วานนี้(24 ก.ค.55) เมื่อเวลา 10.00 น. นายศรีสุวรรณ จรรยา นายกสมาคมต่อต้านสภาวะโลกร้อน และประชาชนเครือข่ายคัดค้านสร้างเขื่อนแม่วงก์ จ.นครสวรรค์ รวม 151 คน ได้ยื่นฟ้องน.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี , คณะรัฐมนตรี ( ครม.) , นายเลิศวิโรจน์ โกวัฒนะ อธิบดีกรมชลประทาน และนายธีระวงศ์สมุทร รมว.กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เป็นผู้ถูกฟ้องที่ 1 - 4 ต่อแผนกคดีสิ่งแวดล้อม เรื่องเป็นเจ้าหน้าที่ของรัฐกระทำการโดยไม่ชอบและละเลยต่อหน้าที่ตามที่กฎหมายกำหนดให้ต้องปฏิบัติ จากกรณีที่เห็นชอบหรืออนุมัติ หรืออนุญาตให้หน่วยงานของรัฐที่เกี่ยวข้องสามารถดำเนินโครงการหรือกิจกรรม เพื่อนำไปสู่การก่อสร้างเขื่อนแม่วงก์ ซึ่งเป็นโครงการที่อาจก่อให้เกิดผลกระทบต่อชุมชนอย่างรุนแรงทั้งด้านคุณภาพสิ่งแวดล้อม ทรัพยากรธรรมชาติ และสุขภาพตามรัฐธรรมนูญฯ พ.ศ. 2550 ม.67 วรรค 2 ที่ไม่ได้นำข้อคัดค้านของผู้ฟ้องคดีหรือชาวบ้านไปดำเนินการหรือรับฟังข้อมูลผลกระทบต่างๆ ที่จะตามมาอย่างรอบด้านจากชาวบ้าน หรือผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย
โดยคำฟ้องระบุว่า ผู้ถูกฟ้องที่ 3 - 4 พยายามที่จะก่อสร้างหรือดำเนินโครงการเขื่อนแม่วงก์ขึ้น เพื่อกั้นแม่น้ำแม่วงก์ที่เป็นเพียงสายน้ำหนึ่งในลุ่มน้ำสะแกกรังที่มีอยู่หลายสาย ในพื้นที่ป่าอนุรักษ์ของชาติหรือพื้นที่ต้องห้ามตามพ.ร.บ.อุทยานแห่งชาติ พ.ศ. 2540 ที่มีความอุดมสมบูรณ์ และความหลากหลายธรรมชาติของพืชพันธุ์ของชาติและของโลก รวมทั้งจะกระทบต่อสัตว์ป่าสงวนและสัตว์ป่าคุ้มครองตามพ.ร.บ.สงวนและคุ้มครองสัตว์ป่า พ.ศ. 2535 ซึ่งมีถิ่นที่อยู่ภายในพื้นที่อุทยานแห่งชาติแม่วงก์ที่ครอบคลุมอำเภอปางศิลาทอง จ.กำแพงเพชร และอำเภอแม่วงก์ กิ่งอำเภอแม่เปิน จ.นครสวรรค์ โดยใช้ข้ออ้างในการดำเนินโครงการว่าเพื่อแก้ปัญหาการขาดแคลนน้ำในการทำเกษตรและการป้องกันอุทกภัยที่มักเกิดขึ้นเป็นประจำทุกปี รวมทั้งการผลิตกระแสไฟฟ้าเพื่อพัฒนาชาติ และเพื่อพัฒนาเป็นแหล่งท่องเที่ยว ซึ่งผู้ถูกฟ้องที่ 3 - 4 พยายามสร้างตัวเลขให้เกินจุดคุ้มทุนในทางเศรษฐศาสตร์
ทั้งนี้ผู้ฟ้องขอให้ศาลพิพากษาเพิกถอนมติของผู้ถูกฟ้องที่ 1 - 2 เมื่อวันที่ 10 เม.ย.55 ที่เห็นชอบการก่อสร้างเขื่อนแม่วงก์ในส่วนที่ไม่ถูกต้องตามขั้นตอนของกฎหมาย โดยให้ผู้ถูกฟ้องร่วมกันจัดให้มีการจัดทำประชามติความเห็นของประชาชนทั่วประเทศอย่างทั่วถึงตามรัฐธรรมนูญฯ มาตรา 165 และพ.ร.บ.ว่าด้วยการออกเสียงประชามติ พ.ศ. 2552 และให้ผู้ถูกฟ้องดำเนินการตามรัฐธรรมนูญฯ มาตรา 57 - 58 , 67, 85 และ 87 ให้ครบถ้วนก่อนดำเนินโครงการ
ซึ่งศาลปกครองแผนกคดีสิ่งแวดล้อม รับคำฟ้องไว้เป็นคดีดำ ส.490/2555 โดยจะพิจารณาและมีคำสั่งต่อไปว่าจะรับคำฟ้องไว้เพื่อมีคำพิพากษาหรือไม่
ด้านนายศรีสุวรรณ นายกสมาคมต่อต้านสภาวะโลกร้อน กล่าวว่า ประชาชนส่วนใหญ่ต่างคัดค้าน ไม่เห็นด้วยกับการสร้างเขื่อนแม่วงก์ เนื่องจากโครงการนี้มีผลเสียมากกว่าผลดี และได้มีการยื่นหนังสือคัดค้านหลายครั้งแล้ว แต่นายกรัฐมนตรี ครม. อธิบดีกรมชลประทาน และรมว.กระทรวงเกษตร ฯ ไม่ได้สนใจต่อข้อเรียกร้องของประชาชน ใช้อำนาจทางปกครองเห็นชอบอนุมัติดำเนินโครงการเขื่อนแม่วงก์ ถือเป็นพฤติกรรมอันเป็นการละเมิดสิทธิของชุมชนและประชาชน อันอาจนำมาซึ่งความเดือดร้อนและเสียหายต่อประชาชน ทรัพยากรธรรมชาติ และสิ่งแวดล้อมต่างๆ ได้ ตนและประชาชนที่ไม่เห็นด้วยจึงต้องมาร้องต่อศาลปกครอง
**3 ข้อทีโออาร์ ไม่ชัดเจน
ที่ห้องประชุมสำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) คณะกรรมการการบริหารจัดการน้ำและอุทกภัย (กบอ.) ได้ชี้แจงเกณฑ์การคัดเลือก ออกแบบโครงการบริหารจัดการน้ำ วงเงินงบประมาณ 3.4 แสนล้าน ให้แก่บริษัทในประเทศ และต่างประเทศที่มาขอรับเอกสารการจัดซื้อจัดจ้าง (ทีโออาร์)
ซึ่งก่อนหน้านี้ เมื่อวันที่ 20 กรกฎาคม วิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ (วสท.) ออกแถลงการณ์ฉบับที่ 1 ในประเด็น: TOR ประกาศเชิญชวนผู้สนใจเข้าร่วมเสนอกรอบแนวคิด (Conceptual Plan) เพื่อออกแบบก่อสร้างระบบการบริหารจัดการทรัพยากรน้ำอย่างยั่งยืนและระบบแก้ไขปัญหา อุทกภัยของประเทศไทย
เบื้องต้น วสท. มีข้อสังเกต ถึงความไม่เหมาะสมของรายละเอียด Conceptual Plan ซึ่งวิเคราะห์จากประเด็นหลักของคุณสมบัติผู้ยื่นข้อเสนอที่ระบุไว้ ในหัวข้อ 2.2 ที่กล่าวไว้ดังนี้
"ผู้ยื่นข้อเสนอต้องเคยมีผลงานด้านการออกแบบระบบการพัฒนา แหล่งน้ำขนาดใหญ่หรืองานออกแบบหรือก่อสร้างเขื่อนหรืออ่างเก็บน้ำขนาดใหญ่ หรืองาน ออกแบบหรือก่อสร้างระบบป้องกันหรือแก้ไขปัญหาอุทกภัยแล้งในช่วงระหว่าง ปี 2545-2555 ใน ประเทศไทยหรือในต่างประเทศ มูลค่าการก่อสร้าง ไม่น้อยกว่าสามหมื่นล้านบาท
ในกรณีผู้ยื่น ข้อเสนอเป็นกลุ่มของนิติบุคคลในลักษณะ Consortium หรือ Joint Venture มูลค่าผลงาน ดังกล่าวให้นับรวมผลงานของแต่ละนิติบุคคลเข้าด้วยกัน แต่ผลงานที่จะน้ามานับรวมเข้าด้วยกัน นั้นอย่างน้อยต้องมีมูลค่าการก่อสร้างไม่ต่ำกว่าผลงานละสองพันล้านบาท"
**วสท.ติดเบรก รัฐชะลอไปก่อน
จากคุณสมบัติดังกล่าวนี้ ทำให้เกิดความไม่ชัดเจนไม่เหมาะสม และเป็นประเด็นที่ต้องวิพากษ์ ดังนี้
1. TOR นี้ เน้นในเรื่องของการออกแบบและก่อสร้างเท่านั้น โดยมิได้ให้ความสำคัญและละเลยการศึกษาความเหมาะสมของโครงการ ซึ่งคุณสมบัติของผู้ยื่นข้อเสนอควรระบุให้มีผลงาน การศึกษาความเหมาะสมของโครงการด้านการพัฒนาแหล่งน้ำ และจะต้องมีคุณสมบัติเป็นผู้มีสิทธิ์ จัดทำรายงานผลกระทบสิ่งแวดล้อมของโครงการภายใต้กฎหมายไทย
2. การขาดคุณสมบัติดังกล่าวตามข้อ 1 เห็นได้ว่ารัฐบาลพยายามที่จะรวบรัดหรือข้ามขั้นตอนใน การจัดทำโครงการต่างๆอย่างถูกต้องตามหลักวิชาการ จึงอาจขาดความรอบคอบที่จะศึกษาหาทาง เลือกที่เหมาะสมของแต่ละโครงการ ซึ่งจำเป็นต้องวิเคราะห์เปรียบเทียบทางเลือกต่าง ๆ ที่ทำให้ เกิดการยอมรับโดยเกิดผลกระทบต่อชุมชน สังคม และสภาพสิ่งแวดล้อมในภาพรวมน้อยที่สุด ทั้งนี้โครงการขนาดใหญ่ไม่อาจหลีกเลี่ยงกระบวนการศึกษาผลกระทบสิ่งแวดล้อมภายใต้กฎหมาย และ พ.ร.บ. สิ่งแวดล้อมได้
3. ในการกำหนดคุณสมบัติผู้ยื่นข้อเสนอที่ต้องมีผลงานมูลค่าการก่อสร้างไม่น้อยกว่าสามหมื่นล้านบาทนั้น มีข้อสังเกตว่าบริษัทนิติบุคคลไทยมีเพียงไม่กี่รายเท่านั้นที่จะผ่านหลักเกณฑ์ที่รัฐกำหนด ข้อสังเกตเบื้องต้นในประเด็นนี้ จึงอาจเป็นการเอื้อประโยชน์แก่บริษัทต่างชาติเข้ามาเป็นผู้นำในการรวมกลุ่มของผู้ยื่นข้อเสนอ
ในฐานะองค์กรวิชาชีพวิศวกรรมของประเทศ มีความเห็นเพิ่มเติมว่า วิศวกรและนิติบุคคลไทยมีขีดความสามารถเพียงพอในการเป็นผู้น้าที่จะเสนอกรอบแนวคิดดังกล่าว ดังนั้นในการรวมกลุ่ม ของผู้ยื่นข้อเสนอ ควรให้นิติบุคคลไทยเป็นผู้นำในการรวมกลุ่ม แทนที่จะกำหนดให้นิติบุคคลที่เข้า รวมกลุ่มยื่นข้อเสนอต้องมีนิติบุคคลอย่างน้อย 1 นิติบุคคลซึ่งเป็นนิติบุคคลตามกฎหมายไทย ตามที่ระบุในคุณสมบัติข้อที่ 2.1 ใน TOR
ส่วนแผนระยะยาว ที่จะใช้เป็นกรอบดำเนินการต่อไป และเป็นโครงการทต้องใช้ระยะเวลานานในการดำเนินงานตามขั้นตอนอย่างเหมาะสมตามหลัก วิชาวิศวกรรม จึงไม่มีความจำเป็นต้องเร่งรีบ ควรมีการศึกษาอย่างรอบคอบ
ทั้งนี้วิศวกรไทยมีองค์ความรู้มากเพียงพอ ไม่จำเป็นต้องใช้บริษัทต่างชาติเข้ามาดำเนินการ ดังนั้นจึงควรปรับคุณสมบัติของผู้ยื่นข้อเสนอเพื่อเปิดกว้างในประเด็นนี้ โดยเน้นให้มีผลงานการศึกษาความ เหมาะสมของโครงการในด้านการพัฒนาแหล่งน้ำ และกำหนดมูลค่าของผลงานของผู้ยื่นข้อเสนอ อย่างสมเหตุสมผล
วสท.ขอสนับสนุนให้รัฐบาลเร่งดำเนินโครงการ เพื่อแก้ปัญหา น้ำระยะสั้นก่อน ส่วนการแก้ปัญหาระยะยาวควรจะ ต้องชะลอไว้ก่อน เพราะมีความจำเป็นต้อง พิจารณาอย่างรอบคอบ และคำนึงถึงความคุ้มค่า ในการดำเนินการ โดยการจัดทำTOR ของโครงการ ควรมีกลุ่มที่ปรึกษาที่เข้าใจหลักวิชาการ ด้านการวางแผน และการจัดการโครงการด้านวิศวกรรม มีประสบการณ์และมีความเชี่ยวชาญ ทั้งทางด้านการบริหารจัดการน้ำ ด้านสิ่งแวดล้อม และโครงสร้างพื้นฐาน มาให้ค้าแนะนำที่ถูกต้อง
**ปชป. จี้เปิดอีไอเอ-ราคากลาง
ที่ศาลอุทธรณ์ นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ ผู้นำฝ่ายค้านฯ กล่าวถึงกรณีที่มีหลายฝ่ายออกมาแสดงความกังวลว่าการก่อสร้างในโครงการป้องกันน้ำท่วมยังมีความคืบหน้าน้อยอาจไม่ทันต่อสถานการณ์ว่า อยากให้รัฐบาลติดตามใกล้ชิด เนื่องจากในขณะนี้มีคำเตือนจากกรมอุตุนิยมวิทยาเกี่ยวกับพายุที่จะส่งผลกระทบต่อประเทศไทย แต่ความสนใจของรัฐบาลกลับไปอยู่ที่การทำโครงการขนาดใหญ่ระยะยาว ในเรื่องการเหมาประมูล 3 แสนล้านบาท ด้วยการยกเว้นระเบียบต่างๆ ทั้งที่โครงการก็ขาดความชัดเจนในแง่ขั้นตอนที่ต้องผ่านความเห็นชอบตามกฎหมายด้วย ส่วนที่นายปลอดประสพ สุรัสวดี รมว.วิทยาศาสตร์ฯ จะเดินหน้าทำต่อนั้น ตนคิดว่า หากไม่ทำตามกฎหมายตั้งแต่ต้นจะเป็นปัญหาสำหรับคนที่เข้ามาลงทุนด้วย ซึ่งจะกระทบหลายด้านจึงอยากให้รัฐบาลมีความโปร่งใสในเรื่องนี้
**ผู้มีอำนาจจ้อง6พันล้านค่าที่ปรึกษา
นายชวนนท์ อินทรโกมาลย์สุต โฆษกพรรคประชาธิปัตย์ แถลงว่า พรรคประชาธิปัตย์จะตั้งขณะทำงานเพื่อตรวจสอบการใช้เงินกู้ 3.5 แสนล้านบาท ในโครงการบริหารจัดการน้ำ ซึ่งคณะกรรมการ กยน. หลายคนที่เป็นผู้ทรงคุณวุฒิ ได้ลาออกไปหลายคน เนื่องจากทนไม่ได้ ที่นายปลอดประสพ สุรัสวดี รมว.วิทยาศาสตร์ฯ เป็นผู้เดียวที่บริหารเงินทั้งหมด ซึ่งอาจจะมีความไม่โปร่งใส และขณะนี้ทราบว่าจะมีการตั้งบริษัทที่ปรึกษาโครงการ ซึ่งคิดว่าที่ปรึกษา 2 เปอร์เซ็นต์จากเงิน 3 แสนล้านบาท ซึ่งจะเท่ากัน 6 พันล้านบาท ถือว่าเป็นพุงปลาชั้นดีที่ผู้มีอำนาจกำลังจ้องตาเป็นมัน
**“ปลอด”นั่ง ปธ.คัดเลือกเอกชน
ที่ทำเนียบรัฐบาล น.ส.ศันสนีย์ นาคพงศ์ โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี แถลงถึงผลการประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) ว่า ที่ประชุมมีมติชอบแต่งตั้งคณะกรรมการโครงการออกแบบก่อสร้างระบบการบริหารจัดการทรัพยากรน้ำอย่างยั่งยืน และระบบแก้ไขปัญหาอุทกภัยของประเทศไทยมูลค่า 3 แสนล้านบาท เพื่อคัดเลือกเอกชนจากการเปิดให้เอกชนรับ TOR บริการจัดการน้ำ ตามที่ นายปลอดประสพ สุรัสวดี รมว.วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ในฐานะประธานคณะกรรมการบริหารจัดการน้ำและอุทกภัย (กบอ.) เสนอ
โดยองค์ประกอบของคณะกรรมการ มีดังนี้
1.ประธาน กบอ.เป็นประธานคณะกรรมการ 2.กรรมการโดยตำแหน่ง จำนวน 10 คน ได้แก่ ปลัดกระทรวงการคลัง ปลัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ปลัดกระทรวงคมนาคม ปลัดกระทรวงมหาดไทย ปลัดกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ปลัดกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี เลขาธิการคณะกรรมการกฤษฎีกา เลขาธิการคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ผู้อำนวยการสำนักงบประมาณ และประธานคณะกรรมการว่าด้วยการพัสดุ
3.กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ ประกอบด้วย นายอภิชาติ อนุกูลอำไพ นายรอยล จิตรดอน นายอานนท์ สนิทวงศ์ ณ อยุธยา นายวัยวุฒิ หล่อตระกูล น.ส.วิลาวรรณ วนดุรงค์วรรณ ทั้งนี้ให้ประธานกรรมการแต่งตั้งเลขานุการหนึ่งคนและผู้ช่วยเลขานุการไม่เกินสองคน
สำหรับอำนาจหน้าที่ของคณะกรรมการชุดดังกล่าว ประกอบด้วย 1.การพิจารณาคัดเลือกข้อเสนอกรอบแนวคิดเพื่อออกแบบก่อสร้างระบบการบริหารจัดการทรัพยากรน้ำอย่างยั่งยืน และระบบแก้ไขปัญหาอุทกภัยของประเทศไทยที่สอดคล้องกับแผนแม่บทการบริหารจัดการทรัพยากรน้ำอย่างยั่งยืนของประเทศไทยมากที่สุด
2.การเสนอแนะ รมว.วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีเกี่ยวกับแนวทางการดำเนินการเพื่อให้มีการนำกรอบแนวคิดที่ได้รับการคัดเลือกไปดำเนินการต่อไป 3.การแต่งตั้งคณะอนุกรรมการเพื่อพิจารณาหรือดำเนินการในเรื่องที่ได้รับมอบหมาย และให้หน่วยงานของรัฐสนับสนุนการปฏิบัติงานของคณะกรรมการพิจารณาคัดเลือกตามที่ได้รับการร้องขอ
**กบอ.เชิญกฤษฎีกาแจงเงื่อนไข
วันเดียวกัน การขอรับเอกสารเงื่อนไขและหลักเกณฑ์ออกแบบระบบบริหารจัดการน้ำ หรือ ทีโออาร์ วงเงิน 350,000 ล้านบาท ซึ่งปิดรับสมัครวันสุดท้ายเมื่อวานนี้ มีบริษัท และสถานทูต ให้ความสนใจมารับเอกสารรวมทั้งสิ้น 398 ราย แบ่งเป็นบริษัทไทย 329 ราย บริษัทต่างประเทศ 47 ราย และสถานทูต 22 ประเทศ เช่น จีน ญี่ปุ่น เกาหลี เยอรมนี สวีเดน
ช่วงบ่ายมีการเชิญตัวแทนจากสำนักกฤษฎีกามาชี้แจงข้อกฎหมาย หลังถูกนักวิชาการและสมาคมวิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทยในพระบรมราชูปถัมภ์ ตั้งข้อสังเกตและข้อพิรุธในหลายประเด็นของทีโออาร์
**เคาะ31ม.ค.56 ชื่อบริษัทจัดการน้ำ
เวลา 14.00 น.นายปลอดประสพ สุรัสวดี รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวิทยาศาสตร์ ในฐานะประธานกบอ. กล่าวชี้แจงภาคธุรกิจตอนหนึ่งว่า ในนามของรัฐบาลขอบคุณที่ท่านสนใจเพราะรัฐบาลคิดว่ามีความสำคัญสำหรับประเทศทั้งแง่ความมั่นคงและเศรษฐกิจ โดยในวันนี้ตนแจ้งว่าในวันนี้ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี(ครม.)ได้อนุมัติให้มีการตั้งคณะกรรมการพิจารณาคัดเลือกโครงการ โดยตนเป็นประธานคณะกรรมการในฐานะประธานกบอ. ดังนั้นแม้จะเป็นการเสนอโดยประธานคณะกรรมการชุดนี้มาที่ประธานกบอ. เป็นไปไม่ได้ที่ประธานอย่างตนจะทำอะไรเกินเลย เพราะมีคณะกรรมการชุดนี้ถึง 16 คนดูแล และนอกจากนี้จะมีการตั้งคณะกรรมการขึ้นมาอีกหลายชุดเพื่อขึ้นมาช่วยคณะกรรมการฯ
นายปลอดประสพ กล่าวว่า ขอย้ำว่าปัจจุบันนี้โหมดของการทำงานยังไม่ใช่การจัดซื้อจัดจ้าง ยังจะไม่มีสัญญาใดๆเกิดขึ้น ยังไม่มีการจ่ายเงินใดใดให้ใครทั้งสิ้น ถ้าใครจะมากล่าวหาว่ามีการคอรัปชั่นจึงเป็นไปไม่ได้เพราะไม่ได้เลือก ไม่ได้จ่ายใคร เพราะทุกคนทำได้หมด และยืนยันว่าจะไม่มีการเลือกใครไว้ในใจ จะไม่มีใครได้เปรียบใคร จะไม่มีการปิดกั้นผู้ใด และสำหรับบริษัทต่างประเทศก็ต้องเป็นไปตามกฎหมายไทยทุกประการ จะไม่มีข้อยกเว้นใดใดทั้งสิ้นไม่ว่าจะนำความสัมพันธ์ระหว่างประเทศมาใช้อ้างก็ไม้ได้
ส่วนกรอบของเวลาต่อจากนี้ ประธานกบอ. กล่าวว่า นับแต่วันนี้เป็นต้นไปทุกท่านจะมีเวลา 90 วัน ในการทำงาน ซึ่ง 60 วันแรกจะเป็นการทำ Report เพื่อเป็นกรอบความคิด และอีก 30 วันจะเป็นการเรียกมาสัมภาษณ์และส่งเอกสารประกอบภายหลัง จากนั้นจะเป็นการคัดเลือกแบบ Shot list ภายใน 30 วัน
"จากนี้ทุกท่านจะต้องยืนยันว่าท่านจะอยู่ในฐานะของผู้เสนอหรือไม่ หรืออยู่ในฐานะของผู้เสนอแบบใด เช่น เป็นบริษัทเดียว เป็นกลุ่มที่ทำ Joinventure หรือ Consortium ที่ต้องแสดงหลักฐานเป็นเอกสารเท่านั้น สำหรับบริษัทต่างชาติที่ไม่จดทะเบียนในไทยต้องได้รับการยืนยันจากสถานทูตของท่านว่าเป็นความจริง"นายปลอดประสพ กล่าว
จากนั้นนายปลอดประสพ ได้ลงรายละเอียดในเอกสารทีโออาร์ให้แยกโครงการออกเป็นแบบเรื่อง 8 เรื่องที่ตรงกับลุ่มน้ำเจ้าพระยา ซึ่งการให้คะแนนในShot list นั้นจะเป็นการให้คะแนนใน 8 เรื่อง 1.ความถูกต้องและครบถ้วนของกรอบความคิด 2.ความสอดคล้องกับแผนแม่บท 3.ความเป็นไปได้และความเหมาะสมทางเทคนิค 4.ความเชื่อมโยงระบบทั้งหมด 5.ความรู้ความชำนาญและประสบการณ์ 6.กรอบเวลาต้องการสั้นที่สุด 7.ประมาณการค่าใช้จ่ายหรืองบประมาณ และ8.ผลสัมฤทธิ์ของโครงการ ซึ่งหัวข้อเหล่านี้จะเป็นหัวข้อการให้คะแนน
"จาก Shot list กลุ่มละ 3 บริษัท กรรมการจะคัดเลือกบริษัทเดียวเพื่อทำสัญญาในอนาคต การเจรจาจะเริ่มจากการเจรจาบริษัทที่ได้คะแนนสูงสุด จะเลือกจากบริษัทที่ได้คะแนนสูงสุดแต่ละกลุ่มช็อตลิสต์ ผู้ที่อาจจะได้สัญญาในอนาคตอาจมีหลายลักษณะ 8 เรื่องอาจจะเป็น 8 บริษัทก็ได้ หรืออาจจะมีบริษัทหนึ่งที่อาจได้มากกว่า1เรื่องก็ได้ จะขึ้นอยู่กับคะแนนที่ได้รับ เพราะอาจจะมีบริษัทหนึ่งบริษัทใดมากกว่าหนึ่งหัวข้อก็เป็นไปได้ ขอย้ำว่าเรื่องเวลา ราคา เทคนิคและประสบการณ์จะเป็นสิ่งที่สำคัญที่สุดในการตัดสินใจ"นายปลอดประสพ กล่าว
นายปลอดประสพ กล่าวอีกว่า เนื่องจากเวลามีจำกัดมาก เพราะเป็นเรื่องของเงินกู้และประเทศไทยมีเวลาน้อยในการต่อสู้กับภัยน้ำท่วม เพราะฉะนั้นจึงเป็นไปได้ที่จะใช้ระบบดีไซด์แอนด์บิว เมื่อเราใช้ระบบดีไซด์แอนด์บิวคณะกรรมการจะมีคณะกรรมการอีกสองชุด และจะจ้างบริษัท 2 กลุ่มเข้ามาช่วยเหลือ โดยบริษัทแรกที่ทำหน้าที่โปรเจคเมเนจเม้นคอมปานี( PMC )และกลุ่มคอนสตรัคชั่น ที่จะมาช่วยวิเคราะห์และประเมินการออกแบบและการก่อสร้าง
"บริษัทที่จะได้สัญญาในอนาคตต้องส่งการดีไซด์ให้สองบริษัทนี้ดูก่อนการก่อสร้างจริง ทุกเรื่องต้องส่งล่วงหน้าหนึ่งเดือน"นายปลอดประสพ กล่าว
ด้านนายสุพจน์ โตวิจักษณ์ชัยกุล รองปลัดกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ในฐานะเลขาธิการกบอ. กล่าวลงรายละเอียดในเรื่องกรอบเวลาว่า กำหนดเวลาคื อ 1.ยื่นโปรไฟล์คุณสมบัติตามทีโออาร์ ที่มีกำหนดเวลา1เดือน วันส่งคือ 24 ส.ค.2555 2.คณะกรรมการฯจะแจ้งผลคัดเลือกตามโปรไฟล์ที่เสนอมาโดยใช้เวลาพิจารณา 1 เดือน จะแจ้งผล 24 ก.ย. 3. บริษัทที่รับคัดเลือกจะมีเวลาดำเนินการ 3 เดือนในการส่งกรอบความคิด คือส่งเอกสารฉบับร่างที่ใช้เวลา 2 เดือน กำหนดส่ง 23 พ.ย. และการเข้ามาสัมภาษณ์และส่งเอกสารฉบับสมบูรณ์ใช้เวลา 1 เดือน กำหนดส่ง 28 ธ.ค. หลังจากนั้นคณะกรรมการจะคัดเลือกและประกาศผลคัดเลือกโดยใช้เวลาประมาณ 1 เดือน โดยจะประกาศวันที่ 31 ม.ค. 2556
**เตือนภัยพายุวีเซนเต้ฉบับ10
อีกด้านกรมอุตุนิยมวิทยา ออกประกาศเตือนภัยพายุวีเซนเต (VICENTE) ฉบับที่ 10 ว่า เมื่อเวลา 15.00 น. วันนี้ (24 ก.ค.55) พายุโซนร้อน "วีเซนเต" (VICENTE) บริเวณมณฑลกวางตุ้ง ประเทศจีน มีศูนย์กลางที่ละติจูด 23.0 องศาเหนือ ลองจิจูด 110.5 องศาตะวันออก มีความเร็วลมสูงสุด ใกล้ศูนย์กลางประมาณ 100 กิโลเมตรต่อชั่วโมง กำลังเคลื่อนตัวทางทิศตะวันตก ด้วยความเร็วประมาณ 20 กิโลเมตรต่อชั่วโมง คาดว่า พายุจะอ่อนกำลังลงเป็นลำดับ และสลายตัวในประเทศเวียดนามตอนบนในวันที่ 25 กรกฎาคม 2555 นี้ ลักษณะดังกล่าวจะส่งผลทำให้ประเทศไทยมีฝนเพิ่มมากขึ้นและมีฝนตกหนักถึงหนักมากบางแห่ง ดังนี้คือ ในช่วงวันที่ 24-27 กรกฎาคม 2555 ภาคเหนือ บริเวณจังหวัดแม่ฮ่องสอน เชียงใหม่ เชียงราย น่าน พะเยา ลำพูน ลำปาง แพร่ อุตรดิตถ์ สุโขทัย ตาก พิษณุโลก และเพชรบูรณ์
ในช่วงวันที่ 24-26 กรกฎาคม 2555 ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ บริเวณจังหวัดเลย หนองบัวลำภู อุดรธานี หนองคาย บึงกาฬ สกลนคร และนครพนม และในช่วงวันที่ 25-27 กรกฎาคม 2555 บริเวณจังหวัดจันทบุรี ตราด ระนอง และพังงา ขอให้ประชาชนในพื้นที่เสี่ยงภัย พื้นที่ลุ่ม ใกล้ทางน้ำไหลหลากในช่วงเวลาดังกล่าว ระวังอันตรายจากฝนตกหนักซึ่งอาจทำให้เกิดน้ำท่วมฉับพลันและน้ำป่าไหลหลากได้
สำหรับในช่วงวันที่ 24-27 กรกฎาคม 2555 มรสุมตะวันตกเฉียงใต้ที่พัดปกคลุมทะเลอันดามัน ประเทศไทย และอ่าวไทย มีกำลังแรงขึ้น ทำให้คลื่นลมบริเวณทะเลอันดามันและอ่าวไทยมีคลื่นสูง 2-3 เมตร ขอให้ชาวเรือเพิ่มความระมัดระวังในการเดินเรือ และเรือเล็กบริเวณทะเลอันดามันและอ่าวไทยตอนบนควรงดออกจากฝั่งไว้ด้วย
**ปลอด'ชี้.'วีเซนเต'ไม่มีผลให้น้ำท่วม
นางสาวศันสนีย์ นาคพงศ์ โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี แถลงว่า นายกรัฐมนตรี ได้แสดงความห่วงใยและสอบถามที่ประชุมคณะรัฐมนตรีเกี่ยวกับเรื่อง พายุไต้ฝุ่น “วีเซนเต” (VICENTE) ซึ่งขณะนี้ได้เคลื่อนขึ้นฝั่งใกล้เกาะฮ่องกงที่มณฑลกวางตุ้ง ประเทศจีนแล้ว โดยได้มอบหมายให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องเฝ้าระวังสถานการณ์ดังกล่าวอย่างใกล้ชิด ซึ่งนายปลอดประสพ สุรัสวดี รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ได้แจ้งที่ประชุมว่าพายุไต้ฝุ่น “วีเซนเต” ไม่น่าที่จะส่งผลกระทบจนทำให้เกิดปัญหาน้ำท่วมได้ ขณะที่เขื่อนภูมิพลยังมีความสามารถในการรองรับปริมาณน้ำได้สูง
อย่างไรก็ตาม นายกรัฐมนตรี ขอให้ทุกหน่วยงานที่เกี่ยวข้องถือโอกาสนี้บูรณาการในเรื่องของการแจ้งเตือนภัยที่เป็น single command โดยมอบหมายให้กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ กระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร ดำเนินการร่วมกัน โดยเน้นให้มีการรายงานที่มีความเป็นเอกภาพและเป็นไปในทิศทางเดียวกัน
** น้ำในเขื่อนน้อยกว่าปีที่แล้ว 10%
นายชลิตรัตน์ จันทรุเบกษา รองโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี เเถลงมติครม.ว่า นายยงยุทธ วิชัยดิษฐ รองนายกรัฐมนตรีเเละรมว.มหาดไทยรายงานความคืบหน้าการขุดลอกเเม่น้ำเจ้าพระยาช่วงกลางน้ำในจ.นครสวรรค์ สิงห์บุรี อยุธยา อ่างทองว่าได้มีการขุดสันดอนเเม่น้ำในหลายช่วงเเล้วเเละดำเนินการตามเเผนงานที่วางไว้ ส่วนสถานการณ์น้ำตามอ่างเก็บน้ำเเละเขื่อนต่างๆนั้นปริมาณน้ำลดลงจากปีทีเเล้วเฉลี่ยร้อยละสิบเเละเป็นไปตามเเผนงานที่วางไว้เช่นกัน ทั้งนี้ยังมีการติดตามการเตือนภัยธรรมชาติต่างๆที่เกิดขึ้นในช่วงนี้เช่น พายุวีเซนเต เเต่ผลกระทบคงไม่มีมาถึงไทย
** 6 นิคมกู้สร้างเขื่อนกันน้ำ 3.5 พันล้าน
นายชลิตรัตน์ กล่าวว่า ที่ประชุมยังได้อนุมัติตามที่กระทรวงอุตสาหกรรมเสนอ ในการกำหนดแผน เพื่อป้องกันน้ำท่วมในโรงงานอุตสาหกรรมในปี 2555 ที่ตั้งอยู่ในบริเวณพื้นที่เสี่ยงอุทกภัยจำนวน 6 แห่ง คือ นิคมอุตสาหกรรมลาดกระบัง นิคมอุตสาหกรรมบางชัน นิคมอุตสาหกรรมบางปู นิคมอุตสาหกรรมสมุทรสาคร นิคมอุตสาหกรรมบางพลี และนิคมอุตสาหกรรมพิจิตร ในการขออนุมัติก่อสร้างเขื่อน โดยการขอกู้เงินเอง ดังนี้ 1.การของบประมาณการขอเพิ่มเติมงบประมาณลงทุนประจำปีงบประมาณ 2555 ครั้งที่ 2 เพื่อก่อสร้างระบบป้องกันน้ำท่วมในนิคมอุตสาหกรรม 6 แห่ง จำนวนเงิน 3,546 ล้านบาท โดยให้กู้ยืมเงินจากธนาคารออมสิน ในอัตราดอกเบี้ยร้อยละ 0.01 ระยะเวลา 15 ปี และให้จ่ายเฉพาะดอกเบี้ย โดยไม่ต้องจ่ายคืนเงินต้นใน 5 ปีแรก
นายชลิตรัตน์ กล่าวต่อว่า 2.เห็นควรให้ทางนิคมอุตสาหกรรม พิจารณานำเงินส่งเป็นรายได้แผ่นดินตามปกติ โดยไม่ต้องหักยอดเงินต้นและดอกเบี้ย ที่จะต้องชำระคืนในแต่ละปีออก 3.ในการพิจารณาเก็บค่าบริการส่วนกลางนั้น ให้ทางนิคมอุตสาหกรรมรับความเห็นของหน่วยงาน ที่เกี่ยวข้องไปดำเนินการต่อไป 4.เห็นควรให้ทางนิคมอุตสาหกรรมจัดทำรายละเอียดผกระทบที่เกิดขึ้น เสนอคณะกรรมการจัดทำบันทึกข้อตกลง และประเมินผลการดำเนินงานรัฐวิสาหกิจ เพื่อพิจาณาต่อไป 5.เห็นควรให้ทางนิคมอุตสาหกรรมรับภาระภาษีโรงเรือน ภาษีบำรุงท้องที่ หรือภาษีอื่นใด ที่หน่วยงานท้องถิ่นจัดเก็บ เนื่องจากการประมาณการภาระภาษี อยู่ในระดับในฐานะทางการเงิน ที่นิคมอุตสาหกรรมรองรับได้
“นายกฯยังได้กำชับให้นิคมอุตสาหกรรมในแต่ละแห่ง ที่ต้องการปรับค่าบำรุงรักษาและสิ่งอำนวยความสะดวกต่างๆ สามารถปรับค่าเหล่านั้นได้ ทั้งนี้ต้องอยู่ในขอบเขตที่จำเป็นตามความเหมาะสม โดยให้กระทบต่อผู้ประกอบการน้อยที่สุด” นายชลิตรัตน์ ระบุ
โดยคำฟ้องระบุว่า ผู้ถูกฟ้องที่ 3 - 4 พยายามที่จะก่อสร้างหรือดำเนินโครงการเขื่อนแม่วงก์ขึ้น เพื่อกั้นแม่น้ำแม่วงก์ที่เป็นเพียงสายน้ำหนึ่งในลุ่มน้ำสะแกกรังที่มีอยู่หลายสาย ในพื้นที่ป่าอนุรักษ์ของชาติหรือพื้นที่ต้องห้ามตามพ.ร.บ.อุทยานแห่งชาติ พ.ศ. 2540 ที่มีความอุดมสมบูรณ์ และความหลากหลายธรรมชาติของพืชพันธุ์ของชาติและของโลก รวมทั้งจะกระทบต่อสัตว์ป่าสงวนและสัตว์ป่าคุ้มครองตามพ.ร.บ.สงวนและคุ้มครองสัตว์ป่า พ.ศ. 2535 ซึ่งมีถิ่นที่อยู่ภายในพื้นที่อุทยานแห่งชาติแม่วงก์ที่ครอบคลุมอำเภอปางศิลาทอง จ.กำแพงเพชร และอำเภอแม่วงก์ กิ่งอำเภอแม่เปิน จ.นครสวรรค์ โดยใช้ข้ออ้างในการดำเนินโครงการว่าเพื่อแก้ปัญหาการขาดแคลนน้ำในการทำเกษตรและการป้องกันอุทกภัยที่มักเกิดขึ้นเป็นประจำทุกปี รวมทั้งการผลิตกระแสไฟฟ้าเพื่อพัฒนาชาติ และเพื่อพัฒนาเป็นแหล่งท่องเที่ยว ซึ่งผู้ถูกฟ้องที่ 3 - 4 พยายามสร้างตัวเลขให้เกินจุดคุ้มทุนในทางเศรษฐศาสตร์
ทั้งนี้ผู้ฟ้องขอให้ศาลพิพากษาเพิกถอนมติของผู้ถูกฟ้องที่ 1 - 2 เมื่อวันที่ 10 เม.ย.55 ที่เห็นชอบการก่อสร้างเขื่อนแม่วงก์ในส่วนที่ไม่ถูกต้องตามขั้นตอนของกฎหมาย โดยให้ผู้ถูกฟ้องร่วมกันจัดให้มีการจัดทำประชามติความเห็นของประชาชนทั่วประเทศอย่างทั่วถึงตามรัฐธรรมนูญฯ มาตรา 165 และพ.ร.บ.ว่าด้วยการออกเสียงประชามติ พ.ศ. 2552 และให้ผู้ถูกฟ้องดำเนินการตามรัฐธรรมนูญฯ มาตรา 57 - 58 , 67, 85 และ 87 ให้ครบถ้วนก่อนดำเนินโครงการ
ซึ่งศาลปกครองแผนกคดีสิ่งแวดล้อม รับคำฟ้องไว้เป็นคดีดำ ส.490/2555 โดยจะพิจารณาและมีคำสั่งต่อไปว่าจะรับคำฟ้องไว้เพื่อมีคำพิพากษาหรือไม่
ด้านนายศรีสุวรรณ นายกสมาคมต่อต้านสภาวะโลกร้อน กล่าวว่า ประชาชนส่วนใหญ่ต่างคัดค้าน ไม่เห็นด้วยกับการสร้างเขื่อนแม่วงก์ เนื่องจากโครงการนี้มีผลเสียมากกว่าผลดี และได้มีการยื่นหนังสือคัดค้านหลายครั้งแล้ว แต่นายกรัฐมนตรี ครม. อธิบดีกรมชลประทาน และรมว.กระทรวงเกษตร ฯ ไม่ได้สนใจต่อข้อเรียกร้องของประชาชน ใช้อำนาจทางปกครองเห็นชอบอนุมัติดำเนินโครงการเขื่อนแม่วงก์ ถือเป็นพฤติกรรมอันเป็นการละเมิดสิทธิของชุมชนและประชาชน อันอาจนำมาซึ่งความเดือดร้อนและเสียหายต่อประชาชน ทรัพยากรธรรมชาติ และสิ่งแวดล้อมต่างๆ ได้ ตนและประชาชนที่ไม่เห็นด้วยจึงต้องมาร้องต่อศาลปกครอง
**3 ข้อทีโออาร์ ไม่ชัดเจน
ที่ห้องประชุมสำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) คณะกรรมการการบริหารจัดการน้ำและอุทกภัย (กบอ.) ได้ชี้แจงเกณฑ์การคัดเลือก ออกแบบโครงการบริหารจัดการน้ำ วงเงินงบประมาณ 3.4 แสนล้าน ให้แก่บริษัทในประเทศ และต่างประเทศที่มาขอรับเอกสารการจัดซื้อจัดจ้าง (ทีโออาร์)
ซึ่งก่อนหน้านี้ เมื่อวันที่ 20 กรกฎาคม วิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ (วสท.) ออกแถลงการณ์ฉบับที่ 1 ในประเด็น: TOR ประกาศเชิญชวนผู้สนใจเข้าร่วมเสนอกรอบแนวคิด (Conceptual Plan) เพื่อออกแบบก่อสร้างระบบการบริหารจัดการทรัพยากรน้ำอย่างยั่งยืนและระบบแก้ไขปัญหา อุทกภัยของประเทศไทย
เบื้องต้น วสท. มีข้อสังเกต ถึงความไม่เหมาะสมของรายละเอียด Conceptual Plan ซึ่งวิเคราะห์จากประเด็นหลักของคุณสมบัติผู้ยื่นข้อเสนอที่ระบุไว้ ในหัวข้อ 2.2 ที่กล่าวไว้ดังนี้
"ผู้ยื่นข้อเสนอต้องเคยมีผลงานด้านการออกแบบระบบการพัฒนา แหล่งน้ำขนาดใหญ่หรืองานออกแบบหรือก่อสร้างเขื่อนหรืออ่างเก็บน้ำขนาดใหญ่ หรืองาน ออกแบบหรือก่อสร้างระบบป้องกันหรือแก้ไขปัญหาอุทกภัยแล้งในช่วงระหว่าง ปี 2545-2555 ใน ประเทศไทยหรือในต่างประเทศ มูลค่าการก่อสร้าง ไม่น้อยกว่าสามหมื่นล้านบาท
ในกรณีผู้ยื่น ข้อเสนอเป็นกลุ่มของนิติบุคคลในลักษณะ Consortium หรือ Joint Venture มูลค่าผลงาน ดังกล่าวให้นับรวมผลงานของแต่ละนิติบุคคลเข้าด้วยกัน แต่ผลงานที่จะน้ามานับรวมเข้าด้วยกัน นั้นอย่างน้อยต้องมีมูลค่าการก่อสร้างไม่ต่ำกว่าผลงานละสองพันล้านบาท"
**วสท.ติดเบรก รัฐชะลอไปก่อน
จากคุณสมบัติดังกล่าวนี้ ทำให้เกิดความไม่ชัดเจนไม่เหมาะสม และเป็นประเด็นที่ต้องวิพากษ์ ดังนี้
1. TOR นี้ เน้นในเรื่องของการออกแบบและก่อสร้างเท่านั้น โดยมิได้ให้ความสำคัญและละเลยการศึกษาความเหมาะสมของโครงการ ซึ่งคุณสมบัติของผู้ยื่นข้อเสนอควรระบุให้มีผลงาน การศึกษาความเหมาะสมของโครงการด้านการพัฒนาแหล่งน้ำ และจะต้องมีคุณสมบัติเป็นผู้มีสิทธิ์ จัดทำรายงานผลกระทบสิ่งแวดล้อมของโครงการภายใต้กฎหมายไทย
2. การขาดคุณสมบัติดังกล่าวตามข้อ 1 เห็นได้ว่ารัฐบาลพยายามที่จะรวบรัดหรือข้ามขั้นตอนใน การจัดทำโครงการต่างๆอย่างถูกต้องตามหลักวิชาการ จึงอาจขาดความรอบคอบที่จะศึกษาหาทาง เลือกที่เหมาะสมของแต่ละโครงการ ซึ่งจำเป็นต้องวิเคราะห์เปรียบเทียบทางเลือกต่าง ๆ ที่ทำให้ เกิดการยอมรับโดยเกิดผลกระทบต่อชุมชน สังคม และสภาพสิ่งแวดล้อมในภาพรวมน้อยที่สุด ทั้งนี้โครงการขนาดใหญ่ไม่อาจหลีกเลี่ยงกระบวนการศึกษาผลกระทบสิ่งแวดล้อมภายใต้กฎหมาย และ พ.ร.บ. สิ่งแวดล้อมได้
3. ในการกำหนดคุณสมบัติผู้ยื่นข้อเสนอที่ต้องมีผลงานมูลค่าการก่อสร้างไม่น้อยกว่าสามหมื่นล้านบาทนั้น มีข้อสังเกตว่าบริษัทนิติบุคคลไทยมีเพียงไม่กี่รายเท่านั้นที่จะผ่านหลักเกณฑ์ที่รัฐกำหนด ข้อสังเกตเบื้องต้นในประเด็นนี้ จึงอาจเป็นการเอื้อประโยชน์แก่บริษัทต่างชาติเข้ามาเป็นผู้นำในการรวมกลุ่มของผู้ยื่นข้อเสนอ
ในฐานะองค์กรวิชาชีพวิศวกรรมของประเทศ มีความเห็นเพิ่มเติมว่า วิศวกรและนิติบุคคลไทยมีขีดความสามารถเพียงพอในการเป็นผู้น้าที่จะเสนอกรอบแนวคิดดังกล่าว ดังนั้นในการรวมกลุ่ม ของผู้ยื่นข้อเสนอ ควรให้นิติบุคคลไทยเป็นผู้นำในการรวมกลุ่ม แทนที่จะกำหนดให้นิติบุคคลที่เข้า รวมกลุ่มยื่นข้อเสนอต้องมีนิติบุคคลอย่างน้อย 1 นิติบุคคลซึ่งเป็นนิติบุคคลตามกฎหมายไทย ตามที่ระบุในคุณสมบัติข้อที่ 2.1 ใน TOR
ส่วนแผนระยะยาว ที่จะใช้เป็นกรอบดำเนินการต่อไป และเป็นโครงการทต้องใช้ระยะเวลานานในการดำเนินงานตามขั้นตอนอย่างเหมาะสมตามหลัก วิชาวิศวกรรม จึงไม่มีความจำเป็นต้องเร่งรีบ ควรมีการศึกษาอย่างรอบคอบ
ทั้งนี้วิศวกรไทยมีองค์ความรู้มากเพียงพอ ไม่จำเป็นต้องใช้บริษัทต่างชาติเข้ามาดำเนินการ ดังนั้นจึงควรปรับคุณสมบัติของผู้ยื่นข้อเสนอเพื่อเปิดกว้างในประเด็นนี้ โดยเน้นให้มีผลงานการศึกษาความ เหมาะสมของโครงการในด้านการพัฒนาแหล่งน้ำ และกำหนดมูลค่าของผลงานของผู้ยื่นข้อเสนอ อย่างสมเหตุสมผล
วสท.ขอสนับสนุนให้รัฐบาลเร่งดำเนินโครงการ เพื่อแก้ปัญหา น้ำระยะสั้นก่อน ส่วนการแก้ปัญหาระยะยาวควรจะ ต้องชะลอไว้ก่อน เพราะมีความจำเป็นต้อง พิจารณาอย่างรอบคอบ และคำนึงถึงความคุ้มค่า ในการดำเนินการ โดยการจัดทำTOR ของโครงการ ควรมีกลุ่มที่ปรึกษาที่เข้าใจหลักวิชาการ ด้านการวางแผน และการจัดการโครงการด้านวิศวกรรม มีประสบการณ์และมีความเชี่ยวชาญ ทั้งทางด้านการบริหารจัดการน้ำ ด้านสิ่งแวดล้อม และโครงสร้างพื้นฐาน มาให้ค้าแนะนำที่ถูกต้อง
**ปชป. จี้เปิดอีไอเอ-ราคากลาง
ที่ศาลอุทธรณ์ นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ ผู้นำฝ่ายค้านฯ กล่าวถึงกรณีที่มีหลายฝ่ายออกมาแสดงความกังวลว่าการก่อสร้างในโครงการป้องกันน้ำท่วมยังมีความคืบหน้าน้อยอาจไม่ทันต่อสถานการณ์ว่า อยากให้รัฐบาลติดตามใกล้ชิด เนื่องจากในขณะนี้มีคำเตือนจากกรมอุตุนิยมวิทยาเกี่ยวกับพายุที่จะส่งผลกระทบต่อประเทศไทย แต่ความสนใจของรัฐบาลกลับไปอยู่ที่การทำโครงการขนาดใหญ่ระยะยาว ในเรื่องการเหมาประมูล 3 แสนล้านบาท ด้วยการยกเว้นระเบียบต่างๆ ทั้งที่โครงการก็ขาดความชัดเจนในแง่ขั้นตอนที่ต้องผ่านความเห็นชอบตามกฎหมายด้วย ส่วนที่นายปลอดประสพ สุรัสวดี รมว.วิทยาศาสตร์ฯ จะเดินหน้าทำต่อนั้น ตนคิดว่า หากไม่ทำตามกฎหมายตั้งแต่ต้นจะเป็นปัญหาสำหรับคนที่เข้ามาลงทุนด้วย ซึ่งจะกระทบหลายด้านจึงอยากให้รัฐบาลมีความโปร่งใสในเรื่องนี้
**ผู้มีอำนาจจ้อง6พันล้านค่าที่ปรึกษา
นายชวนนท์ อินทรโกมาลย์สุต โฆษกพรรคประชาธิปัตย์ แถลงว่า พรรคประชาธิปัตย์จะตั้งขณะทำงานเพื่อตรวจสอบการใช้เงินกู้ 3.5 แสนล้านบาท ในโครงการบริหารจัดการน้ำ ซึ่งคณะกรรมการ กยน. หลายคนที่เป็นผู้ทรงคุณวุฒิ ได้ลาออกไปหลายคน เนื่องจากทนไม่ได้ ที่นายปลอดประสพ สุรัสวดี รมว.วิทยาศาสตร์ฯ เป็นผู้เดียวที่บริหารเงินทั้งหมด ซึ่งอาจจะมีความไม่โปร่งใส และขณะนี้ทราบว่าจะมีการตั้งบริษัทที่ปรึกษาโครงการ ซึ่งคิดว่าที่ปรึกษา 2 เปอร์เซ็นต์จากเงิน 3 แสนล้านบาท ซึ่งจะเท่ากัน 6 พันล้านบาท ถือว่าเป็นพุงปลาชั้นดีที่ผู้มีอำนาจกำลังจ้องตาเป็นมัน
**“ปลอด”นั่ง ปธ.คัดเลือกเอกชน
ที่ทำเนียบรัฐบาล น.ส.ศันสนีย์ นาคพงศ์ โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี แถลงถึงผลการประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) ว่า ที่ประชุมมีมติชอบแต่งตั้งคณะกรรมการโครงการออกแบบก่อสร้างระบบการบริหารจัดการทรัพยากรน้ำอย่างยั่งยืน และระบบแก้ไขปัญหาอุทกภัยของประเทศไทยมูลค่า 3 แสนล้านบาท เพื่อคัดเลือกเอกชนจากการเปิดให้เอกชนรับ TOR บริการจัดการน้ำ ตามที่ นายปลอดประสพ สุรัสวดี รมว.วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ในฐานะประธานคณะกรรมการบริหารจัดการน้ำและอุทกภัย (กบอ.) เสนอ
โดยองค์ประกอบของคณะกรรมการ มีดังนี้
1.ประธาน กบอ.เป็นประธานคณะกรรมการ 2.กรรมการโดยตำแหน่ง จำนวน 10 คน ได้แก่ ปลัดกระทรวงการคลัง ปลัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ปลัดกระทรวงคมนาคม ปลัดกระทรวงมหาดไทย ปลัดกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ปลัดกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี เลขาธิการคณะกรรมการกฤษฎีกา เลขาธิการคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ผู้อำนวยการสำนักงบประมาณ และประธานคณะกรรมการว่าด้วยการพัสดุ
3.กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ ประกอบด้วย นายอภิชาติ อนุกูลอำไพ นายรอยล จิตรดอน นายอานนท์ สนิทวงศ์ ณ อยุธยา นายวัยวุฒิ หล่อตระกูล น.ส.วิลาวรรณ วนดุรงค์วรรณ ทั้งนี้ให้ประธานกรรมการแต่งตั้งเลขานุการหนึ่งคนและผู้ช่วยเลขานุการไม่เกินสองคน
สำหรับอำนาจหน้าที่ของคณะกรรมการชุดดังกล่าว ประกอบด้วย 1.การพิจารณาคัดเลือกข้อเสนอกรอบแนวคิดเพื่อออกแบบก่อสร้างระบบการบริหารจัดการทรัพยากรน้ำอย่างยั่งยืน และระบบแก้ไขปัญหาอุทกภัยของประเทศไทยที่สอดคล้องกับแผนแม่บทการบริหารจัดการทรัพยากรน้ำอย่างยั่งยืนของประเทศไทยมากที่สุด
2.การเสนอแนะ รมว.วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีเกี่ยวกับแนวทางการดำเนินการเพื่อให้มีการนำกรอบแนวคิดที่ได้รับการคัดเลือกไปดำเนินการต่อไป 3.การแต่งตั้งคณะอนุกรรมการเพื่อพิจารณาหรือดำเนินการในเรื่องที่ได้รับมอบหมาย และให้หน่วยงานของรัฐสนับสนุนการปฏิบัติงานของคณะกรรมการพิจารณาคัดเลือกตามที่ได้รับการร้องขอ
**กบอ.เชิญกฤษฎีกาแจงเงื่อนไข
วันเดียวกัน การขอรับเอกสารเงื่อนไขและหลักเกณฑ์ออกแบบระบบบริหารจัดการน้ำ หรือ ทีโออาร์ วงเงิน 350,000 ล้านบาท ซึ่งปิดรับสมัครวันสุดท้ายเมื่อวานนี้ มีบริษัท และสถานทูต ให้ความสนใจมารับเอกสารรวมทั้งสิ้น 398 ราย แบ่งเป็นบริษัทไทย 329 ราย บริษัทต่างประเทศ 47 ราย และสถานทูต 22 ประเทศ เช่น จีน ญี่ปุ่น เกาหลี เยอรมนี สวีเดน
ช่วงบ่ายมีการเชิญตัวแทนจากสำนักกฤษฎีกามาชี้แจงข้อกฎหมาย หลังถูกนักวิชาการและสมาคมวิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทยในพระบรมราชูปถัมภ์ ตั้งข้อสังเกตและข้อพิรุธในหลายประเด็นของทีโออาร์
**เคาะ31ม.ค.56 ชื่อบริษัทจัดการน้ำ
เวลา 14.00 น.นายปลอดประสพ สุรัสวดี รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวิทยาศาสตร์ ในฐานะประธานกบอ. กล่าวชี้แจงภาคธุรกิจตอนหนึ่งว่า ในนามของรัฐบาลขอบคุณที่ท่านสนใจเพราะรัฐบาลคิดว่ามีความสำคัญสำหรับประเทศทั้งแง่ความมั่นคงและเศรษฐกิจ โดยในวันนี้ตนแจ้งว่าในวันนี้ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี(ครม.)ได้อนุมัติให้มีการตั้งคณะกรรมการพิจารณาคัดเลือกโครงการ โดยตนเป็นประธานคณะกรรมการในฐานะประธานกบอ. ดังนั้นแม้จะเป็นการเสนอโดยประธานคณะกรรมการชุดนี้มาที่ประธานกบอ. เป็นไปไม่ได้ที่ประธานอย่างตนจะทำอะไรเกินเลย เพราะมีคณะกรรมการชุดนี้ถึง 16 คนดูแล และนอกจากนี้จะมีการตั้งคณะกรรมการขึ้นมาอีกหลายชุดเพื่อขึ้นมาช่วยคณะกรรมการฯ
นายปลอดประสพ กล่าวว่า ขอย้ำว่าปัจจุบันนี้โหมดของการทำงานยังไม่ใช่การจัดซื้อจัดจ้าง ยังจะไม่มีสัญญาใดๆเกิดขึ้น ยังไม่มีการจ่ายเงินใดใดให้ใครทั้งสิ้น ถ้าใครจะมากล่าวหาว่ามีการคอรัปชั่นจึงเป็นไปไม่ได้เพราะไม่ได้เลือก ไม่ได้จ่ายใคร เพราะทุกคนทำได้หมด และยืนยันว่าจะไม่มีการเลือกใครไว้ในใจ จะไม่มีใครได้เปรียบใคร จะไม่มีการปิดกั้นผู้ใด และสำหรับบริษัทต่างประเทศก็ต้องเป็นไปตามกฎหมายไทยทุกประการ จะไม่มีข้อยกเว้นใดใดทั้งสิ้นไม่ว่าจะนำความสัมพันธ์ระหว่างประเทศมาใช้อ้างก็ไม้ได้
ส่วนกรอบของเวลาต่อจากนี้ ประธานกบอ. กล่าวว่า นับแต่วันนี้เป็นต้นไปทุกท่านจะมีเวลา 90 วัน ในการทำงาน ซึ่ง 60 วันแรกจะเป็นการทำ Report เพื่อเป็นกรอบความคิด และอีก 30 วันจะเป็นการเรียกมาสัมภาษณ์และส่งเอกสารประกอบภายหลัง จากนั้นจะเป็นการคัดเลือกแบบ Shot list ภายใน 30 วัน
"จากนี้ทุกท่านจะต้องยืนยันว่าท่านจะอยู่ในฐานะของผู้เสนอหรือไม่ หรืออยู่ในฐานะของผู้เสนอแบบใด เช่น เป็นบริษัทเดียว เป็นกลุ่มที่ทำ Joinventure หรือ Consortium ที่ต้องแสดงหลักฐานเป็นเอกสารเท่านั้น สำหรับบริษัทต่างชาติที่ไม่จดทะเบียนในไทยต้องได้รับการยืนยันจากสถานทูตของท่านว่าเป็นความจริง"นายปลอดประสพ กล่าว
จากนั้นนายปลอดประสพ ได้ลงรายละเอียดในเอกสารทีโออาร์ให้แยกโครงการออกเป็นแบบเรื่อง 8 เรื่องที่ตรงกับลุ่มน้ำเจ้าพระยา ซึ่งการให้คะแนนในShot list นั้นจะเป็นการให้คะแนนใน 8 เรื่อง 1.ความถูกต้องและครบถ้วนของกรอบความคิด 2.ความสอดคล้องกับแผนแม่บท 3.ความเป็นไปได้และความเหมาะสมทางเทคนิค 4.ความเชื่อมโยงระบบทั้งหมด 5.ความรู้ความชำนาญและประสบการณ์ 6.กรอบเวลาต้องการสั้นที่สุด 7.ประมาณการค่าใช้จ่ายหรืองบประมาณ และ8.ผลสัมฤทธิ์ของโครงการ ซึ่งหัวข้อเหล่านี้จะเป็นหัวข้อการให้คะแนน
"จาก Shot list กลุ่มละ 3 บริษัท กรรมการจะคัดเลือกบริษัทเดียวเพื่อทำสัญญาในอนาคต การเจรจาจะเริ่มจากการเจรจาบริษัทที่ได้คะแนนสูงสุด จะเลือกจากบริษัทที่ได้คะแนนสูงสุดแต่ละกลุ่มช็อตลิสต์ ผู้ที่อาจจะได้สัญญาในอนาคตอาจมีหลายลักษณะ 8 เรื่องอาจจะเป็น 8 บริษัทก็ได้ หรืออาจจะมีบริษัทหนึ่งที่อาจได้มากกว่า1เรื่องก็ได้ จะขึ้นอยู่กับคะแนนที่ได้รับ เพราะอาจจะมีบริษัทหนึ่งบริษัทใดมากกว่าหนึ่งหัวข้อก็เป็นไปได้ ขอย้ำว่าเรื่องเวลา ราคา เทคนิคและประสบการณ์จะเป็นสิ่งที่สำคัญที่สุดในการตัดสินใจ"นายปลอดประสพ กล่าว
นายปลอดประสพ กล่าวอีกว่า เนื่องจากเวลามีจำกัดมาก เพราะเป็นเรื่องของเงินกู้และประเทศไทยมีเวลาน้อยในการต่อสู้กับภัยน้ำท่วม เพราะฉะนั้นจึงเป็นไปได้ที่จะใช้ระบบดีไซด์แอนด์บิว เมื่อเราใช้ระบบดีไซด์แอนด์บิวคณะกรรมการจะมีคณะกรรมการอีกสองชุด และจะจ้างบริษัท 2 กลุ่มเข้ามาช่วยเหลือ โดยบริษัทแรกที่ทำหน้าที่โปรเจคเมเนจเม้นคอมปานี( PMC )และกลุ่มคอนสตรัคชั่น ที่จะมาช่วยวิเคราะห์และประเมินการออกแบบและการก่อสร้าง
"บริษัทที่จะได้สัญญาในอนาคตต้องส่งการดีไซด์ให้สองบริษัทนี้ดูก่อนการก่อสร้างจริง ทุกเรื่องต้องส่งล่วงหน้าหนึ่งเดือน"นายปลอดประสพ กล่าว
ด้านนายสุพจน์ โตวิจักษณ์ชัยกุล รองปลัดกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ในฐานะเลขาธิการกบอ. กล่าวลงรายละเอียดในเรื่องกรอบเวลาว่า กำหนดเวลาคื อ 1.ยื่นโปรไฟล์คุณสมบัติตามทีโออาร์ ที่มีกำหนดเวลา1เดือน วันส่งคือ 24 ส.ค.2555 2.คณะกรรมการฯจะแจ้งผลคัดเลือกตามโปรไฟล์ที่เสนอมาโดยใช้เวลาพิจารณา 1 เดือน จะแจ้งผล 24 ก.ย. 3. บริษัทที่รับคัดเลือกจะมีเวลาดำเนินการ 3 เดือนในการส่งกรอบความคิด คือส่งเอกสารฉบับร่างที่ใช้เวลา 2 เดือน กำหนดส่ง 23 พ.ย. และการเข้ามาสัมภาษณ์และส่งเอกสารฉบับสมบูรณ์ใช้เวลา 1 เดือน กำหนดส่ง 28 ธ.ค. หลังจากนั้นคณะกรรมการจะคัดเลือกและประกาศผลคัดเลือกโดยใช้เวลาประมาณ 1 เดือน โดยจะประกาศวันที่ 31 ม.ค. 2556
**เตือนภัยพายุวีเซนเต้ฉบับ10
อีกด้านกรมอุตุนิยมวิทยา ออกประกาศเตือนภัยพายุวีเซนเต (VICENTE) ฉบับที่ 10 ว่า เมื่อเวลา 15.00 น. วันนี้ (24 ก.ค.55) พายุโซนร้อน "วีเซนเต" (VICENTE) บริเวณมณฑลกวางตุ้ง ประเทศจีน มีศูนย์กลางที่ละติจูด 23.0 องศาเหนือ ลองจิจูด 110.5 องศาตะวันออก มีความเร็วลมสูงสุด ใกล้ศูนย์กลางประมาณ 100 กิโลเมตรต่อชั่วโมง กำลังเคลื่อนตัวทางทิศตะวันตก ด้วยความเร็วประมาณ 20 กิโลเมตรต่อชั่วโมง คาดว่า พายุจะอ่อนกำลังลงเป็นลำดับ และสลายตัวในประเทศเวียดนามตอนบนในวันที่ 25 กรกฎาคม 2555 นี้ ลักษณะดังกล่าวจะส่งผลทำให้ประเทศไทยมีฝนเพิ่มมากขึ้นและมีฝนตกหนักถึงหนักมากบางแห่ง ดังนี้คือ ในช่วงวันที่ 24-27 กรกฎาคม 2555 ภาคเหนือ บริเวณจังหวัดแม่ฮ่องสอน เชียงใหม่ เชียงราย น่าน พะเยา ลำพูน ลำปาง แพร่ อุตรดิตถ์ สุโขทัย ตาก พิษณุโลก และเพชรบูรณ์
ในช่วงวันที่ 24-26 กรกฎาคม 2555 ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ บริเวณจังหวัดเลย หนองบัวลำภู อุดรธานี หนองคาย บึงกาฬ สกลนคร และนครพนม และในช่วงวันที่ 25-27 กรกฎาคม 2555 บริเวณจังหวัดจันทบุรี ตราด ระนอง และพังงา ขอให้ประชาชนในพื้นที่เสี่ยงภัย พื้นที่ลุ่ม ใกล้ทางน้ำไหลหลากในช่วงเวลาดังกล่าว ระวังอันตรายจากฝนตกหนักซึ่งอาจทำให้เกิดน้ำท่วมฉับพลันและน้ำป่าไหลหลากได้
สำหรับในช่วงวันที่ 24-27 กรกฎาคม 2555 มรสุมตะวันตกเฉียงใต้ที่พัดปกคลุมทะเลอันดามัน ประเทศไทย และอ่าวไทย มีกำลังแรงขึ้น ทำให้คลื่นลมบริเวณทะเลอันดามันและอ่าวไทยมีคลื่นสูง 2-3 เมตร ขอให้ชาวเรือเพิ่มความระมัดระวังในการเดินเรือ และเรือเล็กบริเวณทะเลอันดามันและอ่าวไทยตอนบนควรงดออกจากฝั่งไว้ด้วย
**ปลอด'ชี้.'วีเซนเต'ไม่มีผลให้น้ำท่วม
นางสาวศันสนีย์ นาคพงศ์ โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี แถลงว่า นายกรัฐมนตรี ได้แสดงความห่วงใยและสอบถามที่ประชุมคณะรัฐมนตรีเกี่ยวกับเรื่อง พายุไต้ฝุ่น “วีเซนเต” (VICENTE) ซึ่งขณะนี้ได้เคลื่อนขึ้นฝั่งใกล้เกาะฮ่องกงที่มณฑลกวางตุ้ง ประเทศจีนแล้ว โดยได้มอบหมายให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องเฝ้าระวังสถานการณ์ดังกล่าวอย่างใกล้ชิด ซึ่งนายปลอดประสพ สุรัสวดี รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ได้แจ้งที่ประชุมว่าพายุไต้ฝุ่น “วีเซนเต” ไม่น่าที่จะส่งผลกระทบจนทำให้เกิดปัญหาน้ำท่วมได้ ขณะที่เขื่อนภูมิพลยังมีความสามารถในการรองรับปริมาณน้ำได้สูง
อย่างไรก็ตาม นายกรัฐมนตรี ขอให้ทุกหน่วยงานที่เกี่ยวข้องถือโอกาสนี้บูรณาการในเรื่องของการแจ้งเตือนภัยที่เป็น single command โดยมอบหมายให้กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ กระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร ดำเนินการร่วมกัน โดยเน้นให้มีการรายงานที่มีความเป็นเอกภาพและเป็นไปในทิศทางเดียวกัน
** น้ำในเขื่อนน้อยกว่าปีที่แล้ว 10%
นายชลิตรัตน์ จันทรุเบกษา รองโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี เเถลงมติครม.ว่า นายยงยุทธ วิชัยดิษฐ รองนายกรัฐมนตรีเเละรมว.มหาดไทยรายงานความคืบหน้าการขุดลอกเเม่น้ำเจ้าพระยาช่วงกลางน้ำในจ.นครสวรรค์ สิงห์บุรี อยุธยา อ่างทองว่าได้มีการขุดสันดอนเเม่น้ำในหลายช่วงเเล้วเเละดำเนินการตามเเผนงานที่วางไว้ ส่วนสถานการณ์น้ำตามอ่างเก็บน้ำเเละเขื่อนต่างๆนั้นปริมาณน้ำลดลงจากปีทีเเล้วเฉลี่ยร้อยละสิบเเละเป็นไปตามเเผนงานที่วางไว้เช่นกัน ทั้งนี้ยังมีการติดตามการเตือนภัยธรรมชาติต่างๆที่เกิดขึ้นในช่วงนี้เช่น พายุวีเซนเต เเต่ผลกระทบคงไม่มีมาถึงไทย
** 6 นิคมกู้สร้างเขื่อนกันน้ำ 3.5 พันล้าน
นายชลิตรัตน์ กล่าวว่า ที่ประชุมยังได้อนุมัติตามที่กระทรวงอุตสาหกรรมเสนอ ในการกำหนดแผน เพื่อป้องกันน้ำท่วมในโรงงานอุตสาหกรรมในปี 2555 ที่ตั้งอยู่ในบริเวณพื้นที่เสี่ยงอุทกภัยจำนวน 6 แห่ง คือ นิคมอุตสาหกรรมลาดกระบัง นิคมอุตสาหกรรมบางชัน นิคมอุตสาหกรรมบางปู นิคมอุตสาหกรรมสมุทรสาคร นิคมอุตสาหกรรมบางพลี และนิคมอุตสาหกรรมพิจิตร ในการขออนุมัติก่อสร้างเขื่อน โดยการขอกู้เงินเอง ดังนี้ 1.การของบประมาณการขอเพิ่มเติมงบประมาณลงทุนประจำปีงบประมาณ 2555 ครั้งที่ 2 เพื่อก่อสร้างระบบป้องกันน้ำท่วมในนิคมอุตสาหกรรม 6 แห่ง จำนวนเงิน 3,546 ล้านบาท โดยให้กู้ยืมเงินจากธนาคารออมสิน ในอัตราดอกเบี้ยร้อยละ 0.01 ระยะเวลา 15 ปี และให้จ่ายเฉพาะดอกเบี้ย โดยไม่ต้องจ่ายคืนเงินต้นใน 5 ปีแรก
นายชลิตรัตน์ กล่าวต่อว่า 2.เห็นควรให้ทางนิคมอุตสาหกรรม พิจารณานำเงินส่งเป็นรายได้แผ่นดินตามปกติ โดยไม่ต้องหักยอดเงินต้นและดอกเบี้ย ที่จะต้องชำระคืนในแต่ละปีออก 3.ในการพิจารณาเก็บค่าบริการส่วนกลางนั้น ให้ทางนิคมอุตสาหกรรมรับความเห็นของหน่วยงาน ที่เกี่ยวข้องไปดำเนินการต่อไป 4.เห็นควรให้ทางนิคมอุตสาหกรรมจัดทำรายละเอียดผกระทบที่เกิดขึ้น เสนอคณะกรรมการจัดทำบันทึกข้อตกลง และประเมินผลการดำเนินงานรัฐวิสาหกิจ เพื่อพิจาณาต่อไป 5.เห็นควรให้ทางนิคมอุตสาหกรรมรับภาระภาษีโรงเรือน ภาษีบำรุงท้องที่ หรือภาษีอื่นใด ที่หน่วยงานท้องถิ่นจัดเก็บ เนื่องจากการประมาณการภาระภาษี อยู่ในระดับในฐานะทางการเงิน ที่นิคมอุตสาหกรรมรองรับได้
“นายกฯยังได้กำชับให้นิคมอุตสาหกรรมในแต่ละแห่ง ที่ต้องการปรับค่าบำรุงรักษาและสิ่งอำนวยความสะดวกต่างๆ สามารถปรับค่าเหล่านั้นได้ ทั้งนี้ต้องอยู่ในขอบเขตที่จำเป็นตามความเหมาะสม โดยให้กระทบต่อผู้ประกอบการน้อยที่สุด” นายชลิตรัตน์ ระบุ