความคืบหน้าอย่างไร เพราะมีกระแสข่าวว่า จะมีการนำโครงนี้ไปเจรจากับนาซ่าอีกครั้ง ว่าอาจจะลองสำรวจในปีหน้า
" เราต้องการความชัดเจนก่อนว่า รัฐบาลจะขออะไรในสภา เพราะสิ่งที่กล่าวมาตามเอกสารอ้างอิงมันหมดอายุไปแล้ว แต่ถ้าจะมาขอรับฟังความเห็นเรื่องโครงการในปีหน้า ข้อเท็จจริงของโครงการอยู่ที่ไหน เพราะวาระการประชุมให้กระดาษมาแผ่นเดียว จะเหมือนเดิมหรือไม่ ไม่มีใครทราบ ดังนั้นอยากให้รัฐบาลชี้แจงให้ชัดเจน ว่า เรื่องอะไร ครอบคลุมไปถึงการใช้สนามบินอู่ตะเภา หรือไม่ เพราะปัจจุบันรัฐบาลก็มีแนวทางเจรจากับสหรัฐฯ ที่จะใช้สนามบินอู่ตะเภาเพื่อเป็นศูนย์ในการบริหารจัดการช่วยเหลือในกรณีเกิดภัยพิบัติในภูมิภาค ต้องย้ำให้ชัด คงไม่มีประโยชน์ที่จะมาฟังเรื่องในอดีตที่ยกเลิกไปแล้ว และถ้าจะมาถามความเห็นว่า กรณีนี้เข้า มาตรา 190 หรือไม่ ไม่ใช่อำนาจหน้าที่รัฐสภา แต่เป็นอำนาจขององค์กรอื่นที่จะวินิจฉัย และการเปิดอภิปรายตาม มาตรา 179 รัฐธรรมนูญ ระบุชัดว่า ไม่มีการลงมติ ร.ต.อ.เฉลิม เป็นนักกฎหมาย น่าจะเข้าใจอยู่แล้ว" นายอภิสิทธิ์ กล่าว
ขณะที่นายสมศักดิ์ เกียรติสุรนนท์ ประธานรัฐสภา ซึ่งทำหน้าที่ประธานการประชุม กล่าวว่า เรื่องนี้เป็นการเสนอเข้ามาเพื่อหารือสมาชิกรัฐสภา ตามมาตรา 179 กรณีประเด็นที่ขอให้มีการลงมติว่า เกี่ยวข้องกับมาตรา 190 หรือไม่ จะมีการลงมติไม่ได้ เพราะอยู่นอกเหนืออำนาจของรัฐสภาจะทำได้ แค่หารือกรอบความเห็นสมาชิกเท่านั้น
" เรื่องจะให้สมาชิกพิจารณาว่า เข้าข่ายมาตรา 190 หรือไม่นั้น คงไม่ได้ เพราะเป็นหน้าที่ของรัฐบาล ถ้าเห็นว่าเข้าข่ายก็เสนอเข้ามาสภาเอง วันนี้คงเป็นเรื่องการขอฟังความเห็นของสมาชิก ว่าเห็นควรให้ดำเนินโครงการนี้ต่อไปหรือไม่ เท่านั้น"
** จวกรบ.มักง่ายใช้กระดาษแผ่นเดียว
นายตวง อันทะไชย ส.ว.กล่าวว่า รัฐบาลทำมักง่าย ทำโครงการใหม่ แต่ไม่ยอมทำรายละเอียด เอาเอกสารเก่าแผ่นเดียวมาให้สมาชิก รัฐบาลต้องกล้าให้สภาดูเอกสารรายละเอียด บทความคิดเห็น รวมถึงข้อกังวลต่างๆของสังคม เช่น ความมั่นคงภายในและภายนอกประเทศ หรือความสัมพันธ์ระหว่างจีน ว่าจะทำอย่างไรกับมหาอำนาจสองประเทศ ระหว่าง จีนกับสหรัฐฯ และต้องแสดงให้เห็นว่าหากทำโครงการนี้แล้ว จะมีอะไรมากกว่านี้ เช่น น้ำจะท่วมกทม.หรือไม่ และเมื่อเสร็จสิ้นกระบวนการตาม มาตรา179 ประชาชนจะมีส่วนร่วมโดยตรงอย่างไรกับการตัดสินใจของรัฐบาล จะโมเมว่าสภาเห็นชอบไม่ได้ ขอดูสาระสำคัญของหนังสือเอกอัครราชทูตสหรัฐฯ ว่ามันคืออะไรที่ทำให้รัฐบาลต้องเอาโครงการเก่า มาทำใหม่
