วานนี้ (14 ส.ค.55) ในการประชุมวุฒิสภานัดพิเศษ ที่มีนายนิคม ไวยรัชพานิช รองประธานวุฒิสภา คนที่ 1 รักษาการแทนประธานวุฒิสภาทำหน้าที่ในการประชุม โดยมีวาระเรื่องที่แจ้งต่อที่ประชุม ตามที่ประธานวุฒิสภาได้ส่งคำร้องดังกล่าวไปยังประธานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.) ให้มีการพิจารณาคำร้องถอดถอน นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ อดีตนายกรัฐมนตรี และนายสุเทพ เทือกสุบรรณ อดีตรองนายกรัฐมนตรี กระทำการอันเป็นการก้าวก่ายแทรกแซงการปฏิบัติหน้าที่ข้าราชการในกระทรวงวัฒนธรรม ตามมาตรา 268 ของรัฐธรรมนูญนั้น
ตามที่มีผู้ร้อง 1.กรณีนายสุเทพ เทือกสุบรรณ รองนายกรัฐมนตรีได้มีหนังสือจากสำนักนายกรัฐมนตรีถึงรัฐมนตรีว่าการกระทรวงวัฒนธรรม เพื่อส่งตัว ส.ส.พรรคประชาธิปัตย์ มาช่วยราชการในกระทรวงวัฒนธรรม 2.กรณีนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรี รู้เห็นเป็นใจ กับนายสุเทพ เทือกสุบรรณ รองนายกรัฐมนตรี ส่ง ส.ส.พรรคประชาธิปัตย์ มาช่วยราชการในกระทรวงต่างๆ เป็นการเข้าไปก้าวก่ายแทรกแซงเพื่อประโยชน์ของตนหรือผู้อื่น หรือพรรคการเมือง ไม่ว่าโดยตรงหรืออ้อมในการบรรจุแต่งตั้งโยกย้ายหรือโอนตำแหน่ง อันเป็นการกระทำขัดต่อบทบัญญัติแห่งรัฐธรรมนูญหรือกฎหมาย ซึ่งประธานวุฒิสภาได้ส่งคำร้องทั้ง 2 คำร้องดังกล่าวไปยังประธานคณะกรรมการ ป.ป.ช. โดยได้มีการไต่สวนแล้ว โดยคณะกรรมการ ป.ป.ช. ได้มีการพิจารณาคำร้องทั้ง 2 ไว้ในคราวเดียวกัน
บัดนี้คณะกรรมการ ป.ป.ช.ได้พิจารณาไต่สวนข้อเท็จจริงเสร็จแล้วและได้ส่งรายงานข้อเท็จจริงการไต่สวนตามคำร้องให้ถอดถอนบุคคลทั้งสองออกจากตำแหน่งมายังประธานวุฒิสภา ตามรัฐธรรมนูญ มาตรา 274 เมื่อวันที่ 8 ส.ค.2555 โดยคณะกรรมการ ป.ป.ช.ได้มีมติว่า การกระทำของนายอภิสิทธิ์ ตามข้อกล่าวหานั้นไม่มีมูล ให้ข้อกล่าวหาตกไป ส่วนกรณีการกระทำของนายสุเทพ คณะกรรมการ ป.ป.ช.ได้มีมติว่า มีมูลส่อว่าจงใจใช้อำนาจหน้าที่ขัดต่อบทบัญญัติแห่งรัฐธรรมนูญ มาตรา 268 ประกอบมาตรา 266 (1) กรณีที่ทำหนังสือจากสำนักนายกรัฐมนตรี ลงวันที่ 25 ก.พ.25552 ส่ง ส.ส.พรรคประชาธิปัตย์ และคนอื่นๆ รวม 19 คน มาช่วยราชการกระทรวงวัฒนธรรม อันเป็นการก้าวก่ายหรือแทรกแซงการปฏิบัติงานผู้บัญชาการ การดำเนินการในหน้าที่ประจำของข้าราชการเพื่อประโยชน์ของตัวเอง ของผู้อื่น หรือของพรรคการเมือง ซึ่งเป็นการต้องห้ามตามรัฐธรรมนูญ มาตรา 268 ประกอบมาตรา 266 (1) และเป็นเหตุให้ถูกถอดถอนตามมาตรา 270 ประกอบมาตรา 272 วรรค 4 ของรัฐธรรมนูญ
โดยที่กระบวนการพิจารณาถอดถอนนายสุเทพ ที่วุฒิสภาจะต้องดำเนินการนั้น รัฐธรรมนูญมาตรา 273 ประกอบข้อบังคับการประชุมวุฒิสภา ข้อที่ 114 บัญญัติว่า เมื่อประธานวุฒิสภาได้รับรายงาน เอกสาร และความเห็นจากคณะกรรมการ ป.ป.ช. ที่มีมติชี้มูลว่าผู้ถูกกล่าวหาผู้ใดมีพฤติกรรมอย่างหนึ่งอย่างใดตามมาตรา 270 ของรัฐธรรมนูญ
