ASTVผู้จัดการรายวัน - ไทยเบฟข่มคู่แข่ง มั่นใจดีลซื้อหุ้นเอฟแอนด์เอ็นชนะแน่ ย้ำสายสัมพันธ์ที่แนบแน่นสองตระกูล
นายสวัสดิ์ โสภะ รองกรรมการผู้อำนวยการใหญ่ สายการผลิตสุราและเทคนิค บริษัท ไทยเบฟเวอเรจ จำกัด (มหาชน) ผู้ผลิตและทำตลาดเครื่องดื่มแอลกอฮอล์และนอนแอลกอฮอล์ ภายใต้ตรา “ช้าง” เปิดเผยถึงกรณีที่มีผู้มาแข่งขันยื่นข้อเสนอการซื้อหุ้นของ บริษัท เอฟแอนด์เอ็น ซึ่งเป็นบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์สิงคโปร์ว่า ไม่ได้มีความกังวลแต่อย่างใด แต่ท้ายที่สุด จะต้องอยู่ที่การพิจารณาของบริษัท เอฟแอนด์เอ็นเป็นหลัก แต่บริษัทฯก็มีความมั่นใจว่าจะได้รับการซื้อหุ้นตามที่ตกลงดังกล่าว เพราะได้ทำสัญญาจะซื้อขายหุ้นสามัญไว้แล้ว คิดเป็นสัดส่วนหุ้นที่จะซื้อประมาณ 22% รวมเป็นเงินทั้งสิ้น2,780 ล้านเหรียญสิงคโปร์ หรือคิดเป็นเงินไทย 70,056 ล้านบาท
แต่ก็ยอมรับว่าการที่ไทยเบฟ จะเข้าไปซื้อหุ้นเอฟแอนด์เอ็น ในสัดส่วน 22% นั้นก็ยังไม่ได้ทำให้ไทยเบฟกลายเป็นผู้ถือหุ้นรายใหญ่ในบริษัทดังกล่าวแต่อย่างใด เพราะกลุ่มผู้ถือหุ้นรายใหญ่ในปัจจุบันเป็นของตระกูล ลี แต่ก็เป็นกลุ่มที่มีความสัมพันธ์ที่ดีกับ บริษัทไทยเบฟ อยู่แล้ว จึงมีความมั่นใจอย่างมาก
ทั้งนี้การเข้าซื้อหุ้นในครั้งนี้ เพราะบริษัทเอฟแอนด์เอ็น ทำธุรกิจที่หลากหลาย ซึ่งสอดคล้องกับธุรกิจของไทยเบฟที่ทำธุรกิจแอลกอฮอล์และนอนแอลกอฮอล์ด้วย จึงน่าจะเป็นส่วนที่ช่วยสร้างเสริมความแข็งแกร่งของธุรกิจให้แก่กัน อีกทั้งใน ปี 2558 จะมีการเปิดประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน หรือ เออีซี ซึ่งบริษัทฯมีนโยบายที่ชัดเจนอยู่แล้วว่า จะขยายการลงทุนไปต่างประเทศต่อเนื่อง โดยเฉพาะตลาดในภูมิภาคอาเซียนที่มีขนาดใหญ่มาก
รายงานข่าวระบุว่า ไทยเบฟ การเข้าซื้อหุ้นของเอฟแอนด์เอ็น ในครั้งนี้ จำนวน 22% จาก ธนาคารโอเวอร์ซี-ไชนีส แบงกิ้ง คอร์ป ซึ่งเป็นธนาคารขนาดใหญ่ อันดับ 2 ของสิงคโปร์ถือครองไว้ พร้อมกับซื้อจาก เกรทอีสต์เทิร์น โฮลดิ้งค์ และ ลี รับเบอร์ คอมพานี พร้อมกันนี้ เตรียมเสนอซื้อหุ้น 8.5% ในบริษัท เอเชียแปซิฟิกบริวเวอรีส์ (เอพีบี) ซึ่งเป็นผู้ผลิตเบียร์รายใหญ่ด้วย
สำหรับ บริษัท เอฟแอนด์เอ็น มีกลุ่มสินค้าในเครือจำนวนมากทั้ง อาหาร เครื่องดื่ม อสังหาริมทรัพย์ และการพิมพ์ สำหรับ บริษัท เอพีบี เป็นผู้ผลิต ไทเกอร์เบียร์ ขณะที่สัดส่วนการถือหุ้นใน เอพีบี ปัจจุบันคือ เอฟแอนด์เอ็น ถือครองหุ้นสัดส่วน40 % และไฮเนเก้นถือหุ้น 42 % ส่วนคู่แข่งที่ประกาศซื้อหุ้น เอพีบี ในครั้งนี้คือ ไฮเนเก้น จะซื้อหุ้นเอพีบี มูลค่าถึง 4,100 ล้านดอลลาร์สหรัฐ และเสนอขอซื้อหุ้นเอฟเอ็นเอ็นจากผู้ถือหุ้นรายอื่นด้วย
