กระแสธารการบริโภคเปลี่ยนแปลงสังคมไทยในทุกปริมณฑลอย่างกว้างขวางรุนแรง การบริโภคกำหนดรูปแบบการใช้ชีวิต การนิยามอัตลักษณ์ตัวตน ตลอดจนสำนึกของความเป็นพลเมือง ส่วนสำคัญของความเปลี่ยนแปลงเกิดจากการสื่อสารทางการตลาดที่บรรดาบรรษัทน้อยใหญ่ใช้กลยุทธ์แยบยลต่างๆ กระตุ้นความต้องการของผู้บริโภค ภาพลักษณ์สวยงามและมีความเป็นสากลกลายเป็นสิ่งจำเป็นสำหรับการบริโภคเฉกเช่นเดียวกันกับการเมืองที่ต้องการภาพลักษณ์มากกว่าประสิทธิผลของการบริหารจัดการ
การยึดติดในวัตถุนิยม (Materialism) ของสังคมบริโภคไทยไม่ใช่เพิ่งเกิดขึ้น ด้วยอย่างน้อยสุดในระบบเกษตรกรรม เกษตรกรไทยก็อยู่ใต้กระแสโฆษณาชวนเชื่อถึงประสิทธิผลของสารเคมีกำจัดศัตรูพืชพิษร้ายแรงต่างๆ มาช้านานแล้ว ระบบเกษตรเคมีที่แผ่ขยายไปทั่วราชอาณาจักรไทยโดยมีปุ๋ยเคมีและยาฆ่าแมลงชื่อติดปากเกษตรกรเป็นหัวหอกจึงเป็นผลิตผลของการโฆษณาบ้าคลั่งควบคู่กับการส่งเสริมปลูกพืชเศรษฐกิจเชิงเดี่ยวที่มีกลไกการวิจัยและพัฒนา (R&D) นับตั้งแต่การปฏิวัติเขียวเป็นต้นมา รวมทั้งปัจจุบันยังมีเกษตรพันธสัญญา (Contract Farming) เป็นเครื่องมือทางการค้าการลงทุน ที่สุดท้ายทำลายสายพันธุ์พืชและสัตว์มากมายที่เกษตรกรรายย่อยหลายชั่วอายุคนได้อนุรักษ์และพัฒนาพันธุ์ โดยภาครัฐไม่ใส่ใจทั้งในเรื่องของการกำกับโฆษณา ควบคุมการขึ้นทะเบียนยาฆ่าแมลง และทำสัญญาพันธสัญญาให้เป็นธรรม
ท่ามกลางกระแสบริโภคเชี่ยวกราก ความหลากหลายของอาหารกลับลดลง โดยเฉพาะอาหารท้องถิ่น ซึ่งส่วนหนึ่งเป็นผลมาจากรูปแบบการบริโภคของผู้คนที่วางอยู่บนกระบวนการผลิตแบบสายพานอุตสาหกรรม (Mass Production) ที่ผลิตจากวัตถุดิบพืชและสัตว์เศรษฐกิจไม่กี่ชนิดซึ่งถึงผลิตอาหารออกมาอย่างหลากหลาย (Diversity) แต่ก็เป็นแค่ความหลากหลายของหีบห่อบรรจุภัณฑ์อันมีเจ้าของเป็นบรรษัทยักษ์ใหญ่ที่ผูกขาดเทคโนโลยีไม่กี่รายเท่านั้น อีกทั้งยังลิดรอนสิทธิทางอาหาร (Right to Food) ของประชาชนอย่างร้ายแรงด้วย
ดังนั้นการบริโภคจึงขึ้นกับความสามารถทางเศรษฐกิจ (Economic Access) เป็นสำคัญว่าจะมีเงินซื้อหาหรือไม่ ในขณะที่การเข้าถึงอาหารด้านอื่นๆ กลับถูกละเมิดมากขึ้นเรื่อยๆ โดยเฉพาะการเข้าไม่ถึงฐานทรัพยากรชุมชนท้องถิ่นที่เคยเป็นแหล่งอาหาร (Food Bank) หล่อเลี้ยงชีวิต ไม่ว่าจะเป็นแหล่งน้ำและป่าไม้ด้วยถูกวาดภาพจากรัฐว่าชาวบ้านไม่สามารถอยู่ร่วมกับแผ่นน้ำและผืนป่าได้
