วัฏจักรของน้ำหมุนเวียนมานานชั่วกัปชั่วกัลป์ ต้นน้ำที่แท้จริงไม่ได้เกิดที่ภูเขา แต่หากเกิดอยู่ในทะเลเป็นส่วนใหญ่ ไอน้ำมหาศาลที่ก่อขึ้นเป็นเมฆและเป็นพายุพัดพาเข้าสู่แผ่นดิน ส่วนหนึ่งเป็นไอน้ำที่ก่อตัวขึ้นบนแผ่นดิน ซึ่งน้อยกว่ากันมากนัก ป่าไม้เป็นปราการทางธรรมชาติที่คอยดูดซับ และทำหน้าที่ฝายทางธรรมชาติเพื่อชะลอน้ำก่อนที่จะไหลกลับลงสู่ทะเล ตามเส้นทางและร่องรอยที่น้ำไหลผ่าน จนเกิดเป็นสายน้ำน้อยใหญ่ ลงสู่แม่น้ำและกลับสู่ที่มาคือทะเล
มนุษย์เกิดขึ้นมาหลังจากวัฏจักรนี้ การตั้งถิ่นฐานอยู่อาศัยเปลี่ยนแปลงธรรมชาติดั้งเดิม เคลื่อนย้ายถิ่นที่อยู่จากป่าเขาเป็นการสร้างบ้านเมือง การคมนาคมดั้งเดิมคือการพึ่งพาสายน้ำและทะเล ดังนั้น การสร้างบ้านแปงเมืองจึงต้องพึ่งพาแม่น้ำลำคลองและทะเลเป็นหลัก การอยู่อาศัยของมนุษย์เป็นการบุกรุก และเข้าไปแย่งชิงพื้นที่การเดินทางของน้ำ เพื่อกลับไปสู่ทะเล เราต้องยอมรับว่าการเดินทางของน้ำเป็นเช่นนี้มาช้านาน ก่อนที่มนุษย์จะอุบัติขึ้นในโลกด้วยซ้ำไป
มนุษย์พยายามที่จะเอาชนะธรรมชาติด้วยการเปลี่ยนเส้นทางน้ำ บีบบังคับน้ำให้อยู่ในที่แคบๆ หน่วงเหนี่ยวกักขังน้ำไว้ในเขื่อนขนาดใหญ่ ด้วยเหตุผลและข้ออ้างนานาประการ วันนี้เราเก็บกักน้ำไว้ในเขื่อนขนาดใหญ่ทั่วโลกรวมเนื้อที่มากเท่ากับทวีปๆ หนึ่งทีเดียว ปริมาณมหาศาลของน้ำที่เก็บไว้ด้วยความโลภของมนุษย์เกินความจำเป็น ทำให้แผ่นดินเกิดการเปลี่ยนแปลง เพราะมิได้เป็นไปตามธรรมชาติที่ควรเป็น แผ่นดินทรุดตัว แผ่นดินไหวมากขึ้นในทุกทวีปของโลก ไม่สงสัยบ้างหรือว่าเป็นเพราะเหตุใด เรายังดูดน้ำ น้ำมัน แก๊สจากใต้ดินมาใช้มากมายมหาศาล
หลังเขื่อนที่เราเชื่อว่าเป็นที่เก็บน้ำสำรองไว้แก้ภัยแล้ง ชะลอน้ำท่วม ผลิตไฟฟ้า มันมิได้มีแต่น้ำเท่านั้น หลังเขื่อนได้เก็บเอาตะกอนดิน หิน ทราย ทับถมกันเพิ่มขึ้นปริมาณมหาศาลทุกปี จากหลักฐานทางประวัติศาสตร์ เราพบว่าพื้นดินหลายแห่งในโลกเคยเป็นทะเลมาก่อน การผุกร่อนของภูเขาที่เกิดจากพายุและฝนได้พัดพาตะกอน สะสมจนเกิดเป็นแผ่นดินที่งอกลงไปในทะเล
ประเทศไทยก็เช่นกัน ทะเลเคยอยู่สูงมาจนถึงจังหวัดลพบุรี เราขุดพบเปลือกหอยและทรายจากทะเลได้ จังหวัดปทุมธานีก็พบเปลือกหอยทะเลจำนวนมาก กรุงเทพมหานครและจังหวัดแถบชายทะเลทั้งหลายเกิดแผ่นดินขึ้นจากการสะสมของตะกอนดินทรายที่มาจากน้ำหลาก
