มีนักวิชาการตั้งข้อสังเกตว่าเรื่องรามเกียรติ์ มักจะเป็นที่นิยมของรัฐเดียวที่มีการรวมศูนย์อำนาจ เพราะเป็นเรื่องของความรักสามัคคีระหว่างพระรามกับพระลักษณ์ และยังเป็นเรื่องที่มีการยกย่องสรรเสริญพระรามในฐานะที่เป็นผู้นำที่มีอำนาจสูงสุด นอกจากนั้นยังเน้นคุณค่าที่เกี่ยวกับความจงรักภักดีของขุนนาง เช่น หนุมานที่มีต่อพระรามอีกด้วย ส่วนมหากาพย์มหาภารตยุทธนั้น เป็นเรื่องของการรบพุ่งแย่งอำนาจระหว่างกษัตริย์สององค์ มหาภารตยุทธเป็นที่นิยมกันในอินโดนีเซียซึ่งเป็นประเทศที่มีความแตกแยกเพราะเป็นหมู่เกาะ มีความขัดแย้งระหว่างชาวชวาและชาวสุมาตรา
วรรณคดีเป็นสิ่งที่ผู้ปกครองสมัยก่อนใช้กล่อมเกลาขุนนาง และต่อมาก็เผยแพร่ไปยังหมู่ประชาชนในรูปของการแสดง แม้ว่าชาวบ้านจะมีเรื่องราวพื้นบ้านประเภทจักรๆ วงศ์ๆ ไม่ถึงกับยิ่งใหญ่เหมือนกับเรื่องรามเกียรติ์ แต่เรื่องราวเหล่านี้ก็ปลูกฝังค่านิยมบางประการที่ทำให้คนไทยมีอุปนิสัยอ่อนโยน โอบอ้อมอารี และเกรงกลัวต่อบาป
อำนาจรัฐที่ใช้บังคับปกครองคนทั่วไปมีสองด้านคือ อำนาจทางกฎหมายด้านหนึ่ง กับอำนาจทางการกล่อมเกลาชักจูงใจอีกอย่างหนึ่ง ประชาชนยอมรับอำนาจของผู้ปกครองไม่ใช่เพราะถูกกำลังบังคับแต่เพียงอย่างเดียว แต่เป็นการยอมรับเพราะความเชื่ออีกด้วย ตราบเท่าที่อำนาจนั้นไม่ก่อให้เกิดการกดขี่จนเกินไป เรียกว่า การยอมรับโดยปริยาย
การกล่อมเกลาไม่ได้มาจากฝ่ายรัฐเสมอไป แต่สามารถเกิดขึ้นได้ภายในสังคมผ่านหนังสือแนวนิยาย การแสดงละครบทเพลงและการบันเทิงต่างๆ ในสมัยหลังสงครามเป็นต้นมาเป็นระยะเวลาที่สังคมไทยได้รับอิทธิพลทางวัฒนธรรมจากวงการเอกชนนอกรัฐมากที่สุด ที่สำคัญก็คือมีบุคคลที่ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงทางวิถีชีวิตของคนไทยในเขตเมืองที่มีการศึกษา ผู้ที่มีบทบาทเช่นนี้ได้แก่ หลวงวิจิตรวาทการ ป.อินทรปาลิต และสุนทราภรณ์
หลวงวิจิตรวาทการมีความสำคัญตรงที่เป็นบุคคลซึ่งเขียนหนังสือให้คนเห็นความสำคัญของการทำงาน การใฝ่ดี และวางแผนชีวิต เป็นผู้นำเอาหลักจิตวิทยามาปรับใช้อย่างง่ายๆ ให้คนมีกำลังใจที่จะต่อสู้ชีวิต และที่สำคัญก็คือ เป็นผู้ซึ่งเปลี่ยนแปลงโลกทัศน์ของคนไทยให้มีความมั่นใจว่าสามารถบงการชีวิตของตนเองได้ หนังสือทุกเล่มของหลวงวิจิตรวาทการล้วนแล้วแต่กระตุ้นให้คนเกิดพลังในการทำงาน และการร่วมกันสร้างชาติ บทละครของหลวงวิจิตรวาทการเป็นการสร้างจินตภาพของความเป็นไทยให้มีความเป็นรูปธรรมขึ้น โดยอาศัยข้อมูลทางประวัติศาสตร์ก่อให้เกิดความรักชาติ คนไทยสมัยหลังสงคราม โดยเฉพาะข้าราชการจะนิยมอ่านหนังสือของหลวงวิจิตรฯ การใช้ภาษาของหลวงวิจิตรฯ ก็เรียบง่าย แต่ก็มีพลัง มีการยกตัวอย่างให้เห็นจริงเห็นจัง โดยเฉพาะจากชีวิตของตนเอง ท่านเล่าว่าตอนรับราชการเป็นเสมียน เวลามีงานเลี้ยงก็ต้องเสิร์ฟอาหารด้วย ท่านรู้สึกประทับใจที่มีข้าราชการท่านหนึ่งสามารถคุยกับแขกที่นั่งอยู่สองด้านเป็นภาษาอังกฤษ และภาษาฝรั่งเศสได้อย่างคล่องแคล่ว ทำให้ท่านอยากทำเช่นนั้นได้บ้าง และท่านก็ได้ลงมือเรียนภาษาอังกฤษ และฝรั่งเศสด้วยตนเองจนสามารถใช้งานได้ดี
