ในช่วงนี้มีฝนตกหนักจนน้ำฝนท่วมบางส่วนของประเทศเกือบทุกวัน ในขณะเดียวกันนักการเมืองก็ปะทะกันทางคารมจนสังคมไทยตกอยู่ในภาวะน้ำลายท่วมเมือง
สภาพเช่นนี้ไม่เอื้อให้มีการนึกถึงเรื่องการขาดแคลนน้ำซึ่งเป็นปัญหาสาหัสจนรัฐบาลเคยประกาศให้น้ำเป็นวาระแห่งชาติ การขาดแคลนน้ำเป็นปัญหาทั้งของคนไทยและของชาวโลกแบบหนักหนาสาหัสถึงขนาดเกิดสงครามชิงน้ำกันแทบไม่ขาดสาย สงครามชิงน้ำมีหลายรูปแบบ จากการทะเลาะวิวาทกันในชุมชนไปจนถึงการใช้กองทัพเข้าห้ำหั่นกัน สงครามน้ำลายทำให้เรื่องสำคัญเกี่ยวการล่าน้ำของต่างชาติถูกกลบเกลื่อนและขาดความใส่ใจ ในปัจจุบันนี้ จึงยังไม่เป็นที่ทราบกันดีว่าการล่าแหล่งน้ำกำลังเกิดขึ้นอย่างแพร่หลาย
จากมุมมองของปราชญ์และนักวิทยาศาสตร์ การขาดแคลนน้ำมีความสำคัญเร่งด่วนยิ่งถึงขนาดปราชญ์สองคนเขียนหนังสือโดยใช้ชื่อเดียวกันว่า “สงครามชิงน้ำ” ซึ่งพิมพ์ออกมาในช่วงเวลาไล่เลี่ยกัน เล่มแรกชื่อ Water Wars: Privatization, Pollution, and Profits เขียนโดย Vandana Shiva เล่มที่สองชื่อ Water Wars: Drought, Flood, Folly, and the Politics of Thirst เขียนโดย Diane Raines Ward นอกจากหนังสือสารคดีสองเล่มนี้แล้ว ยังมีนวนิยายออกใหม่เพิ่งพิมพ์ออกมาชื่อว่า The Water Wars อีกด้วย เรื่องนี้แต่งโดย Cameron Stracher
หนังสือสารคดีสองเล่มนั้นมีขอบเขตต่างกัน แต่เนื้อหาสาระของทั้งสองเล่มให้ความกระจ่างแก่ประเด็นต่างๆ ได้เป็นอย่างดี เล่มแรกเล่าเรื่องการแก้ปัญหาการขาดแคลนน้ำในอินเดียละเอียดกว่าเล่มที่สอง โดยเฉพาะเกี่ยวกับบทบาทและกลวิธีขององค์กรเอกชนในรัฐราชาสถานซึ่งแห้งแล้งสูงมากจนเป็นทะเลทรายในหลายส่วน
ในความเห็นของผู้เขียนเล่มแรก การขาดแคลนหรือไม่ขาดแคลนน้ำไม่ได้ถูกกำหนดโดยธรรมชาติ หากกำหนดโดยวัฒนธรรมเกี่ยวกับการเก็บกักรักษาและใช้น้ำของชุมชน วัฒนธรรมที่ใช้น้ำอย่างสุรุ่ยสุร่ายและทำลายแหล่งน้ำย่อมขาดแคลนน้ำ ส่วนวัฒนธรรมที่รู้จักประหยัดย่อมไม่ขาดแคลน เขาอ้างว่ารัฐราชาสถานโดยทั่วไปไม่ขาดแคลนน้ำแม้จะมีสภาพเป็นทะเลทรายเพราะประชาชนส่วนใหญ่ใช้น้ำทุกหยดให้เกิดประโยชน์สูงสุดและรู้จักกักเก็บน้ำฝนที่ตกลงมาปีละเพียงเล็กน้อย
