วานนี้ (16 ก.ย. 55) นายประยงค์ ปรียาจิตต์ รองเลขาธิการสำนักงานป้องกันและปราบปรามการทุจริตในภาครัฐ (ป.ป.ท.) กล่าวถึงการตรวจสอบการใช้งบประมาณเพื่อให้ความช่วยเหลือผู้ประสบภัยพิบัติกรณีฉุกเฉิน (ด้านพืช) เช่น โรคระบาดที่เกิดขึ้นกับพืชเศรษฐกิจทั้งยางพารา มันสำปะหลัง ข้าวในภาคตะวันออกเฉียงเหนือสูงผิดปกติ ว่า ป.ป.ท.ได้รับข้อมูลจากคณะอนุกรรมาธิการการป้องกันและปราบปรามการทุจริตประพฤติมิชอบ ซึ่งตรวจสอบพบว่า 20 จังหวัดภาคตะวันออกเฉียงเหนือมีการใช้งบประมาณดังกล่าวในปี 2553 - 2555 ผิดปกติรวมเป็นเงินกว่า 5,000 ล้านบาท โดยเฉพาะจังหวัดอุบลราชธานี ซึ่งพบว่ามีการใช้จ่ายงบประมาณดังกล่าวถึง 1,200 ล้านบาท พ.ต.อ.ดุษฎี อารยวุฒิ เลขาธิการป.ป.ท.จึงสั่งการให้ตนตั้งคณะทำงานพร้อมลงพื้นที่สุ่มตรวจสอบ 4 อำเภอ ในจ.อุบลราชธานี คือ อ.โขงเจียม อ.น้ำยืน อ.วารินชำราบ และอ.เมืองอุบลราชธานี พบพฤติกรรมผิดปกติในหลายประเด็น ทั้งการตั้งเบิกงบประมาณทั้งที่ไม่ได้เกิดภัยพิบัติจริง มีการทำเอกสารย้อนหลังในพื้นที่ที่เกิดภัยพิบัติเพื่อให้ได้งบประมาณมากขึ้น หรือกรณีที่มีภัยพิบัติแต่ประเมินความเสียหายสูงเกินจริง
" กรณีซื้อยาปราบศัตรูพืชกมธ.ต้องการให้ป.ป.ท.เข้าสืบสวนให้ได้ข้อเท็จจริง เพราะประชาชนในพื้นที่ได้รับความเดือดร้อนมาก โดยผลการตรวจสอบพบว่ามีการจัดซื้อยาแพงกว่าราคาปกติ 8 - 10 เท่า โดยราคาขายส่งขวดละ 230 บาทต่อ 1,000 ซีซี ราคาในท้องตลาดประมาณ 280-300 บาท แต่การจัดซื้อของราชการในราคาสูงถึง 1,712 บาท นอกจากนี้ยังพบว่ายาหลายตัวเป็นยาปลอมเนื่องจากกรรมาธิการได้เรียกบริษัทผู้ผลิตยาปราบศัตรูพืชมาสอบถามพบว่ายาบางตัวบริษัทเลิกผลิตไปแล้ว " นายประยงค์กล่าว
นายประยงค์ กล่าวต่อว่า ป.ป.ท.ยังพบความผิดปกติของบริษัทที่ทำสัญญาซื้อสารเคมีกำจัดศัตรูพืชคือมีบุคคลต้องสงสัย ชื่อนายอ้วน (นามสมมุติ) ทำหน้าที่ยื่นใบเสนอราคาของบริษัทที่เกี่ยวข้อง 8 บริษัท ในพื้นที่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือทั้งหมด ซึ่งในการยื่นเสนอราคาจะมีใบสั่งเจาะจงเลือกบริษัทรับงาน กำหนดประเภทยา และราคายา โดยบริษัทหลายแห่งเมื่อตรวจสอบแล้วไม่ได้ประกอบธุรกิจเกี่ยวกับยาปราบศัตรูพืช ทำให้เชื่อได้ว่ามีการทุจริตในการจัดซื้อและฮั้วประมูล ซึ่งบริษัทเหล่านี้บางแห่งเพิ่งจดทะเบียนก่อตั้งบริษัทได้เพียง 1 ปี แต่มีเงินหมุมเวียนหลักพันล้านบาท เบื้องต้นผู้ที่ต้องรับผิดชอบเรื่องดังกล่าวคือผู้ลงนามในสัญญาและผู้ตรวจรับงาน ส่วนเจ้าหน้าที่ระดับสูงจะมีส่วนเกี่ยวข้องด้วยหรือไม่ต้องตรวจสอบอย่างละเอียดต่อไป
