วานนี้(27 ส.ค.55) “นิด้าโพล”เผยผลสำรวจความคิดเห็นของประชาชน เรื่อง "ความเชื่อมั่นต่อรัฐบาลในการดำเนินนโยบาย : ป้องกันและปราบปรามการทุจริตและประพฤติมิชอบในภาครัฐ" สำรวจ ระหว่างวันที่ 24 –25 สิงหาคม 2555 โดยสำรวจจากประชาชนทุกภูมิภาคทั่วประเทศ จำนวน 1,250 หน่วยตัวอย่าง ผลการสำรวจสรุปได้ดังนี้
ท่านเห็นด้วยหรือไม่ว่าประเทศไทยมีการทุจริตคอร์รัปชันเพิ่มมากขึ้น พบว่า ร้อยละ 73.68 เห็นด้วย ร้อยละ 09.92 เห็นด้วยอย่างยิ่ง ร้อยละ 8.80 ไม่แน่ใจ ร้อยละ 6.96 ไม่เห็นด้วย ร้อยละ 0.64 ไม่เห็นด้วยอย่างยิ่ง
ท่านคิดว่าสถานการณ์ความรุนแรงของการทุจริตคอร์รัปชันของประเทศไทยอยู่ในระดับใด พบว่า ร้อยละ 44.32 มาก ร้อยละ 31.44 ปานกลาง ร้อยละ 15.84 มากที่สุด ร้อยละ 5.52 น้อยที่สุด ร้อยละ 2.28 น้อย
ท่านคิดว่ารัฐบาลจะสามารถลดปัญหาการทุจริตคอร์รัปชันในหน่วยงานภาครัฐได้หรือไม่ พบว่า ร้อยละ 53.76 ไม่ได้ เพราะ การทุจริตคอร์รัปชันเป็นปัญหาที่เกิดขึ้นมานานและไม่มีทางแก้ไขได้อีกทั้งเจ้าหน้าที่ภาครัฐเป็นผู้ทุจริตเอง ร้อยละ 25.76 ได้ เพราะ มีความเชื่อมั่นในการทำงานของรัฐบาลชุดปัจจุบัน เนื่องจากมีความตั้งใจที่จะแก้ไขปัญหาการทุจริตคอร์รัปชันอย่างจริงจัง ร้อยละ 20.48 ไม่แน่ใจ
ท่านมีความเชื่อมั่นต่อรัฐบาลในการแก้ไขปัญหาการทุจริตคอร์รัปชันในหน่วยงานภาครัฐในระดับใดพบว่า ร้อยละ 39.04 ปานกลาง ร้อยละ 23.92 น้อย ร้อยละ 21.84 น้อยที่สุด ร้อยละ 12.72 มาก ร้อยละ 02.48 มากที่สุด
ท่านคิดว่าโครงการใดบ้างที่มีการทุจริต พบว่า ร้อยละ 67.09 โครงการรับจำนำข้าว ร้อยละ 06.62 โครงการซื้อเครื่องตรวจสอบวัตถุระเบิดท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ (CTX) ร้อยละ 05.84 โครงการก่อสร้างถนน
ร้อยละ 05.84 โครงการช่วยเหลือผู้ประสบอุทกภัย 2554 ร้อยละ 04.19 โครงการก่อสร้างบ่อบำบัดน้ำเสียคลองด่าน
ร้อยละ 00.97 โครงการราคาสินค้าทางการเกษตร เช่น ยางพารา ร้อยละ 00.58 โครงการแจกแท็บเล็ต (Tablet) เด็กประถมศึกษา ร้อยละ 00.39 โครงการครุภัณฑ์ทางการศึกษา กรมอาชีวศึกษา ร้อยละ 00.29 การสอบบรรจุแต่งตั้งนายตำรวจ ร้อยละ 00.19 กองทุนน้ำมัน ร้อยละ 00.10 การบรรเทาความรุนแรงสามจังหวัดชายแดนใต้
ร้อยละ 07.89 มีการทุจริตในทุกๆโครงการ
**ร้องเรียน “จำนำข้าว” มากที่สุด
สำนักข่าวอิศรา เปิดเผยว่า หลังจากรัฐบาลนำโดย น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี ได้เปิดงานประกาศแนวทางการดำเนินงานในระยะต่อไปของรัฐบาลในการต่อต้านการทุจริตคอร์รัปชั่น ไปเมื่อวันที่ 18 ส.ค.