ชุมชนในรัฐราชาสถานมีกลวิธีหลากหลายสำหรับกักเก็บและใช้น้ำอย่างประหยัดมาเป็นเวลานาน วิธีหนึ่งได้รับการรื้อฟื้นอย่างจริงจังหลังเกิดความแห้งแล้งครั้งใหญ่ในช่วงปี 2528-2529 หัวหอกในการรื้อฟื้นได้แก่องค์กรเอกชนชื่อ “ตารุน ภะรัต สังข์” ซึ่งระดมพลังประชาชนในท้องถิ่นเพื่อขุดลอกสระน้ำจำนวนมาก สระน้ำเหล่านั้นรวมกันเป็นระบบกักเก็บน้ำที่ขาดการดูแลมาเป็นเวลานาน ชาวบ้านเรี่ยไรเงินกันเพื่อนำไปใช้ในการขุดลอกและปรับปรุงสระน้ำราว 2,500 ลูกในหมู่บ้านหลายร้อยแห่ง ชาวบ้านตกลงกันว่าจะใช้น้ำในสระเพื่อทำอะไรได้บ้างและจะดูแลระบบกักเก็บและจ่ายน้ำนั้นอย่างไร
ความสำเร็จในรัฐราชาสถานนำไปสู่การแพร่ขยายของการใช้ระบบขุดสระน้ำในชุมชน น้ำที่สระเหล่านั้นกักเก็บไว้นอกจากจะใช้ในการดำเนินชีวิตประจำวันของชาวบ้านแล้ว มันยังซึมลงไปเสริมแหล่งน้ำใต้ดินและทำให้ลำน้ำที่เหือดแห้งไปกลับมามีน้ำไหลอีกด้วย ผู้เขียนยกตัวอย่างลำน้ำสองสายซึ่งเหือดแห้งไปแล้วฟื้นคืนชีพกลับมามีน้ำไหลเมื่อขุดสระน้ำได้ระหว่าง 250 ถึง 500 ลูก ทั้งน้ำที่กักเก็บไว้ในสระ ที่ซึมลงไปอยู่ในดินและที่ไหลไปตามสายน้ำดังกล่าวมีบทบาทสำคัญต่อการรื้อฟื้นความชุ่มชื้นและระบบนิเวศรอบๆ ชุมชน องค์กรเอกชน “ตารุน ภะรัต สังข์” มีบทบาทสูงมากในการทำให้ชุมชนในพื้นที่แห้งแล้งมีน้ำใช้อย่างเพียงพอ คณะกรรมการรางวัลแมกไซไซจึงมอบรางวัลให้องค์กรนั้นเมื่อปี 2544
การขุดสระน้ำจำนวนมากเป็นหนึ่งในหลายกลวิธีที่ชาวอินเดียใช้ในการกักเก็บน้ำฝน แต่การกักเก็บน้ำเป็นเพียงหนึ่งในสองของหน้าเหรียญแห่งความสำเร็จเท่านั้น อีกหน้าหนึ่งได้แก่การใช้น้ำอย่างประหยัดด้วยมาตรการต่างๆ รวมทั้งการพร้อมใจกันของชาวบ้านในการจำกัดพื้นที่ชลประทานและการหยุดปลูกพืชที่กินน้ำมาก เช่น อ้อย
เรื่องราวของชาวราชาสถานน่าจะให้ข้อคิดสำหรับชาวโลกโดยทั่วไปที่อยู่ในเขตกันดารน้ำ สำหรับเมืองไทยซึ่งมีฝนตกมากกว่ารัฐราชาสถานหลายเท่า การขาดแคลนน้ำจึงไม่น่าจะเกิดขึ้น การขุดสระน้ำจำนวนมากน่าจะทำได้หากชาวบ้านร่วมมือร่วมใจกันอย่างจริงจัง ในกรณีที่เกษตรกรต่างขุดสระน้ำตามแนวคิดเรื่องเศรษฐกิจพอเพียง สระน้ำจำนวนมากน่าจะเกิดขึ้นจนพอที่จะก่อให้เกิดแหล่งน้ำใต้ดินที่สามารถนำมาใช้ในยามจำเป็นได้
