นายกสมาคมภัตตาคารไทยเลิกหวังโครงการ “ครัวไทยสู่โลก” ระบุรัฐไม่เห็นความสำคัญ ผุดแค่นโยบายขายฝัน ขณะที่สมาคมพ่อครัวไทยชี้เชฟไทยขาดการเหลียวแลจากภาครัฐ หวั่นเปิดเออีซีทุกข์ซ้ำเจอต่างชาติแย่งอาชีพ ด้านผู้จัดงาน Food & Hotel Thailand ยึดไบเทค บางนาจัดงานปีนี้ คุยต่างชาติสนใจร่วมงานโต 10-20% คาดปีนี้เงินสะพัด 2 พันล้านบาท
นางฐนิวรรณ กุลมงคล นายกสมาคมภัตตาคารไทย กล่าวว่า ความคืบหน้าการจัดทำโครงการ “ครัวไทยสู่โลก” ซึ่งเป็นแผนงานตามนโยบายของรัฐบาล โดยมี น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี เป็นประธาน จนถึงขณะนี้โครงการดังกล่าวยังไม่มีความคืบหน้า และล่าช้ามาก สะท้อนว่ารัฐบาลไม่ได้ให้ความสำคัญต่อโครงการนี้อย่างจริงจัง มีการเลื่อนการประชุมหลายครั้ง อีกทั้งคณะกรรมการโครงการยังเป็นบุคคลที่มาจากหน่วยงานรัฐเกือบทั้งหมด มีเพียงนายกสมาคมภัตตาคารไทยเป็นภาคเอกชนเพียงคนเดียว ทำให้ไม่เกิดการสะท้อนข้อมูล ปัญหา อุปสรรค และความต้องการที่แท้จริง
“นายกรัฐมนตรีควรแต่งตั้งรองนายกฯ เข้ามาดุแลรับผิดชอบเพื่อให้งานรุดหน้า ยอมรับว่าตอนนี้ภาคเอกชนเลิกหวังกับโครงการนี้แล้ว เพราะจากที่ผ่านมาพบว่ารัฐมีเพียงแต่ออกนโยบายมาให้ตื่นตัวแต่ในทางปฎิบัติกลับมองไม่เห็นเลย อาจเป็นเพราะภัตตาคารร้านอาหารอาจเป็นเพียงธุรกิจเล็กๆ ในสายตาของภาครัฐจึงไม่เห็นความสำคัญ เพราะมีปัญหาที่ใหญ่กว่าอย่างการเมือง ปัญหาภาคใต้ เป็นต้น แต่ความจริงอุตสาหกรรมนี้สร้างรายได้คิดเป็นสัดส่วน 20% ของรายได้รวมที่ได้จากการท่องเที่ยวในแต่ละปี ฉะนั้นหากเป้าหมายรายได้ 2 ล้านล้านบาทในปี 2558 ก็เท่ากับเป็นรายได้ที่มาจากอุตสาหกรรมนี้ถึง 4 แสนล้านบาท”
อย่างไรก็ตาม หากต้องการให้โครงการนี้เกิดขึ้นจริง ขอเสนอให้รับฟังข้อเสนอแนะทั้งจากชมรมร้านอาหารทั้ง 76 จังหวัดทั่วประเทศ และชมรมร้านอาหารไทยในต่างประเทศ จะเป็นข้อมูลสะท้อนถึงปัญหาและความต้องการได้ดี ปัจจุบันร้านอาหารในต่างประเทศเริ่มหันไปนำเข้าวัตถุดิบจากประเทศอื่นแทนจากประเทศไทยเพราะขั้นตอนน้อยกว่า เพราะคนกลุ่มนี้อยู่ในอุตสาหกรรมจริง ส่วนโครงการไทยซีเล็ก ที่นำป้ายมาแจกแก่ร้านอาหารไทย ทั้งที่ไม่มีกระบวนการคัดสรร ไม่มีการคิดต่อยอด ในเรื่องการสร้างแบรนดิ้ง ทุกอย่างที่ทำไปก็เปล่าประโยชน์
รัฐเมินดูแลอาชีพเชฟไทย
นายจำนง นิรังสรรค์ นายกสมาคมพ่อครัวไทย กล่าวว่า อยู่ระหว่างการเดินเรื่องขอยกระดับสมาคมขึ้นเป็นสมาคมเชฟแห่งประเทศไทย เพื่อรวบรวมเครือข่ายเชฟไทยทั่วประเทศให้มีกำลังขับเคลื่อนอาชีพนี้ให้มีความแข็งแกร่งพร้อมรองรับการเปิดเสรีประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (เออีซี) จากปัจจุบัน สมาชิกเฉพาะที่กรุงเทพฯ มี 400 คน จะเพิ่มได้อีก 2-3 เท่าตัว
