โดย ศูนย์วิจัยอุบัติเหตุแห่งประเทศไทย สถาบันเทคโนโลยีแห่งเอเชีย
อุบัติเหตุที่เกิดขึ้นเมื่อเช้าวันที่ 9 สิงหาคม พ.ศ.2555 ได้สร้างความสะเทือนใจให้กับผู้คนมากมาย เพราะผู้ที่เสียชีวิตคือเด็กวัยรุ่น นักศึกษา 2 คนที่กำลังมีอนาคตที่สดใสรออยู่ข้างหน้า หลายคนคงได้เห็นภาพคนที่เป็นพ่อแม่ ร้องไห้แทบใจสลาย เมื่อรู้ว่าลูกสาวสุดที่รัก สิ้นลมหายใจเพราะอุบัติเหตุที่เกิดขึ้น
ในช่วงเช้ามืดวันที่เกิดเหตุ รถเบนซ์คันหนึ่งได้พุ่งเข้าชนกับทางแยกรูปตัว Y บนสะพานข้ามแยกรัชวิภา แล้วตกลงมาที่พื้นด้านล่างเป็นเหตุให้มีผู้เสียชิวิตทันที่ในที่เกิดเหตุหนึ่งราย และอีกรายเสียชีวิตที่โรงพยาบาล ถ้ามองย้อนไปในช่วง 3-4 ปีที่ผ่านมา คงจำกันได้ว่าเคยเกิดอุบัติเหตุในลักษณะนี้บ่อยครั้ง ยกตัวอย่างเช่น รถเก๋งตกทางด่วนแถวทางลงถนนพระราม 6 รถตู้พุ่งเข้าชนแล้วคาอยู่ตรงทางแยกต่างระดับรัชวิภา รถเก๋งนักศึกษาพุ่งเข้าชนตอม่อทางยกระดับโทลเวย์
คำถามคือทำไมมักจะมีรถยนต์พุ่งเข้าชนหัวเกาะหรือกำแพงตรงกลางทางแยกรูปตัว Y (ซึ่งทางวิศวกรรมเรียกว่า Gore Area)...
อุบัติเหตุที่รถพุ่งชน Gore Area ส่วนใหญ่ มีสาเหตุจากผู้ขับขี่ขับรถมาด้วยความเร็ว และอาจเกิดความลังเล หรือไม่สามารถตัดสินใจได้ทันเวลาว่าจะไปในทิศทางใด เมื่อตัดสินใจไม่ทัน ก็ทำให้รถเสียหลักพุ่งเข้าชนบริเวณที่เป็นหัวเกาะหรือกำแพงตรงกลางทางแยกรูปตัว Y
บางครั้งทางแยกรูปตัว Y ก็อยู่บริเวณหลังทางโค้งหรือทางขึ้นเนิน ทำให้ผู้ขับขี่มองไม่เห็นทางแยก เพราะระยะการมองเห็นไม่เพียงพอ กว่าจะเห็นทางแยกก็อยู่ในระยะกระชั้นชิดเกินไปทำให้ตัดสินใจไม่ทัน อาจพุ่งเข้าชนหัวเกาะได้ ซึ่งสาเหตุนี้อาจเป็นสาเหตุของรถเบนซ์ตกทางยกระดับแยกรัชวิภาเมื่อวันก่อน
อุบัติเหตุที่เกิดขึ้นบริเวณ Gore Area มักมีความรุนแรงสูง มีการเสียชีวิตเกิดขึ้น โดยเฉพาะ เมื่อเกิดบนทางยกระดับที่รถมีโอกาสตกลงมา สิ่งที่ช่วยเสริมให้รถตกลงมาจากทางยกระดับ คือลักษณะของปลายกำแพงคอนกรีตที่ลาดลงมา ที่อาจทำให้เพิ่มโอกาสในการที่รถยนต์จะไต่ขึ้นปลายกำแพงคอนกรีต เหมือนเป็นรันเวย์ให้รถเหิรแล้วตกลงมาสู่พื้นด้านล่างได้ อย่างที่ทางวิศวกรรมออกแบบถนนเรียกว่าเป็นการชนเข้ากับวัตถุอันตรายข้างทาง ซึ่งปลายกำแพงคอนกรีตเหล่านี้ ก็เป็นวัตถุอันตรายข้างทางเช่นเดียวกัน