" เฉพาะจ.อุบลราชธานีมีการประกาศภัยพิบัติ 26 ประเภท จำนวน 329 ครั้ง วงเงินกว่า 1,240 ล้านบาท โดยข้อเท็จจริงพบว่าส่วนใหญ่ไม่ได้เกิดโรคระบาด หรือหากมีโรคระบาดก็ไม่รุนแรงถึงขั้นต้องประกาศเป็นพื้นที่ประสบภัยพิบัติ เช่น ปี 53 - 54 มีเพลี้ยแป้งมันสำปะหลังระบาดเล็กน้อย ไม่ถึงขั้นเป็นภัยพิบัติ หรือโรคราสีชมพูในยางพารา ที่ไม่การระบาดจริงแต่มีการประกาศเป็นภัยพิบัติ งบประมาณเหล่านี้ถือเป็นเงินจำนวนมากที่ควรนำไปใช้ประโยชน์กับประชาชนแต่กลับตกไปอยู่กับคนกลุ่มเดียว ป.ป.ท.ลงพื้นที่ตรวจสอบเจ้าหน้าที่ระดับล่างเกือบทุกคนร้องไห้และยอมรับว่าทำไปเพราะถูกกำหนดให้ทำ โดยยอมรับว่าการเบิกจ่ายงบภัยพิบัติฉุกเฉินมีช่องโหว่เพราะสามารถนำเงินมาใช้ก่อนทำให้เงินรั่วไหลง่ายเกินไป หลังจากนี้ป.ป.ท.จะเสนอให้มีบอร์ดป.ป.ท.มติตรวจสอบเรื่องดังกล่าว โดยจะขอให้มีการไต่สวนทุกพื้นที่ และจะกันเจ้าหน้าที่ระดับล่างไว้เป็นพยานในคดี" นายประยงค์ กล่าว
แหล่งข่าวจากชุดสืบสวนสอบสวน เปิดเผยว่า การเบิกจ่ายงบเยียวยาภัยพิบัติฉุกเฉินครั้งละ 50 ล้านบาท แต่นำไปใช้จริงกลับใช้เพียงหลักแสนบาทเท่านั้น นอกจากนี้ยังพบข้อมูลความผิดปกติที่มีการนำรายชื่อบุคคลที่เสียชีวิตไปแล้วมาแอบอ้างลงชื่อรับยาฆ่าเพลี้ย เช่น ชื่อของนายแพงหลาย นันทเสนา ซึ่งเสียชีวิตไปตั้งแต่วันที่ 18 ก.ย. 2554 แต่พบว่ามีการลงชื่อรับยาเดือนก.ค.ปี 2555 หรือชาวบ้านบางรายลงรายมือชื่อเป็นผู้รับยาจริง แต่จำนวนพื้นที่เสียหาย-จำนวนสารเคมีที่ได้รับไม่ตรงความเป็นจริง ทั้งนี้ จากการสอบถามข้อมูลกับกรมวิชาการเกษตร ยังพบว่าหากมีการใช้ยาปราบศัตรูพืชตามจำนวนที่มีการเบิกจ่ายจริง ประชาชนในพื้นที่จะเป็นอันตรายถึงขั้นเสียชีวิตได้ทั้งจังหวัด เนื่องจากยาปราบศัตรูพืชเป็นยาอันตรายที่มีฤทธิ์รุนแรง การใช้แต่ละครั้งจะใช้เพียงเล็กน้อยผสมกับน้ำ ส่วนใหญ่จะใช้อัตราส่วนพื้นที่ 1 ไร่ ต่อยาปราบศัตรูพืช 2 ช้อนผสมน้ำตามสัดส่วน ดังนั้นจึงอาจเป็นโชคดีที่มีการทุจริตทำให้ยาไม่ถูกส่งไปถึงเกษตรกรครบตามจำนวนเงินที่จัดซื้อ