ปัญหาของเชฟไทยขณะนี้คือ ความเสียเปรียบด้านภาษาอังกฤษ และขาดการเหลียวแลจากภาครัฐอย่างจริงจัง ทุกกิจกรรมที่สร้างชื่อเสียให้ประเทศเป็นการรวบรวมเงินกันเองโดยไม่มีงบรัฐมาสนับสนุน ทั้งที่เชฟไทยมีคุณภาพเป็นที่ยอมรับในเวทีสากล จึงต้องการให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องเข้ามาฝึกอบรมและตั้งมาตรฐานค่าจ้าง เพื่อป้องกันไม่ให้เชฟจากประเทศอาเซียนเข้ามาแย่งอาชีพเชฟไทยเพราะเรียกค่าแรงที่ถูกกว่า
งาน Food & Hotel ปีนี้เงินสะพัด 2 พันล้านบาท
ทางด้าน นายจัสติน พาว ผู้จัดการทั่วไป บริษัท แบงค็อค เอ็กซ์ซิบิชั่น เซอร์วิสเซส จำกัด (บีอีเอส) กล่าวว่า ปี 2555 ได้กำหนดจัดงาน Food & Hotel Thailand 2012 ครั้งที่ 20 ระหว่างวันที่ 5-8 กันยายน 2555 ที่ศูนย์นิทรรศการและการประชุมไบเทค บางนา บนพื้นที่ 15,000 ตารางเมตร เพิ่มจากปีก่อนซึ่งจัดที่พารากอนฮอลล์ ใช้พื้นที่ 12,000 ตารางเมตร ทั้งนี้เพราะมีผู้ซื้อและผู้ขายสนใจเข้าร่วมงานเพิ่มมากขึ้นทุกปีเฉลี่ย 10-20%
สำหรับปีนี้มีผู้ขายมาร่วมออกบูทกว่า 300 ราย จาก 25 ประเทศทั่วโลก นำเสนอสินค้าจากแบรนด์ชั้นนำกว่า 750 แบรนด์ โดยมี 8 ชาติที่มาจัดพาวิลเลียน ได้แก่ เบลเยียม อิตาลี ญี่ปุ่น เกาหลี แอฟริกา ตุรกี สหรัฐอเมริกา สหภาพยุโรป คาดว่าจะมีผู้เข้าชมงาน 26,500 คน เพิ่มจากปีก่อนซึ่งมี 26,408 คน เกิดเงินสะพัดจากการเจรจาธุรกิจไม่น้อยกว่า 2,000 ล้านบาท เพิ่มจากปีก่อนซึ่งมี 1,600 ล้านบาท ไฮไลต์นอกจากการโชว์นวัตกรรมด้านอาหาร และการผลิต ในงานยังมีการจัดสัมมนาในกลุ่มธุรกิจบริการทั้งภาคโรงแรม และร้านอาหาร เป็นต้น นอกจากนั้นยังมีการแข่งขันทำอาหารในเมนูต่างๆ แข่งแกะสลักน้ำแข็ง แข่งขันชิงแชมป์บาริสตาแห่งอาเซียน เป็นต้น
นางฐนิวรรณ กุลมงคล นายกสมาคมภัตตาคารไทย กล่าวว่า ความคืบหน้าการจัดทำโครงการ “ครัวไทยสู่โลก” ซึ่งเป็นแผนงานตามนโยบายของรัฐบาล โดยมี น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี เป็นประธาน จนถึงขณะนี้โครงการดังกล่าวยังไม่มีความคืบหน้า และล่าช้ามาก สะท้อนว่ารัฐบาลไม่ได้ให้ความสำคัญต่อโครงการนี้อย่างจริงจัง มีการเลื่อนการประชุมหลายครั้ง อีกทั้งคณะกรรมการโครงการยังเป็นบุคคลที่มาจากหน่วยงานรัฐเกือบทั้งหมด มีเพียงนายกสมาคมภัตตาคารไทยเป็นภาคเอกชนเพียงคนเดียว ทำให้ไม่เกิดการสะท้อนข้อมูล ปัญหา อุปสรรค และความต้องการที่แท้จริง
“นายกรัฐมนตรีควรแต่งตั้งรองนายกฯ เข้ามาดุแลรับผิดชอบเพื่อให้งานรุดหน้า ยอมรับว่าตอนนี้ภาคเอกชนเลิกหวังกับโครงการนี้แล้ว เพราะจากที่ผ่านมาพบว่ารัฐมีเพียงแต่ออกนโยบายมาให้ตื่นตัวแต่ในทางปฎิบัติกลับมองไม่เห็นเลย อาจเป็นเพราะภัตตาคารร้านอาหารอาจเป็นเพียงธุรกิจเล็กๆ ในสายตาของภาครัฐจึงไม่เห็นความสำคัญ เพราะมีปัญหาที่ใหญ่กว่าอย่างการเมือง ปัญหาภาคใต้ เป็นต้น แต่ความจริงอุตสาหกรรมนี้สร้างรายได้คิดเป็นสัดส่วน 20% ของรายได้รวมที่ได้จากการท่องเที่ยวในแต่ละปี ฉะนั้นหากเป้าหมายรายได้ 2 ล้านล้านบาทในปี 2558 ก็เท่ากับเป็นรายได้ที่มาจากอุตสาหกรรมนี้ถึง 4 แสนล้านบาท”
