"มาร์ค" เตรียมยื่นข้อเสนอดับไฟใต้ ย้ำ "ปู" ต้องเป็นเจ้าภาพเชื่อมโยงงานฝ่ายความมั่นคง และพัฒนา เพื่อความเป็นเอกภาพ ไม่ควรให้หลายคนดูแล จะสับสน เตือนรัฐบาลอย่าคิดว่าการมอบตัวของกลุ่มแนวร่วมก่อความไม่สงบ คือความสำเร็จของการแก้ปัญหา เพราะอาจมีปฏิกริยาโต้กลับ แนะจับตาทิศทางการก่อเหตุ ว่าเปลี่ยนแปลงจากเดิมหรือไม่ ห่วงกลุ่มอื่นที่ไม่มอบตัวก่อปัญหาเพิ่ม ด้านส.ส. 3 จังหวัดใต้ เปิดสายรับร้องเรียนจากญาติเหยื่อ- จนท. จี้ นายกฯ ยอมจ่ายชดเชย 7.7 ล้าน ขู่ฟ้องศาลปกครองหากยังทำเฉย
นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ หัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ กล่าวถึงการประชุมร่วมกับนายกรัฐมนตรี และหน่วยงานด้านความมั่นคง เกี่ยวกับปัญหาความไม่สงบในจังหวัดชายแดนภาคใต้ ในวันที่ 18 ก.ย.นี้ว่า ได้คุยกับ ส.ส.ที่จะร่วมเดินทางไปบางส่วนแล้ว และเตรียมที่จะทำข้อเสนอโดยรูปแบบการหารือ จะแบ่งเป็น 2 ช่วง คือ ช่วงแรกจะมีเจ้าหน้าที่ที่ทำงานร่วมอยู่ด้วย โดยจะเป็นการหารือเกี่ยวกับแนวทางการทำงาน แต่หลังจากนั้นจะเป็นเฉพาะฝ่ายการเมืองที่จะหารือ เกี่ยวกับทิศทางนโยบาย ซึ่งทั้งหมดพรรคได้เตรียมข้อเสนอไว้แล้ว ซึ่งจะมีตั้งแต่ภาพรวมนโยบายใหญ่ จนถึงแนวปฏิบัติที่เกี่ยวข้องกับการทำงาน ทั้งด้านการพัฒนาความมั่นคง โดยใวันที่ 18 ก.ย. ช่วงเช้าตนจะประชุมกับ ส.ส.ในพื้นที่อีกครั้ง
ส่วนจะคาดหวังได้มากน้อยแค่ไหน ว่านายกรัฐมนตรีจะปฏิบัติตามข้อเสนอของพรรคประชาธิปัตย์นั้น นายอภิสิทธิ์ กล่าวว่า พรรคมีหน้าที่ให้ข้อมูล สะท้อนความเป็นจริงให้รัฐบาลรับทราบ ส่วนเมื่อได้ข้อมูลแล้วจะนำไปสู่อะไร ก็ขึ้นอยู่กับรัฐบาลว่าจะใช้ประโยชน์จากสิ่งเหล่านี้มากน้อยแค่ไหน เพราะที่ผ่านมาพรรคก็เคยเสนอไปหลายเรื่อง แต่ไม่มีการดำเนินการ
อย่างไรก็ตาม จะได้ย้ำในหลายเรื่องที่เคยเสนอไปแล้ว เพราะทิศทางนโยบายยังมีปัญหาในหลายส่วน ทั้งที่ไม่ควรจะมี เพราะนโยบายที่รัฐบาลทำโดยสภาความมั่นคงแห่งชาติ หรือ สมช. เป็นนโยบายที่ทุกฝ่ายให้การสนับสนุน แต่กลับไม่มีการปฏิบัติตามนั้น
" ผมยังคิดว่าบทบาทของนายกรัฐมนตรี เป็นหัวใจสำคัญ เพราะหลีกเลี่ยงไม่ได้ เนื่องจากงานนี้มีทั้งเรื่องความมั่นคง การพัฒนา ซึ่งต้องอาศัยความเป็นเอกภาพ พร้อมกับการตัดสินใจเพราะมีเรื่องกฎหมายพิเศษ การตัดสินใจทางการเมือง ถ้าหากปล่อยให้เป็นความรับผิดชอบของหลายคนแล้วจะเกิดความสับสน" นายอภิสิทธิ์ กล่าว
สำหรับกรณีที่มีนักวิชาการติงว่า รัฐไม่ควรมองว่าการมอบตัวของกลุ่มก่อความไม่สงบ คือบทสรุปว่าเป็นความสำเร็จในการแก้ปัญหา เพราะอาจมีปฏิกริยาโต้กลับนั้น นาอยภิสิทธิ์ กล่าวว่า เหตุการณ์ความรุนแรงยังต้องจับตาดูว่ามีทิศทางที่เปลี่ยนแปลงไปหรือไม่ การที่มีความเป็นไปได้ในการพูดคุยเป็นแนวโน้มที่ดีแต่อย่างที่หลายฝ่ายย้ำก็คือว่า จะมองว่าเป็นความสำเร็จแล้วคงไม่ได้ เพราะในอดีตก็ต้องยอมรับว่า มีการเคลื่อนไหวในลักษณะนี้หลายครั้ง แต่สุดท้ายยังมีกลุ่มอื่นๆ ที่ไม่ได้เข้ามายังสร้างปัญหาอยู่
