“แพทย์ทหารบก-ทหารอากาศ”หนุน สรพ.เร่งกำหนดแผนรับมือน้ำท่วม-เน้นแผนเคลื่อนย้ายผู้ป่วยอย่างมีมาตรฐาน พร้อมแนะรัฐใช้บทเรียนน้ำท่วมปีที่ผ่านมา ปรับแผนรับมืออุบัติภัย
นพ.อัจฉริยะ แพงมา สถาบันการแพทย์ฉุกเฉินแห่งชาติ กล่าวในการประชุมวิชาการ การพัฒนาและรับรองคุณภาพโรงพยาบาล ที่จัดโดย สถาบันรับรองคุณภาพสถานพยาบาล (องค์การมหาชน) หรือ สรพ.ว่า จากปัญหาน้ำท่วมที่โรงพยาบาล (รพ.) หลายแห่ง ต้องเผชิญในปี 2554 นั้น ทำให้ รพ.ต่างๆ จะต้องเตรียมตัวให้พร้อม ถ้าวันหนึ่งโรงพยาบาลถูกน้ำท่วม จะเคลื่อนย้ายผู้ป่วยอย่างไรให้ปลอดภัยที่สุด ทั้งทางเรือ ทางรถยนต์ทหาร และทางเครื่องบิน แพทย์ พยาบาล จะต้องกำหนดคนให้ชัดเจนเพื่อดูแลคนไข้รายที่จะต้องเคลื่อนย้ายหรือส่งต่อไปยัง รพ.แห่งอื่นด้วย
ขณะที่ น.อ.หญิง ผ่องพรรณ หิรัญดร สถาบันเวชศาสตร์การบิน กล่าวในเวทีเสวนาในหัวข้อเรื่อง “ผ่านน้ำ ผ่านดิน ผ่านฟ้า ผ่านอุทกภัย” ว่า จากเหตุการณ์น้ำท่วมที่ผ่านมา สถาบันเวชศาสตร์การบิน กองทัพอากาศ มีภารกิจเคลื่อนย้ายผู้ป่วยทางอากาศไปยังโรงพยาบาลที่ปลอดภัย แต่เมื่อสถาบันถูกน้ำท่วม ภารกิจก็ยังมีอยู่ตามเดิม จึงได้ย้ายมาที่ดอนเมือง เพราะคิดว่าเป็นที่สูงที่สุด แต่ก็โดนน้ำท่วม จึงย้ายไปหลายแห่ง ทั้งราบ 11 และ รพ.หัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ ที่อยู่ใกล้สนามบินสุวรรณภูมิ เพื่อปฏิบัติภารกิจตามที่ได้รับมอบหมายอย่างเต็มที่ ดังนั้น จากบทเรียนที่ได้มาเมื่อทราบว่าน้ำกำลังจะท่วม จะต้องเตรียมหาสถานที่ที่รับประกันได้ว่าน้ำไม่ท่วมแน่นอน เพื่อเป็นศูนย์กลางการลำเลียงคนป่วยทางอากาศ จะต้องไม่ย้ายไปเรื่อยๆ เหมือนปีที่ผ่านมา และจะต้องจัดอบรมการลำเลียงผู้ป่วยทางอากาศเบื้องต้นให้เจ้าหน้าที่มีความพร้อมมากยิ่งขึ้น
น.อ.หญิง ผ่องพรรณ กล่าวด้วยว่า นอกจากนี้ รัฐจะต้องรวบรวมอากาศยานที่มีอยู่ทั้งหมดทั่วประเทศและเตรียมให้พร้อมสำหรับบูรณาการการทำงานร่วมกันช่วยลำเลียงผู้ป่วยที่ถูกตัดขาดทางรถยนต์ และทางเรือ ที่สำคัญคือ งบประมาณที่รัฐบาลจะต้องเตรียมให้พร้อม
“ที่อยากจะบอกสุดท้าย คือ หน่วยราชการมีแผนเยอะมาก ทั้งการรับมืออุทกภัย ไฟไหม้ ดินถล่ม แต่ยังไม่ประสานการทำงานร่วมกันได้ ดังนั้น รัฐบาลจะต้องมาตั้งสมมติฐานก่อนว่าถ้าเกิดปีนี้น้ำท่วมจะปรับแผนรับมืออย่างไร และถ้าน้ำไม่ท่วมแต่ไฟไหม้ ซึ่งปีนี้เกิดขึ้นถี่มากจะปรับแผนอย่างไร นี่คือ สิ่งที่รัฐบาลควรจะต้องทำแต่ยังไม่ได้ทำ”น.อ.หญิง ผ่องพรรณ กล่าว