นายสวัสดิ์ โสภะ รองกรรมการผู้อำนวยการใหญ่ สายการผลิตสุราและเทคนิค บริษัท ไทยเบฟเวอเรจ จำกัด (มหาชน) ผู้ผลิตและทำตลาดเครื่องดื่มแอลกอฮอล์และนอนแอลกอฮอล์ ภายใต้ตรา “ช้าง” เปิดเผยถึงกรณีที่มีผู้มาแข่งขันยื่นข้อเสนอการซื้อหุ้นของ บริษัท เอฟแอนด์เอ็น ซึ่งเป็นบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์สิงคโปร์ว่า ไม่ได้มีความกังวลแต่อย่างใด แต่ท้ายที่สุด จะต้องอยู่ที่การพิจารณาของบริษัท เอฟแอนด์เอ็นเป็นหลัก แต่บริษัทฯก็มีความมั่นใจว่าจะได้รับการซื้อหุ้นตามที่ตกลงดังกล่าว เพราะได้ทำสัญญาจะซื้อขายหุ้นสามัญไว้แล้ว คิดเป็นสัดส่วนหุ้นที่จะซื้อประมาณ 22% รวมเป็นเงินทั้งสิ้น2,780 ล้านเหรียญสิงคโปร์ หรือคิดเป็นเงินไทย 70,056 ล้านบาท
แต่ก็ยอมรับว่าการที่ไทยเบฟ จะเข้าไปซื้อหุ้นเอฟแอนด์เอ็น ในสัดส่วน 22% นั้นก็ยังไม่ได้ทำให้ไทยเบฟกลายเป็นผู้ถือหุ้นรายใหญ่ในบริษัทดังกล่าวแต่อย่างใด เพราะกลุ่มผู้ถือหุ้นรายใหญ่ในปัจจุบันเป็นของตระกูล ลี แต่ก็เป็นกลุ่มที่มีความสัมพันธ์ที่ดีกับ บริษัทไทยเบฟ อยู่แล้ว จึงมีความมั่นใจอย่างมาก
ทั้งนี้การเข้าซื้อหุ้นในครั้งนี้ เพราะบริษัทเอฟแอนด์เอ็น ทำธุรกิจที่หลากหลาย ซึ่งสอดคล้องกับธุรกิจของไทยเบฟที่ทำธุรกิจแอลกอฮอล์และนอนแอลกอฮอล์ด้วย จึงน่าจะเป็นส่วนที่ช่วยสร้างเสริมความแข็งแกร่งของธุรกิจให้แก่กัน อีกทั้งใน ปี 2558 จะมีการเปิดประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน หรือ เออีซี ซึ่งบริษัทฯมีนโยบายที่ชัดเจนอยู่แล้วว่า จะขยายการลงทุนไปต่างประเทศต่อเนื่อง โดยเฉพาะตลาดในภูมิภาคอาเซียนที่มีขนาดใหญ่มาก
รายงานข่าวระบุว่า ไทยเบฟ การเข้าซื้อหุ้นของเอฟแอนด์เอ็น ในครั้งนี้ จำนวน 22% จาก ธนาคารโอเวอร์ซี-ไชนีส แบงกิ้ง คอร์ป ซึ่งเป็นธนาคารขนาดใหญ่ อันดับ 2 ของสิงคโปร์ถือครองไว้ พร้อมกับซื้อจาก เกรทอีสต์เทิร์น โฮลดิ้งค์ และ ลี รับเบอร์ คอมพานี พร้อมกันนี้ เตรียมเสนอซื้อหุ้น 8.5% ในบริษัท เอเชียแปซิฟิกบริวเวอรีส์ (เอพีบี) ซึ่งเป็นผู้ผลิตเบียร์รายใหญ่ด้วย
สำหรับ บริษัท เอฟแอนด์เอ็น มีกลุ่มสินค้าในเครือจำนวนมากทั้ง อาหาร เครื่องดื่ม อสังหาริมทรัพย์ และการพิมพ์ สำหรับ บริษัท เอพีบี เป็นผู้ผลิต ไทเกอร์เบียร์ ขณะที่สัดส่วนการถือหุ้นใน เอพีบี ปัจจุบันคือ เอฟแอนด์เอ็น ถือครองหุ้นสัดส่วน40 % และไฮเนเก้นถือหุ้น 42 % ส่วนคู่แข่งที่ประกาศซื้อหุ้น เอพีบี ในครั้งนี้คือ ไฮเนเก้น จะซื้อหุ้นเอพีบี มูลค่าถึง 4,100 ล้านดอลลาร์สหรัฐ และเสนอขอซื้อหุ้นเอฟเอ็นเอ็นจากผู้ถือหุ้นรายอื่นด้วย