ASTVผู้จัดการรายวัน-เคาะขึ้นค่าไฟงวดใหม่ ก.ย.-ธ.ค. 18 สตางค์ต่อหน่วย จากของจริงต้องขยับไปที่ 68.24 สตางค์ต่อหน่วย โยนให้ กฟผ. รับภาระที่เหลือ ก่อนทยอยรีดเก็บย้อนหลังกับประชาชนไปอีก 3 งวดงวดละ 6.55 สตางค์ จนถึงสิ้นปี 2556 “อารักษ์” ให้ทำใจน้ำมันปีหน้ายังเป็นขาขึ้น แต่จะดูแลราคาให้เป็นธรรม
นายดิเรก ลาวัณย์ศิริ ประธานกรรมการกำกับกิจการพลังงาน (เรคกูเลเตอร์) เปิดเผยหลังการประชุมพิจารณาการประมาณการค่าไฟฟ้าตามสูตรการปรับอัตราค่าไฟฟ้าโดยอัตโนมัติ (เอฟที) สำหรับการเรียกเก็บในเดือนก.ย.-ธ.ค.2555 ว่า ที่ประชุมเห็นชอบขึ้นค่าเอฟทีอีก 18 สตางค์ต่อหน่วยเป็น 48 สตางค์ต่อหน่วย และเมื่อรวมกับค่าไฟฟ้าฐานจะทำให้ค่าไฟเฉลี่ยอยู่ที่ 3.71 บาทต่อหน่วย
"ค่าเอฟทีงวดนี้ ตามต้นทุนจริงจะต้องปรับขึ้นอีก 38.24 สตางค์ต่อหน่วยหรือรวมกับเอฟทีเดิม 30 สตางค์ต่อหน่วยจะต้องขึ้นไปอยู่ที่ 68.24 สตางค์ต่อหน่วย แต่เพื่อดูแลผลกระทบให้กับประชาชน จึงใช้วิธีทยอยปรับขึ้นแทน โดยส่วนที่เหลือจะทยอยปรับขึ้นค่าเอฟทีในงวดต่อไปอีก 3 ครั้ง ครั้งละ 6.55 สตางค์ต่อหน่วย”นายดิเรกกล่าว
โดยผลจากการขึ้นค่าเอฟทีดังกล่าว ทำให้การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) จะแบกรับภาระอยู่ที่ 10,504 ล้านบาท จากเดิมรับภาระที่ 14,000 ล้านบาท และหากต้นทุนไม่เปลี่ยนแปลง จะใช้หนี้ กฟผ. หมดในงวดก.ย.-ธ.ค.2556 โดยปัจจัยสำคัญที่ทำให้เอฟทีปรับขึ้น มาจากต้นทุนก๊าซที่ขึ้นจาก 301.28 บาทต่อล้านบีทียูมาอยู่ที่ 317.50 บาทต่อล้านบีทียู ถ่านหินขึ้นจาก 2,926 บาทต่อตันมาอยู่ที่ 3,227 บาทต่อตัน ค่าเงินบาทอ่อนค่าจาก30.29 บาทต่อเหรียญสหรัฐ เป็น 31.61 บาทต่อเหรียญสหรัฐ
ทั้งนี้ เรคกูเลเตอร์ จะนำรายละเอียดที่เกี่ยวข้องทั้งหมด เผยแพร่ผ่าน www.erc.or.th เพื่อเปิดรับฟังความคิดเห็นจากประชาชนและผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย ตั้งแต่วันที่ 6-12 ก.ย.2555 ก่อนที่จะนำผลการรับฟังมาพิจารณาและให้กฟผ.ประกาศเรียกเก็บค่าเอฟทีอย่างเป็นทางการต่อไป