น้ำที่ไหลมาตามธรรมชาตินำพาแร่ธาตุ ซึ่งเป็นปุ๋ยกับพืชมาด้วยทุกปี และในรอบหนึ่งปีฤดูน้ำหลาก ปลวกและแมลงศัตรูพืชที่อยู่ในดินก็จะถูกกำจัดให้หมดไปด้วยน้ำ กลายเป็นอาหารอันอุดมสมบูรณ์ของหมู่ปลา และมนุษย์ก็ได้อาหารที่สมบูรณ์จากปลา เป็นไปตามวงจรธรรมชาติของห่วงโซ่อาหาร
ที่ราบภาคกลางเป็นพื้นที่ชุ่มน้ำ เป็นแผ่นดินที่รองรับน้ำหลากเมื่อหมดฤดูฝน เมื่อตะกอนและแร่ธาตุของพืชถูกกังไว้หลังเขื่อน เราปล่อยน้ำที่ขาดความอุดมสมบูรณ์ลงมา ปุ๋ยธรรมชาติขาดหายไป เราจึงต้องซื้อปุ๋ยเคมีจากต่างประเทศปีละนับหมื่นล้านบาท แมลงศัตรูพืชแพร่ระบาดเพราะน้ำไม่ท่วม ต้องสั่งซื้อยาฆ่าแมลงมาใช้อีกปีละหลายหมื่นล้านบาท ไม่มีน้ำจืดไหลลงทะเลอย่างสมดุล ทะเลจึงเอาแผ่นดินคืนมากขึ้นทุกปี
โรคภัยไข้เจ็บเพิ่มมากขึ้นจากสารเคมีตกค้างในอาหาร ปลาธรรมชาติหายไป ต้องเลี้ยงปลาจากการตัดต่อพันธุกรรม (GMO) คนไทยเป็นมะเร็งหลากหลายประเภทเพิ่มมากขึ้น เฉลี่ยคนไทยทุกคนรับประทานยาวันละ 2 เม็ด หรือเท่ากับ 120 ล้านเม็ดต่อวัน ยาเหล่านี้ต้องนำเข้าอีกปีละหลายหมื่นล้านบาท แต่เรากลับไม่เชื่อในสมุนไพรไทย และยาพื้นบ้าน การแพทย์ทางเลือก มนุษย์ที่เป็นอัมพาต อัมพฤกษ์ ก็เพราะเส้นเลือดตีบ หรือไขมันไปอุดตัน เลือดไปเลี้ยงสมองไม่สะดวก
โลกกำลังเผชิญปัญหาเดียวกัน เพราะมนุษย์ปิดกันเส้นทางชองน้ำด้วยความโลภ ต้องการเอาชนะ เปลี่ยนแปลงธรรมชาติจนยากที่จะเยียวยา น้ำต้องไหลไปกลับสู่แหล่งกำเนิดของเขาในทะเล เราเข้าไปอยู่อาศัย ขวางทางเขา บุกรุกที่ที่เขาเคยอยู่เคยพัก และยังบีบบังคับเขาให้อยู่ในที่จำกัด และไปคนละทางกับที่เขาควรจะไป
ข้ออ้างในการสร้างเขื่อนแม่งัด และเขื่อนแม่กวงก็เช่นเดียวกับข้ออ้างในการสร้างเขื่อนแก่งเสือเต้น และเขื่อนแม่วงก์ โดยอ้างว่าที่น้ำท่วมเพราะไม่มีเขื่อน ถ้ามีเขื่อนจะแก้ปัญหาน้ำได้ ข้อเท็จจริงคือน้ำท่วมครั้งใหญ่ในตัวเมืองเชียงใหม่ 2 ครั้งที่ผ่านมา เขื่อนไม่ได้ช่วยอะไรเลย กลับกลายเป็นว่าน้ำท่วมสูงและมากกว่าก่อนสร้างเขื่อนเสียอีก ทั้งๆ ที่มีพนังกั้นน้ำแบบเดียวกันกับที่จังหวัดสุโขทัย นครสวรรค์ และสิงห์บุรี
พนังกั้นน้ำคอนกรีตที่ก่อสร้างรับแม่น้ำในเขตตัวเมือง บางแห่งสูงใหญ่เกินกว่าหลังคารถบรรทุก แต่สุดท้ายก็เอาไม่อยู่ ไม่ว่าที่สิงห์บุรี นครสวรรค์ และล่าสุดที่จังหวัดสุโขทัย อุทัยธานี และก็ตามมาด้วยข้ออ้างเหตุสุดวิสัย อุบัติเหตุ แต่ทำไมมันเกิดซ้ำซาก และก็จะเกิดต่อไปอีก แม้แต่ในเขตกรุงเทพมหานครก็เช่นเดียวกัน น้ำทะลักเข้ากรุงเทพฯ แถบบางพลัด บางกรวย เมื่อปี 2554 ก็ไม่ใช่ข้ออ้างเขื่อนพังเช่นนี้หรอกหรือ
