ASTVผู้จัดการรายวัน - ปิดปากวิจารณ์รายงานคอป. “ปู”ยังกั๊ก! หลังยูเอ็นแนะให้ปฏิบัติตาม! โยน “ยงยุทธ”นำไปพิจารณาก่อน “สุกำพล”โบ้ยขออยู่ตรงกลางชายชุดดำ ไม่ก้าวล่วงทหาร “มาร์ค” ไล่ถามจุดยืน “เหวง” เยอะ! ชงล้ม-ค้านแปล“รายงานแดงเผาเมือง” เป็นภาษาอังกฤษ หวั่นโดนประจานทั่วโลก
วานนี้ (20 ก.ย.55) ที่รัฐสภา น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี ให้สัมภาษณ์ถึงกรณีที่สมาชิกพรรคเพื่อไทยไม่พอใจรายงานผลการศึกษาของคณะกรรมการอิสระตรวจสอบและค้นหาความจริงเพื่อการปรองดองแห่งชาติ (คอป. )ว่า คงต้องเอาผลการศึกษาไปหารือในรายละเอียด ซึ่งมีคณะกรรมการประสานงานและติดตามผลการดำเนินงานของ คอป. (ป.คอป.)ที่จะไปดูอยู่แล้ว อย่างไรก็ตามรายงานที่สรุปออกมาเป็นเพียงข้อเสนอ และข้อแนะนำ ซึ่งหน่วยงานที่เกี่ยวข้องก็คงต้องไปดูแนวทางปฏิบัติและการทำงานต่อไป และคงต้องใช้เวลาในการทำความเข้าใจ
ส่วนที่สมาชิกพรรคเพื่อไทยควรจะปล่อยให้เรื่องนี้เป็นไปตามกลไกดีกว่าหรือไม่ นายกรัฐมนตรี กล่าวว่า การแสดงความคิดเห็นเป็นสิทธิที่ทำได้ บางเรื่องเป็นขั้นตอนกฎหมาย ดังนั้นในทางปฏิบัติก็ต้องให้ผู้ที่รับไปดำเนินการแต่ละเรื่องได้พิจารณาและหาแนวทางการทำงานอีกครั้ง
ส่วนตัวของนายกรัฐมนตรียอมรับกับผลศึกษาของคอป.หรือไม่ น.ส.ยิ่งลักษณ์ กล่าวว่า ตนยังไม่ขอให้ความเห็น แต่ข้อแนะนำต่างๆ อะไรที่เราทำได้ก็ยินดีทำ เพราะจุดมุ่งหมายที่ทุกคนอยากเห็นคือความสงบสุข และการยอมรับ แต่ขณะนี้ทั้งหมดยังเป็นเพียงข้อเสนอ การที่จะทำให้คนยอมรับ ต้องให้เวลาในการพูดคุย และต้องให้ฝ่ายปฏิบัติได้ลงไปทำงานเพื่อให้แผนปฏิบัติเกิดขึ้นจริงก่อน จึงต้องให้กลไกของ ป.คอป.ไปทำความเข้าใจ และดูว่าจะมีแนวทางที่จะทำงานอย่างไร
กรณีที่ทางยูเอ็นชื่นชมรายงานของ คอป. และแนะนำให้รัฐบาลนำไปปฏิบัติตามนั้น นายกรัฐมนตรี กล่าวว่า เราก็ต้องนำไปให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องได้ศึกษาก่อน จากนั้นหน่วยงานที่เกี่ยวข้องก็คงจะทำความเห็นขึ้นมา อันไหนที่ปฏิบัติได้เราก็ยินดีอยู่แล้ว
ที่วิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักร (วปอ.)พล.อ.อ.สุกำพล สุวรรณทัต รมว.กลาโหม กล่าวว่า เป็นอีกแง่มุมหนึ่ง เพราะกรรมการชุดนี้ตั้งมาด้วยความถูกต้อง แต่ในเรื่องความคิดเห็นไม่ได้บังคับว่าจะต้องเป็นอย่างไร ซึ่งเป็นสิ่งที่ใครจะเชื่ออย่างไร และรัฐบาลจะไปดำเนินการอย่างไรถือเป็นความคิดเห็นเฉยๆ ตนไม่อยากแสดงความคิดเห็นมาก ขออยู่ตรงกลางแต่ก็ยอมรับว่าเป็นความเห็นอีกแง่ที่ต้องรับฟังไว้
