นายยศวัจน์ ชัยวัฒนสิริกุล กรรมการบริหารและผู้แทนเกษตรกรภาคกลาง กองทุนฟื้นฟูและพัฒนาเกษตรกร (กฟก.)เปิดเผยความคืบหน้า กรณีเกษตรประมาณ 9 พันคน มาชุมนุมกันที่กระทรวงการคลัง เพื่อเรียกร้องให้มีการปรับเปลี่ยนเงื่อนไขการปรับโครงสร้างหนี้และฟื้นฟูเกษตรกร ตามมติ ครม.เมื่อวันที่ 7 เมษายน 2553 และ 8 กุมภาพันธ์ 2554 ว่า ล่าสุด ตัวแทนเกษตรกรสามารถตกลงกับกระทรวงการคลัง ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตรได้แล้ว โดยจะมีการลงนามในบันทึกข้อตกลงเรื่องการแก้ไขปัญหาหนี้ของเกษตรกร ในวันนี้ (24 ก.ย.)
ตามมติ ครม.เมื่อวันที่ 7 เม.ยมีหลักการสำคัญคืออนุมัติให้มีการแก้ไขปัญหาหนี้และฟื้นฟูอาชีพเกษตรกร จำนวนประมาณ 510,000 ราย โดยเกษตรกรที่เป็นหนี้ไม่ก่อให้เกิดรายได้ (NPL) และเป็นสมาชิกกองทุนฟื้นฟูและพัฒนาเกษตรกรนั้น ให้พักชำระเงินต้นครึ่งหนึ่งและดอกเบี้ยทั้งหมดไว้ก่อน โดยให้เกษตรกรผ่อนชำระหนี้ต้นเงินที่เหลืออีกครึ่งหนึ่งตามงวดและระยะเวลาที่ตกลงกันแต่ไม่เกิน 15 ปี อย่างไรก็ตาม ในรายละเอียดเงื่อนไขการผ่อนชำระ 15 ปีนั้น มีหลายเงื่อนไขที่เกษตรกรไม่สามารถปฏิบัติตามได้ เช่น ไม่มีการยกเว้นการผ่อนชำระกรณีเกิดภัยธรรมชาติจนผลผลิตเสียหาย
พบว่านโยบายของทุนฯ มักจะล้อไปตาม ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร(ธ.ก.ส.)ที่เป็นเจ้าหนี้เดิม ทำให้มีเกษตรกรเข้าร่วมโครงการปรับโครงสร้างหนี้ตามนโยบายรัฐบาลเพียง 5,103 ราย จากทั้งหมด 5 แสนกว่าราย เนื่องจากเกษตรกรไม่ต้องการอยู่กับเจ้าหนี้เดิม ซึ่งล่าสุดฝ่ายประสานงานได้เจรจากับตัวแทนกระทรวงการคลัง และ ธ.ก.ส. จนเห็นพ้องกันแล้ว โดยตัวแทน 4 ฝ่าย ประกอบด้วย ตัวแทน กฟก. ตัวแทน ธ.ก.ส. ผู้แทนเกษตรกรในคณะกรรมการ กฟก. และตัวแทนเกษตรกร จะมีลงนามกันในวันที่ 24 ก.ย.นี้ ซึ่งข้อตกลงดังกล่าวจะนำไปสู่การตัดหนี้สูญสำหรับลูกหนี้ที่เสียชีวิตออกไป และมีการฟื้นฟูอาชีพเกษตรกรอย่างมีคุณภาพตามความสมัครใจของเกษตรกร
