ASTVผู้จัดการรายวัน - นายก ส.ภัตตาคารไทย เลิกหวังโครงการ”ครัวไทยสู่ครัวโลก” ระบุรัฐไม่เห็นความสำคัญ ผุดแค่นโยบายขายฝัน ขณะที่สมาคมพ่อครัวไทย ชี้เชฟไทยขาดการเหลียวแลจากภาครัฐ หวั่นเปิดเออีซี ทุกข์ซ้ำเจอต่างชาติแย่งอาชีพ ด้านผู้จัดงาน Food & Hotel Thailand ยึดไบเทคบางนาจัดงานปีนี้ คุยต่างชาติสนใจร่วมงานโต10-20% คาดปีนี้เงินสะพัด 2 พันล้านบาท
นางฐนิวรรณ กุลมงคล นายกสมาคมภัตตาคารไทย กล่าวว่า ความคืบหน้าการจัดทำโครงการ “ครัวไทย สู่ครัวโลก” ซึ่งเป็นแผนงานตามนโยบายของรัฐบาล โดยมีน.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรีเป็นประธาน จนถึงขณะนี้โครงการดังกล่าวยังไม่มีความคืบหน้า และล่าช้ามาก สะท้อนว่ารัฐบาลไม่ได้ให้ความสำคัญกับโครงการนี้อย่างจริงจัง มีการเลื่อนการประชุมหลายครั้ง อีกทั้งคณะกรรมการโครงการ ยังเป็นบุคคลที่มาจากหน่วยงานรัฐเกือบทั้งหมด มีเพียงนายกสมาคมภัตตาคารไทยเป็นภาคเอกชนเพียงคนเดียว ทำให้ไม่เกิดการสะท้อนข้อมูล ปัญหาอุปสรรค และความต้องการที่แท้จริง
“นายกรัฐมนตรีควรแต่งตั้งรองนายกเข้ามาดุแลรับผิดชอบเพื่อให้งานรุดหน้า ยอมรับว่าตอนนี้ภาคเอกชนเลิกหวังกับโครงการนี้แล้ว เพราะจากที่ผ่านมาพบว่ารัฐมีเพียงแต่ออกนโยบายมาให้ตื่นตัวแต่ในทางปฎิบัติกลับมองไม่เห็นเลย อาจเป็นเพราะภัตตาคารร้านอาหารอาจเป็นเพียงธุรกิจเล็กๆในสายตาของภาครัฐจึงไม่เห็นความสำคัญ เพราะมีปัญหาที่ใหญ่กว่าอย่างการเมือง ปัญหาภาคใต้ เป็นต้น แต่ความจริงอุตสาหกรรมนี้สร้างรายได้คิดเป็นสัดส่วน 20% ของรายได้รวมที่ได้จากการท่องเที่ยวในแต่ละปี ฉะนั้นหากเป้าหมายรายได้2 ล้านล้านบาทในปี 2558 ก็เท่ากับเป็นรายได้ที่มาจากอุตสาหกรรมนี้ถึง 4 แสนล้านบาท”
อย่างไรก็ตาม หากต้องการให้โครงการนี้เกิดขึ้นจริง ขอเสนอให้รับฟังข้อเสนอแนะทั้งจากชมรมร้านอาหารทั้ง 76 จังหวัดทั่วประเทศ และ ชมรมร้านอาหารไทยในต่างประเทศ จะเป็นข้อมูลสะท้อนถึงปัญหาและความต้องการได้ดี ปัจจุบันร้านอาหารในต่างประเทศเริ่มหันไปนำเข้าวัตถุดิบจากประเทศอื่นแทนจากประเทศไทย เพราะขั้นตอนน้อยกว่า เพราะคนกลุ่มนี้อยู่ในอุตสาหกรรมจริง ส่วนโครงการไทยซีเล็ก ที่นำป้ายมาแจกให้แก่ร้านอาหารไทย ทั้งที่ไม่มีกระบวนการคัดสรร ไม่มีการคิดต่อยอด ในเรื่องการสร้างแบรนด์ดิ้ง ทุกอย่างที่ทำไปก็เปล่าประโยชน์
รัฐเมินดูแลอาชีพเชฟไทย
นายจำนง นิรังสรรค์ นายกสมาคมพ่อครัวไทย กล่าวว่า อยู่ระหว่างการเดินเรื่องขอยกระดับสมาคมขึ้นเป็น สมาคมเชฟแห่งประเทศไทย เพื่อรวบรวมเครือข่ายเชฟไทยทั่วประเทศ ให้มีกำลังขับเคลื่อนอาชีพนี้ให้มีความแข็งแกร่งพร้อมรองรับการเปิดเสรีประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน(เออีซี) จากปัจจุบัน สมาชิกเฉพาะที่กรุงเทพฯมี 400 คน จะเพิ่มได้อีก 2-3 เท่าตัว