กรณีที่คอป.สรุปว่า มีชายชุดดำเกี่ยวข้องในเหตุการณ์ พล.อ.อ.สุกำพล กล่าวว่า ทุกอย่างขึ้นอยู่ที่หลักฐาน เช่นชายชุดดำ ตนก็เห็นว่ามีรูปเหมือนกัน แต่ทาง คอป.บอกว่าชายชุดดำมีเยอะแยะ แต่จะพวกไหน ใคร อย่างไร ต้องว่ากันไปตามหลักฐานที่พิสูจน์ทราบกัน ซึ่งยังเป็นปริศนากันต่อไป อย่างไรก็ตามเรื่องนี้มีเจ้าหน้าที่ตามเรื่องอยู่แล้ว เป็นเรื่องที่ต้องว่ากันต่อไป แต่เมื่อใครได้ประโยชน์ก็มองแง่หนึ่ง ใครไม่ได้ประโยชน์ก็มองอีกแง่หนึ่ง เมื่อความคิดเห็นไม่ตรงกันจึงต้องออกมาอย่างนี้ ไม่อยากให้พูดกันว่าอันนี้ถูกหรือผิด เพราะมันไม่ดี
ส่วนกรณีที่ คอป.เสนอให้ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร เสียสละไม่กลับประเทศเหมือน นายปรีดี พนมยงค์ นั้น ถือว่าเป็นเหตุการณ์ที่คล้ายกัน แต่ไม่เหมือนกัน ต้องไปถาม พ.ต.ท.ทักษิณเองว่า ท่านจะว่าอย่างไร แต่ตนมองว่า ท่านเสียสละอยู่แล้ว ท่านทำเพื่อประเทศชาติ ไม่ได้ทำอะไรให้เสียหาย อะไรช่วยได้ก็ช่วยเท่านั้นเอง
นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ หัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ และผู้นำฝ่ายค้านในสภาผู้แทนราษฎร กล่าวถึงความคาดหวังจากผลสรุปของคอป.ว่า ได้ปรารภกับน.ส. ยิ่งลักษณ์ ไว้วันที่ไปทำเนียบฯก็ด้วยความห่วงใยเรื่องนี้ เขาได้สะท้อนมุมมองจากคนภายนอกที่เป็นชาวต่างประเทศที่มีความผูกพันกับประเทศไทย ได้ตั้งกลุ่มมาช่วยสนับสนุนงานของ คอป. มีคำถามสองประเด็นคือ 1. ปัญหาในอดีตที่ผ่านมาและเหตุการณ์ความรุนแรงจะต้องมีมาตรฐานของการมีคณะกรรมการอิสระแบบนี้ เพื่อตรวจสอบข้อเท็จจริง แล้วก็รับผิดชอบต่อสาธารณะ แล้วก็เผยแพร่ ความเป็นอิสระถือเป็นประเด็นสำคัญ เพราะกระบวนการนี้เป็นกระบวนการหนึ่งที่จะสร้างความเชื่อมั่นให้กับประเทศ นายมานิจ สุขสมจิตร คณะกรรมการ คอป.ได้เขียนบันทึกว่า ตอนพฤษภา 2535 ก็เคยมีการตั้งคณะกรรมการอย่างนี้ แต่รายงานนั้นแทบไม่มีใครได้เห็น แล้วก็ทำให้เกิดภาพลักษณ์มาตลอดว่า เวลาเกิดอะไรขึ้นในประเทศไทย ก็ไม่เอาบทเรียนมาดู ไม่มีการตรวจสอบ ไม่มีการทำอย่างเป็นระบบ คอป.จึงเป็นการพยายามที่จะสร้างบรรทัดฐานขึ้นมาใหม่ แล้วก็จะเห็นว่า องค์กรระหว่างประเทศก็ต้องการที่จะเห็นการใช้ประโยชน์จากคณะกรรมการอิสระแบบนี้
