“กิตติรัตน์” เสนอแนวทางแก้ปัญหาค่าเงินบาทแข็งเตรียมเข็นแพ็กเกจหนุนภาคเอกชนขนเงินลงทุนต่างประเทศ ด้านสศค.-สรรพากรผ่าทางตันหาทางออกปัญหาภษีซ้อนหวังกระตุ้นให้เอกชนเห็นความสำคัญมากขึ้นและดึงดูดให้จดทะเบียนบริษัทในประเทศ
นายกิตติรัตน์ ณ ระนอง รองนายกรัฐมนตรีและรมว.คลัง กล่าวปาฐกถาพิเศษ ในการสัมมนาทางวิชาการสำนักงานเศรษฐกิจการคลัง ประจำปี 2555 หัวข้อ "อนาคตเศรษฐกิจไทยกับนโยบายการลงทุนในต่างประเทศ" ว่าค่าเงินบาทปัจจุบันควรปรับจุดสมดุลได้แล้ว เพราะมีการแข็งค่าขึ้นต่อเนื่อง ด้วยการส่งเสริมให้เอกชนไทยไปลงทุนในต่างประเทศ โดยมองว่าค่าเงินบาทที่แข็งค่าเพราะเงินดอลลาร์สหรัฐอ่อนค่าลงเมื่อเทียบกับประเทศต่างทั่วโลก
ดังนั้นจึงเป็นโอกาสในการใช้มาตรการทางการคลังปรับลดค่าเงินบาทผ่านการสนับสนุนนำเงินออกไปลงทุน เพราะการนำเงินออกไปนอกประเทศจะช่วยปรับให้ค่าเงินบาทอ่อนค่าลงได้อีก เพราะขณะนี้นโยบายการเงินดูแลให้อัตราเงินเฟ้ออยู่ในระดับต่ำแล้ว คาดว่ากรมสรรพากรจะสรุปในเรื่องภาษีซ้อนได้เร็วๆ นี้ คาดว่าเลือกแนวทางสำหรับเอกชนที่ออกไปลงทุนตั้งบริษัทในต่างประเทศและขายสินค้าในต่างประเทศ (OUT-OUT) เป็นกลุ่มแรก
ด้านนายสมชัย สัจจพงษ์ ผู้อำนวยการสำนักงานเศรษฐกิจการคลัง (สศค.) กล่าวว่า จากทุนสำรองระหว่างประเทศของไทยปัจจุบันสะสมมาตั้งแต่ 10 ปีที่ผ่าน ทำให้ มีปริมาณ 1.79 แสนล้านดอลลาร์สหรัฐ สูงเป็นอันดับ 15 ของโลก หากเปรียบเทียบกับสัดส่วนจีดีพีของประเทศสูงเป็นอันดับ 6 ของโลก มากกว่าจีน เกาหลี ญี่ปุ่น โดยทุนสำรองส่วนเกินสัดส่วน 64% ของทุนสำรองฯ หรือเป็นเงิน 6.9 หมื่นล้านดอลลาร์สหรัฐ มาจากการเดินดุลบัญชีเดินสะพัด ทำให้มีเงินออมส่วนเกินในระดับอีก 6.5 ล้านล้านบาท จึงควรหาทางนำเงินส่วนเกินดังกล่าวมาหาประโยชน์
จึงได้เสนอมาตรการทางการคลัง ให้รัฐบาลตัดสินใจ เพื่อส่งเสริมให้เอกชนที่เข็มแข็งนำเงินบาทไปแลกเงินดอลลาร์สหรัฐออกไปลงทุน ด้วยการช่วยเหลือเอสเอ็มอีด้านเงินทุนดอกเบี้ยต่ำ 3% และประกันความเสี่ยงให้กับเอสเอ็มอีโดยลดค่าธรรมเนียม สำหรับการไปลงทุนในต่างประเทศ เพื่อช่วยลดค่าเงินบาทที่แข็งให้ผ่อนคลายลงได้ เพราะเมื่อมีเงินไหลออกจะทำให้เงินบาทแข็งค่า และยังทำให้เอกชนไทยออกไปหาวัตถุดิบในต่างประเทศ และทำรายได้เข้าประเทศ โดยรัฐบาลต้องผ่อนปรนเงื่อนไขด้านภาษีซ้อน เมื่อส่งเสริมให้ผู้ประกอบการออกไปลงทุนเพิ่มขึ้น 30% ต่อปี หรือเป็นเงินนำออกไปประมาณ 2,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐ จะทำให้ค่าเงินบาทในปัจจุบัน 31 บาทต่อดอลลาร์สหรัฐ อ่อนค่าลง 2.4% หรือประมาณเงินบาทอ่อนค่าลงประมาณ 60 สตางค์ จะทำให้ค่าเงินบาทลดเหลืออยู่ประมาณ 30.40 ล้านดอลาร์สหรัฐ จึงน่าจะเป็นจุดสมดุลใหม่