ไม่นับช่วงวิกฤตพิบัติภัยที่ประชาชนจะเข้าไม่ถึงอาหารเพราะโรงงานและศูนย์กระจายสินค้า (DC) ประสบภัย โดยเฉพาะในเขตเมืองที่ชีวิตผู้คนขึ้นกับระบบอาหารและขึ้นกับระบบอุตสาหกรรมตามลำดับ
ในการสูญเสียความหลากหลายทางชีวภาพ (Biodiversity) และความหลากหลายของอาหารที่ใช้พืชผักพื้นบ้านและเนื้อสัตว์ที่หาได้ในท้องถิ่นจึงเป็นผลที่ตามมาจากการดำเนินนโยบายอุตสาหกรรมเกษตรและอาหารของรัฐ และการทำการตลาดของบรรษัทเกษตรและอาหารยักษ์ใหญ่ทั้งในระดับชาติและข้ามชาติที่คำนึงถึงกำไรสูงสุด (Maximum profit) และการประหยัดต่อขนาด (Economies of Scale) เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและลดต้นทุนเป็นสำคัญ
บรรษัทอุตสาหกรรมเกษตรและอาหารต่างมุ่งผูกขาดวัตถุดิบ เทคโนโลยีการผลิต จนถึงช่องทางจัดจำหน่าย โดยการพยายามทำให้พฤติกรรมผู้บริโภคเหมือนกันในระดับนานาชาติตามกระแสโลกาภิวัตน์และการมาตรฐานอุตสาหกรรม (Standardization) ซึ่งก็จะมีแต่อุตสาหกรรมเกษตรและอาหารขนาดใหญ่เท่านั้นที่ทำได้ ในขณะที่จะเบียดขับเกษตรกรรายย่อยออกจากระบบตลาดและกีดกันการเข้าถึงพันธุกรรมสัตว์และพืชโดยใช้ระเบียบการค้าควบคุมและเทคโนโลยีกำหนด
ไทยที่กระโจนเข้าสู่กระแสโลกาภิวัตน์เต็มตัวด้วยการเปิดเสรีการค้า ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (AEC) ในปี 2558 และเปิดกว้างให้บรรษัทข้ามชาติเข้ามาลงทุนแข่งขันอันจะมีทั้งจากฟากตะวันตกและตะวันออกหลังมหาอำนาจเศรษฐกิจจีนผงาดขึ้นมานอกจากจะเสี่ยงเสียส่วนแบ่งตลาดสินค้าเกษตรให้แก่จีนและเพื่อนบ้านอาเซียน การถูกแย่งยึดที่ดิน (Land Grab) เพื่อใช้ปลูกพืชอาหารและพลังงานโดยประเทศอุตสาหกรรมที่ขาดความมั่นคงทางอาหารและพลังงานแล้ว ความหลากหลายของอาหารท้องถิ่นที่อุดมด้วยคุณค่าโภชนาการ สมุนไพรเสริมสุขภาพ และยารักษาโรคก็กำลังสูญหายจากผืนแผ่นดินและความรับรู้ของคนไทยด้วยรูปแบบชีวิตมักบริโภคแต่อาหารอุตสาหกรรมเป็นส่วนใหญ่ ไม่เคยตั้งคำถามถึงที่มาของอาหาร