อย่างไรก็ตาม การกักเก็บน้ำดังกล่าวจะต้องทำไปพร้อมกับการใช้น้ำที่เหมาะสม ในบางกรณีเกษตรกรไทยอาจต้องหันไปปลูกพืชชนิดอื่นแทนพืชที่ใช้น้ำมาก เช่น ข้าว เพราะการปลูกข้าวใช้น้ำสูงถึงราว 2 เท่าของการปลูกข้าวสาลีและราว 10 เท่าของการปลูกมันฝรั่ง ข้อมูลการใช้น้ำของการทำเกษตรกรรมชนิดต่างๆ อาจหาได้ในหนังสือชื่อ When the Rivers Run Dry ของ Fred Pearce
องค์กรเอกชนและการร่วมมือกันของชาวบ้านมีความสำคัญยิ่งในความสำเร็จของชาวราชาสถาน บทบาทขององค์กรเอกชนในกระบวนการพัฒนาได้รับการเน้นย้ำซ้ำแล้วซ้ำอีกโดยศาสตราจารย์ปีเตอร์ ดรักเกอร์ บรมครูผู้สอนวิชาบริหารจัดการ ความจริงข้อนี้อาจชี้ให้เห็นทั้งทางออกและอุปสรรคของสังคมไทย นั่นคือ การขุดสระน้ำจำนวนมากน่าจะแก้ปัญหาการขาดแคลนน้ำของย่านกันดารน้ำได้เป็นอย่างดี แต่อุปสรรคอยู่ที่คนไทยร่วมมือกันได้ยากดังจะเห็นได้จากการพัฒนาการสหกรณ์ซึ่งยังต้วมเตี้ยมทั้งที่เริ่มต้นมาตั้งแต่ในรัชสมัยของ ร. 6 นอกจากนั้นบทบาทขององค์กรเอกชนถูกจำกัดเพราะผู้นำการเคลื่อนไหวในด้านต่างๆ มักสร้างอันตรายให้แก่ตัวเองจนถึงขนาดถูกยิงตายบ่อยๆ
ในช่วงนี้ สงครามน้ำลายของนักการเมืองเกี่ยวกับเรื่องการเตรียมรับมือกับน้ำในกรณีที่เกิดน้ำหลากมากมายในแนวเดียวกับเมื่อปีที่แล้วมักเป็นข่าวใหญ่ เราจำกันได้ดีเรื่องความโชคร้ายที่น้ำได้ทำลายโรงงานและบ้านเรือนไปนับแทบไม่ถ้วน แต่เราอาจลืมนึกไปว่า ชาวต่างชาติจำนวนมากมองว่าการมีน้ำเป็นความโชคดี จึงพยายามเข้ามาล่าน้ำกันอย่างจริงจังมาครั้งหนึ่งแล้วโดยมีนักการเมืองฉ้อฉลของไทยให้ความร่วมมือ แต่คนไทยไหวทัน การล่าครั้งนั้นจึงไม่สำเร็จตามเป้าหมาย อย่างไรก็ตาม ความพยายามของพวกเขายังคงอยู่
กระบวนการล่าน้ำนั้นมักไม่มีการพูดถึงกันตรงๆ หากพูดถึงในประเด็นของการล่าที่ดิน
เราทราบกันดีว่าที่ดินที่ขาดน้ำทำประโยชน์ไม่ได้ การล่าน้ำในนามของการล่าที่ดินเพื่อยึดแหล่งน้ำกำลังเกิดขึ้นทั่วโลกจนมีลักษณะไม่ต่างกับการล่าอาณานิคม นักล่าทำได้สำเร็จเพราะได้รับความร่วมมือจากนักการเมืองฉ้อฉลโดยเฉพาะในประเทศยากจนและด้อยพัฒนา นักการเมืองพวกนี้จะพยายามใช้น้ำลายหว่านล้อมประชาชนว่านักล่าที่ดินนั้น อันที่จริงเป็นนักลงทุนที่จะนำความก้าวหน้าและเงินทุนมาให้ เรื่องนี้มีอยู่ในหนังสือที่เพิ่งพิมพ์ออกมาสดๆ เรื่อง “นักฮุบที่ดิน” (The Land Grabbers: The New Fight over Who Owns the Earth) ของ Fred Pearce