ที่ผ่านมา ที่ลานหน้าห้างสรรพสินค้าเซ็นทรัลเวิร์ล พร้อมเปิดเผยช่องทางในการร้องเรียนเรื่องการทุจริตคอร์รัปชั่นผ่านช่องทางต่างๆ ได้แก่ 1) ศูนย์ปฏิบัติการต่อต้านการทุจริตคอร์รัปชั่น (Anti-Corruption War Room) สายด่วน 1206 2) ตู้รับเรื่องร้องเรียนการทุจริตคอร์รัปชั่น ซึ่งจะติดตั้งไว้ตามสถานที่สำคัญต่างๆ ทั่วประเทศ อาทิ ทำเนียบรัฐบาล ศาลากลางจังหวัด สถานีขนส่ง ท่าอากาศยาน ห้างสรรพสินค้าเซ็นทรัลเวิลด์ ธนาคารกรุงไทย และศูนย์บริการเอไอเอส และ 3) เว็บไซต์ www.stopcorruption.go.th และสื่อสังคมออนไลน์ (เฟซบุ๊ก ทวิตเตอร์ ไลน์) ตลอดจนโมบาย แอพพลิเคชั่น
ล่าสุด นอกจากพบข้อมูลว่า นับแต่เปิดสายด่วน 1206ขึ้นมา ก็มีผู้ร้องเรียนการทุจริตคอร์รัปชั่น ตั้งแต่วันที่ 18พ.ค.-18ก.ค.2555ทั้งสิ้น 342เรื่อง "สำนักข่าวอิศรา" ยังได้รับรายงานว่า เรื่องร้องเรียนที่ประชาชนแจ้งผ่านสายด่วน 1206 ในรอบสัปดาห์ที่ผ่านมา ส่วนใหญ่มักเป็นเรื่องเกี่ยวกับโครงการรับจำนำข้าวของรัฐบาล ตามมาด้วยการฮั้วประมูลโครงการ ซึ่งโดยมากเป็นระดับท้องถิ่น ระดับเทศบาลหรือ อบต. และการระบาดของยาเสพติดในพื้นที่ต่างๆ ทั่วประเทศ
แหล่งข่าวจากศูนย์ปฏิบัติการต่อต้านการทุจริตคอร์รัปชั่น ซึ่งอยู่ภายใต้การกำกับดูแลของสำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตในภาครัฐ (ป.ป.ท.) กระทรวงยุติธรรม เปิดผยกับ "สำนักข่าวอิศรา" ว่า สำหรับเรื่องร้องเรียนการทุจริตคอร์รัปชั่นในช่องทางต่างๆ ทั้งสายด่วน ตู้รับเรื่องร้องเรียน เว็บไซต์และสื่อสังคมออนไลน์ สุดท้ายจะถูกนำกลับมากองรวมกันที่สำนักงาน ป.ป.ท.เพื่อทำการคัดแยกต่อไปว่า เรื่องดังกล่าวเป็นเพียงการแจ้งเบาะแส ที่มีไม่ข้อมูลใดๆ ประกอบ หรือเรื่องร้องเรียน ที่มีการส่งพยานหลักฐานเข้ามาให้ด้วย หากเป็นเพียงการแจ้งเบาะแส สำนักงาน ป.ป.ท.คงจะไม่ไปดำเนินการใดๆ ต่อ แต่ถ้าเป็นเรื่องร้องเรียนจะส่งไปยังสำนักงาน ป.ป.ท.ในแต่ละพื้นที่ๆ เรื่องร้องเรียนนั้นๆ เกิดขึ้นมา เพื่อให้ตรวจสอบข้อมูลเบื้องต้น หากพบว่ามีมูลก็จะส่งเรื่องกลับมาให้คณะกรรมการ ป.ป.ท.ดำเนินการพิจารณาต่อไป โดยกระบวนการดังกล่าวจะกินเวลามากกว่า 30วัน
“เรื่องร้องเรียนที่เข้ามาทั้งผ่านสายด่วนและเว็บไซต์ถือว่าน้อยกว่าที่คาดการณ์ไว้ เพราะการที่ให้ผู้ร้องเรียนเปิดเผยข้อมูลส่วนตัวทั้งชื่อ-สกุล ที่อยู่ หรือเลขบัตรประชาชน ทำให้บางคนไม่กล้าร้องเรียนเข้ามาเพราะกลัวความไม่ปลอดภัย ดังนั้นศูนย์ฯจึงปรับระบบวิธีเก็บเรื่องร้องเรียน โดยแยกข้อมูลส่วนตัวผู้ร้องเรียน กับรายละเอียดเรื่องที่ร้องเรียนไว้ หากเรื่องดังกล่าวมีมูลก็จะส่งเฉพาะรายละเอียดของเรื่องไปให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องดำเนินการต่อ ทั้งนี้ จะมีการแจ้งข้อมูลดังกล่าวให้ผู้ที่โทรศัพท์มายังสายด่วนได้ทราบด้วยว่า คุณสามารถที่จะแจ้งหรือไม่แจ้งข้อมูลส่วนตัวก็ได้” แหล่งข่าวกล่าว.