นายอารักษ์ ชลธาร์นนท์ รมว.พลังงาน กล่าวถึงผลงานในรอบ 1 ปีที่ผ่านมาว่า มองว่าสอบผ่าน แต่จริงๆ คงต้องให้คนอื่นประเมิน โดยภาพรวมที่ผ่านมา กระทรวงฯ ได้ดูแลระดับราคาพลังงานภาพรวมให้เป็นธรรมต่อทุกฝ่าย เพื่อดูแลผลกระทบค่าครองชีพต่อประชาชน โดยเฉพาะการตรึงแอลพีจีครัวเรือนจนถึงสิ้นปีนี้ และปี 2556 การดูแลราคาพลังงานยังเป็นสิ่งสำคัญ เนื่องจากปีหน้า ราคาพลังงาน โดยเฉพาะจากฟอสซิลยังมีทิศทางปรับขึ้นจากอุปทานที่ลดน้อยลงขณะที่อุปสงค์ยังคงเพิ่มขึ้น
“ค่าไฟที่ขึ้นมา 18 สตางค์ต่อหน่วยผมมองว่ามันน้อยมาก ซึ่งเรกูเลเตอร์ก็พยายามดูแลอยู่ และให้ กฟผ. รับผิดชอบ ผมคิดว่าการดูแลราคาพลังงานจะต้องให้ความเป็นธรรมทุกฝ่าย และปีหน้าบทบาทกองทุนน้ำมันเชื้อเพลิงยังคงสำคัญอยู่ และคิดว่าอนาคตไทย จะมีการส่งเสริมให้ไทยเป็นฮับภูมิภาคในด้านพลังงานทดแทน”นายอารักษ์กล่าว
นายสุทัศน์ ปัทมสิริวัฒน์ ผู้ว่ากฟผ. กล่าวว่า กฟผ.ยังรับภาระได้ เนื่องจากเอฟทีหากขึ้นมากก็จะกระทบต่อค่าครองชีพประชาชน แต่การอุ้มค่าเอฟที ไม่ควรทำในระยะยาว เพราะหากเอฟทีขึ้นไปอีก ภาระจะหนักขึ้น และจะไม่ทำให้การใช้ไม่ประหยัด นอกจากนี้ กฟผ.เองก็มีภาระต้องใช้เงินลงทุน โดยเฉพาะอีก 3-4 ปีข้างหน้า ที่ต้องลงทุนเฉลี่ยปีละ 6 หมื่นล้านบาท เพื่อลงทุนโรงไฟฟ้า ระบบสายส่ง เพื่อความมั่นคงด้านไฟฟ้าของประเทศ ทำให้กฟผ.ต้องไปกู้เงินมาลงทุนมากขึ้น
นายดิเรก ลาวัณย์ศิริ ประธานกรรมการกำกับกิจการพลังงาน (เรคกูเลเตอร์) เปิดเผยหลังการประชุมพิจารณาการประมาณการค่าไฟฟ้าตามสูตรการปรับอัตราค่าไฟฟ้าโดยอัตโนมัติ (เอฟที) สำหรับการเรียกเก็บในเดือนก.ย.-ธ.ค.2555 ว่า ที่ประชุมเห็นชอบขึ้นค่าเอฟทีอีก 18 สตางค์ต่อหน่วยเป็น 48 สตางค์ต่อหน่วย และเมื่อรวมกับค่าไฟฟ้าฐานจะทำให้ค่าไฟเฉลี่ยอยู่ที่ 3.71 บาทต่อหน่วย
"ค่าเอฟทีงวดนี้ ตามต้นทุนจริงจะต้องปรับขึ้นอีก 38.24 สตางค์ต่อหน่วยหรือรวมกับเอฟทีเดิม 30 สตางค์ต่อหน่วยจะต้องขึ้นไปอยู่ที่ 68.24 สตางค์ต่อหน่วย แต่เพื่อดูแลผลกระทบให้กับประชาชน จึงใช้วิธีทยอยปรับขึ้นแทน โดยส่วนที่เหลือจะทยอยปรับขึ้นค่าเอฟทีในงวดต่อไปอีก 3 ครั้ง ครั้งละ 6.55 สตางค์ต่อหน่วย”นายดิเรกกล่าว