ดังนั้น ในการป้องกันอันตรายจากการพุ่งชน Gore Area ผู้ขับขี่ไม่ควรใช้ความเร็วสูงขณะขับขี่เข้าใกล้ทางแยกรูปตัว Y โดยเฉพาะถ้าผู้ขับขี่ไม่คุ้นเคยกับเส้นทาง ถ้าไม่คุ้นเคยกับเส้นทางก็ควรต้องขับขี่อย่างระมัดระวัง ยิ่งในที่มืด ทางโค้ง ทางยกระดับ ก็ควรมีความระมัดระวังมากขึ้น ควรมีการวางแผนการเดินทางก่อนการขับรถ ศึกษาทางขึ้นทางลงของทางด่วน ทางยกระดับ สมัยนี้การเข้าถึงอินเตอร์เนทก็เป็นเรื่องสะดวก สามารถดูแผนที่ศึกษาเส้นทางได้ล่วงหน้า จึงควรมีการเตรียมตัวที่ดีก่อนการเดินทาง
ถ้ามีการขับเลยทางแยกไป หรือเข้าช่องทางผิด ก็ควรตั้งสติยอมขับเลยไปก่อนแล้วค่อยหาทางวกกลับมาทางที่ต้องการจะไป อย่าเปลี่ยนเลนกะทันหัน เพราะควรคิดว่า เสียเวลาขับเลยไปก่อนแล้วค่อยย้อนกลับมา ยังดีกว่าเสียชีวิตที่ไม่สามารถเอาคืนกลับมาได้
หน่วยงานของรัฐทำอะไรได้บ้าง...การป้องกันอุบัติเหตุรถยนต์พุ่งเข้าชนบริเวณ Gore Area สามารถทำได้แบบง่าย ราคาถูก และแบบราคาแพง แต่สามารถช่วยชีวิตคนที่ประสบอุบัติเหตุได้
1.ปรับปรุงเส้นจราจรให้มีความปลอดภัยตรงบริเวณ Gore Area โดยจัดช่องจราจรหรือตีเส้นจราจร ในลักษณะที่ดึงบริเวณ Gore Area ให้ยื่นยาวออกมา เพื่อเพิ่มพื้นที่ในบริเวณ Gore และเพิ่มระยะในการตัดสินใจ โดยสามารถแยกการจราจรให้ห่างออกจากบริเวณ Gore Area ได้
2.ถ้าเป็นบริเวณที่มีพื้นที่จำกัด ไม่สามารถแบ่งช่องจราจร หรือตีเส้นใหม่เพื่อเพิ่มพื้นที่ Gore Area สมควรติดตั้งอุปกรณ์ลดความรุนแรง หรือ Crash Cushion เพื่อลดความรุนแรงของรถที่พุ่งเข้าชน Gore Area โดย Crash Cushion จะทำหน้าที่ดูดซับแรงกระแทกของการชน และป้องกันไม่ให้รถพุ่งเข้าชนหัวเกาะหรือปลายกำแพงคอนกรีต ซึ่งจะมีโอกาสเหิรตกลงมาได้
หลายคนอาจเคยสังเกตเห็น Crash Cushion มาบ้างแล้ว เพราะหน่วยงานทางถนนก็ได้เริ่มนำไปติดตั้ง หลายแห่งในเขตกรุงเทพฯ และปริมณฑล ซึ่งบางครั้งผู้ขับขี่ก็ไม่รู้ว่าอุปกรณ์เหล่านี้คืออะไร เอามาติดตั้งทำไม บ้างก็มองว่าเป็นสิ่งเกะกะบนถนน ทำให้เปลี่ยนเลนลำบาก แต่หารู้ไม่ว่าเจ้า Crash Cushion นี้แหละที่เป็นตัวช่วยชีวิตผู้ประสบอุบัติเหตุมาแล้วหลายราย
ถนนที่เราเห็น หรือที่เราขับรถผ่านอยู่ทุกวัน แท้ที่จริงแล้วมีอันตรายแฝงอยู่ ที่เราเองก็คาดไม่ถึง เราจึงต้องมีสติขณะขับขี่อยู่ตลอด มีความระมัดระวัง ไม่ประมาท เพราะการตัดสินใจเพียงเสี้ยววินาทีเดียว อาจผิดพลาดทำให้ถึงแก่ชีวิต การขับรถอาจมีความผิดพลาดได้ แต่หากถนนถูกออกแบบไว้ให้รองรับความผิดพลาดเหล่านั้น ก็อาจจะไม่เกิดความสูญเสียดังเช่นเหตุการณ์รถพุ่งตกทางยกระดับที่เกิดขึ้นเมื่อสองสามวันที่ผ่านมา