สำหรับเนื้อหาในบันทึกข้อตกลงดังกล่าวมีทั้งหมด 4 ข้อ สรุปใจความสำคัญคือ 1.ธ.ก.ส.ต้องไม่ฟ้องคดี เว้นแต่ใกล้ครบกำหนดอายุความ(ก่อนครบกำหนดอายุความเป็นเวลา 2 ปี) 2.ธ.ก.ส.ต้องงดการยึดทรัพย์ บังคับคดี หรือขายทอดตลาดหลักทรัพย์ เว้นแต่คดีใกล้หมดอายุความบังคับคดี 3.ให้มีการแต่งตั้งคณะทำงานประกอบด้วย ผู้แทนกระทรวงการคลัง ผู้แทนสำนักงาน กฟก. ผู้แทนกระทรวงเกษตรฯ ผู้แทนเกษตรกร และตัวแทนเกษตรกร ในการศึกษาและตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูล และ 4.ธ.ก.ส.จะไม่กระทำการใดๆ อันเป็นการจำกัด หรือลิดรอนสิทธิประโยชน์หรือใช้ความพยายามในการสร้างเงื่อนไขสร้างแรงจูงใจ หรือบังคับ ตลอดจนใช้กลโกง ทางสังคมอื่นใด ยกขึ้นเป็นข้อต่อรองในการชำระหนี้ จากข้างต้นหากฝ่ายหนึ่งฝ่ายใดละเลย เพิกเฉย ฝ่าฝืนไม่ปฏิบัติตามข้อหนึ่งข้อใด ฝ่ายหนึ่งนำเอาข้อตกลงฉบับนี้แทนการแสดงเจตนาต่อศาล เพื่อให้ศาลมีคำสั่งตามบันทึกข้อตกลงฉบับนี้
กองทุนฟื้นฟูและพัฒนาเกษตรกรก่อตั้งมาตั้งแต่ปี 2542 ปัจจุบันมีเงินในกองทุนประมาณ 6 พันล้านบาท เมื่อรวมกับงบประมาณปี 2555 และได้ซื้อหนี้เกษตรกรจากสถาบันการเงินมาแล้ว 1.6 หมื่นราย แต่ก็ยังไม่สามารถเข้าสู่กระบวนการฟื้นฟูได้ โดยมีปัญหาสำคัญคือ การแต่งตั้งเลขาธิการกองทุนฯ ที่ไม่ถูกต้อง โดยเฉพาะนายสมยศ ภิราญคำ รักษาการเลขาธิการ ตามมาตรา 26 ของ พ.ร.บ.กองทุนฯ และยังมีข้อสงสัยเรื่องความโปร่งใสในการทำงาน มีคดีที่อยู่ระหว่างการตรวจสอบของสำนักงานการตรวจเงินแผ่นดิน(สตง.) และ สำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ(ปปช.) จึงอยากให้ตั้งคณะอนุกรรมการสอบสวนข้อเท็จจริง และให้พักงานนายสมยศไว้ก่อน
ตามมติ ครม.เมื่อวันที่ 7 เม.ยมีหลักการสำคัญคืออนุมัติให้มีการแก้ไขปัญหาหนี้และฟื้นฟูอาชีพเกษตรกร จำนวนประมาณ 510,000 ราย โดยเกษตรกรที่เป็นหนี้ไม่ก่อให้เกิดรายได้ (NPL) และเป็นสมาชิกกองทุนฟื้นฟูและพัฒนาเกษตรกรนั้น ให้พักชำระเงินต้นครึ่งหนึ่งและดอกเบี้ยทั้งหมดไว้ก่อน โดยให้เกษตรกรผ่อนชำระหนี้ต้นเงินที่เหลืออีกครึ่งหนึ่งตามงวดและระยะเวลาที่ตกลงกันแต่ไม่เกิน 15 ปี อย่างไรก็ตาม ในรายละเอียดเงื่อนไขการผ่อนชำระ 15 ปีนั้น มีหลายเงื่อนไขที่เกษตรกรไม่สามารถปฏิบัติตามได้ เช่น ไม่มีการยกเว้นการผ่อนชำระกรณีเกิดภัยธรรมชาติจนผลผลิตเสียหาย