ดังนั้น ให้ประธานวุฒิสภาจัดให้มีการประชุมวุฒิสภา เพื่อพิจารณากรณีดังกล่าวโดยเร็วในการถอดถอนนายสุเทพจะมีการประชุมนัดแรกวันที่ 27 สิงหาคม 2555
ตามที่มีผู้ร้อง 1.กรณีนายสุเทพ เทือกสุบรรณ รองนายกรัฐมนตรีได้มีหนังสือจากสำนักนายกรัฐมนตรีถึงรัฐมนตรีว่าการกระทรวงวัฒนธรรม เพื่อส่งตัว ส.ส.พรรคประชาธิปัตย์ มาช่วยราชการในกระทรวงวัฒนธรรม 2.กรณีนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรี รู้เห็นเป็นใจ กับนายสุเทพ เทือกสุบรรณ รองนายกรัฐมนตรี ส่ง ส.ส.พรรคประชาธิปัตย์ มาช่วยราชการในกระทรวงต่างๆ เป็นการเข้าไปก้าวก่ายแทรกแซงเพื่อประโยชน์ของตนหรือผู้อื่น หรือพรรคการเมือง ไม่ว่าโดยตรงหรืออ้อมในการบรรจุแต่งตั้งโยกย้ายหรือโอนตำแหน่ง อันเป็นการกระทำขัดต่อบทบัญญัติแห่งรัฐธรรมนูญหรือกฎหมาย ซึ่งประธานวุฒิสภาได้ส่งคำร้องทั้ง 2 คำร้องดังกล่าวไปยังประธานคณะกรรมการ ป.ป.ช. โดยได้มีการไต่สวนแล้ว โดยคณะกรรมการ ป.ป.ช. ได้มีการพิจารณาคำร้องทั้ง 2 ไว้ในคราวเดียวกัน
บัดนี้คณะกรรมการ ป.ป.ช.ได้พิจารณาไต่สวนข้อเท็จจริงเสร็จแล้วและได้ส่งรายงานข้อเท็จจริงการไต่สวนตามคำร้องให้ถอดถอนบุคคลทั้งสองออกจากตำแหน่งมายังประธานวุฒิสภา ตามรัฐธรรมนูญ มาตรา 274 เมื่อวันที่ 8 ส.ค.2555 โดยคณะกรรมการ ป.ป.ช.ได้มีมติว่า การกระทำของนายอภิสิทธิ์ ตามข้อกล่าวหานั้นไม่มีมูล ให้ข้อกล่าวหาตกไป ส่วนกรณีการกระทำของนายสุเทพ คณะกรรมการ ป.ป.ช.ได้มีมติว่า มีมูลส่อว่าจงใจใช้อำนาจหน้าที่ขัดต่อบทบัญญัติแห่งรัฐธรรมนูญ มาตรา 268 ประกอบมาตรา 266 (1) กรณีที่ทำหนังสือจากสำนักนายกรัฐมนตรี ลงวันที่ 25 ก.พ.25552 ส่ง ส.ส.พรรคประชาธิปัตย์ และคนอื่นๆ รวม 19 คน มาช่วยราชการกระทรวงวัฒนธรรม อันเป็นการก้าวก่ายหรือแทรกแซงการปฏิบัติงานผู้บัญชาการ การดำเนินการในหน้าที่ประจำของข้าราชการเพื่อประโยชน์ของตัวเอง ของผู้อื่น หรือของพรรคการเมือง ซึ่งเป็นการต้องห้ามตามรัฐธรรมนูญ มาตรา 268 ประกอบมาตรา 266 (1) และเป็นเหตุให้ถูกถอดถอนตามมาตรา 270 ประกอบมาตรา 272 วรรค 4 ของรัฐธรรมนูญ
โดยที่กระบวนการพิจารณาถอดถอนนายสุเทพ ที่วุฒิสภาจะต้องดำเนินการนั้น รัฐธรรมนูญมาตรา 273 ประกอบข้อบังคับการประชุมวุฒิสภา ข้อที่ 114 บัญญัติว่า เมื่อประธานวุฒิสภาได้รับรายงาน เอกสาร และความเห็นจากคณะกรรมการ ป.ป.ช. ที่มีมติชี้มูลว่าผู้ถูกกล่าวหาผู้ใดมีพฤติกรรมอย่างหนึ่งอย่างใดตามมาตรา 270 ของรัฐธรรมนูญ
ดังนั้น ให้ประธานวุฒิสภาจัดให้มีการประชุมวุฒิสภา เพื่อพิจารณากรณีดังกล่าวโดยเร็วในการถอดถอนนายสุเทพจะมีการประชุมนัดแรกวันที่ 27 สิงหาคม 2555