อุบัติเหตุที่เกิดขึ้นเมื่อเช้าวันที่ 9 สิงหาคม พ.ศ.2555 ได้สร้างความสะเทือนใจให้กับผู้คนมากมาย เพราะผู้ที่เสียชีวิตคือเด็กวัยรุ่น นักศึกษา 2 คนที่กำลังมีอนาคตที่สดใสรออยู่ข้างหน้า หลายคนคงได้เห็นภาพคนที่เป็นพ่อแม่ ร้องไห้แทบใจสลาย เมื่อรู้ว่าลูกสาวสุดที่รัก สิ้นลมหายใจเพราะอุบัติเหตุที่เกิดขึ้น
ในช่วงเช้ามืดวันที่เกิดเหตุ รถเบนซ์คันหนึ่งได้พุ่งเข้าชนกับทางแยกรูปตัว Y บนสะพานข้ามแยกรัชวิภา แล้วตกลงมาที่พื้นด้านล่างเป็นเหตุให้มีผู้เสียชิวิตทันที่ในที่เกิดเหตุหนึ่งราย และอีกรายเสียชีวิตที่โรงพยาบาล ถ้ามองย้อนไปในช่วง 3-4 ปีที่ผ่านมา คงจำกันได้ว่าเคยเกิดอุบัติเหตุในลักษณะนี้บ่อยครั้ง ยกตัวอย่างเช่น รถเก๋งตกทางด่วนแถวทางลงถนนพระราม 6 รถตู้พุ่งเข้าชนแล้วคาอยู่ตรงทางแยกต่างระดับรัชวิภา รถเก๋งนักศึกษาพุ่งเข้าชนตอม่อทางยกระดับโทลเวย์
คำถามคือทำไมมักจะมีรถยนต์พุ่งเข้าชนหัวเกาะหรือกำแพงตรงกลางทางแยกรูปตัว Y (ซึ่งทางวิศวกรรมเรียกว่า Gore Area)...
อุบัติเหตุที่รถพุ่งชน Gore Area ส่วนใหญ่ มีสาเหตุจากผู้ขับขี่ขับรถมาด้วยความเร็ว และอาจเกิดความลังเล หรือไม่สามารถตัดสินใจได้ทันเวลาว่าจะไปในทิศทางใด เมื่อตัดสินใจไม่ทัน ก็ทำให้รถเสียหลักพุ่งเข้าชนบริเวณที่เป็นหัวเกาะหรือกำแพงตรงกลางทางแยกรูปตัว Y
บางครั้งทางแยกรูปตัว Y ก็อยู่บริเวณหลังทางโค้งหรือทางขึ้นเนิน ทำให้ผู้ขับขี่มองไม่เห็นทางแยก เพราะระยะการมองเห็นไม่เพียงพอ กว่าจะเห็นทางแยกก็อยู่ในระยะกระชั้นชิดเกินไปทำให้ตัดสินใจไม่ทัน อาจพุ่งเข้าชนหัวเกาะได้ ซึ่งสาเหตุนี้อาจเป็นสาเหตุของรถเบนซ์ตกทางยกระดับแยกรัชวิภาเมื่อวันก่อน
อุบัติเหตุที่เกิดขึ้นบริเวณ Gore Area มักมีความรุนแรงสูง มีการเสียชีวิตเกิดขึ้น โดยเฉพาะ เมื่อเกิดบนทางยกระดับที่รถมีโอกาสตกลงมา สิ่งที่ช่วยเสริมให้รถตกลงมาจากทางยกระดับ คือลักษณะของปลายกำแพงคอนกรีตที่ลาดลงมา ที่อาจทำให้เพิ่มโอกาสในการที่รถยนต์จะไต่ขึ้นปลายกำแพงคอนกรีต เหมือนเป็นรันเวย์ให้รถเหิรแล้วตกลงมาสู่พื้นด้านล่างได้ อย่างที่ทางวิศวกรรมออกแบบถนนเรียกว่าเป็นการชนเข้ากับวัตถุอันตรายข้างทาง ซึ่งปลายกำแพงคอนกรีตเหล่านี้ ก็เป็นวัตถุอันตรายข้างทางเช่นเดียวกัน
