กทม.เตรียมติดตั้งอุปกรณ์ลดแรงกระแทกบริเวณจุดเสี่ยงทางยกระดับทั่วกรุง 7 จุด หวังลดความรุนแรงของอุบัติเหตุ
ม.ร.ว.สุขุมพันธุ์ บริพัตร ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร (กทม.) เปิดเผยภายหลังการประชุมคณะผู้บริหาร กทม.เกี่ยวกับกรณีรถยนต์พลิกตกถนนบริเวณสะพานข้ามถนนแยกรัชวิภา เมื่อวันที่ 9 ส.ค.55 จนเป็นเหตุให้มีผู้เสียชีวิตถึง 2 ราย ว่า จากการตรวจสอบ พบว่า รถยนต์คันดังกล่าวพุ่งชนบริเวณขอบกลางของสะพานก่อนพลิกตกจากสะพานลงไปอยู่ในบริเวณสวนหย่อมและคลังเก็บของของ กทม.มิได้พุ่งชนในบริเวณทางแยกของสะพาน ซึ่ง กทม.ได้ติดตั้งเครื่องหมายสะท้อนแสง และเสาล้มลุกไว้เป็นสัญญาณเตือนผู้ขับขี่ตามมาตรฐานทางวิศกรรม
อย่างไรก็ตาม ที่ประชุมคณะผู้บริหาร กทม.ได้สั่งการให้สำนักการจราจรและขนส่ง (สจส.) กทม.เร่งตีเส้นชะลอความเร็วเพิ่มเติมในจุดคับขันบริเวณทางยกระดับทุกแห่ง โดยเฉพาะในจุดเสี่ยง เช่น สะพานข้ามถนนรัชวิภา ที่ผ่านมา กทม.ได้ตีเส้นชะลอความเร็วในบริเวณพื้นราบ 115 จุด ทางโค้ง 68 จุด และบริเวณทางแยกทุกแห่งในกรุงเทพฯ แล้ว
ม.ร.ว.สุขุมพันธุ์ กล่าวอีกว่า ทั้งนี้ กทม.ได้เตรียมติดตั้งกำแพงกันชนแบบใหม่ หรือ Crash Cushion ซึ่งเป็นอุปกรณ์ดูดซับแรงปะทะ เพื่อลดความรุนแรงเมื่อเกิดอุบัติเหตุขึ้น ขณะนี้อยู่ระหว่างขั้นตอนการจัดซื้อ จำนวน 18 ชุด ใช้งบประมาณ 8 ล้านบาท เพื่อติดตั้งบริเวณจุดเสี่ยง 7 แห่ง ได้แก่ 1.ทางยกระดับจตุรทิศ เลียบบึงมักกะสัน 2.ทางยกระดับบรมราชชนนี 3.สะพานลอยข้ามแยกถนนรัชวิภา 4.สะพานลอยข้ามแยกเอกมัยเหนือ 5.สะพานลอยข้ามแยกถนนบางกะปิ 6.สะพานลอยข้ามแยกถนนรามคำแหง และ 7.สะพานลอยข้ามแยกถนนพระราม 2
ม.ร.ว.สุขุมพันธุ์ บริพัตร ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร (กทม.) เปิดเผยภายหลังการประชุมคณะผู้บริหาร กทม.เกี่ยวกับกรณีรถยนต์พลิกตกถนนบริเวณสะพานข้ามถนนแยกรัชวิภา เมื่อวันที่ 9 ส.ค.55 จนเป็นเหตุให้มีผู้เสียชีวิตถึง 2 ราย ว่า จากการตรวจสอบ พบว่า รถยนต์คันดังกล่าวพุ่งชนบริเวณขอบกลางของสะพานก่อนพลิกตกจากสะพานลงไปอยู่ในบริเวณสวนหย่อมและคลังเก็บของของ กทม.มิได้พุ่งชนในบริเวณทางแยกของสะพาน ซึ่ง กทม.ได้ติดตั้งเครื่องหมายสะท้อนแสง และเสาล้มลุกไว้เป็นสัญญาณเตือนผู้ขับขี่ตามมาตรฐานทางวิศกรรม
อย่างไรก็ตาม ที่ประชุมคณะผู้บริหาร กทม.ได้สั่งการให้สำนักการจราจรและขนส่ง (สจส.) กทม.เร่งตีเส้นชะลอความเร็วเพิ่มเติมในจุดคับขันบริเวณทางยกระดับทุกแห่ง โดยเฉพาะในจุดเสี่ยง เช่น สะพานข้ามถนนรัชวิภา ที่ผ่านมา กทม.ได้ตีเส้นชะลอความเร็วในบริเวณพื้นราบ 115 จุด ทางโค้ง 68 จุด และบริเวณทางแยกทุกแห่งในกรุงเทพฯ แล้ว
ม.ร.ว.สุขุมพันธุ์ กล่าวอีกว่า ทั้งนี้ กทม.ได้เตรียมติดตั้งกำแพงกันชนแบบใหม่ หรือ Crash Cushion ซึ่งเป็นอุปกรณ์ดูดซับแรงปะทะ เพื่อลดความรุนแรงเมื่อเกิดอุบัติเหตุขึ้น ขณะนี้อยู่ระหว่างขั้นตอนการจัดซื้อ จำนวน 18 ชุด ใช้งบประมาณ 8 ล้านบาท เพื่อติดตั้งบริเวณจุดเสี่ยง 7 แห่ง ได้แก่ 1.ทางยกระดับจตุรทิศ เลียบบึงมักกะสัน 2.ทางยกระดับบรมราชชนนี 3.สะพานลอยข้ามแยกถนนรัชวิภา 4.สะพานลอยข้ามแยกเอกมัยเหนือ 5.สะพานลอยข้ามแยกถนนบางกะปิ 6.สะพานลอยข้ามแยกถนนรามคำแหง และ 7.สะพานลอยข้ามแยกถนนพระราม 2