กทม.ติดตั้งอุปกรณ์ลดแรงปะทะบริเวณทางแยกบนสะพานต่างระดับประเดิมจุดแรกที่ทางแยกต่างระดับรัชวิภา
วันนี้ (22 ส.ค.) ม.ร.ว.สุขุมพันธุ์ บริพัตร ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร(กทม.) และคณะ ลงพื้นที่ตรวจการติดตั้งอุปกรณ์เสริมความปลอดภัยลดแรงปะทะ (Crash Cushion) บริเวณทางแยกต่างระดับรัชวิภา เพื่อเพิ่มความปลอดภัยแก่ผู้ใช้รถใช้ถนนบริเวณทางต่างระดับ และลดความรุนแรงที่อาจเกิดอุบัติเหตุต่อผู้ขับขี่ ผู้โดยสาร ตลอดจนผู้ประสบเหตุบริเวณใกล้เคียง
ม.ร.ว.สุขุมพันธุ์ กล่าวว่า กทม.ตระหนักถึงความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สินของประชาชน โดยเฉพาะอย่างยิ่งภายหลังจากเกิดอุบัติเหตุรถยนต์พลิกตกถนนบริเวณสะพานข้ามแยกรัชวิภา และมีผู้เสียชีวิต จึงได้สั่งการให้สำนักการจราจรและขนส่ง (สจส.) กทม.เพิ่มความปลอดภัยบริเวณทางแยกบนสะพานต่างระดับทุกแห่ง ด้วยการติดตั้ง Crash Cushion หรืออุปกรณ์ดูดซับแรงปะทะในจุดอันตราย เช่น หัวเกาะ ทางร่วม บริเวณทางขึ้นลงสะพาน เพื่อรับแรงและลดแรงปะทะเมื่อเกิดการชน ให้สามารถหยุดรถหรือบังคับให้รถที่เสียหลักให้กลับสู่ทิศทางที่ถูกต้อง เนื่องด้วยบนสะพานต่างระดับในกรุงเทพฯโดยเฉพาะจุดที่เป็นทางแยกมักเป็นจุดเสี่ยงอันตราย และเกิดอุบัติเหตุที่รุนแรงจากการที่รถชนหัวเกาะบนทางแยกบนสะพาน โดยมีเป้าหมายติดตั้งในบริเวณจุดเสี่ยงและอันตราย จำนวน 7 แห่ง รวม 18 ชุด ในบริเวณต่างๆ ได้แก่ 1.สะพานยกระดับจตุรทิศ (เลียบบึงมักกะสัน) 4 ชุด 2.สะพานยกระดับคู่ขนานลอยฟ้าบรมราชชนนี 6 ชุด 3.สะพานยกระดับรัชวิภา 4 ชุด 4.สะพานลอยข้ามแยกเอกมัยเหนือ 1 ชุด 5.สะพานลอยข้ามแยกบางกะปิ 1 ชุด 6.สะพานลอยข้ามแยกรามคำแหง 1 ชุด และ 7.สะพานลอยข้ามแยกพระรามที่ 2 จำนวน 1 ชุด
นอกจากนี้ สำนักการจราจรและขนส่ง กทม.ยังได้ปรับปรุงกายภาพรอบบริเวณจุดที่เกิดเหตุ อาทิ การตีเส้นชะลอความเร็วเพิ่มเติมในจุดคับขันบริเวณทางยกระดับทุกแห่ง การเพิ่มหมุดไฟกะพริบ และเสาบอกแนวเลี้ยวตรงทางแยก เพื่อช่วยเตือนผู้ขับขี่ให้ชะลอความเร็วลง เนื่องจากใกล้ถึงทางโค้งอันตราย พร้อมติดตั้งป้ายเตือน ป้ายแนะนำการใช้เส้นทาง ป้ายจำกัดความเร็ว และป้ายแจ้งเข้าโค้ง บริเวณโดยรอบให้มีความชัดเจนยิ่งขึ้น
สำหรับ Crash Cushion มีลักษณะเป็นสี่เหลี่ยมผืนผ้า คล้ายแบริเออร์ริมขอบทาง แต่ทำจากโพลีคาร์บอเนต ซึ่งเป็นพลาสติกคุณภาพสูง มีโครงสร้างเป็นโลหะ สามารถรับแรงปะทะที่ความเร็วได้มากกว่า 80 กม./ชม.ทั้งนี้ Crash Cushion 1 ชุด ประกอบด้วย อุปกรณ์ลดแรงปะทะ (Crash Cushion) รองรับแรงปะทะ ป้ายเตือนหัวเกาะและลดความเร็วกะพริบแสงด้วยพลังงานแสงอาทิตย์ และด้านหน้าอุปกรณ์ฯ ติดตั้งหลักพลาสติกล้มลุกสะท้อนแสง ทั้งนี้ งานติดตั้งทั้งหมดจะแล้วเสร็จภายในกลางเดือน ก.ย.2555 คาดว่า จะลดความรุนแรง และลดความสูญเสียจากอุบัติเหตุที่อาจเกิดขึ้นได้