สำหรับ 20 จังหวัดภาคตะวันออกเฉียงเหนือที่มีการเบิกจ่ายงบภัยพิบัติฉุกเฉินด้านพืช ประกอบด้วย จ.กาฬสินธุ์ ขอนแก่น ชัยภูมิ นครพนม นครราชสีมา บุรีรัมย์ สุรินทร์ มหาสารคาม มุกดาหาร ยโสธร ร้อยเอ็ด เลย ศรีสะเกษ สกลนคร หนองคาย หนองบัวลำภู อำนาจเจริญ อุดรธานี อุบลราชธานี และบึงกาฬ ส่วนโรคระบาดที่ประกาศเป็นภัยพิบัติ อาทิ โรคขอบไหม้ในข้าวนา โรคไหม้คอรวงข้าว โรคศัตรูพืชหนอนกอระบาดข้าวนา โรคเพลี้ยแป้งมันสำปะหลัง โรคราสีชมพู เป็นต้น
" กรณีซื้อยาปราบศัตรูพืชกมธ.ต้องการให้ป.ป.ท.เข้าสืบสวนให้ได้ข้อเท็จจริง เพราะประชาชนในพื้นที่ได้รับความเดือดร้อนมาก โดยผลการตรวจสอบพบว่ามีการจัดซื้อยาแพงกว่าราคาปกติ 8 - 10 เท่า โดยราคาขายส่งขวดละ 230 บาทต่อ 1,000 ซีซี ราคาในท้องตลาดประมาณ 280-300 บาท แต่การจัดซื้อของราชการในราคาสูงถึง 1,712 บาท นอกจากนี้ยังพบว่ายาหลายตัวเป็นยาปลอมเนื่องจากกรรมาธิการได้เรียกบริษัทผู้ผลิตยาปราบศัตรูพืชมาสอบถามพบว่ายาบางตัวบริษัทเลิกผลิตไปแล้ว " นายประยงค์กล่าว
นายประยงค์ กล่าวต่อว่า ป.ป.ท.ยังพบความผิดปกติของบริษัทที่ทำสัญญาซื้อสารเคมีกำจัดศัตรูพืชคือมีบุคคลต้องสงสัย ชื่อนายอ้วน (นามสมมุติ) ทำหน้าที่ยื่นใบเสนอราคาของบริษัทที่เกี่ยวข้อง 8 บริษัท ในพื้นที่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือทั้งหมด ซึ่งในการยื่นเสนอราคาจะมีใบสั่งเจาะจงเลือกบริษัทรับงาน กำหนดประเภทยา และราคายา โดยบริษัทหลายแห่งเมื่อตรวจสอบแล้วไม่ได้ประกอบธุรกิจเกี่ยวกับยาปราบศัตรูพืช ทำให้เชื่อได้ว่ามีการทุจริตในการจัดซื้อและฮั้วประมูล ซึ่งบริษัทเหล่านี้บางแห่งเพิ่งจดทะเบียนก่อตั้งบริษัทได้เพียง 1 ปี แต่มีเงินหมุมเวียนหลักพันล้านบาท เบื้องต้นผู้ที่ต้องรับผิดชอบเรื่องดังกล่าวคือผู้ลงนามในสัญญาและผู้ตรวจรับงาน ส่วนเจ้าหน้าที่ระดับสูงจะมีส่วนเกี่ยวข้องด้วยหรือไม่ต้องตรวจสอบอย่างละเอียดต่อไป