ประเด็นที่ 2 คนนอกมองเข้ามาประเทศไทยในช่วง 6-7 ปีที่ผ่านมา มองเห็นแต่ความขัดแย้งและสะท้อนให้เขาฟังว่า มีความหวังที่คณะกรรมการ คอป.ชุดนี้ เพราะรัฐบาลที่แล้วตั้งขึ้นมา และรัฐบาลนี้ประกาศยอมรับ เขามองเห็นว่าเป็นจุดร่วม เพราะเรื่องอื่นๆมองไม่ตรงกัน แต่คณะกรรมการชุดนี้เป็นจุดเดียวตั้งแต่มีการเลือกตั้งมา แล้วก็รัฐบาลก็ทำงานมาระยะหนึ่ง เขียนเป็นนโยบาย 2 ฝ่ายการเมืองได้ยอมรับกระบวนการนี้ จึงน่าจะเป็นจุดเริ่มต้นของการปรองดอง อย่างไรก็ตาม เมื่อรายงานออกมา คนก็อาจจะเห็นด้วยไม่เห็นด้วย ส่วนเขาเองก็ยังอ่านไม่หมด จึงไม่ได้บอกว่าเห็นด้วยหมดหรือไม่เห็นด้วยเสียทั้งหมด ถ้าตั้งใจอ่านแล้วก็ค่อยๆแกะไปในแต่ละเรื่อง แต่ละเหตุการณ์แต่ละช่วง ก็จะต้องเอาสิ่งเหล่านี้มาพูดคุยกันด้วยเหตุด้วยผล การยอมรับ คอป.ไม่ได้หมายความว่าทุกคนต้องเห็นด้วยกับคอป.ทั้งหมด แต่ก็ควรจะเริ่มต้นจากหลักคิดที่บอกว่า คอป.ก็ยอมรับ วันที่เขาแถลงเขาก็พูดเลยบอกว่า สิ่งที่เขานำเสนอมานั้นเขาก็เชื่อว่าอาจจะทุกฝ่ายอาจจะต้องมีจุดที่ไม่พอใจ
"ชุดความจริงที่ คอป.รวบรวมมา กับชุดความจริงซึ่งแต่ละฝ่ายถืออยู่ หรืออาจจะบางกรณีอาจจะฝังอยู่ จะเอาขึ้นมาดูแล้วก็หาจุดร่วมกันได้อย่างไร แต่ถ้าอะไรก็ตามซึ่งเป็นชุดความจริง ความเชื่อของตัวเอง เขาเขียนมาตรงก็บอกใช้ได้ เขียนมาไม่ตรงก็ประณาม ไม่ยอมรับ ดิสเครดิต กล่าวหากันไป ใส่ร้ายกันไปมา แล้วกระบวนการปรองดองจะเริ่มได้อย่างไร" นายอภิสิทธิ์กล่าว
ทั้งนี้รัฐบาลคงจะต้องแสดงจุดยืนที่ชัดเจน แล้วรัฐบาลก็คงต้องเป็นนายกฯ เพราะร.ต.อ. เฉลิม อยู่บำรุง รองนายกรัฐมนตรี ดูเหมือนจะพยายามจะปัดอย่างเดียว
อีกด้านนพ.เหวง โตจิราการ ส.ส.บัญชีรายชื่อ พรรคเพื่อไทย และแกนนำแนวร่วมประชาธิปไตยต่อต้านเผด็จการแห่งชาติ (นปช.) ยื่นหนังสือถึงนายยงยุทธ วิชัยดิษฐ รองนายกรัฐมนตรีและรมว.มหาดไทย ในฐานะประธานคณะกรรมการประสานงานและติดตามผลการดำเนินงานตามข้อเสนอแนะของคณะกรรมการอิสระตรวจสอบและค้นหาความจริงเพื่อการปรองดองแห่งชาติ(ปคอป.) เพื่อให้พิจารณาข้อสังเกตบางการในรายงานคอป.ที่อาจไม่ตรงกับความเป็นจริง ซึ่งสาเหตุที่รายงานของคอป.ฉบับนี้ไม่มีความน่าเชื่อถือด้วยเหตุผล 4 ประการ คือ
1.ไม่มีหลักฐานที่เป็นวิทยาศาสตร์ยืนยันข้อสรุปเกี่ยวกับการมีอยู่ของชายชุดดำในทุกข้อความที่กล่าวถึงชายชุดดำ และการปฎิบัติการของชายชุดดำ
2.ตั้งใจที่จะไม่ตรวจสอบและค้นหาความจริงเกี่ยวกับบทบาทในการสลายการชุมนุมของฝ่ายศูนย์อำนวยการแก้ไขสถานการณ์ฉุกเฉิน (ศอฉ.)