** จี้รัฐบาลจ่ายเยียวยา7.7ล้าน
นายสาธิต ปิตุเตชะ ส.ส.ระยอง พรรคประชาธิปัตย์ แถลงข่าวว่า ตนขอเป็นตัวแทนรับเรื่องร้องเรียนจากญาติผู้เสียชีวิตในเรื่องความไม่สงบในพื้นที่ 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ และคดีอื่นๆ ที่เจ้าหน้าที่ต้องเสียชีวิตจากการปฏิบัติหน้าที่ อาทิ ดาบตำรวจที่ถูกลูกชายบริษัทกระทิงแดงชน เป็นต้น โดยจะนำรายละเอียดทั้งหมด ยื่นต่อนายกรัฐมนตรี ให้ออกมติคณะรัฐมนตรี จ่ายเงินเยียวยา 7.75 ล้านบาท เท่าเทียมกับมติคณะรัฐมนตรี ที่ให้เงินเยียวยาสำหรับผู้ที่ได้รับผลกระทบจากการชุมนุมทางการเมือง ในช่วงปี 52 และ 53 โดยญาติของผู้เสียชีวิต สามารถลงทะเบียนแจ้งความจำนงที่ ส.ส.ในพื้นที่ 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ หรือโทรศัพท์ร้องเรียนได้ที่ 086-6711226 และ 081-9197425 ได้ตลอด 24 ชั่วโมง
ทั้งนี้คาดว่าจะใช้เวลารวบรวมรายชื่อทั้งหมดไม่เกิน 1 เดือน ก่อนส่งนายกรัฐมนตรีต่อไป และหากเพิกเฉย จะยื่นฟ้องต่อศาลปกครอง เพราะถือเป็นการเลือกปฏิบัติขัดต่อรัฐธรรมนูญโดยตนจะทำหน้าที่เป็นทนาย เพื่อให้คำปรึกษาให้แก่ญาติผู้เสียหายในการดำเนินการ เพราะเห็นว่าเกิดความไม่เป็นธรรมขึ้น เพราะขณะนี้ได้มีเจ้าหน้าที่ที่เสียชีวิต จากการปฏิบัติหน้าที่ได้รับเงินเพียง2 ล้านบาท ซึ่งแตกต่างจากผู้เสียหายจากการชุมนุมทางการเมือง ซึ่งส่วนใหญ่เป็นคนเสื้อแดง
**โฆษกทบ.เชื่อสถานการณ์ใต้ดีขึ้น
พ.อ.สรรเสริญ แก้วกำเนิด โฆษกกองทัพบก กล่าวถึงสถานการณ์ในพื้นที่ 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ ว่า ขณะนี้กลุ่มแนวร่วม ที่มีหมายจับเข้ารายงานตัวกับเจ้าหน้าที่เพื่อพูดคุย และหาทางออกถึงปัญหาร่วมกันถือเป็นนิมิตหมายที่ดี และเป็นแนวโน้มที่บ่งบอกว่า สถานการณ์ในพื้นที่ดีขึ้นเรื่อยๆ เพราะทำให้กลุ่มที่สนับสนุนผู้ก่อเหตุในช่วงที่ผ่านมากลับใจ หันหน้าเข้ามาพูดคุยกับเจ้าหน้าที่ เพื่อหาทางออกให้บ้านเมืองอยู่กันอย่างสงบสุข ประชาชนรู้สึกปลอดภัย โดยมาตรการในการแก้ไขปัญหาขณะนี้ถือว่าพอเหมาะ การชี้แจงทำความเข้าใจต่อพี่น้องประชาชนในพื้นที่ได้ผล ทุกภาคส่วนที่ลงไปผลิตงานในความรับผิดชอบของแต่ละหน่วยมากขึ้น ประชาชนให้ความร่วมมือ สนับสนุนมากขึ้น และช่วยกันเป็นหูเป็นตาให้กับเจ้าหน้าที่ การชี้แจงทำความเข้าใจผู้ก่อเหตุทำได้ดี และมาตรการกดดันของเจ้าหน้าที่ทำได้อย่างมีประสิทธิภาพ ส่งผลให้สถานการณ์ในพื้นที่ 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ดีขึ้นตามลำดับ.
นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ หัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ กล่าวถึงการประชุมร่วมกับนายกรัฐมนตรี และหน่วยงานด้านความมั่นคง เกี่ยวกับปัญหาความไม่สงบในจังหวัดชายแดนภาคใต้ ในวันที่ 18 ก.ย.นี้ว่า ได้คุยกับ ส.ส.ที่จะร่วมเดินทางไปบางส่วนแล้ว และเตรียมที่จะทำข้อเสนอโดยรูปแบบการหารือ จะแบ่งเป็น 2 ช่วง คือ ช่วงแรกจะมีเจ้าหน้าที่ที่ทำงานร่วมอยู่ด้วย โดยจะเป็นการหารือเกี่ยวกับแนวทางการทำงาน แต่หลังจากนั้นจะเป็นเฉพาะฝ่ายการเมืองที่จะหารือ เกี่ยวกับทิศทางนโยบาย ซึ่งทั้งหมดพรรคได้เตรียมข้อเสนอไว้แล้ว ซึ่งจะมีตั้งแต่ภาพรวมนโยบายใหญ่ จนถึงแนวปฏิบัติที่เกี่ยวข้องกับการทำงาน ทั้งด้านการพัฒนาความมั่นคง โดยใวันที่ 18 ก.ย. ช่วงเช้าตนจะประชุมกับ ส.ส.ในพื้นที่อีกครั้ง
ส่วนจะคาดหวังได้มากน้อยแค่ไหน ว่านายกรัฐมนตรีจะปฏิบัติตามข้อเสนอของพรรคประชาธิปัตย์นั้น นายอภิสิทธิ์ กล่าวว่า พรรคมีหน้าที่ให้ข้อมูล สะท้อนความเป็นจริงให้รัฐบาลรับทราบ ส่วนเมื่อได้ข้อมูลแล้วจะนำไปสู่อะไร ก็ขึ้นอยู่กับรัฐบาลว่าจะใช้ประโยชน์จากสิ่งเหล่านี้มากน้อยแค่ไหน เพราะที่ผ่านมาพรรคก็เคยเสนอไปหลายเรื่อง แต่ไม่มีการดำเนินการ
อย่างไรก็ตาม จะได้ย้ำในหลายเรื่องที่เคยเสนอไปแล้ว เพราะทิศทางนโยบายยังมีปัญหาในหลายส่วน ทั้งที่ไม่ควรจะมี เพราะนโยบายที่รัฐบาลทำโดยสภาความมั่นคงแห่งชาติ หรือ สมช. เป็นนโยบายที่ทุกฝ่ายให้การสนับสนุน แต่กลับไม่มีการปฏิบัติตามนั้น
" ผมยังคิดว่าบทบาทของนายกรัฐมนตรี เป็นหัวใจสำคัญ เพราะหลีกเลี่ยงไม่ได้ เนื่องจากงานนี้มีทั้งเรื่องความมั่นคง การพัฒนา ซึ่งต้องอาศัยความเป็นเอกภาพ พร้อมกับการตัดสินใจเพราะมีเรื่องกฎหมายพิเศษ การตัดสินใจทางการเมือง ถ้าหากปล่อยให้เป็นความรับผิดชอบของหลายคนแล้วจะเกิดความสับสน" นายอภิสิทธิ์ กล่าว
สำหรับกรณีที่มีนักวิชาการติงว่า รัฐไม่ควรมองว่าการมอบตัวของกลุ่มก่อความไม่สงบ คือบทสรุปว่าเป็นความสำเร็จในการแก้ปัญหา เพราะอาจมีปฏิกริยาโต้กลับนั้น นาอยภิสิทธิ์ กล่าวว่า เหตุการณ์ความรุนแรงยังต้องจับตาดูว่ามีทิศทางที่เปลี่ยนแปลงไปหรือไม่ การที่มีความเป็นไปได้ในการพูดคุยเป็นแนวโน้มที่ดีแต่อย่างที่หลายฝ่ายย้ำก็คือว่า จะมองว่าเป็นความสำเร็จแล้วคงไม่ได้ เพราะในอดีตก็ต้องยอมรับว่า มีการเคลื่อนไหวในลักษณะนี้หลายครั้ง แต่สุดท้ายยังมีกลุ่มอื่นๆ ที่ไม่ได้เข้ามายังสร้างปัญหาอยู่