นักล่าที่ดินอาจแบ่งได้เป็นสองกลุ่มด้วยกัน กลุ่มแรกได้รับการสนับสนุนจากรัฐบาลของพวกเขาโดยตรง เช่น รัฐบาลของประเทศอาหรับซึ่งร่ำรวยจากการขายน้ำมันแต่ประเทศส่วนใหญ่เป็นทะเลทรายทำให้ขาดความมั่นคงทางอาหาร รัฐบาลของเกาหลีใต้ก็กลัวการขาดแคลนอาหารเช่นเดียวกัน ฉะนั้น ประเทศเหล่านั้นจึงมีนโยบายส่งบริษัทออกไปกว้านซื้อ หรือเช่าที่ดินทั่วโลกเพื่อผลิตอาหารส่งกลับไปยังบ้านของตน
กลุ่มที่สองเป็นนักลงทุนและบริษัทเอกชนซึ่งมองว่าราคาสินค้าเกษตรและที่ดินจะพุ่งขึ้นไปด้วยปัจจัยต่างๆ รวมทั้งการเพิ่มของประชากรโลก ความต้องการพลังงานชีวภาพ และการสูญเสียพื้นที่เกษตรจากการพังทลายและการเป็นพิษของดิน พวกเขามองว่า การลงทุนในที่ดินเพื่อการเกษตรจะทำกำไรได้อย่างงดงามเหนืออย่างอื่น ในด้านนี้ พ่อมดการเงินเช่นจอร์จ โซรอส ก็เห็นพ้องและเข้าร่วมในกระบวนการล่าที่ดินผืนใหญ่ๆ นับแสนนับล้านไร่ในประเทศยากจนด้วย
การล่าที่ดินเพื่อยึดแหล่งน้ำนี้เมื่อทำสำเร็จมักสร้างผลกระทบใหญ่หลวงต่อผู้ที่อยู่ในย่านนั้นมาก่อน พวกเขามักถูกขับไล่ออกไปจากที่ดินด้วยความร่วมมือของนักการเมืองฉ้อฉลที่รับสินบนจากบริษัทข้ามชาติและนายทุน บางครั้งการขับไล่โหดร้ายถึงขนาดเผาหมู่บ้านทิ้งและทำร้ายร่างกายประชาชนจนถึงแก่ชีวิต นอกจากนั้น ยังมีการชิงน้ำไปจากชาวบ้านซึ่งอยู่ในย่านที่สายน้ำไหลผ่านเพื่อนำไปใช้การเกษตรของต่างชาติอีกด้วย ร้ายยิ่งกว่านั้น เมื่อได้ผลผลิตออกมาพวกเขาก็ส่งออกไปยังประเทศของตนแม้ประชาชนในท้องถิ่นจะกำลังอดอยากอย่างแพร่หลายก็ตาม
เรื่องการแย่งชิงแหล่งน้ำผ่านการล่าที่ดินของชาวต่างชาติจะเกิดขึ้นในเมืองไทยอย่างแพร่หลายหรือไม่ขึ้นอยู่กับว่าคนไทยจะตระหนักและจับตานักล่าน้ำในนามของการล่าที่ดินมากน้อยเพียงไร และจะยอมให้นักการเมืองฉ้อฉลรับสินบนจากชาวต่างชาติเพื่อเอื้อความสะดวกให้พวกเขาหรือไม่ ตราบใดที่เมืองไทยยังมีน้ำมาก ตราบนั้นนักล่าที่ดินจะยังตั้งเป้าหมายที่จะล่าเมืองไทยเป็นอาณานิคม การให้ความร่วมมือกับนักล่าที่ดินเพื่อยึดแหล่งน้ำมีค่าเท่ากับการขายชาติ ฉะนั้น คนไทยจะต้องไม่ยอมเด็ดขาดไม่ว่ามันจะเกิดขึ้นเมื่อใด