อย่างไรก็ตาม หากต้องการให้โครงการนี้เกิดขึ้นจริง ขอเสนอให้รับฟังข้อเสนอแนะทั้งจากชมรมร้านอาหารทั้ง 76 จังหวัดทั่วประเทศ และชมรมร้านอาหารไทยในต่างประเทศ จะเป็นข้อมูลสะท้อนถึงปัญหาและความต้องการได้ดี ปัจจุบันร้านอาหารในต่างประเทศเริ่มหันไปนำเข้าวัตถุดิบจากประเทศอื่นแทนจากประเทศไทยเพราะขั้นตอนน้อยกว่า เพราะคนกลุ่มนี้อยู่ในอุตสาหกรรมจริง ส่วนโครงการไทยซีเล็ก ที่นำป้ายมาแจกแก่ร้านอาหารไทย ทั้งที่ไม่มีกระบวนการคัดสรร ไม่มีการคิดต่อยอด ในเรื่องการสร้างแบรนดิ้ง ทุกอย่างที่ทำไปก็เปล่าประโยชน์
รัฐเมินดูแลอาชีพเชฟไทย
นายจำนง นิรังสรรค์ นายกสมาคมพ่อครัวไทย กล่าวว่า อยู่ระหว่างการเดินเรื่องขอยกระดับสมาคมขึ้นเป็นสมาคมเชฟแห่งประเทศไทย เพื่อรวบรวมเครือข่ายเชฟไทยทั่วประเทศให้มีกำลังขับเคลื่อนอาชีพนี้ให้มีความแข็งแกร่งพร้อมรองรับการเปิดเสรีประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (เออีซี) จากปัจจุบัน สมาชิกเฉพาะที่กรุงเทพฯ มี 400 คน จะเพิ่มได้อีก 2-3 เท่าตัว
ปัญหาของเชฟไทยขณะนี้คือ ความเสียเปรียบด้านภาษาอังกฤษ และขาดการเหลียวแลจากภาครัฐอย่างจริงจัง ทุกกิจกรรมที่สร้างชื่อเสียให้ประเทศเป็นการรวบรวมเงินกันเองโดยไม่มีงบรัฐมาสนับสนุน ทั้งที่เชฟไทยมีคุณภาพเป็นที่ยอมรับในเวทีสากล จึงต้องการให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องเข้ามาฝึกอบรมและตั้งมาตรฐานค่าจ้าง เพื่อป้องกันไม่ให้เชฟจากประเทศอาเซียนเข้ามาแย่งอาชีพเชฟไทยเพราะเรียกค่าแรงที่ถูกกว่า
งาน Food & Hotel ปีนี้เงินสะพัด 2 พันล้านบาท
ทางด้าน นายจัสติน พาว ผู้จัดการทั่วไป บริษัท แบงค็อค เอ็กซ์ซิบิชั่น เซอร์วิสเซส จำกัด (บีอีเอส) กล่าวว่า ปี 2555 ได้กำหนดจัดงาน Food & Hotel Thailand 2012 ครั้งที่ 20 ระหว่างวันที่ 5-8 กันยายน 2555 ที่ศูนย์นิทรรศการและการประชุมไบเทค บางนา บนพื้นที่ 15,000 ตารางเมตร เพิ่มจากปีก่อนซึ่งจัดที่พารากอนฮอลล์ ใช้พื้นที่ 12,000 ตารางเมตร ทั้งนี้เพราะมีผู้ซื้อและผู้ขายสนใจเข้าร่วมงานเพิ่มมากขึ้นทุกปีเฉลี่ย 10-20%
สำหรับปีนี้มีผู้ขายมาร่วมออกบูทกว่า 300 ราย จาก 25 ประเทศทั่วโลก นำเสนอสินค้าจากแบรนด์ชั้นนำกว่า 750 แบรนด์ โดยมี 8 ชาติที่มาจัดพาวิลเลียน ได้แก่ เบลเยียม อิตาลี ญี่ปุ่น เกาหลี แอฟริกา ตุรกี สหรัฐอเมริกา สหภาพยุโรป คาดว่าจะมีผู้เข้าชมงาน 26,500 คน เพิ่มจากปีก่อนซึ่งมี 26,408 คน เกิดเงินสะพัดจากการเจรจาธุรกิจไม่น้อยกว่า 2,000 ล้านบาท เพิ่มจากปีก่อนซึ่งมี 1,600 ล้านบาท ไฮไลต์นอกจากการโชว์นวัตกรรมด้านอาหาร และการผลิต ในงานยังมีการจัดสัมมนาในกลุ่มธุรกิจบริการทั้งภาคโรงแรม และร้านอาหาร เป็นต้น นอกจากนั้นยังมีการแข่งขันทำอาหารในเมนูต่างๆ แข่งแกะสลักน้ำแข็ง แข่งขันชิงแชมป์บาริสตาแห่งอาเซียน เป็นต้น