โดยผลจากการขึ้นค่าเอฟทีดังกล่าว ทำให้การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) จะแบกรับภาระอยู่ที่ 10,504 ล้านบาท จากเดิมรับภาระที่ 14,000 ล้านบาท และหากต้นทุนไม่เปลี่ยนแปลง จะใช้หนี้ กฟผ. หมดในงวดก.ย.-ธ.ค.2556 โดยปัจจัยสำคัญที่ทำให้เอฟทีปรับขึ้น มาจากต้นทุนก๊าซที่ขึ้นจาก 301.28 บาทต่อล้านบีทียูมาอยู่ที่ 317.50 บาทต่อล้านบีทียู ถ่านหินขึ้นจาก 2,926 บาทต่อตันมาอยู่ที่ 3,227 บาทต่อตัน ค่าเงินบาทอ่อนค่าจาก30.29 บาทต่อเหรียญสหรัฐ เป็น 31.61 บาทต่อเหรียญสหรัฐ
ทั้งนี้ เรคกูเลเตอร์ จะนำรายละเอียดที่เกี่ยวข้องทั้งหมด เผยแพร่ผ่าน www.erc.or.th เพื่อเปิดรับฟังความคิดเห็นจากประชาชนและผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย ตั้งแต่วันที่ 6-12 ก.ย.2555 ก่อนที่จะนำผลการรับฟังมาพิจารณาและให้กฟผ.ประกาศเรียกเก็บค่าเอฟทีอย่างเป็นทางการต่อไป
นายอารักษ์ ชลธาร์นนท์ รมว.พลังงาน กล่าวถึงผลงานในรอบ 1 ปีที่ผ่านมาว่า มองว่าสอบผ่าน แต่จริงๆ คงต้องให้คนอื่นประเมิน โดยภาพรวมที่ผ่านมา กระทรวงฯ ได้ดูแลระดับราคาพลังงานภาพรวมให้เป็นธรรมต่อทุกฝ่าย เพื่อดูแลผลกระทบค่าครองชีพต่อประชาชน โดยเฉพาะการตรึงแอลพีจีครัวเรือนจนถึงสิ้นปีนี้ และปี 2556 การดูแลราคาพลังงานยังเป็นสิ่งสำคัญ เนื่องจากปีหน้า ราคาพลังงาน โดยเฉพาะจากฟอสซิลยังมีทิศทางปรับขึ้นจากอุปทานที่ลดน้อยลงขณะที่อุปสงค์ยังคงเพิ่มขึ้น
“ค่าไฟที่ขึ้นมา 18 สตางค์ต่อหน่วยผมมองว่ามันน้อยมาก ซึ่งเรกูเลเตอร์ก็พยายามดูแลอยู่ และให้ กฟผ. รับผิดชอบ ผมคิดว่าการดูแลราคาพลังงานจะต้องให้ความเป็นธรรมทุกฝ่าย และปีหน้าบทบาทกองทุนน้ำมันเชื้อเพลิงยังคงสำคัญอยู่ และคิดว่าอนาคตไทย จะมีการส่งเสริมให้ไทยเป็นฮับภูมิภาคในด้านพลังงานทดแทน”นายอารักษ์กล่าว
นายสุทัศน์ ปัทมสิริวัฒน์ ผู้ว่ากฟผ. กล่าวว่า กฟผ.ยังรับภาระได้ เนื่องจากเอฟทีหากขึ้นมากก็จะกระทบต่อค่าครองชีพประชาชน แต่การอุ้มค่าเอฟที ไม่ควรทำในระยะยาว เพราะหากเอฟทีขึ้นไปอีก ภาระจะหนักขึ้น และจะไม่ทำให้การใช้ไม่ประหยัด นอกจากนี้ กฟผ.เองก็มีภาระต้องใช้เงินลงทุน โดยเฉพาะอีก 3-4 ปีข้างหน้า ที่ต้องลงทุนเฉลี่ยปีละ 6 หมื่นล้านบาท เพื่อลงทุนโรงไฟฟ้า ระบบสายส่ง เพื่อความมั่นคงด้านไฟฟ้าของประเทศ ทำให้กฟผ.ต้องไปกู้เงินมาลงทุนมากขึ้น