" เฉพาะจ.อุบลราชธานีมีการประกาศภัยพิบัติ 26 ประเภท จำนวน 329 ครั้ง วงเงินกว่า 1,240 ล้านบาท โดยข้อเท็จจริงพบว่าส่วนใหญ่ไม่ได้เกิดโรคระบาด หรือหากมีโรคระบาดก็ไม่รุนแรงถึงขั้นต้องประกาศเป็นพื้นที่ประสบภัยพิบัติ เช่น ปี 53 - 54 มีเพลี้ยแป้งมันสำปะหลังระบาดเล็กน้อย ไม่ถึงขั้นเป็นภัยพิบัติ หรือโรคราสีชมพูในยางพารา ที่ไม่การระบาดจริงแต่มีการประกาศเป็นภัยพิบัติ งบประมาณเหล่านี้ถือเป็นเงินจำนวนมากที่ควรนำไปใช้ประโยชน์กับประชาชนแต่กลับตกไปอยู่กับคนกลุ่มเดียว ป.ป.ท.ลงพื้นที่ตรวจสอบเจ้าหน้าที่ระดับล่างเกือบทุกคนร้องไห้และยอมรับว่าทำไปเพราะถูกกำหนดให้ทำ โดยยอมรับว่าการเบิกจ่ายงบภัยพิบัติฉุกเฉินมีช่องโหว่เพราะสามารถนำเงินมาใช้ก่อนทำให้เงินรั่วไหลง่ายเกินไป หลังจากนี้ป.ป.ท.จะเสนอให้มีบอร์ดป.ป.ท.มติตรวจสอบเรื่องดังกล่าว โดยจะขอให้มีการไต่สวนทุกพื้นที่ และจะกันเจ้าหน้าที่ระดับล่างไว้เป็นพยานในคดี" นายประยงค์ กล่าว
แหล่งข่าวจากชุดสืบสวนสอบสวน เปิดเผยว่า การเบิกจ่ายงบเยียวยาภัยพิบัติฉุกเฉินครั้งละ 50 ล้านบาท แต่นำไปใช้จริงกลับใช้เพียงหลักแสนบาทเท่านั้น นอกจากนี้ยังพบข้อมูลความผิดปกติที่มีการนำรายชื่อบุคคลที่เสียชีวิตไปแล้วมาแอบอ้างลงชื่อรับยาฆ่าเพลี้ย เช่น ชื่อของนายแพงหลาย นันทเสนา ซึ่งเสียชีวิตไปตั้งแต่วันที่ 18 ก.ย. 2554 แต่พบว่ามีการลงชื่อรับยาเดือนก.ค.ปี 2555 หรือชาวบ้านบางรายลงรายมือชื่อเป็นผู้รับยาจริง แต่จำนวนพื้นที่เสียหาย-จำนวนสารเคมีที่ได้รับไม่ตรงความเป็นจริง ทั้งนี้ จากการสอบถามข้อมูลกับกรมวิชาการเกษตร ยังพบว่าหากมีการใช้ยาปราบศัตรูพืชตามจำนวนที่มีการเบิกจ่ายจริง ประชาชนในพื้นที่จะเป็นอันตรายถึงขั้นเสียชีวิตได้ทั้งจังหวัด เนื่องจากยาปราบศัตรูพืชเป็นยาอันตรายที่มีฤทธิ์รุนแรง การใช้แต่ละครั้งจะใช้เพียงเล็กน้อยผสมกับน้ำ ส่วนใหญ่จะใช้อัตราส่วนพื้นที่ 1 ไร่ ต่อยาปราบศัตรูพืช 2 ช้อนผสมน้ำตามสัดส่วน ดังนั้นจึงอาจเป็นโชคดีที่มีการทุจริตทำให้ยาไม่ถูกส่งไปถึงเกษตรกรครบตามจำนวนเงินที่จัดซื้อ
สำหรับ 20 จังหวัดภาคตะวันออกเฉียงเหนือที่มีการเบิกจ่ายงบภัยพิบัติฉุกเฉินด้านพืช ประกอบด้วย จ.กาฬสินธุ์ ขอนแก่น ชัยภูมิ นครพนม นครราชสีมา บุรีรัมย์ สุรินทร์ มหาสารคาม มุกดาหาร ยโสธร ร้อยเอ็ด เลย ศรีสะเกษ สกลนคร หนองคาย หนองบัวลำภู อำนาจเจริญ อุดรธานี อุบลราชธานี และบึงกาฬ ส่วนโรคระบาดที่ประกาศเป็นภัยพิบัติ อาทิ โรคขอบไหม้ในข้าวนา โรคไหม้คอรวงข้าว โรคศัตรูพืชหนอนกอระบาดข้าวนา โรคเพลี้ยแป้งมันสำปะหลัง โรคราสีชมพู เป็นต้น