อย่างไรก็ตามสมาชิกได้มีการอภิปรายกันอย่างกว้างขวาง โดยสมาชิกบางคนได้พูดถึงผลประโยชน์มหาศาลแอบแฝงที่บางกลุ่มบางคนจะได้รับจากโครงการดังกล่าว ขณะที่สมาชิกหลายคนได้แสดงความเป็นห่วงต่อปัญหาที่อาจจะกระทบต่อความสัมพันธ์ระหว่างไทย กับ จีน ซึ่งเป็นประเทศมหาอำนาจ และมีการถ่วงดุลอำนาจกับสหรัฐฯ หากไทยยอมให้นาซ่า เข้ามาดำเนินการก็จะทำให้ประเทศจีน เกิดความหวาดระแวงกับสหรัฐฯ และไม่พึงพอใจกับท่าทีของไทยได้ แม้นายปลอดประสพ จะยืนยันว่า องค์การนาซ่า ไม่เกี่ยวข้องกับกลาโหมสหรัฐฯ แต่ในข้อเท็จจริงที่ปรากฏหลายครั้งเห็นได้ชัดว่า ไม่เป็นความจริง จึงเป็นการพูดความจริงไม่หมด
ขณะที่ส.ส.พรรคเพื่อไทย ต่างอภิปรายสนับสนุนให้ดำเนินโครงการดังกล่าว เพราะเป็นประโยชน์ต่อประเทศชาติ แต่มีความพยายามเบี่ยงเบนให้เป็นประเด็นการเมือง ทำให้ไทยสูญเสียศักยภาพการพัฒนาทางวิทยาศาสตร์
***ปูดเอกสารเผยทหารระแวงนาซ่า
นายถาวร เสนเนียม สส.สงขลา พรรคประชาธิปัตย์ อภิปรายว่า มีเอกสารประชุมของหน่วยงานที่เกี่ยวข้องของไทยร่วมกับตัวแทนของนาซ่า คือ ดร.ฮาว มาร์ริง (Dr.Hal Maring) เมื่อวันที่ 27 ม.ค.2555 ที่กระทรวงการต่างประเทศ พบว่ามีความข้อห่วงใยจากสำนักสภาความมั่นคงแห่งชาติ (สมช.)ว่าสหรัฐฯควรทำความเข้าใจประเทศในภูมิภาคนี้โดยเฉพาะจีนกับอินเดียที่คงจะไม่ละเลยเรื่องนี้ เพราะมีขอบเขตการบินไปถึงบังคลาเทศ เนปาล และ ทะเลจีนใต้ รวมทั้งสงสัยเรื่องแหล่งพลังงานในภูมิภาคนี้เพราะการสำรวจอากาศต้องใช้สหวิทยาการแต่พบว่ามีชื่อของบริษัท เชฟรอนร่วมอยู่ด้วย ซึ่งเป็นบริษัทสัญชาติอเมริกันที่มีสัมปทานขุดเจาะพลังงานในไทย ปรากฏว่า ดร.ฮาว ไม่ได้ตอบคำถามเหล่านี้เลย
นายถาวร กล่าวว่า เช่นเดียวกับ สำนักนโยบายและแผนกระทรวงกลาโหมให้ข้อสังเกตว่าเห็นด้วยกับความเห็นของสมช.แต่นาซายังไม่ให้ความมั่นใจว่าการสำรวจดังกล่าวจะไม่เกี่ยวกับภารกิจทางทหาร อาจส่งผลทางทหารและต่อภูมิภาคได้ จึงต้องขอให้สหรัฐฯให้ความมั่นใจว่าจะไม่สร้างความหวาดระแวง
"นอกจากนี้ยังมีเอกสารลงวันที่ 28 ก.ค.2554 ลงนามโดยพล.อ.บัณฑูร ติปยานนท์ ผู้อำนวยการสำนักนโยบายและแผน กระทรวงกลาโหม ซึ่งส่งไปยังปลัดกระทรวงกลาโหมระบุว่า ความขัดแย้งในทะเลจีนใต้และทรัพยากรธรรมชาติในอ่าวไทย ซึ่งเป็นประเด็นข้อพิพาทกับประเทศเพื่อนบ้าน อีกทั้งบริษัทน้ำมันรายใหญ่ได้เข้ามามีผลประโยชน์แทบทั้งสิ้นแม้ว่านาซ่าจะทำงานในด้านวิทยาศาสตร์แต่ในบางกรณีก็ทำงานได้ด้านรักษาความมั่นคงและความปลอดภัยของสหรัฐฯ และ ข้อมูลที่สำรวจได้อาจถูกนำไปใช้ในทางที่ไม่ตรงกับวัตถุประสงค์เนื่องจากเป็นโครงการวิทยาศาสตร์ที่ข้อมูลส่วนใหญ่จะได้รับการเปิดเผยและนาซ่าเองก็ไม่สามารถรับรองความปลอดภัยของข้อมูลได้ว่าจะไม่มีการนำไปใช้ในทางที่ผิดจากผู้ไม่หวังดี"นายถาวร กล่าว