ทั้งๆ ในที่มาของอาหารอาจมีความเหลื่อมล้ำและไม่เป็นธรรมปฏิบัติการอยู่อย่างแยบยลตั้งแต่ซ่อนการเอารัดเอาเปรียบไว้ในตัวสัญญาของเกษตรพันธสัญญา การไม่ถ่ายโอนเทคโนโลยี (Technology Transfer) การผลิตแก่เกษตรกร การผูกขาดปัจจัยการผลิตของเมล็ดพันธุ์ลูกผสม (Hybrid Seed) หรือตัดต่อพันธุกรรม (GM Seed) ของบรรษัท จนถึงการกดขู่ขี่บีฑาชัดเจนด้วยการแย่งชิงทรัพยากรที่ดินของกลุ่มทุน
ด้วยเหตุนี้นอกจากการเปลี่ยนทิศทางนโยบายด้านการเกษตรและอาหาร (Agro-Food Policy) แล้ว การปฏิรูปโครงสร้างและกฎหมายด้านที่ดินตามข้อเสนอสมัชชาปฏิรูประดับชาติครั้งที่ 2 ยังจำเป็นเร่งด่วน โดยเฉพาะอย่างยิ่งการคุ้มครองพื้นที่เกษตรกรรมด้วยการกำหนดมาตรการช่วยเหลือและจูงใจให้เจ้าของที่ดินรักษาที่ดินเพื่อเกษตรกรรมเอาไว้โดยบังคับใช้กฎหมายหรือกลไกของรัฐที่มีอยู่แล้วอย่างเคร่งครัด
ที่สำคัญต้องกำหนดพื้นที่ปลูกพืชและเลี้ยงสัตว์เฉพาะที่ต้องคุ้มครองเร่งด่วนตามข้อเสนอข้างต้นนี้ โดยเฉพาะพื้นที่ปลูกข้าวทุ่งกุลาร้องไห้ เงาะนาสาร ทุเรียนนนท์ ปลาสลิดบางบ่อ ปลาช่อนแม่ลา เพื่อคงความหลากหลายทางอาหารไว้ให้ได้ภายใต้กระแสโลกาภิวัตน์ที่อุตสาหกรรมเกษตรและอาหารทำให้อาหารมีความเหมือนกันไปหมดไม่ว่าผลิตจากมุมใดในโลกโดยใช้ ‘มาตรฐานอาหาร’ เป็นกลไกปฏิบัติการ
ถึงที่สุดแล้วในความต้องการวัตถุดิบน้อยชนิดในจำนวนมหาศาลอย่างต่อเนื่องตามหลักความประหยัดต่อขนาดอุตสาหกรรมได้ทำลายความหลากหลายของพันธุกรรมพืชและสัตว์อย่างต่อเนื่อง กระบวนการผลิตและแปรรูปก็มักไม่คำนึงถึงผลกระทบต่อสุขภาพและสิ่งแวดล้อมแต่อย่างใด
ในขณะเดียวกันแนวโน้มต้นทุนการผลิตสินค้าเกษตรและอาหารแบบอุตสาหกรรมก็สูงขึ้นตามราคาน้ำมันจนการขึ้นราคาปุ๋ยเคมีและยาฆ่าแมลงทำให้อาหารแพงขึ้นมาก นอกเหนือไปจากนั้นปัญหาลอจิสติกส์ขนส่งสินค้าเกษตรและอาหารที่รวมศูนย์การจัดการก็ก่อวิกฤตแก่ผู้บริโภคและเกษตรกรมาแล้วในช่วงพิบัติภัย
