ASTVผู้จัดการรายวัน - เอกชนติงศูนย์ประชุมเชียงใหม่ไม่เหมาะจัดงานเอ็กซิบิชันขนาดใหญ่ รับได้เพียงงานจัดประชุมสัมมนา และงานแสดงสินค้าระดับท้องถิ่น แถมแผนการตลาดยังชักช้าป่านนี้ยังไม่เริ่มทั้งที่ประกาศจะเปิดให้บริการตั้งแต่ตุลาคมนี้ ด้านปลัดกระทรวงการท่องเที่ยวฯ ยันเป็นศูนย์ฯ นานาชาติแน่นอนแต่ยังติดตั้งอุปกรณ์ไม่เสร็จ
นายประวิชย์ ศรีบัณฑิตมงคล นายกสมาคมการแสดงสินค้า (ไทย) เปิดเผยว่า ได้ร่วมเดินทางไปตรวจสอบความพร้อมของศูนย์ประชุมนานาชาติ จังหวัดเชียงใหม่ กับกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา และได้รับข้อมูลว่าศูนย์ฯ ดังกล่าวจะเปิดให้บริการได้ในเดือนตุลาคมศกนี้ แต่จากที่ได้ลงสำรวจพื้นที่จริงคาดว่าถึงเดือนตุลาคมนี้ศูนย์ฯ ก็คงยังไม่พร้อมให้บริการ แต่หากรัฐบาลยืนยันว่าจะเปิดบริการให้ได้ก็คงจัดได้แต่งานระดับท้องถิ่น และจะเริ่มรับงานระดับใหญ่ขึ้นได้ในต้นปี 2556
“เท่าที่ได้เข้าสำรวจพื้นที่ พบว่าโครงสร้างหลักของศูนย์ฯ เสร็จเรียบร้อยดี การตกแต่งสะท้อนเอกลักษณ์ความเป็นล้านนา ความพร้อมด้านสิ่งอำนวยความสะดวกอยู่ในราว 80% ดังนั้น หากกระทรวงการท่องเที่ยวฯ ตั้งไว้ว่าจะเปิดบริการในเดือนตุลาคมนี้คงเป็นความพร้อมด้านความตั้งใจมากกว่าพร้อมเรื่องสถานที่ แต่ถ้าจะให้พร้อมจริงๆ ก็ต้องเป็นเดือนมกราคม 56”
อย่างไรก็ตาม จากการสำรวจครั้งนี้ ยังพบว่าศูนย์ประชุมฯ นี้น่าจะเหมาะกับการจัดงานประชุม สัมมนา หรือท่องเที่ยวเพื่อเป็นรางวัล (มีตติ้ง คอนเวนชัน และอินเซนทีฟ) เท่านั้น แต่ไม่เหมาะกับการจัดงานแสดงสินค้า (เอ็กซิบิชัน) เพราะโครงสร้างอาคารหลายอย่างมองแล้วไม่เอื้อต่อการใช้เป็นที่จัดงานแสดงสินค้า ซึ่งหากรัฐบาลต้องการผลักดันให้เชียงใหม่เป็นฮับด้านการจัดแสดงสินค้าจึงไม่น่าจะเป็นไปได้ แต่หากเป็นสถานที่จัดแสดงงานประเภทศิลปหัตถกรรมที่เป็นเอกลักษณ์ของท้องถิ่น และจุดเด่นด้านการเป็นอุตสาหกรรมท้องถิ่นจะเหมาะสมกว่า แต่ที่สำคัญคือเรื่องการทำตลาดซึ่งขณะนี้ยังไม่มีความคืบหน้าทั้งที่ศูนย์ฯ ก็ก่อสร้างใกล้เสร็จแล้ว ถือว่าการทำงานด้านการตลาดยังช้ามากๆ
นายประวิชย์กล่าวว่า ได้แนะนำรัฐไปหลายอย่าง เพราะการติดตั้งอุปกรณ์หลายอย่างยังไม่ตอบโจทย์ที่จะจัดงานขนาดใหญ่ระดับนานาชาติ เช่น เพดานไม่มีโครงสร้างสำหรับแขวนไฟ เครื่องเสียง หรือลำโพง ซึ่งมีความจำเป็นใช้ในการจัดแสดงสินค้า หากปรับปรุงให้ดีศูนย์ประชุมฯ ก็มีศักยภาพเติบโตได้
