ที่ทำเนียบรัฐบาล วันนี้ (18 ก.ย.)น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี เป็นประธานการประชุมหารือเพื่อหาแนวทางการแก้ไขปัญหาในจังหวัดชายแดนภาคใต้ โดยมีนายยงยุทธ วิชัยดิษฐ รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย พล.อ.ยุทธศักดิ์ ศศิประภา รองนายกรัฐมนตรี ร.ต.อ.เฉลิม อยู่บำรุง รองนายกรัฐมนตรี พล.อ.อ.สุกำพล สุวรรณทัต รัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม และ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา ผู้บัญชาการทหารบก เข้าร่วมหารือด้วย
นอกจากนี้ นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ หัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ ได้นำทีม ส.ส.ใน 4 จังหวัดชายแดนภาคใต้ อาทิ นายถาวร เสนเนียม นายเจะอามิง โตะตาหยง และคณะเดินทางเข้าร่วมหารือโดยพรรคประชาธิปัตย์ได้เสนอแนวทางต่อ รบ.นั้นมีทั้งหมด9ข้อประกอบด้วย 1.ยึดมั่นในพระราชดำรัสของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เข้าใจ เข้าถึง และพัฒนา 2. ใช้นโยบายการเมืองนำการทหาร และใช้นโยบายแก้ไขปัญหาและพัฒนาให้ต่อเนื่องจากรัฐบาลประชาธิปัตย์ 3. ให้ยกเลิกการใช้กฎหมายพิเศษทั้ง 2 ฉบับ และใช้ พรบ.การรักษาความมั่นคง แทน โดยเฉพาะการดำเนินการตามมาตรา 21 เพื่อความสงบสุขในพื้นที่
4.ยกเลิกการใช้กำลังทหารจากต่างถิ่นให้เร็วที่สุด และให้ใช้กองกำลังจากกองทัพภาค 4 กองพลทหารราบที่ 15 ให้เต็มอัตรากำลัง ตำรวจ ชุดรักษาความปลอดภัยหมู่บ้าน 5.สนับสนุน ส่งเสริมให้ประชาชนในพื้นที่ 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ 4 อำเภอของสงขลารับราชการและทำหน้าที่ในฐานะเจ้าหน้าที่ของรัฐให้มากขึ้น
6.ให้ศูนย์อำนวยการบริหารจังหวัดชายแดนภาคใต้ หรือ ศอ.บต.เป็นหน่วยงานหลักในการพัฒนา การให้ความยุติธรรม เป็นธรรม การฟื้นฟู เยียวยา โดยให้ กอ.รมน.เป็นหน่วยงานหลักด้านความมั่นคง 7.ให้รัฐบาลจ่ายเงินเยียวยาให้ พลเรือน ตำรวจ ทหาร และประชาชนผู้บริสุทธิ์ที่ได้รับผลกระทบจากเหตุการณ์ความไม่สงบจังหวัดชายแดนภาคใต้เท่ากับผู้ได้รับผลกระทบจากเหตุการณ์ชุมนุมทางการเมืองระหว่างปี 2548 – 2553
8.คัดค้านการจัดตั้งเขตปกครองพิเศษหรือร่าง พ.ร.บ.ปัตตานีมหานคร หรือเลือกผู้ว่าราชการจังหวัดชายแดนภาคใต้ และ9.ให้นายกรัฐมนตรีทำหน้าที่ในฐานะ ผอ.รมน. และ ผอ.ศอ.บต. เพื่อรับผิดชอบต่อการพัฒนาและแก้ไขปัญหาจังหวัดชายแดนภาคใต้อันเป็นวาระแห่งชาติซึ่งจะเกิดเอกภาพทั้งการบังคับบัญชา การกำหนดนโยบายและนำนโยบายไปสู่ปฏิบัติ
น.ส.ยิ่งลักษณ์ กล่าวภายหลังหารือว่าโดยรวม ถือว่าตรงกับแนวทางแก้ไขปัญหาของรัฐบาล จะมีการนำรายละเอียดต่างๆมาปรับเป็นแนวทางเดียวกัน ซึ่งฝ่ายค้านห่วงใยขอให้รัฐบาลเน้นการรักษาความสงบเรียบร้อย ป้องกันการก่อเหตุ ดูแลความปลอดภัยของประชาชน และการพัฒนาพื้นที่ ซึ่งจะนำข้อเสนอสั่งการไป ศอ.บต. และสมช. อย่างไรก็ตามหาก ส.ส.ในพื้นที่ต้องการเสนอแนะแนวทางการก้ไขปัญหาเพิ่มเติม สามารถใช้กลไกของสภาผู้แทนราษฏร ที่เปิดรับฟังข้อเสนอตลอด ถือว่าเป็นไปได้ด้วยดี หลังหารือร่วมกันนานกว่า 4 ชั่วโมง
ด้านร.ต.อ.เฉลิม กล่าวว่า ส.ส.ใต้เชิญตนลงพื้นที่ภาคใต้นั้น ยืนยัน ไม่ต้องเชิญ พร้อมลงพื้นที่อยู่แล้ว.