ดังนั้นปฏิบัติการเปลี่ยนผ่านระบบอาหารโลกที่ถูกผูกขาดโดยอุตสาหกรรมเกษตรและอาหารที่ทำลายชีวิตเกษตรกรรายย่อยจนย่อยยับนั้น อย่างน้อยสุดก็ต้องทำให้ความหลากหลายของอาหารที่เกิดจากการปลูกพืชผักผลไม้และเลี้ยงสัตว์ท้องถิ่นอันเป็นปฏิบัติการของเกษตรกรรายย่อยที่ทยอยล้มหายตายจากไปในกระแสโลกาภิวัตน์ได้กลับมามีพื้นที่ในฟาร์มเพาะปลูกและเมนูอาหารคนเมืองในฐานะ ‘ทางเลือกของการบริโภค’ ที่รัฐต้องส่งเสริม ‘การบริโภคทางเลือก’ นี้
การยึดติดในวัตถุนิยม (Materialism) ของสังคมบริโภคไทยไม่ใช่เพิ่งเกิดขึ้น ด้วยอย่างน้อยสุดในระบบเกษตรกรรม เกษตรกรไทยก็อยู่ใต้กระแสโฆษณาชวนเชื่อถึงประสิทธิผลของสารเคมีกำจัดศัตรูพืชพิษร้ายแรงต่างๆ มาช้านานแล้ว ระบบเกษตรเคมีที่แผ่ขยายไปทั่วราชอาณาจักรไทยโดยมีปุ๋ยเคมีและยาฆ่าแมลงชื่อติดปากเกษตรกรเป็นหัวหอกจึงเป็นผลิตผลของการโฆษณาบ้าคลั่งควบคู่กับการส่งเสริมปลูกพืชเศรษฐกิจเชิงเดี่ยวที่มีกลไกการวิจัยและพัฒนา (R&D) นับตั้งแต่การปฏิวัติเขียวเป็นต้นมา รวมทั้งปัจจุบันยังมีเกษตรพันธสัญญา (Contract Farming) เป็นเครื่องมือทางการค้าการลงทุน ที่สุดท้ายทำลายสายพันธุ์พืชและสัตว์มากมายที่เกษตรกรรายย่อยหลายชั่วอายุคนได้อนุรักษ์และพัฒนาพันธุ์ โดยภาครัฐไม่ใส่ใจทั้งในเรื่องของการกำกับโฆษณา ควบคุมการขึ้นทะเบียนยาฆ่าแมลง และทำสัญญาพันธสัญญาให้เป็นธรรม
ท่ามกลางกระแสบริโภคเชี่ยวกราก ความหลากหลายของอาหารกลับลดลง โดยเฉพาะอาหารท้องถิ่น ซึ่งส่วนหนึ่งเป็นผลมาจากรูปแบบการบริโภคของผู้คนที่วางอยู่บนกระบวนการผลิตแบบสายพานอุตสาหกรรม (Mass Production) ที่ผลิตจากวัตถุดิบพืชและสัตว์เศรษฐกิจไม่กี่ชนิดซึ่งถึงผลิตอาหารออกมาอย่างหลากหลาย (Diversity) แต่ก็เป็นแค่ความหลากหลายของหีบห่อบรรจุภัณฑ์อันมีเจ้าของเป็นบรรษัทยักษ์ใหญ่ที่ผูกขาดเทคโนโลยีไม่กี่รายเท่านั้น อีกทั้งยังลิดรอนสิทธิทางอาหาร (Right to Food) ของประชาชนอย่างร้ายแรงด้วย
ดังนั้นการบริโภคจึงขึ้นกับความสามารถทางเศรษฐกิจ (Economic Access) เป็นสำคัญว่าจะมีเงินซื้อหาหรือไม่ ในขณะที่การเข้าถึงอาหารด้านอื่นๆ กลับถูกละเมิดมากขึ้นเรื่อยๆ โดยเฉพาะการเข้าไม่ถึงฐานทรัพยากรชุมชนท้องถิ่นที่เคยเป็นแหล่งอาหาร (Food Bank) หล่อเลี้ยงชีวิต ไม่ว่าจะเป็นแหล่งน้ำและป่าไม้ด้วยถูกวาดภาพจากรัฐว่าชาวบ้านไม่สามารถอยู่ร่วมกับแผ่นน้ำและผืนป่าได้