ทางด้านนายจัสติน พาว ผู้จัดการทั่วไปบริษัทบางกอก เอ็กซิบิชั่น เซอร์วิสเซส (บีอีเอส) กล่าวว่า ศูนย์ประชุมนานาชาติ จ. เชียงใหม่เหมาะที่จะใช้เป็นสถานที่จัดแสดงสินค้าของเชียงใหม่ประเภทหัตถกรรมพื้นเมืองมากกว่างานแสดงสินค้าประเภทอุตสาหกรรมหนักซึ่งเชียงใหม่ไม่ได้เป็นผู้ผลิต ขณะเดียวกันในเชิงสถานที่ตั้งยังมองว่ากรุงเทพฯ
เป็นศูนย์กลางธุรกิจที่มีความพร้อมมากกว่า ทั้งการติดต่อเจรจาธุรกิจระหว่างผู้ซื้อ-ผู้ขาย จากต่างประเทศ ส่วนเชียงใหม่เหมาะที่จะเป็นศูนย์กลางระดับอนุภูมิภาคลุ่มน้ำโขง
ทางด้านนายสุวัตร สิทธิหล่อ ปลัดกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา กล่าวว่า ขณะนี้ศูนย์ประชุมนานาชาติ เชียงใหม่ ยังอยู่ระหว่างการติดตั้งอุปกรณ์ การที่นำภาคเอกชนเข้าไปชมสถานที่ในครั้งนี้ความพร้อมของพื้นที่ยังไม่เสร็จสมบูรณ์ 100% จึงเป็นไปได้ที่เอกชนยังไม่เห็นอุปกรณ์ทั้งหมดที่จะติดตั้ง ซึ่งอย่างไรก็มองว่าศูนย์ฯ เชียงใหม่พร้อมรองรับทุกงานระดับนานาชาติเพื่อรองรับการเปิดเสรีอาเซียน (เออีซี) ซึ่งในเดือนตุลาคมนี้การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย (ททท.) จะเริ่มทำประชาสัมพันธ์สร้างการรับรู้ โดยกระทรวงและ ททท.จะบริหารศูนย์ฯ นี้ในระยะสั้นเท่านั้น แต่ในระยะยาวต้องเปิดให้เอกชนเข้ามาบริหารในลักษณะร่วมทุนกับรัฐบาล
นายประวิชย์ ศรีบัณฑิตมงคล นายกสมาคมการแสดงสินค้า (ไทย) เปิดเผยว่า ได้ร่วมเดินทางไปตรวจสอบความพร้อมของศูนย์ประชุมนานาชาติ จังหวัดเชียงใหม่ กับกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา และได้รับข้อมูลว่าศูนย์ฯ ดังกล่าวจะเปิดให้บริการได้ในเดือนตุลาคมศกนี้ แต่จากที่ได้ลงสำรวจพื้นที่จริงคาดว่าถึงเดือนตุลาคมนี้ศูนย์ฯ ก็คงยังไม่พร้อมให้บริการ แต่หากรัฐบาลยืนยันว่าจะเปิดบริการให้ได้ก็คงจัดได้แต่งานระดับท้องถิ่น และจะเริ่มรับงานระดับใหญ่ขึ้นได้ในต้นปี 2556
“เท่าที่ได้เข้าสำรวจพื้นที่ พบว่าโครงสร้างหลักของศูนย์ฯ เสร็จเรียบร้อยดี การตกแต่งสะท้อนเอกลักษณ์ความเป็นล้านนา ความพร้อมด้านสิ่งอำนวยความสะดวกอยู่ในราว 80% ดังนั้น หากกระทรวงการท่องเที่ยวฯ ตั้งไว้ว่าจะเปิดบริการในเดือนตุลาคมนี้คงเป็นความพร้อมด้านความตั้งใจมากกว่าพร้อมเรื่องสถานที่ แต่ถ้าจะให้พร้อมจริงๆ ก็ต้องเป็นเดือนมกราคม 56”