นายอภิสิทธิ์ กล่าวว่า ในขณะนี้เป็นการคลายปัญหาที่เกิดจากนโยบายกำปั้นเหล็ก ซึ่งทำให้เกิดความโกรธแค้นการแก้ปัญหาจึงต้องต่อเนื่องในการสร้างความไว้เนื้อเชื่อใจ ยุทธศาสตร์หรือนโยบายที่รัฐบาลประกาศและแถลงต่อสภา ทั้งนี้ยังได้ท้วงติงการจัดตั้ง ศปก. จชต. ซึ่งเป็นมุมมองที่ต่างกัน เพราะพรรคมองว่าเป็นการลดทอนกลไกที่ประชาชนมีส่วนร่วมตามกฎหมาย หลังจากนี้จะเป็นอย่างไรพรรคจะได้ติดตามต่อเพราะมีหน้าที่ในการตรวจสอบโดยเวลาจะเป็นเครื่องพิสูจน์ ส่วนผู้รับผิดชอบหลักคือ พล.อ.ยุทธศักดิ์ ศศิประภา รองนายกรัฐมนตรี ตนได้ท้วงว่าการมีรองนายกฯสามคนทำให้มีปัญหาเรื่องความไม่เป็นเอกภาพ ซึ่งนายกรัฐมนตรี ชี้แจงว่า งานเดินได้อยู่แล้ว แต่ตนก็ท้วงติงว่ามีความสับสน แม้ว่าการมี ศปก.จชต.จะไม่กระทบโครงสร้างกฎหมายเพราะโครงสร้างเก่ายังอยู่แต่ก็ไปลดทอนน้ำหนักการทำงานทำให้ผู้ปฏิบัติมีหลายช่องทาง
ทั้งนี้ อยากให้การเมืองมีทิศทางที่ชัดเจน เช่น กฎหมายพิเศษ การใช้บุคลากรในพื้นที่จะติดตามว่ามีการดำเนินการหรือไม่
นอกจากนี้ นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ หัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ ได้นำทีม ส.ส.ใน 4 จังหวัดชายแดนภาคใต้ อาทิ นายถาวร เสนเนียม นายเจะอามิง โตะตาหยง และคณะเดินทางเข้าร่วมหารือโดยพรรคประชาธิปัตย์ได้เสนอแนวทางต่อ รบ.นั้นมีทั้งหมด9ข้อประกอบด้วย 1.ยึดมั่นในพระราชดำรัสของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เข้าใจ เข้าถึง และพัฒนา 2. ใช้นโยบายการเมืองนำการทหาร และใช้นโยบายแก้ไขปัญหาและพัฒนาให้ต่อเนื่องจากรัฐบาลประชาธิปัตย์ 3. ให้ยกเลิกการใช้กฎหมายพิเศษทั้ง 2 ฉบับ และใช้ พรบ.การรักษาความมั่นคง แทน โดยเฉพาะการดำเนินการตามมาตรา 21 เพื่อความสงบสุขในพื้นที่
4.ยกเลิกการใช้กำลังทหารจากต่างถิ่นให้เร็วที่สุด และให้ใช้กองกำลังจากกองทัพภาค 4 กองพลทหารราบที่ 15 ให้เต็มอัตรากำลัง ตำรวจ ชุดรักษาความปลอดภัยหมู่บ้าน 5.สนับสนุน ส่งเสริมให้ประชาชนในพื้นที่ 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ 4 อำเภอของสงขลารับราชการและทำหน้าที่ในฐานะเจ้าหน้าที่ของรัฐให้มากขึ้น
