ASTV ผู้จัดการรายวัน - “กิตติรัตน์”นำทีมแผลงผลงาน1 ปีกระทรวงการคลัง ปลื้มอัดมาตรการดันเศรษฐกิจฟื้นตัว เงินเฟ้อลด ช่วยประชาชนลดภาระค่าใช้จ่ายเพิ่มรายได้ผ่านการปรับค่าแรง เงินเดือน โครงการจำนำ ยันเดินมาถูกทาง
นายกิตติรัตน์ ณ ระนอง รองนายกฯและรมว.คลังพร้อมด้วยผู้บริหารระดับสูงของกระทรวงการคลังแถลงผลงานของกระทรวงการคลังตามนโยบายรัฐบาล ในรอบ 1 ปี ว่าเริ่มแรกรัฐบาลต้องแก้ไขปัญหาเศรษฐกิจที่ชะลอตัวลงอย่างรุนแรง ขณะที่อัตราเงินเฟ้อเพิ่มสูงขึ้นอย่างต่อเนื่องจึงได้มีมาตรการเร่งด่วนเพื่อบรรเทาผลกระทบทางเศรษฐกิจใน 4 นโยบายหลัก ประกอบด้วย
1. นโยบายแก้ไขปัญหาอุทกภัย เพื่อบรรเทา เยียวยา และป้องกันอุทกภัยในอนาคตโดยระยะสั้นได้เร่งเบิกจ่ายงบฉุกเฉินช่วยเหลือผู้ประสบภัยพิบัติ พร้อมมาตรการช่วยเหลือผ่านสถาบันการเงินต่างๆ รวมทั้งจัดตั้งกองทุนส่งเสริมประกันภัยพิบัติ และวางระบบการบริหารจัดการน้ำและสร้างอนาคตประเทศ 3.5 แสนล้านบาทเพื่อสร้างความเชื่อมั่นขณะนี้มีการเบิกใช้แล้ว 2 หมื่นล้านบาท
2. นโยบายลดรายจ่ายเพื่อบรรเทาภาระของประชาชน ด้วยโครงการพักหนี้เกษตรกรรายย่อยและผู้มีรายได้น้อย การลดอัตราภาษีสรรพสามิตน้ำมันดีเซล การต่ออายุมาตรการค่าครองชีพ และบัตรเครดิตพลังงาน
3. นโยบายเพิ่มรายได้ เพื่อเพิ่มกำลังซื้อ ด้วยการปรับเพิ่มขึ้นค่าแรงขั้นต่ำเป็น 300 บาทต่อวัน และโครงการขึ้นเงินเดือนข้าราชการที่จบปริญญาตรีเป็น 15,000 บาท/เดือน และโครงการจำนำข้าวของ ธ.ก.ส. ที่ดำเนินการมาถูกทางและจะเดินหน้าต่อในปีหน้าที่ประมาณข้าวทุกเมล็ด 30 ล้านตันซึ่งมั่นใจว่าเกิดประโยชน์จากการประกันราคาแน่นอนแม้จะการสวมสิทธิ การทุจริตบ้าง ก็จะป้องปรามอย่างเด็ดขาดต่อไป
4. นโยบายขยายโอกาส เพื่อเสริมสร้างศักยภาพของประชาชน ผู้ประกอบการ และประเทศ ด้วยการลดภาษีเงินได้นิติบุคคลจาก 30% เป็น 23% ในปี 2555 และ 20% ในปี 2556 โครงการรถคันแรกที่ขณะนี้มีรถเข้าโครงการแล้ว 1.6 แสนคันคิดเป็นเม็ดเงิน 1.2 หมื่นล้านบาท โครงการบ้านหลังแรกราคาไม่เกิน5 ล้านบาทจากการลดหย่อยภาษีมีผู้ใช้สิทธิ 9,600 รายคิดเป็นมูลค่าภาษี 24 ล้านบาท และการเดินหน้ากองทุนตั้งตัวได้
“การดำเนินงานตาม 4 นโยบายดังกล่าว ส่งผลให้จีดีดีลับมาขยายตัวในอัตราที่สูงขึ้นต่อเนื่องและอัตราเงินเฟ้อลดลงในระดับที่วางใจได้ ขณะที่รัฐบาลรักษาวินัยการคลังดูแลระดับหนี้สาธารณะไว้ต่ำกว่า 60% โดยปัจจุบันอยู่ที่ 43% เท่านั้น ที่สำคัญผลงานที่เห็นเด่นชัดคือการลดการขาดดุลงบประมาณลงเรื่อยๆ โดยปี 56แม้วงเงินจะสูงถึง 2.4 ล้านล้านบาทแต่ขาดดุลลดลงเหลือ 3 แสนล้านเทียบปีก่อน ส่วน ปี 57 ลดเหลือ 2.25 แสนล้าน ปี 58 เหลือ1.5 แสนล้าน ปี 59 เหลือ 7.5 หมื่นล้านและสมดุลในปี 60 ได้อย่างแน่นอน โดยการจัดเก็บรายได้ไม่จำเป็นต้องเกินเป้าหมายแต่ขอให้เก็บได้มากที่สุด หากทำตามนโยบายรัฐฐาลจะพลาดเป้าไปบ้างก็ไม่มีปัญหา”