ปัญหาของเชฟไทยขณะนี้ คือ ความเสียเปรียบด้านภาษาอังกฤษ และขาดการเหลียวแลจากภาครัฐอย่างจริงจัง ทุกกิจกรรมที่สร้างชื่อเสียให้ประเทศ เป็นการรวบรวมเงินกันเองโดยไม่มีงบรัฐมาสนับสนุน ทั้งที่เชฟไทยมีคุณภาพเป็นที่ยอมรับในเวทีสากล จึงต้องการให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องเข้ามาฝึกอบรมและตั้งมาตรฐานค่าจ้าง เพื่อป้องกันไม่ให้ เชฟจากประเทศอาเซียนเข้ามาแย่งอาชีพเชฟไทยเพราะเรียกค่าแรงที่ถูกกว่า
งาน Food & Hotel ปีนี้เงินสะพัด 2 พันล้านบาท
ทางด้าน นายจัสติน พาว ผู้จัดการทั่วไป บริษัท แบงค็อค เอ็กซ์ซิบิชั่น เซอร์วิสเซส จำกัด(บีอีเอส) กล่าวว่า ปี 2555 ได้กำหนด จัดงาน Food & Hotel Thailand 2012 ครั้งที่ 20 ระหว่างวันที่ 5-8 กันยายน 2555 ที่ ศูนย์นิทรรศการและการประชุม ไบเทค บางนา บนพื้นที่ 15,000 ตารางเมตร เพิ่มจากปีก่อนซึ่งจัดที่พารากอนฮอลล์ ใช้พื้นที่12,000 ตารางเมตร ทั้งนี้เพราะมีผู้ซื้อและผู้ขายสนใจเข้าร่วมงานเพิ่มมากขึ้นทุกปีเฉลี่ย 10-20%
สำหรับปีนี้ มีผู้ขายมาร่วมออกบูธ กว่า 300 ราย จาก 25 ประเทศทั่วโลก นำเสนอสินค้าจากแบรนด์ชั้นนำ กว่า 750 แบรนด์ โดยมี 8 ชาติที่มาจัดพาวิลเลียน ได้แก่ เบลเยี่ยม อิตาลี ญี่ปุ่น เกาหลี แอฟริกา ตุรกี สหรัฐอเมริกา สหภาพยุโรป คาดว่าจะมีผู้เข้าชมงาน 26,500 คน เพิ่มจากปีก่อนซึ่งที 26,408 คน เกิดเงินสะพัดจากการเจรจาธุรกิจไม่น้อยกว่า 2,000 ล้านบาท เพิ่มจากปีก่อนซึ่งมี1,600 ล้านบาท ไฮไลท์นอกจากการโชว์นวัตกรรมด้านอาหาร และการผลิต ในงานยังมีการจัดสัมมนาในกลุ่มธุรกิจบริการทั้งภาค โรงแรม และร้านอาหาร เป็นต้น นอกจากนั้นยังมีการแข่งขันทำอาหารในเมนูต่างๆ แข่งแกะสลักน้ำแข็ง แข่งขันชิงแชมป์บาริสต้าแห่งอาเซียน เป็นต้น
นางฐนิวรรณ กุลมงคล นายกสมาคมภัตตาคารไทย กล่าวว่า ความคืบหน้าการจัดทำโครงการ “ครัวไทย สู่ครัวโลก” ซึ่งเป็นแผนงานตามนโยบายของรัฐบาล โดยมีน.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรีเป็นประธาน จนถึงขณะนี้โครงการดังกล่าวยังไม่มีความคืบหน้า และล่าช้ามาก สะท้อนว่ารัฐบาลไม่ได้ให้ความสำคัญกับโครงการนี้อย่างจริงจัง มีการเลื่อนการประชุมหลายครั้ง อีกทั้งคณะกรรมการโครงการ ยังเป็นบุคคลที่มาจากหน่วยงานรัฐเกือบทั้งหมด มีเพียงนายกสมาคมภัตตาคารไทยเป็นภาคเอกชนเพียงคนเดียว ทำให้ไม่เกิดการสะท้อนข้อมูล ปัญหาอุปสรรค และความต้องการที่แท้จริง
“นายกรัฐมนตรีควรแต่งตั้งรองนายกเข้ามาดุแลรับผิดชอบเพื่อให้งานรุดหน้า ยอมรับว่าตอนนี้ภาคเอกชนเลิกหวังกับโครงการนี้แล้ว เพราะจากที่ผ่านมาพบว่ารัฐมีเพียงแต่ออกนโยบายมาให้ตื่นตัวแต่ในทางปฎิบัติกลับมองไม่เห็นเลย อาจเป็นเพราะภัตตาคารร้านอาหารอาจเป็นเพียงธุรกิจเล็กๆในสายตาของภาครัฐจึงไม่เห็นความสำคัญ เพราะมีปัญหาที่ใหญ่กว่าอย่างการเมือง ปัญหาภาคใต้ เป็นต้น แต่ความจริงอุตสาหกรรมนี้สร้างรายได้คิดเป็นสัดส่วน 20% ของรายได้รวมที่ได้จากการท่องเที่ยวในแต่ละปี ฉะนั้นหากเป้าหมายรายได้2 ล้านล้านบาทในปี 2558 ก็เท่ากับเป็นรายได้ที่มาจากอุตสาหกรรมนี้ถึง 4 แสนล้านบาท”