3.ตั้งใจที่จะอธิบายถึงความชอบธรรมที่ศอฉ.และรัฐบาลของนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะในการใช้กองทัพและอาวุธสงครามปราบปรามสลายการชุมนุมของคนเสื้อแดง
4.ตั้งใจละเลยที่จะไม่ค้นหาเกี่ยวกับการใช้ตึกสูงในบริเวณที่มีการสังหารประชาชน
"ดังนั้น ขอให้ปคอป.พิจารณาให้ตรวจสอบความถูกต้องและความน่าเชื่อถือด้วยพร้อมกับให้ระงับการเผยแพร่รายงานคอป.ในฉบับภาษาอังกฤษเพื่อป้องกันไม่ให้ต่างชาติเกิดความเข้าใจผิด"นพ.เหวงกล่าว
ด้านนายยงยุทธ กล่าวว่า น.ส.ยิ่งลักษณ์ ได้มอบหมายให้ดำเนินการพิจารณาของคอป.แล้ว เพราะฉะนั้นเมื่อได้รับข้อร้องเรียนของนพ.เหวง ทางปคอป.จะเร่งพิจารณาให้เร็วที่สุดพร้อมกับจะสั่งการให้กรมสารนิเทศแถลงทำความเข้าใจต่อนานาชาติด้วย
วานนี้ (20 ก.ย.55) ที่รัฐสภา น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี ให้สัมภาษณ์ถึงกรณีที่สมาชิกพรรคเพื่อไทยไม่พอใจรายงานผลการศึกษาของคณะกรรมการอิสระตรวจสอบและค้นหาความจริงเพื่อการปรองดองแห่งชาติ (คอป. )ว่า คงต้องเอาผลการศึกษาไปหารือในรายละเอียด ซึ่งมีคณะกรรมการประสานงานและติดตามผลการดำเนินงานของ คอป. (ป.คอป.)ที่จะไปดูอยู่แล้ว อย่างไรก็ตามรายงานที่สรุปออกมาเป็นเพียงข้อเสนอ และข้อแนะนำ ซึ่งหน่วยงานที่เกี่ยวข้องก็คงต้องไปดูแนวทางปฏิบัติและการทำงานต่อไป และคงต้องใช้เวลาในการทำความเข้าใจ
ส่วนที่สมาชิกพรรคเพื่อไทยควรจะปล่อยให้เรื่องนี้เป็นไปตามกลไกดีกว่าหรือไม่ นายกรัฐมนตรี กล่าวว่า การแสดงความคิดเห็นเป็นสิทธิที่ทำได้ บางเรื่องเป็นขั้นตอนกฎหมาย ดังนั้นในทางปฏิบัติก็ต้องให้ผู้ที่รับไปดำเนินการแต่ละเรื่องได้พิจารณาและหาแนวทางการทำงานอีกครั้ง
ส่วนตัวของนายกรัฐมนตรียอมรับกับผลศึกษาของคอป.หรือไม่ น.ส.ยิ่งลักษณ์ กล่าวว่า ตนยังไม่ขอให้ความเห็น แต่ข้อแนะนำต่างๆ อะไรที่เราทำได้ก็ยินดีทำ เพราะจุดมุ่งหมายที่ทุกคนอยากเห็นคือความสงบสุข และการยอมรับ แต่ขณะนี้ทั้งหมดยังเป็นเพียงข้อเสนอ การที่จะทำให้คนยอมรับ ต้องให้เวลาในการพูดคุย และต้องให้ฝ่ายปฏิบัติได้ลงไปทำงานเพื่อให้แผนปฏิบัติเกิดขึ้นจริงก่อน จึงต้องให้กลไกของ ป.คอป.ไปทำความเข้าใจ และดูว่าจะมีแนวทางที่จะทำงานอย่างไร