พนังกั้นน้ำคอนกรีตทั้งหลาย แหล่งเหล่านั้นเป็นนวัตกรรมทางวิศวกรรมศาสตร์ที่อัปลักษณ์ มันทำให้แม่น้ำลำคลองทั้งหลายที่เคยมีตลิ่งตามธรรมชาติ มีต้นไม้ พืชพันธุ์หลากหลายชนิด ปู ปลาตีนสูญหายไป คลองกลายเป็นร่องน้ำคอนกรีต เพื่อระบายน้ำและเป็นที่ทิ้งน้ำเสียขยะ แม่น้ำถูกบีบบังคับให้อยู่ในที่แคบๆ เมื่อไหลมาแรงก็จะยกตัวสูงขึ้น หากมีลมพัดสอบ ก็สามารถทำให้น้ำยกตัวสูง และทะลักข้ามกำแพงเหล่านั้นได้โดยไม่ต้องมีพายุฝน เมื่อน้ำบุกทะลวงแนวกำแพงป้องกันริมตลิ่งเหล่านั้นได้ แต่กลับไม่พบทางออกมันจะท่วมขังเจิ่งนองอยู่นานแทนที่จะผ่านไปในวันเดียว ในขณะที่ระดับน้ำในตลิ่งลดลง แต่น้ำที่ท่วมขังในเมืองต้องใช้เครื่องสูบออก ซ้ำซากอย่างนี้มาตลอด ไม่ใช่อุบัติเหตุแต่เป็นเรื่องของความโง่ของคนที่ไม่รู้จักธรรมชาติของน้ำ น้ำต้องมีที่อยู่ที่ไปตามทางของเขา
คนไทยมักเชื่อฝรั่งหรือตำรับตำราจากต่างประเทศ แต่ไม่ค่อยเคารพภูมิปัญญาของบรรพบุรุษ การจัดการน้ำในภาคเหนือมีระบบเหมือนฝายและกติกาที่บันทึกไว้ในมังรายศาสตร์มากว่า 700 ปี เราไม่เชื่อมั่นกับชุมชนและผู้คนในแต่ละท้องถิ่น เราชื่นชมนักวิชาการและด็อกเตอร์ที่จบจากต่างประเทศ จนกระทั่งทำลายภูมิปัญญาและองค์ความรู้ในการจัดการตนเองของท้องถิ่นเกือบทุกกรณีปัญหา ปราชญ์ชาวบ้านถูกยกย่องเพียงเพื่อให้คนทำงานดูดีมีหน้าตา แต่ไม่เคยเอาองค์ความรู้ที่เขามีอยู่มาใช้เลย
ผมเองไม่มีดีกรีอะไรจะมาแข่งกับด็อกเตอร์ทั้งหลาย แต่ครั้งหนึ่งได้รับทุนไปทำวิจัยเรื่องการจัดการน้ำโดยชุมชนในประเทศญี่ปุ่น ศึกษาบทเรียนการจัดการน้ำในพื้นที่ของเมืองเกียวโตและโอซาก้า ซึ่งมีแม่น้ำโยโดเป็นตัวเชื่อม
แม่น้ำโยโดมีต้นน้ำอยู่ทางเหนือบนภูเขาของเกียวโต และอีกสายหนึ่งมาจากทะเลสาบใหญ่มีชื่อว่า “บิวะ” จากจังหวัดชิกะ ในฤดูน้ำหลากซึ่งเกิดจากหิมะละลายตัว ปริมาณน้ำมหาศาล ทั้งไหลเร็วและแรงมาก เพื่อมุ่งหน้าไปสู่ทะเล โดยผ่านเมืองโอซาก้า กว่าร้อยไปที่ผ่านมาคนญี่ปุ่นก็คิดแบบเดียวกับที่เราทำพนังกั้นน้ำอย่างทุกวันนี้ เพียงแต่สมัยนั้นไม่ได้ใช้คอนกรีต เป็นเขื่อนดินขนาดใหญ่และใช้หินทิ้ง ผู้คนก็ยังคงอาศัยอยู่ตามริมฝั่งแม่น้ำเช่นเดียวกัน ในปีหนึ่งที่ทำให้เขาต้องเปลี่ยนแปลงการจัดการครั้งใหญ่ เมื่อเกิดพายุและน้ำหลากปริมาณมหาศาลอย่างไม่เคยปรากฏมาก่อนในรอบ 100 ปี ผนังกั้นสูง 3-4 เมตรที่คิดว่าแข็งแรงที่สุดถูกกัดเซาะพังทลาย เมืองที่เป็นหัวใจเศรษฐกิจของประเทศจมบาดาล เสียหายทั้งชีวิตและทรัพย์สินมหาศาล