สภาพเช่นนี้ไม่เอื้อให้มีการนึกถึงเรื่องการขาดแคลนน้ำซึ่งเป็นปัญหาสาหัสจนรัฐบาลเคยประกาศให้น้ำเป็นวาระแห่งชาติ การขาดแคลนน้ำเป็นปัญหาทั้งของคนไทยและของชาวโลกแบบหนักหนาสาหัสถึงขนาดเกิดสงครามชิงน้ำกันแทบไม่ขาดสาย สงครามชิงน้ำมีหลายรูปแบบ จากการทะเลาะวิวาทกันในชุมชนไปจนถึงการใช้กองทัพเข้าห้ำหั่นกัน สงครามน้ำลายทำให้เรื่องสำคัญเกี่ยวการล่าน้ำของต่างชาติถูกกลบเกลื่อนและขาดความใส่ใจ ในปัจจุบันนี้ จึงยังไม่เป็นที่ทราบกันดีว่าการล่าแหล่งน้ำกำลังเกิดขึ้นอย่างแพร่หลาย
จากมุมมองของปราชญ์และนักวิทยาศาสตร์ การขาดแคลนน้ำมีความสำคัญเร่งด่วนยิ่งถึงขนาดปราชญ์สองคนเขียนหนังสือโดยใช้ชื่อเดียวกันว่า “สงครามชิงน้ำ” ซึ่งพิมพ์ออกมาในช่วงเวลาไล่เลี่ยกัน เล่มแรกชื่อ Water Wars: Privatization, Pollution, and Profits เขียนโดย Vandana Shiva เล่มที่สองชื่อ Water Wars: Drought, Flood, Folly, and the Politics of Thirst เขียนโดย Diane Raines Ward นอกจากหนังสือสารคดีสองเล่มนี้แล้ว ยังมีนวนิยายออกใหม่เพิ่งพิมพ์ออกมาชื่อว่า The Water Wars อีกด้วย เรื่องนี้แต่งโดย Cameron Stracher
หนังสือสารคดีสองเล่มนั้นมีขอบเขตต่างกัน แต่เนื้อหาสาระของทั้งสองเล่มให้ความกระจ่างแก่ประเด็นต่างๆ ได้เป็นอย่างดี เล่มแรกเล่าเรื่องการแก้ปัญหาการขาดแคลนน้ำในอินเดียละเอียดกว่าเล่มที่สอง โดยเฉพาะเกี่ยวกับบทบาทและกลวิธีขององค์กรเอกชนในรัฐราชาสถานซึ่งแห้งแล้งสูงมากจนเป็นทะเลทรายในหลายส่วน
ในความเห็นของผู้เขียนเล่มแรก การขาดแคลนหรือไม่ขาดแคลนน้ำไม่ได้ถูกกำหนดโดยธรรมชาติ หากกำหนดโดยวัฒนธรรมเกี่ยวกับการเก็บกักรักษาและใช้น้ำของชุมชน วัฒนธรรมที่ใช้น้ำอย่างสุรุ่ยสุร่ายและทำลายแหล่งน้ำย่อมขาดแคลนน้ำ ส่วนวัฒนธรรมที่รู้จักประหยัดย่อมไม่ขาดแคลน เขาอ้างว่ารัฐราชาสถานโดยทั่วไปไม่ขาดแคลนน้ำแม้จะมีสภาพเป็นทะเลทรายเพราะประชาชนส่วนใหญ่ใช้น้ำทุกหยดให้เกิดประโยชน์สูงสุดและรู้จักกักเก็บน้ำฝนที่ตกลงมาปีละเพียงเล็กน้อย