** จี้รัฐบาลจ่ายเยียวยา7.7ล้าน
นายสาธิต ปิตุเตชะ ส.ส.ระยอง พรรคประชาธิปัตย์ แถลงข่าวว่า ตนขอเป็นตัวแทนรับเรื่องร้องเรียนจากญาติผู้เสียชีวิตในเรื่องความไม่สงบในพื้นที่ 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ และคดีอื่นๆ ที่เจ้าหน้าที่ต้องเสียชีวิตจากการปฏิบัติหน้าที่ อาทิ ดาบตำรวจที่ถูกลูกชายบริษัทกระทิงแดงชน เป็นต้น โดยจะนำรายละเอียดทั้งหมด ยื่นต่อนายกรัฐมนตรี ให้ออกมติคณะรัฐมนตรี จ่ายเงินเยียวยา 7.75 ล้านบาท เท่าเทียมกับมติคณะรัฐมนตรี ที่ให้เงินเยียวยาสำหรับผู้ที่ได้รับผลกระทบจากการชุมนุมทางการเมือง ในช่วงปี 52 และ 53 โดยญาติของผู้เสียชีวิต สามารถลงทะเบียนแจ้งความจำนงที่ ส.ส.ในพื้นที่ 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ หรือโทรศัพท์ร้องเรียนได้ที่ 086-6711226 และ 081-9197425 ได้ตลอด 24 ชั่วโมง
ทั้งนี้คาดว่าจะใช้เวลารวบรวมรายชื่อทั้งหมดไม่เกิน 1 เดือน ก่อนส่งนายกรัฐมนตรีต่อไป และหากเพิกเฉย จะยื่นฟ้องต่อศาลปกครอง เพราะถือเป็นการเลือกปฏิบัติขัดต่อรัฐธรรมนูญโดยตนจะทำหน้าที่เป็นทนาย เพื่อให้คำปรึกษาให้แก่ญาติผู้เสียหายในการดำเนินการ เพราะเห็นว่าเกิดความไม่เป็นธรรมขึ้น เพราะขณะนี้ได้มีเจ้าหน้าที่ที่เสียชีวิต จากการปฏิบัติหน้าที่ได้รับเงินเพียง2 ล้านบาท ซึ่งแตกต่างจากผู้เสียหายจากการชุมนุมทางการเมือง ซึ่งส่วนใหญ่เป็นคนเสื้อแดง
**โฆษกทบ.เชื่อสถานการณ์ใต้ดีขึ้น
พ.อ.สรรเสริญ แก้วกำเนิด โฆษกกองทัพบก กล่าวถึงสถานการณ์ในพื้นที่ 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ ว่า ขณะนี้กลุ่มแนวร่วม ที่มีหมายจับเข้ารายงานตัวกับเจ้าหน้าที่เพื่อพูดคุย และหาทางออกถึงปัญหาร่วมกันถือเป็นนิมิตหมายที่ดี และเป็นแนวโน้มที่บ่งบอกว่า สถานการณ์ในพื้นที่ดีขึ้นเรื่อยๆ เพราะทำให้กลุ่มที่สนับสนุนผู้ก่อเหตุในช่วงที่ผ่านมากลับใจ หันหน้าเข้ามาพูดคุยกับเจ้าหน้าที่ เพื่อหาทางออกให้บ้านเมืองอยู่กันอย่างสงบสุข ประชาชนรู้สึกปลอดภัย โดยมาตรการในการแก้ไขปัญหาขณะนี้ถือว่าพอเหมาะ การชี้แจงทำความเข้าใจต่อพี่น้องประชาชนในพื้นที่ได้ผล ทุกภาคส่วนที่ลงไปผลิตงานในความรับผิดชอบของแต่ละหน่วยมากขึ้น ประชาชนให้ความร่วมมือ สนับสนุนมากขึ้น และช่วยกันเป็นหูเป็นตาให้กับเจ้าหน้าที่ การชี้แจงทำความเข้าใจผู้ก่อเหตุทำได้ดี และมาตรการกดดันของเจ้าหน้าที่ทำได้อย่างมีประสิทธิภาพ ส่งผลให้สถานการณ์ในพื้นที่ 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ดีขึ้นตามลำดับ.