ASTVผู้จัดการรายวัน-ส่อล้มประมูลคาร์โก้ดอนเมือง เหตุเอกชนเสนอผลตอบแทนสูงลิบ ทอท.หวั่นทำไม่ได้จริง “สุเมธ”จี้ต้องสรุปก่อน 1 ต.ค. ”อนิรุทธิ์”เผยปรับปรุงดอนเมืองเสร็จแล้วกว่า 70 รายการพร้อมรับ3 สายการบินโลว์คอสต์ ด้านคมนาคม จับทอท.เอ็มโอยู สบพ.ร่วมพัฒนาบุคลากรการบินดันไทยฮับภูมิภาค
พล.อ.อ.สุเมธ โพธิ์มณี ประธานคณะกรรมการ (บอร์ด) บริษัท ท่าอากาศยานไทย จำกัด (มหาชน) หรือทอท. เปิดเผยว่า ขณะนี้ได้เร่งรัดให้ทอท.สรุปผลการประกวดราคาการบริหารคลังสินค้า (คาร์โก้) ท่าอากาศยานดอนเมือง ซึ่งมีผู้ยื่นข้อเสนอมารวม 4 ราย แต่ปรากฏว่ารายที่เสนอผลตอบแทนสูงสุดประมาณ 5 ล้านบาทต่อเดือนนั้น มีความแตกต่างจากผู้เสนอันดับ 2 ประมาณ 10 เท่า โดยรายที่ 2
เสนอผลตอบแทนประมาณ 5 แสนบาทต่อเดือน จึงต้องมีการตรวจสอบว่าผลตอบแทนที่เสนอมาสามารถทำได้จริงหรือไม่ โดยอยู่ระหว่างการเจรจา หากตกลงไม่ได้จะเรียกรายที่ 2 มาเจรจาต่อไป ส่วนการให้บริการภาคพื้นดินต่างๆ (Ground Service) มีการเสนอผลตอบแทนสูงเช่นกันซึ่งส่วนนี้สามารถเปิดประมูลใหม่ได้ เนื่องจากสายการบินที่ย้ายมาให้บริการที่ดอนเมืองส่วนใหญ่จะทำส่วนนี้เองได้ จึงไม่กระทบต่อการเปิดให้บริการเต็มรูปแบบวันที่ 1 ตุลาคมนี้
“เรื่องคาร์โก้ภายใน1-2 วันนี้ต้องสรุปให้ได้ เพราะเหลือเวลาน้อยแล้ว ซึ่งเบื้องต้นเอกชนเสนอผลตอบแทนสูงเพราะมีการประเมินจำนวนสินค้าเต็มรูปแบบ ในขณะที่ช่วงแรกคาดว่าปริมาณสินค้าจะยังไม่มากนัก”พล.อ.อ.สุเมธกล่าว
รายงานข่าวแจ้งว่า ผลตอบแทนของรายที่ยื่นข้อเสนอดีที่สุดสูงมากและอาจจะทำไม่ได้จริง จึงมีความเสี่ยงสูง ซึ่งทีโออาร์สงวนสิทธิ์ให้ยกเลิกและเปิดประมูลใหม่ โดยคำนึงถึงประโยชน์ของทอท.เป็นสำคัญ โดยจะต้องเจรจากับเอกชนเพื่อไม่ให้เกิดปัญหาภายหลัง ทั้งนี้หากต้องยกเลิกและประมูลใหม่ก็จะต้องเร่งรัดให้เรียบร้อยและพร้อมให้บริการทันที่วันที่ 1 ตุลาคมนี้
โดยอาคารคลังสินค้าสามารถรองรับได้กว่า 2.2 แสนตัน ซึ่งคาดว่าในช่วงแรกจะมีการใช้บริการประมาณ 3-7 พันตัน
ว่าที่เรืออากาศโท อนิรุทธิ์ ถนอมกุลบุตร กรรมการผู้อำนวยการใหญ่ ทอท.กล่าวว่า วันที่ 1 ตุลาคมนี้ยืนยันว่า ท่าอากาศยานดอนเมืองพร้อมรองรับสายการบินต้นทุนต่ำ(Lowcost Airline) และสายการบินแบบจุดต่อจุด (Point to Point)โดยหลังจากประชุมเชิงปฏิบัติการ( Workshop)ร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเพื่อเตรียมความพร้อมและปรับปรุงท่าอากาศยานดอนเมือง พบว่ามี 98 รายการที่ต้องปรับปรุงนั้นขณะนี้ได้ดำเนินการแล้วเสร็จไปกว่า 70 รายการซึ่งเป็นรายการหลักที่เกี่ยวข้องกับการให้บริการกับผู้โดยสารและสายการบิน ส่วนที่เหลืออีกประมาณ 20 รายการนั้นเป็นแผนการพัฒนาเพื่อรองรับในอนาคต โดยขณะนี้ได้มีการทดสอบระบบต่างๆ รวมถึงการเตรียมความพร้อมของเจ้าหน้าที่ในด้านต่างๆ แล้ว