อย่างไรก็ตาม จากการสำรวจครั้งนี้ ยังพบว่าศูนย์ประชุมฯ นี้น่าจะเหมาะกับการจัดงานประชุม สัมมนา หรือท่องเที่ยวเพื่อเป็นรางวัล (มีตติ้ง คอนเวนชัน และอินเซนทีฟ) เท่านั้น แต่ไม่เหมาะกับการจัดงานแสดงสินค้า (เอ็กซิบิชัน) เพราะโครงสร้างอาคารหลายอย่างมองแล้วไม่เอื้อต่อการใช้เป็นที่จัดงานแสดงสินค้า ซึ่งหากรัฐบาลต้องการผลักดันให้เชียงใหม่เป็นฮับด้านการจัดแสดงสินค้าจึงไม่น่าจะเป็นไปได้ แต่หากเป็นสถานที่จัดแสดงงานประเภทศิลปหัตถกรรมที่เป็นเอกลักษณ์ของท้องถิ่น และจุดเด่นด้านการเป็นอุตสาหกรรมท้องถิ่นจะเหมาะสมกว่า แต่ที่สำคัญคือเรื่องการทำตลาดซึ่งขณะนี้ยังไม่มีความคืบหน้าทั้งที่ศูนย์ฯ ก็ก่อสร้างใกล้เสร็จแล้ว ถือว่าการทำงานด้านการตลาดยังช้ามากๆ
นายประวิชย์กล่าวว่า ได้แนะนำรัฐไปหลายอย่าง เพราะการติดตั้งอุปกรณ์หลายอย่างยังไม่ตอบโจทย์ที่จะจัดงานขนาดใหญ่ระดับนานาชาติ เช่น เพดานไม่มีโครงสร้างสำหรับแขวนไฟ เครื่องเสียง หรือลำโพง ซึ่งมีความจำเป็นใช้ในการจัดแสดงสินค้า หากปรับปรุงให้ดีศูนย์ประชุมฯ ก็มีศักยภาพเติบโตได้
ทางด้านนายจัสติน พาว ผู้จัดการทั่วไปบริษัทบางกอก เอ็กซิบิชั่น เซอร์วิสเซส (บีอีเอส) กล่าวว่า ศูนย์ประชุมนานาชาติ จ. เชียงใหม่เหมาะที่จะใช้เป็นสถานที่จัดแสดงสินค้าของเชียงใหม่ประเภทหัตถกรรมพื้นเมืองมากกว่างานแสดงสินค้าประเภทอุตสาหกรรมหนักซึ่งเชียงใหม่ไม่ได้เป็นผู้ผลิต ขณะเดียวกันในเชิงสถานที่ตั้งยังมองว่ากรุงเทพฯ
เป็นศูนย์กลางธุรกิจที่มีความพร้อมมากกว่า ทั้งการติดต่อเจรจาธุรกิจระหว่างผู้ซื้อ-ผู้ขาย จากต่างประเทศ ส่วนเชียงใหม่เหมาะที่จะเป็นศูนย์กลางระดับอนุภูมิภาคลุ่มน้ำโขง
ทางด้านนายสุวัตร สิทธิหล่อ ปลัดกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา กล่าวว่า ขณะนี้ศูนย์ประชุมนานาชาติ เชียงใหม่ ยังอยู่ระหว่างการติดตั้งอุปกรณ์ การที่นำภาคเอกชนเข้าไปชมสถานที่ในครั้งนี้ความพร้อมของพื้นที่ยังไม่เสร็จสมบูรณ์ 100% จึงเป็นไปได้ที่เอกชนยังไม่เห็นอุปกรณ์ทั้งหมดที่จะติดตั้ง ซึ่งอย่างไรก็มองว่าศูนย์ฯ เชียงใหม่พร้อมรองรับทุกงานระดับนานาชาติเพื่อรองรับการเปิดเสรีอาเซียน (เออีซี) ซึ่งในเดือนตุลาคมนี้การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย (ททท.) จะเริ่มทำประชาสัมพันธ์สร้างการรับรู้ โดยกระทรวงและ ททท.จะบริหารศูนย์ฯ นี้ในระยะสั้นเท่านั้น แต่ในระยะยาวต้องเปิดให้เอกชนเข้ามาบริหารในลักษณะร่วมทุนกับรัฐบาล