เขาได้ทำการศึกษาวิจัยเพื่อแก้ปัญหาในอีก 100 ปีข้างหน้า โดยมีการอพยพผู้คนริมฝั่งน้ำทั้ง 2 ฝั่งออกไป ปล่อยให้แม่น้ำอยู่อย่างอิสระ ตลิ่งสองฝั่งกว้างฝั่งละเกือบ 100 เมตร คันดินสองข้างสูงเกือบ 10 เมตร เป็นแกนดินบดอัดแน่น ด้านบนเป็นถนนและรถไฟฟ้าทั้ง 2 ฝั่ง บ้านเรือนชาวบ้าน ห้างร้านออกไปอยู่นอกแนวคันดิน ไม่มีเขื่อนกั้นขวางแม่น้ำเลยตลอดระยะทางปากแม่น้ำกว่า 50 กิโลเมตรจนไปออกสู่ทะเล โดยมีประตูน้ำขนาดใหญ่ที่ปากแม่น้ำเมืองโอซาก้า
ประเทศไทยคงทำไม่ได้ดังตัวอย่างที่กล่าว แต่เราต้องไม่ใช้ริมตลิ่งเป็นแนวเขื่อนป้องกันซึ่งไม่มีทางรับมือไหว ต้องตั้งแนวถอยร่นเข้ามาข้างละไม่ต่ำกว่า 500 เมตร ส่วนใครที่อยู่ในพื้นที่เสี่ยงภัยโดยไม่ยอมโยกย้าย ก็ต้องรับความเสี่ยงเอาเอง โดยรัฐต้องให้ความช่วยเหลือเยียวยาให้เหมาะสม ปีที่ผ่านมาเอาคนไม่รู้จริงมาแก้ปัญหาเรื่องน้ำ จนหายนะมากกว่า 3 แสนล้าน น้ำมาตามธรรมชาติของมันก็จริง แต่ที่ท่วมหนักเพราะความด้อยปัญญาของผู้บริหารบ้านเมือง และเรากำลังจะซ้ำรอยเดิม
การจัดการต้นน้ำมิใช่การปลูกป่า เพราะป่าเกิดไม่ทันถ้ารอคนปลูก และป่าเกิดไม่ได้เพราะฮีโร่ที่ชื่อ ดำรงค์ พิเดช เพียงคนเดียว จากที่เคยทำงานวิจัยร่วมกับสถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย (TDRI) พบว่าคนที่อยู่อาศัยกับป่า เขามีความพร้อมมากที่สุดที่จะเป็นผู้ดูแลรักษา เพียงไม่ให้มีใครทำลายป่าเพิ่ม ปล่อยพื้นที่สาธารณะทั้งหลายไว้เองจะกลายเป็นป่าขึ้นมาภายในไม่ถึง 10 ปี จ้างให้คนเหล่านั้นเป็นเจ้าพนักงานดูแลป่าและผลิตน้ำให้คนเมืองเพียง 3,000 บาทต่อเดือน/ครอบครัว เราก็จะมีป่าชะลอน้ำได้ภายในไม่เกิน 10 ปี
เงินงบประมาณที่ใช้เหล่านี้ เก็บภาษีจากน้ำดื่มทุกชนิด น้ำใช้ทุกประเภท เพียง 0.1% เท่านั้นก็เพียงพอแล้ว จัดการโซนนิ่งที่ดินเสียใหม่ อย่าให้ปลูกพืชเชิงพาณิชย์ข้ามท้องถิ่น อาทิ ยางพารา ซึ่งไม่เหมาะที่จะปลูกบนที่สูง เช่น เชียงใหม่ เชียงราย ที่เหล่านั้นต้องการป่าธรรมชาติ ไม่ใช่ป่าจากต้นยาง เช่น ภาคใต้ เช่นเดียวกับข้าวโพดและมันสำปะหลังซึ่งต้องควบคุมพื้นที่ปลูกเช่นกัน