ชุมชนในรัฐราชาสถานมีกลวิธีหลากหลายสำหรับกักเก็บและใช้น้ำอย่างประหยัดมาเป็นเวลานาน วิธีหนึ่งได้รับการรื้อฟื้นอย่างจริงจังหลังเกิดความแห้งแล้งครั้งใหญ่ในช่วงปี 2528-2529 หัวหอกในการรื้อฟื้นได้แก่องค์กรเอกชนชื่อ “ตารุน ภะรัต สังข์” ซึ่งระดมพลังประชาชนในท้องถิ่นเพื่อขุดลอกสระน้ำจำนวนมาก สระน้ำเหล่านั้นรวมกันเป็นระบบกักเก็บน้ำที่ขาดการดูแลมาเป็นเวลานาน ชาวบ้านเรี่ยไรเงินกันเพื่อนำไปใช้ในการขุดลอกและปรับปรุงสระน้ำราว 2,500 ลูกในหมู่บ้านหลายร้อยแห่ง ชาวบ้านตกลงกันว่าจะใช้น้ำในสระเพื่อทำอะไรได้บ้างและจะดูแลระบบกักเก็บและจ่ายน้ำนั้นอย่างไร
ความสำเร็จในรัฐราชาสถานนำไปสู่การแพร่ขยายของการใช้ระบบขุดสระน้ำในชุมชน น้ำที่สระเหล่านั้นกักเก็บไว้นอกจากจะใช้ในการดำเนินชีวิตประจำวันของชาวบ้านแล้ว มันยังซึมลงไปเสริมแหล่งน้ำใต้ดินและทำให้ลำน้ำที่เหือดแห้งไปกลับมามีน้ำไหลอีกด้วย ผู้เขียนยกตัวอย่างลำน้ำสองสายซึ่งเหือดแห้งไปแล้วฟื้นคืนชีพกลับมามีน้ำไหลเมื่อขุดสระน้ำได้ระหว่าง 250 ถึง 500 ลูก ทั้งน้ำที่กักเก็บไว้ในสระ ที่ซึมลงไปอยู่ในดินและที่ไหลไปตามสายน้ำดังกล่าวมีบทบาทสำคัญต่อการรื้อฟื้นความชุ่มชื้นและระบบนิเวศรอบๆ ชุมชน องค์กรเอกชน “ตารุน ภะรัต สังข์” มีบทบาทสูงมากในการทำให้ชุมชนในพื้นที่แห้งแล้งมีน้ำใช้อย่างเพียงพอ คณะกรรมการรางวัลแมกไซไซจึงมอบรางวัลให้องค์กรนั้นเมื่อปี 2544
การขุดสระน้ำจำนวนมากเป็นหนึ่งในหลายกลวิธีที่ชาวอินเดียใช้ในการกักเก็บน้ำฝน แต่การกักเก็บน้ำเป็นเพียงหนึ่งในสองของหน้าเหรียญแห่งความสำเร็จเท่านั้น อีกหน้าหนึ่งได้แก่การใช้น้ำอย่างประหยัดด้วยมาตรการต่างๆ รวมทั้งการพร้อมใจกันของชาวบ้านในการจำกัดพื้นที่ชลประทานและการหยุดปลูกพืชที่กินน้ำมาก เช่น อ้อย
เรื่องราวของชาวราชาสถานน่าจะให้ข้อคิดสำหรับชาวโลกโดยทั่วไปที่อยู่ในเขตกันดารน้ำ สำหรับเมืองไทยซึ่งมีฝนตกมากกว่ารัฐราชาสถานหลายเท่า การขาดแคลนน้ำจึงไม่น่าจะเกิดขึ้น การขุดสระน้ำจำนวนมากน่าจะทำได้หากชาวบ้านร่วมมือร่วมใจกันอย่างจริงจัง ในกรณีที่เกษตรกรต่างขุดสระน้ำตามแนวคิดเรื่องเศรษฐกิจพอเพียง สระน้ำจำนวนมากน่าจะเกิดขึ้นจนพอที่จะก่อให้เกิดแหล่งน้ำใต้ดินที่สามารถนำมาใช้ในยามจำเป็นได้