ไม่นับช่วงวิกฤตพิบัติภัยที่ประชาชนจะเข้าไม่ถึงอาหารเพราะโรงงานและศูนย์กระจายสินค้า (DC) ประสบภัย โดยเฉพาะในเขตเมืองที่ชีวิตผู้คนขึ้นกับระบบอาหารและขึ้นกับระบบอุตสาหกรรมตามลำดับ
ในการสูญเสียความหลากหลายทางชีวภาพ (Biodiversity) และความหลากหลายของอาหารที่ใช้พืชผักพื้นบ้านและเนื้อสัตว์ที่หาได้ในท้องถิ่นจึงเป็นผลที่ตามมาจากการดำเนินนโยบายอุตสาหกรรมเกษตรและอาหารของรัฐ และการทำการตลาดของบรรษัทเกษตรและอาหารยักษ์ใหญ่ทั้งในระดับชาติและข้ามชาติที่คำนึงถึงกำไรสูงสุด (Maximum profit) และการประหยัดต่อขนาด (Economies of Scale) เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและลดต้นทุนเป็นสำคัญ
บรรษัทอุตสาหกรรมเกษตรและอาหารต่างมุ่งผูกขาดวัตถุดิบ เทคโนโลยีการผลิต จนถึงช่องทางจัดจำหน่าย โดยการพยายามทำให้พฤติกรรมผู้บริโภคเหมือนกันในระดับนานาชาติตามกระแสโลกาภิวัตน์และการมาตรฐานอุตสาหกรรม (Standardization) ซึ่งก็จะมีแต่อุตสาหกรรมเกษตรและอาหารขนาดใหญ่เท่านั้นที่ทำได้ ในขณะที่จะเบียดขับเกษตรกรรายย่อยออกจากระบบตลาดและกีดกันการเข้าถึงพันธุกรรมสัตว์และพืชโดยใช้ระเบียบการค้าควบคุมและเทคโนโลยีกำหนด
ไทยที่กระโจนเข้าสู่กระแสโลกาภิวัตน์เต็มตัวด้วยการเปิดเสรีการค้า ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (AEC) ในปี 2558 และเปิดกว้างให้บรรษัทข้ามชาติเข้ามาลงทุนแข่งขันอันจะมีทั้งจากฟากตะวันตกและตะวันออกหลังมหาอำนาจเศรษฐกิจจีนผงาดขึ้นมานอกจากจะเสี่ยงเสียส่วนแบ่งตลาดสินค้าเกษตรให้แก่จีนและเพื่อนบ้านอาเซียน การถูกแย่งยึดที่ดิน (Land Grab) เพื่อใช้ปลูกพืชอาหารและพลังงานโดยประเทศอุตสาหกรรมที่ขาดความมั่นคงทางอาหารและพลังงานแล้ว ความหลากหลายของอาหารท้องถิ่นที่อุดมด้วยคุณค่าโภชนาการ สมุนไพรเสริมสุขภาพ และยารักษาโรคก็กำลังสูญหายจากผืนแผ่นดินและความรับรู้ของคนไทยด้วยรูปแบบชีวิตมักบริโภคแต่อาหารอุตสาหกรรมเป็นส่วนใหญ่ ไม่เคยตั้งคำถามถึงที่มาของอาหาร
ทั้งๆ ในที่มาของอาหารอาจมีความเหลื่อมล้ำและไม่เป็นธรรมปฏิบัติการอยู่อย่างแยบยลตั้งแต่ซ่อนการเอารัดเอาเปรียบไว้ในตัวสัญญาของเกษตรพันธสัญญา การไม่ถ่ายโอนเทคโนโลยี (Technology Transfer) การผลิตแก่เกษตรกร การผูกขาดปัจจัยการผลิตของเมล็ดพันธุ์ลูกผสม (Hybrid Seed) หรือตัดต่อพันธุกรรม (GM Seed) ของบรรษัท จนถึงการกดขู่ขี่บีฑาชัดเจนด้วยการแย่งชิงทรัพยากรที่ดินของกลุ่มทุน