ประเทศนี้ไม่ใช่ของพวกคุณคนเดียว เมื่อไหร่จะหยุดและรู้จักพอ ฟังกันบ้างได้ไหม กอบโกยผลประโยชน์ไปมากเกินพอแล้ว กินไปถึงชาติหน้าก็ไม่หมด กลับมาทำประโยชน์เพื่อพี่น้องประชาชนบ้าง ก่อนที่ทุกอย่างจะสายเกินไป
มนุษย์เกิดขึ้นมาหลังจากวัฏจักรนี้ การตั้งถิ่นฐานอยู่อาศัยเปลี่ยนแปลงธรรมชาติดั้งเดิม เคลื่อนย้ายถิ่นที่อยู่จากป่าเขาเป็นการสร้างบ้านเมือง การคมนาคมดั้งเดิมคือการพึ่งพาสายน้ำและทะเล ดังนั้น การสร้างบ้านแปงเมืองจึงต้องพึ่งพาแม่น้ำลำคลองและทะเลเป็นหลัก การอยู่อาศัยของมนุษย์เป็นการบุกรุก และเข้าไปแย่งชิงพื้นที่การเดินทางของน้ำ เพื่อกลับไปสู่ทะเล เราต้องยอมรับว่าการเดินทางของน้ำเป็นเช่นนี้มาช้านาน ก่อนที่มนุษย์จะอุบัติขึ้นในโลกด้วยซ้ำไป
มนุษย์พยายามที่จะเอาชนะธรรมชาติด้วยการเปลี่ยนเส้นทางน้ำ บีบบังคับน้ำให้อยู่ในที่แคบๆ หน่วงเหนี่ยวกักขังน้ำไว้ในเขื่อนขนาดใหญ่ ด้วยเหตุผลและข้ออ้างนานาประการ วันนี้เราเก็บกักน้ำไว้ในเขื่อนขนาดใหญ่ทั่วโลกรวมเนื้อที่มากเท่ากับทวีปๆ หนึ่งทีเดียว ปริมาณมหาศาลของน้ำที่เก็บไว้ด้วยความโลภของมนุษย์เกินความจำเป็น ทำให้แผ่นดินเกิดการเปลี่ยนแปลง เพราะมิได้เป็นไปตามธรรมชาติที่ควรเป็น แผ่นดินทรุดตัว แผ่นดินไหวมากขึ้นในทุกทวีปของโลก ไม่สงสัยบ้างหรือว่าเป็นเพราะเหตุใด เรายังดูดน้ำ น้ำมัน แก๊สจากใต้ดินมาใช้มากมายมหาศาล
หลังเขื่อนที่เราเชื่อว่าเป็นที่เก็บน้ำสำรองไว้แก้ภัยแล้ง ชะลอน้ำท่วม ผลิตไฟฟ้า มันมิได้มีแต่น้ำเท่านั้น หลังเขื่อนได้เก็บเอาตะกอนดิน หิน ทราย ทับถมกันเพิ่มขึ้นปริมาณมหาศาลทุกปี จากหลักฐานทางประวัติศาสตร์ เราพบว่าพื้นดินหลายแห่งในโลกเคยเป็นทะเลมาก่อน การผุกร่อนของภูเขาที่เกิดจากพายุและฝนได้พัดพาตะกอน สะสมจนเกิดเป็นแผ่นดินที่งอกลงไปในทะเล
ประเทศไทยก็เช่นกัน ทะเลเคยอยู่สูงมาจนถึงจังหวัดลพบุรี เราขุดพบเปลือกหอยและทรายจากทะเลได้ จังหวัดปทุมธานีก็พบเปลือกหอยทะเลจำนวนมาก กรุงเทพมหานครและจังหวัดแถบชายทะเลทั้งหลายเกิดแผ่นดินขึ้นจากการสะสมของตะกอนดินทรายที่มาจากน้ำหลาก
น้ำที่ไหลมาตามธรรมชาตินำพาแร่ธาตุ ซึ่งเป็นปุ๋ยกับพืชมาด้วยทุกปี และในรอบหนึ่งปีฤดูน้ำหลาก ปลวกและแมลงศัตรูพืชที่อยู่ในดินก็จะถูกกำจัดให้หมดไปด้วยน้ำ กลายเป็นอาหารอันอุดมสมบูรณ์ของหมู่ปลา และมนุษย์ก็ได้อาหารที่สมบูรณ์จากปลา เป็นไปตามวงจรธรรมชาติของห่วงโซ่อาหาร