อย่างไรก็ตาม การกักเก็บน้ำดังกล่าวจะต้องทำไปพร้อมกับการใช้น้ำที่เหมาะสม ในบางกรณีเกษตรกรไทยอาจต้องหันไปปลูกพืชชนิดอื่นแทนพืชที่ใช้น้ำมาก เช่น ข้าว เพราะการปลูกข้าวใช้น้ำสูงถึงราว 2 เท่าของการปลูกข้าวสาลีและราว 10 เท่าของการปลูกมันฝรั่ง ข้อมูลการใช้น้ำของการทำเกษตรกรรมชนิดต่างๆ อาจหาได้ในหนังสือชื่อ When the Rivers Run Dry ของ Fred Pearce
องค์กรเอกชนและการร่วมมือกันของชาวบ้านมีความสำคัญยิ่งในความสำเร็จของชาวราชาสถาน บทบาทขององค์กรเอกชนในกระบวนการพัฒนาได้รับการเน้นย้ำซ้ำแล้วซ้ำอีกโดยศาสตราจารย์ปีเตอร์ ดรักเกอร์ บรมครูผู้สอนวิชาบริหารจัดการ ความจริงข้อนี้อาจชี้ให้เห็นทั้งทางออกและอุปสรรคของสังคมไทย นั่นคือ การขุดสระน้ำจำนวนมากน่าจะแก้ปัญหาการขาดแคลนน้ำของย่านกันดารน้ำได้เป็นอย่างดี แต่อุปสรรคอยู่ที่คนไทยร่วมมือกันได้ยากดังจะเห็นได้จากการพัฒนาการสหกรณ์ซึ่งยังต้วมเตี้ยมทั้งที่เริ่มต้นมาตั้งแต่ในรัชสมัยของ ร. 6 นอกจากนั้นบทบาทขององค์กรเอกชนถูกจำกัดเพราะผู้นำการเคลื่อนไหวในด้านต่างๆ มักสร้างอันตรายให้แก่ตัวเองจนถึงขนาดถูกยิงตายบ่อยๆ
ในช่วงนี้ สงครามน้ำลายของนักการเมืองเกี่ยวกับเรื่องการเตรียมรับมือกับน้ำในกรณีที่เกิดน้ำหลากมากมายในแนวเดียวกับเมื่อปีที่แล้วมักเป็นข่าวใหญ่ เราจำกันได้ดีเรื่องความโชคร้ายที่น้ำได้ทำลายโรงงานและบ้านเรือนไปนับแทบไม่ถ้วน แต่เราอาจลืมนึกไปว่า ชาวต่างชาติจำนวนมากมองว่าการมีน้ำเป็นความโชคดี จึงพยายามเข้ามาล่าน้ำกันอย่างจริงจังมาครั้งหนึ่งแล้วโดยมีนักการเมืองฉ้อฉลของไทยให้ความร่วมมือ แต่คนไทยไหวทัน การล่าครั้งนั้นจึงไม่สำเร็จตามเป้าหมาย อย่างไรก็ตาม ความพยายามของพวกเขายังคงอยู่
กระบวนการล่าน้ำนั้นมักไม่มีการพูดถึงกันตรงๆ หากพูดถึงในประเด็นของการล่าที่ดิน
เราทราบกันดีว่าที่ดินที่ขาดน้ำทำประโยชน์ไม่ได้ การล่าน้ำในนามของการล่าที่ดินเพื่อยึดแหล่งน้ำกำลังเกิดขึ้นทั่วโลกจนมีลักษณะไม่ต่างกับการล่าอาณานิคม นักล่าทำได้สำเร็จเพราะได้รับความร่วมมือจากนักการเมืองฉ้อฉลโดยเฉพาะในประเทศยากจนและด้อยพัฒนา นักการเมืองพวกนี้จะพยายามใช้น้ำลายหว่านล้อมประชาชนว่านักล่าที่ดินนั้น อันที่จริงเป็นนักลงทุนที่จะนำความก้าวหน้าและเงินทุนมาให้ เรื่องนี้มีอยู่ในหนังสือที่เพิ่งพิมพ์ออกมาสดๆ เรื่อง “นักฮุบที่ดิน” (The Land Grabbers: The New Fight over Who Owns the Earth) ของ Fred Pearce