สำหรับสายการบินที่จะย้ายจากท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ ไปให้บริการที่ท่าอากาศยานดอนเมืองจำนวน 3 สายการบิน คือ ไทยแอร์เอเชีย แอร์เอเชีย และอินโดนีเชีย แอร์เอเชีย จากปัจจุบันที่มีสายการบินนกแอร์ และโอเรียนท์ไทย ให้บริการอยู่แล้ว จะส่งผลให้จำนวนผู้โดยสารเพิ่มขึ้นประมาณ 6-7ล้านคนต่อปี รวมทั้งหมดไม่เกิน 12 ล้านคนต่อปี ขณะที่อาคาร 1สามารถรองรับผู้โดยสารได้ประมาณ 16.5 ล้านคนต่อปี ส่วนรันเวย์รองรับได้ประมาณ 60 เที่ยวบินต่อชั่วโมง โดยช่วงรอยต่อ วันที่ 30 กันยายน แอร์เอเชียจะย้ายเครื่องบินประมาณ 30 ลำมาที่ดอนเมือง
***ทอท.เอ็มโอยู สบพ.พัฒนาบุคลากรดันไทยฮับการบิน
โดยตามนโยบายกระทรวงคมนาคมให้หน่วยงานขนส่งทางอากาศบูรณาการร่วมกัน โดยนำ นำเทคโนโลยีและความเชี่ยวชาญของแต่ละหน่วยงานมาสร้างให้เกิดประโยชน์สูงสุดเพื่อสนับสนุนการเพิ่มขีดความสามารถในการสร้างเสริมศักยภาพของประเทศสู่การเป็นศูนย์กลางการคมนาคมขนส่งทางอากาศในภูมิภาค ซึ่งทอท.และสถาบันการบินพลเรือน(สบพ.) จึงได้ร่วมมือกันพัฒนาขีดความสามารถของบุคคลากรด้านการบินใน3 สาขา คือ สาขาการจัดการการขนส่งสินค้าทางอากาศ สาขานิรภัย และสาขาการรักษาความปลอดภัยด้านการบิน
พล.อ.อ.สุเมธ โพธิ์มณี ประธานคณะกรรมการ (บอร์ด) บริษัท ท่าอากาศยานไทย จำกัด (มหาชน) หรือทอท. เปิดเผยว่า ขณะนี้ได้เร่งรัดให้ทอท.สรุปผลการประกวดราคาการบริหารคลังสินค้า (คาร์โก้) ท่าอากาศยานดอนเมือง ซึ่งมีผู้ยื่นข้อเสนอมารวม 4 ราย แต่ปรากฏว่ารายที่เสนอผลตอบแทนสูงสุดประมาณ 5 ล้านบาทต่อเดือนนั้น มีความแตกต่างจากผู้เสนอันดับ 2 ประมาณ 10 เท่า โดยรายที่ 2
เสนอผลตอบแทนประมาณ 5 แสนบาทต่อเดือน จึงต้องมีการตรวจสอบว่าผลตอบแทนที่เสนอมาสามารถทำได้จริงหรือไม่ โดยอยู่ระหว่างการเจรจา หากตกลงไม่ได้จะเรียกรายที่ 2 มาเจรจาต่อไป ส่วนการให้บริการภาคพื้นดินต่างๆ (Ground Service) มีการเสนอผลตอบแทนสูงเช่นกันซึ่งส่วนนี้สามารถเปิดประมูลใหม่ได้ เนื่องจากสายการบินที่ย้ายมาให้บริการที่ดอนเมืองส่วนใหญ่จะทำส่วนนี้เองได้ จึงไม่กระทบต่อการเปิดให้บริการเต็มรูปแบบวันที่ 1 ตุลาคมนี้
“เรื่องคาร์โก้ภายใน1-2 วันนี้ต้องสรุปให้ได้ เพราะเหลือเวลาน้อยแล้ว ซึ่งเบื้องต้นเอกชนเสนอผลตอบแทนสูงเพราะมีการประเมินจำนวนสินค้าเต็มรูปแบบ ในขณะที่ช่วงแรกคาดว่าปริมาณสินค้าจะยังไม่มากนัก”พล.อ.อ.สุเมธกล่าว