ที่ราบภาคกลางเป็นพื้นที่ชุ่มน้ำ เป็นแผ่นดินที่รองรับน้ำหลากเมื่อหมดฤดูฝน เมื่อตะกอนและแร่ธาตุของพืชถูกกังไว้หลังเขื่อน เราปล่อยน้ำที่ขาดความอุดมสมบูรณ์ลงมา ปุ๋ยธรรมชาติขาดหายไป เราจึงต้องซื้อปุ๋ยเคมีจากต่างประเทศปีละนับหมื่นล้านบาท แมลงศัตรูพืชแพร่ระบาดเพราะน้ำไม่ท่วม ต้องสั่งซื้อยาฆ่าแมลงมาใช้อีกปีละหลายหมื่นล้านบาท ไม่มีน้ำจืดไหลลงทะเลอย่างสมดุล ทะเลจึงเอาแผ่นดินคืนมากขึ้นทุกปี
โรคภัยไข้เจ็บเพิ่มมากขึ้นจากสารเคมีตกค้างในอาหาร ปลาธรรมชาติหายไป ต้องเลี้ยงปลาจากการตัดต่อพันธุกรรม (GMO) คนไทยเป็นมะเร็งหลากหลายประเภทเพิ่มมากขึ้น เฉลี่ยคนไทยทุกคนรับประทานยาวันละ 2 เม็ด หรือเท่ากับ 120 ล้านเม็ดต่อวัน ยาเหล่านี้ต้องนำเข้าอีกปีละหลายหมื่นล้านบาท แต่เรากลับไม่เชื่อในสมุนไพรไทย และยาพื้นบ้าน การแพทย์ทางเลือก มนุษย์ที่เป็นอัมพาต อัมพฤกษ์ ก็เพราะเส้นเลือดตีบ หรือไขมันไปอุดตัน เลือดไปเลี้ยงสมองไม่สะดวก
โลกกำลังเผชิญปัญหาเดียวกัน เพราะมนุษย์ปิดกันเส้นทางชองน้ำด้วยความโลภ ต้องการเอาชนะ เปลี่ยนแปลงธรรมชาติจนยากที่จะเยียวยา น้ำต้องไหลไปกลับสู่แหล่งกำเนิดของเขาในทะเล เราเข้าไปอยู่อาศัย ขวางทางเขา บุกรุกที่ที่เขาเคยอยู่เคยพัก และยังบีบบังคับเขาให้อยู่ในที่จำกัด และไปคนละทางกับที่เขาควรจะไป
ข้ออ้างในการสร้างเขื่อนแม่งัด และเขื่อนแม่กวงก็เช่นเดียวกับข้ออ้างในการสร้างเขื่อนแก่งเสือเต้น และเขื่อนแม่วงก์ โดยอ้างว่าที่น้ำท่วมเพราะไม่มีเขื่อน ถ้ามีเขื่อนจะแก้ปัญหาน้ำได้ ข้อเท็จจริงคือน้ำท่วมครั้งใหญ่ในตัวเมืองเชียงใหม่ 2 ครั้งที่ผ่านมา เขื่อนไม่ได้ช่วยอะไรเลย กลับกลายเป็นว่าน้ำท่วมสูงและมากกว่าก่อนสร้างเขื่อนเสียอีก ทั้งๆ ที่มีพนังกั้นน้ำแบบเดียวกันกับที่จังหวัดสุโขทัย นครสวรรค์ และสิงห์บุรี
พนังกั้นน้ำคอนกรีตที่ก่อสร้างรับแม่น้ำในเขตตัวเมือง บางแห่งสูงใหญ่เกินกว่าหลังคารถบรรทุก แต่สุดท้ายก็เอาไม่อยู่ ไม่ว่าที่สิงห์บุรี นครสวรรค์ และล่าสุดที่จังหวัดสุโขทัย อุทัยธานี และก็ตามมาด้วยข้ออ้างเหตุสุดวิสัย อุบัติเหตุ แต่ทำไมมันเกิดซ้ำซาก และก็จะเกิดต่อไปอีก แม้แต่ในเขตกรุงเทพมหานครก็เช่นเดียวกัน น้ำทะลักเข้ากรุงเทพฯ แถบบางพลัด บางกรวย เมื่อปี 2554 ก็ไม่ใช่ข้ออ้างเขื่อนพังเช่นนี้หรอกหรือ