อย่างไรก็ตาม หากต้องการให้โครงการนี้เกิดขึ้นจริง ขอเสนอให้รับฟังข้อเสนอแนะทั้งจากชมรมร้านอาหารทั้ง 76 จังหวัดทั่วประเทศ และ ชมรมร้านอาหารไทยในต่างประเทศ จะเป็นข้อมูลสะท้อนถึงปัญหาและความต้องการได้ดี ปัจจุบันร้านอาหารในต่างประเทศเริ่มหันไปนำเข้าวัตถุดิบจากประเทศอื่นแทนจากประเทศไทย เพราะขั้นตอนน้อยกว่า เพราะคนกลุ่มนี้อยู่ในอุตสาหกรรมจริง ส่วนโครงการไทยซีเล็ก ที่นำป้ายมาแจกให้แก่ร้านอาหารไทย ทั้งที่ไม่มีกระบวนการคัดสรร ไม่มีการคิดต่อยอด ในเรื่องการสร้างแบรนด์ดิ้ง ทุกอย่างที่ทำไปก็เปล่าประโยชน์
รัฐเมินดูแลอาชีพเชฟไทย
นายจำนง นิรังสรรค์ นายกสมาคมพ่อครัวไทย กล่าวว่า อยู่ระหว่างการเดินเรื่องขอยกระดับสมาคมขึ้นเป็น สมาคมเชฟแห่งประเทศไทย เพื่อรวบรวมเครือข่ายเชฟไทยทั่วประเทศ ให้มีกำลังขับเคลื่อนอาชีพนี้ให้มีความแข็งแกร่งพร้อมรองรับการเปิดเสรีประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน(เออีซี) จากปัจจุบัน สมาชิกเฉพาะที่กรุงเทพฯมี 400 คน จะเพิ่มได้อีก 2-3 เท่าตัว
ปัญหาของเชฟไทยขณะนี้ คือ ความเสียเปรียบด้านภาษาอังกฤษ และขาดการเหลียวแลจากภาครัฐอย่างจริงจัง ทุกกิจกรรมที่สร้างชื่อเสียให้ประเทศ เป็นการรวบรวมเงินกันเองโดยไม่มีงบรัฐมาสนับสนุน ทั้งที่เชฟไทยมีคุณภาพเป็นที่ยอมรับในเวทีสากล จึงต้องการให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องเข้ามาฝึกอบรมและตั้งมาตรฐานค่าจ้าง เพื่อป้องกันไม่ให้ เชฟจากประเทศอาเซียนเข้ามาแย่งอาชีพเชฟไทยเพราะเรียกค่าแรงที่ถูกกว่า
งาน Food & Hotel ปีนี้เงินสะพัด 2 พันล้านบาท
ทางด้าน นายจัสติน พาว ผู้จัดการทั่วไป บริษัท แบงค็อค เอ็กซ์ซิบิชั่น เซอร์วิสเซส จำกัด(บีอีเอส) กล่าวว่า ปี 2555 ได้กำหนด จัดงาน Food & Hotel Thailand 2012 ครั้งที่ 20 ระหว่างวันที่ 5-8 กันยายน 2555 ที่ ศูนย์นิทรรศการและการประชุม ไบเทค บางนา บนพื้นที่ 15,000 ตารางเมตร เพิ่มจากปีก่อนซึ่งจัดที่พารากอนฮอลล์ ใช้พื้นที่12,000 ตารางเมตร ทั้งนี้เพราะมีผู้ซื้อและผู้ขายสนใจเข้าร่วมงานเพิ่มมากขึ้นทุกปีเฉลี่ย 10-20%
สำหรับปีนี้ มีผู้ขายมาร่วมออกบูธ กว่า 300 ราย จาก 25 ประเทศทั่วโลก นำเสนอสินค้าจากแบรนด์ชั้นนำ กว่า 750 แบรนด์ โดยมี 8 ชาติที่มาจัดพาวิลเลียน ได้แก่ เบลเยี่ยม อิตาลี ญี่ปุ่น เกาหลี แอฟริกา ตุรกี สหรัฐอเมริกา สหภาพยุโรป คาดว่าจะมีผู้เข้าชมงาน 26,500 คน เพิ่มจากปีก่อนซึ่งที 26,408 คน เกิดเงินสะพัดจากการเจรจาธุรกิจไม่น้อยกว่า 2,000 ล้านบาท เพิ่มจากปีก่อนซึ่งมี1,600 ล้านบาท ไฮไลท์นอกจากการโชว์นวัตกรรมด้านอาหาร และการผลิต ในงานยังมีการจัดสัมมนาในกลุ่มธุรกิจบริการทั้งภาค โรงแรม และร้านอาหาร เป็นต้น นอกจากนั้นยังมีการแข่งขันทำอาหารในเมนูต่างๆ แข่งแกะสลักน้ำแข็ง แข่งขันชิงแชมป์บาริสต้าแห่งอาเซียน เป็นต้น