6.ให้ศูนย์อำนวยการบริหารจังหวัดชายแดนภาคใต้ หรือ ศอ.บต.เป็นหน่วยงานหลักในการพัฒนา การให้ความยุติธรรม เป็นธรรม การฟื้นฟู เยียวยา โดยให้ กอ.รมน.เป็นหน่วยงานหลักด้านความมั่นคง 7.ให้รัฐบาลจ่ายเงินเยียวยาให้ พลเรือน ตำรวจ ทหาร และประชาชนผู้บริสุทธิ์ที่ได้รับผลกระทบจากเหตุการณ์ความไม่สงบจังหวัดชายแดนภาคใต้เท่ากับผู้ได้รับผลกระทบจากเหตุการณ์ชุมนุมทางการเมืองระหว่างปี 2548 – 2553
8.คัดค้านการจัดตั้งเขตปกครองพิเศษหรือร่าง พ.ร.บ.ปัตตานีมหานคร หรือเลือกผู้ว่าราชการจังหวัดชายแดนภาคใต้ และ9.ให้นายกรัฐมนตรีทำหน้าที่ในฐานะ ผอ.รมน. และ ผอ.ศอ.บต. เพื่อรับผิดชอบต่อการพัฒนาและแก้ไขปัญหาจังหวัดชายแดนภาคใต้อันเป็นวาระแห่งชาติซึ่งจะเกิดเอกภาพทั้งการบังคับบัญชา การกำหนดนโยบายและนำนโยบายไปสู่ปฏิบัติ
น.ส.ยิ่งลักษณ์ กล่าวภายหลังหารือว่าโดยรวม ถือว่าตรงกับแนวทางแก้ไขปัญหาของรัฐบาล จะมีการนำรายละเอียดต่างๆมาปรับเป็นแนวทางเดียวกัน ซึ่งฝ่ายค้านห่วงใยขอให้รัฐบาลเน้นการรักษาความสงบเรียบร้อย ป้องกันการก่อเหตุ ดูแลความปลอดภัยของประชาชน และการพัฒนาพื้นที่ ซึ่งจะนำข้อเสนอสั่งการไป ศอ.บต. และสมช. อย่างไรก็ตามหาก ส.ส.ในพื้นที่ต้องการเสนอแนะแนวทางการก้ไขปัญหาเพิ่มเติม สามารถใช้กลไกของสภาผู้แทนราษฏร ที่เปิดรับฟังข้อเสนอตลอด ถือว่าเป็นไปได้ด้วยดี หลังหารือร่วมกันนานกว่า 4 ชั่วโมง
ด้านร.ต.อ.เฉลิม กล่าวว่า ส.ส.ใต้เชิญตนลงพื้นที่ภาคใต้นั้น ยืนยัน ไม่ต้องเชิญ พร้อมลงพื้นที่อยู่แล้ว.
นายอภิสิทธิ์ กล่าวว่า ในขณะนี้เป็นการคลายปัญหาที่เกิดจากนโยบายกำปั้นเหล็ก ซึ่งทำให้เกิดความโกรธแค้นการแก้ปัญหาจึงต้องต่อเนื่องในการสร้างความไว้เนื้อเชื่อใจ ยุทธศาสตร์หรือนโยบายที่รัฐบาลประกาศและแถลงต่อสภา ทั้งนี้ยังได้ท้วงติงการจัดตั้ง ศปก. จชต. ซึ่งเป็นมุมมองที่ต่างกัน เพราะพรรคมองว่าเป็นการลดทอนกลไกที่ประชาชนมีส่วนร่วมตามกฎหมาย หลังจากนี้จะเป็นอย่างไรพรรคจะได้ติดตามต่อเพราะมีหน้าที่ในการตรวจสอบโดยเวลาจะเป็นเครื่องพิสูจน์ ส่วนผู้รับผิดชอบหลักคือ พล.อ.ยุทธศักดิ์ ศศิประภา รองนายกรัฐมนตรี ตนได้ท้วงว่าการมีรองนายกฯสามคนทำให้มีปัญหาเรื่องความไม่เป็นเอกภาพ ซึ่งนายกรัฐมนตรี ชี้แจงว่า งานเดินได้อยู่แล้ว แต่ตนก็ท้วงติงว่ามีความสับสน แม้ว่าการมี ศปก.จชต.จะไม่กระทบโครงสร้างกฎหมายเพราะโครงสร้างเก่ายังอยู่แต่ก็ไปลดทอนน้ำหนักการทำงานทำให้ผู้ปฏิบัติมีหลายช่องทาง
ทั้งนี้ อยากให้การเมืองมีทิศทางที่ชัดเจน เช่น กฎหมายพิเศษ การใช้บุคลากรในพื้นที่จะติดตามว่ามีการดำเนินการหรือไม่