นักล่าที่ดินอาจแบ่งได้เป็นสองกลุ่มด้วยกัน กลุ่มแรกได้รับการสนับสนุนจากรัฐบาลของพวกเขาโดยตรง เช่น รัฐบาลของประเทศอาหรับซึ่งร่ำรวยจากการขายน้ำมันแต่ประเทศส่วนใหญ่เป็นทะเลทรายทำให้ขาดความมั่นคงทางอาหาร รัฐบาลของเกาหลีใต้ก็กลัวการขาดแคลนอาหารเช่นเดียวกัน ฉะนั้น ประเทศเหล่านั้นจึงมีนโยบายส่งบริษัทออกไปกว้านซื้อ หรือเช่าที่ดินทั่วโลกเพื่อผลิตอาหารส่งกลับไปยังบ้านของตน
กลุ่มที่สองเป็นนักลงทุนและบริษัทเอกชนซึ่งมองว่าราคาสินค้าเกษตรและที่ดินจะพุ่งขึ้นไปด้วยปัจจัยต่างๆ รวมทั้งการเพิ่มของประชากรโลก ความต้องการพลังงานชีวภาพ และการสูญเสียพื้นที่เกษตรจากการพังทลายและการเป็นพิษของดิน พวกเขามองว่า การลงทุนในที่ดินเพื่อการเกษตรจะทำกำไรได้อย่างงดงามเหนืออย่างอื่น ในด้านนี้ พ่อมดการเงินเช่นจอร์จ โซรอส ก็เห็นพ้องและเข้าร่วมในกระบวนการล่าที่ดินผืนใหญ่ๆ นับแสนนับล้านไร่ในประเทศยากจนด้วย
การล่าที่ดินเพื่อยึดแหล่งน้ำนี้เมื่อทำสำเร็จมักสร้างผลกระทบใหญ่หลวงต่อผู้ที่อยู่ในย่านนั้นมาก่อน พวกเขามักถูกขับไล่ออกไปจากที่ดินด้วยความร่วมมือของนักการเมืองฉ้อฉลที่รับสินบนจากบริษัทข้ามชาติและนายทุน บางครั้งการขับไล่โหดร้ายถึงขนาดเผาหมู่บ้านทิ้งและทำร้ายร่างกายประชาชนจนถึงแก่ชีวิต นอกจากนั้น ยังมีการชิงน้ำไปจากชาวบ้านซึ่งอยู่ในย่านที่สายน้ำไหลผ่านเพื่อนำไปใช้การเกษตรของต่างชาติอีกด้วย ร้ายยิ่งกว่านั้น เมื่อได้ผลผลิตออกมาพวกเขาก็ส่งออกไปยังประเทศของตนแม้ประชาชนในท้องถิ่นจะกำลังอดอยากอย่างแพร่หลายก็ตาม
เรื่องการแย่งชิงแหล่งน้ำผ่านการล่าที่ดินของชาวต่างชาติจะเกิดขึ้นในเมืองไทยอย่างแพร่หลายหรือไม่ขึ้นอยู่กับว่าคนไทยจะตระหนักและจับตานักล่าน้ำในนามของการล่าที่ดินมากน้อยเพียงไร และจะยอมให้นักการเมืองฉ้อฉลรับสินบนจากชาวต่างชาติเพื่อเอื้อความสะดวกให้พวกเขาหรือไม่ ตราบใดที่เมืองไทยยังมีน้ำมาก ตราบนั้นนักล่าที่ดินจะยังตั้งเป้าหมายที่จะล่าเมืองไทยเป็นอาณานิคม การให้ความร่วมมือกับนักล่าที่ดินเพื่อยึดแหล่งน้ำมีค่าเท่ากับการขายชาติ ฉะนั้น คนไทยจะต้องไม่ยอมเด็ดขาดไม่ว่ามันจะเกิดขึ้นเมื่อใด