กรณีที่ทางยูเอ็นชื่นชมรายงานของ คอป. และแนะนำให้รัฐบาลนำไปปฏิบัติตามนั้น นายกรัฐมนตรี กล่าวว่า เราก็ต้องนำไปให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องได้ศึกษาก่อน จากนั้นหน่วยงานที่เกี่ยวข้องก็คงจะทำความเห็นขึ้นมา อันไหนที่ปฏิบัติได้เราก็ยินดีอยู่แล้ว
ที่วิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักร (วปอ.)พล.อ.อ.สุกำพล สุวรรณทัต รมว.กลาโหม กล่าวว่า เป็นอีกแง่มุมหนึ่ง เพราะกรรมการชุดนี้ตั้งมาด้วยความถูกต้อง แต่ในเรื่องความคิดเห็นไม่ได้บังคับว่าจะต้องเป็นอย่างไร ซึ่งเป็นสิ่งที่ใครจะเชื่ออย่างไร และรัฐบาลจะไปดำเนินการอย่างไรถือเป็นความคิดเห็นเฉยๆ ตนไม่อยากแสดงความคิดเห็นมาก ขออยู่ตรงกลางแต่ก็ยอมรับว่าเป็นความเห็นอีกแง่ที่ต้องรับฟังไว้
กรณีที่คอป.สรุปว่า มีชายชุดดำเกี่ยวข้องในเหตุการณ์ พล.อ.อ.สุกำพล กล่าวว่า ทุกอย่างขึ้นอยู่ที่หลักฐาน เช่นชายชุดดำ ตนก็เห็นว่ามีรูปเหมือนกัน แต่ทาง คอป.บอกว่าชายชุดดำมีเยอะแยะ แต่จะพวกไหน ใคร อย่างไร ต้องว่ากันไปตามหลักฐานที่พิสูจน์ทราบกัน ซึ่งยังเป็นปริศนากันต่อไป อย่างไรก็ตามเรื่องนี้มีเจ้าหน้าที่ตามเรื่องอยู่แล้ว เป็นเรื่องที่ต้องว่ากันต่อไป แต่เมื่อใครได้ประโยชน์ก็มองแง่หนึ่ง ใครไม่ได้ประโยชน์ก็มองอีกแง่หนึ่ง เมื่อความคิดเห็นไม่ตรงกันจึงต้องออกมาอย่างนี้ ไม่อยากให้พูดกันว่าอันนี้ถูกหรือผิด เพราะมันไม่ดี
ส่วนกรณีที่ คอป.เสนอให้ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร เสียสละไม่กลับประเทศเหมือน นายปรีดี พนมยงค์ นั้น ถือว่าเป็นเหตุการณ์ที่คล้ายกัน แต่ไม่เหมือนกัน ต้องไปถาม พ.ต.ท.ทักษิณเองว่า ท่านจะว่าอย่างไร แต่ตนมองว่า ท่านเสียสละอยู่แล้ว ท่านทำเพื่อประเทศชาติ ไม่ได้ทำอะไรให้เสียหาย อะไรช่วยได้ก็ช่วยเท่านั้นเอง
นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ หัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ และผู้นำฝ่ายค้านในสภาผู้แทนราษฎร กล่าวถึงความคาดหวังจากผลสรุปของคอป.ว่า ได้ปรารภกับน.ส. ยิ่งลักษณ์ ไว้วันที่ไปทำเนียบฯก็ด้วยความห่วงใยเรื่องนี้ เขาได้สะท้อนมุมมองจากคนภายนอกที่เป็นชาวต่างประเทศที่มีความผูกพันกับประเทศไทย ได้ตั้งกลุ่มมาช่วยสนับสนุนงานของ คอป. มีคำถามสองประเด็นคือ 1. ปัญหาในอดีตที่ผ่านมาและเหตุการณ์ความรุนแรงจะต้องมีมาตรฐานของการมีคณะกรรมการอิสระแบบนี้ เพื่อตรวจสอบข้อเท็จจริง แล้วก็รับผิดชอบต่อสาธารณะ แล้วก็เผยแพร่ ความเป็นอิสระถือเป็นประเด็นสำคัญ เพราะกระบวนการนี้เป็นกระบวนการหนึ่งที่จะสร้างความเชื่อมั่นให้กับประเทศ นายมานิจ สุขสมจิตร คณะกรรมการ คอป.ได้เขียนบันทึกว่า ตอนพฤษภา 2535 ก็เคยมีการตั้งคณะกรรมการอย่างนี้ แต่รายงานนั้นแทบไม่มีใครได้เห็น แล้วก็ทำให้เกิดภาพลักษณ์มาตลอดว่า เวลาเกิดอะไรขึ้นในประเทศไทย ก็ไม่เอาบทเรียนมาดู ไม่มีการตรวจสอบ ไม่มีการทำอย่างเป็นระบบ คอป.จึงเป็นการพยายามที่จะสร้างบรรทัดฐานขึ้นมาใหม่ แล้วก็จะเห็นว่า องค์กรระหว่างประเทศก็ต้องการที่จะเห็นการใช้ประโยชน์จากคณะกรรมการอิสระแบบนี้
ประเด็นที่ 2 คนนอกมองเข้ามาประเทศไทยในช่วง 6-7 ปีที่ผ่านมา มองเห็นแต่ความขัดแย้งและสะท้อนให้เขาฟังว่า มีความหวังที่คณะกรรมการ คอป.ชุดนี้ เพราะรัฐบาลที่แล้วตั้งขึ้นมา และรัฐบาลนี้ประกาศยอมรับ เขามองเห็นว่าเป็นจุดร่วม เพราะเรื่องอื่นๆมองไม่ตรงกัน แต่คณะกรรมการชุดนี้เป็นจุดเดียวตั้งแต่มีการเลือกตั้งมา แล้วก็รัฐบาลก็ทำงานมาระยะหนึ่ง เขียนเป็นนโยบาย 2 ฝ่ายการเมืองได้ยอมรับกระบวนการนี้ จึงน่าจะเป็นจุดเริ่มต้นของการปรองดอง อย่างไรก็ตาม เมื่อรายงานออกมา คนก็อาจจะเห็นด้วยไม่เห็นด้วย ส่วนเขาเองก็ยังอ่านไม่หมด จึงไม่ได้บอกว่าเห็นด้วยหมดหรือไม่เห็นด้วยเสียทั้งหมด ถ้าตั้งใจอ่านแล้วก็ค่อยๆแกะไปในแต่ละเรื่อง แต่ละเหตุการณ์แต่ละช่วง ก็จะต้องเอาสิ่งเหล่านี้มาพูดคุยกันด้วยเหตุด้วยผล การยอมรับ คอป.ไม่ได้หมายความว่าทุกคนต้องเห็นด้วยกับคอป.ทั้งหมด แต่ก็ควรจะเริ่มต้นจากหลักคิดที่บอกว่า คอป.ก็ยอมรับ วันที่เขาแถลงเขาก็พูดเลยบอกว่า สิ่งที่เขานำเสนอมานั้นเขาก็เชื่อว่าอาจจะทุกฝ่ายอาจจะต้องมีจุดที่ไม่พอใจ