ด้วยเหตุนี้นอกจากการเปลี่ยนทิศทางนโยบายด้านการเกษตรและอาหาร (Agro-Food Policy) แล้ว การปฏิรูปโครงสร้างและกฎหมายด้านที่ดินตามข้อเสนอสมัชชาปฏิรูประดับชาติครั้งที่ 2 ยังจำเป็นเร่งด่วน โดยเฉพาะอย่างยิ่งการคุ้มครองพื้นที่เกษตรกรรมด้วยการกำหนดมาตรการช่วยเหลือและจูงใจให้เจ้าของที่ดินรักษาที่ดินเพื่อเกษตรกรรมเอาไว้โดยบังคับใช้กฎหมายหรือกลไกของรัฐที่มีอยู่แล้วอย่างเคร่งครัด
ที่สำคัญต้องกำหนดพื้นที่ปลูกพืชและเลี้ยงสัตว์เฉพาะที่ต้องคุ้มครองเร่งด่วนตามข้อเสนอข้างต้นนี้ โดยเฉพาะพื้นที่ปลูกข้าวทุ่งกุลาร้องไห้ เงาะนาสาร ทุเรียนนนท์ ปลาสลิดบางบ่อ ปลาช่อนแม่ลา เพื่อคงความหลากหลายทางอาหารไว้ให้ได้ภายใต้กระแสโลกาภิวัตน์ที่อุตสาหกรรมเกษตรและอาหารทำให้อาหารมีความเหมือนกันไปหมดไม่ว่าผลิตจากมุมใดในโลกโดยใช้ ‘มาตรฐานอาหาร’ เป็นกลไกปฏิบัติการ
ถึงที่สุดแล้วในความต้องการวัตถุดิบน้อยชนิดในจำนวนมหาศาลอย่างต่อเนื่องตามหลักความประหยัดต่อขนาดอุตสาหกรรมได้ทำลายความหลากหลายของพันธุกรรมพืชและสัตว์อย่างต่อเนื่อง กระบวนการผลิตและแปรรูปก็มักไม่คำนึงถึงผลกระทบต่อสุขภาพและสิ่งแวดล้อมแต่อย่างใด
ในขณะเดียวกันแนวโน้มต้นทุนการผลิตสินค้าเกษตรและอาหารแบบอุตสาหกรรมก็สูงขึ้นตามราคาน้ำมันจนการขึ้นราคาปุ๋ยเคมีและยาฆ่าแมลงทำให้อาหารแพงขึ้นมาก นอกเหนือไปจากนั้นปัญหาลอจิสติกส์ขนส่งสินค้าเกษตรและอาหารที่รวมศูนย์การจัดการก็ก่อวิกฤตแก่ผู้บริโภคและเกษตรกรมาแล้วในช่วงพิบัติภัย
ดังนั้นปฏิบัติการเปลี่ยนผ่านระบบอาหารโลกที่ถูกผูกขาดโดยอุตสาหกรรมเกษตรและอาหารที่ทำลายชีวิตเกษตรกรรายย่อยจนย่อยยับนั้น อย่างน้อยสุดก็ต้องทำให้ความหลากหลายของอาหารที่เกิดจากการปลูกพืชผักผลไม้และเลี้ยงสัตว์ท้องถิ่นอันเป็นปฏิบัติการของเกษตรกรรายย่อยที่ทยอยล้มหายตายจากไปในกระแสโลกาภิวัตน์ได้กลับมามีพื้นที่ในฟาร์มเพาะปลูกและเมนูอาหารคนเมืองในฐานะ ‘ทางเลือกของการบริโภค’ ที่รัฐต้องส่งเสริม ‘การบริโภคทางเลือก’ นี้