นพ.อัจฉริยะ แพงมา สถาบันการแพทย์ฉุกเฉินแห่งชาติ กล่าวในการประชุมวิชาการ การพัฒนาและรับรองคุณภาพโรงพยาบาล ที่จัดโดย สถาบันรับรองคุณภาพสถานพยาบาล (องค์การมหาชน) หรือ สรพ.ว่า จากปัญหาน้ำท่วมที่โรงพยาบาล (รพ.) หลายแห่ง ต้องเผชิญในปี 2554 นั้น ทำให้ รพ.ต่างๆ จะต้องเตรียมตัวให้พร้อม ถ้าวันหนึ่งโรงพยาบาลถูกน้ำท่วม จะเคลื่อนย้ายผู้ป่วยอย่างไรให้ปลอดภัยที่สุด ทั้งทางเรือ ทางรถยนต์ทหาร และทางเครื่องบิน แพทย์ พยาบาล จะต้องกำหนดคนให้ชัดเจนเพื่อดูแลคนไข้รายที่จะต้องเคลื่อนย้ายหรือส่งต่อไปยัง รพ.แห่งอื่นด้วย
ขณะที่ น.อ.หญิง ผ่องพรรณ หิรัญดร สถาบันเวชศาสตร์การบิน กล่าวในเวทีเสวนาในหัวข้อเรื่อง “ผ่านน้ำ ผ่านดิน ผ่านฟ้า ผ่านอุทกภัย” ว่า จากเหตุการณ์น้ำท่วมที่ผ่านมา สถาบันเวชศาสตร์การบิน กองทัพอากาศ มีภารกิจเคลื่อนย้ายผู้ป่วยทางอากาศไปยังโรงพยาบาลที่ปลอดภัย แต่เมื่อสถาบันถูกน้ำท่วม ภารกิจก็ยังมีอยู่ตามเดิม จึงได้ย้ายมาที่ดอนเมือง เพราะคิดว่าเป็นที่สูงที่สุด แต่ก็โดนน้ำท่วม จึงย้ายไปหลายแห่ง ทั้งราบ 11 และ รพ.หัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ ที่อยู่ใกล้สนามบินสุวรรณภูมิ เพื่อปฏิบัติภารกิจตามที่ได้รับมอบหมายอย่างเต็มที่ ดังนั้น จากบทเรียนที่ได้มาเมื่อทราบว่าน้ำกำลังจะท่วม จะต้องเตรียมหาสถานที่ที่รับประกันได้ว่าน้ำไม่ท่วมแน่นอน เพื่อเป็นศูนย์กลางการลำเลียงคนป่วยทางอากาศ จะต้องไม่ย้ายไปเรื่อยๆ เหมือนปีที่ผ่านมา และจะต้องจัดอบรมการลำเลียงผู้ป่วยทางอากาศเบื้องต้นให้เจ้าหน้าที่มีความพร้อมมากยิ่งขึ้น
น.อ.หญิง ผ่องพรรณ กล่าวด้วยว่า นอกจากนี้ รัฐจะต้องรวบรวมอากาศยานที่มีอยู่ทั้งหมดทั่วประเทศและเตรียมให้พร้อมสำหรับบูรณาการการทำงานร่วมกันช่วยลำเลียงผู้ป่วยที่ถูกตัดขาดทางรถยนต์ และทางเรือ ที่สำคัญคือ งบประมาณที่รัฐบาลจะต้องเตรียมให้พร้อม
“ที่อยากจะบอกสุดท้าย คือ หน่วยราชการมีแผนเยอะมาก ทั้งการรับมืออุทกภัย ไฟไหม้ ดินถล่ม แต่ยังไม่ประสานการทำงานร่วมกันได้ ดังนั้น รัฐบาลจะต้องมาตั้งสมมติฐานก่อนว่าถ้าเกิดปีนี้น้ำท่วมจะปรับแผนรับมืออย่างไร และถ้าน้ำไม่ท่วมแต่ไฟไหม้ ซึ่งปีนี้เกิดขึ้นถี่มากจะปรับแผนอย่างไร นี่คือ สิ่งที่รัฐบาลควรจะต้องทำแต่ยังไม่ได้ทำ”น.อ.หญิง ผ่องพรรณ กล่าว