วานนี้ ( 22 ส.ค.) นายพิมล ธรรมพิทักษ์พงษ์ หัวหน้าคณะโฆษกศาลรัฐธรรมนูญ กล่าวว่า ที่ประชุมคณะตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ ได้พิจารณากรณีศาลจังหวัดลำพูน ส่งคำโต้แย้งของนายประสงค์ หรือ มานะ แก้วลื้อ จำเลย ที่ 1 กับพวกรวม 2 คน ขอให้ศาลรัฐธรรมนูญพิจารณาวินิจฉัย ว่า ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 215 ขัดหรือแย้งต่อรัฐธรรมนูญมาตรา 69 และมาตรา 70 หรือไม่ รวมถึง พ.ร.บ.จราจรทางบก พ.ศ.2522 มาตรา 114 และมาตรา 128 ขัดหรือแย้งต่อรัฐธรรมนูญมาตรา 29 มาตรา 63 มาตรา 69 และมาตรา 70 หรือไม่
โดยศาลเห็นว่า ประเด็นการโต้แย้งดังกล่าว ไม่ขัดหรือแย้งต่อรัฐธรรมนูญ เนื่องจากตาม รัฐธรรมนูญ มาตรา 69 เป็นสิทธิของชนชาวไทยในการต่อต้านโดยสันติวิธี ซึ่งการกระทำใดๆ ที่เป็นไปเพื่อให้ได้มาซึ่งอำนาจในการปกครองประเทศโดยวิธีการซึ่งมิได้เป็นไปตามวิถีทางที่บัญญัติไว้ในรัฐธรรมนูญ และรัฐธรรมนูญ มาตรา 70 เป็นหน้าที่ในการพิทักษ์รักษาไว้ซึ่ง ชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์ และการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข ตามรัฐธรรมนูญ
ส่วนประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 215 เป็นบทบัญญัติในภาคความผิด ที่เกี่ยวกับความสงบสุขของประชาชน โดยมีวัตถุประสงค์ที่จะควบคุมการกระทำของบุคคล หรือกลุ่มบุคคลที่อาจก่อให้เกิดความไม่สงบเรียบร้อยขึ้นในบ้านเมือง มิได้มุ่งหมาย หรือมีลักษณะเป็นการขัดขวาง หรือกระทบกระเทีอนการใช้สิทธิ และหน้าที่ตามรัฐธรรมนูญ มาตรา 69 และมาตรา 70
สำหรับพ.ร.บ.จราจรทางบก พ.ศ. 2522 มาตรา 114 และมาตรา 128 มีวัถุประสงค์เป็นการจัดวางระเบียบจราจรทางบก เพื่อความสะดวกและปลอดภัยแก่ชีวิต ร่างกายและทรัพย์สินของประชาชน จึงไม่ขัดหรือแย้งต่อรัฐธรรมนูญ มาตรา 29,63,69 และ มาตรา 70
ทั้งนี้กรณีดังกล่าวสืบเนื่องจาก เจ้าหน้าที่ตำรวจลำพูน ได้จับนายประสงค์ หรือ มานะ แก้วลื้อ และพวกได้มาชุมนุมบนถนนลำปาง-เชียงใหม่ ซึ่งเป็นการประท้วงรัฐบาล เมื่อปี 2552 ช่วงสงกรานต์ โดยได้นำเอารถ10 ล้อ มาปิดขวางถนน เป็นเหตุให้เจ้าหน้าที่ตำรวจลำปาง แจ้งข้อกล่าวหา และดำเนินคดีตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 215 ที่ระบุ ห้ามมิให้ผู้ใดทำการชุมนุมมั่วสุมกันตั้งแต่สิบคนขึ้นไป ใช้กำลังประทุษร้าย ขู่เข็ญว่าจะใช้กำลังประทุษร้าย หรือกระทำการอย่างหนึ่งอย่างใดให้เกิด การวุ่นวายขึ้นในบ้านเมือง