พบว่านโยบายของทุนฯ มักจะล้อไปตาม ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร(ธ.ก.ส.)ที่เป็นเจ้าหนี้เดิม ทำให้มีเกษตรกรเข้าร่วมโครงการปรับโครงสร้างหนี้ตามนโยบายรัฐบาลเพียง 5,103 ราย จากทั้งหมด 5 แสนกว่าราย เนื่องจากเกษตรกรไม่ต้องการอยู่กับเจ้าหนี้เดิม ซึ่งล่าสุดฝ่ายประสานงานได้เจรจากับตัวแทนกระทรวงการคลัง และ ธ.ก.ส. จนเห็นพ้องกันแล้ว โดยตัวแทน 4 ฝ่าย ประกอบด้วย ตัวแทน กฟก. ตัวแทน ธ.ก.ส. ผู้แทนเกษตรกรในคณะกรรมการ กฟก. และตัวแทนเกษตรกร จะมีลงนามกันในวันที่ 24 ก.ย.นี้ ซึ่งข้อตกลงดังกล่าวจะนำไปสู่การตัดหนี้สูญสำหรับลูกหนี้ที่เสียชีวิตออกไป และมีการฟื้นฟูอาชีพเกษตรกรอย่างมีคุณภาพตามความสมัครใจของเกษตรกร
สำหรับเนื้อหาในบันทึกข้อตกลงดังกล่าวมีทั้งหมด 4 ข้อ สรุปใจความสำคัญคือ 1.ธ.ก.ส.ต้องไม่ฟ้องคดี เว้นแต่ใกล้ครบกำหนดอายุความ(ก่อนครบกำหนดอายุความเป็นเวลา 2 ปี) 2.ธ.ก.ส.ต้องงดการยึดทรัพย์ บังคับคดี หรือขายทอดตลาดหลักทรัพย์ เว้นแต่คดีใกล้หมดอายุความบังคับคดี 3.ให้มีการแต่งตั้งคณะทำงานประกอบด้วย ผู้แทนกระทรวงการคลัง ผู้แทนสำนักงาน กฟก. ผู้แทนกระทรวงเกษตรฯ ผู้แทนเกษตรกร และตัวแทนเกษตรกร ในการศึกษาและตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูล และ 4.ธ.ก.ส.จะไม่กระทำการใดๆ อันเป็นการจำกัด หรือลิดรอนสิทธิประโยชน์หรือใช้ความพยายามในการสร้างเงื่อนไขสร้างแรงจูงใจ หรือบังคับ ตลอดจนใช้กลโกง ทางสังคมอื่นใด ยกขึ้นเป็นข้อต่อรองในการชำระหนี้ จากข้างต้นหากฝ่ายหนึ่งฝ่ายใดละเลย เพิกเฉย ฝ่าฝืนไม่ปฏิบัติตามข้อหนึ่งข้อใด ฝ่ายหนึ่งนำเอาข้อตกลงฉบับนี้แทนการแสดงเจตนาต่อศาล เพื่อให้ศาลมีคำสั่งตามบันทึกข้อตกลงฉบับนี้
กองทุนฟื้นฟูและพัฒนาเกษตรกรก่อตั้งมาตั้งแต่ปี 2542 ปัจจุบันมีเงินในกองทุนประมาณ 6 พันล้านบาท เมื่อรวมกับงบประมาณปี 2555 และได้ซื้อหนี้เกษตรกรจากสถาบันการเงินมาแล้ว 1.6 หมื่นราย แต่ก็ยังไม่สามารถเข้าสู่กระบวนการฟื้นฟูได้ โดยมีปัญหาสำคัญคือ การแต่งตั้งเลขาธิการกองทุนฯ ที่ไม่ถูกต้อง โดยเฉพาะนายสมยศ ภิราญคำ รักษาการเลขาธิการ ตามมาตรา 26 ของ พ.ร.บ.กองทุนฯ และยังมีข้อสงสัยเรื่องความโปร่งใสในการทำงาน มีคดีที่อยู่ระหว่างการตรวจสอบของสำนักงานการตรวจเงินแผ่นดิน(สตง.) และ สำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ(ปปช.) จึงอยากให้ตั้งคณะอนุกรรมการสอบสวนข้อเท็จจริง และให้พักงานนายสมยศไว้ก่อน