ไม่มีใครที่ไม่รู้จักหรือไม่เคยอ่านหนังสือชุดสามเกลอของ ป.อินทรปาลิต หัสนิยายสามเกลอเป็นเรื่องเบาๆ อ่านสนุก มีมุขตลกมากมาย ป.อินทรปาลิตถ่ายทอดความรู้สึกวิถีชีวิต และค่านิยมของชนชั้นกลางในเขตเมืองออกมาได้อย่างดีที่สุด และใช้ตัวละครแสดงอุปนิสัยทั้งที่ดีและไม่ดีของคนไทย ในขณะที่หนังสือของหลวงวิจิตรวาทการทำให้คนไทยมีพลังในการทำงาน หนังสือของ ป.อินทรปาลิต ก็ช่วยให้เกิดอารมณ์ผ่อนคลาย และทำให้เกิดความรู้สึกที่ไม่จริงจังต่อชีวิตมากนัก
ในขณะเดียวกัน สุนทราภรณ์ก็มีดนตรีและเพลงสากลที่ใช้บรรเลงในงานต่างๆ เพลงของสุนทราภรณ์มีความหมาย มีการใช้ภาษาที่สละสลวยดุจกวีที่มีเสียงเพลง คนไทยจึงได้เสพวัฒนธรรมยุคใหม่ที่มีสุนทรียภาพอาจกล่าวได้ว่าเพลงของสุนทราภรณ์ได้สร้างอารมณ์ร่วมของคนไทยมาตลอดระยะเวลาหลายสิบปี
เมื่อเทียบกับยุคปัจจุบันแล้ว ก็ไม่มีบุคคลใดที่จะมีอิทธิพลเทียบเท่าบุคคลทั้งสามนี้ เด็กยุคใหม่ไม่มีวัฒนธรรมร่วมเหมือนกับคนไทยเมื่อห้าสิบปีก่อน ทำให้เกิดปัจเจกชนนิยมสุดโต่ง มีความหลากหลาย และได้รับอิทธิพลจากต่างชาติ เช่น ญี่ปุ่น และเกาหลีมาก เด็กๆ ไม่ได้รับแรงบันดาลใจเหมือนกับผู้ซึ่งได้เคยสัมผัสงานเขียนของหลวงวิจิตรวาทการมาก่อน
สิ่งที่เกิดขึ้นก็คือ สังคมไทยเริ่มมีความแตกแยกแบ่งพรรคแบ่งพวก และต่อสู้กันเหมือนกับเป็นศัตรูต่อกัน ความรู้สึกรักชาติมีอยู่น้อย แต่สนใจผลประโยชน์ของตัวเอง เห็นแก่ตัวมากขึ้น เป็นเรื่องที่น่าเสียดาย แต่ก็เป็นธรรมดาของโลกที่ต้องมีการเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา
วรรณคดีเป็นสิ่งที่ผู้ปกครองสมัยก่อนใช้กล่อมเกลาขุนนาง และต่อมาก็เผยแพร่ไปยังหมู่ประชาชนในรูปของการแสดง แม้ว่าชาวบ้านจะมีเรื่องราวพื้นบ้านประเภทจักรๆ วงศ์ๆ ไม่ถึงกับยิ่งใหญ่เหมือนกับเรื่องรามเกียรติ์ แต่เรื่องราวเหล่านี้ก็ปลูกฝังค่านิยมบางประการที่ทำให้คนไทยมีอุปนิสัยอ่อนโยน โอบอ้อมอารี และเกรงกลัวต่อบาป
อำนาจรัฐที่ใช้บังคับปกครองคนทั่วไปมีสองด้านคือ อำนาจทางกฎหมายด้านหนึ่ง กับอำนาจทางการกล่อมเกลาชักจูงใจอีกอย่างหนึ่ง ประชาชนยอมรับอำนาจของผู้ปกครองไม่ใช่เพราะถูกกำลังบังคับแต่เพียงอย่างเดียว แต่เป็นการยอมรับเพราะความเชื่ออีกด้วย ตราบเท่าที่อำนาจนั้นไม่ก่อให้เกิดการกดขี่จนเกินไป เรียกว่า การยอมรับโดยปริยาย
การกล่อมเกลาไม่ได้มาจากฝ่ายรัฐเสมอไป แต่สามารถเกิดขึ้นได้ภายในสังคมผ่านหนังสือแนวนิยาย การแสดงละครบทเพลงและการบันเทิงต่างๆ ในสมัยหลังสงครามเป็นต้นมาเป็นระยะเวลาที่สังคมไทยได้รับอิทธิพลทางวัฒนธรรมจากวงการเอกชนนอกรัฐมากที่สุด ที่สำคัญก็คือมีบุคคลที่ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงทางวิถีชีวิตของคนไทยในเขตเมืองที่มีการศึกษา ผู้ที่มีบทบาทเช่นนี้ได้แก่ หลวงวิจิตรวาทการ ป.อินทรปาลิต และสุนทราภรณ์