"ชุดความจริงที่ คอป.รวบรวมมา กับชุดความจริงซึ่งแต่ละฝ่ายถืออยู่ หรืออาจจะบางกรณีอาจจะฝังอยู่ จะเอาขึ้นมาดูแล้วก็หาจุดร่วมกันได้อย่างไร แต่ถ้าอะไรก็ตามซึ่งเป็นชุดความจริง ความเชื่อของตัวเอง เขาเขียนมาตรงก็บอกใช้ได้ เขียนมาไม่ตรงก็ประณาม ไม่ยอมรับ ดิสเครดิต กล่าวหากันไป ใส่ร้ายกันไปมา แล้วกระบวนการปรองดองจะเริ่มได้อย่างไร" นายอภิสิทธิ์กล่าว
ทั้งนี้รัฐบาลคงจะต้องแสดงจุดยืนที่ชัดเจน แล้วรัฐบาลก็คงต้องเป็นนายกฯ เพราะร.ต.อ. เฉลิม อยู่บำรุง รองนายกรัฐมนตรี ดูเหมือนจะพยายามจะปัดอย่างเดียว
อีกด้านนพ.เหวง โตจิราการ ส.ส.บัญชีรายชื่อ พรรคเพื่อไทย และแกนนำแนวร่วมประชาธิปไตยต่อต้านเผด็จการแห่งชาติ (นปช.) ยื่นหนังสือถึงนายยงยุทธ วิชัยดิษฐ รองนายกรัฐมนตรีและรมว.มหาดไทย ในฐานะประธานคณะกรรมการประสานงานและติดตามผลการดำเนินงานตามข้อเสนอแนะของคณะกรรมการอิสระตรวจสอบและค้นหาความจริงเพื่อการปรองดองแห่งชาติ(ปคอป.) เพื่อให้พิจารณาข้อสังเกตบางการในรายงานคอป.ที่อาจไม่ตรงกับความเป็นจริง ซึ่งสาเหตุที่รายงานของคอป.ฉบับนี้ไม่มีความน่าเชื่อถือด้วยเหตุผล 4 ประการ คือ
1.ไม่มีหลักฐานที่เป็นวิทยาศาสตร์ยืนยันข้อสรุปเกี่ยวกับการมีอยู่ของชายชุดดำในทุกข้อความที่กล่าวถึงชายชุดดำ และการปฎิบัติการของชายชุดดำ
2.ตั้งใจที่จะไม่ตรวจสอบและค้นหาความจริงเกี่ยวกับบทบาทในการสลายการชุมนุมของฝ่ายศูนย์อำนวยการแก้ไขสถานการณ์ฉุกเฉิน (ศอฉ.)
3.ตั้งใจที่จะอธิบายถึงความชอบธรรมที่ศอฉ.และรัฐบาลของนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะในการใช้กองทัพและอาวุธสงครามปราบปรามสลายการชุมนุมของคนเสื้อแดง
4.ตั้งใจละเลยที่จะไม่ค้นหาเกี่ยวกับการใช้ตึกสูงในบริเวณที่มีการสังหารประชาชน
"ดังนั้น ขอให้ปคอป.พิจารณาให้ตรวจสอบความถูกต้องและความน่าเชื่อถือด้วยพร้อมกับให้ระงับการเผยแพร่รายงานคอป.ในฉบับภาษาอังกฤษเพื่อป้องกันไม่ให้ต่างชาติเกิดความเข้าใจผิด"นพ.เหวงกล่าว
ด้านนายยงยุทธ กล่าวว่า น.ส.ยิ่งลักษณ์ ได้มอบหมายให้ดำเนินการพิจารณาของคอป.แล้ว เพราะฉะนั้นเมื่อได้รับข้อร้องเรียนของนพ.เหวง ทางปคอป.จะเร่งพิจารณาให้เร็วที่สุดพร้อมกับจะสั่งการให้กรมสารนิเทศแถลงทำความเข้าใจต่อนานาชาติด้วย