ท่านเห็นด้วยหรือไม่ว่าประเทศไทยมีการทุจริตคอร์รัปชันเพิ่มมากขึ้น พบว่า ร้อยละ 73.68 เห็นด้วย ร้อยละ 09.92 เห็นด้วยอย่างยิ่ง ร้อยละ 8.80 ไม่แน่ใจ ร้อยละ 6.96 ไม่เห็นด้วย ร้อยละ 0.64 ไม่เห็นด้วยอย่างยิ่ง
ท่านคิดว่าสถานการณ์ความรุนแรงของการทุจริตคอร์รัปชันของประเทศไทยอยู่ในระดับใด พบว่า ร้อยละ 44.32 มาก ร้อยละ 31.44 ปานกลาง ร้อยละ 15.84 มากที่สุด ร้อยละ 5.52 น้อยที่สุด ร้อยละ 2.28 น้อย
ท่านคิดว่ารัฐบาลจะสามารถลดปัญหาการทุจริตคอร์รัปชันในหน่วยงานภาครัฐได้หรือไม่ พบว่า ร้อยละ 53.76 ไม่ได้ เพราะ การทุจริตคอร์รัปชันเป็นปัญหาที่เกิดขึ้นมานานและไม่มีทางแก้ไขได้อีกทั้งเจ้าหน้าที่ภาครัฐเป็นผู้ทุจริตเอง ร้อยละ 25.76 ได้ เพราะ มีความเชื่อมั่นในการทำงานของรัฐบาลชุดปัจจุบัน เนื่องจากมีความตั้งใจที่จะแก้ไขปัญหาการทุจริตคอร์รัปชันอย่างจริงจัง ร้อยละ 20.48 ไม่แน่ใจ
ท่านมีความเชื่อมั่นต่อรัฐบาลในการแก้ไขปัญหาการทุจริตคอร์รัปชันในหน่วยงานภาครัฐในระดับใดพบว่า ร้อยละ 39.04 ปานกลาง ร้อยละ 23.92 น้อย ร้อยละ 21.84 น้อยที่สุด ร้อยละ 12.72 มาก ร้อยละ 02.48 มากที่สุด
ท่านคิดว่าโครงการใดบ้างที่มีการทุจริต พบว่า ร้อยละ 67.09 โครงการรับจำนำข้าว ร้อยละ 06.62 โครงการซื้อเครื่องตรวจสอบวัตถุระเบิดท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ (CTX) ร้อยละ 05.84 โครงการก่อสร้างถนน
ร้อยละ 05.84 โครงการช่วยเหลือผู้ประสบอุทกภัย 2554 ร้อยละ 04.19 โครงการก่อสร้างบ่อบำบัดน้ำเสียคลองด่าน
ร้อยละ 00.97 โครงการราคาสินค้าทางการเกษตร เช่น ยางพารา ร้อยละ 00.58 โครงการแจกแท็บเล็ต (Tablet) เด็กประถมศึกษา ร้อยละ 00.39 โครงการครุภัณฑ์ทางการศึกษา กรมอาชีวศึกษา ร้อยละ 00.29 การสอบบรรจุแต่งตั้งนายตำรวจ ร้อยละ 00.19 กองทุนน้ำมัน ร้อยละ 00.10 การบรรเทาความรุนแรงสามจังหวัดชายแดนใต้
ร้อยละ 07.89 มีการทุจริตในทุกๆโครงการ
**ร้องเรียน “จำนำข้าว” มากที่สุด
สำนักข่าวอิศรา เปิดเผยว่า หลังจากรัฐบาลนำโดย น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี ได้เปิดงานประกาศแนวทางการดำเนินงานในระยะต่อไปของรัฐบาลในการต่อต้านการทุจริตคอร์รัปชั่น ไปเมื่อวันที่ 18 ส.ค.ที่ผ่านมา ที่ลานหน้าห้างสรรพสินค้าเซ็นทรัลเวิร์ล พร้อมเปิดเผยช่องทางในการร้องเรียนเรื่องการทุจริตคอร์รัปชั่นผ่านช่องทางต่างๆ ได้แก่ 1) ศูนย์ปฏิบัติการต่อต้านการทุจริตคอร์รัปชั่น (Anti-Corruption War Room) สายด่วน 1206 2) ตู้รับเรื่องร้องเรียนการทุจริตคอร์รัปชั่น ซึ่งจะติดตั้งไว้ตามสถานที่สำคัญต่างๆ ทั่วประเทศ อาทิ ทำเนียบรัฐบาล ศาลากลางจังหวัด สถานีขนส่ง ท่าอากาศยาน ห้างสรรพสินค้าเซ็นทรัลเวิลด์ ธนาคารกรุงไทย และศูนย์บริการเอไอเอส และ 3) เว็บไซต์ www.stopcorruption.go.th และสื่อสังคมออนไลน์ (เฟซบุ๊ก ทวิตเตอร์ ไลน์) ตลอดจนโมบาย แอพพลิเคชั่น