รายงานข่าวแจ้งว่า ผลตอบแทนของรายที่ยื่นข้อเสนอดีที่สุดสูงมากและอาจจะทำไม่ได้จริง จึงมีความเสี่ยงสูง ซึ่งทีโออาร์สงวนสิทธิ์ให้ยกเลิกและเปิดประมูลใหม่ โดยคำนึงถึงประโยชน์ของทอท.เป็นสำคัญ โดยจะต้องเจรจากับเอกชนเพื่อไม่ให้เกิดปัญหาภายหลัง ทั้งนี้หากต้องยกเลิกและประมูลใหม่ก็จะต้องเร่งรัดให้เรียบร้อยและพร้อมให้บริการทันที่วันที่ 1 ตุลาคมนี้
โดยอาคารคลังสินค้าสามารถรองรับได้กว่า 2.2 แสนตัน ซึ่งคาดว่าในช่วงแรกจะมีการใช้บริการประมาณ 3-7 พันตัน
ว่าที่เรืออากาศโท อนิรุทธิ์ ถนอมกุลบุตร กรรมการผู้อำนวยการใหญ่ ทอท.กล่าวว่า วันที่ 1 ตุลาคมนี้ยืนยันว่า ท่าอากาศยานดอนเมืองพร้อมรองรับสายการบินต้นทุนต่ำ(Lowcost Airline) และสายการบินแบบจุดต่อจุด (Point to Point)โดยหลังจากประชุมเชิงปฏิบัติการ( Workshop)ร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเพื่อเตรียมความพร้อมและปรับปรุงท่าอากาศยานดอนเมือง พบว่ามี 98 รายการที่ต้องปรับปรุงนั้นขณะนี้ได้ดำเนินการแล้วเสร็จไปกว่า 70 รายการซึ่งเป็นรายการหลักที่เกี่ยวข้องกับการให้บริการกับผู้โดยสารและสายการบิน ส่วนที่เหลืออีกประมาณ 20 รายการนั้นเป็นแผนการพัฒนาเพื่อรองรับในอนาคต โดยขณะนี้ได้มีการทดสอบระบบต่างๆ รวมถึงการเตรียมความพร้อมของเจ้าหน้าที่ในด้านต่างๆ แล้ว
สำหรับสายการบินที่จะย้ายจากท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ ไปให้บริการที่ท่าอากาศยานดอนเมืองจำนวน 3 สายการบิน คือ ไทยแอร์เอเชีย แอร์เอเชีย และอินโดนีเชีย แอร์เอเชีย จากปัจจุบันที่มีสายการบินนกแอร์ และโอเรียนท์ไทย ให้บริการอยู่แล้ว จะส่งผลให้จำนวนผู้โดยสารเพิ่มขึ้นประมาณ 6-7ล้านคนต่อปี รวมทั้งหมดไม่เกิน 12 ล้านคนต่อปี ขณะที่อาคาร 1สามารถรองรับผู้โดยสารได้ประมาณ 16.5 ล้านคนต่อปี ส่วนรันเวย์รองรับได้ประมาณ 60 เที่ยวบินต่อชั่วโมง โดยช่วงรอยต่อ วันที่ 30 กันยายน แอร์เอเชียจะย้ายเครื่องบินประมาณ 30 ลำมาที่ดอนเมือง
***ทอท.เอ็มโอยู สบพ.พัฒนาบุคลากรดันไทยฮับการบิน
โดยตามนโยบายกระทรวงคมนาคมให้หน่วยงานขนส่งทางอากาศบูรณาการร่วมกัน โดยนำ นำเทคโนโลยีและความเชี่ยวชาญของแต่ละหน่วยงานมาสร้างให้เกิดประโยชน์สูงสุดเพื่อสนับสนุนการเพิ่มขีดความสามารถในการสร้างเสริมศักยภาพของประเทศสู่การเป็นศูนย์กลางการคมนาคมขนส่งทางอากาศในภูมิภาค ซึ่งทอท.และสถาบันการบินพลเรือน(สบพ.) จึงได้ร่วมมือกันพัฒนาขีดความสามารถของบุคคลากรด้านการบินใน3 สาขา คือ สาขาการจัดการการขนส่งสินค้าทางอากาศ สาขานิรภัย และสาขาการรักษาความปลอดภัยด้านการบิน