พนังกั้นน้ำคอนกรีตทั้งหลาย แหล่งเหล่านั้นเป็นนวัตกรรมทางวิศวกรรมศาสตร์ที่อัปลักษณ์ มันทำให้แม่น้ำลำคลองทั้งหลายที่เคยมีตลิ่งตามธรรมชาติ มีต้นไม้ พืชพันธุ์หลากหลายชนิด ปู ปลาตีนสูญหายไป คลองกลายเป็นร่องน้ำคอนกรีต เพื่อระบายน้ำและเป็นที่ทิ้งน้ำเสียขยะ แม่น้ำถูกบีบบังคับให้อยู่ในที่แคบๆ เมื่อไหลมาแรงก็จะยกตัวสูงขึ้น หากมีลมพัดสอบ ก็สามารถทำให้น้ำยกตัวสูง และทะลักข้ามกำแพงเหล่านั้นได้โดยไม่ต้องมีพายุฝน เมื่อน้ำบุกทะลวงแนวกำแพงป้องกันริมตลิ่งเหล่านั้นได้ แต่กลับไม่พบทางออกมันจะท่วมขังเจิ่งนองอยู่นานแทนที่จะผ่านไปในวันเดียว ในขณะที่ระดับน้ำในตลิ่งลดลง แต่น้ำที่ท่วมขังในเมืองต้องใช้เครื่องสูบออก ซ้ำซากอย่างนี้มาตลอด ไม่ใช่อุบัติเหตุแต่เป็นเรื่องของความโง่ของคนที่ไม่รู้จักธรรมชาติของน้ำ น้ำต้องมีที่อยู่ที่ไปตามทางของเขา
คนไทยมักเชื่อฝรั่งหรือตำรับตำราจากต่างประเทศ แต่ไม่ค่อยเคารพภูมิปัญญาของบรรพบุรุษ การจัดการน้ำในภาคเหนือมีระบบเหมือนฝายและกติกาที่บันทึกไว้ในมังรายศาสตร์มากว่า 700 ปี เราไม่เชื่อมั่นกับชุมชนและผู้คนในแต่ละท้องถิ่น เราชื่นชมนักวิชาการและด็อกเตอร์ที่จบจากต่างประเทศ จนกระทั่งทำลายภูมิปัญญาและองค์ความรู้ในการจัดการตนเองของท้องถิ่นเกือบทุกกรณีปัญหา ปราชญ์ชาวบ้านถูกยกย่องเพียงเพื่อให้คนทำงานดูดีมีหน้าตา แต่ไม่เคยเอาองค์ความรู้ที่เขามีอยู่มาใช้เลย
ผมเองไม่มีดีกรีอะไรจะมาแข่งกับด็อกเตอร์ทั้งหลาย แต่ครั้งหนึ่งได้รับทุนไปทำวิจัยเรื่องการจัดการน้ำโดยชุมชนในประเทศญี่ปุ่น ศึกษาบทเรียนการจัดการน้ำในพื้นที่ของเมืองเกียวโตและโอซาก้า ซึ่งมีแม่น้ำโยโดเป็นตัวเชื่อม
แม่น้ำโยโดมีต้นน้ำอยู่ทางเหนือบนภูเขาของเกียวโต และอีกสายหนึ่งมาจากทะเลสาบใหญ่มีชื่อว่า “บิวะ” จากจังหวัดชิกะ ในฤดูน้ำหลากซึ่งเกิดจากหิมะละลายตัว ปริมาณน้ำมหาศาล ทั้งไหลเร็วและแรงมาก เพื่อมุ่งหน้าไปสู่ทะเล โดยผ่านเมืองโอซาก้า กว่าร้อยไปที่ผ่านมาคนญี่ปุ่นก็คิดแบบเดียวกับที่เราทำพนังกั้นน้ำอย่างทุกวันนี้ เพียงแต่สมัยนั้นไม่ได้ใช้คอนกรีต เป็นเขื่อนดินขนาดใหญ่และใช้หินทิ้ง ผู้คนก็ยังคงอาศัยอยู่ตามริมฝั่งแม่น้ำเช่นเดียวกัน ในปีหนึ่งที่ทำให้เขาต้องเปลี่ยนแปลงการจัดการครั้งใหญ่ เมื่อเกิดพายุและน้ำหลากปริมาณมหาศาลอย่างไม่เคยปรากฏมาก่อนในรอบ 100 ปี ผนังกั้นสูง 3-4 เมตรที่คิดว่าแข็งแรงที่สุดถูกกัดเซาะพังทลาย เมืองที่เป็นหัวใจเศรษฐกิจของประเทศจมบาดาล เสียหายทั้งชีวิตและทรัพย์สินมหาศาล