ล่าสุด นอกจากพบข้อมูลว่า นับแต่เปิดสายด่วน 1206ขึ้นมา ก็มีผู้ร้องเรียนการทุจริตคอร์รัปชั่น ตั้งแต่วันที่ 18พ.ค.-18ก.ค.2555ทั้งสิ้น 342เรื่อง "สำนักข่าวอิศรา" ยังได้รับรายงานว่า เรื่องร้องเรียนที่ประชาชนแจ้งผ่านสายด่วน 1206 ในรอบสัปดาห์ที่ผ่านมา ส่วนใหญ่มักเป็นเรื่องเกี่ยวกับโครงการรับจำนำข้าวของรัฐบาล ตามมาด้วยการฮั้วประมูลโครงการ ซึ่งโดยมากเป็นระดับท้องถิ่น ระดับเทศบาลหรือ อบต. และการระบาดของยาเสพติดในพื้นที่ต่างๆ ทั่วประเทศ
แหล่งข่าวจากศูนย์ปฏิบัติการต่อต้านการทุจริตคอร์รัปชั่น ซึ่งอยู่ภายใต้การกำกับดูแลของสำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตในภาครัฐ (ป.ป.ท.) กระทรวงยุติธรรม เปิดผยกับ "สำนักข่าวอิศรา" ว่า สำหรับเรื่องร้องเรียนการทุจริตคอร์รัปชั่นในช่องทางต่างๆ ทั้งสายด่วน ตู้รับเรื่องร้องเรียน เว็บไซต์และสื่อสังคมออนไลน์ สุดท้ายจะถูกนำกลับมากองรวมกันที่สำนักงาน ป.ป.ท.เพื่อทำการคัดแยกต่อไปว่า เรื่องดังกล่าวเป็นเพียงการแจ้งเบาะแส ที่มีไม่ข้อมูลใดๆ ประกอบ หรือเรื่องร้องเรียน ที่มีการส่งพยานหลักฐานเข้ามาให้ด้วย หากเป็นเพียงการแจ้งเบาะแส สำนักงาน ป.ป.ท.คงจะไม่ไปดำเนินการใดๆ ต่อ แต่ถ้าเป็นเรื่องร้องเรียนจะส่งไปยังสำนักงาน ป.ป.ท.ในแต่ละพื้นที่ๆ เรื่องร้องเรียนนั้นๆ เกิดขึ้นมา เพื่อให้ตรวจสอบข้อมูลเบื้องต้น หากพบว่ามีมูลก็จะส่งเรื่องกลับมาให้คณะกรรมการ ป.ป.ท.ดำเนินการพิจารณาต่อไป โดยกระบวนการดังกล่าวจะกินเวลามากกว่า 30วัน
“เรื่องร้องเรียนที่เข้ามาทั้งผ่านสายด่วนและเว็บไซต์ถือว่าน้อยกว่าที่คาดการณ์ไว้ เพราะการที่ให้ผู้ร้องเรียนเปิดเผยข้อมูลส่วนตัวทั้งชื่อ-สกุล ที่อยู่ หรือเลขบัตรประชาชน ทำให้บางคนไม่กล้าร้องเรียนเข้ามาเพราะกลัวความไม่ปลอดภัย ดังนั้นศูนย์ฯจึงปรับระบบวิธีเก็บเรื่องร้องเรียน โดยแยกข้อมูลส่วนตัวผู้ร้องเรียน กับรายละเอียดเรื่องที่ร้องเรียนไว้ หากเรื่องดังกล่าวมีมูลก็จะส่งเฉพาะรายละเอียดของเรื่องไปให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องดำเนินการต่อ ทั้งนี้ จะมีการแจ้งข้อมูลดังกล่าวให้ผู้ที่โทรศัพท์มายังสายด่วนได้ทราบด้วยว่า คุณสามารถที่จะแจ้งหรือไม่แจ้งข้อมูลส่วนตัวก็ได้” แหล่งข่าวกล่าว.