นายกิตติรัตน์ ณ ระนอง รองนายกฯและรมว.คลังพร้อมด้วยผู้บริหารระดับสูงของกระทรวงการคลังแถลงผลงานของกระทรวงการคลังตามนโยบายรัฐบาล ในรอบ 1 ปี ว่าเริ่มแรกรัฐบาลต้องแก้ไขปัญหาเศรษฐกิจที่ชะลอตัวลงอย่างรุนแรง ขณะที่อัตราเงินเฟ้อเพิ่มสูงขึ้นอย่างต่อเนื่องจึงได้มีมาตรการเร่งด่วนเพื่อบรรเทาผลกระทบทางเศรษฐกิจใน 4 นโยบายหลัก ประกอบด้วย
1. นโยบายแก้ไขปัญหาอุทกภัย เพื่อบรรเทา เยียวยา และป้องกันอุทกภัยในอนาคตโดยระยะสั้นได้เร่งเบิกจ่ายงบฉุกเฉินช่วยเหลือผู้ประสบภัยพิบัติ พร้อมมาตรการช่วยเหลือผ่านสถาบันการเงินต่างๆ รวมทั้งจัดตั้งกองทุนส่งเสริมประกันภัยพิบัติ และวางระบบการบริหารจัดการน้ำและสร้างอนาคตประเทศ 3.5 แสนล้านบาทเพื่อสร้างความเชื่อมั่นขณะนี้มีการเบิกใช้แล้ว 2 หมื่นล้านบาท
2. นโยบายลดรายจ่ายเพื่อบรรเทาภาระของประชาชน ด้วยโครงการพักหนี้เกษตรกรรายย่อยและผู้มีรายได้น้อย การลดอัตราภาษีสรรพสามิตน้ำมันดีเซล การต่ออายุมาตรการค่าครองชีพ และบัตรเครดิตพลังงาน
3. นโยบายเพิ่มรายได้ เพื่อเพิ่มกำลังซื้อ ด้วยการปรับเพิ่มขึ้นค่าแรงขั้นต่ำเป็น 300 บาทต่อวัน และโครงการขึ้นเงินเดือนข้าราชการที่จบปริญญาตรีเป็น 15,000 บาท/เดือน และโครงการจำนำข้าวของ ธ.ก.ส. ที่ดำเนินการมาถูกทางและจะเดินหน้าต่อในปีหน้าที่ประมาณข้าวทุกเมล็ด 30 ล้านตันซึ่งมั่นใจว่าเกิดประโยชน์จากการประกันราคาแน่นอนแม้จะการสวมสิทธิ การทุจริตบ้าง ก็จะป้องปรามอย่างเด็ดขาดต่อไป
4. นโยบายขยายโอกาส เพื่อเสริมสร้างศักยภาพของประชาชน ผู้ประกอบการ และประเทศ ด้วยการลดภาษีเงินได้นิติบุคคลจาก 30% เป็น 23% ในปี 2555 และ 20% ในปี 2556 โครงการรถคันแรกที่ขณะนี้มีรถเข้าโครงการแล้ว 1.6 แสนคันคิดเป็นเม็ดเงิน 1.2 หมื่นล้านบาท โครงการบ้านหลังแรกราคาไม่เกิน5 ล้านบาทจากการลดหย่อยภาษีมีผู้ใช้สิทธิ 9,600 รายคิดเป็นมูลค่าภาษี 24 ล้านบาท และการเดินหน้ากองทุนตั้งตัวได้
“การดำเนินงานตาม 4 นโยบายดังกล่าว ส่งผลให้จีดีดีลับมาขยายตัวในอัตราที่สูงขึ้นต่อเนื่องและอัตราเงินเฟ้อลดลงในระดับที่วางใจได้ ขณะที่รัฐบาลรักษาวินัยการคลังดูแลระดับหนี้สาธารณะไว้ต่ำกว่า 60% โดยปัจจุบันอยู่ที่ 43% เท่านั้น ที่สำคัญผลงานที่เห็นเด่นชัดคือการลดการขาดดุลงบประมาณลงเรื่อยๆ โดยปี 56แม้วงเงินจะสูงถึง 2.4 ล้านล้านบาทแต่ขาดดุลลดลงเหลือ 3 แสนล้านเทียบปีก่อน ส่วน ปี 57 ลดเหลือ 2.25 แสนล้าน ปี 58 เหลือ1.5 แสนล้าน ปี 59 เหลือ 7.5 หมื่นล้านและสมดุลในปี 60 ได้อย่างแน่นอน โดยการจัดเก็บรายได้ไม่จำเป็นต้องเกินเป้าหมายแต่ขอให้เก็บได้มากที่สุด หากทำตามนโยบายรัฐฐาลจะพลาดเป้าไปบ้างก็ไม่มีปัญหา”