เขาได้ทำการศึกษาวิจัยเพื่อแก้ปัญหาในอีก 100 ปีข้างหน้า โดยมีการอพยพผู้คนริมฝั่งน้ำทั้ง 2 ฝั่งออกไป ปล่อยให้แม่น้ำอยู่อย่างอิสระ ตลิ่งสองฝั่งกว้างฝั่งละเกือบ 100 เมตร คันดินสองข้างสูงเกือบ 10 เมตร เป็นแกนดินบดอัดแน่น ด้านบนเป็นถนนและรถไฟฟ้าทั้ง 2 ฝั่ง บ้านเรือนชาวบ้าน ห้างร้านออกไปอยู่นอกแนวคันดิน ไม่มีเขื่อนกั้นขวางแม่น้ำเลยตลอดระยะทางปากแม่น้ำกว่า 50 กิโลเมตรจนไปออกสู่ทะเล โดยมีประตูน้ำขนาดใหญ่ที่ปากแม่น้ำเมืองโอซาก้า
ประเทศไทยคงทำไม่ได้ดังตัวอย่างที่กล่าว แต่เราต้องไม่ใช้ริมตลิ่งเป็นแนวเขื่อนป้องกันซึ่งไม่มีทางรับมือไหว ต้องตั้งแนวถอยร่นเข้ามาข้างละไม่ต่ำกว่า 500 เมตร ส่วนใครที่อยู่ในพื้นที่เสี่ยงภัยโดยไม่ยอมโยกย้าย ก็ต้องรับความเสี่ยงเอาเอง โดยรัฐต้องให้ความช่วยเหลือเยียวยาให้เหมาะสม ปีที่ผ่านมาเอาคนไม่รู้จริงมาแก้ปัญหาเรื่องน้ำ จนหายนะมากกว่า 3 แสนล้าน น้ำมาตามธรรมชาติของมันก็จริง แต่ที่ท่วมหนักเพราะความด้อยปัญญาของผู้บริหารบ้านเมือง และเรากำลังจะซ้ำรอยเดิม
การจัดการต้นน้ำมิใช่การปลูกป่า เพราะป่าเกิดไม่ทันถ้ารอคนปลูก และป่าเกิดไม่ได้เพราะฮีโร่ที่ชื่อ ดำรงค์ พิเดช เพียงคนเดียว จากที่เคยทำงานวิจัยร่วมกับสถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย (TDRI) พบว่าคนที่อยู่อาศัยกับป่า เขามีความพร้อมมากที่สุดที่จะเป็นผู้ดูแลรักษา เพียงไม่ให้มีใครทำลายป่าเพิ่ม ปล่อยพื้นที่สาธารณะทั้งหลายไว้เองจะกลายเป็นป่าขึ้นมาภายในไม่ถึง 10 ปี จ้างให้คนเหล่านั้นเป็นเจ้าพนักงานดูแลป่าและผลิตน้ำให้คนเมืองเพียง 3,000 บาทต่อเดือน/ครอบครัว เราก็จะมีป่าชะลอน้ำได้ภายในไม่เกิน 10 ปี
เงินงบประมาณที่ใช้เหล่านี้ เก็บภาษีจากน้ำดื่มทุกชนิด น้ำใช้ทุกประเภท เพียง 0.1% เท่านั้นก็เพียงพอแล้ว จัดการโซนนิ่งที่ดินเสียใหม่ อย่าให้ปลูกพืชเชิงพาณิชย์ข้ามท้องถิ่น อาทิ ยางพารา ซึ่งไม่เหมาะที่จะปลูกบนที่สูง เช่น เชียงใหม่ เชียงราย ที่เหล่านั้นต้องการป่าธรรมชาติ ไม่ใช่ป่าจากต้นยาง เช่น ภาคใต้ เช่นเดียวกับข้าวโพดและมันสำปะหลังซึ่งต้องควบคุมพื้นที่ปลูกเช่นกัน
ประเทศนี้ไม่ใช่ของพวกคุณคนเดียว เมื่อไหร่จะหยุดและรู้จักพอ ฟังกันบ้างได้ไหม กอบโกยผลประโยชน์ไปมากเกินพอแล้ว กินไปถึงชาติหน้าก็ไม่หมด กลับมาทำประโยชน์เพื่อพี่น้องประชาชนบ้าง ก่อนที่ทุกอย่างจะสายเกินไป