วันนี้ (22 ส.ค.) ม.ร.ว.สุขุมพันธุ์ บริพัตร ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร(กทม.) และคณะ ลงพื้นที่ตรวจการติดตั้งอุปกรณ์เสริมความปลอดภัยลดแรงปะทะ (Crash Cushion) บริเวณทางแยกต่างระดับรัชวิภา เพื่อเพิ่มความปลอดภัยแก่ผู้ใช้รถใช้ถนนบริเวณทางต่างระดับ และลดความรุนแรงที่อาจเกิดอุบัติเหตุต่อผู้ขับขี่ ผู้โดยสาร ตลอดจนผู้ประสบเหตุบริเวณใกล้เคียง
ม.ร.ว.สุขุมพันธุ์ กล่าวว่า กทม.ตระหนักถึงความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สินของประชาชน โดยเฉพาะอย่างยิ่งภายหลังจากเกิดอุบัติเหตุรถยนต์พลิกตกถนนบริเวณสะพานข้ามแยกรัชวิภา และมีผู้เสียชีวิต จึงได้สั่งการให้สำนักการจราจรและขนส่ง (สจส.) กทม.เพิ่มความปลอดภัยบริเวณทางแยกบนสะพานต่างระดับทุกแห่ง ด้วยการติดตั้ง Crash Cushion หรืออุปกรณ์ดูดซับแรงปะทะในจุดอันตราย เช่น หัวเกาะ ทางร่วม บริเวณทางขึ้นลงสะพาน เพื่อรับแรงและลดแรงปะทะเมื่อเกิดการชน ให้สามารถหยุดรถหรือบังคับให้รถที่เสียหลักให้กลับสู่ทิศทางที่ถูกต้อง เนื่องด้วยบนสะพานต่างระดับในกรุงเทพฯโดยเฉพาะจุดที่เป็นทางแยกมักเป็นจุดเสี่ยงอันตราย และเกิดอุบัติเหตุที่รุนแรงจากการที่รถชนหัวเกาะบนทางแยกบนสะพาน โดยมีเป้าหมายติดตั้งในบริเวณจุดเสี่ยงและอันตราย จำนวน 7 แห่ง รวม 18 ชุด ในบริเวณต่างๆ ได้แก่ 1.สะพานยกระดับจตุรทิศ (เลียบบึงมักกะสัน) 4 ชุด 2.สะพานยกระดับคู่ขนานลอยฟ้าบรมราชชนนี 6 ชุด 3.สะพานยกระดับรัชวิภา 4 ชุด 4.สะพานลอยข้ามแยกเอกมัยเหนือ 1 ชุด 5.สะพานลอยข้ามแยกบางกะปิ 1 ชุด 6.สะพานลอยข้ามแยกรามคำแหง 1 ชุด และ 7.สะพานลอยข้ามแยกพระรามที่ 2 จำนวน 1 ชุด
นอกจากนี้ สำนักการจราจรและขนส่ง กทม.ยังได้ปรับปรุงกายภาพรอบบริเวณจุดที่เกิดเหตุ อาทิ การตีเส้นชะลอความเร็วเพิ่มเติมในจุดคับขันบริเวณทางยกระดับทุกแห่ง การเพิ่มหมุดไฟกะพริบ และเสาบอกแนวเลี้ยวตรงทางแยก เพื่อช่วยเตือนผู้ขับขี่ให้ชะลอความเร็วลง เนื่องจากใกล้ถึงทางโค้งอันตราย พร้อมติดตั้งป้ายเตือน ป้ายแนะนำการใช้เส้นทาง ป้ายจำกัดความเร็ว และป้ายแจ้งเข้าโค้ง บริเวณโดยรอบให้มีความชัดเจนยิ่งขึ้น
สำหรับ Crash Cushion มีลักษณะเป็นสี่เหลี่ยมผืนผ้า คล้ายแบริเออร์ริมขอบทาง แต่ทำจากโพลีคาร์บอเนต ซึ่งเป็นพลาสติกคุณภาพสูง มีโครงสร้างเป็นโลหะ สามารถรับแรงปะทะที่ความเร็วได้มากกว่า 80 กม./ชม.ทั้งนี้ Crash Cushion 1 ชุด ประกอบด้วย อุปกรณ์ลดแรงปะทะ (Crash Cushion) รองรับแรงปะทะ ป้ายเตือนหัวเกาะและลดความเร็วกะพริบแสงด้วยพลังงานแสงอาทิตย์ และด้านหน้าอุปกรณ์ฯ ติดตั้งหลักพลาสติกล้มลุกสะท้อนแสง ทั้งนี้ งานติดตั้งทั้งหมดจะแล้วเสร็จภายในกลางเดือน ก.ย.2555 คาดว่า จะลดความรุนแรง และลดความสูญเสียจากอุบัติเหตุที่อาจเกิดขึ้นได้