นายกิตติรัตน์ ณ ระนอง รองนายกรัฐมนตรีและรมว.คลัง กล่าวปาฐกถาพิเศษ ในการสัมมนาทางวิชาการสำนักงานเศรษฐกิจการคลัง ประจำปี 2555 หัวข้อ "อนาคตเศรษฐกิจไทยกับนโยบายการลงทุนในต่างประเทศ" ว่าค่าเงินบาทปัจจุบันควรปรับจุดสมดุลได้แล้ว เพราะมีการแข็งค่าขึ้นต่อเนื่อง ด้วยการส่งเสริมให้เอกชนไทยไปลงทุนในต่างประเทศ โดยมองว่าค่าเงินบาทที่แข็งค่าเพราะเงินดอลลาร์สหรัฐอ่อนค่าลงเมื่อเทียบกับประเทศต่างทั่วโลก
ดังนั้นจึงเป็นโอกาสในการใช้มาตรการทางการคลังปรับลดค่าเงินบาทผ่านการสนับสนุนนำเงินออกไปลงทุน เพราะการนำเงินออกไปนอกประเทศจะช่วยปรับให้ค่าเงินบาทอ่อนค่าลงได้อีก เพราะขณะนี้นโยบายการเงินดูแลให้อัตราเงินเฟ้ออยู่ในระดับต่ำแล้ว คาดว่ากรมสรรพากรจะสรุปในเรื่องภาษีซ้อนได้เร็วๆ นี้ คาดว่าเลือกแนวทางสำหรับเอกชนที่ออกไปลงทุนตั้งบริษัทในต่างประเทศและขายสินค้าในต่างประเทศ (OUT-OUT) เป็นกลุ่มแรก
ด้านนายสมชัย สัจจพงษ์ ผู้อำนวยการสำนักงานเศรษฐกิจการคลัง (สศค.) กล่าวว่า จากทุนสำรองระหว่างประเทศของไทยปัจจุบันสะสมมาตั้งแต่ 10 ปีที่ผ่าน ทำให้ มีปริมาณ 1.79 แสนล้านดอลลาร์สหรัฐ สูงเป็นอันดับ 15 ของโลก หากเปรียบเทียบกับสัดส่วนจีดีพีของประเทศสูงเป็นอันดับ 6 ของโลก มากกว่าจีน เกาหลี ญี่ปุ่น โดยทุนสำรองส่วนเกินสัดส่วน 64% ของทุนสำรองฯ หรือเป็นเงิน 6.9 หมื่นล้านดอลลาร์สหรัฐ มาจากการเดินดุลบัญชีเดินสะพัด ทำให้มีเงินออมส่วนเกินในระดับอีก 6.5 ล้านล้านบาท จึงควรหาทางนำเงินส่วนเกินดังกล่าวมาหาประโยชน์
จึงได้เสนอมาตรการทางการคลัง ให้รัฐบาลตัดสินใจ เพื่อส่งเสริมให้เอกชนที่เข็มแข็งนำเงินบาทไปแลกเงินดอลลาร์สหรัฐออกไปลงทุน ด้วยการช่วยเหลือเอสเอ็มอีด้านเงินทุนดอกเบี้ยต่ำ 3% และประกันความเสี่ยงให้กับเอสเอ็มอีโดยลดค่าธรรมเนียม สำหรับการไปลงทุนในต่างประเทศ เพื่อช่วยลดค่าเงินบาทที่แข็งให้ผ่อนคลายลงได้ เพราะเมื่อมีเงินไหลออกจะทำให้เงินบาทแข็งค่า และยังทำให้เอกชนไทยออกไปหาวัตถุดิบในต่างประเทศ และทำรายได้เข้าประเทศ โดยรัฐบาลต้องผ่อนปรนเงื่อนไขด้านภาษีซ้อน เมื่อส่งเสริมให้ผู้ประกอบการออกไปลงทุนเพิ่มขึ้น 30% ต่อปี หรือเป็นเงินนำออกไปประมาณ 2,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐ จะทำให้ค่าเงินบาทในปัจจุบัน 31 บาทต่อดอลลาร์สหรัฐ อ่อนค่าลง 2.4% หรือประมาณเงินบาทอ่อนค่าลงประมาณ 60 สตางค์ จะทำให้ค่าเงินบาทลดเหลืออยู่ประมาณ 30.40 ล้านดอลาร์สหรัฐ จึงน่าจะเป็นจุดสมดุลใหม่