หลวงวิจิตรวาทการมีความสำคัญตรงที่เป็นบุคคลซึ่งเขียนหนังสือให้คนเห็นความสำคัญของการทำงาน การใฝ่ดี และวางแผนชีวิต เป็นผู้นำเอาหลักจิตวิทยามาปรับใช้อย่างง่ายๆ ให้คนมีกำลังใจที่จะต่อสู้ชีวิต และที่สำคัญก็คือ เป็นผู้ซึ่งเปลี่ยนแปลงโลกทัศน์ของคนไทยให้มีความมั่นใจว่าสามารถบงการชีวิตของตนเองได้ หนังสือทุกเล่มของหลวงวิจิตรวาทการล้วนแล้วแต่กระตุ้นให้คนเกิดพลังในการทำงาน และการร่วมกันสร้างชาติ บทละครของหลวงวิจิตรวาทการเป็นการสร้างจินตภาพของความเป็นไทยให้มีความเป็นรูปธรรมขึ้น โดยอาศัยข้อมูลทางประวัติศาสตร์ก่อให้เกิดความรักชาติ คนไทยสมัยหลังสงคราม โดยเฉพาะข้าราชการจะนิยมอ่านหนังสือของหลวงวิจิตรฯ การใช้ภาษาของหลวงวิจิตรฯ ก็เรียบง่าย แต่ก็มีพลัง มีการยกตัวอย่างให้เห็นจริงเห็นจัง โดยเฉพาะจากชีวิตของตนเอง ท่านเล่าว่าตอนรับราชการเป็นเสมียน เวลามีงานเลี้ยงก็ต้องเสิร์ฟอาหารด้วย ท่านรู้สึกประทับใจที่มีข้าราชการท่านหนึ่งสามารถคุยกับแขกที่นั่งอยู่สองด้านเป็นภาษาอังกฤษ และภาษาฝรั่งเศสได้อย่างคล่องแคล่ว ทำให้ท่านอยากทำเช่นนั้นได้บ้าง และท่านก็ได้ลงมือเรียนภาษาอังกฤษ และฝรั่งเศสด้วยตนเองจนสามารถใช้งานได้ดี
ไม่มีใครที่ไม่รู้จักหรือไม่เคยอ่านหนังสือชุดสามเกลอของ ป.อินทรปาลิต หัสนิยายสามเกลอเป็นเรื่องเบาๆ อ่านสนุก มีมุขตลกมากมาย ป.อินทรปาลิตถ่ายทอดความรู้สึกวิถีชีวิต และค่านิยมของชนชั้นกลางในเขตเมืองออกมาได้อย่างดีที่สุด และใช้ตัวละครแสดงอุปนิสัยทั้งที่ดีและไม่ดีของคนไทย ในขณะที่หนังสือของหลวงวิจิตรวาทการทำให้คนไทยมีพลังในการทำงาน หนังสือของ ป.อินทรปาลิต ก็ช่วยให้เกิดอารมณ์ผ่อนคลาย และทำให้เกิดความรู้สึกที่ไม่จริงจังต่อชีวิตมากนัก
ในขณะเดียวกัน สุนทราภรณ์ก็มีดนตรีและเพลงสากลที่ใช้บรรเลงในงานต่างๆ เพลงของสุนทราภรณ์มีความหมาย มีการใช้ภาษาที่สละสลวยดุจกวีที่มีเสียงเพลง คนไทยจึงได้เสพวัฒนธรรมยุคใหม่ที่มีสุนทรียภาพอาจกล่าวได้ว่าเพลงของสุนทราภรณ์ได้สร้างอารมณ์ร่วมของคนไทยมาตลอดระยะเวลาหลายสิบปี
เมื่อเทียบกับยุคปัจจุบันแล้ว ก็ไม่มีบุคคลใดที่จะมีอิทธิพลเทียบเท่าบุคคลทั้งสามนี้ เด็กยุคใหม่ไม่มีวัฒนธรรมร่วมเหมือนกับคนไทยเมื่อห้าสิบปีก่อน ทำให้เกิดปัจเจกชนนิยมสุดโต่ง มีความหลากหลาย และได้รับอิทธิพลจากต่างชาติ เช่น ญี่ปุ่น และเกาหลีมาก เด็กๆ ไม่ได้รับแรงบันดาลใจเหมือนกับผู้ซึ่งได้เคยสัมผัสงานเขียนของหลวงวิจิตรวาทการมาก่อน
สิ่งที่เกิดขึ้นก็คือ สังคมไทยเริ่มมีความแตกแยกแบ่งพรรคแบ่งพวก และต่อสู้กันเหมือนกับเป็นศัตรูต่อกัน ความรู้สึกรักชาติมีอยู่น้อย แต่สนใจผลประโยชน์ของตัวเอง เห็นแก่ตัวมากขึ้น เป็นเรื่องที่น่าเสียดาย แต่ก็เป็นธรรมดาของโลกที่ต้องมีการเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา