เมื่อเวลา 09.00 น. วานนี้ (26 ก.ค.) ที่ตึกสันติไมตรี ทำเนียบรัฐบาล น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี เป็นประธานการประชุมเชิงปฏิบัติการ เพื่อเตรียมพร้อมเข้าสู่ประชาคมอาเซียน 2558 ( AEC ) ซึ่งการประชุมจะเริ่มตั้งแต่เวลา 09.00 – 16.00 น. โดยนายกรัฐมนตรี กล่าวตอนหนึ่งในการประชุมว่า การประชุมครั้งนี้เป็นการรวมกันของทุกกระทรวง เพื่อเสนอแนวทางและการเตรียมความพร้อมของแต่ละกระทรวง ในการเข้าสู่ประชาคมอาเซียน และจะมีการจัดประชุมเพื่อเตรียมความพร้อมอีกหลายครั้ง
นายกฯ กล่าวว่า การประชุมอาเซียนนั้นถือเป็นวาระแห่งชาติ และหนึ่งในนโยบายของรัฐบาลที่อยากเห็นการเตรียมความพร้อมของหน่วยงานภาครัฐ ภาคเอกชน และภาคประชาชน โดยการจัดสัมมนาในวันนี้ จะเป็นการทำเวิร์กชอปเพื่อบูรณาการ 3 เสาหลักของอาเซียน คือ 1.ด้านประชาคมเศรษฐกิจ 2. ด้านประชาคมการเมืองและความมั่นคง และ 3. ด้านประชาคมสังคมและวัฒนธรรม โดยเบื้องต้นเราจะคุยภาพรวมของ 3 เสาหลัก เพื่อให้เกิดการบูรณาการของแต่ละกระทรวงพร้อมๆกัน ซึ่งครั้งนี้จะให้ทุกกระทรวงเสนอแผนในการเตรียมความพร้อมของแต่ละกระทรวง และจะรวบรวมในนามของภาครัฐทั้งหมด และครั้งต่อไปจะเป็นการหารือเพื่อทำเวิร์กชอปกับภาคเอกชน ซึ่งภาคเอกชนจะต้องมาคุยกันถึงความพร้อมในการทำงานร่วมกัน จากนั้น จะเป็นการวิเคราะห์และประมวลผลทั้งภาครัฐและเอกชนรวมกันเพื่อเขียนเป็นแผนแม่บท
นายกฯ กล่าวอีกว่า การที่เราจะเป็นตลาดฐานผลิตเดียวเพื่อรองรับนั้นถือเป็นกลยุทธ์ที่สำคัญในกลุ่มอาเซียน ขณะเดียวกันเราต้องมีการเตรียมตัวให้มีศักยภาพในการแข่งขัน เมื่อเทียบกับอาเซียน วันนี้ตนคาดหวังว่า ในแต่ละกระทรวงจะมีการเสนอเนื้อหา ซึ่งสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ก็จะส่งแนวทางในหัวของการเตรียมความพร้อมมา
ทั้งนี้ในการประชุมช่วงเช้า จะเป็นการรับฟังอย่างเดียว และในช่วงบ่ายจะเป็นการหารือว่าจะดำเนินการอย่างไร
** เตรียมบูรณาการข้ามกระทรวง
นายกิตติรัตน์ ณ ระนอง รองนายกรัฐมนตรี และรมว.คลัง แถลงภายหลังการประชุม ว่า ในการหารือ นายกรัฐมนตรี ได้ขอให้ทุกกระทรวง นำเสนอการทำงานเพื่อการเตรียมความพร้อมในระดับกระทรวง ซึ่งเห็นได้ชัดว่าในระดับของกระทรวง มีความพร้อมที่ดี และแต่ละกระทรวง ก็ได้ข้อสังเกตที่ดีจากนายกฯ และรัฐมนตรีอื่นๆ ที่แสดงความเห็นข้ามกระทรวง
สำหรับการทำงานในขั้นต่อไปคือ การบูรณาการข้ามกระทรวง กลุ่มกระทรวงเศรษฐกิจ 9 กระทรวง จะต้องทำงานประสานกัน เช่น กระทรวงอุตสาหกรรม กระทรวงพาณิชย์ กระทรวงการคลัง กระทรวงท่องเที่ยวและกีฬา กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ฯลฯ
ทั้งนี้ นายกฯได้ขอให้นำความคืบหน้าของแต่ละกระทรวง มาปรึกษาหารือข้ามกระทรวง โดยมีการแบ่งกลุ่มรับผิดชอบ และให้นำมาเสนออีกครั้ง ภายในสัปดาห์ที่ 3 ของเดือนสิงหาคม และเมื่อทบทวนแล้ว มีความพร้อมตามที่ตั้งเป้าไว้ ก็จะทำงานบูรณาการกับภาคเอกชน จากนั้นภาคเอกชน และภาคประชาชน ก็จะมีการประสานงานกันต่อไปเป็นขั้นตอน เพื่อให้ประชาชนมีความพร้อม
สำหรับงานด้านการบูรณาการนั้นนายกฯ ได้มีการมอบหมาย โดยการแบ่งกลุ่มงานเป็น 5 กลุ่ม กลุ่มแรกงานด้านประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน ได้แก่ กระทรวงต่างๆ ที่อยู่ทางด้านเศรษฐกิจทั้งหมด โดยตนมีหน้าที่ประสานงานกับองกรภาคเอกชน ได้แก่ สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย สภาหอการค้าไทย สมาคมธนาคารไทย และสภาธุรกิจการท่องเที่ยว
2. กลุ่มประชาคมด้านสังคม และวัฒนธรรม กระทรวงพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ จะทำหน้าที่หลัก
3. ประชาคมด้านการเมือง และความมั่นคง กระทรวงต่างประเทศทำหน้าที่เป็นผู้ประสาน
ส่วนอีก 2 ด้าน คือ การแยกส่วนของงานการเชื่อมโยงทางโลจิสติกส์ ซึ่งถือเป็นเรื่องใหญ่ ที่เกี่ยวข้องกับทั้ง 3 ด้าน ซึ่งกระทรวงคมนาคม จะเป็นผู้รับผิดชอบ
สำหรับด้านที่ 5 คือ ด้านทรัพยากรมนุษย์ ได้แก่ กระทรวงแรงงาน และกระทรวงศึกษาธิการ เพื่อเตรียมคนให้มีความพร้อมในการทำงานทุกๆ ด้าน
นายกิตติรัตน์ กล่าวว่า อีกส่วนสำคัญที่นายกฯ มอบหมาย คือการดูแลเชิงพื้นที่ ได้มอบหมายให้ นายยงยุทธ วิชัยดิษฐ รองนายกรัฐมนตรี และรมว.มหาดไทย เป็นผู้ดูแล ว่าหน่วยงานต่างๆ สามารถดูแลครอบคลุมได้ทุกพื้นที่หรือไม่ โดยเฉพาะพื้นที่แนวชายแดน เขตติดต่อกับประเทศสมาชิกอาเซียน และพื้นที่ที่ต้องติดต่อกับประเทศสมาชิกทางทะเลด้วย ดังนั้นในมิติทั้ง 5 ด้านนี้ จะเป็นกรอบในการทำงานขั้นต่อไป
รองนายกฯ กล่าวว่า สำหรับการประชุมในสัปดาห์ที่ 3 ของเดือนสิงหาคมนั้น จะมีการเสนอเป็นกลุ่มว่า แต่ละกลุ่มมีทิศทางในการทำงานเป็นอย่างไร โดยเป็นการลงในรายละเอียด ทั้งนี้ยอมรับว่าการเตรียมความพร้อมไปสู่ประชาคมอาเซียนนั้นไม่ใช่เรื่องง่าย
** กห.สั่งผผบ.เหล่าทัพจัดทำแผนงาน
พ.อ.ธนาธิป สว่างแสง โฆษกกระทรวงกลาโหม แถลงผลการประชุมสภากลาโหม ที่มี พล.อ.อ.สุกำพล สุวรรณทัต รมว.กลาโหม เป็นประธานว่า ในโอกาสที่ประเทศไทยจะเข้าสู่การเป็นประชาคมอาเซียนในปี 2558 กระทรวงกลาโหม ซึ่งเป็นหน่วยงานหลักด้านความมั่นคงของประเทศ จึงต้องมีการปรับเปลี่ยนบทบาท และท่าทีให้สามารถรองรับการเข้าสู่การเป็นประชาคมอาเซียนได้อย่างมีประสิทธิภาพ
ทั้งนี้ สมาชิกสภากลาโหม ได้ให้ความเห็นชอบร่างแนวทางปฏิบัติของกระทรวงกลาโหม ในการรองรับการจัดตั้งประชาคมอาเซียน ในปี 2558 โดยมีแนวทางการปฏิบัติฯ ประกอบด้วย 3 ด้าน ได้แก่
1. ด้านกำลังพล การฝึกศึกษา การใช้ภาษาอังกฤษและภาษาของชาติในอาเซียน การพัฒนารูปแบบการฝึกร่วมผสม การปรับปรุงหลักสูตรโรงเรียนเสนาธิการเหล่าทัพ เพื่อรองรับต่างชาติได้มากขึ้น
2. ด้านการจัดทำงบประมาณ ปรับปรุงแผนปฏิบัติราชการ 4 ปี (2555-58) ปรับปรุงแผนปฏิบัติราชการประจำปี
3. ด้านการพัฒนาการบริหารจัดการ บูรณาการกิจกรรมต่างๆ ของอาเซียน เช่น การประชุมผู้บัญชาการทหารสูงสุดอาเซียน อย่างไม่เป็นทางการ, การประชุมผู้บัญชาการเหล่าทัพอาเซียนดำเนินการต่อผลการประชุม ADMM และ ADMM-Plus ทั้ง 9 ฉบับ ให้เป็นรูปธรรมจัดตั้งกลไกการขับเคลื่อนความร่วมมือในกรอบอาเซียน กฎ ระเบียบ ที่ล้าสมัยของเหล่าทัพให้ทันสมัย ปรับปรุงแผนป้องกันประเทศ และภารกิจกองกำลังป้องกันชายแดน ให้สอดคล้องกับการเป็นประชาคมอาเซียนด้วยการเตรียมความพร้อมของหน่วย, ยุทโธปกรณ์, บุคลากร ให้มีความเป็นสากล โดย รมว.กลาโหม ขอให้หัวหน้าหน่วยขึ้นตรงกระทรวงกลาโหม และผู้บัญชาการเหล่าทัพ ได้ถือเป็นเรื่องสำคัญ และจัดทำแผนงาน โครงการ และงบประมาณประจำปี 2556-58 ให้แล้วเสร็จภายในเดือนกันยายนนี้ เพื่อให้กระทรวงกลาโหม สามารถส่งข้อมูลให้กับคณะกรรมการอาเซียนแห่งชาติต่อไป
นายกฯ กล่าวว่า การประชุมอาเซียนนั้นถือเป็นวาระแห่งชาติ และหนึ่งในนโยบายของรัฐบาลที่อยากเห็นการเตรียมความพร้อมของหน่วยงานภาครัฐ ภาคเอกชน และภาคประชาชน โดยการจัดสัมมนาในวันนี้ จะเป็นการทำเวิร์กชอปเพื่อบูรณาการ 3 เสาหลักของอาเซียน คือ 1.ด้านประชาคมเศรษฐกิจ 2. ด้านประชาคมการเมืองและความมั่นคง และ 3. ด้านประชาคมสังคมและวัฒนธรรม โดยเบื้องต้นเราจะคุยภาพรวมของ 3 เสาหลัก เพื่อให้เกิดการบูรณาการของแต่ละกระทรวงพร้อมๆกัน ซึ่งครั้งนี้จะให้ทุกกระทรวงเสนอแผนในการเตรียมความพร้อมของแต่ละกระทรวง และจะรวบรวมในนามของภาครัฐทั้งหมด และครั้งต่อไปจะเป็นการหารือเพื่อทำเวิร์กชอปกับภาคเอกชน ซึ่งภาคเอกชนจะต้องมาคุยกันถึงความพร้อมในการทำงานร่วมกัน จากนั้น จะเป็นการวิเคราะห์และประมวลผลทั้งภาครัฐและเอกชนรวมกันเพื่อเขียนเป็นแผนแม่บท
นายกฯ กล่าวอีกว่า การที่เราจะเป็นตลาดฐานผลิตเดียวเพื่อรองรับนั้นถือเป็นกลยุทธ์ที่สำคัญในกลุ่มอาเซียน ขณะเดียวกันเราต้องมีการเตรียมตัวให้มีศักยภาพในการแข่งขัน เมื่อเทียบกับอาเซียน วันนี้ตนคาดหวังว่า ในแต่ละกระทรวงจะมีการเสนอเนื้อหา ซึ่งสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ก็จะส่งแนวทางในหัวของการเตรียมความพร้อมมา
ทั้งนี้ในการประชุมช่วงเช้า จะเป็นการรับฟังอย่างเดียว และในช่วงบ่ายจะเป็นการหารือว่าจะดำเนินการอย่างไร
** เตรียมบูรณาการข้ามกระทรวง
นายกิตติรัตน์ ณ ระนอง รองนายกรัฐมนตรี และรมว.คลัง แถลงภายหลังการประชุม ว่า ในการหารือ นายกรัฐมนตรี ได้ขอให้ทุกกระทรวง นำเสนอการทำงานเพื่อการเตรียมความพร้อมในระดับกระทรวง ซึ่งเห็นได้ชัดว่าในระดับของกระทรวง มีความพร้อมที่ดี และแต่ละกระทรวง ก็ได้ข้อสังเกตที่ดีจากนายกฯ และรัฐมนตรีอื่นๆ ที่แสดงความเห็นข้ามกระทรวง
สำหรับการทำงานในขั้นต่อไปคือ การบูรณาการข้ามกระทรวง กลุ่มกระทรวงเศรษฐกิจ 9 กระทรวง จะต้องทำงานประสานกัน เช่น กระทรวงอุตสาหกรรม กระทรวงพาณิชย์ กระทรวงการคลัง กระทรวงท่องเที่ยวและกีฬา กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ฯลฯ
ทั้งนี้ นายกฯได้ขอให้นำความคืบหน้าของแต่ละกระทรวง มาปรึกษาหารือข้ามกระทรวง โดยมีการแบ่งกลุ่มรับผิดชอบ และให้นำมาเสนออีกครั้ง ภายในสัปดาห์ที่ 3 ของเดือนสิงหาคม และเมื่อทบทวนแล้ว มีความพร้อมตามที่ตั้งเป้าไว้ ก็จะทำงานบูรณาการกับภาคเอกชน จากนั้นภาคเอกชน และภาคประชาชน ก็จะมีการประสานงานกันต่อไปเป็นขั้นตอน เพื่อให้ประชาชนมีความพร้อม
สำหรับงานด้านการบูรณาการนั้นนายกฯ ได้มีการมอบหมาย โดยการแบ่งกลุ่มงานเป็น 5 กลุ่ม กลุ่มแรกงานด้านประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน ได้แก่ กระทรวงต่างๆ ที่อยู่ทางด้านเศรษฐกิจทั้งหมด โดยตนมีหน้าที่ประสานงานกับองกรภาคเอกชน ได้แก่ สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย สภาหอการค้าไทย สมาคมธนาคารไทย และสภาธุรกิจการท่องเที่ยว
2. กลุ่มประชาคมด้านสังคม และวัฒนธรรม กระทรวงพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ จะทำหน้าที่หลัก
3. ประชาคมด้านการเมือง และความมั่นคง กระทรวงต่างประเทศทำหน้าที่เป็นผู้ประสาน
ส่วนอีก 2 ด้าน คือ การแยกส่วนของงานการเชื่อมโยงทางโลจิสติกส์ ซึ่งถือเป็นเรื่องใหญ่ ที่เกี่ยวข้องกับทั้ง 3 ด้าน ซึ่งกระทรวงคมนาคม จะเป็นผู้รับผิดชอบ
สำหรับด้านที่ 5 คือ ด้านทรัพยากรมนุษย์ ได้แก่ กระทรวงแรงงาน และกระทรวงศึกษาธิการ เพื่อเตรียมคนให้มีความพร้อมในการทำงานทุกๆ ด้าน
นายกิตติรัตน์ กล่าวว่า อีกส่วนสำคัญที่นายกฯ มอบหมาย คือการดูแลเชิงพื้นที่ ได้มอบหมายให้ นายยงยุทธ วิชัยดิษฐ รองนายกรัฐมนตรี และรมว.มหาดไทย เป็นผู้ดูแล ว่าหน่วยงานต่างๆ สามารถดูแลครอบคลุมได้ทุกพื้นที่หรือไม่ โดยเฉพาะพื้นที่แนวชายแดน เขตติดต่อกับประเทศสมาชิกอาเซียน และพื้นที่ที่ต้องติดต่อกับประเทศสมาชิกทางทะเลด้วย ดังนั้นในมิติทั้ง 5 ด้านนี้ จะเป็นกรอบในการทำงานขั้นต่อไป
รองนายกฯ กล่าวว่า สำหรับการประชุมในสัปดาห์ที่ 3 ของเดือนสิงหาคมนั้น จะมีการเสนอเป็นกลุ่มว่า แต่ละกลุ่มมีทิศทางในการทำงานเป็นอย่างไร โดยเป็นการลงในรายละเอียด ทั้งนี้ยอมรับว่าการเตรียมความพร้อมไปสู่ประชาคมอาเซียนนั้นไม่ใช่เรื่องง่าย
** กห.สั่งผผบ.เหล่าทัพจัดทำแผนงาน
พ.อ.ธนาธิป สว่างแสง โฆษกกระทรวงกลาโหม แถลงผลการประชุมสภากลาโหม ที่มี พล.อ.อ.สุกำพล สุวรรณทัต รมว.กลาโหม เป็นประธานว่า ในโอกาสที่ประเทศไทยจะเข้าสู่การเป็นประชาคมอาเซียนในปี 2558 กระทรวงกลาโหม ซึ่งเป็นหน่วยงานหลักด้านความมั่นคงของประเทศ จึงต้องมีการปรับเปลี่ยนบทบาท และท่าทีให้สามารถรองรับการเข้าสู่การเป็นประชาคมอาเซียนได้อย่างมีประสิทธิภาพ
ทั้งนี้ สมาชิกสภากลาโหม ได้ให้ความเห็นชอบร่างแนวทางปฏิบัติของกระทรวงกลาโหม ในการรองรับการจัดตั้งประชาคมอาเซียน ในปี 2558 โดยมีแนวทางการปฏิบัติฯ ประกอบด้วย 3 ด้าน ได้แก่
1. ด้านกำลังพล การฝึกศึกษา การใช้ภาษาอังกฤษและภาษาของชาติในอาเซียน การพัฒนารูปแบบการฝึกร่วมผสม การปรับปรุงหลักสูตรโรงเรียนเสนาธิการเหล่าทัพ เพื่อรองรับต่างชาติได้มากขึ้น
2. ด้านการจัดทำงบประมาณ ปรับปรุงแผนปฏิบัติราชการ 4 ปี (2555-58) ปรับปรุงแผนปฏิบัติราชการประจำปี
3. ด้านการพัฒนาการบริหารจัดการ บูรณาการกิจกรรมต่างๆ ของอาเซียน เช่น การประชุมผู้บัญชาการทหารสูงสุดอาเซียน อย่างไม่เป็นทางการ, การประชุมผู้บัญชาการเหล่าทัพอาเซียนดำเนินการต่อผลการประชุม ADMM และ ADMM-Plus ทั้ง 9 ฉบับ ให้เป็นรูปธรรมจัดตั้งกลไกการขับเคลื่อนความร่วมมือในกรอบอาเซียน กฎ ระเบียบ ที่ล้าสมัยของเหล่าทัพให้ทันสมัย ปรับปรุงแผนป้องกันประเทศ และภารกิจกองกำลังป้องกันชายแดน ให้สอดคล้องกับการเป็นประชาคมอาเซียนด้วยการเตรียมความพร้อมของหน่วย, ยุทโธปกรณ์, บุคลากร ให้มีความเป็นสากล โดย รมว.กลาโหม ขอให้หัวหน้าหน่วยขึ้นตรงกระทรวงกลาโหม และผู้บัญชาการเหล่าทัพ ได้ถือเป็นเรื่องสำคัญ และจัดทำแผนงาน โครงการ และงบประมาณประจำปี 2556-58 ให้แล้วเสร็จภายในเดือนกันยายนนี้ เพื่อให้กระทรวงกลาโหม สามารถส่งข้อมูลให้กับคณะกรรมการอาเซียนแห่งชาติต่อไป