นอกจากนี้ยังได้พิจารณาคำโต้แย้งของโจทย์ ที่ขอให้ศาลรัฐธรรมนูญพิจารณาวินิจฉัยตามรัฐธรรมนูญ กรณี พ.ร.บ.การรักษาความมั่นคงภายในราชอาณาจักร พ.ศ.2551 มาตรา 15 ขัดหรือแย้งต่อรัฐธรรมนูญ มาตรา 3 วรรคสอง หรือไม่ และให้พิจารณาด้วยว่า พ.ร.บ.การรักษาความมั่นคงภายในราชอาญาจักร มาตรา 18 วรรคหนึ่ง (1)(2)และ(5) ขัดหรือแย้งต่อรัฐธรรมนูญ มาตรา 34 หรือไม่ เมื่อศาลพิจารณาแล้วเห็นว่า กรณีทั้งสองไม่ขัดหรือแย้งต่อรัฐธรรมนูญ โดยบทบัญญัติแห่งกฎหมายดังกล่าว กำหนดให้อำนาจและหลักเกณฑ์การใช้อำนาจของครม. และหน่วยงานของรัฐ รวมทั้งขอบเขตของการใช้อำนาจไว้แล้ว ซึ่งย่อมเป็นผลให้ครม. และหน่วยงานของรัฐต้องอยู่ภายใต้บังคับของกฎหมาย และต้องใช้อำนาจภายในขอบเขตที่กฎหมายกำหนด ซึ่งเป็นไปตามหลักนิติธรรม จึงไม่ขัด หรือแย้งต่อรัฐธรรมนูญ มาตรา 3 วรรคสอง คือการปฏิบัติหน้าที่ของรัฐสภา คณะรัฐมนตรี ศาล รวมทั้งองค์กรตามรัฐธรรมนูญ และหน่วยงานของรัฐต้องเป็นไปตามหลักนิติธรรม
อีกทั้งพ.ร.บ.การรักษาความมั่นคงภายในราชอาญาจักร มาตรา 18 วรรคหนึ่ง (1)(2) และ(5) ให้อำนาจผู้อำนวยการรักษาความมั่นคงภายในราชอาณาจักร ออกข้อกำหนดเพื่อให้ดำเนินการและห้ามดำเนินการใดๆ ก็โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อแก้ไขสถานการณ์ที่เป็นภัย หรืออาจเป็นภัยอันเกิดจากบุคคล หรือหลุ่มบุคคล ที่ก่อให้เกิดความสงบสุข ทำลาย หรือทำความเสียหายต่อชีวิตร่างกาย ทรัพย์สิน ของประชาชน หรือของรัฐให้กลับสู่สภาวะปกติ เพื่อให้เกิดความสงบเรียบร้อยของประชาชน หรือความมั่นคงของรัฐ จึงไม่ขัดหรือแย้งต่อสิทธิเสรีภาพของบุคคลในการเดินทางตามรัฐธรรมนูญ มาตรา 34 บุคคลย่อมมีสิทธิเสรีภาพในการเดินทาง และมีเสรีภาพในการเลือกถิ่นที่อยู่ภายในราชอาณาจักร
โดยศาลเห็นว่า ประเด็นการโต้แย้งดังกล่าว ไม่ขัดหรือแย้งต่อรัฐธรรมนูญ เนื่องจากตาม รัฐธรรมนูญ มาตรา 69 เป็นสิทธิของชนชาวไทยในการต่อต้านโดยสันติวิธี ซึ่งการกระทำใดๆ ที่เป็นไปเพื่อให้ได้มาซึ่งอำนาจในการปกครองประเทศโดยวิธีการซึ่งมิได้เป็นไปตามวิถีทางที่บัญญัติไว้ในรัฐธรรมนูญ และรัฐธรรมนูญ มาตรา 70 เป็นหน้าที่ในการพิทักษ์รักษาไว้ซึ่ง ชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์ และการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข ตามรัฐธรรมนูญ
ส่วนประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 215 เป็นบทบัญญัติในภาคความผิด ที่เกี่ยวกับความสงบสุขของประชาชน โดยมีวัตถุประสงค์ที่จะควบคุมการกระทำของบุคคล หรือกลุ่มบุคคลที่อาจก่อให้เกิดความไม่สงบเรียบร้อยขึ้นในบ้านเมือง มิได้มุ่งหมาย หรือมีลักษณะเป็นการขัดขวาง หรือกระทบกระเทีอนการใช้สิทธิ และหน้าที่ตามรัฐธรรมนูญ มาตรา 69 และมาตรา 70
สำหรับพ.ร.บ.จราจรทางบก พ.ศ. 2522 มาตรา 114 และมาตรา 128 มีวัถุประสงค์เป็นการจัดวางระเบียบจราจรทางบก เพื่อความสะดวกและปลอดภัยแก่ชีวิต ร่างกายและทรัพย์สินของประชาชน จึงไม่ขัดหรือแย้งต่อรัฐธรรมนูญ มาตรา 29,63,69 และ มาตรา 70
ทั้งนี้กรณีดังกล่าวสืบเนื่องจาก เจ้าหน้าที่ตำรวจลำพูน ได้จับนายประสงค์ หรือ มานะ แก้วลื้อ และพวกได้มาชุมนุมบนถนนลำปาง-เชียงใหม่ ซึ่งเป็นการประท้วงรัฐบาล เมื่อปี 2552 ช่วงสงกรานต์ โดยได้นำเอารถ10 ล้อ มาปิดขวางถนน เป็นเหตุให้เจ้าหน้าที่ตำรวจลำปาง แจ้งข้อกล่าวหา และดำเนินคดีตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 215 ที่ระบุ ห้ามมิให้ผู้ใดทำการชุมนุมมั่วสุมกันตั้งแต่สิบคนขึ้นไป ใช้กำลังประทุษร้าย ขู่เข็ญว่าจะใช้กำลังประทุษร้าย หรือกระทำการอย่างหนึ่งอย่างใดให้เกิด การวุ่นวายขึ้นในบ้านเมือง
นอกจากนี้ยังได้พิจารณาคำโต้แย้งของโจทย์ ที่ขอให้ศาลรัฐธรรมนูญพิจารณาวินิจฉัยตามรัฐธรรมนูญ กรณี พ.ร.บ.การรักษาความมั่นคงภายในราชอาณาจักร พ.ศ.2551 มาตรา 15 ขัดหรือแย้งต่อรัฐธรรมนูญ มาตรา 3 วรรคสอง หรือไม่ และให้พิจารณาด้วยว่า พ.ร.บ.การรักษาความมั่นคงภายในราชอาญาจักร มาตรา 18 วรรคหนึ่ง (1)(2)และ(5) ขัดหรือแย้งต่อรัฐธรรมนูญ มาตรา 34 หรือไม่ เมื่อศาลพิจารณาแล้วเห็นว่า กรณีทั้งสองไม่ขัดหรือแย้งต่อรัฐธรรมนูญ โดยบทบัญญัติแห่งกฎหมายดังกล่าว กำหนดให้อำนาจและหลักเกณฑ์การใช้อำนาจของครม. และหน่วยงานของรัฐ รวมทั้งขอบเขตของการใช้อำนาจไว้แล้ว ซึ่งย่อมเป็นผลให้ครม. และหน่วยงานของรัฐต้องอยู่ภายใต้บังคับของกฎหมาย และต้องใช้อำนาจภายในขอบเขตที่กฎหมายกำหนด ซึ่งเป็นไปตามหลักนิติธรรม จึงไม่ขัด หรือแย้งต่อรัฐธรรมนูญ มาตรา 3 วรรคสอง คือการปฏิบัติหน้าที่ของรัฐสภา คณะรัฐมนตรี ศาล รวมทั้งองค์กรตามรัฐธรรมนูญ และหน่วยงานของรัฐต้องเป็นไปตามหลักนิติธรรม
อีกทั้งพ.ร.บ.การรักษาความมั่นคงภายในราชอาญาจักร มาตรา 18 วรรคหนึ่ง (1)(2) และ(5) ให้อำนาจผู้อำนวยการรักษาความมั่นคงภายในราชอาณาจักร ออกข้อกำหนดเพื่อให้ดำเนินการและห้ามดำเนินการใดๆ ก็โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อแก้ไขสถานการณ์ที่เป็นภัย หรืออาจเป็นภัยอันเกิดจากบุคคล หรือหลุ่มบุคคล ที่ก่อให้เกิดความสงบสุข ทำลาย หรือทำความเสียหายต่อชีวิตร่างกาย ทรัพย์สิน ของประชาชน หรือของรัฐให้กลับสู่สภาวะปกติ เพื่อให้เกิดความสงบเรียบร้อยของประชาชน หรือความมั่นคงของรัฐ จึงไม่ขัดหรือแย้งต่อสิทธิเสรีภาพของบุคคลในการเดินทางตามรัฐธรรมนูญ มาตรา 34 บุคคลย่อมมีสิทธิเสรีภาพในการเดินทาง และมีเสรีภาพในการเลือกถิ่นที่อยู่ภายในราชอาณาจักร