ดังนั้น ในการป้องกันอันตรายจากการพุ่งชน Gore Area ผู้ขับขี่ไม่ควรใช้ความเร็วสูงขณะขับขี่เข้าใกล้ทางแยกรูปตัว Y โดยเฉพาะถ้าผู้ขับขี่ไม่คุ้นเคยกับเส้นทาง ถ้าไม่คุ้นเคยกับเส้นทางก็ควรต้องขับขี่อย่างระมัดระวัง ยิ่งในที่มืด ทางโค้ง ทางยกระดับ ก็ควรมีความระมัดระวังมากขึ้น ควรมีการวางแผนการเดินทางก่อนการขับรถ ศึกษาทางขึ้นทางลงของทางด่วน ทางยกระดับ สมัยนี้การเข้าถึงอินเตอร์เนทก็เป็นเรื่องสะดวก สามารถดูแผนที่ศึกษาเส้นทางได้ล่วงหน้า จึงควรมีการเตรียมตัวที่ดีก่อนการเดินทาง
ถ้ามีการขับเลยทางแยกไป หรือเข้าช่องทางผิด ก็ควรตั้งสติยอมขับเลยไปก่อนแล้วค่อยหาทางวกกลับมาทางที่ต้องการจะไป อย่าเปลี่ยนเลนกะทันหัน เพราะควรคิดว่า เสียเวลาขับเลยไปก่อนแล้วค่อยย้อนกลับมา ยังดีกว่าเสียชีวิตที่ไม่สามารถเอาคืนกลับมาได้
หน่วยงานของรัฐทำอะไรได้บ้าง...การป้องกันอุบัติเหตุรถยนต์พุ่งเข้าชนบริเวณ Gore Area สามารถทำได้แบบง่าย ราคาถูก และแบบราคาแพง แต่สามารถช่วยชีวิตคนที่ประสบอุบัติเหตุได้
1.ปรับปรุงเส้นจราจรให้มีความปลอดภัยตรงบริเวณ Gore Area โดยจัดช่องจราจรหรือตีเส้นจราจร ในลักษณะที่ดึงบริเวณ Gore Area ให้ยื่นยาวออกมา เพื่อเพิ่มพื้นที่ในบริเวณ Gore และเพิ่มระยะในการตัดสินใจ โดยสามารถแยกการจราจรให้ห่างออกจากบริเวณ Gore Area ได้
2.ถ้าเป็นบริเวณที่มีพื้นที่จำกัด ไม่สามารถแบ่งช่องจราจร หรือตีเส้นใหม่เพื่อเพิ่มพื้นที่ Gore Area สมควรติดตั้งอุปกรณ์ลดความรุนแรง หรือ Crash Cushion เพื่อลดความรุนแรงของรถที่พุ่งเข้าชน Gore Area โดย Crash Cushion จะทำหน้าที่ดูดซับแรงกระแทกของการชน และป้องกันไม่ให้รถพุ่งเข้าชนหัวเกาะหรือปลายกำแพงคอนกรีต ซึ่งจะมีโอกาสเหิรตกลงมาได้
หลายคนอาจเคยสังเกตเห็น Crash Cushion มาบ้างแล้ว เพราะหน่วยงานทางถนนก็ได้เริ่มนำไปติดตั้ง หลายแห่งในเขตกรุงเทพฯ และปริมณฑล ซึ่งบางครั้งผู้ขับขี่ก็ไม่รู้ว่าอุปกรณ์เหล่านี้คืออะไร เอามาติดตั้งทำไม บ้างก็มองว่าเป็นสิ่งเกะกะบนถนน ทำให้เปลี่ยนเลนลำบาก แต่หารู้ไม่ว่าเจ้า Crash Cushion นี้แหละที่เป็นตัวช่วยชีวิตผู้ประสบอุบัติเหตุมาแล้วหลายราย
ถนนที่เราเห็น หรือที่เราขับรถผ่านอยู่ทุกวัน แท้ที่จริงแล้วมีอันตรายแฝงอยู่ ที่เราเองก็คาดไม่ถึง เราจึงต้องมีสติขณะขับขี่อยู่ตลอด มีความระมัดระวัง ไม่ประมาท เพราะการตัดสินใจเพียงเสี้ยววินาทีเดียว อาจผิดพลาดทำให้ถึงแก่ชีวิต การขับรถอาจมีความผิดพลาดได้ แต่หากถนนถูกออกแบบไว้ให้รองรับความผิดพลาดเหล่านั้น ก็อาจจะไม่เกิดความสูญเสียดังเช่นเหตุการณ์รถพุ่งตกทางยกระดับที่เกิดขึ้นเมื่อสองสามวันที่ผ่านมา